Thu Mar 30 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

พระราชกำหนดการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากร พ.ศ. 2566


พระราชกำหนดการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากร พ.ศ. 2566

พระราชกำหนด การแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติ ตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากร พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 25 6 6 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามความตกลง ระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากร พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญั ติให้กระทาได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชกำหนดนี้ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อผูกพันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีอากร และข้อมูลบัญชีทางการเงินตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ ยวกับภาษีอากร และเพื่อให้การจัดเก็บภาษี เกิดความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

ซึ่งการตราพระราชกำหนดนี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกาหนดนี้เรียกว่า “ พระราชกาหนดการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติ ตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากร พ.ศ. 2566 ” มาตรา 2 พระราชกาหนดนี้ให้ ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา 3 ในพระราชกำหนดนี้ “ เจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจ ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของประเทศไทยหรือเจ้าหน้าที่ ผู้มีอำนาจของคู่สัญญาตามที่ระบุในความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากรตามหมวด 1 การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอ หรือความตกลงตามหมวด 2 การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติ “ อธิบดี ” หมายความว่า อธิบดีกรมสรรพากร “ รัฐมนตรี ” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา 4 บรรดาคำสั่งหรือหนังสืออื่นใดที่อธิบดีมีถึงบุคคลใดตามพร ะราชกาหนดนี้ ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้นาไปส่ง ณ ภูมิลาเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือสานักงาน ของบุคคลนั้น ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของบุคคลนั้น ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลาเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือสานักงานของผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว และอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้ ในกรณีที่ไม่สามารถส่งตามวิธีในวรรคหนึ่งได้ หรือบุคคลนั้นออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ใช้วิธีปิดคำสั่งหรือหนังสืออื่น แล้วแต่ กรณี ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ ที่อยู่ หรือสำนักงานของบุคคลนั้น หรือบ้านที่บุคคลนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรครั้งสุดท้าย หรือโฆษณา ข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จาหน่ายเป็นปกติในท้องที่นั้น หรือโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาธารณะ ตามที่กาหนดในกฎกระทรวงก็ได้ เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีที่กำหนดในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้วให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้ว มาตรา 5 บรรดาคาสั่งหรือหนังสืออื่นใดที่อธิบดีส่งไปยังบุคคลใดตามพระราชกาหนดนี้ หรือบรรดาข้อมูล บัญชีทางการเงิน คาชี้แจง เอกสาร หรือหลักฐานใ ด ๆ ที่บุคคลใดต้องจัดทา ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

หรือนาส่งให้แก่อธิบดีตามพระราชกาหนดนี้ อาจกระทาด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง กฎกระทรวงตามวรรคหนึ่งให้กาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดทา การส่ง การรับ ตลอดจนการเก็บรักษาที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ และให้มีอานาจออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ หมวด 1 การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอ มาตรา 7 ในหมวดนี้ “ ความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากร ” หมายความว่า (1) ความตกลงหรืออนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร ที่รัฐบาลไทยหรือสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยทำกับคู่สัญญา หรือ (2) ความตกลงพหุภาคีว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารภาษีที่รัฐบาลไทย ได้เข้าผูกพันเป็นภาคี “ คู่สัญญา ” หมาย ความว่า รัฐบาลต่างประเทศ หรือหน่วยงานต่างประเทศที่ได้ทำความตกลง หรืออนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรกับรัฐบาลไทย หรือสานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย หรือที่เป็นภาคีตามความตกลงพหุภาคีว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือ ด้านการบริหารภา ษี มาตรา 8 ภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากร ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจ ของประเทศไทยมีอานาจแลกเปลี่ยนข้อมูลตามที่ได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของคู่สัญญา ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวต้อง (1) เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการบริหาร การจัดเก็บภาษีอากรและการบังคับใช้กฎหมายภาษีอากรของคู่สัญญาผู้ร้องขอ และ ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

