Sun Mar 19 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570)


พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570)

ประกาศ เรื่อง นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า โดยที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ประกาศใช้นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570) ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 เพื่อเป็นแผนหลักของชาติที่เป็นกรอบทิศทางการดาเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคาม เพื่อธารงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งมีสาระสาคัญ ตามท้ายประกาศนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570) ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2565 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2570 ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม พุทธศักราช 256 6 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประ ยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนที่ 21 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มีนาคม 2566

นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ( พ . ศ . 2566 – 2570 ) สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี

คํานํา ความมั่นคงถือเป็นรากฐานที่สําคัญต่อความอยู่รอดปลอดภัย ความเจริญก้าวหน้าของชาติ และประชาชนอยู่ดีมีสุขปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ โดยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 ที่ประชุม สภาความมั่นคงแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง แห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) และต่อมาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อเป็นทิศทาง การดําเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพื่อธํารงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับนี้ ได้จั ดทําขึ้นโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ของหน่วยงานรัฐและ ภาคส่วนต่าง ๆ ในการประมวล วิเคราะห์ และ เสนอแนะ นโยบายและแผนความมั่นคง ทั้ง 17 ด้าน ภายใต้ กรอบ คิด ความมั่ นคง แบบองค์รวม ( Comprehen sive Security) และความมั่นคงของมนุษย์ ( Human Security) ใน บริบท ความมั่นคงปัจจุบันและแนวโน้ม ภำยในประเทศและต่างประเทศ โดยให้ความสําคัญกับการ ทํางาน ร่วมกันระหว่าง หน่วยงานรัฐให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Whole - of - Nation Approach) ควบคู่กับ การ ดําเนินงานที่ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วม ในงานความมั่นคง ( Whole - of - Society Approach) ตลอดจนการบริหารจัดการความเสี่ ยงและการสร้างความสามารถในการกลับคืนสู่ สภาพเดิม ( Resilience) เพื่อให้พร้อมเผชิญปัญหาที่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ ด้วยเหตุนี้ ผลสัมฤทธิ์ ของนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่ นคงแห่ งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) จําเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการผนึกกําลังร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย แผนงาน โครงการ ให้ประสานสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบทั้งในระดับ นโยบายและระดับปฏิ บัติเพื่อให้ประเทศชาติมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ถาวรสืบไป พลเอก (ประยุทธ์ จันทร์โอชา) นายกรัฐมนตรี ประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

สารบัญ หน้า บทสรุปผู้บริหาร 1 ส่วนที่ 1 ความสําคัญ และสถานะของนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ 1 1 ( พ . ศ . 2566 – 2570 ) 1 . ความนํา 1 3 2. ผลการดําเนินการขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ 1 3 ในห้วงที่ผ่านมา 3. การกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติและความมั่นคงแห่งชาติ 1 6 4. หลักการ สถานะ และความสําคัญ 1 7 ส่วนที่ 2 สถานการณ์ ผลกระทบ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงบริบทความมั่นคงในระยะ 5 ปี 2 3 1 . ความสําคัญ ภูมิยุทธศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ และภูมิเศรษฐศาสตร์ไทย 2 5 ที่ส่งผลต่อความมั่นคงแห่งชาติ 2 . การประเมินขีดความสามารถของประเทศเพื่อเสริมสร้างกําลังอํานาจของชาติ 2 7 3. ความเปลี่ยนแปลงบริบทความมั่นคง 2 8 ส่วนที่ 3 วิสัยทัศน์ กรอบแนวคิด วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย 3 5 1 . วิสัยทัศน์ 3 7 2 . กรอบแนวคิด 3 7 3 . วัตถุประสงค์ 41 4 . เป้าหมาย ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายในภาพรวม 41 ส่วนที่ 4 นโยบายและแผน ความมั่นคง 4 3 • หมวด ประเด็นความมั่นคง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 1 การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ 45 นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 2 การปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ 4 9 และการพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 3 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติพื้นที่ชายแดน 51 นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 4 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 5 4 นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 5 การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5 7 นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 6 การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง และ 60 ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ

หน้า นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 7 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ 63 นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 8 การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด 66 นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 9 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 6 9 นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 10 การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ 72 นโยบายและแผน ความมั่นคง ที่ 11 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย 7 5 นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 12 การสร้างดุลยภาพระหว่างประเทศ 7 8 นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 13 การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข 81 และโรคติดต่ออุบัติใหม่ • หมวด ประเด็น ศักยภาพความมั่นคง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 14 การพัฒนา ศักยภาพ การเตรียมพร้อมแห่งชาติ 8 4 และการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ ระดับชาติ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 15 การพัฒนาระบบข่าวกรองแห่งชาติ 8 7 นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 16 การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง 8 9 นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 17 การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ 91 ส่วนที่ 5 การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล 93 1 . ภาพรวมการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล 9 5 2 . แนวทางการขับเคลื่อน และติดตามประเมินผล 9 5 3 . กลไกการบริหารจัดการ 9 7 4. ปัจจัยแห่งความสําเร็จ 103 ส่วนที่ 6 ภาคผนวก 10 5 ผนวก ก กระบวนการจัดทํา 10 7 ผนวก ข ความเปลี่ยนแปลงบริบทความมั่นคงในระยะ 5 ปี 1 13 ผนวก ค แผนที่กลยุทธ์ 1 35 ผนวก ง ตารางสรุปตัวชี้วัด 1 55 ผนวก จ แผนระดับที่ 3 ขับเคลื่อน นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ 1 75 ( พ . ศ . 2566 – 2570 ) ผนวก ฉ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง 1 79

  • 1 - บทสรุปผู้บริหาร นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ( พ.ศ. 2566 – 2570 ) ----------------------------------------- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ . ศ . 2560 กําหนดให้รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ ของชาติ ความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ รัฐต้องจัดให้มี การทหาร การทูตและ การข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ กําลังทหารให้ใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศด้วย ตลอดจน กําหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทําแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน เพื่อให้เกิดเป็นพลั งผลักดันร่วมกัน ไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ประกอบกับ พระราชบัญญัติการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ . ศ . 2560 มีหลักการให้ การกําหนด นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งการจัดทํา นโยบาย และแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ . ศ . 2559 เพื่อให้เป็น กรอบหรือทิศทางในการดําเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แ ก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคาม เพื่อ ธํารงไว้ ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งครอบคลุมถึงนโยบาย ภายในประเทศ นโยบายต่างประเทศ และนโยบายการทหาร กับการเศรษฐกิจ และอื่น ๆ อันเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติให้สอดคล้องต้องกัน เพื่อให้กิจการของหน่วยงานของรัฐ สามารถประสานกันได้อย่างใกล้ชิด เป็นผลดีต่อความมั่นคงแห่งชาติ และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) เป็นแผนระยะปานกลาง 5 ปี ที่ มีสถานะ เป็นแผนระดับที่ 2 รองรับการดําเนินการ ในห้วงที่ สอง ของ ยุทธศาสตร์ชาติ ( แผนระดับ ที่ 1 ) โดยนโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติฉ บับนี้มีความเชื่อมโยงและประสานสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่ นคง แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่ นคง และประเด็น การต่างประเทศ ตลอดจนกําหนดขอบเขตและหลักเกณฑ์พิจารณา “ ประเด็นความมั่นคง ” เพื่อตอบสนอง ตัวชี้วัดและ ค่าเป้าหมายที่ต้องเห็นผลสัมฤทธิ์ภายในปี 2570 การยกระดับขีดความสามารถในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาความมั่นคง โดยมุ่งขยายผลกรอบแนวคิดความมั่นคงแบบองค์รวม เพื่อ ให้หน่วยงานของรัฐมีกรอบ จัดทํา และขับเคลื่อน แผนระดับที่ 3 โดยนําเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กําหนดไว้ไปกําหนด แผนงาน โครงการ กิจกรรม หรือการดําเนินการ อื่น ๆ ไปสู่การปฏิบัติ ได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดทํานโยบายความมั่นคงแห่งชาติที่ผ่านมา ( ฉบับแรกที่มีการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ พ.ศ. 2541 – 2544 ) จนถึงฉบับปัจจุบัน มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ เงื่อนไข และการเปลี่ยนแปลงในมิติต่ ำง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้น นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) จึงให้ความสําคัญ กับการวางรากฐานความมั่นคงของประเทศ โดยเริ่มต้นจากหน่วยย่อยของสังคม คือ สถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษา โดยส่งเสริม การเข้ามามีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทํางาน ร่วมกัน โดยเฉพาะภาคประชาชน รวมถึง การแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ ให้ มุ่งเน้นไปที่พื้นที่ตําบลเป้าหมาย เพื่อขยายแนวคิด การพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ และ แผนตําบล “ มั่นคง มั่งคั่ ง ยั่งยืน ” โดย เร่งป้องกัน

  • 2 - และแก้ไขเฉพาะปัญหาความมั่นคงที่สําคัญจากการประเมินสถานการณ์และแนวโน้มความเสี่ยงในระยะ 5 ปี ผ่านกระบวนการ คัดเลือกและจัดลําดับความสําคัญของประเด็นความมั่นคง ที่มีผลกระทบและความเสี่ยงสูง (High Risk, High Impact ) จาก บริ บทและสภาพแวดล้ อมทั ้ งภายในและภายนอกประเทศ การประเมิน ขีดความสามารถของประเทศเพื่อเสริมสร้างกําลังอํานาจของชาติ เพื่อกําหนดจุดยืนหรือตําแหน่งของประเทศ และเสริมสร้างแนวทางการพัฒนาศักยภาพความมั่นคงของประเทศ ให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงภัยคุกคาม ทุกรูปแบบได้อย่างทันท่วงที โดย ขยายผลกรอบแนวคิดความมั่นคงแบบองค์รวม ใน การเชื่อมโยงมิติการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การทหาร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเท คโนโลยี เพื่อให้เกิดความมั่นคง ปลอดภัย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ นอกจากนี้มีการ กําหนดจุดเน้น (Focus ) และแนวทางสําคัญเชิงลึก (Highlight ) ของเป้าหมาย ตัวชี้วัด และกลยุทธ์ให้ เห็น ผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม การ เติมเต็มช่องว่างของแนวทาง การพัฒนาที่กําหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนเป็น กรอบทิศทางกําหนดยุทธศาสตร์การจัดสรร งบประมาณของประเทศ โดยนําเป้าหมาย ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่ต้องการมุ่งเน้นในแต่ละปี ผนวก เข้ากับยุทธศาสตร์ การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ เพื่อประโยชน์ใน การพิจารณาสนับสนุนงบประมาณสําหรับ แผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นเรื่องสําคัญที่เกี่ยวกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย ความมั่นคงแห่งชาติ วิสัยทัศน์ “ ประเทศชาติมีเสถียรภาพ ประชาชนอยู่ดีมีสุข ปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ มีศักยภาพบริหาร จัดการความมั่นคงแบบองค์รวม และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติอย่างยั่งยืน ” วัตถุ ประสงค์ • เพื่ อเป็นกรอบทิศทางในการดําเนินการ ป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคาม เพื่อธํารงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ • เพื่อถ่ายทอดยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นไปตาม เป้าหมายที่กําหนดไว้ • เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นกรอบทิศทางการจัดทําและขับเคลื่อน แผนระดับที่ 3 ( แผนปฏิบัติการ ด้านต่าง ๆ แผนปฏิบัติราชการของหน่วยงาน แผนพัฒนาในระดับพื้นที่) ที่เกี่ ยวข้องกับด้านความมั่นคงได้อย่าง สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป้าหมาย ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายในภาพรวม • เป้าหมายในภาพรวม ประเทศไทยมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพมากขึ้น ประชาชนดํารงชีวิตโดยปกติสุข รวมทั้ง มีการพัฒนาศักยภาพบริหารจัดการ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแบบองค์รวมและรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ • ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในภาพรวม ความสําเร็จของการบรรลุค่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแต่ละตัวชี้วัด ย่อย ของ 17 นโยบายและแผน ความมั่นคง ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570)

  • 3 - นอกจากนี้ กรอบแนวคิดยังคงน้อมนํา แนวพระราชดําริ หลักการทรงงาน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระราชปณิธาน ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “การสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่ อประโยชน์สุ ขแห่ งอาณาราษฎรตลอดไป” การพัฒนา ที่ ยั่ งยืน การบูรณาการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือของทุกภาคส่วน การบริหารจัดการความเสี่ยงและ การสร้างความสามารถ ในการกลับคืนสู่สภาพเดิม หรือ “ ล้มแล้ว ลุกไว ” ตลอดจน ขยายผล ความมั่นคงแบบองค์รวม ภาพรวมสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคง ในห้วง 5 ปีข้างหน้าประเทศไทยยังคงต้องเผชิญความเสี่ยงหลายประการที่มีความเชื่อมโยงระหว่างกัน ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในหลายระดับ โดย ภัยคุกคาม และปัญหาความมั่นคง มีความซับซ้อน และเชื่อมโยงกับมิติต่าง ๆ ทั้ง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม เทคโนโลยี สารสนเทศ และการทหาร ตลอดจน บริบทและแนวโน้มมิติความมั่นคงจะเป็นการผสมผสานระหว่างภัยคุกคาม รูปแบบเก่าและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “ภัยคุกคามแบบผสมผสาน” ส่งผลให้ต้อง พิจารณา ทั้งใน เชิง มุมมองผลกระทบภายนอกที่ส่งผลต่อไทย และมุมมองสถานการณ์ภายในประเทศที่ส่งผลต่อภายนอก แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1 ) ระดับโลก กลุ่มประเทศมหาอํานาจ การรวมกลุ่มระหว่างประเทศ ยังคงเป็นปัจจัยหลัก ที่ส่งผลต่อบริบทความมั่นคงในระดับโลก ซึ่งประเทศไทยจําเป็นต้องมีการเตรียม พร้อมรับมือวิกฤตการณ์ ความมั่นคง เพื่อลดความเสี่ยงต่อความมั่นคงแห่งชาติและคุณภาพชีวิตของคนในชาติ โดย มี แนวโน้มการแข่งขัน ระ ห ว่างประเทศที่สําคัญจาก การสะสมอาวุธและการแพร่ขยายอาวุธ และการแสวง ประโยชน์จากความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม 2 ) ระดับภูมิภาค พื้นที่ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นยุทธศาสตร์สําคัญ เนื่ องจากเป็นเส้นทางคมนาคมและแหล่งทรัพยากรพลังงาน ที่ สําคัญ ส่งผลให้มี แนวโน้ม การแข่งขันและ ขยายอิทธิพลเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอํานาจและขั้วอํานาจต่าง ๆ โดยเฉพาะกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ และอนุภาคลุ่มน้ําโขง และ 3 ) ระดับประเทศ ความมั่นคงของสถาบันหลักขอ งชาติ สถานการณ์ภายในประเทศต่าง ๆ อาทิ ปัญหา ทางด้าน การเมือง ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้หลบหนีเข้าเมือง และผู้โยกย้ายถิ่นฐาน แบบไม่ปกติ ยา เสพติด การทุจริตคอ ร์ รัปชัน สาธารณภัย ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการเตรียมพร้อมความมั่นคงด้านพลังงานและอาหาร ล้วนเป็นปัจจัยที่สําคั ญในการ พิจารณาฉากทัศน์ ของบริบทความมั่นคงในระดับประเทศ นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) มีทั้งสิ้น 17 นโยบาย และแผนความมั่นคง แบ่งออกเป็น 2 หมวด ดังนี้ 1. หมวด ประเด็นความมั่นคง เป็นประเด็นภัยคุกคามที่มีผลกระทบและแนวโน้มความเสี่ยงสูงต่อ ความมั่นคงแห่งชาติและผลประโยชน์แห่งชาติ รวม 13 นโยบายและแผนความมั่นคง ดังนี้ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 1 การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ มุ่งเน้น ให้สังคมไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติและเคารพในความแตกต่างหลากหลายบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนและพร้อมธํารงไว้ ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ ผ่านการส่งเสริมการเรียนรู้

