Fri Apr 07 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 3/2566 เรื่อง พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 4/1 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ [ระหว่าง ศาลแพ่งธนบุรี ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]


คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 3/2566 เรื่อง พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 4/1 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ [ระหว่าง ศาลแพ่งธนบุรี ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย ศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยที่ 3/2566 เรื่องพิจารณาที่ 21/2565 วันที่ 8 เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2566 ศาลแพงธนบุรี ผู้รอง - ผู้ถูกรอง เรื่อง พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 4/1 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ ศาลแพงธนบุรีสงคําโตแยงของจําเลย (นางสาวภัคนันท สุขศรี) ในคดีผู้บริโภคหมายเลขดําที่ ผบ E 399/2564 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ขอเท็จจริง ตามหนังสือสงคําโตแยงของจําเลยและเอกสารประกอบ สรุปได้ดังนี้ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จํากัด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นางสาวภัคนันท สุขศรี เป็นจําเลย ต่อศาลแพงธนบุรีวา เดิมจําเลยเป็นลูกหนี้ธนาคารไทยพาณิชย จํากัด (มหาชน) ตามสัญญากูยืมเงิน เพื่อผู้บริโภค จํานวน 4 ฉบับ และสัญญาจํานองที่ดิน โฉนดที่ดินเลขที่ 89978 แขวงบางบอน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร พรอมสิ่งปลูกสรางเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากูยืมเงิน เมื่อจําเลย รับเงินครบถวนแล้ว จําเลยชําระหนี้ตามสัญญากูยืมเงินแต่ละฉบับเพียงบางสวน หลังจากนั้น จําเลยมิได้ชําระหนี้ให้แกธนาคารถือเป็นการผิดนัด ผิดสัญญา และเป็นหนี้เสียหรือหนี้ไม่กอรายได้ (NPL) ระหวาง ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนที่ 26 ก ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

ต่อมาธนาคารโอนขายสินทรัพย์ของจําเลยให้แกโจทก์โดยถือเป็นการโอนสินทรัพย์ดอยคุณภาพ และหลักประกันตามพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 โจทก์มีหนังสือบอกกลาว การโอนสิทธิเรียกรองไปยังจําเลยและทวงถามให้ชําระหนี้ จําเลยเพิกเฉยไม่ชําระหนี้ โจทก์ฟ้องจําเลย เป็นคดีผู้บริโภค ขอให้ชําระหนี้พรอมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องเป็นตนไป หากจําเลยไม่ชําระหนี้ให้ครบถวน ให้ยึดที่ดินพรอมสิ่งปลูกสรางตามสัญญาจํานองออกขายทอดตลาด และให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอื่น ของจําเลยออกขายทอดตลาดนําเงินมาชําระหนี้แกโจทก์ ระหวางการพิจารณาคดีของศาลแพงธนบุรี จําเลยโตแยงพรอมด้วยเหตุผล สรุปได้ดังนี้ 1. พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 3 บทนิยามคําวา “ การบริหารสินทรัพย์ ” (1) ในสวนที่บั ญญัติวา “ การรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ดอยคุณภาพ ของสถาบันการเงิน ” เป็นบทบัญญัติที่ทําให้เกิดความไม่เสมอกันในการใชกฎหมายระหวางผู้จํานอง ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินกับผู้จํานองซึ่งไม่ใชลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เนื่องจากเมื่อสถาบันการเงิน โอนขายสินทรัพย์ของลูกหนี้ตามบทบัญญัติดังกลาว สิทธิของผู้จํานองซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ไม่ได้รับความคุมครองตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 702 มาตรา 705 และมาตรา 728 ทั้งเป็นการจํากัดสิทธิของผู้จํานองซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เนื่องจากไม่ได้บัญญัติถึงชวงเวลาการรับซื้อ หรือรับโอนสินทรัพย์ดอยคุณภาพของสถาบันการเงินวาต้องเป็นสิทธิเรียกรองที่อยู่ในระยะเวลาหรือขั้นตอนใด ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และมาตรา 46 วรรคหนึ่ง 2. พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 4/1 วรรคหนึ่ง (1) ที่บัญญัติให้บริษัทบริหารสินทรัพย์รับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยที่มาตรา 4/1 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ไม่ได้บัญญัติให้การรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ดอยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ยังไม่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นเหตุให้ธนาคารพาณิชยมีอํานาจนําสินทรัพย์ของลูกหนี้ ประมูลขายแกบริษัทบริหารสินทรัพย์โดยอิสระ บทบัญญัติดังกลาวทําให้เกิดความไม่เสมอกันระหวางลูกหนี้ ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการแล้วกับลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่ยังไม่ถูกระงับ การดําเนินกิจการ และเป็นการจํากัดสิทธิของลูกหนี้ธนาคารพาณิชยซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ยังไม่ถูกระงับ ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนที่ 26 ก ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

