พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2566
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2566
พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 256 6 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ขึ้นเป็นองค์การมหาชนตามกฎหมาย ว่าด้วยองค์การมหาชน อาศัยอานาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤ ษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2566 ” มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
มาตรา 3 ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ ข้อมูลข นาดใหญ่ ” หมายความว่า การรวมกันของชุดข้อมูลที่มีปริมาณและความซับซ้อนสูง ทั้งที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง และการเก็บรวบรวม การบันทึก การค้นหา หรือการเชื่อมโยงข้อมูล ที่ต้องใช้เทคโนโลยีด้านข้อมูลขนาดใหญ่โดยเฉพาะ รวมทั้งการประมวลผลเชิงวิเคราะห์โด ยใช้เทคโนโลยี ด้านปัญญาประดิษฐ์หรือเทคโนโลยีอื่นใดที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ หรือเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือสังคม “ สถาบัน ” หมายความว่า สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการสถาบันข้อมูลขนาดใ หญ่ “ ผู้อำนวยการ ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ “ เจ้าหน้าที่ ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ “ ลูกจ้าง ” หมายความว่า ลูกจ้างของสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ “ ผู้ปฏิบัติงาน ” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานของสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ “ รัฐม นตรี ” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการ ตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมวด 1 การจัดตั้ง วัตถุประสงค์ หน้าที่และอำนาจ มาตรา 5 ให้จัดตั้งองค์การมหาชนขึ้น เรียกว่า “ สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) ” เรียกโดยย่อว่า “ สขญ. ” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “ Big Data Institute ( Public Organization )” เรียกโดยย่อว่า “ BDI ” มาตรา 6 ให้สถาบันมีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครหรือในจังหวัดอื่น ตามที่รัฐมนตรีประ กาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา และอาจตั้งสำนักงานสาขาได้ตามที่คณะกรรมการ เห็นสมควร มาตรา 7 สถาบันมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (1) จัดทายุทธศาสตร์เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อผลักดัน ให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
(2) ส่งเสริม ประสาน และให้บริการแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ จากข้อมูลขนาดใหญ่ ในการแก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการให้บริการ หรือการตัดสินใจในการกาหนดนโยบาย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (3) ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งให้บริการคำปรึกษาหรือเป็นที่ปรึกษา ด้านข้อมูลขนาดใหญ่และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน (4) ส่งเสริมหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการสร้างนวัตกรรมด้านข้อมูลขนาดใหญ่ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐานในระดับสากล เพื่อเพิ่มศักยภาพการบูรณาการและวิเคราะห์ ข้อมูล ขนาดใหญ่ของประเทศ (5) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาธุรกิจด้านการวิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ ของประเทศ (6) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาองค์ความรู้ และบุคลากรของประเทศด้านการวิเคราะห์ ข้อมูลขนาดใหญ่ (7) ดำเนินการอื่นเพื่อพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศตามที่กฎหมายกำหนด หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย เพื่อบูรณาการการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ สถาบันอาจเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสนับสนุนการดาเนินงา นของสถาบันหรือร่วมดาเนินการกับสถาบัน ตามมาตรานี้ได้ มาตรา 8 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 ให้สถาบันมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ (2) ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมทุกประเภท เพื่อประโยชน์ในการดา เนินกิจการของสถาบัน (3) ทาความตกลงและร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ในกิจการที่เกี่ยวกับการดาเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน (4) จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดาเนินงานของสถาบัน (5) บริหารจัดการองค์ ความรู้และเทคโนโลยีด้านข้อมูลขนาดใหญ่ ตลอดจนทรัพย์สิน ทางปัญญาและสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องในการดาเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน (6) กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการดาเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
