Fri May 26 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 5/2566 พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง หรือไม่ [ระหว่าง ศาลจังหวัดปทุมธานี ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]


คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 5/2566 พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง หรือไม่ [ระหว่าง ศาลจังหวัดปทุมธานี ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย ศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยที่ 5/2566 เรื่องพิจารณาที่ 33/2565 วันที่ 3 เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช 2566 ศาลจังหวัดปทุมธานี ผู้รอง - ผู้ถูกรอง เรื่อง พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ศาลจังหวัดปทุมธานีสงคําโตแยงของจําเลย (นายกฤษฎิ์ นิลขาว) ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ 597/2565 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ขอเท็จจริงตามหนังสือ สงคําโตแยงของจําเลยและเอกสารประกอบ สรุปได้ดังนี้ พนักงานอัยการจังหวัดปทุมธานี เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายกฤษฎิ์ นิลขาว เป็นจําเลย ต่อศาลจังหวัด ปทุมธานี ความผิดฐานลงสมัครรับเลือกตั้งโดยรูอยู่แล้ววาตนเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องหาม ในการสมัครรับเลือกตั้ง และแจงขอความอันเป็นเท็จแกเจ้าพนักงาน กรณีจําเลยสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตําบลบ้านกลางเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ 2564 ทั้งที่จําเลยรูอยู่แล้ววา ตนเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องหาม เนื่องจากต้องคําพิพากษาของศาลแขวงดอนเมืองเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 ในคดีหมายเลขแดงที่ อ 1075/2558 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจําเลย มีกําหนดหาป ซึ่งเมื่อนับถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตําบลบ้านกลางในวันที่ 28 มีนาคม 2564 ระหวาง ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนที่ 32 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 พฤษภาคม 2566

ยังไม่พนกําหนดหาปนับแต่วันที่พนจากการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) จําเลยแจงความเท็จ ต่อผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจําเทศบาลตําบลบ้านกลางซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับสมัคร รับเลือกตั้งตามกฎหมาย การกระทําดังกลาวทําให้ผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจําเทศบาลตําบลบ้านกลาง ผู้อื่น หรือประชาชนเสียหาย เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือ ผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) และมาตรา 120 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ขอให้ศาลจังหวัดปทุมธานีสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจําเลยมีกําหนดยี่สิบป ระหวางการพิจารณาคดีของศาลจังหวัดปทุมธานี จําเลยโตแยงวา พระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เนื่องจากขณะที่จําเลยสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล ตําบลบ้านกลาง จําเลยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งครบกําหนดระยะเวลาแล้ว การที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) เป็นผลทําให้จําเลยต้องถูกลงโทษซ้ําภายหลังที่พนจากการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และในขณะที่จําเลยถูกลงโทษอยู่นั้นยังไม่มีการตราพระราชบัญญัติดังกลาวขึ้นใชบังคับ กรณีเป็นการใช กฎหมายยอนหลังที่ไม่เป็นคุณแกจําเลย ขัดต่อหลักนิติธรรม เป็นการเพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย อีกทั้งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ ของกฎหมาย ขอให้ศาลจังหวัดปทุมธานีสงคําโตแยงดังกลาวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ศาลจังหวัดปทุมธานีเห็นวา จําเลยโตแยงวาพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่น หรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 และ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลจังหวัดปทุมธานีจะใชบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกลาวบังคับแกคดี และ ยังไม่มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในสวนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ จึงสงคําโตแยงดังกลาวต่อ ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องตนมีวา ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจรับหนังสือสงคําโตแยง ของจําเลยไวพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง หรือไม่ เห็นวา ศาลจังหวัดปทุมธานี สงคําโตแยงของจําเลยเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยวา พระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนที่ 32 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 พฤษภาคม 2566

มาตรา 5 และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง หรือไม่ บทบัญญัติดังกลาวเป็นบทบัญญัติที่ศาลจังหวัดปทุมธานี จะใชบังคับแกคดี เมื่อจําเลยโตแยงพรอมด้วยเหตุผลวาบทบัญญัติดังกลาวขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในสวนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง สวนที่โตแยงวา พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือ ผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 หรือไม่ นั้น เห็นวา มาตรา 5 เป็นบททั่วไปที่วางหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญไว โดยมิได้ มีขอความที่เป็นการคุมครองสิทธิหรือเสรีภาพไวเป็นการเฉพาะ ศาลรัฐธรรมนูญไม่จําต้องวินิจฉัยในสวนนี้ จึงมีคําสั่งรับไวพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่ขอให้วินิจฉัยวา พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิก สภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง หรือไม่ และเพื่อประโยชนแห่งการพิจารณาให้หนวยงานที่เกี่ยวของจัดทําความเห็น และจัดสงขอมูลพรอมเอกสารหลักฐานยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ หนวยงานที่เกี่ยวของจัดทําความเห็นและจัดสงขอมูลพรอมเอกสารหลักฐาน ดังนี้ 1. เลขาธิการวุฒิสภาจัดสงสําเนาบันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 65/2561 เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2561 สําเนารายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 65/2561 เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2561 สําเนาบันทึกการประชุมของ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณารางพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. … สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 สําเนารายงานการประชุม (รายงานชวเลข) ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณารางพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่น หรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. … สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 สําเนารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณารางพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่น หรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. … สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สําเนาบันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562 เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2562 และสําเนารายงานการประชุม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562 เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2562 2. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทําความเห็นสรุปได้วา พระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) มีหลักการสําคัญใน การปรับปรุงแกไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2545 เนื่องจากปรากฏขอเท็จจริงในกรณีที่ผู้บริหารทองถิ่นถูกรองเรียนวากระทําการฝาฝนความสงบเรียบรอย ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนที่ 32 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 พฤษภาคม 2566

หรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติไม่ชอบด้วยอํานาจหน้าที่ แต่ในระหวาง กระบวนการสอบสวนมักมีผู้บริหารทองถิ่นพนจากตําแหนงด้วยเหตุลาออกหรือครบวาระหรือเหตุอื่นใด ต่อมาภายหลังปรากฏวาผู้นั้นได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้บริหารทองถิ่นอีก จึงแกไขปรับปรุงบทบัญญัติ เกี่ยวกับลักษณะต้องหามของบุคคลซึ่งกฎหมายหามมิให้ใชสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง โดยกําหนดกรณี เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและยังไม่พนหาปนับแต่วันที่พนจากการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจนถึง วันเลือกตั้ง เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ได้สมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่นที่มีความซื่อสัตยสุจริต ไม่เป็นผู้เคยกระทําความผิดกฎหมายจนถึงขั้นศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และเพื่อปองกันไม่ให้บุคคล ซึ่งมีลักษณะต้องหามนั้นกลับเขามารับตําแหนงอีกครั้งในชวงระยะเวลาหนึ่ง อันเป็นการปองกันความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นภายหลังและปองกันการใชอํานาจหรือการสั่งการที่อาจมีปญหาความชอบด้วยกฎหมาย หากผู้นั้นได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่นในระหวางที่มีกระบวนการ สอบสวน ซึ่งสอดคลองกับแนวทางการปองกันและปราบปรามการทุจริตตามที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ และเป็นการแกไขปญหาตามขอเท็จจริงที่ปรากฏขึ้น 3. ประธานกรรมการการเลือกตั้งจัดทําความเห็นสรุปได้วา คณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ รางพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อปรับปรุงแกไขพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2545 ให้สอดคลองกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 และรางพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญวาด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. … แต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่ได้เสนอรางบทบัญญัติอนุมาตราเกี่ยวกับกรณีเคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและยังไม่พนหาปนับแต่วันที่ พนจากการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่น หรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) อยางไรก็ดี รางบทบัญญัติอนุมาตราดังกลาว ปรากฏตามบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบรางพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือ ผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. … ที่สํานักงานคณะกรรม การกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว (เรื่องเสร็จที่ 1295/2561) ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคําโตแยงของจําเลย ความเห็นและขอมูลของหนวยงานที่เกี่ยวของ และเอกสารประกอบแล้วเห็นวา คดีเป็นปญหาขอกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณา วินิจฉัยได้ จึงยุติการไตสวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนที่ 32 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 พฤษภาคม 2566

พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กําหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยวา พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) ขัดหรือแยง ต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นวา รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิ หรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติ เงื่อนไขไว กฎหมายดังกลาวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพ ของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุ เหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพไวด้วย ” พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มีหลักการ และเหตุผลในการประกาศใชเนื่องจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติ ให้สมาชิกสภาทองถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง และผู้บริหารทองถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งหรือมาจาก ความเห็นชอบของสภาทองถิ่น หรือกรณีองคกรปกครองสวนทองถิ่นรูปแบบพิเศษจะมาโดยวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องคํานึงถึงการมีสวนรวมของประชาชนด้วย โดยคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มีสิทธิ สมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งหลักเกณฑและวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น ให้เป็นไป ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งต้องคํานึงถึงเจตนารมณในการปองกันและปราบปรามการทุจริตตามแนวทางที่บัญญัติไว ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติดังกลาวมีหลักการสําคัญเป็นการแกไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2545 ทั้งฉบับ เพื่อให้สอดคลองกับรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 โดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่น หรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 บัญญัติวา “ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบุคคล ต้องหามมิให้ใชสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง … (21) เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและยังไม่พนหาปนับแต่วันที่ พนจากการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง … ” ขอโตแยงของจําเลยที่วา พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) ที่กําหนดลักษณะต้องหามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น ต้องไม่เป็นผู้เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและยังไม่พนหาปนับแต่วันที่ พนจากการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง เป็นบทบัญญัติที่ขัดต่อหลักนิติธรรม เป็นการเพิ่มภาระ ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนที่ 32 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 พฤษภาคม 2566

จํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย ขัดหรือแยง ต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง นั้น เห็นวา รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีการปกครองสวนทองถิ่น ตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณของประชาชนในทองถิ่น การจัดตั้งองคกรปกครองสวนทองถิ่น ในรูปแบบใดให้คํานึงถึงเจตนารมณของประชาชนในทองถิ่นและความสามารถในการปกครองตนเอง ในดานรายได้ จํานวนและความหนาแนนของประชากร และพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบประกอบกัน องคกรปกครองสวนทองถิ่นมีหน้าที่และอํานาจดูแลและจัดทําบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะ เพื่อประโยชนของประชาชนในทองถิ่นตามหลักการพัฒนาอยางยั่งยืน รวมทั้งสงเสริมและสนับสนุน การจัดการศึกษาให้แกประชาชนในทองถิ่น โดยสมาชิกสภาทองถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง สําหรับ ผู้บริหารทองถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งหรือมาจากความเห็นชอบของสภาทองถิ่นหรือในกรณี องคกรปกครองสวนทองถิ่นรูปแบบพิเศษจะให้มาโดยวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องคํานึงถึงการมีสวนรวมของ ประชาชนด้วย สวนคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งต้องคํานึงถึงเจตนารมณในการปองกันและปราบปรามการทุจริตตามแนวทางที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญด้วย ดังนั้น สมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่นต้องเป็นผู้มีความประพฤติดี มีความซื่อสัตย มีคุณสมบัติ เป็นที่ยอมรับเชื่อถือจากประชาชน รวมทั้งปราศจากเหตุมัวหมองในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อเป็นแบบอยางที่ดี ให้กับประชาชนในทองถิ่นนั้น โดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 เป็นบทบัญญัติกําหนดลักษณะต้องหามของบุคคลมิให้ใชสิทธิ สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น เพื่อให้ผู้ที่จะมาดํารงตําแหนงดังกลาว มีคุณสมบัติเหมาะสม และเป็นหลักประกันวาผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งนั้นจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตยสุจริต มีความประพฤติและคุณสมบัติเป็นที่ยอมรับนับถือของสาธารณชน ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชนของ ประชาชนภายในทองถิ่นอยางแทจริง เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) ที่กําหนดให้บุคคลผู้เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและยังไม่พนหาปนับแต่วันที่พนจาก การถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง เป็นผู้มีลักษณะต้องหามมิให้ใชสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น บทบัญญัติดังกลาวเป็นมาตรการทางกฎหมายบัญญัติ ตามแนวทางของรัฐธรรมนูญในการปองกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อปองกันมิให้ผู้ที่เคยกระทําความผิด ตามกฎหมายวาด้วยการเลือกตั้งจนถึงขั้นศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะไววางใจ ในความสุจริตและไม่สมควรให้เขามามีอํานาจในทางการเมืองอื่นอีก กลับเขามาดํารงตําแหนงทางการเมือง ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนที่ 32 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 พฤษภาคม 2566