การดําเนินกิจการต้องถูกโอนสินทรัพย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจาก ธนาคารแห่งประเทศไทยกอน ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 27 วรรคหนึ่ง จําเลยขอให้ศาลแพงธนบุรีสงคําโตแยงดังกลาวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ศาลแพงธนบุรีเห็นวา จําเลยโตแยงวาพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 3 บทนิยามคําวา “ การบริหารสินทรัพย์ ” (1) และมาตรา 4/1 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และมาตรา 46 วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลจะใชบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกลาว บังคับแกคดี และยังไม่มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในสวนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ จึงสงคําโตแยงดังกลาว ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องตนมีวา ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจรับหนังสือสงคําโตแยง ของจําเลยไวพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง หรือไม่ เห็นวา ศาลแพงธนบุรี สงคําโตแยงของจําเลยเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยวา พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 3 บทนิยามคําวา “ การบริหารสินทรัพย์ ” (1) ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และมาตรา 46 วรรคหนึ่ง และพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 4/1 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 บทบัญญัติดังกลาวเป็นบทบัญญัติ ที่ศาลแพงธนบุรีจะใชบังคับแกคดี เมื่อจําเลยโตแยงพรอมด้วยเหตุผลวาบทบัญญัติดังกลาว ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในสวนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง จึงมีคําสั่งรับไวพิจารณาวินิจฉัย สวนที่โตแยงวา พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 4/1 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือไม่ นั้น เห็นวา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 31 - 32/2563 วา พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 4/1 ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสาม เป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยไวแล้ว กรณีไม่เป็นไป ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง จึงมีคําสั่งไม่รับไวพิจารณาวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคําโตแยงของจําเลยและเอกสารประกอบแล้วเห็นวา คดีเป็นปญหาขอกฎหมาย และมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงไม่ทําการไตสวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ วาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง สวนที่จําเลยโตแยงวา ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนที่ 26 ก ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 3 บทนิยามคําวา “ การบริหารสินทรัพย์ ” (1) ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และมาตรา 46 วรรคหนึ่ง นั้น เห็นวา บทบัญญัติดังกลาวเป็นบทบัญญัติวาด้วยบทนิยาม ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคําวินิจฉัยที่ 40/2547 และคําวินิจฉัยที่ 31 - 32/2563 วินิจฉัยไวแล้ววา บทนิยาม มาตรา 3 ของพระราชกําหนด บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 เป็นเพียงการกําหนดความหมายให้สอดคลองกับเจตนารมณ หรือวัตถุประสงคของกฎหมายเทานั้น มิใชเป็นการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ไม่ขัดหรือแยง ต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ไม่กําหนดเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยในสวนนี้ คงกําหนดประเด็น ที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยเพียงวา พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 4/1 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นวา รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิ หรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว กฎหมายดังกลาวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิ และเสรีภาพไวด้วย ” และวรรคสอง บัญญัติวา “ กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใชบังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุงหมายให้ใชบังคับแกกรณีใดกรณีหนึ่งหรือแกบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ” พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อสงเสริม การจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อรับซื้อ รับโอน หรือรับจางบริหารสินทรัพย์ดอยคุณภาพ ของสถาบันการเงิน สินทรัพย์ดอยคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน หรือสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน ที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ รวมไปถึงเพื่อรับเป็นที่ปรึกษา ให้แกลูกหนี้ สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินในการปรับปรุงโครงสรางหนี้ ซึ่งจะทําให้สินทรัพย์ ดังกลาวถูกบริหารอยางมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการเสริมสภาพคลองให้แกลูกหนี้ สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ซึ่งจะสงผลไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม พระราชกําหนดนี้มีการแกไขเพิ่มเติม 2 ครั้ง โดยครั้งที่หนึ่ง พระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมพระราชกําหนด บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2550 ระบุวัตถุประสงคไวในหมายเหตุทายพระราชบัญญัติวา “… โดยที่พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เอื้ออํานวย ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนที่ 26 ก ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

ต่อการบริหารสินทรัพย์ดอยคุณภาพของสถาบันการเงิน ทําให้มีสินทรัพย์ดังกลาวตกคางอยู่เป็นจํานวนมาก อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม สมควรแกไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกลาวให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ สามารถรับซื้อ รับโอน และรับจางบริหารสินทรัพย์ดอ ยคุณภาพและสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน ที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น เพื่อนํามาบริหารหรือจําหนายจายโอนต่อไป รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑที่เหมาะสมในการกํากับดูแลและควบคุมตรวจสอบการดําเนินกิจการ ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อให้การบริหารจัดการสินทรัพย์ดอยคุณภาพของสถาบันการเงิน เป็นไปอยางมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น … ” และครั้งที่สอง พระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมพระราชกําหนด บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ระบุไวในหมายเหตุทายพระราชบัญญัติวา “… โดยที่เป็นการสมควรขยายขอบเขตในการประกอบธุรกิจของบริษัทบริหารสินทรัพย์ให้ครอบคลุมถึงการรับซื้อ รับโอน หรือรับจางบริหารสินทรัพย์ดอยคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินซึ่งมิใชสถาบันการเงิน ตลอดจนการรับเป็นที่ปรึกษาให้แกลูกหนี้สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินในการปรับปรุง โครงสรางหนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการแกปญหาหนี้ภาคครัวเรือนอยางมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น … ” พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 4/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ บริษัทบริหารสินทรัพย์จะดําเนินการดังต่อไปนี้ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (1) รับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอน ใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร ตลอดจนหลักประกัน ของสินทรัพย์นั้น (2) รับจางบริหารสินทรัพย์ดอยคุณภาพของสถาบันการเงิน หรือสินทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น (3) รับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ ดอยคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น (4) รับจางบริหารสินทรัพย์ ดอยคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น (5) รับเป็นที่ปรึกษา ให้แกลูกหนี้ สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินในการปรับปรุงโครงสรางหนี้ รวมถึงการดําเนินกา ร ที่เกี่ยวเนื่องกับการเป็นที่ปรึกษาดังกลาว ” และวรรคสอง บัญญัติวา “ การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดหลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขด้วยก็ได้ ” โดยบทบัญญัตินี้ ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนที่ 26 ก ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

