Tue Jun 20 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีความผิดทางพินัย พ.ศ. 2566


ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีความผิดทางพินัย พ.ศ. 2566

ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีความผิดทางพินัย พ.ศ. 2566 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 28 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาออกข้อบังคับว่าด้วย วิธีพิจารณาคดีความผิดทางพินัย พ.ศ. 2566 ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีความผิด ทางพินัย พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ใ ห้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ข้อ 3 ในข้อบังคับนี้ “ ศาล ” หมายความว่า ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลอาญาที่มีเขตอานาจ หรือศาลชานัญพิเศษ ที่พนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐยื่นฟ้องคดีความผิดทางพินัย หรือที่เจ้าหน้าที่ของรัฐยื่นคาร้อง ตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 แล้วแต่กรณี “ ศาลชั้นอุทธรณ์ ” หมายความว่า ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค หรือศาลอุทธรณ์ คดีชำนัญพิเศษ “ โจทก์ ” หมายความว่า พนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่ของรั ฐซึ่งฟ้องคดีความผิดทางพินัยต่อศาล “ จาเลย ” หมายความว่า บุคคลผู้ถูกฟ้องต่อศาลว่ากระทำความผิดทางพินัย และเพื่อประโยชน์ ในการดาเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงผู้ดำเนินการแทน “ คู่ความ ” หมายความว่า โจทก์และจำเลย ข้อ 4 ในกรณีจาเป็นต้องมีวิธีการใดในทางธุรการเพื่อให้การปฏิบัติตามข้อบังคับนี้เป็นไป โดยเรียบร้อย ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้กำหนดวิธีการนั้น ข้อ 5 ให้ประธานศาลฎีการักษาการและมีอานาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ รวมทั้งออกระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือคำแนะนำเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 6 การพิจารณาคดีความผิดทางพินัยให้เป็นไปตามที่กาหนดในข้อบังคับนี้ และในกรณีที่ ข้อบังคับนี้ไม่ได้กาหนดไว้ ให้นาบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมาย ว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือ แย้งกับข้อบังคับนี้ โดยคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม และไม่เป็นภาระแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องจนเกินสมควร ้ หนา 63 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดวิธีพิจารณาสาหรับคดีประเภทใดไว้เป็ นการเฉพาะ หากข้อหา ตามฟ้องในคดีดังกล่าวมีความผิดทางพินัยรวมอยู่ด้วย ให้นาวิธีพิจารณาตามข้อบังคับนี้ไปใช้บังคับแก่ การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวในส่วนที่เป็นความผิดทางพินัยเท่าที่จะทำได้ คดีความผิดทางพินัยที่อยู่ในอานาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว ให้คานึงถึง การคุ้มครองและการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ ข้อ 7 การดาเนินกระบวนพิจารณาตามข้อบังคับนี้ ให้ดาเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหลัก โดยให้นาข้อกาหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคาคู่ความและเอกสาร ทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการจัดทำสารบบความ สารบบคาพิพากษา และการรวบรวมเก็บรักษาเอกสารในสานวนความในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 และข้อกาหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ .ศ. 2563 มาใช้บังคับ การดาเนินกระบวนพิจารณาตามวรรคหนึ่ง หากหน่วยงานหรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถ รองรับการใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ให้ปฏิบัติตามวิธีการที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายอยู่เดิม ไปพลางก่อน ศาลอาจดาเนินกระบวนพิจารณาตามข้อบังคับนี้ โดยไม่จาต้องนั่งพิจารณาหรือกระทาต่อโจทก์ และจำเลยพร้อมกันก็ได้ แต่ต้องให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสโต้แย้งกระบวนพิจารณานั้น ข้อ 8 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดีความผิดทางพินัย ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดี หรือเจ้าพนักงานศาลทำหน้าที่ช่วยเหลือศาล ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจคำฟ้องและคำร้องที่ยื่นต่อศาล และทำความเห็นเสนอศาล (2) ตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานตามที่ศาลมีคำสั่ง (3) จัดทำรายงานเกี่ยวกับคดีเพื่อให้ศาลใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาคดี (4) ช่วยเหลือศาลในการบันทึกคำพยานและรายงานกระบวนพิจารณา (5) ปฏิบัติหน้ำที่อื่นตามข้อบังคับนี้ ข้อ 9 ระยะเวลาที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัย ข้อบังคับนี้ หรือตามที่ ศาลกาหนด เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความมีคาขอ ศาลอาจย่นหรือขยายได้ตามความจาเป็นและ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ข้อ 10 จำเลยอาจแต่งตั้งทนายความหรือบุคคลอื่นให้ดาเนินกระบวนพิจารณาแทนได้โดยแสดง หลักฐานการแต่งตั้งเป็นหนังสือต่อศาล ผู้ดำเนินการแทนต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ มีความรู้ความสามารถดาเนินการแทนจำเลย ในเรื่องนั้น ๆ และสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดี โดยหากศาลเห็นว่าผู้นั้นจะดาเนินการแทนในทางที่ เกิดความเสียหายแก่จำเลย ศาลอาจมีคำสั่งไม่อนุญาตหรือมีคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ้ หนา 64 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

หมวด 2 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น ส่วนที่ 1 การฟ้อง การยื่นคำร้อง และการพิจารณาคดี ข้อ 11 ฟ้องต้องมีรายละเอียดถึงตาแหน่งของพนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้เป็นโจทก์ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และสัญชาติของจาเลย ฐานความผิดทางพินัย การกระทาที่อ้างว่าจาเลยได้กระทา ความผิดทางพินัย ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และมาตราในกฎหมายซึ่งบั ญญัติว่าการกระทำเช่นนั้น เป็นความผิดทางพินัยเพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี พร้อมทั้งสำเนาคำฟ้องมาส่งศาลให้เพียงพอกับ จำนวนของจำเลย ในวันยื่นฟ้องโจทก์จะมีหรือไม่มีตัวจำเลยมาศาลก็ได้ แต่ให้โจทก์ส่งหลักฐานที่ทางราชการออกให้ ที่สามารถยืนยันตัวของจาเลย และเสนอสาเนาสานวนคดีความผิดทางพินัยของเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อศาล พร้อมฟ้องในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ กรณีที่สามารถดาเนินกระบวนพิจารณาต่อจาเลยโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ศาลจะสั่งให้ โจทก์งดส่งสำเนาคำฟ้องตามวรรคหนึ่งก็ได้ ข้อ 12 ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมาย แล้ว ให้ศาลประทับฟ้อง และส่งสาเนาคาฟ้องให้จาเลย กรณีที่ศาลเห็นว่าฟ้องไม่ถูกต้อง ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง กรณีที่โจทก์ไม่มีตัวจาเลยมาพร้อมฟ้อง ให้ศาลส่งสาเนาคาฟ้องและหมายเรียกเพื่อให้จาเลย ยื่นคำแถลงความประสงค์ในการต่อสู้คดี หรือมาศาลเพื่ อแถลงความประสงค์ในการต่อสู้คดี ภายในกาหนด เจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำฟ้องและหมายเรียก การส่งสาเนาคาฟ้องและหมายเรียกให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยหากส่งไปยัง ที่อยู่ที่ปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของจาเลยหรือตามที่ ได้แจ้งไว้ต่อหน่วยงานของรัฐ ให้ถือว่าจาเลยได้รับตั้งแต่วันครบสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏในทะเบียนตอบรับ หรือส่งโดยวิธีอื่นตามที่กำหนดในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาม ที่ศาลเห็นสมควร ข้อ 13 ถ้าจาเลยไม่ยื่นคาแถลงความประสงค์ในการต่อสู้คดีหรือไม่มาแถลงความประสงค์ ในการต่อสู้คดีภายในกาหนดเวลาตามข้อ 12 หรือแถลงไม่ประสงค์ต่อสู้คดี ให้ศาลพิจารณาสานวนคดี ความผิดทางพินัยของเจ้าหน้าที่ของรัฐและจะมีคำพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยานหลั กฐานต่อไปก็ได้ ถ้าจาเลยประสงค์ต่อสู้คดี ให้ศาลสอบถามจำเลยว่าประสงค์จะโต้แย้งในปัญหาเกี่ยวกับความรับผิด ทางพินัยหรือจานวนค่าปรับเป็นพินัย จากนั้นให้ศาลพิจารณาว่าจาเป็นต้องสืบพยานหลักฐานหรือไม่ หากเห็นว่าจำเป็น ก็ให้โจทก์และจำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสืบ ้ หนา 65 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

