Tue Jun 20 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2566


ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2566

ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดให้มีระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยค่าใช้จ่าย ในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ อาศัยอานาจตามความในมาตรา 49 (4) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยค่าใช้จ่าย ในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันปร ะกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2565 ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ “ เลขาธิการ ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ “ สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ “ บุคลากรของสำนักงาน ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของ สำนักงานและให้หมายความรวมถึงบุคคลซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนเป็นรายเดือนจากสำนักงานด้วย “ เจ้าหน้าที่ ” หมายความว่า บุคลากรของสานักงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานตามระเบียบนี้ และให้หมายความรวมถึงบุคคลอื่นที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ ปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย “ ผู้ปฏิบัติงานลักษณะพิเศษ ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมิใช่บุคลากรของสานักงานและได้รับแต่งตั้ง จากเลขาธิการให้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ เพื่อให้การฝึกอบรมหรือการประชุม ระหว่างประเทศเป็นไปด้วย ความเรียบร้อย “ การฝึกอบรม ” หมายความว่า การอบรม การประชุมทางวิชาการหรือเชิงปฏิบัติการ การสัมมนา ทางวิชาการหรือเชิงปฏิบัติการ การบรรยายพิเศษ การฝึกศึกษา การดูงาน การฝึกงาน หรือที่เรียกชื่อ อย่างอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีโครงการหรือหลักสูตรและช่วงเวลาที่แน่นอนที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคคลหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน “ การฝึกอบรมระดับบริหาร ” หมายความว่า การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่ง เป็นข้าราชการตาแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง ข้าราช การตาแหน่งประเภทอานวยการระดับสูง ข้าราชการตาแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ และตาแหน่งที่เทียบเท่า ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

“ การฝึกอบรมระดับปฏิบัติงาน ” หมายความว่า การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่ง เป็นข้าราชการตาแหน่งประเภทอานวยการระดับต้น ข้ำราชการตาแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษ ข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงานและระดับอาวุโส พนักงานราชการ ลูกจ้าง และตาแหน่งที่เทียบเท่า “ การฝึกอบรมบุคคลภายนอก ” หมายความว่า การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่ง มิใช่บุคลากรของรัฐ “ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ” หมายความรวมถึง บุคลากรของสานักงานหรือบุคคลซึ่งมิใช่บุคลากร ของสำนักงานที่เข้ารับการฝึกอบรมตามโครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรม “ การประชุมระหว่างประเทศ ” หมายความว่า การปร ะชุมหรือสัมมนาระหว่างประเทศที่สำนักงาน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศจัดหรือจัดร่วมกัน ในประเทศไทย โดยมีผู้แทนจากสองประเทศขึ้นไปเข้าร่วมประชุมหรือสัมมนา “ การดูงาน ” หมายความว่า การเพิ่มพูนความรู้หรือประสบการณ์ด้วยกำรสังเกตการณ์ ซึ่งกาหนดไว้ในโครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรม หรือกาหนดไว้ในแผนการจัดการประชุมระหว่าง ประเทศ ให้มีการดูงาน ก่อน ระหว่าง หรือหลังการฝึกอบรมหรือการประชุมระหว่างประเทศ และหมายความ รวมถึงโครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรมเฉพาะการดูงานภายในประเทศที่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนจัดขึ้น “ ผู้แทน ” หมายความว่า ผู้แทนประเทศไทย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมการประชุม ระหว่างประเทศ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ “ ผู้เข้าร่วมประชุม ” หมายความว่ำ ผู้แทน ผู้แทนของต่างประเทศ และบุคคลที่สานักงาน ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นมอบหมายให้เข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศ ข้อ 5 ให้ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการเป็นผู้ วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 6 การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการประชุมระหว่างประเทศให้เป็นไปตามระเบียบนี้ การเบิกจ่ายเงินและหลักฐานการจ่ายซึ่งมิได้กาหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ คณะกรรมการว่าด้วยการรับ การจ่าย และการเก็บรักษาเงิน ข้อ 7 ให้ผู้ปฏิบัติงานลักษณะพิเศษได้รับค่าตอบแทนเฉพาะวันที่ปฏิบัติงาน โดยให้เลขาธิการ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติการเบิกจ่ายค่าตอบแทนตามความจาเป็นและเหมาะสม และให้คานึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของบุคคลดังกล่าวประกอบด้วย ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

ข้อ 8 กรณีที่บุคลากรของสานักงานได้รับอนุมัติให้เข้ารับการฝึกอบรมหรือการประชุม ระหว่างประเทศ มีความจำเป็นต้องออกเดินทางล่วงหน้าหรือไม่สามารถเดินทางกลับท้องที่ตั้งสำนักงานปกติ เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรม เพ ราะเหตุส่วนตัว ในกรณีไม่ใช่วันหยุดราชการ ต้องได้รับอนุมัติให้ลา ตามระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยการลาของข้าราชการสำนักงานหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง และได้รับอนุมัติ ระยะเวลาดังกล่าวจากผู้มีอานาจอนุมัติแล้ว ให้มีสิทธิได้รับค่าพาหนะเดินทางตามที่ระเบียบนี้กาหนดไ ว้ ต่อเมื่อได้มีการเข้าฝึกอบรมหรือเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศแล้ว ข้อ 9 ในกรณีที่สานักงานประสงค์จะจ้างจัดการฝึกอบรมหรือการประชุมระหว่างประเทศ ทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ดาเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ใบเสร็จรับเงินของผู้รับจ้างเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน หมวด 2 ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ส่วนที่ 1 ค่าใช้จ่ายกรณีสำนักงานจัดการฝึกอบรม ข้อ 10 โครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรมที่ สานักงานเป็นผู้จัด หรือจัดร่วมกับหน่วยงานอื่น ต้องได้รับอนุมัติจากเลขาธิการ เพื่อเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายตามระเบียบนี้ ข้อ 11 ค่าใช้จ่ายกรณีสำนักงานจัดการฝึกอบรม ให้เบิกจ่ายได้ตามรายการ ดังต่อไปนี้ (1) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และการตกแต่งสถานที่จัดการฝึกอบรม (2) ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด - ปิด การฝึกอบรม (3) ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์ (4) ค่าประกาศนียบัตร (5) ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งตีพิมพ์ (6) ค่าหนังสือสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม (7) ค่าใ ช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร (8) ค่าเช่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการฝึกอบรม (9) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (10) ค่าประกันภัยการเดินทาง (11) ค่ากระเป๋าหรือสิ่งที่ใช้บรรจุเอกสารสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม (12) ค่าของสมนาคุณในการดูงาน (13) ค่าสมนาคุณวิทยากร ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

(14) ค่าอาหาร (15) ค่าเช่าที่พัก (16) ค่าพาหนะ (17) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการฝึกอบรมตามที่เลขาธิการให้ความเห็นชอบ ค่าใช้จ่ายตาม (1) ถึง (10) และ (17) ให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด ค่าใช้จ่ายตาม (11) ให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง ใบละไม่เกินห้าร้อยบาท ค่าใช้จ่ายตาม (12) ให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง แห่งละไม่เกินสามพันบาท ค่าใช้จ่ายตาม (13) ถึง (16) ให้เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์และอัตราตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ข้อ 12 การฝึกอบรมบุคคลภายนอกให้จัดได้เฉพาะการฝึกอบรมในประเทศเท่านั้น ข้อ 13 บุคคลที่จะเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตามระเบียบนี้ ได้แก่ (1) ประธานในพิธีเปิดหรือพิธีปิดการฝึกอบรม ผู้ที่ได้รับเชิญ และผู้ติดตาม (2) เจ้าหน้าที่ (3) วิทยากร (4) ผู้เข้ารับการฝึกอบร ม (5) ผู้สังเกตการณ์ (6) ผู้ปฏิบัติงานลักษณะพิเศษ ค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งให้สำนักงานเป็นผู้เบิกจ่าย แต่ถ้าจะเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือ บางส่วนจากหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ให้ทาได้เมื่อสานักงานร้องขอ และหน่วยงาน ต้นสังกัดตกลงยินยอม ข้อ 14 การเทียบตาแหน่งของบุคคลตามข้อ 13 (1) (2) (3) (5) และ (6) ที่มิได้เป็น บุคลากรของรัฐ เพื่อเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) บุคคลที่เคยเป็นบุคลากรของรัฐมาแล้ว ให้เทียบตามระดับตาแหน่งหรือชั้นยศครั้งสุดท้าย ก่อนออกจากราช การหรือออกจากงาน แล้วแต่กรณี (2) บุคคลที่กระทรวงการคลังได้เทียบระดับตาแหน่งไว้แล้ว (3) วิทยากรในการฝึกอบรมระดับบริหาร ให้เทียบเท่าข้าราชการประเภทบริหารระดับสูง สาหรับวิทยากรในการฝึกอบรมระดับปฏิบัติงานและวิทยากรในการฝึกอบรมบุคคลภายนอก ให้เทียบเท่า ข้าราช การตาแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น (4) นอกจาก (1) (2) หรือ (3) ให้เลขาธิการพิจารณาเทียบตาแหน่งตามความเหมาะสม โดยถือหลักการเทียบตาแหน่งของกระทรวงการคลังตาม (2) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

ข้อ 15 การเทียบตาแหน่งของบุคคลตามข้อ 13 (4) ที่มิได้เป็นบุคลากรของรัฐ เพื่อเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายตามระเบียบนี้ ให้สำนักงานเทียบตาแหน่งได้ ดังนี้ (1) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในการฝึกอบรมระดับบริหาร ให้เทียบได้ไม่เกินสิทธิของข้าราชการ ตาแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (2) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในการฝึกอบรมระดับปฏิบัติงาน ให้เทียบได้ไม่เกินสิทธิของข้าราชการ ตาแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ข้อ 16 การเบิกจ่ายค่าพาหนะเดินทางไป - กลับระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก หรือที่ปฏิบัติราชการ ไปยังสถานที่จัดฝึกอบรมของบุคคลตามข้อ 13 ให้เบิกจ่ายตามระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการ สาหรับบุคคลใดที่มิได้กาหนดหลักเกณฑ์และอัตราการเบิกค่าใช้จ่ายไว้ในระเบียบคณะกรรมการ ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ให้เทียบตาแหน่งการเบิกค่าใช้จ่ายตามข้อ 14 หรือข้อ 15 ก่อน และให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินสิทธิตามระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ข้อ 17 การจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) ชั่วโมงการฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการบรรยาย ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรได้ไม่เกินหนึ่งคน (2) ชั่วโมงการฝึกอบ รมที่มีลักษณะเป็นการอภิปรายหรือสัมมนาเป็นคณะ ให้จ่ายค่าสมนาคุณ วิทยากรได้ไม่เกินห้าคน โดยรวมถึงผู้ดำเนินการอภิปรายหรือสัมมนาที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิทยากรด้วย (3) ชั่วโมงการฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการแบ่งกลุ่มฝึกภาคปฏิบัติ แบ่งกลุ่มอภิปรายหรือสัมมนา หรือแบ่งกลุ่มทากิจกรรม ซึ่งได้กาหนดไว้ในโครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรมและจาเป็นต้องมีวิทยากร ประจำกลุ่ม ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรได้ไม่เกินกลุ่มละสองคน (4) ชั่วโมงการฝึกอบรมใดมีวิทยากรเกินกว่าจานวนที่กำหนดไว้ตาม (1) (2) หรือ (3) ให้เฉลี่ยจ่ายค่าสมนาคุ ณวิทยากรไม่เกินจำนวนเงินที่จ่ายได้ตามหลักเกณฑ์ (5) การนับชั่วโมงการฝึกอบรมให้นับตามเวลาที่กาหนดในตารางการฝึกอบรม โดยไม่ต้องหัก เวลาที่พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม แต่ละชั่วโมงการฝึกอบรมต้องมีกาหนดเวลาการฝึกอบรม ไม่น้อยกว่าห้าสิบนาที กรณีกาหนดเวลา การฝึกอบรมไม่ถึงห้าสิบนาที แต่ไม่น้อยกว่ายี่สิบห้านาที ให้จ่าย ค่าสมนาคุณวิทยากรได้กึ่งหนึ่ง ข้อ 18 อัตราค่าสมนาคุณวิทยากร ให้วิทยากรสาหรับการฝึกอบรมทุกประเภทและทุกระดับ การฝึกอบรมได้รับค่าสมนาคุณวิทยากรเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินอัตราตามบัญชีหมายเลข 1 ท้ายระเบียบนี้ เว้นแต่กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้วิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เป็นพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการฝึกอบรม ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรสูงกว่าอัตราที่กาหนดไว้ได้โดยให้อยู่ในดุลพินิจ ของเลขาธิการพิจารณาเป็นรายกรณี หลักฐานการจ่ายค่าสม นาคุณวิทยากร ให้เป็นไปตามแบบที่สำนักงานกำหนด ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