(7) เข้าร่วมทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นในกิจการที่เกี่ยวกั บวัตถุประสงค์ของสถาบัน (8) ถือหุ้นหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในกิจการของนิติบุคคลอื่นเพื่อส่งเสริมกิจการที่เกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ของสถาบัน โดยต้องไม่มีวัตถุประสงค์หลักในการมุ่งแสวงหากำไร (9) เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบารุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดาเนินกิจการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการกำหนด (10) กระทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบัน การกู้ยืมเงินตาม (6) การเข้าร่วมทุนตาม (7) และการถือหุ้นหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนตาม (8) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกาหนด หมวด 2 ทุน รายได้ และทรัพย์สิน มาตรา 9 ทุนและทรัพย์สินในการดาเนินกิจการของสถาบัน ประกอบด้วย (1) เงินหรือทรัพย์สินที่ไ ด้รับโอนมาตามมาตรา 43 (2) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสมเป็นรายปี (3) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชน หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่น รวมทั้งจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (4) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้จากการดาเนินกิจการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน (5) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของสถาบัน การรับเงินหรือทรัพย์สินตาม (3) จะต้องไม่กระทาในลักษณะที่ทาให้สถาบันขาดความเป็นอิสระ หรือความ เป็นกลาง มาตรา 10 บรรดารายได้ของสถาบันไม่เป็นรายได้ที่ต้องนาส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ในกรณีที่มีเหตุจาเป็นหรือสมควร สถาบันโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจนารายได้ ของสถาบันในจำนวนที่เห็นสมควรส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มาตรา 11 ให้อสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันได้มำจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของสถาบัน เป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบัน ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
ให้สถาบันมีอานาจในการปกครอง ดูแล บารุงรักษา ใช้ จาหน่าย และจัดหาประโยชน์ จากทรัพย์สินของสถาบัน มาตรา 12 การใช้จ่ายเงินของสถาบัน ให้ใช้จ่ายไปเพื่อกิจการของสถาบันโดยเฉพาะ การเก็บรักษาและเบิกจ่ายเงินของสถาบัน ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด หมวด 3 การบริหารและการดาเนินกิจการ มาตรา 13 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “ คณะกรรมการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ” ประกอบด้วย (1) ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหาร หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสถาบัน (2) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนสี่คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจ และสังคม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ผู้อานวยการสานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินห้าคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ ค วามเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านวิทยาการข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร การบริหาร สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ ต่อกิจการของสถาบัน ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง และให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ เป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความจำเป็น ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตาแหน่งหรือเงินเดือนประจา พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เว้นแต่เป็นผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกาหนดโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการ ซึ่งต้องสอดคล้องกับ หลักเกณฑ์กลางที่คณะรัฐมนตรีกาหนด มาตรา 14 ประธำนกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ด้วย (1) มีอายุไม่ต่ากว่าสามสิบห้าปี และไม่เกินเจ็ดสิบปี (2) ไม่เป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานของสถาบั น (3) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในกิจการที่กระทำกับสถาบัน หรือในกิจการที่เป็นการแข่งขันกับกิจการของสถาบัน เว้นแต่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในนิติบุคคล ซึ่งสถาบันเข้าร่วมทุนตามมาตรา 8 (7) หรือเป็นผู้ถือหุ้นหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนตามมาตรา 8 (8) ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย มาตรา 15 ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดารงตาแหน่งคราวละสี่ปี เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตาแหน่งตามวาระนั้น อยู่ในตาแหน่งเพื่อดาเนินงานต่อไปจนกว่าประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ เข้ารับหน้าที่ ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตาแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดารงตาแหน่งติ ดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ มาตรา 16 นอกจากการพ้นจากตาแหน่งตามวาระ ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พ้นจากตาแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือ หย่อนความสามารถ (4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 13 หรือมาตรา 14 ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
