Thu Mar 30 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 2/2566 เรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) [ระหว่าง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]


คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 2/2566 เรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) [ระหว่าง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย ศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยที่ 2/2566 เรื่องพิจารณาที่ 7/2566 วันที่ 3 เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้รอง - ผู้ถูกรอง เรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปญหาเกี่ยวกับหน้าที่ และอํานาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้รอง) สงคํารองขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) กรณีมีปญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในการประกาศจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบงเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 ขอเท็จจริงตามคํารองและเอกสารประกอบ สรุปได้ดังนี้ ผู้รองเป็นองคกรอิสระ มีหน้าที่และอํานาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) ในการจัดหรือดําเนินการให้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกสมาชิกวุฒิสภา การเลือกตั้งสมาชิกสภาทองถิ่นและผู้บริหารทองถิ่น และการออกเสียงประชามติ รวมทั้งควบคุมดูแล การเลือกตั้งและการเลือกดังกลาวให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ควบคุมดูแลการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และให้มีอํานาจสืบสวนหรือไตสวนได้ตามที่จําเป็นหรือที่เห็นสมควร ระหวาง ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 (1) บัญญัติวิธีการกําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัด จะพึงมีและการแบงเขตเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรวา ให้ใชจํานวนราษฎรทั้งประเทศ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปสุดทายกอนปที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจํานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสี่รอยคน จํานวนที่ได้รับให้ถือวาเป็นจํานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 26 (1) บัญญัติหลักการเกี่ยวกับการกําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และการแบงเขตเลือกตั้งให้ดําเนินการตามวิธีการเชนเดียวกับหลักการตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 86 (1) บัญญัติ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในป 2566 ผู้รองกําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบงเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและจํานวนเขตเลือกตั้ง ของแต่ละจังหวัดให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 (1) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ วาด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 26 (1) โดยนําประกาศสํานักทะเบียนกลาง เรื่อง จํานวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566 ที่มีการแบงแยกจํานวนราษฎรสัญชาติไทยและไม่ได้สัญชาติไทย มาใชคํานวณหาจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีในการออกประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบงเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด สําหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกภายหลังประกาศใชรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566 เพื่อใชบังคับแกการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้น ต่อมาปรากฏวา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีบางคนในคณะรัฐบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคน และบุคคลสาธารณะ ที่เป็นที่รูจักในสังคมโตแยงวา การกําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และการแบงเขตเลือกตั้ง ให้ใชจํานวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปสุดทาย กอนปที่มีการเลือกตั้งนั้น หมายความถึงจํานวนราษฎรผู้มีสัญชาติไทยเทานั้น ไม่หมายความรวมถึง ราษฎรที่เป็นคนตางดาวด้วย ผู้รองเห็นวาการออกประกาศดังกลาว ผู้รองพิจารณาถอยคําบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติวา “ ให้ใชจํานวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปสุดทายกอนปที่มีการเลือกตั้ง ” ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

ผู้รองจึงต้องนําจํานวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรตามที่สํานักทะเบียนกลาง ได้ออกประกาศเกี่ยวกับจํานวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของปที่ลวงมาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาในปสุดทาย กอนปที่มีการเลือกตั้ง มาเพื่อคิดคํานวณ ซึ่งเป็นการดําเนินการในรูปแบบนี้มาโดยตลอด การดําเนินการของผู้รองเป็นการดําเนินการ ตามบทบัญญัติของกฎหมาย และเป็นการกระทําโดยสุจริตตามหน้าที่และอํานาจ แต่เมื่อมีผู้โตแยงกรณีดังกลาว ถือเป็นปญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของผู้รองซึ่งเป็นองคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 7 (2) ในการประชุมของผู้รอง ครั้งที่ 10/2566 วันที่ 14 กุมภาพันธ 2566 มีมติเป็นเอกฉันท ให้สงศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของผู้รองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) ผู้รองมีหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) กรณีมีปญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการประกาศจํานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบงเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องตนมีวา ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจรับหนังสือของผู้รอง ไวพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) หรือไม่ เห็นวา รัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอํานาจพิจารณาวินิจฉัยปญหา เกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองคกรอิสระ ซึ่งการยื่นคํารองต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 7 (2) คือ ต้องเป็นปญหาซึ่งเกี่ยวกับหน้าที่ และอํานาจที่เกิดขึ้นแล้ว โด ยในกรณีที่ปญหาดังกลาวเกิดขึ้นกับหนวยงานใดให้หนวยงานนั้น เป็นผู้มีสิทธิยื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อขอเท็จจริงตามคํารองปรากฏวา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้รอง) เป็นองคกรอิสระ สงปญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของผู้รองกรณีการประกาศ จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบงเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 ซึ่งผู้รองคิดคํานวณจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบงเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

โดยนําจํานวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรตามที่สํานักทะเบียนกลางประกาศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของปที่ลวงมา ใชในการคิดคํานวณจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบงเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ต่อมารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีบางคนในคณะรัฐบาล และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคนโตแยงกรณีดังกลาว จึงเป็นปญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจ ของผู้รองที่เกิดขึ้นแล้ว และผู้รองยื่นคํารองต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 7 (2) ศาลรัฐธรรมนูญสั่งรับคํารองนี้ไวพิจารณาวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคํารองและเอกสารประกอบคํารองแล้วเห็นวา คดีเป็นปญหาขอกฎหมาย และมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงไม่ทําการไตสวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ วาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง โดยกําหนดประเด็น ที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยวา การกําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบงเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 (1) ที่กําหนดให้ใชจํานวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ที่ประกาศในปสุดทายกอนปที่มีการเลือกตั้ง นั้น คําวา “ ราษฎร ” หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นวา รัฐธรรมนูญ มาตรา 86 เป็นบทบัญญัติในหมวด 7 รัฐสภา สวนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร บัญญัติวา “ การกําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และการแบงเขตเลือกตั้ง ให้ดําเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) ให้ใชจํานวนราษฎรทั้งประเทศ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปสุดทายกอนปที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจํานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสี่รอยคน จํานวนที่ได้รับให้ถือวาเป็นจํานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน … ” และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 26 บัญญัติวา “ การกําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และการแบงเขตเลือกตั้ง ให้ดําเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) ให้ใชจํานวนราษฎรทั้งประเทศ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปสุดทายกอนปที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจํานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสี่รอยคน จํานวนที่ได้รับให้ถือวาเป็นจํานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน … ” หลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน มีที่มาจากประชาชน และต้องทําหน้าที่ตามเจตนารมณที่ประชาชนมอบหมาย โดยประชาชนซึ่งเป็นสมาชิกของสังคม ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

เป็นเจ้าของอํานาจสูงสุดในการปกครองของรัฐ ที่เรียกวา “ อํานาจอธิปไตย ” ดังความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริยผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใชอํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยรัฐสภาประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เป็นองคกรที่ใชอํานาจนิติบัญญัติ ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติกระบวนการ เลือกตั้งผู้แทนของปวงชนชาวไทยเพื่อเขาไปทําหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร โดยให้สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนหารอยคน มาจากการเลือกตั้งแบบแบงเขตเลือกตั้งจํานวนสี่รอยคน และมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจํานวนหนึ่งรอยคน และมาตรา 114 บัญญัติให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงําใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตยสุจริตเพื่อประโยชนสวนรวมของประเทศชาติและความผาสุก ของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ผู้ที่ประสงคจะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบงเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ จะต้องเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 87 และมาตรา 90 บัญญัติ การใชอํานาจอธิปไตยมีความสําคัญอยางยิ่งมีผลต่อความมั่นคงของประเทศ มีผลกระทบต่อประโยชน ของปวงชนชาวไทย ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 บัญญัติให้บุคคลยอมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้ง พรรคการเมือง ในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญ มาตรา 97 (1) บัญญัติให้ต้องเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด สําหรับบุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 95 วรรคหนึ่ง (1) บัญญัติให้ต้องเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย โดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่นอยกวาหาป สําหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ มาตรา 50 (7) บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทยที่จะต้องไปใชสิทธิเลือกตั้ง เมื่อบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญดังกลาวให้เป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทยที่จะต้องไปใชสิทธิเลือกตั้ง หากบุคคลใด ไม่ไปใชสิทธิเลือกตั้ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 35 กําหนดวาผู้นั้นถูกจํากัดสิทธิตามที่กฎหมายกําหนด เห็นได้วาการกําหนด องคกรผู้ใชอํานาจอธิปไตย การจัดตั้งพรรคการเมือง การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกลาว กําหนดให้เป็นสิทธิและหน้าที่เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยทั้งสิ้น การกําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

แบบแบงเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดซึ่งถือเป็นกระบวนการหนึ่งของการได้มา ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องมีการใชและการตีความของกฎหมายให้สอดคลองและเป็นไป ในทิศทางเดียวกัน ประกอบกับหากรัฐธรรมนูญประสงคจะให้สิทธิเสรีภาพแกคนตางดาวจะต้องมีการบัญญัติไว โดยเฉพาะ ดังนั้น การกําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบงเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 (1) จึงต้องไม่นําผู้ไม่ได้สัญชาติไทยมารวมคํานวณเพื่อหาจํานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบงเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดด้วย การที่ผู้รองออกประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบงเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด สําหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไปครั้งแรกภายหลังประกาศใชรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566 โดยนําจํานวนราษฎรทั้งประ เทศ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรตามที่สํานักทะเบียนกลางได้ออกประกาศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของปที่ลวงมา โดยรวมจํานวนราษฎรผู้มีสัญชาติไทยและราษฎรผู้ไม่ได้สัญชาติไทยมาคิดคํานวณด้วย เห็นได้อยางชัดแจงวาไม่เป็นไปตามเจตนารมณของรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวของ ที่มุงประสงคกําหนดให้เป็นสิทธิและหน้าที่เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเทานั้น นอกจากนี้ การกําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบงเขตเลือกตั้งโดยนําราษฎร ผู้ไม่ได้สัญชาติไทยมาคิดคํานวณรวมกันยอมมีผลทําให้จํานวนบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีสิทธิทางการเมือง ตามรัฐธรรมนูญ ถูกนําเขาไปนับรวมอยู่ในการคํานวณจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี สงผลให้การคํานวณจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดพึงมีผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ทําให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมือง ประเด็นที่ผู้รองอางวา ในหลักการปกครองทองถิ่น การจัดให้มีองคกรทางปกครองขึ้น เพื่อจัดให้มีบริการสาธารณะแกประชาชนหรือราษฎรที่อยู่อาศัยในเขตทองถิ่นนั้น กฎหมายกําหนดฐานะ ของทองถิ่นให้แตกตางกัน โดยคํานึงถึงจํานวนพลเมืองหรือราษฎรที่อาศัยอยู่ในทองถิ่นนั้นวามีมาก หรือนอยเพียงใด เพื่อให้บริหารทรัพยากรได้อยางถูกต้องทั้งในแงของการให้บริการและในแงรายได้ เพื่อมาจัดทําบริการสาธารณะ การนับจํานวนพลเมืองหรือราษฎรเพื่อประโยชนในการจัดฐานะ และการบริหารงานของทองถิ่น จึงต้องคํานึงถึงบุคคลที่มีสิทธิใชบริการและมีหน้าที่ในการเสียภาษีอากร ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