การฝึกอบรมใดที่วิทยากรได้รับค่าสมนาคุณวิทยากรจากหน่วยงานอื่นแล้ว ให้สำนักงาน งดเบิกจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรสำหรับการฝึกอบรมนั้น ข้อ 19 ในโครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรมที่มีการจัดอาหารให้แก่บุคคลตามข้อ 13 ให้สำนั กงานเบิกค่าอาหารได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราตามบัญชีหมายเลข 2 ท้ายระเบียบนี้ ข้อ 20 ในโครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรมที่มีการจัดที่พักและออกค่าเช่าที่พักให้แก่บุคคล ตามข้อ 13 ให้สานักงานเบิกจ่ายค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินอัตราค่าเช่าที่พักตามบัญชี หมายเลข 3 และบัญชีหมายเลข 4 ท้ายระเบียบนี้ และตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) การจัดที่พักให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สำหรับการฝึกอบรมระดับปฏิบัติงานและ การฝึกอบรมบุคคลภายนอก ให้พักรวมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปโดยให้พักห้องพั กคู่ เว้นแต่เป็นกรณี ที่ไม่เหมาะสมหรือมีเหตุจำเป็นไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ เลขาธิการอาจจัดให้พักห้องพักคนเดียวได้ (2) การจัดที่พักให้แก่ผู้สังเกตการณ์หรือเจ้าหน้าที่ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตาแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชานาญการ ระดั บชานาญการพิเศษ และตาแหน่ง ประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส ให้พักรวมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยให้พักห้องพักคู่ เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมหรือมีเหตุจาเป็นไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ เลขาธิการ อาจจัดให้พักห้องพักคนเดียวได้ ส่วนผู้สังเกตการณ์หรือเจ้าหน้าที่ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ระดับสูง หรือตำแหน่งที่เทียบเท่าตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ระดับทรงคุณวุฒิ จะจัดให้พักห้องพักคนเดียวก็ได้ (3) การจัดที่พักให้แก่ประธานในพิธีเปิดหรือพิ ธีปิดการฝึกอบรม ผู้ที่ได้รับเชิญ และผู้ติดตาม หรือวิทยากร ให้พักห้องพักคนเดียวหรือพักห้องพักคู่ก็ได้ ข้อ 21 กรณีสำนักงานจัดยานพาหนะในการฝึกอบรมให้หรือรับผิดชอบค่ายานพาหนะ สำหรับบุคคลตามข้อ 13 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) กรณีใช้ยานพาหนะของสานัก งานหรือกรณียืมยานพาหนะจากส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่น ให้เบิกค่าเชื้อเพลิงได้เท่าที่จ่ายจริง (2) กรณีใช้ยานพาหนะประจาทาง การเบิกจ่ายค่ายานพาหนะให้เป็นไปตามระดับการฝึกอบรม ตามสิทธิของข้าราชการตามระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการโดยอนุโลม ดังนี้ (ก) การฝึกอบรมระดับบริหาร ให้จัดยานพาหนะตามสิทธิของข้าราชการตำแหน่ง ประเภทบริหารระดับสูง (ข) การฝึกอบรมระดับปฏิบัติงาน ให้จัดยานพาหนะตามสิทธิของข้าราชการตาแหน่ง ประเภททั่วไประดับชำนาญงาน (ค) การฝึกอบรมบุคคลภายนอก ให้จัดยานพาหนะตามสิทธิของข้าราชการตาแหน่ง ประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด ้ หนา 26 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

