Thu Jun 01 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 6/2566 เรื่อง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 30 (7) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ [ระหว่าง ศาลปกครองสูงสุด ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]


คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 6/2566 เรื่อง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 30 (7) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ [ระหว่าง ศาลปกครองสูงสุด ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย ศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยที่ 6/2566 เรื่องพิจารณาที่ 3/2566 วันที่ 10 เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช 2566 ศาลปกครองสูงสุด ผู้รอง - ผู้ถูกรอง เรื่อง พระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 30 (7) ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดสงคําโตแยงของผู้ฟ้องคดี (นายศุภวัฒน ไชโย) ในคดีหมายเลขดํา ที่ อบ. 247/2563 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ขอเท็จจริง ตามหนังสือสงคําโตแยงของผู้ฟ้องคดีและเอกสารประกอบ สรุปได้ดังนี้ นายศุภวัฒน ไชโย ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องศึกษาธิการจังหวัดนครพนม ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองอุดรธานีวา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม2560 ผู้ฟ้องคดีได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นขาราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตําแหนงครูผู้ชวย โรงเรียนศรีโคตรบูรณ อําเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีมีคําสั่งสํานักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครพนม ที่ 1/2562 ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2562 ให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ เนื่องจากเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ระหวาง ้ หนา 47 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566

พ.ศ. 2547 มาตรา 30 (7) กรณีเป็นผู้บกพรองในศีลธรรมอันดีสําหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา เนื่องจากผู้ฟ้องคดีเคยถูกจับกุมและถูกดําเนินคดีอาญา รวม 2 คดี ครั้งที่ 1 ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2543 ศาลชั้นตนมีคําพิพากษาวาผู้ฟ้องคดีมีความผิด ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และศาลอุทธรณภาค 4 มีคําพิพากษาในคดีหมายเลขดํา ที่ 169/2546 คดีหมายเลขแดงที่ 496/2549 วาผู้ฟ้องคดีมีความผิดฐานรวมกันมีเมทแอมเฟตามีน ไวในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ครั้งที่ 2 ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 ศาลชั้นตนมีคําพิพากษาวาผู้ฟ้องคดีมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และศาลอุทธรณภาค 4 มีคําพิพากษาในคดีหมายเลขดําที่ 1052/2549 คดีหมายเลขแดงที่ 1663/2549 วาผู้ฟ้องคดีมีความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 5 (กัญชา) ผู้ฟ้องคดีเห็นวาคําสั่งสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดนครพนมดังกลาวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลปกครองอุดรธานีพิพากษาเพิกถอนคําสั่งดังกลาวและให้ผู้บังคับบัญชามีคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดี กลับเขารับราชการตามตําแหนงหน้าที่เดิมและคืนสิทธิประโยชนอันพึงมีพึงได้ให้แกผู้ฟ้องคดีนับแต่วันที่มีคําสั่งให้ ออกจากราชการ ศาลปกครองอุดรธานีพิพากษายกฟ้อง ผู้ฟ้องคดีอุทธรณต่อศาลปกครองสูงสุด ระหวางการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุด ผู้ฟ้องคดีโตแยงวา พระราชบัญญัติระเบียบ ขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 30 (7) ไม่ได้กําหนดให้การกระทํา เชนใดถือเป็นการประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพรองในศีลธรรมอันดี ซึ่งกรณีพิพาทของผู้ฟ้องคดี เป็นความผิดเล็กนอย มิใชการประพฤติชั่วอยางรายแรงและไม่กอให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ หรือกระทบกระเทือนต่อประโยชนสาธารณะ และบทบัญญัติดังกลาวไม่ได้กําหนดระยะเวลาการจํากัดสิทธิไว จึงเป็นการจํากัดสิทธิการมีสวนรวมในการเขารับราชการตลอดชีวิต กระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ฟ้องคดี อยางรายแรงเกินเหตุ ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองสูงสุด สงคําโตแยงดังกลาวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ศาลปกครองสูงสุดเห็นวา ผู้ฟ้องคดีโตแยงวาพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 30 (7) ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 ซึ่งศาลปกครองสูงสุ ด จะใชบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกลาวบังคับแกคดี และยังไม่มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในสวนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ จึงสงคําโตแยงดังกลาวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ้ หนา 48 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566

ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องตนมีวา ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจรับหนังสือ สงคําโตแยงของผู้ฟ้องคดีไวพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง หรือไม่ เห็นวา ศาลปกครองสูงสุดสงคําโตแยงของผู้ฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยวา พระราชบัญญัติ ระเบียบขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 30 (7) ขัดหรือแยง ต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ บทบัญญัติดังกลาวเป็นบทบัญญัติที่ศาลปกครองสูงสุดจะใชบังคับแกคดี เมื่อผู้ฟ้องคดีโตแยงพรอมด้วยเหตุผลวาบทบัญญัติดังกลาวขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคําวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญในสวนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง จึงมีคําสั่งรับไวพิจารณาวินิจฉัย และเพื่อประโยชนแห่งการพิจารณาให้หนวยงานที่เกี่ยวของ จัดทําความเห็นและจัดสงเอกสารหลักฐานยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ หนวยงานที่เกี่ยวของจัดทําความเห็น ดังนี้ 1. รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการจัดทําความเห็นสรุปได้วา พระราชบัญญัติระเบียบ ขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 30 (7) ที่บัญญัติคุณสมบัติทั่วไป สําหรับผู้ซึ่งจะเขารับราชการเป็นขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาวาต้องไม่เป็นผู้บกพรอง ในศีลธรรมอันดีสําหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษานั้น เป็นการกําหนด คุณสมบัติเชนเดียวกับพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครู พ.ศ. 2523 และพระราชบัญญัติระเบียบ ขาราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ซึ่งใชบังคับอยู่ในขณะนั้น รวมถึงพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งตราขึ้นภายหลังและมีผลใชบังคับอยู่ในปจจุบัน ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 52 บัญญัติให้กระทรวงศึกษาธิการสงเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับ การเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงมีความจําเป็นต้องกําหนดคุณสมบัติสําหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง เนื่องจากเป็นวิชาชีพ ที่ให้บริการสังคม ต้องอาศัยความรู ความสามารถ และสติปญญาอยางมากในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งนอกจากต้องเป็นผู้ได้รับการศึกษาอบรมในสาขาวิชาชีพของตนมาเป็นเวลานานแล้ว ยังเป็นวิชาชีพ ที่ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และมีมาตรฐานจรรยาบรรณและวินัย เพื่อให้ได้รับการยอมรับ และมีฐานะทางสังคมในระดับสูง ้ หนา 49 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566

  1. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทําความเห็นสรุปได้วา สํานักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณารางพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. … โดยเป็นการตรวจพิจารณาแกไขรูปแบบของกฎหมายและแกไขถอยคําให้สอดคลองกันเทานั้น มิได้ตรวจพิจารณารายละเอียดในปญหาขอกฎหมายและเนื้อหาสาระเป็นรายมาตรา จึงไม่มีขอมูล หรือเอกสารเกี่ยวกับหลักการและเหตุผลในการยกรางพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. … มาตรา 30 (7) ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคําโตแยงของผู้ฟ้องคดี ความเห็นของหนวยงานที่เกี่ยวของ และเอกสารประกอบแล้วเห็นวา คดีเป็นปญหาขอกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไตสวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กําหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยวา พระราชบัญญัติ ระเบียบขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 30 (7) ขัดหรือแยง ต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นวา รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิ หรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว กฎหมายดังกลาวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล เกินสมควรแกเหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระ บุเหตุผล ความจําเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพไวด้วย ” และวรรคสอง บัญญัติวา “ กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใชบังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุงหมายให้ใชบังคับแกกรณีใดกรณีหนึ่งหรือแกบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นการเจาะจง ” พระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มีหลักการ และเหตุผลในการประกาศใชวา เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กําหนดให้มีการจัดระบบขาราชการครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษาขึ้นใหม ตามที่บัญญัติไว ในหมวด 7 โดยเฉพาะในมาตรา 54 กําหนดให้มีองคกรกลางบริหารงานบุคคลของขาราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยให้ขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งของหนวยงานการศึกษา ้ หนา 50 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566

ในระดับสถานศึกษาของรัฐและระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นขาราชการในสังกัดองคกรกลางบริหารงานบุคคล ของขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยยึดหลักการกระจายอํานาจการบริหารงานบุคคล สูสวนราชการที่บริหารและจัดการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา เห็นควรกําหนดให้บุคลากร ที่ทําหน้าที่ดานการบริหารและการจัดการศึกษาสังกัดอยู่ในองคกรกลางบริหารงานบุคคลเดียวกัน และโดยที่องคกรกลางบริหารงานบุคคลและระบบการบริหารงานบุคคลของขาราชการครูตามพระราชบัญญัติ ระเบียบขาราชการครู พ.ศ. 2523 ที่ใชบังคับอยู่ในปจจุบัน มีหลักการที่ไม่สอดคลองกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ให้ยึดหลักการกระจายอํานาจการบริหารงานบุคคล สูเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา อีกทั้งไม่สอดคลองกับหลักการปฏิรูประบบราชการ สมควรยกรางกฎหมาย วาด้วยระเบียบขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาขึ้นใหมแทนพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครู พ.ศ. 2523 และเพื่อให้เอกภาพทางดานนโยบายการบริหารงานบุคคลของขาราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด โดยมาตรา 30 บัญญัติวา “ ภายใตบังคับกฎหมาย วาด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาสําหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ซึ่งจะเขารับราชการเป็นขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังต่อไปนี้ … (7) ไม่เป็นผู้บกพรองในศีลธรรมอันดีสําหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา … ” ขอโตแยงของผู้ฟ้องคดีที่วา พระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 30 (7) เป็นบทบัญญัติที่ไม่ได้กําหนดให้การกระทําเชนใดถือเป็นการประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพรองในศีลธรรมอันดี และไม่ได้กําหนดระยะเวลาการจํากัดสิทธิไว เป็นการจํากัดสิทธิ ในการเขารับราชการตลอดชีวิต กระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ฟ้องคดีอยางรายแรงเ กินเหตุ ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 นั้น เห็นวา พระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 30 มีความมุงหมายในการกําหนดคุณสมบัติทั่วไป ของผู้ที่จะเขารับราชการเป็นขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาวาจะต้องไม่เป็นผู้บกพรอง ในศีลธรรมอันดีสําหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลที่มีคุณภาพ และมาตรฐานที่เหมาะสมแกการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูงในการรวมจัดทําบริการสาธารณะดานการศึกษา ซึ่งสอดคลองกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติวา “ ให้กระทรวงสงเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย และบุคลากรทางการศึกษา ้ หนา 51 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566

ให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยการกํากับและประสานให้สถาบัน ที่ทําหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาให้มีความพรอมและมีความเขมแข็ง ในการเตรียมบุคลากรใหมและการพัฒนาบุคลากรประจําการอยางต่อเนื่อง ” โดยบทบัญญัติมาตรา 30 เป็นบทบัญญัติที่กําหนดคุณสมบัติทั่วไปของผู้จะเขารับราชการเป็นขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งขาราชการครูคือผู้ประกอบวิชาชีพทําหน้าที่หลักทางดานการเรียนการสอนและสงเสริมการเรียนรู ของผู้เรียนด้วยวิธีการตาง ๆ ในสถานศึกษาของรัฐ สวนบุคลากรทางการศึกษานั้นคือผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทําหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับ การจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหนวยงานการศึกษา อันแสดงให้เห็นถึงลักษณะหน้าที่เฉพาะของขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่แตกตางจากอาชีพอื่น ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง นอกจากเป็นผู้มีความรูความสามารถที่ดีแล้ว ยังต้องมีความประพฤติดี มีคุณธรรม จริยธรรม ไม่กระทําการใด ๆ อันเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยาม ในเกียรติของอาชีพ ต้องครองตนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี ประพฤติตนเป็นแบบอยางที่ดีในการวางตน และยึดมั่นในมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพขององคกร ให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแกผู้เรียน ชุมชน และสังคม การที่พระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 30 (7) กําหนดคุณสมบัติทั่วไปให้ผู้ซึ่งจะเขารับราชการเป็นขาราชการครูและ บุคลากร ทางการศึกษาได้ต้องไม่เป็นผู้บกพรองในศีลธรรมอันดี เป็นมาตรการเพื่อคัดกรองและปองกันบุคคล ที่มีพฤติกรรมเสื่อมเสียบกพรองในศีลธรรมอันดีไม่ให้เขามารับราชการเป็นขาราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงคของกฎหมาย แมโดยสภาพหรือลักษณะของบทบัญญัติดังกลาว ไม่อาจกําหนดได้วาขอเท็จจริงใดหรือการกระทําใดที่จะถือเป็นการบกพรองในศีลธรรมอันดี เนื่องจากศีลธรรมอันดี เป็นกฎเกณฑที่คนในสังคมสวนใหญถือปฏิบัติตามความเชื่อ ตามธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของสังคม หรือศาสนา อันเป็นสิ่งสําคัญที่ทําให้สังคมดํารงอยู่ได้อยางสงบสุข และถือเป็นเครื่องวินิจฉัยความประพฤติ ของคนในสังคม แต่กฎเกณฑดังกลาวมีลักษณะเป็นพลวัต มีความผันแปรไปตามบริบทของสังคม ต้องพิจารณาให้สอดคลองเหมาะสมกับยุคสมัย สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง วัฒนธรรม และประเพณีที่เปลี่ยนแปลงไป ฝ่ายนิติบัญญัติจึงตรากฎหมายโดยใชถอยคําที่ไม่มีคําจํากัดความเจาะจง เพื่อให้อํานาจแกฝ่ายปกครองในการบังคับใชกฎหมายให้เป็นไปอยางยืดหยุนและสอดคลองเหมาะสมกับ ้ หนา 52 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566

