Thu Jun 01 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

พระราชกฤษฎีกาเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พ.ศ. 2566


พระราชกฤษฎีกาเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พ.ศ. 2566

พระราชกฤษฎีกา เงินเดือน เงินประจำตาแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 256 6 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ อาศัยอานาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 22 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกาเงินเดือน เงินประจาตาแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอ ย่างอื่นของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พ.ศ. 2566 ” มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566

มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเงินเดือน เงินประจาตาแหน่ง และประโยชน์ตอบแทน อย่างอื่นของกรรมการป้อง กันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. 2555 มาตรา 4 ในพระราชกฤษฎีกานี้ “ กรรมการ ” หมายความว่า ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในภาครัฐซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง โดยไม่รวมถึงกรรมการโดยตำแหน่ง “ การเดินทาง ” หมาย ความว่า การเดินทางไม่ว่าภายในประเทศหรือต่างประเทศเพื่อประโยชน์ ของทางราชการหรือในฐานะที่เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ “ ค่ารับรอง ” หมายความว่า ค่าเลี้ยงรับรอง ค่าของขวัญ ค่าพิมพ์เอกสารและค่าใช้จ่ายอื่น ที่จำเป็นเกี่ยวกับการรับรองเพื่อเกียรติแห่งกรรมการ หรือเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจ ของคณะกรรมการ ป.ป.ท. และหมายความรวมถึงค่าที่พักและค่าพาหนะภายในประเทศ ของผู้ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ท. เชิญมาเยือนหรือมาประชุม “ ค่าเลี้ยงรับรอง ” หมายความว่า ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มทั้งประเภทที่มีและไม่มีแอลกอฮอล์ ค่ำเครื่องใช้ในการเลี้ยงรับรอง ค่าสถานที่ และค่าบริการ มาตรา 5 ให้กรรมการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตาแหน่งตามอัตราในบัญชีท้าย พระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่ง มาตรา 6 ให้กรรมการมีสิทธิได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ดังต่อไปนี้ (1) บำเหน็จตอบแทน (2) การประกันสุขภาพ มาตรา 7 กรรมการซึ่งดารงตาแหน่งไม่น้อยกว่าหนึ่งปีมีสิทธิได้รับบาเหน็จตอบแทน เป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นจากตาแหน่งด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ครบกำหนดออกตามวาระ (2) มีอายุครบเจ็ดสิบห้าปี (3) ลาออก ในการคำนวณบำเหน็จตอบแทน ให้นำอัตราเงินเดือนในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ คูณด้วยระยะเวลาที่ดารงตาแหน่ง ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566

การนับระยะเวลาที่ดารงตาแหน่งเพื่อคำนวณบำเหน็จตอบแทนตามวรรคสอง ให้นับตั้งแต่วันที่ มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งจนถึงวันที่สิ้นสุดการ ปฏิบัติหน้าที่ โดยให้นับจานวนปี รวมทั้งเศษของปีด้วย การคานวณเศษของปีที่เป็นเดือนหรือเป็นวันให้เป็นปีนั้น ให้นาเศษที่เป็นเดือน หารด้วยสิบสองและเศษที่เป็นวันหารด้วยสามสิบได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงหารด้วยสิบสอง ในการคานวณ ให้ใช้ทศนิยมสองตาแหน่ง สิทธิในบาเหน็จตอบ แทนเป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้ มาตรา 8 ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุถึงแก่ความตายไม่ว่าผู้นั้น จะดารงตาแหน่ง ครบหนึ่งปีหรือไม่ก็ตาม ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับบาเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียว ตามเกณฑ์ในมาตรา 7 โดยให้จ่ายแก่ทายาทโดยธรรมซึ่ง เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 ให้กรรมการมีสิทธิเบิกค่าเบี้ยประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริงในอัตราเบี้ยประกัน คนละไม่เกินสี่หมื่นบาทต่อปี ให้สำนักงานดาเนินการเบิกค่าเบี้ยประกันสุขภาพตามวรรคหนึ่งให้แก่ผู้รับประกันได้โดยตรง มาตรา 10 ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ และระเบียบ กระทรวงการคลังที่ออกตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาใช้บังคับกับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ของกรรมการตามพระราชกฤษฎีกานี้ด้วยโดยอนุโลม โดยให้กรรมการได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับ ปลัดกระทรวง มำตรา 11 ให้สานักงานจัดหารถประจาตาแหน่งพร้อมพนักงานขับรถให้แก่กรรมการ เป็นรายบุคคล โดยวิธีการจัดซื้อหรือเช่าในขนาดและอัตราที่ไม่สูงกว่ารถประจำตำแหน่ง ของปลัดกระทรวง มาตรา 12 ค่ารับรองของกรรมการ ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจาเป็นโดยอนุมัติ ของประธานกรร มการหรือผู้ทาหน้าที่ประธานกรรมการ ภายในวงเงินงบประมาณรายจ่ายประเภท ค่ารับรองของกรรมการ มาตรา 13 ให้สานักงานจัดหาอุปกรณ์สื่อสารให้กรรมการพร้อมทั้งชาระค่าบริการแบบรายเดือน ในการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว โดยให้จ่ายได้ในอัตราที่ไม่สูงกว่าปลัดกระทรวง ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566

ค่าใช้บริการแบบรายเดือนตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง ค่าเช่าเลขหมาย ค่าบริการ และค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกับค่าใช้บริการ เช่น ค่าบริการเสริมทุกประเภท มาตรา 14 ให้กรรมการซึ่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ มาตรการของฝ่ายบริ หารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตาแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามพระราชกฤษฎีกานี้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่นั้น มาตรา 15 ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตาแหน่งตามมาตรา 9 (2) แห่งพระราชบัญญัติ มาตรการของฝ่ายบริหา รในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ มีสิทธิได้รับบาเหน็จตอบแทนตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกำนี้ด้วย มาตรา 16 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566

บัญชีเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง ตําแหน่ง เงินเดือน (บําท/เดือน) เงินประจ ําตําแหน่ง (บําท/เดือน) ประธํานกรรมกําร กรรมกําร 62 , 000 61 , 000 42 , 550 41 , 500

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยเงินเดือน เงินประจาตาแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ เพื่อกาหนดสิทธิในการได้รับเงินเดือน เงินประจาตาแหน่ง และประโยชน์ตอบแทน อย่างอื่นของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติมาตรการ ของฝ่ายบริหารในการป้ องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนที่ 33 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2566