(3) กรณี เช่าเหมายานพาหนะ ให้เบิกจ่ายค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจาเป็น เหมาะสม และประหยัด (4) กรณีวิทยากรมีถิ่นที่อยู่ในท้องที่เดียวกับสถานที่จัดการฝึกอบรม จะเบิกจ่ายเงินค่าพาหนะ รับจ้างไป - กลับ หรือเงินชดเชยกรณีใช้ยานพาหนะส่วนตัวให้แก่วิทยากรแทนการจัดรถรับส่งวิทยากร ได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจาเป็นตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการโดยอนุโลม โดยหลักฐานการจ่ายให้เป็นไปตามแบบที่สำนักงานกำหนด ข้อ 22 การจั ดการฝึกอบรมที่สำนักงานไม่จัดอาหาร ที่พัก หรือยานพาหนะทั้งหมด หรือจัดให้บางส่วน ให้สานักงานเบิกค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนที่ขาดให้แก่บุคคลตามข้อ 13 แต่ถ้าบุคคลตามข้อ 13 (4) หรือ (5) เป็นบุคลากรของรัฐให้เบิกจ่ายจากต้นสังกัด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ยกเว้น (1) ค่าเช่าที่พัก ให้เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์และอัตราตามข้อ 20 (2) ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ให้คานวณเวลาเพื่อเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางโดยให้นับตั้งแต่เวลาที่เดินทาง ออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการ ตามปกติ แล้วแต่กรณี โดยให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน ถ้าไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมง และส่วนที่ไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่ วโมงนั้นเกินกว่าสิบสองชั่วโมงให้ถือเป็นหนึ่งวัน แล้วนา จานวนวันทั้งหมดมาคูณกับอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางเหมาจ่ายต่อวันเพื่อเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ในกรณีที่ สานักงานจัดอาหารบางมื้อในระหว่างการฝึกอบรม ให้หักเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่คานวณได้ในอัตรามื้อละ หนึ่ งในสามของอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางเหมาจ่ายต่อวัน ข้อ 23 การจัดการฝึกอบรมบุคคลภายนอก ถ้าสานักงานไม่จัดอาหาร ที่พัก หรือยานพาหนะ ทั้งหมด หรือจัดให้บางส่วน ให้สำนักงานเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่บุคคลตามข้อ 13 ที่เป็นบุคลากรของรัฐ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 22 และให้สำนักงานเบิกค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนที่ขาด ให้แก่บุคคลตามข้อ 13 ที่มิได้เป็นบุคลากรของรัฐ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) ค่าอาหาร (ก) การฝึกอบรมที่จัดอาหารให้สองมื้อ ให้เบิกจ่ายค่าอาหารได้ไม่เกินคนละหนึ่งร้อยบาท ต่อวัน (ข) การฝึกอบรมที่จัดอาหารให้หนึ่งมื้อ ให้เบิกจ่ายค่าอาหารได้ไม่เกินคนละสองร้อยบาท ต่อวัน (ค) การฝึกอบรมที่ไม่จัดอาหารทั้งสามมื้อ ให้เบิกจ่ายค่าอาหารได้ไม่เกินคนละสามร้อยบาท ต่อวัน (2) ค่าเช่าที่พัก ให้เบิกจ่ายในลักษณะเหมาจ่ายไม่เกินคนละเจ็ดร้อยบาทต่อวัน (3) ค่าพาหนะเดินทาง ให้เบิกจ่ายตามสิทธิของข้าราชการตาแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน หลักฐานการจ่ายตามข้อนี้ ให้เป็นไปตามแบบที่สำนักงานกำหนด ้ หนา 27 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

ข้อ 24 โครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรมที่สานักงานได้รับความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทั้งหมด จากหน่วยงานภายในประเทศ ต่างประเทศ หรือระหว่างประเทศ ให้งดเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย ส่วนกรณีที่ สานักงานได้รับความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายบางส่วน ให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายสมทบเฉพาะในส่วนที่ไม่ ได้รับ ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ข้อ 25 ให้มีการประเมินผลการฝึกอบรม และรายงานต่อเลขาธิการภายในหกสิบวันนับแต่ วันสิ้นสุดการฝึกอบรม ส่วนที่ 2 ค่าใช้จ่ายกรณีเข้าร่วมการฝึกอบรมที่หน่วยงานอื่นจัด ข้อ 26 ในการส่งบุคลากรของสานักงานเข้ารับการฝึกอบรมที่หน่วยงานอื่นเป็นผู้จัดการฝึกอบรม ให้เลขาธิการพิจารณาอนุมัติเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์ต่อสานักงานตามจานวน ที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสมในการปฏิบัติงาน ข้อ 27 ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าลงทะเบียน ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายทานองเดียวกันที่เรียกชื่อ อย่างอื่น ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเบิกเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราที่หน่วยงานผู้จัดการฝึกอบรมเรียกเก็บ ข้อ 28 กรณีที่ค่าใช้จ่ายตามข้อ 27 ได้รวมค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก หรื อค่าพาหนะไว้ทั้งหมด หรือหน่วยงานผู้จัดการฝึกอบรมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก หรือค่าพาหนะทั้งหมด