Fri Apr 07 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 4/2566 เรื่อง พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ [ระหว่าง ศาลแพ่ง ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]


คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 4/2566 เรื่อง พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ [ระหว่าง ศาลแพ่ง ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย ศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยที่ 4/2566 เรื่องพิจารณาที่ 24/2565 วันที่ 8 เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2566 ศาลแพง ผู้รอง - ผู้ถูกรอง เรื่อง พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ ศาลแพงสงคําโตแยงของจําเลยที่ 1 (นางสาวกัลยาณี รุทระกาญจน) ในคดีแพงหมายเลขดํา ที่ พ 5885/2563 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ขอเท็จจริง ตามหนังสือสงคําโตแยงของจําเลยที่ 1 หนังสือสงคําโตแยงเพิ่มเติมและเอกสารประกอบ สรุปได้ดังนี้ บริษัท ลิเบอรตี้ เรียล เอสเตท จํากัด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นางสาวกัลยาณี รุทระกาญจน ที่ 1 และนาวาโท กรเอก มงคลยุทธนาวี ที่ 2 เป็นจําเลย ต่อศาลแพงวา โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จํานวน 9 แปลง ตั้งอยู่ที่ตําบลบางกะป อําเภอบางกะป กรุงเทพมหานคร พรอมสิ่งปลูกสราง โดยซื้อจากบริษัท บริหารสินทรัพย์ พัฒนานคร จํากัด ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินทําการรังวัดสอบเขตที่ดิน จําเลยทั้งสองแสดงตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและเป็นผู้ครอบครองใชประโยชนในที่ดิน ขัดขวางไม่ให้ผู้รับมอบอํานาจของโจทก์และเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดสอบเขตที่ดินดังกลาว ทําให้โจทก์ ระหวาง ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนที่ 26 ก ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

ได้รับความเสียหาย ขอให้ขับไลจําเลยทั้งสองพรอมบริวารออกจากที่ดินพิพาทและเรียกคาเสียหายพรอมดอกเบี้ย จําเลยทั้งสองให้การปฏิเสธวาโจทก์ไม่ใชเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เนื่องจากการโอนขายที่ดินของ บริษัท บริหารสินทรัพย์ พัฒนานคร จํากัด ให้แกโจทก์ขัดต่อพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 การโอนขายที่ดินดังกลาวตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องจําเลยทั้งสอง ขอให้ศาลแพงยกฟ้อง ระหวางการพิจารณาคดีของศาลแพง จําเลยที่ 1 โตแยงวา พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 37 วรรคสอง และมาตรา 172 เนื่องจากที่ดินพิพาทที่โจทก์นํามาฟ้องขับไลจําเลยทั้งสองเป็นทรัพย์สินที่จําเลยที่ 1 จดทะเบียนจํานอง ค้ําประกันหนี้ไวกับสถาบันการเงินเพื่อค้ําประกันสินเชื่อประเภทตาง ๆ ต่อมามีการโอนยายบัญชีสินเชื่อ ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์ดอยคุณภาพให้แกบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 และมีการโอนกันต่ออีกหลายทอดจนถึงโจทก์ตามพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 แต่แนวบรรทัดฐานคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 10762/2557 วางหลักไววา พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 กําหนดให้การโอนสินทรัพย์ดอยคุณภาพ มิได้ให้สิทธิจํานองตกแกผู้สวมสิทธิด้วย และมีวัตถุประสงคเพื่อคุมครองสิทธิในทรัพย์สินของผู้จํานอง ผู้จํานํา และผู้ค้ําประกัน โดยบัญญัติมิให้หลักประกันที่เป็นสิทธิจํานองของสินทรัพย์ดอยคุณภาพ ตกแกบริษัทบริหารสินทรัพย์ ในขณะที่ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 305 วรรคหนึ่ง บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิจํานองดังกลาวไวเป็นการเฉพาะแล้ววาเมื่อโอนสิทธิเรียกรองไป สิทธิจํานอง จํานํา หรือหลักประกันทางธุรกิจที่มีอยู่เกี่ยวพันกับสิทธิเรียกรองนั้นก็ดี สิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ําประกัน ที่ให้ไวเพื่อสิทธิเรียกรองนั้นก็ดี ยอมตกไปได้แกผู้รับโอนด้วยอันเป็นผลให้วัตถุประสงคตามพระราชกําหนด บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 เกิดความคลาดเคลื่อน ทําให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สิน ของจําเลย และกระทบต่อสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของนิติบุคคลอื่นหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ ผู้รับโอนสิทธิเรียกรองตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยวาด้วยลักษณะหนี้ มาตรา 305 วรรคหนึ่ง ถือเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ เป็นอันใชบังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 ประกอบกับบทบัญญัตินี้ยังไม่ปรากฏในคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 31 - 32/2563 จําเลยที่ 1 ขอให้ศาลแพงสงคําโตแยงดังกลาวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนที่ 26 ก ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