มีความมุงหมายเพื่อขยายขอบเขตภารกิจของบริษัทบริหารสินทรัพย์ออกไปนอกเหนือจากภารกิจเดิม โดยการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเขามาควบคุมภารกิจใหมเหลานี้ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย ขอโตแยงของจําเลยที่วา พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 4/1 วรรคหนึ่ง (1) บัญญัติให้บริษัทบริหารสินทรัพย์รับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับ การดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ ดอยคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินจะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย แต่มาตรา 4/1 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ไม่ได้บัญญัติให้การรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ดอยคุณภาพ ของสถาบันการเงินที่ยังประกอบกิจการอยู่จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทําให้สถาบันการเงิน ที่ยังประกอบกิจการอยู่มีอํานาจประมูลขายทรัพย์สินของลูกหนี้ได้โดยอิสระ นั้น เห็นวา พระราชกําหนด บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 4/1 วรรคหนึ่ง (1) เป็นสวนหนึ่งของกระบวนการ บริหารสินทรัพย์ตามพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาเฉพาะ วาด้วยเรื่องการบริหารสินทรัพย์ และเป็นภารกิจใหมที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ยังไม่เคยดําเนินการมากอน จึงบัญญัติให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเขามาควบคุมตรวจสอบภารกิจการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ดังเหตุผลปรากฏตามหมายเหตุทายพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2550 แมมาตรา 4/1 ไม่ได้บัญญัติให้การรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ ดอยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ยังประกอบกิจการอยู่ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยกอนก็ตาม แต่บทนิยามคําวา “ สถาบันการเงิน ” ตามมาตรา 3 หมายความวา สถาบันการเงินตามกฎหมาย วาด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยยอมมีอํานาจกํากับดูแ ลสถาบันการเงิน ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ประกอบกับการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ ดอยคุณภาพระหวางบริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินมีผลเป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ โดยให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เขามาเป็นเจ้าหนี้คนใหมแทนสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้เดิม และมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้ได้เชนเดียวกับสถาบันการเงิน สวนลูกหนี้มีภาระหน้าที่ในการชําระหนี้ ให้แกบริษัทบริหารสินทรัพย์ นิติสัมพันธดังกลาวเป็นการโอนสิทธิเรียกรอง จึงต้องนําบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย บรรพ 2 ลักษณะ 1 หมวด 4 วาด้วยโอนสิทธิเรียกรอง มาใชบังคับเทาที่ไม่ขัดหรือแยงต่อพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 การรับซื้อหรือรับโอน ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนที่ 26 ก ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566

สินทรัพย์ดอยคุณภาพของสถาบันการเงินจึงไม่ใชการกระทําโดยเสรี ปราศจากการตรวจสอบและควบคุม ไม่มีกรณีที่สถาบันการเงินจะขายหรือโอนสินทรัพย์ของลูกหนี้ให้แกบริษัทบริหารสินทรัพย์เกินกวา จํานวนหนี้คงเหลือได้โดยอิสระ พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 4/1 ที่กําหนดให้การดําเนินการของบริษัทบริหารสินทรัพย์จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยกอน จึงเป็นเพียงบทบัญญัติที่เอื้ออํานวยต่อการบริหารสินทรัพย์และเป็นหลักเกณฑที่เหมาะสมในการกํากับดูแล และควบคุมตรวจสอบการดําเนินกิจการของบริษัทบริหารสินทรัพย์อยางมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค ของกฎหมาย ไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ มีผลใชบังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุงหมายให้ใชบังคับแกกรณีใดกรณีหนึ่งหรือแกบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นการเจาะจง ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 อาศัยเหตุผลดังกลาวขางตน จึงวินิจฉัยวา พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 4/1 ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 นายวรวิทย กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายนครินทร เมฆไตรรัตน์ นายปญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายจิรนิติ หะวานนท นายนภดล เทพพิทักษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายบรรจงศักดิ์ วงศปราชญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนที่ 26 ก ราชกิจจานุเบกษา 7 เมษายน 2566