(2) เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบ การสอบสวน การดาเนินค ดี หรือการบังคับคดีในทางภาษีอากรโดยคู่สัญญาผู้ร้องขอ รวมทั้งข้อมูล ของบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว มาตรา 9 เจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของคู่สัญญาใดประสงค์จะขอข้อมูลภายใต้ความตกลง ระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากร ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของคู่สัญญานั้นทำคำ ร้องขอข้อมูล ส่งมายังเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศไทย โดยอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดข้อมูลของบุคคลซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบ การสอบสวน การดาเนินคดี หรือการบังคับคดีในทางภาษีอากรโดยคู่สัญญาผู้ร้องขอ หรือข้อมูลของบุคคลซึ่งเกี่ ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว (2) ข้อมูลที่ร้องขอ รวมถึงลักษณะและรูปแบบของข้อมูลที่คู่สัญญาผู้ร้องขอประสงค์ จะให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศไทยจัดส่งให้ (3) วัตถุประสงค์ในทางภาษีที่เป็นเหตุในการขอข้อมูล (4) เหตุที่ทำให้เชื่อว่ามีข้อมูลที่ร้องขออยู่ในประเทศไทย หรือมีข้อมูลที่ร้องขออยู่ใน ความครอบครองหรือควบคุมของบุคคลซึ่งอยู่ในประเทศไทย (5) ชื่อและที่อยู่ของบุคคลซึ่งเชื่อว่าครอบครองข้อมูลที่ร้องขอ (6) ข้อความซึ่งแสดงให้เห็นว่าการร้องขอดังกล่าวสอดคล้องกับกฎหมายหรือแนวปฏิบัติ ในทางบริหารของคู่สัญญาผู้ร้องขอ เพื่อแสดงให้เห็นว่าหากข้อมูลนั้นอยู่ในดินแดนของคู่สัญญาผู้ร้องขอ เจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของคู่สัญญาผู้ร้องขอจะสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ตามกฎหมายหรือแนวปฏิบัติปกติ ในทางบริหารของคู่สัญญาผู้ร้องขอ และการขอข้อมูลนั้นสอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ เกี่ ยวกับภาษีอากร (7) ข้อความซึ่งแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาผู้ร้องขอได้ดาเนินมาตรการทั้งหมดเท่าที่ตนจะสามารถ กระทาได้เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวแล้ว หรือในกรณีที่มีมาตรการที่สามารถดาเนินการเพื่อให้ได้มา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวแต่การดาเนินมาตรการดังกล่าวจะทำให้เกิ ดความยากลำบากเกินสมควร มาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของประเทศไทยปฏิเสธการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามหมวดนี้ หากปรากฏเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้ (1) การได้มาซึ่งข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนตามหมวดนี้จะเป็นการขัดต่อกฎหมายหรือแนวปฏิบัติปกติ ในทางบริหารของประเทศไทยหรือ ของคู่สัญญาผู้ร้องขอ ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