มาตรา 17 ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตาแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งแต่ งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตาแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตาแหน่งที่ว่างหรือเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทนหรือผู้ซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว เว้นแต่วาระ ที่เหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งประธานกรรมกา รหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้ ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง และในกรณีที่ประธานกรรมการพ้นจำกตาแหน่งก่อนวาระ ให้กรรมการที่เหลือเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานกรรมการเป็นการชั่วคราว มาตรา 18 คณะกรรมการมีหน้าที่และอานาจควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการและการดาเนินงาน ของสถาบันเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ หน้าที่และอำนาจเช่นว่านี้ให้ร วมถึง (1) กาหนดนโยบายการบริหารงาน การจัดหาทุน และให้ความเห็นชอบแผนการดาเนินงาน ของสถาบัน (2) อนุมัติงบประมาณประจาปี รายงานการเงิน แผนการลงทุน และการดาเนินโครงการ ตามที่คณะกรรมการกำหนด (3) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกาหนดเกี่ยวกับสถาบันในเรื่ องดังต่อไปนี้ (ก) การบริหารงานทั่วไป การจัดแบ่งส่วนงาน และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว (ข) การสรรหา การแต่งตั้ง และการถอดถอนผู้อำนวยการ การปฏิบัติงานและ การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ การรักษาการแทนและการมอบให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทน (ค) การกาหนดตาแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะตาแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่น ของเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานตามมาตรา 33 (1) และ (3) (ง) การกำหนดประมวลจริยธรรมในการปฏิบัติงานของกรรมการ ผู้อำนวยการ และเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน (จ) การคัดเลือก กา รบรรจุ การแต่งตั้ง การพัฒนา การประเมินผลงาน การถอดถอน วินัยและการลงโทษทางวินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์และการอุทธรณ์การลงโทษ ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
ของเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานตามมาตรา 33 (1) และ (3) รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจ้างที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และลูกจ้าง (ฉ) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของสถาบัน รวมทั้งการบัญชี และการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ (ช) การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นแก่เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน (ซ) การแต่งตั้ง หน้าที่และอำนาจของคณะกร รมการตรวจสอบ (ฌ) การกำหนดขอบเขตเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ และผู้ตรวจสอบภายใน (ญ) การกำหนดเครื่องแบบผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน และเครื่องหมายสถาบัน (ฎ) การกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสนับสนุนหรือให้ทุนเพื่อสนับสนุนโครง การ ด้านการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนานวัตกรรม และการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านข้อมูลขนาดใหญ่ หรือการดาเนินโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวข้องตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งของสถาบัน (4) ให้ความเห็นชอบในการกาหนดค่าธรรมเนียม ค่าบารุง ค่าตอบแทน และค่าบริการ ในการดาเนินกิจการของสถาบัน (5) ให้ความเห็นชอบรายงานประจำปีเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรี (6) กระทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบัน (7) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย ระเบียบเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญตาม (3) (ฉ) ต้องเป็นไปตามกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกาหนด เพื่อบูรณาการการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ คณะกรรมการมีอำนาจเสนอแนะ การแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคเกี่ยวกับการประสานงานกับหน่วยงานอื่นของรั ฐในการดำเนินการ ตามวัตถุประสงค์ หรือหน้าที่และอานาจของสถาบันต่อรัฐมนตรี เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีมีมติสั่งการ ตามที่เห็นสมควร มาตรา 19 การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
ให้นาบทบัญญั ติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอานาจดาเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมาย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการด้วยโดยอนุโลม มาตรา 20 ในการควบคุมดูแลการดาเนินงานของสถาบัน ให้คณะกรรมการพิจารณา กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของสถาบันให้เป็นไ ปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจ ความซื่อสัตย์สุจริต การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การกระจายอานาจ การตัดสินใจ การอำนวยความสะดว ก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน มาตรา 21 คณะกรรมการมีอานาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความเชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา ของคณะกรรมการ และมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบตามมาตรา 18 (3) (ซ) และคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตา มที่คณะกรรมการมอบหมายได้ ที่ปรึกษาของคณะกรรมการ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ ประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ จะต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในกิจการที่กระทากับสถาบัน หรือในกิจการที่เป็นการแข่งขันกับกิจการของสถาบัน เว้นแต่เป็นผู้ดารงตาแหน่งในนิติบุคคลซึ่งสถาบัน เข้าร่วมทุนตามมาตรา 8 (7) หรือเป็นผู้ถือหุ้นหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนตามมาตรา 8 (8) ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ให้นำความในมาตรา 19 มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะอนุกรรมการด้วยโดยอนุโ ลม มาตรา 22 ให้ ปร ะ ธำน กร ร มการ กร ร มการ ที่ปรึ กษาข องคณะ กร ร มกา ร ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ ประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุม และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกาหนด มาตรา 23 ให้สถาบันมีผู้อำนวยการคนหนึ่ง เป็นผู้บริหา รกิจการของสถาบัน ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการ คณะกรรมการเป็นผู้มีอำนาจสรรหา แต่งตั้ง และถอดถอนผู้อำนวยการ การสรรหาผู้อำนวยการ ให้เป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการซึ่งต้องสอดคล้องกับ หลักเกณฑ์กลางที่คณะรัฐมนตรีกาหนด ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