ในกรณีที่ต้องสืบพยานหลักฐาน ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็ว โดยแจ้งให้โจทก์ และจำเลยมาศาลตามกำหนดนัดเพื่อพิจารณาและสืบพยานในวันเดียวกัน ข้อ 14 ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีหรือเจ้าพนักงานศาลดำเนินการตามข้อ 8 และอาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดช อบสำนวนคดีความผิดทางพินัยตรวจสอบและรวบรวม พยานหลักฐานเพิ่มเติม แล้วจัดส่งพยานหลักฐานดังกล่าวต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด รวมถึงอาจเรียกพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานหรือบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคา หรือดาเนินการอื่นใดตามที่ศาลเห็นสมควร และศาลอาจรับฟังสำนวนคดีความผิดทางพินัยของเจ้าหน้าที่ของรัฐ บันทึกถ้อยคายืนยันข้อเท็จจริงแทนคาเบิกความ พยานเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นใดเพื่อวินิจฉัยคดี โดยหากเห็นว่าจำเป็นจะไต่สวนพยานบุคคลเพิ่มเติมก็ได้ ข้อ 15 ให้นาบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญาเกี่ยวกับการรับฟังและ ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานมาใช้บังคับกับคดีความผิดทางพินัยโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้าหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาให้รับผิดทางพินัยจนกว่าจะมี พยานหลักฐานที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือว่าจำเลยกระทำความผิดทางพินัย ข้อ 16 การร้องขอให้กาหนดค่าปรับเป็นพินัยแก่ผู้กระทำความผิดทางพินัยที่เป็นบุคคลธรรมดา ต่ำกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือขอให้ผู้กระทำความผิดทางพินัยดังกล่าวทำงานบริการสังคมหรือ ทางานสาธารณประโยชน์แ ทนค่าปรับเป็นพินัยตามมาตรา 10 วรรคสามและวรรคสี่ ของพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยื่นคาร้องพร้อมสาเนาคาร้องของผู้กระทา ความผิดทางพินัยที่ได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหนังสือให้ความยินยอมแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการยื่นคาร้อง แล้วแต่กรณี ให้เจ้าพนักงานคดีหรือเจ้าพนักงานศาลเสนอความเห็นเกี่ยวกับคำร้องต่อศาลโดยเร็วและ จะไต่สวนเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้กระทาความผิดทางพินัยด้วยก็ได้ และเมื่อศาลมีคาสั่งคาร้องประการใดแล้ว ให้แจ้งคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทราบ ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล หากจาเลยยื่นคาร้องขอให้ศาลมีคาสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลไต่สวน และมีคำสั่งรวมไปในคำพิพากษา ส่วนที่ 2 คำพิพากษาและคำสั่ง ข้อ 17 คาพิพากษาหรือคาสั่งคดีความผิดทางพินัย อย่างน้อยต้องมีข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุป และคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี พร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น ข้อ 18 การอ่านคาพิพากษาหรือคำสั่ง ให้อ่านข้อความในศาลโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่ความ ทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แล้วแต่กรณี ถ้าคู่ความไม่มาศาล ศา ลจะงดการอ่านคาพิพากษาหรือ คาสั่งก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลจดแจ้งไว้ในรายงาน และให้ถือว่าคาพิพากษาหรือคาสั่งนั้นได้อ่าน ตามกฎหมายแล้ว ้ หนา 66 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