  • 4 - จัดทําหรือพัฒนาหลักสูตรและเผยแพร่ชุดข้อมูลความรู้ เกี่ ยวกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนส่งเสริม การอยู่ร่วมกันของคนในชาติอย่างสันติ และเคารพในความแตกต่างหลากหลายบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน และให้ความสําคัญกับทุกศาสนา ผู้ที่มีหลักความเชื่อต่าง ๆ และผู้ที่ไม่นับถือศาสนา (กองอํานวยการรักษา ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นหน่ว ยงานเจ้าภาพ) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 2 การปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ และการพัฒนาศักยภาพ การป้องกันประเทศ มุ่ง เน้นการ ปกป้อง รักษา และแก้ไขปัญหาที่กระทบต่ออธิปไตยและผลประโยชน์ ของ ชาติ ทั้ง ทางบก ทางทะเล และทางอากาศ รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถเชิงยุทธศาสตร์ของกองทัพ และหน่วยงาน ด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง เพื่อการป้องกันประเทศในอนาคต ผ่านการเตรียมกําลังเชิงยุทธศาสตร์ และพัฒนา กองทัพและหน่วยงานความมั่นคงไปสู่ความทันสมัย โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถรองรับ ปฏิบัติ การทางไซเบอร์และอวกาศ ( กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 3 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติพื้นที่ชายแดน มุ่ งเน้นให้พื้นที่ชายแดนมีความมั่ นคง ปลอดภัย มีศักยภาพในการป้องกันและแก้ไขภัยคุกคาม ทุกรูปแบบ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของมนุษย์อย่างสมดุล อีกทั้งยังเป็น พื้นที่แห่งความร่วมมือและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศรอบบ้าน ทั้งในด้านการร่วมกันป้องกันภัยคุกคาม การแก้ไ ขปัญหาคงค้าง และการสร้างความมั่งคั่งร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยสร้างสภาพแวดล้อมในพื้นที่ชายแดน ให้มีความปลอดภัยและมีศักยภาพในการป้องกันและแก้ไขภัยคุกคาม ยกระดับและพัฒนาจุดผ่านแดน ให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยคุกคามและเชื่อมโยงเศรษฐกิจ การค้า และการสัญจรข้ามแ ดน ตลอดจน สามารถแก้ไขปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศรอบบ้านให้เกิดความสมดุลระหว่างผลประโยชน์แห่งชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ( กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 4 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล มุ่งเน้น ความมั่นคงทางทะเลแบบองค์รวม ให้ ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามทางทะเลที่สําคัญ อย่างต่อเนื่อง โดย คํานึงถึงการรักษาความมั่นคงทางทะเลและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้มีความสมดุลและยั่ งยืน และการบริหารจัดการองค์ความรู้ทางทะเลที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้ง ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการดําเนินการ ด้านความมั่นคงทางทะเล เสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน อาเซียน แล ะประเทศในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิ ก รวมถึง การใช้ประโยชน์จากทะเลอย่างสมดุลและยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ําเงิน โดยเฉพาะการท่องเที่ ยว การประมง การพาณิชยนาวี และการขุดเจาะหรือสํารวจแหล่งพลังงานใต้ทะ เ ล การบริหารจัดการองค์ความรู้ทางทะเล และการสร้างความตระหนักรู้ความสําคัญของทะเล (ศูนย์อํานวยการรักษา ผลประโยชน์ ของ ชาติทางทะเล เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 5 การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มุ่งเน้น การลดการก่อเหตุรุนแรงและความสูญเสีย พัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและศักยภาพของพื้นที่ รวมทั้ งเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมในพื้ นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย เสริมสร้างความปลอดภัย

  • 5 - และขจัดเงื่อนไขความรุนแรง ผ่านการเสริมสร้างความสำ มารถในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชน สร้างความเข้มแข็งของชุมชนและหมู่บ้าน โดยขับเคลื่อนผ่านกระบวน การพูดคุยเพื่อสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บนพื้นฐานของความจริงใจ สมัครใจ และให้เกียรติ เพื่อเป็นทางออกของความขัดแย้งตามแนวทางสันติวิธี ผ่านการพัฒนาและปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐานสําคัญ คุณภาพการศึกษา และ การบริหารจั ดการของภาครัฐ ( สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 6 การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง และผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ มุ่งเน้นการบริหารจัดการผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล แรงงานต่างด้าว กลุ่มที่มีความเปราะบางต่อ ความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ รวมถึง ผู้ได้รับการ คุ้มครองหรือ ผู้ อยู่ระหว่างคัดกรอง สถานะที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศภูมิลําเนา ได้ ให้มีความสมดุลระหว่างมิติความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และหลักสิทธิมนุษยชน โดยเร่งดําเนินการจัดทําฐานข้อมูลเกี่ยวกับสถิติผู้หลบหนีเข้าเมืองในกลุ่มที่มีปัญหาสถานะ และสิทธิบุคคล การ บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบและจับกุมแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้จัดหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย การ บูรณาการความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และประเทศต้นทางในการเร่งรัดกําหนดมาตรการแก้ไขปัญหากลุ่มผู้ติดตามแรงงานต่ำงด้าว ( กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ ) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 7 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ มุ่งเน้นการยกระดับ สถานะและเพิ่มขีดสมรรถนะของประเทศไทยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นรูปธรรมให้ได้รับการยอมรับจากสากล โดยดําเนินการเร่งรัดการบริหารจัดการคดีค้ามนุษย์ โดยใช้กลไก การขับเคลื่อนและบูรณาการการทํางานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ของแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าว ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้ำใจ ทักษะ และพัฒนา ศักยภาพให้แก่ คณะสหวิชาชีพ เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การดําเนิ นคดีค้ามนุษย์ ( กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ ) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 8 การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด มุ่งเน้น กำรป้องกันประชากรทุกกลุ่มเป้าหมายไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด สกัดกั้น และปราบปรามขบวนการ การค้ายาเสพติด ตลอดจน การบําบัด รักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติ ดให้เกิดการยอมรับจากสังคม โดย เสริมสร้าง ความเข้มแข็งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน สร้างภูมิคุ้มกันระดับบุคคล ด้วยการเสริมสร้าง ทัศนคติ และความรู้ เท่าทันยาเสพติดทั้ งการเสพและการค้า เสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือด้านยาเสพติด ทั้งการป้องกัน ปราบปราม และบําบัดฟื้นฟูกับองค์กำ รระหว่างประ เทศ ตลอดจนสกัดกั้นการลักลอบลําเลียง ปราบปรามผู้ค้ำยาเสพติดและเครือข่ายการค้ายาเสพ ติดในประเทศและอาชญากรรมข้ามชาติ รวมถึงพัฒนา เทคโน โล ยีและฐานข้อมูลเพื่อ ใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวังการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการลักลอบจําหน่ายยาเสพติด นอกจากนี้ ยังมุ่งเสริมสร้างโอกาส และทางเลือกของ ผู้เสพยาเสพติด ภายหลังการเข้ารับการบําบัดให้สามารถใช้ชีวิต

  • 6 - ในสังคมได้อย่างปกติสุข มีศักดิ์ศรีบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน สามารถพัฒนาศักยภาพมนุษย์ และไม่ถูกตีตรา หรือเลือกปฏิบัติ ( กระทรวงยุติธรรม โดย สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ) นโยบายและแผนความมั่ นคงที่ 9 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มุ่งเน้น การ ยกระดับ การจัดการความเสี่ยงสาธารณภัยที่สําคัญอันเกิดจากภัยธรรมชาติ และภัยที่เกิดจากการกระทําของมนุษย์ และ/หรือ เป็นภัยซ้ําซ้อน ให้ สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และยั่งยืน โดยเสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจ การรับรู้และตระหนักรู้ถึงการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่ถูกต้องให้กับทุกภาคส่วน เพื่อลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริม ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศ ในการจัดการความเสี่ยงสาธารณภัย และประสานความช่ วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยมุ่งจัดการ สาธารณภัยให้มี มาตรฐานตามหลักสากล ด้วยการเสริมสร้างการจัดการในภาวะฉุกเฉินแบบบูรณาการให้เป็นไปตาม มาตรฐาน ในการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉิน ตลอดจนกําหนด แนวทางการปฏิบัติร่วมของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินและเสริมสร้างระบบ กำรบริหารจัดการเกี่ย วกับการบรรเทา ทุกข์ และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และเป็นธรรม (กระทรวงมหาดไทย โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 10 การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ มุ่งเน้น ให้ ประเทศไทยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการ ป้องกัน รับมือความเสี่ยงกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ยกระดับมาตรฐาน รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และลดการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยพัฒนาระบบการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ ให้สอดคล้องมาตรฐานสากล สามารถแก้ไขเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต่อ โครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนากลไก มาตรการ และแนวทาง ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ รวมถึงพัฒนาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ( สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 11 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย มุ่งเน้นให้ประเทศ ไทย มีภูมิคุ้มกันในการรับมือ กับภัยก่อการร้าย มีขีดความสามารถในการตอบโต้ต่อเหตุวิกฤตจากการก่อการร้าย และมีศักยภาพในการ ฟื้น ตัวจากภัยก่อ การร้ายให้กลับสู่ภาวะปกติ โดย แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและข่าวกรอง ด้านการก่อการร้ายทั้งภายในและต่างประเทศ ปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสําคัญและพื้นที่เปราะบาง มีระบบฐานข้อมูล และเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้าย ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วม ของภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันภัยก่อการร้าย พัฒนากลไกการรับมือขณะเกิดเหตุและระบบ การแจ้ง เตือน การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ต่อเหตุวิกฤติจากการก่อการร้าย เพื่อสร้างความรับรู้ ความเข้าใจ เสริมสร้าง การมี ส่วนร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น สถาบันศาสนา และ สถาบันการศึกษา (สํานักงานสภาความมั่น คงแห่งชาติ เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 12 การสร้างดุลยภาพระหว่างประเทศ มุ่งเน้นให้ ประเทศไทย สามารถรักษาดุลยภาพระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ มีบทบาทนําในประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน รวมทั้งรักษาผลประโยชน์แห่งชาติบริเวณลุ่มน้ําโขง และความสัมพันธ์อันดีกับประเทศ

  • 7 - รอบบ้าน โดยรักษาผล ประโยชน์แห่งชาติเป็นที่ตั้ง มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศเป้าหมายอย่างสม่ําเสมอ รวมถึงรักษาดุลยภาพระหว่างประเทศสําคัญทางยุทธศาสตร์ โดยทบทวนและกําหนดแนวทางท่าทีและ ความร่วมมือของไทยต่อประเทศมหาอํานาจหรือกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสําคัญทางยุทธศาสตร์ เพื่อให้ไทยสามารถ ประมาณการเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษาดุลยภาพระหว่างประเทศของไทยได้ทันท่วงที และเสริมบทบาทนํา ของไทยในประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน เพื่อรักษาผลปร ะโยชน์แห่งชาติ และผลประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาค โดยผลักดันความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไข ภัยคุกคามระดับภูมิภาค อำทิ ประเด็นการต่อต้านยาเสพติดและสินค้าผิดกฎห มาย ประเด็นหมอกควันข้ามแดน และ ประเด็นภัยคุกคาม ทางไซเบอร์ ( กระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 13 การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและโรคติดต่อ อุบัติใหม่ มุ่ง เน้น การเตรียมความพร้อมและ การ เพิ่มขีดความสามารถการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และโรคติดต่ออุบัติใหม่ ทั้ งในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่ น โดยพัฒนา ศักยภาพและ ดําเนินการตาม แผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ รวมถึง แผนเผชิญเหตุ และ การบริหารจัดการด้านสาธารณสุข ฉุกเฉิน โดยมีการฝึกซ้อมเพื่อบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตลอดจน ส่งเสริมให้ ประเทศ มีความมั่นคงทางยาและเวชภัณฑ์ สามารถผลิตยาและเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ และ สาธารณสุขได้ทั้งห่วงโซ่อุปทาน ( กระทรวงสาธำรณสุข เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ) 2. หมวด ประเด็น ศักยภาพความมั่นคง เป็นประเด็นเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถ ของประเทศในการป้องกันและแก้ไขประเด็นความมั่นคงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวม 4 นโยบายและแผน ความมั่นคง ดังนี้ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 14 การพัฒนา ศักยภาพ การเตรียมพร้อมแห่งชาติ และการบริหาร จัดการวิกฤตการณ์ ระดับชาติ มุ่งเน้นให้ พัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมเพื่อป้องกัน และตอบสนองต่อภัยคุกคาม รวมทั้งบูรณาการทรัพยากรของประเทศเพื่อใช้ในการเผชิญกับวิกฤตการณ์ระดับชาติ โดยทบ ทวน และพัฒนากลไก การบริหารจัดการ ทั้งในระดับนโยบาย ระดับอํานวยการ และระดับปฏิบัติ ให้สามารถปฏิบัติภารกิจร่วมกัน ได้อย่างประสานสอดคล้องเมื่อประเทศเผชิญกับปัญหาภัยคุกคาม หรือเข้าสู่ภาวะวิกฤตระดับชาติ ส่งเสริม ความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคีเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน พัฒนาประสิทธิภาพกลไก ระบบการสั่งการในการประเมินและติดตามสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงในการเข้าสู่ภาวะ วิกฤตการณ์ระดับชาติ การแจ้งเตือน ตลอดจนการ ประสานงานระหว่างหน่วยงำนและผู้ปฏิบัติภารกิจ (สํานักงาน สภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 15 การพัฒนาระบบข่าวกรองแห่งชาติ มุ่ง เน้นการ ยกระดั บ ระบบงานข่าวกรองแห่งชาติในการเฝ้าระวัง ประเมิน ตอบสนอง และแจ้งเตือน ต่อสถานการณ์ด้านความมั่นคง เชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาว พร้อมทั้ งขยายเครือข่ายเฝ้าระวังเพื่ อสนับสนุนงานข่าวกรอง และการวางระบบ งานข่าวกรองเพื่อป้องกันภัยคุกคามที่สําคัญ โดยพัฒนาขีดความสามารถในการรวบรวมและประเมินสถานการณ์