ศาลแพงเห็นวา จําเลยที่ 1 โตแยงวาพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 37 วรรคสอง และมาตรา 172 ซึ่งศาลจะใชบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกลาวบังคับแกคดี และยังไม่มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในสวนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ จึงสงคําโตแยงดังกลาวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องตนมีวา ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจรับหนังสือสงคําโตแยง ของจําเลยที่ 1 ไวพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง หรือไม่ เห็นวา ศาลแพงสงคําโตแยงของจําเลยที่ 1 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยวา พระราชกําหนด บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 37 วรรคสอง และมาตรา 172 บทบัญญัติดังกลาวเป็นบทบัญญัติที่ศาลแพงจะใชบังคับแกคดี เมื่อจําเลยที่ 1 โตแยงพรอมด้วยเหตุผลวาบทบัญญัติดังกลาวขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคําวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญในสวนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง จึงมีคําสั่งรับไวพิจารณาวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคําโตแยงของจําเลยที่ 1 คําโตแยงเพิ่มเติม และเอกสารประกอบแล้ว เห็นวา คดีเป็นปญหาขอกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงไม่ทําการไตสวน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง สวนที่จําเลยที่ 1 โตแยงวาพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 37 วรรคสอง นั้น เห็นวา ศาลรัฐธรรมนูญ เคยมีคําวินิจฉัยที่ 31 - 32/2563 วินิจฉัยไวแล้ววา พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 ไม่เป็นการละเมิดต่อสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 37 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติวา “ บุคคลยอมมีสิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก ” อยางไรก็ดี การพิจารณาบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 37 วรรคสอง ที่บัญญัติวา “ ขอบเขตแห่งสิทธิและการจํากัดสิทธิเชนวานี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ” ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันยอมต้องพิจารณาโดยอาศัยหลักการคุมครองสิทธิ และการจํากัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการบัญญัติกฎหมายเชนเดียวกัน ไม่จําต้องวินิจฉัยในสวนนี้ สวนที่โตแยงวาพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนที่ 26 ก ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

มาตรา 172 นั้น เห็นวา รัฐธรรมนูญ มาตรา 172 เป็นบทบัญญัติในหมวด 8 วาด้วยคณะรัฐมนตรี ที่บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการตราพระราชกําหนด ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 173 บัญญัติกระบวนการรอง หรือผู้มีสิทธิขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาไวเป็นการเฉพาะแล้ว การยื่นคํารองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 มิได้ให้สิทธิโตแยงวากระบวนการตรากฎหมายไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ไม่จําต้องวินิจฉัยในสวนนี้ และกําหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยวา พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นวา รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิ หรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว กฎหมายดังกลาวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิ และเสรีภาพไวด้วย ” และวรรคสอง บัญญัติวา “ กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใชบังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุงหมายให้ใชบังคับแกกรณีใดกรณีหนึ่งหรือแกบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ” พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อสงเสริม การจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อรับซื้อ รับโอน หรือรับจางบริหารสินทรัพย์ดอยคุณภาพของ สถาบันการเงิน สินทรัพย์ดอยคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน หรือสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน ที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ รวมไปถึงเพื่อรับเป็นที่ปรึกษา ให้แกลูกหนี้ สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินในการปรับปรุงโครงสรางหนี้ ซึ่งจะทําให้ สินทรัพย์ดังกลาวถูกบริหารอยางมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการเสริมสภาพคลองให้แกลูกหนี้ สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ซึ่งจะสงผลไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม พระราชกําหนดนี้มีการแกไขเพิ่มเติม 2 ครั้ง โดยครั้งที่หนึ่ง พระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมพระราชกําหนด บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2550 ระบุวัตถุประสงคไวในหมายเหตุทายพระราชบัญญัติวา “… โดยที่พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เอื้ออํานวย ต่อการบริหารสินทรัพย์ดอยคุณภาพของสถาบันการเงินทําให้มีสินทรัพย์ดังกลาวตกคางอยู่เป็นจํานวนมาก อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม สมควรแกไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกลาวให้บริษัท บริหารสินทรัพย์สามารถรับซื้อ รับโอน และรับจางบริหารสินทรัพย์ดอยคุณภาพและสินทรัพย์ ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนที่ 26 ก ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น เพื่อนํามาบริหาร หรือจําหนายจายโอนต่อไป รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑที่เหมาะสมในการกํากับดูแลและควบคุมตรวจสอบ การดําเนินกิจการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อให้การบริหารจัดการสินทรัพย์ดอยคุณภาพของสถาบันการเงิน เป็นไปอยางมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น … ” และครั้งที่สอง พระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมพระราชกําหนด บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ระบุไวในหมายเหตุทายพระราชบัญญัติวา “… โดยที่เป็นการสมควรขยายขอบเขตในการประกอบธุรกิจของบริษัทบริหารสินทรัพย์ให้ครอบคลุมถึงการรับซื้อ รับโอน หรือรับจางบริหารสินทรัพย์ดอยคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินซึ่งมิใชสถาบันการเงิน ตลอดจนการรับเป็นที่ปรึกษาให้แกลูกหนี้สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินในการปรับปรุง โครงสรางหนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการแกปญหาหนี้ภาคครัวเรือนอยางมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น … ” พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 บัญญัติวา “ ในการโอนสินทรัพย์ ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถาเป็นสินทรัพย์ที่มีหลักประกันอยางอื่นที่มิใชสิทธิจํานอง สิทธิจํานํา หรือสิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ําประกัน ให้หลักประกันนั้นตกแกบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย ” ขอโตแยงของจําเลยที่ 1 ที่วา พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 กําหนดให้การโอนสินทรัพย์ไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ ถาเป็นสินทรัพย์ที่มีหลักประกันอยางอื่นที่มิใชสิทธิจํานอง สิทธิจํานํา หรือสิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ําประกัน ให้หลักประกันนั้นตกแกบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย ขัดกับแนวบรรทัดฐานคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 10762/2557 และประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 305 ที่บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิจํานองดังกลาวไวเป็นการเฉพาะแล้ว อันเป็นผลให้วัตถุประสงค ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกลาวเกิดความคลาดเคลื่อน สงผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สินของจําเลย และกระทบต่อสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของนิติบุคคลอื่นหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้รับโอนสิทธิเรียกรอง ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 นั้น เห็นวา พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ตราขึ้นเพื่อแกไขปญหาสินทรัพย์ดอยคุณภาพของสถาบันการเงินซึ่งมีอยู่จํานวนมาก ทําให้เป็นอุปสรรค ต่อการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน และกระทบกระเทือนต่อความสามารถในการให้สินเชื่อในภาคเศรษฐกิจ ปญหาดังกลาวหากไม่ได้รับการแกไขโดยเรงดวน จะสงผลให้สถาบันการเงินต้องกันเงินสวนหนึ่งเป็นเงินสํารอง เผื่อหนี้สูญเพิ่มขึ้น กระทบต่อความสามารถในการปลอยสินเชื่อแกภาคเศรษฐกิจทวีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อให้สถาบันการเงินแกปญหาดังกลาวได้ จึงต้องแยกสินทรัพย์ดอยคุณภาพออกมาแล้วขาย ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนที่ 26 ก ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