ให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมงดเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว ข้อ 29 กรณีค่าใช้จ่ายตามข้อ 27 ไม่รวมค่าอาหาร ค่าเ ช่าที่พัก หรือค่าพาหนะ หรือรวมไว้ บางส่วนหรือผู้จัดการฝึกอบรมไม่รับผิดชอบค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก หรือค่าพาหนะทั้งหมด หรือรับผิดชอบ ให้บางส่วน ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมด หรือเฉพาะส่วนที่ขาด หรือส่วนที่ผู้จัดการ ฝึกอบรมมิได้รับผิดชอ บให้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 22 ข้อ 30 กรณีที่บุคลากรของสานักงานได้รับอนุมัติให้เดินทางไปเข้ารับการฝึกอบรมในต่างประเทศ โดยได้รับความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปฝึกอบรมทั้งหมด ให้งดเบิกค่าใช้จ่าย ส่วนกรณี ได้รับความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปฝึกอบรมบางส่วน ให้เบิกค่าใช้จ่ายสมทบในส่วนที่ ไม่ได้รับความช่วยเหลือได้ตามระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) กรณีได้รับความช่วยเหลือค่าโดยสารเครื่องบินไป - กลั บ แล้ว แม้จะต่ากว่าสิทธิที่ได้รับ ก็ให้งดเบิกค่าโดยสารเครื่องบิน แต่ถ้าได้รับความช่วยเหลือค่าโดยสารเครื่องบินเพียงเที่ยวเดียว ให้เบิกค่าโดยสารเครื่องบินอีกหนึ่งเที่ยวไม่สูงกว่าสิทธิที่พึงได้รับ (2) กรณีมีการจัดที่พักให้ ให้งดเบิกค่าเช่าที่พัก แต่ถ้าได้รับความช่วยเหลือค่าเช่าที่พักต่ากว่า สิทธิที่พึงได้รับ ให้เบิกค่าเช่าที่พักสมทบเฉพาะส่วนที่ขาดตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับค่าเช่าที่พัก ที่ได้รับความช่วยเหลือแล้ว จะต้องไม่เกินสิทธิที่พึงได้รับ ้ หนา 28 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

(3) กรณีได้รับความช่วยเหลือค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางต่า กว่าสิทธิที่พึงได้รับ ให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยง เดินทางสมทบเฉพาะส่วนที่ขาด แต่ถ้ามีการจัดอาหารในระหว่างการฝึกอบรม การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 22 การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทารายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ได้ รับความช่วยเหลือ พร้อมแนบสำเนาหนังสือของหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย กรณีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือไม่ได้ระบุวงเงินให้ความช่วยเหลือไว้ ให้คานวณเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับ ความช่วยเหลือตามอัตราค่าใช้จ่ายตามระเบียบนี้ ทั้งนี้ ตามแบบที่สำนักงานกำหนด ข้อ 31 ให้บุคลากรของสานักงานซึ่งเข้าร่วมการฝึกอบรมที่หน่วยงานอื่นเป็นผู้จัดการฝึกอบรม จัดทำรายงานผลการเข้าร่วมการฝึกอบรมเสนอเลขาธิการภายในหกสิบวันนับแต่วันเดินทางกลับถึงสำนักงาน หมวด 3 ค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ข้อ 32 การจัดงานตามแผนงานหรือโครงการตามภารกิจปกติ หรือตามนโยบายของสานักงาน เช่น การจัดงานวันคล้ายวันสถาปนาของสำนักงาน การจัดงานนิทรรศการ การจัดการประกวดหรือแข่งขัน หรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เลขาธิการพิจารณาอนุมัติการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงานได้เท่าที่ จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด กรณีที่สำนักงานจัดอาหาร ที่พัก หรือยานพาหนะ ให้แก่ประธานในพิธี ผู้ที่ได้รับเชิญ ผู้ติดตาม เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานลักษณะพิเศษ หรือผู้เข้าร่วมงาน ให้นาความในข้อ 19 ข้อ 20 และข้อ 21 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ในกรณีที่สานักงานไม่จัดอาหาร ที่พัก หรือยานพาหนะทั้งหมดหรือบางส่วน ให้แก่บุคคลดังกล่าว ให้นาความในข้อ 22 มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด 4 ค่าใช้จ่ายในการประชุมระหว่างประเทศ ข้อ 33 บุคคลที่จะเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการประชุมระหว่างประเทศตามระเบียบนี้ ได้แก่ (1) ประธานในพิธีเปิดหรือพิธีปิดการประชุม ผู้ที่ได้รับเชิญ และผู้ติดตาม (2) เจ้าหน้าที่ (3) ผู้ปฏิบัติงานลักษณะพิเศษ (4) วิทยากร (5) ผู้เข้าร่วมประชุม ข้อ 34 ค่าใช้จ่ายก่อน ระหว่าง และหลังการจัดประชุมระหว่างประเทศ ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่ จ่ายจริงตามความจาเป็น เหมาะสมและประหยัด ยกเว้นค่าสมนาคุณวิทยากร เงินรางวัลของเจ้าหน้าที่ ค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะ ให้เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ้ หนา 29 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