  • 8 - ด้านการข่าว พัฒนาและขยายเครือข่ายด้านการข่า ว รวมถึงพัฒนาศักยภาพ เสริมสร้างองค์ความรู้ บุคลากร เพื่อใช้ในการประเมินสถานการณ์ด้านการข่าวในระยะยาว ( สํานักข่าวกรองแห่งชาติ เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ) นโยบายและแผนความมั่ นคงที่ 16 การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่ นคง มุ่งเน้น การ จัดทํา และเชื่อมโยง บัญชีข้อมูล ด้านความมั่นคงขนาดใหญ่เชิงดิจิทัลให้สามารถนําไป ใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย ในการป้องกันและแก้ไข ภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง เพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย ตลอดจนกําหนดโจทย์ประเด็นความมั่นคง และ ประเ ด็น ศักยภาพความมั่นคง ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อใช้เป็นประเด็นสําหรับ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ( Big Data) และพัฒนากลไกการบริหารจัดการการบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง ผ่านการจัดทําแผนหรือแนวทางการขับเคลื่อนกา รบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง และสร้างความร่วมมือ หรือความตกลงสําหรับการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และแบ่งปันข้อมูลภายในแพลตฟอร์มด้านความมั่นคงตาม หน้าที่ อํานาจ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ( กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ ) นโยบายและแผนความมั่ นคงที่ 17 การเสริมสร้างความมั่ นคงเชิงพื้ นที่ มุ่งเน้น การป้องกัน และแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่เป้าหมายระดับตําบลเพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยขยายแนวคิด การพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ และแผนตําบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ให้เป็นรูปธรรม โดย พัฒนา คุณภาพชีวิต และ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้านความมั่นคงเชิ งพื้นที่ให้แก่ประชาชน ด้วยการนํา น โยบายและแผน ความมั่ นคงต่าง ๆ รวมถึงประเด็นความมั่ นคงในระดับพื้ นที่ ที่ สําคัญ อาทิ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับสัตว์ในพื้นที่ ความขัดแย้งทางพลังงาน อาหาร และน้ํา ไปใช้กําหนดทิศทางเพื่อแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับบริบทภัยความมั่นคงในพื้นที่ ตลอดจน พัฒนาศักยภาพ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานความมั่นคงในระดับพื้นที่ และ เครือข่ายการเสริมสร้างความมั่นคงเชิงรุกในระดับพื้นที่ ทั้งภาครัฐและนอกภาครัฐให้มี การแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสานการดําเนินการ และสะท้อน ความต้องการจากระดับพื้นที่ สู่ระดับนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ ( กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ ) แนวทางการขับเคลื่ อน ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การบูรณาการเพื่อส่งเสริมควำมร่วมมือของทุกภาคส่วนตามแนวทางบูรณาการการทํางานของ หน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ( Whole - of - Government Approach ) และ แนวทางบูรณาการ การทํางานที่ ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วม ( Whole - of - Society Approach ) เพื่ อเสริมสร้างความมั่ นคง แบบองค์รวม จึงกําหนดให้มีการบูรณาการทั้งในเชิงโครงสร้างและกลไก การถ่ายทอดเป้าหมายและตัวชี้วัด ลงสู่ระดับหน่วยงาน เพื่อเชื่อมโยงให้การดําเนินการมีทิศทางเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ ร่วมกัน รวมทั้ง ให้มีหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเ คลื่อนที่ชัดเจน โดยกลไกการบริหารจัดการมีความสําคัญ ในการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่ง สภาความมั่นคงแห่งชาติ ถือเป็นกลไกสูงสุดในการกํากับและติดตามการด ํา เนินการในภาพรวม รวมทั้ง มี กลไกแผนงานยุทธศาสตร์ความมั่ นคง เป็นกลไกหลักสําคัญเพื่อผลักดันการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย ตามหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Causal Relationship: XYZ ) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • 9 - 1 . ระดับนโยบาย กําหนดทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่น คง แห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) มีสถานะ แผนระดับที่ 2 ไปในคราวเดียวกันกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ ชาติ ประเด็นความมั่นคง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง คือ คณะกรรมการบูรณาการ ขับเคลื่ อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง 2 . ระดับส่วนกลาง อํานวยการ ประสานงาน และกํากับเป้าหมายและตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยดําเนินการไปในคราวเดียวกัน กับการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบูรณาการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตาม ลําดับ คือ คณะกรรมการขับเคลื่อน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ประกอบด้วย 5 คณะย่อย ดังนี้ 2.1 คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการรักษาความสงบภายในประเทศ (เลขาธิการ กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภำยในราชอาณาจักร เป็นประธาน) 2 .2 คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อ ความมั่นคง (เลขาธิการกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นประธาน) 2. 3 คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญ ภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ (ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน) 2. 4 คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับ อาเซียนและนานาชาติ รวมทั้งองค์กรภาครัฐและที่ มิใช่ภาครัฐ (ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน) 2. 5 คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคง แบบองค์รวม (เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธาน) 3 . ระดับพื้ นที่ ให้ความสําคัญกับการขับเคลื่ อนที่ เกี่ ยวข้องกับกลไกการบริหารแผนพัฒนา ในระดับพื้นที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ โดยมีหน่วยงาน / กลไก ที่รับผิดชอบ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ( ก.บ.จ. ) และ คณะอนุกรรมการ จัดท ําแผนงานด้านความมั่นคงจังหวัด หน่วยงานเจ้าภาพบูรณาการขับเคลื่อน จําเป็นต้อง ติดตามและประเมินผล ใน ขั้นต้น ทั้งรอบ 6 เดือน และรายปี ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการตามแผน/ภารกิจ 17 นโยบายและแผนความมั่นคง โดยมีกลไก การบริหารจัดการ ทั้งในระดับนโยบาย ระดับส่วนกลาง และระดับพื้นที่ เร่งรัดติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อเสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อ กํากับและติดตามการดําเนินการใ นภาพรวม หรือพิจารณาทบทวน ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการดําเนินงาน ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป ปัจจัยแห่งความสําเร็จขึ้นอยู่กับการที่รัฐบาลให้ความสําคัญและสนับสนุนการดําเนินการ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดําเนินการและขับเคลื่อน การถ่ายทอดเป้าหมายและตัวชี้วัด

  • 10 - ไปสู่การจัดทําแผนระดับที่ 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมด้านทรัพยากรสามารถปรับปรุงและพัฒนา การบริหารจัดการตามภารกิจที่รับผิดชอบให้สอดคล้องกับแนวทางที่ กําหนด การพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ให้หน่วยงานของรัฐ การบูรณาการการทํางานของทุกภาคส่วน ตลอดจนการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติได้ อย่างมีประสิทธิภาพ -----------------------------------------

  • 11 - ส่วนที่ 1 ความสําคัญและสถานะ ของนโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ( พ . ศ . 2566 – 2570 )

  • 13 - 1. ความนํา นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย ความ มั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) เป็นแผนระดับที่ 2 โดยมี กรอบระยะเวลาดําเนินการ 5 ปี ครอบ คลุมปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2570 รองรับ การถ่ายทอด แผนระดับที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง และเชื่อมโยงให้มีการ ขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติผ่านแผนระดับที่ 3 เพื่อให้เป็นกรอบทิศทางในการ ป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพื่อธํารงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ และ รักษาผลประโยชน์แห่งชาติ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย ความมั่นคงแห่ งชาติฉบับนี้ให้ความสําคัญกับการขับเคลื่อนกรอบ แนวคิด ความมั่นคงแบบองค์รวม มุ่งเน้นการ กําหนด นโยบายและแผนการขับเคลื่อนงานด้านความมั่นคงให้สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน โดย มิได้จํากัดเฉพาะความมั่นคง ของรัฐ แต่ให้หมายรวมถึงความมั่นคงของมนุษย์ และ ความมั่นคง ระหว่างประเทศ จึงจําเป็นต้องมีกรอบทิศ ทาง ให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ ยงภัยคุกคาม สําคัญที่ จําเป็นต้องเร่งป้องกันและแก้ไข ได้อย่างทันท่วงที โดยใช้กระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ประเทศมีเสถี ยรภาพ ประชาชนอยู่ดีมีสุข และมี ศักยภาพบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติอย่างยั่งยืน 2. ผลการดําเนินการขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติในห้วงที่ผ่านมา การ ขับเคลื่อนภารกิจความมั่นคงของประเทศเป็นการดําเนินการภายใต้ แผนระดับที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง โดยมีแผนระดับที่ 2 แผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง และ นโยบายและแผน ระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรอบแนวทางหลักที่ขับเคลื่อน ไปในคราวเดียวกัน ทําให้ ผลการดําเนินการ ขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติในห้วงที่ผ่านมามีความเชื่อมโยงกับการขับเคลื่อน แผนแม่บท ภายใต้ยุท ธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง โดยมี ผลสัมฤทธิ์และข้อจํากัด ดังนี้ 2.1 ผลสัมฤทธิ์ ในภาพรวม พบว่าสถานการณ์ ปัญหาความมั่นคงคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดย หน่วยงาน ของรัฐ ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ ขับเคลื่อนการดําเนินการให้ สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนแม่บท ภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง และ นโยบายและแผน ระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง แห่งชาติ (พ.ศ. 2562 – 2565) ซึ่ง ผลสัมฤทธิ์ การดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงพิจารณาได้จากประเด็นความมั่นคงที่สะท้อน การ เปลี่ยนแปลง อย่างชัดเจนและ เป็นไปตาม เป้าหมายที่กําหนดไว้ใน นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง แห่งชาติ (พ.ศ. 2562 – 2565) ดังนี้ 2 .1.1 การป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เหตุการณ์ ความรุนแรงมีแนวโน้ม ลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปี 2564 จะมีเหตุการณ์ความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากปี 2563 แต่ ยังคง อยู่ในเป้าหมาย โดยเฉลี่ย คือ ลดลงร้อยละ 20 ต่อปี เมื่อ เทียบจากปีฐาน 2561 สถิติการเสียชีวิตมีจํานวน 40 คน ลดลงจาก ปี 2563 ( 66 คน ) คิดเป็นร้อยละ 42.42 ดังนั้นการ รักษาความปลอดภัยจึงยังคงเป็นแนวทางหลักที่ต้องให้ ความสําคัญอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การดําเนินการระยะต่อไปจําเป็น ต้องมุ่งเน้นแนวทางการสร้างความเชื่อมั่น และลดความหวาดระแวง ร วมถึงเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ และส่งเสริมศักยภาพพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อยกระดับ ความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ อันจะเป็นรากฐานที่ทําให้พื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้มีความสันติสุขภายใต้ สังคมพหุวัฒนธรรม

  • 14 - 2.1.2 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติพื้นที่ชายแดน มีความมั่นคง ปลอดภัย และสามารถ พัฒนาระบบสัญจรข้ามแดน และการจัดการพื้นที่ชายแดนเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดย มี การพิจารณา การเปิด – ระงับ หรือปิดจุดผ่านแดนประเภทต่าง ๆ การพัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยความมั่นคง และจัดระเบียบ พื้นที่ที่มีเงื่อนไขของปัญหาความมั่นคง การเพิ่ม ประสิทธิภาพบริการออกบัตรผ่านแดนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ( E - Border Pass) ซึ่งใช้เพียงบัตรประชาชนหรือเลขประจําตัวประชาชน 13 หลัก ให้ สามารถจัดทําหนังสือ ผ่านแดนชั่วคราวได้อย่างรวดเร็ว การพัฒนาด่านเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อเพิ่มมูลค่าการลงทุน ตลอดจน การยกระดับ คุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อตรวจสอบ ป้องกัน เฝ้าระวังการนําเข้าส่งออก และนําผ่านสั ตว์น้ําหรือผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ําให้มีคุณภาพมาตรฐานผ่านจุดผ่านแดน 2.1.3 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ ทางทะเล สามารถปกป้อง รักษา และแสวงหา ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้อย่างสมดุลและยั่งยืน โดย มีการจัดตั้งและพัฒนาประสิทธิภาพการดําเนินงานของ ศูนย์อํานวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตามพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ . ศ . 2562 การกําหนดและปรับปรุงพื้นที่เขตการปกครองของจังหวัดทางทะเล การอนุวัติกฎหมายตามอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค . ศ . 1982 ตลอดจน การเสริมสร้างองค์ความรู้ทางทะเลและศึกษารูปแบบ การจัดตั้งองค์กรจัดการความรู้ทางทะเล 2.1.4 การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง มีการขับเคลื่อนผ่านกลไกการหารือ เพื่อ แก้ไขปัญหา ผู้ หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา การ ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองกรณีกลุ่มผู้มีปัญหาสถานะ และสิทธิของบุคคล การจัดทําหลักเกณฑ์สถานะและสิทธิของบุคคลที่เข้ามาและอาศัยอยู่มานาน รวมถึงในปี 2564 จํานวนแรงงานต่างด้าวและแรงงานไทยที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 59.77 ของแรงงานทั้งหมด 2.1.5 การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด มีแนวโน้มในระดับที่ดีขึ้นจากการยึด และอายัดทรัพย์สินเครือข่ายยาเสพติดรายสําคัญ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดให้มีศักยภาพในการลด อุปสงค์ยาเสพติด โดยในปี 2564 เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 90.49 ของเป้าหมายในพื้นที่ที่ มีปัญหาการแพร่ระบาด ของยำเสพติด ผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้าสู่กระบวนการบําบัดรักษาได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพอย่างต่อเนื่องจนถึง การติดตาม ( Retention Rate) นอกจากนี้ ได้มีการตราประมวลกฎหมายยาเสพติด เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมาย มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งกําหนดให้มีระบบอนุญาตเพื่อให้การควบ คุมและการใช้ประโยชน์ยาเสพติด ในทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และ อุตสาหกรรม พร้อมทั้ง ป้องกันการแพร่กระจายยาเสพติดและการใช้ยาเสพติด ในทางที่ไม่ถูกต้องอันจะน ํา ไปสู่การเสพติดยาเสพติด ซึ่งเป็นการบั่นทอนสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแพร่กระจายยาเสพติดเข้าสู่กลุ่ม เยาวชน ซึ่งเป็นก ํา ลังส ํา คัญในการพัฒนาประเทศ 2.1. 6 การ พัฒนาระบบ ข่าวกรอง แห่งชาติ ได้มีการตราพระราชบัญญัติข่าวกรองแห่งชาติ พ . ศ . 2562 เพื่อเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมให้เอื้อต่อการปฏิบัติการข่าวกรองของชาติ เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ และท ํา ให้ภารกิจของรัฐด้านกิจการการข่าวกรองมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถรองรับสถานการณ์ ภัยคุกคามความมั่นคง ทุกรูปแบบได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที เพื่อรัก ษาความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติ นอกจากนี้ หน่วยงานด้านข่าวกรองและประชาคมข่าวกรอง ได้ขยายความเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลด้านการข่าว

  • 15 - ในประชาคมข่าวกรอง ระหว่าง 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สํานักการข่าว กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 2) ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย 3) กองบัญชาการตํารวจสันติบาล สํานักงานตํารวจแห่งชาติ และ 4 ) หน่วยข่าวกรองทางทหาร กองทัพบก 2.2 ข้อจํากัด การขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติในระยะที่ผ่านมา มีข้อจํากัดสําคัญ ที่ ส่งผลต่อการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายใน ภาพรวม 4 ประการ ดังนี้ 2.2 . 1 การแปลงนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่ นคงแห่งชาติไปสู่ การปฏิ บัติ พบปัญหาและ ข้อจํากัด ที่เกิดจากหลายปัจจัย ประกอบด้วย 1) การรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อมโยงและ ความ ประสานสอดคล้อง ของน โยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติภายใต้ระบบยุทธศาสตร์ ชาติ 2) กรอบทิศทางและแนวทางการขับเคลื่อนมีความคล้ายคลึงกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง และประเด็นการต่างประเทศ 3) การบูรณาการ การทํางาน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) หน่วยปฏิบัติมีความรู้ ความเข้าใจเฉพาะเป้าหมายตามภารกิจที่รับผิดชอบแต่ยังไม่สามารถเชื่อมโยงไปยังเป้าหมายร่วมให้สามารถสะท้อน ความมั่นคงแบบองค์รวมของประเทศได้ 5) ความไม่ชัดเจนของ เป้าหมายและตัวชี้วัด ในการ วัดผลเชิงค่าเป้าหมาย รายปี และผลสัมฤทธิ์ 5 ปี จึงทําให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติผ่านแผนระดับที่ 3 โดยเฉพาะ ความ เชื่อมโยง แผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่องตามกรอบทิศทาง ที่กําหนดไว้ รวมทั้ง การจัดทําแผนงาน โครงการ และงบประมาณ ไม่สะท้อนตามหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (C ausal Relationship: XYZ ) 6) การกําหน ด กลยุทธ์บางประเด็นความมั่นคงมุ่งเน้นเฉพาะการป้องกันและแก้ไขปัญหาผ่านการบริหารจัดการของหน่วยงาน ส่วนกลาง เท่านั้น แต่ยังไม่ลงไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ และ 7) การใช้ประโยชน์จากการ เชื่อมโยง ข้อมูล ด้านความมั่นคง ระหว่างหน่วยงานยังมี อย่าง จํากัดอันเกิดจาก ยังไม่มี ระบบ นวัตกรรมและเ ทคโนโลยี ในกา ร ประมวลผล การดําเนินการ 2.2 . 2 การกําหนดขอบเขตและ จัดลําดับความสําคัญ ประเด็นความมั่นคง ปัจจุบันภัยคุกคาม มีความซั บ ซ้อนและเชื่อมโยงกับมิติต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทําให้ประเด็น ความมั่นคงมีความเหลื่อมซ้อนกับมิติการพัฒนา ส่งผลให้การดําเนินการมีความซ้ําซ้อน ในการ ชี้ชัด เพื่อ ตีความ ขอบเขตประเด็นความมั่นคง กับ มิติการพัฒนา ให้เป็นระบบ ประกอบกับ การจัดทํานโยบาย และแผนระดับชาติ ว่าด้วย ความมั่นคงแห่งชาติที่ผ่านมา ยัง ไม่มีแนวทางการจัดลําดับความสําคัญของภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อ ความมั่นคง ตามหลักวิชาการ อย่างชัดเจน รวมถึงบริบท ความมั่นคง มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะ VUCA ที่มี ความผันผวน ( Volatility ) ความไม่แน่นอน ( Uncertainty ) ความซับซ้อน ( Complexi ty ) และความคลุมเครือ ( Ambiguity ) ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงทําให้ มีความจําเป็นในการกําหนด ทิศทาง การ ขับเคลื่อนประเด็นที่มีความสําคัญเร่งด่วน และให้ความสําคัญกับการวัดผล เชิงผลสัมฤทธิ์ ที่ ใช้เครื่องมือตามหลักวิชาการ รวมทั้ง การอ้างอิงข้อมูลเชิงสถิติ และหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้สามารถระบุแนวโน้มและผลกระทบได้อย่างชัดเจน 2.2.3 บทบาทของหน่วยงานเจ้าภาพ รับผิดชอบ บูรณาการขับเคลื่อน พบปัญหาความ ไม่ ชัดเจน ของบทบาทและความรับผิดชอบของหน่วยงานเจ้าภาพ ฯ ในการขับเคลื่อนทิศทางให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด และมองเป้าหมายไปในทิศทางในภาพรวมให้เป็นระบบเดียวกัน รวมถึงการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล

  • 16 - ยังไม่สามารถผลักดันให้หน่วยงานเจ้าภาพ ฯ สามารถ บูรณาการขับเคลื่อนในแต่ละประเด็น ที่ รับผิดชอบ และ สรุปผล การดําเนินงานตามที่ กําหนดไว้ในปัจจัยแห่งความสําเร็จ โดยหน่วยงานเจ้าภาพ ฯ ทําหน้าที่ได้เพียงจัดการประชุม ปรึกษาหารือระหว่างหน่วยงานเพื่อประสานภารกิจและบูรณาการการทํางานที่คาบเกี่ยวกัน 2.2.4 ผลสืบเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ โรค โควิด - 19 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั่วโลก และนํามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงฉากทัศน์ของการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่เชื่อมโยงกับกา รเผชิญ ภัยคุกคามในรูปแบบผสมผสาน มากขึ้น ประเทศไทยจําเป็นต้องรับมือและแก้ไขวิกฤตการณ์ดังกล่าวที่ส่งผลต่อ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชน แ ละการบริหารจัดการภาครัฐ ทําให้การขับเคลื่อน การดําเนินงาน ในภาพรวม ที่ ผ่านมา จําเป็นต้องทุ่ มเททรัพยากร และสรรพกําลัง ในการแก้ไขวิกฤตการณ์ดังกล่าว โดยเร็ว ซึ่งย่อมส่งผลต่อเป้าหมายการดําเนินงานประเด็นความมั่นคงอื่น ๆ ที่กําหนดไว้ในนโยบายและแผน ระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 – 2565) ทําให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบงานด้านความมั่นคง จําเป็นต้อง ทบทวน ปรับปรุง และพัฒนา การดําเนินงานให้สอดคล้องกับพลวัต กำรเ ปลี่ยนแปลงของบริบทความมั่นคง รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการพลิกฟื้นจากวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ภายใต้ การบริหาร จัดการทรัพยากรที่มีอยู่ อย่ำงจํากัดให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 3 . การกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติและความมั่นคงแห่งชาติ 3 . 1 ผลประโยชน์แห่งชาติ เป้าหมายสูงสุดของ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ( พ . ศ . 2566 – 2570 ) ให้ความสําคัญกับการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติที่กําหนดไว้แล้วใน ยุทธศาสตร์ชาติ ( พ . ศ . 2561 – 2580 ) อันได้แก่ การมีเอกราช อธิปไตย การดํารงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืนของสถาบันหลักของชาติและประชาชนจาก ภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติสุขเป็นปึกแผ่น มีความมั่นคงทางสังคมท่ามกลางพหุสังคม และการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความเจริญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุข ของประชาชน ความยั่ งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่ งแวดล้อม ความมั่ นคงทางพลังงาน และอาหาร ความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติประสานสอดคล้องกันด้านความมั่นคงในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี 3. 2 ความมั่นคงแห่งชาติ 3 .2.1 นิยาม “ ความมั่นคงแห่งชาติ ” พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ . ศ . 2559 บัญญัติว่า ภาวะที่ประเทศปลอดจาก ภัยคุกคามต่อเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขต สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ ความปลอดภัย ของประชาชน การดํารงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน หรือที่กระทบต่อผลประโยชน์แห่งชาติหรือการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งความพร้อมของประเทศที่จะเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ อันเกิดจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ

  • 17 - ยุทธศาสตร์ชาติ ( พ . ศ . 2561 – 2580 ) ให้ความสําคัญกับ การมีความมั่นคงปลอดภัย จากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล และมีความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติทางการทหาร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง 3 .2.2 หลักเกณฑ์การพิจารณา ขอบเขต “ ความมั่นคง แห่งชาติ ” 1) ปัญหาหรือสถานการณ์ที่มีความรุนแรงส่งผลต่อการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ 2) ปัญหาหรือสถานการณ์ที่มีความสลับซับซ้อน ยากต่อการแก้ไขจากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และมีแนวโน้มนําไปสู่วิกฤตการณ์ของประเทศ 3) ปัญหาหรือสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบ ต่อ ความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชน ในวงกว้าง 4) ความ จําเป็นต้องเพิ่มศักยภาพในการบูรณาการ และระดมสรรพกําลังมากกว่า 1 หน่วยงาน เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงภัยคุกคามที่ส่งผลต่อความมั่นคงแห่งชาติ และเสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถ เพื่อเสริมสร้างกําลังอํานาจของชาติ 4 . หลักการ สถานะ และความสําคัญ 4 .1 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ . ศ . 2560 กําหนดให้รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ รัฐต้องจัดให้มีการทหาร การทูตและ การข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ กําลังทหารให้ใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศด้วย ตลอดจน กําหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็น เป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทําแผนต่าง ๆ และกรอบงบประมาณรายจ่ายประจําปีให้สอดคล้องและบูรณาการกัน เพื่อให้เกิด เป็นพลังผลักดันร่วมกัน ไปสู่เป้าหมายการพัฒนาประเทศที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบกับ พระราชบัญญัติ การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ . ศ . 2560 มีหลักการให้ การกําหนดนโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่ งการจัดทํา นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ . ศ . 2559 เพื่อให้เป็น กรอบ หรือทิศทางในการดําเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามในการธํารงไว้ซึ่งความมั่นคง แห่งชาติ ซึ่ง ต้องมีสาระ ครอบคลุมถึงนโยบายภายในประเทศ นโยบายต่างประเทศ และนโยบายการทหาร กับการเศรษฐกิจ และอื่น ๆ อันเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติให้สอดคล้องต้องกัน เพื่อให้กิจการของหน่วยงาน ของรัฐสามารถประสานกันได้อย่างใกล้ชิดเป็นผลดีต่อความมั่นคงของชาติ 4 . 2 สถานะ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ทําหน้าที่เป็น แผน ระดับที่ 2 ระบุทิศทางและเป้าหมาย ความมั่นคง ที่ประเทศควรให้ความสําคัญและมุ่งดําเนินการ ให้เห็น ผลสัมฤทธิ์ในห้วงเวลาของแผน ระยะ 5 ปี โดยถ่ายทอด แผนระดับที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านความ มั่นคง ให้บรรลุ

  • 18 - เป้าหมาย ในภาพรวม “ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข ” ควบคู่กับเชื่อมโยงและประสานสอดคล้องกับ แผนระดับที่ 2 ที่เกี่ยวข้องอันเป็นกลไกสําคัญในการถ่ำยทอดแนวทางการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่ำง ๆ ของยุทธศาสตร์ชาติไปสู่ การปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย แผนแม่ บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ทําหน้าที่ในการถ่ายทอด เป้าหมายและประเด็นยุทธศาส ตร์ของยุทธศาสตร์ชาติลงสู่แผนระดับต่าง ๆ โดยคํานึงถึงประเด็นร่วมหรือประเด็น ตัดข้ามระหว่างยุทธศาสตร์และการประสานเชื่อมโยงเป้าหมายของแต่ละแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ให้มีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ในที่นี้มุ่งเน้นความเชื่อมโยงกับ ประเด็นความมั่นคง และประเด็น การต่างประเทศ แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสัง คมแห่ งชาติ เป็นแผนระบุทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาที่ประเทศ ควรให้ ความสําคัญและมุ่งดําเนินการ ที่ คํานึงถึงพลวัตและเงื่อนไขการพัฒนาที่ประเทศเผชิญอยู่ ในมิติ ด้าน เศรษฐกิจ มิติด้านสังคมและทรัพยากรมนุษย์ มิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมิติด้านการบริหารจัดการ ภาครัฐ ทั้งนี้ ประเด็นการพัฒนาสําคัญนอกเหนือจากที่ระบุใน นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) จะยังคงได้รับการเน้นย้ําให้ความสําคัญและดูแลขับเคลื่อนผ่านแผนระดับ ที่ 2 อื่นที่อยู่ใน ระนาบเดียวกัน และร่วมกัน ถ่ายทอดยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติใน แผนระดับที่ 3 ทําหน้าที่ เป็นแผนเชิงปฏิบัติ ที่ระบุการดําเนินงานภายใต้แผนงาน โครงการที่มีความชัดเจนตามภารกิจ ของหน่วยงานของรัฐ เพื่อสนับสนุนให้ แผนระดับที่ 2 และยุทธศาสตร์ชาติให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้บนความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของแผนทุกระดับ การ กําหนดกรอบทิศทางและการขับเคลื่อน นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วย ความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) มี ความแตกต่าง จาก แผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง ซึ่งเป็น แผนระยะยาว 20 ปี ที่มีการกําหนดค่าเป้าหมายทุก 5 ปี โดย ให้ความสําคัญกับการกําหนดจุดเน้น และแนวทาง สําคัญเชิงลึก ของเป้าหมาย ตัวชี้วัด และกลยุทธ์ ตลอดจน เติมเต็มช่องว่าง แนวทางการพัฒนาที่กําหนดไว้ใน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง โดยเริ่มต้นจากการสังเคราะห์ วิเคราะห์แนวโน้ม พร้อมทั้ง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ของบริบทความมั่นคง ที่อาจเกิดขึ้นทั้งภายในประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก ควบคู่ไปกับ ความสําคัญของภูมิยุทธศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ และภูมิเศรษฐศาสตร์ไทย ขีดความสามารถของประเทศ เพื่อเสริมสร้างกําลังอํานาจของชาติ เพื่อประเมินความท้าทายและโอกาสในการ เสริมสร้างความมั่นคงของ ประเทศ

  • 19 - ภายใต้บริบทเงื่อนไขข้อจํากัดที่ประเทศไทยต้องเผชิญ อันเนื่องมาจา กการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อ ให้หน่วยงาน ของรัฐมีกรอบจัดทําแผนระดับที่ 3 โดยนําเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กําหนดไว้ไป ดําเนินการ สู่การปฏิบัติ ได้ อย่างสัมฤทธิ์ผล 4 .3 ความสําคัญ 4 .3 .1 การ ปรับเปลี่ยนทิศทางการวางนโยบายและแผนการขับเคลื่อนงานด้านความมั่นคง ให้เร่งป้องกันและแก้ไขเฉพาะปัญหาความมั่นคงที่สําคัญจากการประเมินสถานการณ์และแนวโน้มความเสี่ยง ในระยะ 5 ปี จึงให้ความสําคัญ กับการวางรากฐานความมั่นคงของประเทศ โดยเริ่มต้นจากหน่วยย่อยของสังคม คือ สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา รวมทั้ง เพิ่ม การประเมินขีดความสามารถของประเทศเพื่อเสริมสร้าง กําลังอํานาจของชาติ ในการ กําหนดจุดยืนหรือตําแหน่งของประเทศ ตลอดจน เสริมสร้างแนวทางการพัฒนา ศักยภาพความมั่นคงของประเทศ ให้สามารถบริหารจัด การความเสี่ยงภัยคุ กคามทุกรูปแบบได้อย่างทันท่วงที 4 .3.2 การ จัดลําดับความสําคัญของประเด็นความมั่ นคง ที่ มีผลกระทบและ ความเสี่ ยงสูง จากบริบทและสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ บนพื้นฐานผลประโยชน์แห่งชาติ โดย กําหนดขอบเขต และหลักเกณฑ์พิจารณา “ ประเด็นความมั่นคง ” เพื่อตอบสนองค่าเป้าหมายที่ต้องเห็นผลสัมฤทธิ์ภายในปี 2570 โดยมีกระบวนการพิจารณา ดังนี้ 1) การประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ภัยคุกคาม ที่ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ ของ ประเทศในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตที่จะเกิดขึ้นในห้วงระหว่าง พ.ศ. 2566 – 2570 2) หลักการ บริหารจัดการความเสี่ยง ผ่านวิธีการจัดลําดับจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านความมั่นคง ด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique ) โดยพิจารณา ภัยคุกคามสําคัญของประเทศ และนํามาสู่ การจัดลําดับ ภัยคุกคามสําคัญที่มีผลกระทบและความเสี่ยงสูงอันจําเป็นต้องเร่งดําเนินการป้องกันและแก้ไขในระยะ 5 ปี 3) หลั กเกณฑ์ การ จั ดเรี ยงลําดั บ นโยบายและแผนความมั ่ นคง ยึดโยงกับเป้าหมาย และแนวทางการดําเนินการในการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 ของ มาตรา 14 ครอบคลุมถึงนโยบาย ภายในประเทศ นโยบายต่างประเทศ และนโยบายการทหาร กับการเศรษฐกิจ และอื่น ๆ อันเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งชาติให้สอดคล้องต้องกัน เพื่อให้กิจการของหน่วยงานของรัฐ สามารถประสานกันได้อย่างใกล้ชิด เป็นผลดีต่อความมั่นคงแห่งชาติ และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ ดังนี้ ที่ เป้าหมายและแนวทางการดําเนินการ ในการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายและแผนความมั่นคง 1. การเสริมสร้างความมั่ นคงของสถาบันหลัก ของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 1 การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ 2. การปกป้องและรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ โดยเรียงลําดับจากผลประโยชน์แห่งชาติที่กําหนด ไว้แล้วในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580)

  • 20 - ที่ เป้าหมายและแนวทางการดําเนินการ ในการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายและแผนความมั่นคง • การมีเอกราช อธิปไตย การดํารงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืนของสถาบันหลักของชาติและประชาชน จากภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ ร่วมกัน ในชาติอย่างสันติสุขเป็นปึกแผ่น มีความมั่นคง ทางสังคมท่ามกลางพหุสังคม • การมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ • ความเจริญเติบโตของชาติความเป็นธรรมและ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน • ความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม ระหว่างประเทศ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ประสานสอดคล้ องกั นด้ำนความมั ่ นคงใน น โยบายและแผนความมั่นคงที่ 2 การปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ และการพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 3 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ พื้นที่ชายแดน นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 4 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 5 การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 6 การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง และ ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 7 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 8 การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 9 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 10 การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ นโยบายและแผน ความมั่นคง ที่ 11 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 13 การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และโรคติดต่ออุบัติใหม่ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 12 การสร้างดุลยภาพระหว่างประเทศ

  • 21 - ที่ เป้าหมายและแนวทางการดําเนินการ ในการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายและแผนความมั่นคง ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอย่าง มีเกียรติและศักดิ์ศรี 3. การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและ ศักยภาพการป้องกันประเทศ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 14 การพัฒนา ศักยภาพ การเตรียมพร้อมแห่งชาติ และการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ ระดับชาติ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 15 การพัฒนาระบบข่าวกรองแห่งชาติ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 16 การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง 4. การรั กษาความมั ่ นคงภายในประเทศและ ระหว่างประเทศ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 17 การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ 4 .3.3 การ ยกระดับ ขีดความสามารถ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคง พร้อมทั้ง พัฒนา ศักยภาพ ความมั่นคงของประเทศ เพื่อขยายผลกรอบแนวคิดความมั่นคงแบบองค์รวม โดยกําหนดจุดเน้น และแนวทางสําคัญเชิงลึกของเป้าหมาย ตัวชี้วัด และกลยุทธ์ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมและ เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ทั้งในเชิงประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจน การ จัดหมวด หมู่ เพื่อประโยชน์ในการกําหนดทิศทางและวางน้ําหนัก การขับเคลื่อนตาม 17 นโยบายและแผนความมั่นคง แบ่งออกเป็น 2 หมวด ดังนี้ 1) หมวด ประเด็นความมั่นคง เป็นประเด็น ภัยคุกคามที่ มีผลกระทบและ แนวโน้มความเสี่ยงสูงต่อความมั่นคงแห่งชาติและผลประโยชน์แห่งชาติ รวม 13 นโยบายและแผนความมั่นคง และ 2) หมวด ประเด็น ศักยภาพความมั่นคง เป็นประเด็นเพื่อเสริมสร้าง ศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถของประเทศในการป้องกันและแก้ไขประเด็นความมั่นคงให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น รวม 4 นโยบายและแผนความมั่นคง เพื่อ ให้หน่วยงานของรัฐ มีกรอบจัดทําแผนระดับที่ 3 โดยนําเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่กําหนดไว้ไปกําหนด แผนงาน โครงกา ร หรือการดําเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติ ได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ ( Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) 4.3.4 กรอบ ทิศทางกําหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณของประเทศ เ พื่อให้กลไก งบประมาณ เป็นเครื่องมือสําคัญในการผลักดันนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม เกิดผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์สูงสุดต่อป ระชาชน โดยนําเป้าหมาย ตัวชี้ วัด และ กลยุทธ์ ที่ ต้องการมุ่ งเน้นในแต่ละปีของ 17 นโยบายและแผนความมั่ นคง ผนวก เข้ากับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ ตลอดจนเพื่ อประโยชน์ ใน การพิจารณาสนับสนุนงบประมาณสําหรับแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นเรื่องสําคัญ ที่เกี่ยว กับ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ

