Thu Jun 01 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 765) พ.ศ. 2566


พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 765) พ.ศ. 2566

พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 765) พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 31 พฤษภำคม พ.ศ. 256 6 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ในบางกรณี อาศัยอานาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้ วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 765) พ.ศ. 2566 ” มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566

มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบั บที่ 362) พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 5 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ สำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับซื้อ หรือรับโอนจากสถาบันการเงิน โ ดยบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นจะต้องมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา ระบบสถาบันการเงินหรือกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ทั้งนี้ การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่กระทรวงกำรคลังเป็นผู้ถือหุ้นให้มีผลตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ” มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 362) พ.ศ. 2542 แ ละให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 6 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่สถาบันการเงิน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือกระทรวงการคลังถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง สาหรับเงินได้เป็นจานวนเท่ากับเงินสารองที่บริษัทบริหารสินทรัพย์กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัย จะสูญตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด เฉพาะส่ วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นจากเงินสารอง ประเภทดังกล่าวที่ปรากฏในงบดุลของรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ทั้งนี้ การยกเว้นภาษีเงินได้ ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นให้มีผลตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็น ต้นไป ” ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับจากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับซื้อหรือรับโอนจากสถาบันการเงิน และยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจานวนเท่ากับเงินสารองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉ บับที่ 362) พ.ศ. 2542 ยังไม่ครอบคลุม ถึง บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่กระทรวงการคลังถือหุ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566