ขอเท็จจริงตามพฤติการณของผู้กระทําและผลของการกระทํา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงคของกฎหมาย และเพื่อให้เกิดความยุติธรรมเฉพาะเรื่องเฉพาะกรณี และโดยที่กําหนดลักษณะดังกลาวให้เป็นเรื่องของ คุณสมบัติทั่วไป ดังนั้น คุณสมบัติของบุคคลดังกลาวจะต้องมีอยู่ตลอดเวลาที่ประกอบวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษาจึงไม่อาจกําหนดระยะเวลาจํากัดสิทธิได้ อยางไรก็ดี การพิจารณาวาบุคคลใด จะเป็นผู้บกพรองในศีลธรรมอันดีตามพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 30 (7) จะต้องพิจารณาจากขอเท็จจริงและพฤติการณแห่งการกระทํา หรือเคยกระทําในอดีตในแต่ละกรณีเป็นเรื่อง ๆ ไป โดยคํานึงถึงเกียรติของขาราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาประกอบกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น มีคณะกรรมการขาราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ซึ่งเป็นองคกรกลางบริหารงานบุคคลของขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีหน้าที่และอํานาจกําหนดมาตรฐาน พิจารณา และให้คําแนะนําเกี่ยวกับการ ดําเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณและการรองทุกข รวมทั้งกํากับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารงานบุคคลของขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรักษาความเป็นธรรม และมาตรฐานดานการบริหารงานบุคคล ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ค.ศ . ถูกตรวจสอบได้ โดยองคกรฝ่ายตุลาการหรือศาล อันเป็นการควบคุมการใชอํานาจให้เป็นไปโดยรอบคอบ รัดกุม และอยู่บนพื้นฐานของการกระทําที่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคล บทบัญญัติดังกลาวแมจะจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอยู่บาง แต่เมื่อชั่งน้ําหนักระหวางผลกระทบ จากการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลกับประโยชนสาธารณะที่จะได้รับตามวัตถุประสงคของกฎหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลที่เป็นขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสม กับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพดังกลาวแล้ว กรณีเป็นไปตามหลักความได้สัดสวน ไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ และไม่กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย ทั้งได้ระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพไวแล้ว บทบัญญัติดังกลาวมีผลใชบังคับ เป็นการทั่วไป ไม่มุงหมายให้ใชบังคับแกกรณีใดกรณีหนึ่งหรือแกบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 ้ หนา 53 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566

อาศัยเหตุผลดังกลาวขางตน จึงวินิจฉัยวา พระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 30 (7) ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 นายวรวิทย กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายนครินทร เมฆไตรรัตน์ นายปญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายจิรนิติ หะวานนท นายนภดล เทพพิทักษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายบรรจงศักดิ์ วงศปราชญ นายอุดม รัฐอมฤต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ้ หนา 54 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566