  • 22 - 4 .3. 5 การแ ปลงนโยบาย ไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ มุ่งเน้นให้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย ความมั่นคงแห่งชาติ (พ . ศ . 2566 – 2570) สามารถนําไปสู่การถ่ายทอดผ่านการดําเนินงานของหน่วยงานในพื้นที่ โดยมีแผนพัฒนาในระดับพื้นที่ ซึ่งมีสถานะเป็นแผนระดับที่ 3 เป็นจุดเชื่อมต่อยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และแผนระดับที่ 2 ต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ โดยเฉพาะการแปลง นโยบายไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ตําบลเป้าหมาย เพื่อขยายแนวคิดการพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ และแผนตําบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ให้เป็นรูปธรรม โดยมี กลไกการขับเคลื่ อนในระดับพื้น ที่ วางแผนและประสาน การปฏิบัติการดําเนินการร่วมกัน 4.3.6 การเข้ามามีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่ อให้เกิดการบูรณาการการทํางานร่วมกัน ตามแนวทางบู รณาการการทํางานของหน่ วยงานภาครั ฐให้ เป็ นไปในทิ ศทางเดี ยวกั น ( Whole - of - Government Approach) และ แนวทางบูรณาการการทํางานที่ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วม ( Whole - of - Society Approach) ที่ให้ทุกภาคส่วนในสังคม อาทิ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ได้เข้ามา มี ส่วนร่วมตลอดกระบวนการจัดทําและขับเคลื่อนนโยบายและแผนความมั่นคงด้านต่าง ๆ ให้ครอบ คลุมอย่างรอบด้าน ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ 4.3. 7 การใช้หลักการและเครื่องมือทางวิชาการ ตลอดกระบวนการ จัดทํานโยบายและแผน ระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ประกอบด้วย 1) การประเมินสถานการณ์ และบริบทความมั่นคงตามหลัก SWOT Analysis ( วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และผลกระทบต่อประเทศไทย) PESTEL+M ( การจําแนก บริบทความมั่นคงที่เกิดขึ้นในแต่ละด้าน ) Foresight Analysis ( การประเมินแนวโน้มภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น ในห้วง 5 ปีข้างหน้า ) 2) การจัดลําดับความสําคัญ ของประเด็นความมั่นคงที่ใช้เครื่องมือตามห ลักกำรบริหาร ความเสี่ยง ( Risk Matrix ) 3) การตั้ง เป้าหมายและวัดความสําเร็จตามหลักเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สําคัญ ( Objectives and Key Results : OKRs ) และ 4) การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล ตามหลักการบริหารงาน คุณภาพ ( PLAN DO CHECK ACT: PDCA )

  • 23 - ส่วนที่ 2 สถานการณ์ ผลกระทบ และแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงบริบทความมั่นคง ในระยะ 5 ปี

  • 25 - 1 . ความสําคัญ ภูมิยุทธศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ และภูมิเศรษฐศาสตร์ ไทยที่ส่งผลต่อ ความมั่นคงแห่งชาติ ภูมิยุทธศาสตร์ของประเทศไทยพิจารณาจากสภาพที่ตั้งที่มีความสําคัญในภูมิภาค โดย อยู่กลางคาบสมุทร อินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบนคาบสมุทรมลายู มีความเสี่ยงภัยธรรมชาติค่อนข้างต่ําเมื่อเทียบกับ ประเทศ เพื่อนบ้าน และมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้ำนมากที่สุดในภูมิภาค โดย ประเทศไทยมีแนวเขตแดน ทางบกร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมระยะทาง ประมาณ 5 , 671 กิโลเมตร ประกอบด้วย แนวเขตแดนระหว่าง ไทย – สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประมาณ 2,401 กิโลเมตร แนวเขตแดนระหว่างไทย – สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ประมาณ 1,810 กิโลเมตร แนวเขตแดนระหว่างไทย – ราชอาณาจักรกัมพูชา ประมาณ 798 กิโลเมตร และแนวเขตแดนระหว่างไทย – มาเลเซีย ประมาณ 662 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ข องประเทศเป็นเนินเขาและภูเขาสูง จากตําแหน่งที่ตั้งของประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทย มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อาทิ ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งมีพื้นที่มากถึง 2 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศ ทรัพยากรน้ํา ที่มีเพียงพอต่อการเกษตร ทรัพยากรเชื้อเพลิงและแร่ธาตุต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีความหลากหลายทางชีวภาพ ของพืชและสัตว์อันเป็นรากฐานการผลิตในภาคเกษตรกรรม ทางด้านทะเล ประเทศไทย มีแผ่นดินติดกับทะเล 2 ด้าน คือ ด้านตะวันตกติดกับทะเลอันดามัน และ ช่องแคบมะละกา ส่วนด้านตะวันออกติดกับอ่าวไทย โดยมีอาณาเขตทางทะเลประมาณ 323,488.324 ตารางกิโลเมตร มีความยาวชายฝั่งทะเล 3,010 กิโลเมตร ด้านอ่าวไทย 1 , 972.5 กิโลเมตร และด้านอันดามัน 1,037.5 กิโลเมตร โดยประกอบด้วยเขตต่าง ๆ ในทะเล คือ น่านน้ําภายใน ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง เขต ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจําเพาะ และเมื่อพิจารณาที่ ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยแล้วจะเห็นได้ว่า น่านน้ําด้านตะวันออก ของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของอ่าวไทย โดยมีลักษณะเป็นทะเลกึ่งปิด ซึ่งมี เขตทางทะเล ที่ประชิดและตรงข้ามกับกัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย และเชื่ อมต่อกับทะเลจีนใต้ ด้านตะวันออก ในส่วนของน่านน้ําด้านตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดระนอง ถึงแหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต เป็นส่วนหนึ่งของทะเลอันดามัน และตั้งแต่แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต ถึงจังหวัดสตูล เป็นส่วนหนึ่งของช่องแคบมะละกา โดยฝั่งอันดามัน ประเทศไทยมีเขตทางทะเลประชิด และตรงข้ามกับมาเลเซีย เมียนมา อินโดนีเซีย และอินเดีย แม้พื้นที่ทางทะเลของไทยจะไม่อยู่ในเส้นทางเดินเรือสากล แต่การเป็นรัฐชายฝั่ งที่มีทางออกสู่ทะเล ทั้งสองด้ำน ทําให้ไทยได้รับประโยชน์ โดยมีแหล่งประมงนอกน่านน้ําไทยครอบคลุมพื้นที่ทั้งทะเลจีนใต้ ช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันด้านสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ นอกจากนี้ การสํารวจ ยัง พบว่าใต้ท้องทะเลบริเวณอ่าวไทยมีแหล่งปิโตรเลียมกระจายอยู่ทั่วไปที่สามารถจะนํามาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยตั้งอยู่ในบริเวณเส้นทางคมนาคมที่สําคัญของโลก เป็นจุดเชื่อมต่อ ระหว่าง มหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก มีความสําคัญทางยุทธศาสตร์ต่อประเทศใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ต่อประเทศมหาอํานาจ โดยมีความได้เปรียบด้านยุทธศาสตร์การคมนาคมและมีที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ มีแนวทางพัฒนาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจเหนือ - ใต้ และเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก ซึ่งได้ส่งผล ให้เกิดความร่วมมือต่าง ๆ หลายด้านจํานวนมาก หลักแห่งอํานาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน ยังคง เป็นพื้นฐานที่สําคัญยิ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ พิจารณาได้จากการสร้าง สมดุลอํานาจทางทหารในภูมิภาคยังคงปรากฏเป็นการสะสมสรรพอาวุธในคลัง และการจัดหา

  • 26 - อาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ เพื่อ ใช้ดําเนินกิจกรรมทางทหารในภูมิภาค การ ฝึกซ้อมร่วมกัน หรือเพื่อใช้ในปฏิบัติการ ช่วยเหลือ ทางมนุษยธรรม ในขณะที่พื้นที่ทางทะเลมีความสําคัญเพิ่มขึ้นจากกิจกรรมเชิงพาณิชย์มีแนวโน้มพัฒนา เป็น กิจกรรมทางการทหารและความมั่นคงด้วย ทั้งในเรื่องการปฏิเสธการใช้ทะเลอันเป็นความเ สี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ ขีดความสามารถขั้นสูงจากประเทศชายฝั่งโดยรอบ การพัฒนาศักยภาพการจัดหาเรือขนาดใหญ่ที่ใช้ปฏิบัติการ ในทะเล การขยายขีดความสามารถตั้งแต่ชายฝั่งไปจนถึงอวกาศในด้านการเฝ้าระวัง การสื่อสาร และการป้องปราม ตลอดจน ระดับน้ําทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจาก การเปลี่ยนแปลง ของ สภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ และการกระทําของมนุษย์ที่จะส่งผลต่อ สภาพทางด้านอธิปไตยและเขตแดน อันก่อใ ห้เกิดการหดหายของพื้นที่ชายฝั่ง การจมตัวของเกาะขนาดเล็กที่มีลักษณะราบต่ํา รวมถึงการเพิ่มขึ้น ของพื้นที่จำกการถมทะเล อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อน ความเสื่อมโทรมของ ระบบนิเวศ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดก่อให้เกิดนวัตกรรม อย่างพลิกผัน รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์กำรแพร่ระบาดของโรค โควิด - 19 ทําให้ ความสัมพันธ์เชิง พื้นที่ กายภาพลดลง และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขอบเขต ความสัมพันธ์ทางภูมิยุทธศาสตร์ ที่เชื่อมโยงกับ ภูมิรัฐศาสตร์และ ภูมิเศรษฐศาสตร์ โดยบริบทและแนวโน้มมิติความมั่นคงจะเป็นการผสมผสาน ระหว่าง ภัยคุกคาม รูปแบบเก่ากับ ภัยคุกคาม รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า “ ภัยคุกคาม แบบผสม ผสาน ” โดยมีปัจจัยเร่งที่สําคัญอันเกิดจากความไม่ชัดเจน ของ พื้นที่ทางไซเบอร์ การเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถ ในพื้นที่ ทางอวกาศ ที่ ส่งผลต่อ ความได้ เปรียบ เชิงเปรียบเทียบให้กับประเทศที่มี เทคโนโลยีและยุทธวิธี สูง อาทิ ดาวเทียมที่เพิ่มศักยภาพในการนําทาง การสื่อสาร และการตระหนักรู้สถานการณ์ในสนามรบตามเวลาจริง จึงจําเป็นต้องพิจารณา ในกรณี พื้นที่ทาง อวกาศ ถูกใช้เป็น พื้ นที่ การแข่งขันและขยายอิทธิพลที่ มีความเป็นไปได้ ในการ เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ สงครามอิเล็กทรอนิกส์ หรือการโจมตีแบบปฏิบัติการในอวกาศต่อทรัพยากร สนับสนุนหรือต่อภาคพื้นดิน นอกจากนี้ ประเทศมหาอํานาจ มีการขยายอิทธิพลของการสร้างระบบภูมิรัฐศาสตร์ และภูมิเศรษฐศาสตร์ใ นภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิกมากขึ้น อาทิ การแข่งขันด้านทรัพยากร และ การเป็นศูนย์กลางคมนาคม ทําให้ แต่ละประเทศจะสร้างความร่วมมือ แบบเฉพาะกิจ ที่ มีความยืดหยุ่ นกับประเทศอื่ น ๆ ที่ มี ผลประโยชน์สอดคล้องกัน หรือ การระดม สรรพ กําลัง และสนับสนุนประเทศใด ประเทศหนึ่งในการต่อต้านประเทศอื่นในกรณีที่ผลประโยชน์ขัดแย้งกัน การ ใช้เครื่องมือ ทางเศรษฐกิจในการสนับสนุน ส่งเสริมและปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ตลอดจน การ สร้างผลกระทบต่อ การดําเนินการด้านเศรษฐกิจของชาติอื่น ๆ และต่อเป้ำหมายทางการเมืองของประเทศตนเอง ดังนั้น การมีจุดที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ที่สําคัญ ประกอบกับบริบทและสภาพแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก ประเทศมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีพลวัตสูง และมีความซับซ้อนหลากหลายมิติ ทําให้ ประเทศไทย จําเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมและบริหารจัดการความเสี่ยง ผลกระทบจากกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมระหว่างประเทศ อัน ส่งผลต่อการ กําหนดทิศ ทาง เพื่ อ ป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงของประเทศ ให้สามารถ ปรับตัวและแสวงหาโอกาสในการ เชื่อมโยงบทบาท ที่เหมาะสมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ภูมิภาค ประเทศมหาอํานาจ และขั้วอํานาจต่าง ๆ

  • 27 - 2. การประเมินขีดความสามารถของประเทศเพื่อเสริมสร้างกําลังอํานาจของชาติ การเสริมสร้าง กําลังอํานาจของชาติ ใ ห้ความสําคัญกับการ ประเมิน ศักยภาพ และ ขีดความสามารถ ของประเทศ เพื่อให้สามารถกําหนดกรอบทิศทาง เชิงนโยบายของปัญหาความมั่นคงเร่งด่วน ที่จะต้องดําเนินการแก้ไข โดยพิจารณาเชิงเปรียบเทียบ กับต่างประเทศ เพื่อ กําหนดจุดยืนหรือตําแหน่งของประเทศ ในมุมมอง บริบทแวดล้อม 6 มิติ ดังนี้ 2 . 1 กําลังอํานาจทางการเมือง จําเป็น ต้องรักษา เสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศตาม ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรง เป็นประมุข โดยมุ่งลดความขัดแย้งจากทัศนะทางการเมือง การดําเนินกิจกรรมของกลไกทางการเมืองเพื่อให้เกิด การยอมรับและเชื่อมั่นศรัทธาจากประชาชน ในขณะที่ การเมืองต่างประเทศ ยังคงสามารถรักษาดุลยภาพความสัมพันธ์กับประเทศรอบบ้าน อาเซียน และประเทศมหาอํานาจ และคงบทบาทอย่างส ร้างสรรค์ในเวทีโลก ซึ่งสถาบัน Lowy Institute ได้รายงานดัชนีชี้ วัดสากล Asia Power Index ประจําปี 2564 ประเทศไทย มีอํานาจแบบองค์รวม (Comprehensive Power ) อยู่อันดับที่ 10 จากทั้งหมด 26 ประเทศ ใน ภูมิภาค เอเชีย - แปซิฟิก 2 . 2 กําลังอํานาจทางเศรษฐกิจ ผลจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก การพึ่งพาการลงทุนและการท่องเที่ยว จากต่างประเทศ การขาดแคลนแรงงานในระยะยาว แล ะความสามารถด้านการผลิตและส่งออก ในภาวะวิกฤตการณ์ การแพร่ระบาดของโรค โควิด - 19 ส่งผลให้ สถาบัน Institute for Management Development (IMD) จัดอันดับ ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยประจําปี 256 4 อยู่อันดับที่ 28 จากทั้งหมด 64 ประเทศ ทั่วโลก 2 . 3 กําลังอํานาจทางสังคมจิตวิทยา คนรุ่นใหม่มีแนวโน้มเป็นพลเมืองสากลมากขึ้น มีทัศนคติต่อมุมมอง มิติทางวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณี จารีต ศาสนา เป็นทางเลือกดําเนินชีวิตมากกว่ากฎระเบียบที่กําหนด วิถีชีวิต ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลแต่ ก็ มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูงขึ้น และให้ความสําคัญ กับพื้นที่ส่วนตัว นอกจากนี้ อิทธิพลทางวัฒนธรรมความเป็นไทย อาทิ การท่องเที่ยว อาหาร ดนตรี และผลงานศิลปินของไทย ที่ ผสมผสานความเป็นไทยกับความเป็นสากล ได้เป็นปัจจัยสนับสนุนพลังอํานาจแบบอ่อน (Soft Power ) ที่ เชื่อมโยงและส่งผ่าน ไปยัง สังคมของโลกไร้พรมแดนมากขึ้น โดย รายงานของ US News and World Report ในปี 2564 จัดอันดับให้ไทยอยู่ที่ 28 จากทั้งหมด 78 ประเทศทั่วโลก โดยเป็นประเทศที่มีการเยี่ยมเยือน ของต่างชาติสูงที่สุด ในขณะเดียวกันรายงานดัชนีชี้วัดสากล Asia Power Index แสดงอันดับที่ดีขึ้นของไทย ในทิศทางเดียวกัน อยู่อันดับที่ 6 จากทั้งหมด 26 ประเทศ ใน ภูมิภาค เอเชีย - แป ซิฟิก 2.4 กําลังอํานาจทางทหาร ยังคงเป็นกําลังอํานาจหลักในการรักษาความมั่นคง แห่งชาติ อธิปไตย และผลประโยชน์แห่งชาติ ที่จําเป็นต้องมีขีดความสามารถในการจัดเตรียมกําลังพลและศักยภาพของกองทัพ ให้มีความพร้อมสําหรับภารกิจต่าง ๆ ทั้งยามสงบและสงคราม โดย ธนาคารโลก ได้อ้างอิง ข้อมูลจากสถาบัน Stockholm International Peace Research Institute (SIPRI ) พบว่า ไทยมี ค่าใช้จ่ายด้านการทหาร (SIPRI Military Expenditure Database ) ในปี 2564 คิดเป็น ร้อยละ 1.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งอยู่ในระดับเกณฑ์ปานกลางเมื่อเทียบกับประเทศอื่น 2.5 กําลังอํานาจทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การเปลี่ยน ผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลทําให้ไทยต้อง เร่งพัฒนา เทคโนโลยีและ นวัตกรรมให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเชื่อมโยงและเข้าถึงผ่าน ระบบข้อมูลขนาดใหญ่