มาตรา 24 ในการแต่งตั้งผู้อำนวยการต้ องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่มีเหตุต้องแต่งตั้งผู้อำนวยการ และหากมีเหตุผลจำเป็นให้คณะกรรมการขยายระยะเวลาได้อีก ไม่เกินหกสิบวัน หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้คณะกรรมการพัฒนา และส่งเสริมองค์การมหาชนรายงานคณะรัฐมนต รีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้อำนวยการ มาตรา 25 ผู้อานวยการต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เหมาะสมกับกิจการ ของสถาบันตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์และหน้าที่และอำนาจของสถาบัน สามารถทำงาน ให้แก่สถาบันได้เต็มเวลา รวมทั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ ำมตามกฎหมาย ว่าด้วยองค์การมหาชนด้วย มาตรา 26 ผู้อานวยการมีวาระการดารงตาแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน มาตรา 27 นอกจากการพ้นจากตาแหน่งตามวาระ ผู้อำนวยการพ้นจากตาแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) ออกตามกรณีที่กำหนดไว้ในข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการกับผู้อำนวยการ (4) คณะกรรมการให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ (5) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 25 มติของคณะกรรมการให้ผู้อานวยการออกจากตาแหน่งตาม (4) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการเท่าที่มีอยู่โดยไม่นับรวมผู้อำนวยการ การขาดคุณสมบัติเพราะมีอายุเกินหกสิบห้าปี ให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่ง ตามกาหนดเวลาในสัญญาจ้าง มาตรา 28 ภา ยใต้บังคับมาตรา 38 วรรคสองและวรรคสาม ให้ผู้อานวยการมีหน้าที่ บริหารกิจการของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ของสถาบัน มติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกาหนด นโยบาย มติ และประกาศของคณะกรรมการ และเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบั ติงานทุกตาแหน่ง รวมทั้งให้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
(1) เสนอเป้าหมาย แผนงาน โครงการ และงบประมาณประจำปีต่อคณะกรรมการ เพื่อให้การดาเนินงานของสถาบันบรรลุวัตถุประสงค์ (2) เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของสถาบัน รวมทั้งรายงาน การเงินต่อค ณะกรรมการเพื่อพิจารณา (3) เสนอความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการและการดาเนินงานของสถาบันให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสถาบันต่อคณะกรรมการ ผู้อำนวยการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของสถาบัน มาตรา 29 ผู้อำนวยการมีอำนาจ (1) แต่งตั้ งรองผู้อานวยการหรือผู้ช่วยผู้อานวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ เพื่อเป็นผู้ช่วยปฏิบัติงานของผู้อำนวยการตามที่ผู้อำนวยการมอบหมาย (2) บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานตามมาตรา 33 (1) และ (3) ตลอดจนให้บุคคลดังกล่าวออกจากตาแหน่ง ทั้งนี้ ตามระเบียบหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด (3) วางระเบียบเกี่ยวกับการดาเนินงานของสถาบันโดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกาหนด นโยบาย มติ หรือประกาศที่ค ณะกรรมการกำหนด มาตรา 30 ในกรณีที่ไม่มีผู้ดารงตาแหน่งผู้อานวยการหรือผู้อานวยการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองผู้อานวยการที่มีอาวุโสตามลาดับที่คณะกรรมการกำหนดรักษาการแทน ถ้าไม่มีรองผู้อานวยการ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมกำรหรือเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน ตามมาตรา 33 (1) หรือ (3) คนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทน ให้ผู้รักษาการแทนตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ และอำนาจเช่นเดียวกับผู้อำนวยการ ในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคาสั่งอื่นแต่งตั้งให้ผู้อานวยการเป็นกรรมการ หรือให้มี หน้าที่และอานาจอย่างใด ให้ผู้รักษาการแทนเป็นกรรมการหรือมีหน้าที่และอานาจเช่นเดียวกับ ผู้อำนวยการด้วย แล้วแต่กรณี มาตรา 31 ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้อานวยการเป็นผู้แทนของสถาบัน เพื่อการนี้ ผู้อานวยการจะมอบอานาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่าง แทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไป ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