(2) การแลกเปลี่ยนข้อมูลจะเป็นการขัดต่อกฎหมายหรือแนวปฏิบัติปกติในทางบริหาร ของประเทศไทยหรือของคู่สัญญาผู้ร้องขอ (3) การแลกเปลี่ยนข้อมูลจะมีผลเป็นการเปิดเผยความลับทางการค้า ธุรกิจอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือความลับทางวิชาชีพ หรือกรรมวิ ธีทางการค้า หรือข้อมูลที่เปิดเผยจะขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (4) มีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่าคู่สัญญาผู้ร้องขอจะไม่สามารถรักษาข้อมูลที่ได้รับไว้เป็นความลับ (5) เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของคู่สัญญาผู้ร้องขอจะไม่สามารถจัดส่งข้อมูลลักษณ ะเดียวกัน ที่มีอยู่ในดินแดนของตน หากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศไทยร้องขอข้อมูลดังกล่าว (6) หลักการในการจัดเก็บภาษีอากรของคู่สัญญาผู้ร้องขอขัดหรือแย้งกับหลักการ ในการจัดเก็บภาษีอากรซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปหรือขัดต่อบทบัญญัติของความตกลงระหว่างประเทศ เกี่ยวกับภาษีอากร (7) คู่สัญญาผู้ร้องขอยังมิได้ดาเนินมาตรการทั้งหมดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล ภายใต้กฎหมายหรือแนวปฏิบัติทางบริหาร เว้นแต่การดำเนินมาตรการดังกล่าวจะทำให้เกิด ความยากลำบากเกินสมควร (8) การแลกเปลี่ยนข้อมูลตามคำร้องขอของคู่สัญญาจะมีผลทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ อย่างไม่เป็นธรรมต่อบุคคลผู้มีสัญชาติไทย มาตรา 11 เมื่อได้รับคำร้องขอข้อมูลตามมาตรา 9 แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ของประเทศไทยพิจารณาว่าคาร้องขอข้อมูลนั้นอยู่ในหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ ยนข้อมูลตามมาตรา 8 หรือไม่ และคาร้องขอข้อมูลนั้นมีรายการครบถ้วนและมีรายละเอียดที่ชัดเจนเพียงพอต่อการดาเนินการ หรือไม่ รวมทั้งมีเหตุปฏิเสธการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 10 หรือไม่ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของประเทศไทยเห็นว่าคาร้องขอข้อมูลนั้นมีรา ยการไม่ครบถ้วน หรือมีรายละเอียดไม่ชัดเจนหรือไม่เพียงพอต่อการดาเนินการตามคาร้องขอข้อมูลได้ ให้เจ้าหน้าที่ ผู้มีอานาจของประเทศไทยแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของคู่สัญญาผู้ร้องขอว่าคาร้องขอดังกล่าวมีรายการ ไม่ครบถ้วน หรือมีรายละเอียดไม่ชัดเจนหรือไม่เพียงพอต่ อการดำเนินการตามคำร้องขอได้ และแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของคู่สัญญาผู้ร้องขอให้จัดทาข้อมูลเพิ่มเติมส่งมายังเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจ ของประเทศไทยภายในระยะเวลาที่กำหนด ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของประเทศไทยพิจารณาคาร้องขอข้อมูลแล้วเห็นว่าคาร้องขอ ข้อมูลนั้ นไม่อยู่ในหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 8 หรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของคู่สัญญา ผู้ร้องขอไม่ดาเนินการจัดทาและส่งข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กาหนดในวรรคสองโดยไม่มีเหตุ อันสมควร หรือมีเหตุปฏิเสธการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่ผู้มี อานาจของประเทศไทย ปฏิเสธคาร้องขอข้อมูลพร้อมแจ้งเหตุผลของการปฏิเสธให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของคู่สัญญาผู้ร้องขอทราบ มาตรา 12 เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของประเทศไทยพิจารณาคาร้องขอข้อมูลตามมาตรา 11 แล้วเห็นว่าคาร้องขอข้อมูลนั้นอยู่ในหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 8 และมีรายการครบถ้วน และมีรายละเอียดที่ชัดเจนเพียงพอต่อการดาเนินการ รวมทั้งไม่มีเหตุปฏิเสธการแลกเปลี่ยนข้อมูล ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศไทยดำเนินการรวบรวมข้อมูล ตามที่ได้รับการร้องขอ ทั้งนี้ หากยังไม่มีข้อมูลดังกล่าว ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของประเทศไทยสั่งการให้อธิบดีดาเนินการ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลตามที่ได้รับการร้องขอนั้นและส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศไทย เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามที่ได้ รับการร้องขอได้ ในการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้บุคคล ซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลของบุคคลซึ่งถูกระบุในคาร้องขอ มาให้ถ้อยคา หรือส่งคาชี้แจงเป็นหนังสือ หรือรวบรวมและนาส่งข้อมูลนั้นให้แก่อธิบดีได้ หมวด 2 การแล กเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติ มาตรา 13 ในหมวดนี้ “ ความตกลง ” หมายความว่า ความตกลงพหุภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจในการแลกเปลี่ยน ข้อมูลบัญชีทางการเงินแบบอัตโนมัติ “ คู่สัญญา ” หมายความว่า รัฐหรือภาคีตามความตกลง ทั้งนี้ ตามรายชื่อที่รัฐมนตรีประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา “ บัญชีทางการเงิน ” หมายความว่า บัญชีรับฝากเงิน บัญชีรับฝากสินทรัพย์ บัญชีเพื่อการลงทุน หรือกรมธรรม์ประกันชีวิต ของลูกค้าของผู้มีหน้าที่รายงาน “ ผู้ที่ต้องถูกรายงาน ” หมายความว่า ผู้ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในดินแดนของคู่สัญญา หรือกองมรดกของเจ้ามรดกซึ่งมีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในดินแดนของคู่สัญญา ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