อีกครั้งในชวงระยะเวลาหนึ่ง แต่หากพนกําหนดระยะเวลาดังกลาวแล้วผู้นั้นมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องหามตามที่กฎหมายกําหนดยอมสามารถใชสิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้ อยางไรก็ดี บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่กําหนดลักษณะต้องหามของบุคคลในการใชสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพื่อดํารงตําแหนงใด ๆ นั้น เป็นกฎหมายที่จํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 กลาวคือ การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลจะต้องเป็นไป ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว กฎหมายดังกลาว ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิ และเสรีภาพไวด้วย นอกจากนี้ กฎหมายดังกลาวต้องมีผลใชบังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุงหมายให้ใชบังคับ แกกรณีใดกรณีหนึ่งหรือแกบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง อันเป็นหลักการรับรองและคุมครองสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลไววาในการตรากฎหมายเพื่อจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลนั้น ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือองคกรที่ใชอํานาจรัฐจะต้องคํานึงถึงหลักการพื้นฐานสําคัญประการหนึ่ง คือ หลักความได้สัดสวน พอเหมาะพอควรแกกรณี อันเป็นหลักการสําคัญที่มีขึ้นเพื่อควบคุม ตรวจสอบ หรือจํากัดการใชอํานาจรัฐ เพื่อมิให้ตรากฎหมายขึ้นใชบังคับแกประชาชนตามอําเภอใจ โดยในการตรากฎหมายเพื่อจํากัดสิทธิหรือ เสรีภาพของประชาชนตามหลักการดังกลาวนั้นจะต้องมีความเหมาะสม มีความจําเป็น และได้สัดสวน หรือมีความสมดุลระหวางประโยชนสาธารณะหรือประโยชนสวนรวมที่จะได้รับกับสิทธิหรือเสรีภาพ ที่ประชาชนจะต้องสูญเสียไปอันเนื่องมาจากกฎหมายนั้น การที่พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) กําหนดลักษณะต้องหามของบุคคลมิให้ใชสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาทองถิ่น หรือผู้บริหารทองถิ่นวา “ เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและยังไม่พนหาปนับแต่วันที่พนจากการถูกเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง ” นั้น เห็นวา แมบทบัญญัติดังกลาวเป็นมาตรการทางกฎหมายในการปองกัน และปราบปรามการทุจริตตามแนวทางที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ เพื่อปองกันมิให้ผู้ที่เคยกระทําความผิด ตามกฎหมายวาด้วยการเลือกตั้งจนถึงขั้นศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกลับเขามาดํารงตําแหนง ทางการเมืองของทองถิ่นในชวงระยะเวลาหนึ่งก็ตาม แต่เป็นการตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของบุคคลที่เคย ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในลักษณะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินความจําเป็น เนื่องจาก การถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะต้องมีการกระทําอันเป็นเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องถูกเพิกถอนสิทธิ ต้องพิจารณาอยางละเอียดรอบคอบ เปดโอกาสให้มีการต่อสูคดีกันอยางเปดเผย ให้ศาลเป็นผู้พิจารณา ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนที่ 32 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 พฤษภาคม 2566

พิพากษาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของบุคคลตามกําหนดระยะเวลาที่พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 บัญญัติสําหรับการกระทําความผิดนั้น ๆ ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณาแล้วเห็นวาเป็นกําหนดระยะเวลาที่เหมาะสม การกําหนดระยะเวลาเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งและสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมืองอื่นที่มีลักษณะต้องหามตามที่ รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นกําหนด เชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 42 สมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ข. (1) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วย การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 14 ซึ่งรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกลาว มิได้บัญญัติลักษณะต้องหามของผู้ดํารงตําแหนงเพิ่มเติมขึ้นอีกในทํานองเดียวกับบทบัญญัติมาตรา 50 (21) หมายความวาเมื่อบุคคลพนจากการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาได้ทันที แต่ในทางกลับกันกรณีพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) ต้องรอจนกวาจะพนหาป นับแต่วันที่พนจากการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง จึงจะสามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่นได้ อันเป็นการกําหนดลักษณะต้องหามในการกลั่นกรองบุคคล กอนเขาสูตําแหนงทางการเมืองระดับทองถิ่นที่มีความเขมงวดมากเกินความจําเป็นเมื่อคํานึงถึงองคกร และตําแหนงทางการเมืองดังกลาว ไม่เป็นไปตามหลักแห่งเหตุผลและความเป็นธรรม การบัญญัติ ลักษณะต้องหามของบุคคลมิให้ใชสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น ตามมาตรา 50 (21) จึงไม่สอดคลองกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวของ ประกอบกับ บุคคลที่อยู่ในระหวางถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่วาคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่ ยอมมิอาจใชสิทธิ สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่นได้ตามมาตรา 50 (4) ประกอบมาตรา 39 (2) ซึ่งเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพที่พอเหมาะพอควรแกกรณีแล้ว ดังนั้น เมื่อชั่งน้ําหนักระหวาง ประโยชนสาธารณะที่จะได้รับตามวัตถุประสงคของกฎหมายกับผลกระทบต่อการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพ ของบุคคลแล้ว การที่พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) กําหนดลักษณะต้องหามของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น ต้องไม่เป็นผู้เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและยังไม่พนหาปนับแต่วันที่พนจากการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง จนถึงวันเลือกตั้งนั้น เป็นการกําหนดมาตรการที่เกินความจําเป็นต่อการกลั่นกรองบุคคลเขาสูตําแหนง ทางการเมืองระดับทองถิ่น กระทบต่อสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลมากกวาประโยชนสาธารณะที่ต้องการ ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนที่ 32 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 พฤษภาคม 2566

ให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่นที่มีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ไม่เป็นไป ตามหลักความได้สัดสวน ขัดต่อหลักนิติธรรม เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิ หรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง อาศัยเหตุผลดังกลาวขางตน จึงวินิจฉัยวา พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่น หรือผู้บริหารทองถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 50 (21) ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง นายวรวิทย กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายนครินทร เมฆไตรรัตน์ นายปญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายจิรนิติ หะวานนท นายนภดล เทพพิทักษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายบรรจงศักดิ์ วงศปราชญ นายอุดม รัฐอมฤต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนที่ 32 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 พฤษภาคม 2566