คู่ความอาจร้องขอให้ศาลมีหนังสือแจ้งคาพิพากษาหรือคาสั่งแทนการอ่านคาพิพากษาหรือคาสั่ง ตามวิธีการที่สำนักงานศาลยุติธรรมกาหนดก็ได้ และให้ถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้อ่านสำหรับคู่ความนั้น ในวันที่หนังสือแจ้งไปถึง กรณีที่ศาลพิพากษาให้ชาระค่าปรับเป็นพินัย ให้ศาลออกคาบังคับกาหนดเวลาให้ชาระค่าปรับ เป็นพินัยภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันทราบคำบั งคับ ให้ศาลส่งคำบังคับโดยนำความตามวรรคสามของข้อ 12 มาใช้บังคับแก่การส่งคำบังคับ โดยอนุโลม เว้นแต่จำเลยทราบคำบังคับนั้นแล้ว ข้อ 19 คดีใดที่ได้มีคาพิพากษาถึงที่สุดให้บุคคลใดต้องรับผิดทางพินัย อาจร้องขอให้พิจารณา พิพากษาใหม่ได้ เมื่อปรากฏว่า (1) พยานบุคคลซึ่งศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิพากษาคดีอันถึงที่สุดนั้น ได้มีคาพิพากษา ถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าคำเบิกความของพยานนั้นเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง (2) พยานหลักฐานอื่นนอกจากพยานบุคคลตาม (1) ซึ่งศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิจารณา พิพากษาคดีอั นถึงที่สุดนั้น ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าเป็นพยานหลักฐานปลอมหรือเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง หรือ (3) มีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสาคัญแก่คดี ซึ่งถ้าได้นามาสืบในคดีอันถึงที่สุดนั้น จะแสดงว่าบุคคลผู้ต้องถูกปรับเป็นพินัยโดยคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นไม่ได้กระทำความผิดทางพินัย การดำเนินคดีในชั้นร้องขอให้พิจารณาพิพากษาใหม่ ให้นำกฎหมายว่าด้วยการรื้อฟื้นคดีอาญา ขึ้นพิจารณาใหม่มาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ หมวด 3 อุท ธรณ์ ข้อ 20 การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย ให้จาเลยที่ต้องคาพิพากษาว่ามีความผิดทางพินัย กระทำได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ ข้อ 21 การยื่นอุทธรณ์ ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่มีคาพิพากษาคดีนั้นภายในกาหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษา ในกรณีที่มีการขอขยายระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นมีอานาจสั่งตามที่เห็นสมควร หากศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาต ให้ส่งศาลชั้นอุทธรณ์พิจารณาสั่ง ข้อ 22 ปัญหาข้อกฎหมายที่อุทธรณ์ต้องเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลชั้นอุทธรณ์ควรวินิจฉัย ปัญหาสำคัญตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงกรณี ดังต่อไปนี้ (1) การโต้แย้งว่าการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ขัดต่อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (2) การโต้แย้งว่าการ ดาเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับนี้ ้ หนา 67 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

(3) เมื่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญขัดกัน หรือขัดกับแนวบรรทัดฐาน ของคำพิพากษาศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกา (4) เมื่อคาพิพากษาของศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สาคัญซึ่งยังไม่ มีแนวคาพิพากษาของ ศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกามาก่อน (5) เมื่อคาพิพากษาหรือคาสั่งของศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายขัดกับคาพิพากษาหรือ คำสั่งอันถึงที่สุดของศาลอื่น (6) เมื่อพิจารณาข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์แล้วอาจมีผลเปลี่ยนแปลงสาระสาคัญ ในคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น (7) ปัญหาข้อกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ หมวด 4 ค่าฤชาธรรมเนียม ข้อ 23 ภายใต้บังคับข้อ 24 การดาเนินการทางศาลตามข้อบังคับนี้ ให้คู่ความได้รับยกเว้น ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ข้อ 24 ความรับผิดชั้นที่สุดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 256 6 โชติวั ฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกา ้ หนา 68 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566