มาตรา 32 ให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น ของผู้อำนวยการตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกาหนด หมวด 4 เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานของสถาบัน มาตรา 33 เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานของสถาบันมีสามประเภท คือ (1) เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ได้แก่ ผู้ซึ่งปฏิบัติงานโดยรับเงินเดือนหรือค่าจ้างจากงบประมาณ ของสถาบัน (2) ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้ซึ่งสถาบันจ้างให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชา ญโดยมีสัญญาจ้าง (3) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาปฏิบัติงานของสถาบันเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 37 มาตรา 34 เจ้าหน้าที่ต้องมีคุณวุฒิหรือประสบการณ์เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และหน้าที่ และอำนาจของสถาบัน สามารถทำงานให้แก่สถาบันได้เต็มเวลา รวมทั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชนด้วย มาตรา 35 เจ้าหน้าที่พ้นจากตาแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 34 (4) ครบกำหนดเวลาจ้างตามสัญญาเป็นการเฉพาะราย (5) ถูกให้ ออก เพราะไม่ผ่านการประเมินผลงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ กำหนดไว้ในข้อบังคับ (6) ถูกไล่ออกหรือปลดออก เพราะผิดวินัยตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกาหนดไว้ ในข้อบังคับ การขาดคุณสมบัติเพราะมีอายุเกินหกสิบปี ให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตาแหน่งตามกาห นดเวลา ในสัญญาจ้าง ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
มาตรา 36 สถาบันอาจทาสัญญาจ้างที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือลูกจ้างตามระยะเวลา ที่กำหนดในสัญญาได้ มาตรา 37 เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสถาบัน รัฐมนตรีอาจขอให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในกระทรวง กรม องค์กรป กครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนอื่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ มาปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานในสถาบัน เป็นการชั่วคราวได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างของผู้นั้น และมีข้อตกลงที่ทำไว้ ในการอนุมัติ ในกรณีที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับอนุมัติให้มาปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราว ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการหรือออกจากงานไปปฏิบัติงานใด ๆ และให้นับระยะเวลาระหว่างที่มาปฏิบัติงานในสถาบันสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนา ญ หรือ ประโยชน์ตอบแทนอื่นทำนองเดียวกันเสมือนอยู่ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานเต็มเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติให้มาปฏิบัติงานในสถาบัน ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งและรับเงินเดือนในส่วนราชการ หรือหน่วยงานเดิม ไม่ต่ากว่าตาแหน่งและเงินเดือนเดิมตามข้อตกลงที่ทำไว้ในการอนุมัติ หมวด 5 การบัญชี การตรวจสอบ และการประเมินผลงานของสถาบัน มาตรา 38 การบัญชีของสถาบัน ให้จัดทำตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ และต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายใน เกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการพัสดุของสถาบัน ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบ ให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง ในการตรวจสอบ ภายใน ให้มีเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานของสถาบันทาหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายใน โดยเฉพาะและให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการตามระเบียบ ที่คณะกรรมการกาหนด ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
ในการแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนเงินเดือน เลื่อนตาแหน่ง และลงโทษทางวินัยของผู้ตรวจสอบ ภายใน ให้ผู้อานวยการและคณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาร่วมกันแล้วเสนอให้คณะกรรมการให้ความเห็นชอบก่อน จึงดาเนินการได้ มาตรา 39 ให้สถาบันจัดทำรายงานการเงินประจำปีส่งผู้สอบบัญชีภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี ในทุกรอบปี ให้สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการแต่งตั้ง ด้วยความเห็นชอบของสานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงิน และทรัพย์สินของสถาบัน โดยให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไป ตามวัตถุประสง ค์ ประหยัด และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด แล้วทาบันทึกรายงานผลการสอบบัญชี เสนอต่อคณะกรรมการ ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของสถาบัน สอบถามผู้อานวยการ ผู้ตรวจสอบภายใน เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน หรือบุคคลอื่น และเรียกให้ ส่ง สรรพสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของสถาบันเป็นการเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น มาตรา 40 ให้สถาบันทารายงานประจาปีเสนอรัฐมนตรีทุกสิ้นปีงบประมาณ รายงานนี้ ให้กล่าวถึงผลงานของสถาบันในปีที่ล่วงมาแล้ว รายงานการเงิน พร้อมทั้งรายงานของผู้สอบบัญชี รวมทั้งคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ แผนงาน และโครงการ ที่จะจัดทำในภายหน้า มาตรา 41 การประเมินผลงานของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน หมวด 6 การกำกับดูแล มาตรา 42 ให้รัฐมนตรีมีหน้าที่และอำนาจกำกับดูแลการดำเนินกิจการของสถาบัน ให้เป็นไปตามก ฎหมายและให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบัน ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบาย ของรัฐบาล มติคณะรัฐมนตรี และแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน เพื่อการนี้ ให้รัฐมนตรีมีอานาจ สั่งให้สถาบันชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทารายงาน หรือยับยั้งการกระทาของสถาบันที่ขั ดต่อกฎหมาย วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบัน ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายของรัฐบาล มติคณะรัฐมนตรี หรือแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน ตลอดจนสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดาเนินการของสถาบันได้ ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