มาตรา 14 ภายใต้ความตกลง เจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของประเทศไทยมีอานาจแลกเปลี่ยนข้อมูล แบบอัตโนมัติซึ่งข้อมูลบัญชีทางการเงินที่ต้องถูกรายงานที่ได้รับมาตามมาตรา 18 กับเจ้าหน้าที่ ผู้มีอานาจของ คู่สัญญา โดยข้อมูลที่จะแลกเปลี่ยนกับคู่สัญญาใด ต้องเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ที่ต้องถูกรายงาน ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในดินแดนของคู่สัญญานั้น มาตรา 15 ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลบัญชีทางการเงินที่ต้องถูกรายงาน ต่ออธิบดี (1) สถาบันการ เงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (3) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (4) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต (5) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (6) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาตามกฎหมายว่าด้วยการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (7) ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม พุทธศักราช 2515 (8) ทรัสตีตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (9) บุคคลอื่นใดซึ่งมีข้อมูลบัญชีทางการเงินตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด บุคคลตามวรรคหนึ่งต้องมีลักษณะหรือการให้บริการหรือทำธุรกรรมตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง มาตรา 16 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดยกเว้นบุ คคลผู้มีหน้าที่รายงาน ตามมาตรา 15 ให้ไม่ต้องมีหน้าที่รายงาน มาตรา 17 ให้ผู้มีหน้าที่รายงานจัดให้ลูกค้าแจ้งและยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับถิ่นที่อยู่ทางภาษี ทุกครั้งที่มีการเปิดบัญชีทางการเงินใหม่ บัญชีทางการเงินที่ผู้มีหน้าที่รายงานต้องดาเนินการตามวรรคหนึ่ ง ได้แก่ บัญชีทางการเงิน ที่มีลักษณะและไม่เป็นบัญชีทางการเงินที่ถูกยกเว้นการรายงานตามที่กาหนดในกฎกระทรวง เมื่อลูกค้าแจ้งและยืนยันตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้มีหน้าที่รายงานตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว และหากพบว่าบัญชีทางการเงินใดถือโดยลูกค้าซึ่งเป็นผู้ที่ต้องถูกรำยงาน หรือถือโดยลูกค้าซึ่งมีผู้มีอานาจควบคุม ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

เป็นผู้ที่ต้องถูกรายงาน ให้ผู้มีหน้าที่รายงานกาหนดให้บัญชีทางการเงินดังกล่าวเป็นบัญชีทางการเงิน ที่ต้องถูกรายงาน ผู้ที่ต้องถูกรายงานตามวรรคสาม ไม่หมายความรวมถึงหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ ธนาคารกลาง และหน่วยงานทางการเงินอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มีลักษณะ ตามที่กาหนดในกฎกระทรวง และผู้ซึ่งรัฐมนตรีประกาศกำหนด ผู้มีอำนาจควบคุม หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งใช้อำนาจควบคุมเหนือลูกค้าซึ่งไม่ใช่บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ ลักษณะของลู กค้าและการใช้อานาจควบคุมเหนือลูกค้าแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามที่กาหนด ในกฎกระทรวง หลักเกณฑ์และวิธีการในการพิจารณาถิ่นที่อยู่ทางภาษีของผู้ที่ต้องถูกรายงาน การแจ้งและยืนยันข้อมูล และการตรวจสอบข้อมูล ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ กฎกระทรวงอาจกา หนด ให้แตกต่างกันตามประเภทหรือมูลค่าของบัญชีทางการเงินก็ได้ มาตรา 18 เมื่อผู้มีหน้าที่รายงานกำหนดบัญชีทางการเงินที่ต้องถูกรายงานแล้ว ให้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีทางการเงินที่ต้องถูกรายงานและข้อมูลของผู้มีหน้าที่รายงานดังต่อไปนี้ ไปยังอธิบดีภายในวันที่ 3 0 มิถุนายน ของปีถัดไป เพื่อส่งให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของประเทศไทย ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติต่อไป (1) ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของบัญชีหรือผู้มีอานาจควบคุมของเจ้าของบัญชี ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประจาตัวผู้เสียภาษี วัน เดือน ปีเกิด และสถานที่เกิด หรือข้อมูลอื่นตามที่อธิบดีประกาศ กำหนด (2) ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีทางการเงิน ได้แก่ เลขที่บัญชี ยอดเงินในบัญชีหรือมูลค่าเงินสด ในกรมธรรม์ ดอกเบี้ยที่ได้รับ หรือผลประโยชน์อื่นใดตามที่อธิบดีประกาศกาหนด (3) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่รายงาน ได้แก่ ชื่อและหมายเลขระบุตัวตนของผู้มีหน้าที่รายงาน ทั้งนี้ ให้ใช้ข้อมูล ณ วันสิ้นปีปฏิทิน หรือ ณ วันอื่นตามที่อธิบดีประกาศกาหนด การส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และรูปแบบการส่งข้อมูล ที่อธิบดีประกาศกาหนด ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร รัฐมนตรีมีอานาจออกประกาศผ่อนผันการส่งข้อมูลบางรายการ หรือขยายกำหนดเวลาการส่งข้อมูลนั้นออกไปก็ได้ ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