  • 28 - ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมถึงการให้ความรู้ด้านจริยธรรม กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อลด ปัญหา การใช้เทคโนโลยีในทางที่มิชอบและส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐ โดยในปี 256 4 สถาบัน Institute for Management Development (IMD) จัดอันดับขีดความสามารถในการแ ข่งขันทางดิจิทัล ของ ไทยอยู่อันดับ ที่ 3 8 จากทั้งหมด 64 ประเทศทั่วโลก 2.6 กําลังอํานาจ ทาง ทรัพยากรมนุษย์ ข้อมู ลของสํานักงานสถิติแห่งชาติในปี 2564 รายงานว่า จํานวนประชากรไทยจากการทะเบียนทั่ วราชอาณาจักรมีประมาณ 66 ล้านคน ประกอบกับการอ้างอิง ตำมหลักประชากรศาสตร์ (Demographic Segmentation ) ทั้งในเรื่อง อายุ เพศ รายได้ การศึกษา ครอบครัว ศาสนา สถานะทาง สังคมและเศรษฐกิจ พบว่าแนวโน้มในห้วง 5 ปีถัดไป ประเทศไทยจะเผชิญปัญหาสัดส่ วน ช่วงอายุของประชากรที่ไม่สมดุล โดยในปี 2563 มีจํานวนประชากรผู้สูงอายุรวมกว่า 11.6 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 17.57 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าภายในปี 2566 ไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัย อย่าง สมบูรณ์ที่มีประชากรอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 20.1 ของประชากรทั้งหมด สวนทางกั บประชากร วัยเรียนและวัยแรงงานที่มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 3 – 21 ปี ที่จะมีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่องจนเหลือเพียง ร้อยละ 20.66 ของประชากรทั้งหมดในปี 2570 หรือลดลงกว่า 715,000 คน ด้วยเหตุนี้ การเข้าสู่สังคมสูงวัย ย่อม ส่งผล ต่อ ปัญหาความเหลื่อมล้ํา การขาดแคล นกําลังแรงงานในประเทศที่ตอกย้ําความจําเป็นในการพึ่งพา แรงงานต่างชาติมากขึ้น ภาระทางการคลังในด้านการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ รวมทั้งปัญหาความมั่นคงอื่น ๆ ที่จะทวีความรุนแรง มีความซับซ้อน และส่งผลกระทบในวงกว้างมากขึ้น เช่น ผู้หลบหนีเข้าเมือง และผู้โยกย้าย ถิ่นฐานแบบไม่ปกติ การค้ามนุษย์ ยาเสพติด เป็นต้น จึงจําเป็น ต้อง มี การวางแผนเพื่อบริหารจัดการกําลังคนวัยต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงตามโครงสร้างประชากร ดังนั้น การจัดทํานโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) จึงได้นําองค์ประกอบกําลังอํานาจของชาติดังกล่าวมากําหนดทิศทางให้ครอบคลุม การ ปกป้องความมั่นคงแห่งชาติ และความปลอดภัยของประชาชนจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ กำร เสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนและความเข้มแข็งของชุมชนฐานราก ตลอดจน ส่งเสริมค่านิยมประชาธิปไตย ความเท่าเทียม เสมอภาค และสิทธิมนุษยชน 3. ความเปลี่ยนแปลงบริบทความมั่นคง ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญความเสี่ยงหลายประการที่มีความเชื่อมโยงระหว่างกัน ซึ่ง สามารถส่งผลกระทบ ต่อความมั่นคงในหลายระดับ เนื่องจากลักษณะของ ภัยคุกคามมี ความผันผวน ความไม่แน่นอน ความสลับซับซ้อน และความ คลุมเครือ อันเป็นผลมาจากปัจจัยภายในประเทศและปัจจัยระหว่างประเทศ ส่งผลให้สถานการณ์ ที่จะเกิดขึ้นมีความรุนแรงและยากจะคาดการณ์ รูปแบบภัยคุกคามจะมีความหลากหลาย และมีลักษณะผสมผสาน ปัญหาข้ามพรมแดนแปรผันตามความสัมพันธ์ระหว่างป ระเทศที่มีความซับซ้อน ทั้งที่เป็นผลสืบเนื่องมาจาก สถานการณ์ แพร่ ระบาดของโควิด - 19 และ แนวโน้มสถานการณ์ในระดับโลก (Megatrends ) ทําให้ กรอบการประเมิน สถานการณ์และแนวโน้มความมั่นคง ได้ใช้กระบวน การวิเคราะห์ด้านการคาดการณ์อนาคตเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อประเมินความเสี่ยง ภัยคุกคาม ที่ จะ ส่งผลต่อความมั่นคง ของประเทศในห้วง 5 ปี ระหว่าง พ . ศ . 2566 – 2570

  • 29 - โดยพิจารณาจากมุมมอง ผลกระทบภายนอกที่ส่งผลต่อไทย และมุมมองสถานการณ์ภายในประเทศที่ส่งผลต่อ ภายนอก แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับโลก 2) ระดับภูมิภาค และ 3) ระดับประเทศ 3 .1 ความ เปลี่ยนแปลงบริบทความมั่นคงในระดับโลก ในห้วงที่ผ่านมามี การแข่งขันระหว่าง ประเทศมหาอํานาจ และ ขั้วอํานาจต่าง ๆ ของโลกอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันของ ประเทศ มหาอํานาจอย่างสหรัฐอเมริกา เพื่อ สกัดกั้นอิทธิพลของ จีน ในขณะเดียวกัน หากสถานการณ์ความขัดแย้งหรือ วิกฤตการณ์การสู้รบของประเทศมหาอํานาจหนึ่งที่มีต่อประเทศอื่นมี สัญญาณบ่งชี้ ขยาย ผลกระทบ ในวงกว้าง ไปสู่ ระดับโลกได้ ทั้งในเรื่องการแสดงท่าทีและการดําเนินการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การดําเนินนโยบายรองรับการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานโลก ซึ่ งประเทศไทยจําเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมรับมือ วิกฤตการณ์ความมั่นคงดังกล่าว เพื่อลดความเสี่ยงต่อความมั่นคงแห่งชาติและคุณภาพชีวิตของคนในชาติ นอกจากนี้ แนวโน้ม การรวมกลุ่ม ของขั้วอํานาจต่าง ๆ ได้มีการ ต่อรองผลประโยชน์ร่วมกัน และเร่งรัดกระบวนการแยกตัว (decoupling ) ของระบบ การเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีระหว่างกลุ่มประ เทศต่าง ๆ ให้ชัดเจน และรวดเร็วยิ่ง ขึ้น อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มการรวมกลุ่มกันในรายประเด็นผลประโยชน์ที่มีความเชื่อมโยงทับซ้อนกั น ระหว่างประเทศในแต่ละขั้วอํานาจ ไม่ได้แยกออกจากกันโดยสิ้นเชิงด้วย โดยมีแน วโน้มการแข่งขันเพื่อขยายอิทธิพล ที่สําคัญ คือ 1) การสะสมอาวุธและการแพร่ขยายอาวุธ และ 2) การแสวงประโยชน์จากความก้าวหน้า ทาง เทคโนโลยี และ นวัตกรรม แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ตลอดห้วงที่ผ่านมา จะส่งผลให้การเคลื่อนไหว ของ กลุ่ม ก่อการร้าย ต่าง ๆ ลดน้อยลง แต่กลุ่มก่อการร้ายมีแนวโน้มปรับรูปแบบการก่อเหตุในลักษณะของปฏิบัติการ โดยลําพัง ( Lone Actor) รวมถึงมุ่งเน้นการเผยแพร่ / บ่มเพาะแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงมากขึ้น กลุ่มก่อการร้าย อาจใช้ไทยเป็นสถานที่พักพิงและอํานวยความสะดวกเพื่อตระเตรียมก่อเหตุไปจนถึงขั้นก่อเหตุ อีกทั้งการก่อการร้าย ยังเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมอื่น ๆ ดังนั้น ไทยจําเป็นต้องมีแนวทางการเตรียมพร้อม เพื่อรับมือและต่อต้านการก่อการร้าย ทุกรูปแบบ และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน ได้เป็นปัจจัยเร่งให้วิถีชีวิตของประชาชนต้องพึ่งพิง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มากขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงไปสู่ การ ก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ โดย ไทย มีแนวโน้มเผชิญ กับสถานการณ์การโจมตีทางไซเบอร์และอาชญากรร ม ทางไซเบอร์ รวมถึงมีการละเมิดข้อมูล หรือการเข้าถึงข้อมูล โดยไม่ได้รับอนุญาตจะเพิ่มขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทําให้องค์กรและรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกู้คืน ในขณะเดียวกันไทย สามารถใช้โอกาสจากความก้าว หน้าทางเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี การป้องกันประเทศ เพื่อนําไปใช้ในการป้องกันและการ สืบสวนอาชญากรรม ทาง ไซเบอ ร์ รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือ กับประชาคมระหว่างประเท ศในการป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อป้องกัน การโจมตีโครงสร้าง พื้นฐานสําคัญ และโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ รวมถึง อาชญากรรมทางไซเบอร์ และ การก่อการร้าย ปัจจัยทางชีวภาพของเชื้อโรคที่มีวิวัฒนาการอย่างสม่ําเสมอ การดื้อยาต้านจุลชีพ พฤติกรรมของมนุษย์ ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ โรคติดต่อ อุบัติใหม่และภัยสุขภาพต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะโรคติดต่ออุบัติใหม่มี แนวโน้มยกระดับเป็นโรคระบาดที่เป็น

  • 30 - โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคแน่ชัด ซึ่งอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง หรือมีภาวะของการเกิดโรคมากกว่าปกติที่เคยเป็นมา ที่ส่งผลต่อวิกฤตการณ์ความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะ ผล กระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางสุขภาพต่อสุ ขภาวะของคนในชาติ อาทิ การนําเข้าอาหาร ยารักษาโรค และเครื่องมือทางการแพทย์ นอกจากนี้ สถานการณ์และผลกระทบดังกล่าวยัง เป็น ช่องทางให้ประเทศ ต่าง ๆ แสวงประโยชน์ผ่านความร่วมมือทางด้าน การแพทย์และ สาธารณสุขเพื่อเสริมบทบาทนําในเวทีระหว่างประเทศ สําหรับไทยควรมีการ เสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถ การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และโรคติดต่ออุบัติใหม่ พร้อมทั้งนวัตกรรมและการบริหารจัดการทรัพยากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพ ร่ระบาด และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นในอนาคต ผลกระทบ จากการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน มีความเกี่ ยวข้องกับ มิติความมั่นคง หลายประการ และเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเปราะบางของปัญหาที่มีอยู่เดิม ดังนี้ 1) ปัญหาระดับ น้ําทะเล ที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อ การกัดเซาะบริเวณชายฝั่งทําให้เส้นฐาน (Baseline) ที่ใช้ในการกําหนดเขตพื้นที่ดังกล่าว ถอยร่นตามแนวน้ําที่สูงขึ้นจากตําแหน่งเดิม 2) ปัญหา การขาดแคลนและแย่งชิงทรัพยากรน้ํา 3) ปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐาน 4) ปัญหาความมั่นคงทางอาหารและน้ํา และ 5) ปัญหาความมั่นคงทางพลังงาน คาดการณ์ว่าจํานวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 พันล้านคนภายในปี 2030 และภายในปี 2050 ร้อยละ 80 ของประชากรโลกที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปจะอยู่ในประเทศกําลังพัฒนา โดย การเปลี่ยนแปลงทาง ภูมิประชากรศาสตร์ ได้ส่งผลให้ไทยจะ เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ นํามาซึ่งความท้าทาย ต่อความ มั่น คง ของประเทศ ทั้งในเรื่องปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาการค้ามนุษย์อันเป็นผลมาจาก ความต้องการด้านแรงงานที่เพิ่มขึ้น การขาดระบบสวัสดิการที่เพียงพอ ปัญหาสุขภาพจิตใจของผู้สูงวัยจากการถูกแยก ออกจาก ภาคเศรษฐกิจและสังคม รวม ถึงปัญหาช่องว่าง ระหว่างวัยที่นําไปสู่การปะทะกันทางความคิดและความแตกแยกในสังคม 3 .2 ความ เปลี่ยนแปลงบริบทความมั่นคงในระดับภูมิภาค สภาพ ที่ตั้งของภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการเป็นเส้นทางคมนาคมและแหล่งทรัพยากร พลังงานที่สําคัญส่งผลให้ มีแนวโน้ม การแข่งขัน และขยายอิทธิพล เชิงยุทธศาสตร์ระหว่าง ประเทศมหาอํานาจ และขั้ว อํานาจต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ กรณี 2 พื้นที่สําคัญ คือ 1) กรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ แม้ไทยจะไม่ใช่คู่ขัดแย้งในประเด็นพิพาทโดยตรง แต่เป็นผู้ใช้เส้นทางการเดินเรือพาณิชย์ผ่านพื้นที่ดังกล่าว จึง ย่อม ได้รับผลกระทบ หากเกิดการใช้กําลังทหาร หรือเหตุกระทบกระทั่งแบบไม่เจตนา จนถึงขั้นกระทบกับ ผลประโยชน์ของชาติ ที่ ต้องใช้ทะเลในบริเวณพื้ นที่ ความขัดแย้งเป็ นเส้นทางในการขน ส่งสินค้าทางทะเล เพื่อเข้าและออก ประเทศไทยได้ และ 2) กรณีอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่นานาประเทศใช้ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทรัพยากรน้ําในลุ่มน้ําโขง ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และประชาชนที่อาศัยทรัพยากรธรรมชาติในการดําเนินชีวิต รวมถึงความปลอดภัยในการคมนาคมทางน้ํา และการปล่อยสารพิษลงในน้ํา เนื่องด้วยความแตกต่างด้านค่านิยม วัฒนธรรม ระดับการพัฒนา ระบบการปกครอง จึ งเป็น ความท้าทายของอาเซียน ในการมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ที่อาจส่งผลต่อปัญหาและความท้าทายที่สําคัญ