หรือโอนให้แกนิติบุคคลอื่นเพื่อบริหารสินทรัพย์นั้นต่อไป กฎหมายดังกลาวจึงกําหนดวิธีการให้นิติบุคคลอื่น ที่จัดตั้งเป็นบริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย หรือบริษัทมหาชนจํากัดตามกฎหมาย วาด้วยบริษัทมหาชนจํากัดเขามาชวยแกปญหา โดยวิธีการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ดอยคุณภาพ ของสถาบันการเงิน รวมตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้นเพื่อนํามาบริหารหรือจําหนายจายโอน ทําให้สถาบันการเงินที่โอนสินทรัพย์ดอยคุณภาพให้แกบริษัทดังกลาวกลับมามีความสามารถปลอยสินเชื่อ ให้แกภาคเศรษฐกิจได้ต่อไป จึงมีการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ขึ้นมาเพื่อดําเนินการบริหารสินทรัพย์ ดอยคุณภาพโดยการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ และรับจางบริหารสินทรัพย์ดอยคุณภาพ ตลอดจน หลักประกันของสินทรัพย์ การรับเป็นที่ปรึกษาในการปรับปรุงโครงสรางหนี้ การบริหารสภาพคลอง และการอื่นที่เกี่ยวของ รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑที่เหมาะสมในการกํากับดูแลและควบคุมตรวจสอบ การดําเนินกิจการของบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อให้การบริหารจัดการสินทรัพย์ดอยคุณภาพของสถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินเป็นไปอยางมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมาตรา 6 เป็นบทบัญญัติที่วางหลักการ เพื่อให้ครอบคลุมหลักประกันทุกประเภท ไม่ได้มีวัตถุประสงคที่จะยกเวนหลักประกันประเภทสิทธิจํานอง สิทธิจํานํา หรือสิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ําประกันไม่ให้ตกแกบริษัทบริหารสินทรัพย์ กลาวคือ เป็นบทบัญญัติ แห่งกฎหมายเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 305 วรรคหนึ่ง เพื่อให้ครอบคลุมหลักประกันทุกประเภทนอกเหนือไปจากสิทธิจํานอง สิทธิจํานํา หรือสิทธิอันเกิดขึ้น แต่การค้ําประกัน ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเจตนารมณของกฎหมายดังกลาวในการแกไขปญหาของสถาบันการเงิน เกี่ยวกับสินทรัพย์ดอยคุณภาพ อีกทั้งเพื่อความมั่นคงและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยนําทุน กลับคืนสูระบบเศรษฐกิจ สถาบันการเงินมีความสามารถในการให้สินเชื่ออันกอให้เกิดประโยชน ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการโอนสินทรัพย์จากเจ้าหนี้รายหนึ่ง ไปสูเจ้าหนี้อีกรายหนึ่ง ซึ่งการโอนสิทธิเรียกรองสามารถกระทําได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพง และพาณิชย โดยผู้รับโอนสิทธิเรียกรองดังกลาวจะเขามาเป็นเจ้าหนี้คนใหมต่อไป มิได้ทําให้สิทธิและหน้าที่ ของลูกหนี้เปลี่ยนแปลงไป และมิได้เพิ่มภาระหรือหน้าที่ใด ๆ แกลูกหนี้มากไปกวามูลหนี้เดิม ความรับผิด ของลูกหนี้มีอยู่เทาใด เมื่อโอนสิทธิไปยังเจ้าหนี้คนใหมความรับผิดก็ยังคงมีอยู่เทานั้นตราบใดที่หนี้ยังไม่ระงับ ลูกหนี้ยังคงมีหน้าที่ชําระหนี้ให้แกเจ้าหนี้ บทบัญญัติดังกลาวมีความชัดเจนครอบคลุมต่อแนวทางการบังคับใช ทั้งกฎหมายแพงและพาณิชย รวมทั้งกฎหมายอื่นให้ดําเนินการไปในแนวทางเดียวกันตรงตามเจตนารมณ ของกฎหมาย แมการบริหารสินทรัพย์ตามบทบัญญัตินี้อาจมีการจํากัดสิทธิในทรัพย์สินอยู่บาง แต่ไม่ถึงขนาดที่จะ ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนที่ 26 ก ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

กระทบกระเทือนเกินขอบเขตแห่งสิทธิของลูกหนี้ เมื่อชั่งน้ําหนักระหวางสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ที่ถูกจํากัดตามกฎหมายกับประโยชนสวนรวมที่ได้รับตามวัตถุประสงคของกฎหมายเพื่อแกไขปญหา สินทรัพย์ดอยคุณภาพที่สงผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสถาบันการเงินของประเทศอันเป็นประโยชนสาธารณะ บทบัญญัติดังกลาวเป็นไปตามหลักความได้สัดสวน ไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิ หรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ ไม่กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย มีผลใชบังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุงหมายให้ใชบังคับแกกรณีใดกรณีหนึ่งหรือแกบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ไม่ขัดหรือแยง ต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 อาศัยเหตุผลดังกลาวขางตน จึงวินิจฉัยวา พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 นายวรวิทย กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายนครินทร เมฆไตรรัตน์ นายปญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายจิรนิติ หะวานนท นายนภดล เทพพิทักษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายบรรจงศักดิ์ วงศปราชญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนที่ 26 ก ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566