ข้อ 35 การประชุมระหว่างประเทศที่มีการจัดอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม ที่พัก หรือยานพาหนะให้แก่บุคคลตามข้อ 33 ให้สานักงานเบิกจ่ายค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าเช่าที่พัก หรือค่าพาหนะได้ ดังนี้ (1) การประชุมระหว่างประเทศที่กำหนดผู้เข้าร่วมประชุมเป็นบุคคลระดับรัฐมนตรีหรือ สมาชิกรัฐสภาขึ้นไป ให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง โดยให้อยู่ในดุลพินิจของเลขาธิการ (2) การประชุมระหว่างประเทศนอกจาก (1) ให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินอัตรา ดังนี้ (ก) ค่าอาหาร กรณีจัดครบทุกมื้อ ไม่เกินคนละหนึ่งพันแปดร้อยบาทต่อวัน กรณีจัดไม่ครบ ทุกมื้อไม่เกินคนละหนึ่งพันสองร้อยบาทต่อวัน (ข) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ไม่เกินสามร้อยบาทต่อมื้อต่อคน (ค) ค่าเช่าที่พัก ไม่เกินคนละสองพันห้าร้อ ยบาทต่อวัน (ง) ค่าพาหนะ ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจาเป็นและเหมาะสม โดยให้อยู่ใน ดุลพินิจของเลขาธิการ กรณีที่มีการประชุมระหว่างประเทศผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้เข้าร่วมประชุมหรือสัมมนา ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เดินทางมาร่วมประชุมหรือสัมมนา ณ สานักงาน ให้สานักงานเบิกค่าใช้จ่าย ในการจัดประชุมตามระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสำนักงาน ข้อ 36 การจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 17 ส่วนอัตราค่าสมนาคุณ วิทยากรให้เบิกจ่ายตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยให้อยู่ ในดุลพินิจของเลขาธิการ ข้อ 37 ให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการประชุมระหว่างประเทศได้รับเงินรางวัลเฉพาะวันที่ ปฏิบัติงาน ในอัตราคนละไม่เกินสามร้อยบาทต่อวัน ข้อ 38 ในการเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศ ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าลงทะเบียน ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายทำนองเดียวกันที่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามอัตราที่ผู้จัดการประชุมระหว่าง ประเทศเรียกเก็บ ข้อ 39 กรณีค่าใช้จ่ายตามข้อ 38 ได้รวมค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก หรือค่าพาหนะของ ผู้เข้าร่วม ประชุมไว้ทั้งหมด หรือสานักงา นหรือหน่วยงานผู้จัดการประชุมได้ออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก หรือค่าพาหนะทั้งหมดให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ให้ผู้เข้าร่วมประชุมงดเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย ข้อ 40 กรณีค่าใช้จ่ายตามข้อ 38 ไม่รวมค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก หรือค่าพาหนะ หรือรวมไว้บาง ส่วน หรือสำนักงานหรือหน่วยงานผู้จัดการประชุมไม่ออกค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก หรือค่าพาหนะทั้งหมดหรือออกให้บางส่วน ให้ผู้เข้าร่วมประชุมเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือ เฉพาะส่วนที่ขาด หรือส่วนที่มิได้ออกให้จากสำนักงานได้ตามข้อ 35 ้ หนา 30 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566

ข้อ 41 กรณีสำนักงานได้รับความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมระหว่างประเทศ จากหน่วยงานอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายสมทบเฉพาะในส่วนที่ขาดได้ ตามระเบียบนี้ บทเฉพาะกาล ข้อ 42 โครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรม การจัดงาน หรือการประชุมระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับอนุมัติก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดาเนินการตามระเบียบหรือหลักเกณฑ์เดิมต่อไปจนแล้วเสร็จ ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 256 6 พรประไพ กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ้ หนา 31 ่ เลม 140 ตอนที่ 36 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มิถุนายน 2566