มาตรา 19 ภายหลังจากการดาเนินการตามมาตรา 17 แล้ว หากปรากฏข้อเท็จจริง แก่ผู้มีหน้าที่รายงานว่ามีข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทาให้ บัญชีทางการเงินใดเป็นบัญชีทางการเงิน ที่ต้องถูกรายงานหรือทำให้ไม่เป็นบัญชีทางการเงินที่ต้องถูกรายงานอีกต่อไป ให้ผู้มีหน้าที่รายงานกาหนด เพิ่มให้บัญชีนั้นเป็นบัญชีทางการเงินที่ต้องถูกรายงานหรือยกเลิกการกาหนดให้บัญชีทางการเงินนั้น เป็นบัญชีทางการเงินที่ต้อ งถูกรายงาน แล้วแต่กรณี มาตรา 20 ให้ผู้มีหน้าที่รายงานเก็บรักษารายการและหลักฐานการดาเนินการต่าง ๆ ว่าได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ และข้อมูลที่ได้รวบรวมมาจากกระบวนการตรวจสอบบัญชีทางการเงิน ตามหมวดนี้เป็นระยะเวลาหกปีนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินที่เสร็จสิ้นกระ บวนการตรวจสอบบัญชีทางการเงินนั้น มาตรา 21 ผู้มีหน้าที่รายงานอาจแต่งตั้งตัวแทนเพื่อดาเนินการตามมาตรา 17 มาตรา 18 หรือมาตรา 20 ก็ได้ ทั้งนี้ ให้ผู้มีหน้าที่รายงานยังคงมีความรับผิดหากตัวแทนมิได้ดาเนินการถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรา 17 มาตรา 18 หรือมำตรา 20 แล้วแต่กรณี มาตรา 22 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหมวดนี้ ให้อธิบดีมีอำนาจออกคำสั่ง ให้ผู้มีหน้าที่รายงาน กรรมการ ผู้จัดการ บุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของผู้มีหน้าที่รายงาน หรือตัวแทนซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำเนินการตามมาตรา 21 มาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชีทางการเงิน เอกสาร หรือหลักฐานใด ๆ อันควรแก่เรื่องมาตรวจสอบไต่สวนได้ มาตรา 23 ในกรณีที่ความปรากฏแก่อธิบดีว่า (1) ผู้มีหน้าที่รายงานไม่ปฏิบัติตามมาตรา 17 มาตรา 18 หรือมาตรา 32 ให้อธิบดี มีอำนาจสั่งให้ผู้มีหน้าที่ รายงานนั้นปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด (2) ผู้มีหน้าที่รายงานปฏิบัติตามมาตรา 17 มาตรา 18 หรือมาตรา 32 แต่ข้อมูล ที่รายงานนั้นไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ผู้มีหน้าที่รายงานนั้นแก้ไขให้ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กำหนด มาตรา 24 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหมวดนี้ หากความปรากฏแก่อธิบดีว่า ผู้มีหน้าที่รายงาน ผู้ที่ต้องถูกรายงาน หรือบุคคลอื่นใด กระทาการใด ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ผู้มีหน้าที่รายงาน หรือผู้ที่ต้องถูกรายงานไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ให้อธิบดี มีอานาจสั่งให้ผู้มีหน้าที่รายงาน หรือผู้ที่ต้องถูกรายงาน หรือบุคคลอื่นดังกล่าวปฏิบัติตามบทบัญญัติ ในหมวดนี้ ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

หมวด 3 อำนาจของเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจ มาตรา 25 ภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากรตามหมวด 1 การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอ หรือความตกลงตามหมวด 2 การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของประเทศไทยมีอานาจเปิดเผยข้อมูลที่ได้รับตามพระราชกาหนดนี้ หรือข้อมูล ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของคู่สัญญา ให้แก่เจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร หรือกฎหมายว่าด้ วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม หรือกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หมวด 4 บทกำหนดโทษ มาตรา 26 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคาสั่งของอธิบดีตามมาตรา 12 วรรคสอง โดยปราศจาก เหตุอันสมควร ให้อธิบดีมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งลงโทษปรับทางปกครองไม่เกินสองแสนบาท มาตรา 27 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดีตามมาตรา 23 หรือมาตรา 24 โดยปราศจากเหตุอันสมควร ให้อธิบดีพิจารณามีคำสั่งลงโทษปรับทางปกครองไม่เกินสองแสนบาท มาตรา 28 ผู้ใดเจตนาแจ้งข้อความอั นเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริง ในการดาเนินการ หรือการให้ข้อมูลตามมาตรา 12 มาตรา 17 หรือมาตรา 18 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาท ถึงห้าแสนบาท มาตรา 29 ผู้มีหน้าที่รายงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 20 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สามแสนบาท มาตรา 30 ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลอันเนื่องจากการปฏิบัติตามพระราชกาหนดนี้ แล้วนาไปเปิดเผย แก่บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่และอานาจตามพระราชกาหนดนี้ ต้องระวางโทษจาคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 31 ความผิดตามมาตรา 28 และมาตรา 29 ให้อธิบดีมีอานาจเปรียบเทียบได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกาหนด เมื่ออธิบดีได้ทำการเปรียบเทียบ และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนและภายในระยะเวลา ที่อธิบดีกำหนดแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