รวมทั้งคาธรรมเนียมตาง ๆ บุคคลจึงหมายถึง บุคคลผู้มีสิทธิอยู่อาศัยในทองถิ่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่วาจะเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือไม่ และไม่วาจะมีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ นั้น เห็นวา ขออางของผู้รองดังกลาว เป็นเรื่องการจัดให้มีบริการสาธารณะสําหรับประชาชนในทองถิ่นให้มีความครอบคลุมทั่วถึง ดังนั้น คําวา “ ราษฎร ” ตามกฎหมายดังกลาวจึงมุงหมายถึงบุคคลที่ทองถิ่นประสงคจะจัดให้มีบริการสาธารณะ ในทองถิ่น ซึ่งหมายรวมถึงประชาชนหรือราษฎรที่มีสิทธิอยู่อาศัยในทองถิ่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่วาบุคคลนั้นจะมีสัญชาติไทย หรือไม่มีสัญชาติไทย โดยไม่คํานึงวาจะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ ตามเจตนารมณของกฎหมายวาด้วยการปกครองทองถิ่นและกฎหมายวาด้วยการทะเบียนราษฎร แต่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดกําหนดอํานาจอธิปไตยซึ่งเป็นอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ให้เป็นของปวงชนชาวไทย การตีความตามกฎหมายดังกลาวไม่อาจนํามาใชให้ขัดหรือแยงต่อเจตนารมณ ของรัฐธรรมนูญได้ สวนที่ผู้รองอางวา ในการคํานวณจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดพึงมี ได้มีการนับผู้ได้สัญชาติไทยแต่เป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งรวมเขาไวด้วย เชนเดียวกับบุคคลผู้ไม่ได้สัญชาติไทยนั้น เห็นวา บุคคลผู้มีสัญชาติไทยทุกคนลวนมีสิทธิทางการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว เวนแต่จะเป็น ผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องหามมิให้ใชสิทธิทางการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายกําหนดเทานั้น ขออางของผู้รองจึงเป็นคนละกรณีกัน ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อมามีวา คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลนับแต่เมื่อใด เห็นวา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 76 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ คําวินิจฉัยของศาลให้มีผลในวันอาน ” และวรรคสาม บัญญัติวา “ ในกรณีที่ศาลมีคําวินิจฉัย คดีที่ไม่มีผู้ถูกรอง ให้ศาลแจงคําวินิจฉัยของศาลแกผู้รองหรือผู้มีหนังสือขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย และให้ถือวาวันที่ศาลลงมติซึ่งเป็นวันที่ปรากฏในคําวินิจฉัยเป็นวันอาน ” เมื่อคดีนี้ เป็นกรณีผู้รอง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของผู้รองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) จึงเป็นคดีที่ไม่มีผู้ถูกรอง ดังนั้น วันที่ศาลรัฐธรรมนูญลงมติซึ่งเป็นวันที่ปรากฏในคําวินิจฉัย คือ วันที่ 3 มีนาคม 2566 เป็นวันอานคําวินิจฉัย และไม่มีผลยอนหลังไปถึงการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผานมา ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

อาศัยเหตุผลดังกลาวขางตน จึงวินิจฉัยวา การกําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบงเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 (1) ที่กําหนดให้ใชจํานวนราษฎร ทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปสุดทายกอนปที่มีการเลือกตั้ง นั้น คําวา “ ราษฎร ” ไม่รวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย ให้คําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีผลตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2566 เป็นตนไป และไม่มีผลยอนหลังไปถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผานมา นายวรวิทย กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายนครินทร เมฆไตรรัตน์ นายปญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายจิรนิติ หะวานนท นายนภดล เทพพิทักษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายบรรจงศักดิ์ วงศปราชญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ้ หนา 26 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566