บทเฉพาะกาล มาตรา 43 ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน งบประมาณ และรายได้ของสานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม พ.ศ. 2560 เฉพาะในส่วนของสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บั งคับไปเป็นของสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา 44 ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา ระบบราชการ ผู้อานวยการสานั กงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และผู้อานวยการ สานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นกรรมการ และให้ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้อานวยการตามมาตรา 45 เป็นกรรมการและเลขานุการ ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชกฤษฎีกานี้ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามพระราชกฤษฎีกานี้ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ มาตรา 45 ในวาระเริ่มแรก ให้ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเครำะห์และบริหารข้อมูล ขนาดใหญ่ภาครัฐ สานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งดารงตาแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ ใช้บังคับ เป็นผู้อานวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกานี้จนกว่าจะมี การแต่งตั้งผู้อานวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้ซึ่ งต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ หากยังไม่สามารถสรรหาได้ให้ขยายเ วลาได้อีกไม่เกินหกสิบวัน มาตรา 46 ในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการตามพระราชกฤษฎีกานี้ภายในกาหนดเวลา ตามมาตรา 44 วรรคสอง หรือไม่สำมารถแต่งตั้งผู้อานวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้ภายในกาหนดเวลา ตามมาตรา 45 ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แต่งตั้งคณะกรรมการหรือผู้อานวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกาหนดเวลา ตามมาตรา 44 วรรคสอง ห รือมาตรา 45 แล้วแต่กรณี ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
ในระหว่างดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง หรือผู้อำนวยการตามมาตรา 45 ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติแต่งตั้ง คณะกรรมการหรือผู้อำนวยการ แล้วแต่กรณี มาตรา 47 ให้โอนบรรดาเจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานของสถาบันส่งเสริม การวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ ใช้บังคับ ไปเป็นเจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานของสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกานี้ โดยให้ดารงตาแหน่งเดิมและให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเคยได้รับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไปพลางก่อน ทั้งนี้ จนกว่าจะได้รับการบรรจุ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามพระราชกฤษฎีกานี้ และให้นับเวลาทำงานของบุ คคลดังกล่าว เป็นเวลาทำงานต่อเนื่องกับเวลาทำงานในสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา 48 ในระหว่างที่ยังไม่มีระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกาหนดของสถาบัน ข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้นาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกาหนดของสานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม พ.ศ. 2560 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม มาตรา 49 เมื่อสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหา ชน) ดำเนินการครบสองปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนจัดให้มี การประเมินผลการดาเนินการของสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) ว่า เกิดผลสัมฤทธิ์หรือ มีความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับภาระงบประมาณ เพื่อพิจารณาความ จาเป็นหากต้องปรับเปลี่ยนเป็นองค์กร รูปแบบใหม่ มาตรา 50 เมื่อสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) ดำเนินการครบห้าปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าตามตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากค ณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน หากพิจารณาเห็นว่าไม่คุ้มค่าในการจัดตั้ง ให้สานักงาน ก.พ.ร. เสนอรัฐมนตรีเพื่อยุบเลิกและโอนถ่ายภารกิจ ไปให้หน่วยงานอื่นต่อไป ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566
หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐ และเอกชนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ ของหน่วยงานของรัฐและเอกชนสำหรับการแก้ไขปัญหา การเพิ่มประสิทธิภาพการดาเนิน งาน และการให้บริการ การตัดสินใจในการกาหนดนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สมควรจัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ขึ้น เป็นองค์การมหาชน โดยมีวัตถุประสงค์สาคัญในการจัดทายุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จาก ข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งส่งเสริม ประสาน และวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อผลักดัน ให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เป็นไปอย่างยั่งยืน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2566