ถ้าผู้ต้องหา ไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดาเนินคดีต่อไป บทเฉพาะกาล มาตรา 32 เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติตามหมวด 2 การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติ เมื่อพระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 15 ตรวจสอบบัญชีทางการเงินที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับของลูกค้าของตน และหากพบว่าบัญชีทางการเงินใดถือโดยลูกค้าซึ่งเป็นผู้ที่ต้องถูกรายงาน หรือถือโดยลูกค้าซึ่งมีผู้มีอำนาจควบคุม เป็นผู้ที่ต้องถูกรายงาน ใ ห้ผู้มีหน้าที่รายงานกาหนดให้บัญชีทางการเงินดังกล่าวเป็นบัญชีทางการเงิน ที่ต้องถูกรายงานตามหมวด 2 การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติ หลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบบัญชีทางการเงินตามวรรคหนึ่ง และระยะเวลาในการส่งข้อมูล ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ กฎกระทรวงอาจกาหนดให้แตกต่างกันตามประเภท หรือมูลค่าของบัญชีทางการเงินก็ได้ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับบัญชีทางการเงิน ผู้ที่ต้องถูกรายงาน ผู้มีอำนาจควบคุม และการพิจารณาถิ่นที่อยู่ทางภาษีของผู้ที่ต้องถูกรายงานตามมาตรา 17 และบทบัญญัติมาตรา 21 มาตรา 2 2 มาตรา 23 และมาตรา 24 รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้อง มาใช้บังคับ แก่การดาเนินการตามมาตรานี้ด้วย มาตรา 33 ห้ามมิให้ใช้บังคับบทบัญญัติมาตรา 17 มาตรา 18 และมาตรา 32 ในการลงโทษหรือในทางที่จะเป็นผลร้ายแก่ผู้มีหน้าที่รายงาน จนกว่ากฎกระทรวงหรือประกาศ ตามมาตราดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชกาหนด ฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณี ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีอากรแบบร้องขอ ตามความตกลงหรืออนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร และความตกลงพหุภาคี ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารภาษี และต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในการแลกเป ลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินแบบอัตโนมัติตามความตกลงพหุภาคี ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินแบบอัตโนมัติ ประกอบกับประเทศไทย เป็นภาคีสมาชิกของ Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีอากรขององค์การเพื่อความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ( Organisation for Economic Co - operation and Development ) ประเทศไทยจึงต้องดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีอากรแบบร้องขอและข้อมูลบัญชีทางการเงิ นแบบอัตโนมัติ กับคู่ภาคีของความตกลงดังกล่าวภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 ซึ่งการดาเนินการดังกล่าวเป็นเรื่องใหม่ และมีความซับซ้อนในทางปฏิบัติ จึงต้องให้เวลาแก่สถาบันการเงินซึ่งจะเป็นผู้มีหน้าที่รายงาน ในการตรวจสอบ และจัดเตรียมข้อมูลบัญชีทางการเงินที่อยู่ในความครอบครองดูแลของตนเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยน หากสถาบันการเงิน ของประเทศไทยไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ภายในกาหนดเวลาดังกล่าว ประเทศไทยก็จะถูกจัดให้เป็น ประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือทางภาษีกับสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศ OECD อันเป็นคู่ค้าสำคัญ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรงโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้ รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติในเรื่องดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพิจารณาชั้นกรรมาธิการเสร็จสิ้นแล้ว แต่เนื่องจากมีการปิดสมัยประชุ มสภาเสียก่อน ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงค้างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหากไม่ตราพระราชกาหนดขึ้น ก็จะไม่มีกฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการปฏิบัติตามพันธกรณีดังกล่าว กรณีจึงเป็นเหตุฉุกเฉินที่มีความจาเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอั นที่จะรักษาความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนที่ 24 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม 2566