  • 31 - ไม่ว่าจะเป็น การป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ความมีเอกภาพ ความเป็นแกนกลาง และ มุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด - แปซิฟิก (ASEAN Outlook on Indo - Pacific: AOIP) แนวโน้มประเทศมหาอํานาจจะเข้ามามีบทบาท ต่อ สถานการณ์ความมั่นคงในประเทศรอบบ้าน ในมิติด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในกรณีสถานการณ์ความขัดแย้งภายในของประเทศรอบบ้านมีการแทรกแซง จากภายนอกอันเป็นผลจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายใน คาดการณ์ได้ว่านานาชาติอาจเพิ่ม การกดดันเพื่อเร่งให้สถานการณ์คลี่คลาย ซึ่ งไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ตึงเครียดตาม แนวชายแดนในการเป็ นพื้นที่รองรับผู้ได้รับผลกระทบ หรือการใช้ไทยเป็นทางผ่านไปยังประเทศอื่น รวมถึงความพยายาม ที่จะให้ไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในประเด็นความขัดแย้ง ตลอดจนผลกระทบทางเศรษฐกิจและการค้าชายแดนของไทย สถานการณ์ความมั่นคง ทาง ชายแดน จะยังคงมีความแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่และ ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับมิติต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศโดยรวม โดย ยังคงพบปัญหา ที่สําคัญ ทั้งในเรื่อง อาชญากรรมข้ามชาติในพื้นที่ชายแดน แรงงานผิดกฎหมายและการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ความไม่ชัดเจนข องเส้นเขตแดน และ ปัญหาโรค ระบาดในพื้นที่ ชายแดน ในขณะที่ การดําเนินกิจกรรม ความมั่นคง ทางทะเล ของภูมิภาค จําเป็น ต้องเฝ้าระวังการแย่งชิงผลประโยชน์ และการแข่งขัน ทางทะเล ความปลอดภัย และ อาชญากรรม ทางทะเล ปัญหา สิ่งแวดล้อมทางทะเล ดังนั้นการดําเนินนโยบายทางทะเล จําเป็นจะต้องเสริมสร้าง องค์ความรู้และความตระหนักรู้เกี่ยวกั บความสําคัญของทะเลอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ แนวโน้ม ความมั่นคง ทางอากาศและอวกาศ จะกลายเป็ นสนามการแข่งขันที่สําคัญยิ่งขึ้น ผ่านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี กําลังทางอากาศต่าง ๆ โดย ไทยสามารถแสวงหาโอกาสจากความร่วมมือเพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติได้ โดยเตรียมพร้อมทรัพยากร กา รพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนการส่งเสริมและแลกเปลี่ยนงานวิจัยและนวัตกรรม ทั้งภายในประเทศ ประเทศต่าง ๆ และสถาบันหรือองค์การระหว่างประเทศ ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นปัญหาความมั่นคงที่สําคัญในภูมิภาคและมีความซับซ้อนเชื่อมโยง ระหว่างประเทศมากขึ้น โดยมีประเด็นสําคัญที่ควรเฝ้าระวัง ทั้งในเรื่อง การลักลอบค้ายาเสพติด การปลอมแปลง เอกสาร และหลักฐานเกี่ยวกับตัวบุคคล การลักล อบเข้าเมือง การค้า มนุษย์ และ การฟอกเงิน ปั ญหาการก่อการร้ายและปัญหาจากการบ่มเพาะแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง ยังเป็นปัญหา ความมั่ นคงที่ สําคัญของภูมิภาค เพื่ อแสวงหาแนวร่วมในอนาคตโดยเฉพาะผ่านการใช้สื่ อสังคมออนไลน์ ในขณะเดียวกัน สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายในภูมิภาคตะวันออกกลางและในอัฟกานิสถาน ที่ยัง ไม่แน่นอน มีสัญญาณแนวโน้มส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายของนักรบก่อการร้ายต่างชาติ ( Foreign Terrorist Fighter s) และ การก่อเหตุของผู้ปฏิบัติการโดยลําพัง ทําเลที่ตั้งของไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางการเดินทางระหว่างประเทศ ที่สําคัญในภูมิภาคอาจถูกใช้เป็นทางผ่าน แหล่งพักพิงและแหล่งจัดหาวัสดุอุปกรณ์ และมักจะก่อเหตุ ในพื้นที่เปราะบาง 3 . 3 ความเปลี่ยนแปลงบริบทความ มั่นคงในระดับประเทศ ความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ ประกอบด้วย 3 สถาบันสําคัญ ได้แก่ 1) สถาบันชาติ ไทยเข้าสู่ความเป็นพหุสังคมมากขึ้น และ มีการแสดงพลังในการเรียก ร้องสิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงได้รับตามกรอบของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม กระแสการเปลี่ยนแปลงที่ รวดเร็ว มีแนวโน้ม ก่อให้เกิด ความไม่เข้าใจในอัตลักษณ์ และความหลากหลาย

  • 32 - ระหว่างกลุ่ม ซึ่งส่งผลกระทบต่อความปรองดองสมานฉันท์ของคนในสังคมและความมั่นคงของชาติในภาพรวมได้ 2) สถาบันศาสนำ ความเข้าใจในหลักคําสอนที่แตกต่างออกไปเป็นปัจจัยที่นําไปสู่ความไม่เข้าใจระหว่างกัน และการบิดเบือนคําสอนของแต่ละศาสนาในประเทศ ดังปรากฏความขัดแย้งที่เห็นต่างระหว่าง ชนต่างศาสนิก ในบางพื้นที่ แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สามารถแก้ไขร่วมกันตามแนวทางสันติวิธีในพื้นที่ได้ และ 3) สถาบันพระมหากษัตริย์ มีความสําคัญและผูกพันกับสังคมไทยมาตลอดประวัติศาสตร์ของประเทศในการเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ เนื่องมาจากสมเด็จพระบูรพมหากษัตริ ยาธิราชทุกพระองค์ ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ ต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทยอย่างเป็นอเนกประการ ทั้งนี้ บริบทและสถำนการณ์ของสังคมสมัยใหม่ จําเป็นต้องสร้างพื้นที่พูดคุยและการแลกเปลี่ยนมุมมองอย่างสันติ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนัก ถึง การธํารงรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จุดเปลี่ยนสําคัญ ของ สถานการณ์การเมืองภายในประเทศ เป็นผลสืบเนื่อง จากประชาชนที่ มี ความหลากหลาย ทาง อายุ อาชีพ และสถานะทางสังคมเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นในการแสดงทัศนะ ต่อปัญหา เชิงโครงสร้าง สถาบันทางการเมือง โอกาสและการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ความยากจน ความเหลื่อมล้ํา สิทธิมนุษยชน และการชุมนุมประท้วง อย่างไรก็ตาม บุคคลหรือกลุ่มบุคคลอาจใช้ เครื่องมือ เทคโนโลยีผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ เป็นช่องทางในการ ปลุกระดมมวลชนด้วยการบิดเบือนข้อมูล หรือ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเป็นเท็จ ดังนั้น สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาจึงมีบทบาทสําคัญ ในการวางรากฐานเพื่อลดหรือขจัดเงื่อนไขที่ส่งผลต่อ ความมั่นคงของประเทศ เงื่อนไขที่มีความละเอียดอ่อน ซับซ้อน และเชื่ อมโยงกันได้ส่งผลต่อ ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งใน ระดับบุคคล ระดับโครงสร้าง และ ระดับวัฒนธรรม โดย แนวโน้มสถานการณ์ ระยะต่อไป การก่อเหตุรุนแรงลดลง แต่จะมีความเคลื่อนไหวทางการเมืองมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาภัยแทรกซ้อน ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาความหวาดระแวงและความเข้าใจระหว่างกัน ยังคงเป็นปัญหาที่เชื่อมโยง และส่งผลกระทบในพื้นที่อย่างมีนัยสําคัญ การโยกย้ายถิ่นฐานเป็นปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก ซึ่ง ที่ผ่านมาไทยได้รับผลกระทบ ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง จากประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มที่อพยพเข้ามานานและไม่สามา รถ เดินทางกลับประเทศต้นทางหรือออกไปยังประเทศที่สามได้จึงยังตกค้างอยู่ในประเทศไทย กลุ่มที่อพยพเข้ามา เพื่อแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจ กลุ่มที่อพยพเข้ามาเนื่องจากสถานการณ์ความไม่มั่นคงจากประเทศ และ กลุ่มอื่น ๆ ที่เป็น กลุ่มคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย แต่มีการลักลอบอาศัยอยู่ในไทยต่อภายหลัง และกลุ่มที่ปลอมแปลงเอกสารเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ประเทศไทยอยู่ในสถานะเป็นทั้งประเทศต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของกระบวน การค้ามนุษย์ โดย ผู้ค้ามนุษย์เปลี่ยนรูปแบบการกระทําความผิดของตนมาดําเนินการที่ผิดกฎหมายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ผ่าน การค้าประเวณี การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ และ การหลอกลวงโฆษณาจัดหางาน อีกทั้งการเคลื่อนย้าย แรงงานโดยผิดกฎหมายยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศไทยจําเป็นต้องเพิ่มมาตร การในการคัดแยกผู้เสียหา ย ตามชายแดนมากขึ้น และยกระดับมาตรการต่อต้านการค้ามนุษย์ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

  • 33 - ปัจจัย อุปทานสูงขึ้นส่งผลต่อ ความเชื่อมโยงกับสถานการณ์ ปัญหายาเสพติด โดยสารตั้งต้นและ เคมีภัณฑ์ยังคงสามารถลําเลียงเข้าสู่แหล่งผลิตได้ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตเป็นอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ที่ดําเนินการโดยองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ แม้ว่าจะมีมาตรการป้องกัน แก้ไข และปราบปราม แต่ ยัง พบว่าผู้เข้าสู่วงจรยาเสพติดรายใหม่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งผู้เสพและผู้ค้า ตลอดจน ผู้กระทําผิดซ้ํา อันเกิด จาก ปัจจัยมุมมองของสังคมต่อผู้เสพ และผู้ต้องโทษคดียาเสพติดที่เอื้อให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถมีโอกาสใช้ชีวิตในสังคม นอกจากนี้ ขบวน การ ค้ายาเสพติดยังคงสรรหาวิธี การเพื่ อหลี กเลี่ ยงการจั บกุ ม และ แนวโน้มการขยายตัว ของอาชญากรรม ทางไซเบอร์มีความเกี่ยวเนื่องกับปัญหาการค้ายาเสพติดที่ใช้ช่องทางบล็อกเชน (Blockchain) ในการซื้อและขาย แม้ว่าในห้วงที่ผ่านมาภาครัฐมีความพยายามแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังผ่านการบริหาร จัดการบ้านเมืองที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาล แต่จากการจัดอันดับความโปร่งใสของไทยและอันดับการรับรู้ การทุจริต ของประเทศ ได้สะท้อนให้เห็นว่า สถานการณ์การทุจริต คอ ร์ รัปชัน ของประเทศยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทุจริตในภาครัฐที่มีการกระจายตัว ไปยังทุกระดับของสังคม ซึ่งทําให้สาธารณชนเห็น ว่า การทุจริตเป็นเรื่องปกติ อีกทั้งกา รทุจริตต่อหน้าที่ หรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐได้เกี่ยวพันกับการป้องกันและแก้ไข ปัญหาภัยคุกคาม ต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาการค้ามนุษย์ และปัญหายาเสพติด ประเทศ ไทยยังคงต้องเผชิญกับ สาธารณภัย ที่เกิด จาก ภัย ทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศที่ทําให้เกิดภาวะลมฟ้าอากาศแปรปรวน ระดับน้ําทะเลของโลกสูงขึ้น เกิดภาวะแล้งจัด พายุหมุน การกัดเซาะชายฝั่งทะเล วาตภัย มหาอุทกภัย น้ําป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว สึ นามิ ไฟป่าและหมอกควัน และ ภัยที่เกิดจาก กระทําของมนุษย์ อาทิ อัคคีภัย ภัยจากสารเคมี ปัญหาน้ํามันรั่วไหลในทะเล ภัยจากการคมนาคม ที่เป็นอุบัติเหตุจากการจราจรทางบก ทางน้ํา และทางอากาศ การปล่อยของเสียและขยะมูลฝอยจากโรงงาน อุตสาหกรรม ภัยจากมลพิษทางอากาศประเภทฝุ่ นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึง ภัยซ้ําซ้อน ต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อน ภัยพิบัติ ขยะมูลฝอย ความเสื่อมโทรมของดินและน้ํา การเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากร การ แข่งขัน ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการใช้ทรัพยากรโดยขาดความสมดุล เพื่ อรองรับการเจริญเติบโตของสังคมเมือง เป็นปัจจัยเร่งสําคัญที่ ส่งผลต่อ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และแนวโน้มของปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้นจาก การบุกรุกแผ้วถางป่าและครอบครอง พื้นที่ป่า การลักลอบเผาในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวน การลักลอบตัดและค้าไม้หวงห้ามและไม้มีค่าต่าง ๆ การออกโฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิที่ไม่ถูกต้ อง การกําหนดแนวเขตป่าไม้ และที่ดินของ รัฐ รวมทั้งปัญหา การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับสัตว์ในพื้นที่ นอกจากนี้ ประเทศต้องมี การเตรียมความพร้อมความมั่ นคงด้านพลังงาน และความมั่ นคง ด้านอาหาร โดยเฉพาะหากอยู่ในภาวะขาดแคลน หรือภาวะวิกฤต ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เป็นผลมาจาก ความแตกต่าง ปัจจัยเชิงโครงสร้าง ประกอบกับ การแพร่ระบาด ของโรค โควิด - 19 และระบบเศรษฐกิจโลกที่ มีความไม่แน่นอนและ ผันผวนสูงเป็นปัจจัย เร่ง ที่ส่งผลให้ไทย ต้องเผ ชิญกับภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดย กลุ่มทุนขนาดใหญ่จะยังคงถือครองกําไรส่วนใหญ่และมีอํานาจ

  • 34 - ในการกําหนดราคาสินค้าและบริการ ส่งผลให้ภาควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งผู้ประกอบการรายย่อย เกิดความไม่คล่องตัวในการบริหารจัดการ อีกทั้งพฤติกรรมการบริโภคในระดับปัจเจกที่เปลี่ยนแปลงไปได้กลายเป็น ปัจจัยเสี่ยงต่อการก่ออาชญากรร มทางเศรษฐกิจที่จะขยายตัวมากขึ้ น

  • 35 - ส่วนที่ 3 วิสัยทัศน์ กรอบแนวคิด วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย

  • 37 - 1. วิสัยทั ศน์ ประเทศชาติมีเสถียรภาพ ประชาชนอยู่ดีมีสุข ปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ มีศักยภาพบริหาร จัดการความมั่นคงแบบองค์รวม และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติอย่างยั่งยืน 2. กรอบแนวคิด 2 . 1 ความมั่นคงแบบองค์รวม ให้ความสําคัญกับการเชื่อมโยงมิติทั้งปวง ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การทหาร วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ เกิดความ มั่นคง ปลอดภัย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ดังนี้ 2.1.1 ความมั่นคงของรั ฐ การ มี อิสรภาพในการปกครองประเทศ ปราศจากภัยคุกคาม ต่อ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และการแทรกแซงการดําเนินกิจการภายในของรัฐ รวมทั้ง มีขีดความสามารถ ให้พร้อมเผชิญต่อสถานการณ์ภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อปกป้องและรักษาความปลอดภัย ให้แก่บุคคลที่อาศัยในรัฐ 2.1.2 ความมั่ นคง ของมนุษย์ ความอยู่ ดีมีสุขของคนในชาติให้ ปลอดจาก ความหวาดกลัว ( Freedom from Fear) หลุดพ้นจากความต้องการขั้นพื้นฐานในการด ํา รงชีวิต ( Freedom from Want) อยู่อย่าง มีเกียรติและศักดิ์ศรี ( Freedom to Live in Dignity ) บนพื้นฐาน สิทธิมนุษยชน 2.1.3 ความมั่ นคงระหว่างประเทศ การสร้างความสมดุลและบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทย และแสวงความร่วมมือกับมิตรประเทศในระดับทวิภาคี อนุภูมิภาค ภูมิภาค และประชาคมโลก บนพื้นฐาน ความไว้เนื้ อเชื่ อใจและความเป็นหุ้ นส่วนทางยุทธศาสตร์ ตลอดจน การส่งเสริมและพัฒนา ความร่วมมือ ระหว่างประเทศ ในการป้องกันและแก้ ไขปัญหาภัยคุกคามด้านความมั่นคง 2 . 2 เป้าหมายการพัฒนา ที่ ยั่ งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ตามวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. 2030 โดยกําหนดทิศทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของแนวคิด “ ไม่ทิ้งใคร ไว้ข้างหลัง ” มุ่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม มุ่งเน้น 1 3 เป้าหมาย จากทั้งหมด 17 เป้าหมาย ให้ สอดคล้องกับ เป้าหมาย ตัวชี้วัด และกลยุทธ์ตามที่ปรากฏใน 17 นโยบายและแผนความมั่นคง ซึ่งคํานึงถึง บริบท การพัฒนาเพื่อเสริม ความมั่นคง ของประเทศ ดังนี้ เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจนทุก รูปแบบในทุกพื้นที่ ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม ทั้งชาย หญิง เด็ก คนยากจน และกลุ่มคนเปราะบาง โดย ให้ความสําคัญกับ การใช้ระบบและมาตรการคุ้มครองทางสังคม กา รสร้าง หลักประกันในเรื่องสิทธิ การเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจ บริการ ขั้น พื้นฐาน การถือกรรมสิทธิ์และใช้ประโยชน์ เหนือที่ดินและทรัพย์สิน ตลอดจน การสร้างภูมิต้านทานให้กับ ผู้ที่ยากจนและอยู่ในสภาวะเปราะบางต่อเหตุรุนแรง ที่เกี่ย วข้องกับภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และ ส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ให้ความสําคัญกับความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ การเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย และเพียงพอตลอดทั้งปี ตลอดจนการสร้างหลักประกันว่าจะมีระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืน ซึ่งมีความจําเป็น ต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ทุกคน

  • 38 - เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและ ส่งเสริมสวัสดิภาพสําหรับทุกคน ในทุกวัย ครอบคลุมประเด็ นด้านสุขภาพและสวัสดิภาพต่าง ๆ โดยให้ความสําคัญกับ การ เสริมสร้างการป้องกัน และการรักษาการใช้สารในทางที่ผิด ซึ่งรวมถึงการใช้ยาเสพติดในทางที่ผิดและการใช้แอลกอฮอล์ในทางอันตราย ลดจํานวนการตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน การมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกัน ความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจําเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจําเป็น ที่ป ลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้ ตลอดจน ลดจํานวนการตายและการป่วย จากสารเคมีอันตรายและจากการปนเปื้ อนและมลพิษทางอากาศ น้ํา และดิน เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรี และเด็กหญิง ให้ความสําคัญกับ การยุติการเลือกปฏิบัติ และขจัดความรุนแรงทุกรูปแบบต่อผู้หญิงและเด็กหญิง รวมถึงการค้ามนุษย์ การกระทําทางเพศ และการแสวงประโยชน์ในรูปแบบอื่น เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ําและสุขอ นามัยสําหรับทุกคนและ มีการ บริหารจัดการที่ยั่งยืน ให้ความสําคัญกับ การบริหารจัดการน้ําแบบองค์รวมในทุกระดับ รวมถึงผ่านทาง ความร่วมมือระหว่างเขตแดนตามความเหมาะสม ตลอดจน การปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ํา รวมถึงภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ํา แ ม่น้ํา ชั้นหินอุ้มน้ํา และทะเลสาบ เป้าหมายที่ 7 สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่ อถือได้ และยั่ งยืน ให้ความสําคัญกับพลังงานสะอาดโดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน ซึ่ งเป็นทางเลือก ในการยกระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการพลังงานไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคํานึงถึ งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ให้ประชาชนสามารถเข้าถึง และหาซื้อพลังงานหมุนเวียนได้ง่ายขึ้น สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงาน การเพิ่มบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัล และการเปลี่ยนผ่านยุคแห่งการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสําหรับทุกคน ให้ความสําคัญกับ การเพิ่มผลิตภาพผ่านการเพิ่มความหลากหลาย การยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม การส่งเสริมผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญกับประเด็นด้านแรงงานเป็นการเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการ ดําเนินมาตรการโดยทันทีและ มีประสิทธิภาพเพื่อขจัดแรงงานบังคับ ยุติความเป็นทาสสมัยใหม่และการค้ามนุษย์ ยับยั้งแล ะ กําจัดการใช้แรงงานเด็ก ปกป้องสิทธิแรงงาน และส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ปลอดภัยและมั่นคงสําหรับผู้ทํางานทุกคน รวมถึ งผู้ทํางานต่างด้าว โดยเฉพาะหญิง ต่างด้าวและผู้ที่ทํางานเสี่ยงอันตราย เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ ให้ความสําคัญกับการ เข้าถึง โอกาสทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโดยไม่เลือกปฏิบัติ การ สร้างหลักประกันว่าจะมีโอกาสที่เท่าเทียม และลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงโดยการขจัดกฎหมาย นโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการกระทําที่ เหมาะสมในเรื่องนี้ ตลอดจนการ เลือกใช้นโยบาย โดยเฉพาะนโยบายการคลัง ค่าจ้าง และการคุ้มครองทางสังคม และให้บรรลุความเสมอภาคยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  • 39 - เป้าหมายที่ 11 ทําให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทาน และยั่งยืน ครอบคลุมในหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเมืองและชุมชน โดยให้ความสําคัญกับการ สร้างหลักประกัน ว่าจะมีการเข้าถึงที่อยู่อาศัยและการบริการพื้นฐาน การ ลดความเสียหายจากภัยพิบัติ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับน้ํา โดยมุ่งปกป้องคนจนและคนเปราะบาง เป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่ง ด่วนเพื่ อต่อสู้ กับการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น ให้ความสําคัญกับการเสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตราย และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ ตลอดจน พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ และการเตือนภัยล่วงหน้า เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโ ยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ความสําคัญกับ การป้องกันและลดมลพิษทางทะเลโดยเฉพาะที่เกิดจากกิจกรรม บนแผ่นดิน รวมถึงขยะทะเลและมลพิษของสารอาหาร ยุติ และ ขจัดปัจจัยที่อุดหนุนการประมงแบบผิดกฎหมาย กำรบริหารจัดการเชิงวิทยาศาสตร์มาฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ํา การบริหารจัดการ อนุรักษ์ และฟื้นฟูระบบนิเวศ ทางทะเลและชายฝั่ง ตลอดจนการ เพิ่มพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเลและชายฝั่ง เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่ อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึง ความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ ให้ความสําคัญกับ การลดความรุนแรงทุกรูปแบบ ยุติการข่ม เ หง การใช้หาประโยชน์ อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ ความรุนแรง และการทรมานทุกรูปแบบที่มีต่อเด็ก ส่งเสริมนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ สร้างหลักประกัน ว่าจะมีการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมแก่ทุกคน ลดการลักลอบ การเคลื่อนย้าย อาวุ ธและ เงิน และต่อสู้กับ องค์กรอาชญากรรม ลดการทุจริตในตําแหน่งหน้าที่และการรับสินบน ทุกรูปแบบ พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบและโปร่งใสในทุกระดับ ตลอดจน สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและ มีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยเป็นไปตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ เป้าหมายที่ 1 7 เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกกา รดําเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือ ระดับโลก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลก โดยเฉพาะความร่วมมือหลายภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยไม่ทิ้งใคร ไว้ข้างหลัง ผ่านการระดมทุนที่เป็นตัวเงิน เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนความรู้และแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อสนับสนุน ประเทศกําลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในกำรดําเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ตามความต้องการ จนสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ภายในปี 2573 2 . 3 การน้อมนําพระราชปณิธานสืบสาน รักษา ต่อยอดเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง และแนวพระราชดําริ “ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ” เป็นการสืบสานโครงการพระราชดําริ ต่อเนื่อง รักษาความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน และต่อยอดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชี้ถึงแนวทาง การดํารงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้ งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ

  • 40 - ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดําเนินไปใ นทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทัน ต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการกระทบใด ๆ อันเกิด จากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ในขณะที่แนวพระราชดําริ “ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ” เป็นวิธีการ แห่งศาสตร์พระราชทานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่หน่วยงานด้านความมั่นคงน้อมรับ ปฏิบั ติอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยความเข้าใจจุดศูนย์ดุลของปัญหาและสภาพแวดล้อมในทุกมิติอย่างรอบด้าน ขณะเดียวกันต้องเข้าถึง สภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม 2 . 4 การบูรณาการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือของทุกภาคส่วน ให้ความสําคัญกับ แนวทางบูรณาการ การทํางานของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ( Whole - of - Government Approach) มุ่งเน้นให้ คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา หน่วยงานของรัฐตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนและของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถสร้างผลผลิตที่จะผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยเฉพาะผลลัพธ์ที่จะต้องร่วมกันทํา หรือบูรณาการระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์และพัฒนา/ ขยายความร่วมมือระหว่า งหน่วยงาน ของรัฐไทยกับต่างประเทศ ควบคู่กับ แนวทางบูรณาการการทํางานที่ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วม ( Whole - of - Society Approach ) เป็นแนวทางที่ทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และ ภาค ประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมตลอดกระบวนการจัดทําและขับเคลื่อนเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ ทําให้เกิดองค์ความรู้ด้านความมั่นคง ความเข้าใจถึงสาเหตุแท้จริงของปัญหาที่เป็นปัจจัยผลักดันได้อย่างรอบด้าน และสามารถระบุหรือกําหนดลําดับความสําคัญในการพัฒนาและการป้องกันแก้ไขปัญหาที่เกิ ดขึ้น 2 . 5 การบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management ) และ การสร้างความสามารถในการ กลับคืนสู่ สภาพเดิม หรือ “ ล้มแล้ว ลุกไว ” ( Resilience ) เ ป็นการตระหนักถึงการบริหารจัดการเพื่อลด หลีกเลี่ยง ควบคุม และ กระจายความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่รับได้ ในขณะที่ต้องมีการเตรียมการ ให้ ลดความเปราะบา งต่อความเปลี่ยนแปลง ของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดย มุ่งเน้น การสร้างความสามารถของประเทศ 3 ระดับ ดังนี้ 2.5.1 การพร้อมรับ หรือ ระดับ “ อยู่รอด ” ในการแก้ไขข้อจํากัดหรือจุดอ่อนที่มีอยู่ ซึ่งเป็นผลให้ ประชาชนประสบความยากลําบากในการดํารงชีวิต หรือทําให้ประเทศมีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลง จากภายนอกและภายใน รวมถึงการสร้างความพร้อมในทุกระดับในการรับมือกับสภาวะวิกฤติที่อาจเกิดขึ้น ให้สามารถฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ ได้อย่างรวดเร็ว 2.5.2 การปรับตัว หรือ ระดับ “ พอเพียง ” ในการปรับเปลี่ยนปัจจัยที่จําเป็นเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ในระดับครอบครัว ชุมชน พื้นที่ และประเทศ รวมถึงปรับทิศทาง รูปแบบ และแนวทางการพัฒนาให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ 2.5.3 การเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน หรือ ระดับ “ ยั่งยืน ” ในการผลักดันให้เกิด การ เปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในมิติต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความสามารถของบุคคลและสังคมในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อสนับสนุนให้ประเทศสามารถเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน 2.6 การให้ความสําคัญกับแนวคิดยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ตลอดจนแผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง ครอบคลุมประเด็นความมั่ นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน บ้านเมือง มีความสงบเรียบร้อย การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงที่มีอยู่เดิมและป้องกัน ปัญหาใหม่

  • 41 - การพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้ อมเผชิญภัยคุ กคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ การบูรณาการ ความร่วมมือ ด้านความมั่นคงกับอาเซียนและนานาชาติ องค์กรภาครัฐและที่มิใช่ภาครัฐ และ การพัฒนากลไกการบริหารจัดการ ความมั่นคงแบบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อขับเคลื่อน ไปสู่การปฏิบัติ 2.7 การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว ( Bio - Circular - Green Economy: BCG Model) ให้ความสําคัญกับการบูรณาการการพัฒนาการขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างสมดุล เป็นธรรม และยั่งยืน ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง โดยรักษา ต่อยอด ภูมิปัญญาเดิม และใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิ จควบคู่กับการรักษาความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์จากฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ การบริหารจัดการโดยชุมชน ภายใต้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันจะช่วยสนับสนุนการ เสริมสร้างความมั่นคงแบบองค์รวม และสอดรับ กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยื นของสหประชาชาติ 3 . วัตถุประสงค์ 3.1 เพื่อเป็นกรอบทิศทาง ในการดําเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพื่อธํารงไว้ ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ 3.2 เพื่อถ่ายทอด ยุทธศาสตร์ชาติด้าน ความมั่นคงไปสู่ การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นไปตาม เป้าหมายที่กําหนดไว้ 3.3 เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นกรอบทิศทางการจัดทําและขับเคลื่อน แผนระดับที่ 3 ( แผนปฏิบัติการ ด้านต่าง ๆ แผนปฏิบัติราชการของหน่วยงาน แผนพัฒนาในระดับพื้นที่) ที่เกี่ยวข้องกับด้านความมั่นคงได้ อย่างสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 4. เป้าหมาย ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย ในภาพรวม 4.1 เป้าหมาย ในภาพรวม ประเทศไทยมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพมากขึ้น ประชาชนดํารงชีวิตโดยปกติสุข รวมทั้งมีการพัฒนา ศักยภาพบริหารจัดการ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแบบองค์รวมและรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่ง ชาติ 4.2 ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย ในภาพรวม ความสําเร็จของการบรรลุค่าเป้าหมาย ที่กําหนดไว้ในแต่ละตัวชี้วัด ย่อย ของ 17 นโยบายและแผน ความมั่นคง ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ทั้งนี้ ตัวชี้วัดย่อยมีทั้งสิ้น 58 ตัวชี้วัด โดยให้มีการประเมินผลรายปีเพื่อ ติดตามและประเมินผล ให้บรรลุค่าเป้าหมายในแต่ละตัวชี้วัด ย่อย ที่กําหนดไว้ ให้นําไปสู่ ผลสัมฤทธิ์ภายในปี 2570 (สรุปผลสัมฤทธิ์ ใน ภาพรวม ระยะ 5 ปี ) เพื่อทบทวน พัฒนา และปรับปรุงการดําเนินการในระยะต่อไป

  • 42 -

  • 43 - ส่วนที่ 4 นโยบายและแผนความมั่น คง

  • 45 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 1 การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ 1. จุดมุ่งเน้น สังคมไทยอยู่ ร่วมกันอย่างสันติ และเคารพ ในความแตกต่าง หลาก ห ลาย บนพื้ นฐาน สิทธิ มนุษยชน และพร้อมธํารงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2 . ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2 .1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง เป้าหมาย ประชาชนอยู่ดี กินดี และมีความสุข 2 .2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 1 แผนย่อยการรักษาความสงบภายในประเทศ เป้าหมาย 1 . ประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 2 . คนไทยมีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ พร้อมธํารงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ สถาบันศาสนาเป็นที่เคารพ ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยสูงขึ้น 3 . การเมืองมีเสถียรภาพและธรรมาภิบาลสูงขึ้น 3 . เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมายที่ 1 การธํารงรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ผลสัมฤทธิ์ การสร้างพื้นที่พูดคุยอย่างสันติ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนมุมมอง และเสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสําคัญของ สถาบั น พระมหากษัตริย์ ตัวชี้วัด การ จัดทําชุดข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และเผยแพร่ตาม ช่องทางประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 5 จากผลการดําเนินงานของปีที่ผ่านมา เป้าหมายที่ 2 คนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และ เคารพในความแตกต่างหลาก ห ลาย โดยได้รับความคุ้มครอง ตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งหมายรวมถึงการให้ความสําคัญกับ ทุกศาสนา ผู้ที่มีหลักความเชื่ อต่าง ๆ และ ผู้ที่ ไม่นับถือศาสนา ผลสัมฤทธิ์ คนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างมีความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันบนพื้นฐาน สิทธิมนุษยชน ตัวชี้วัดที่ 1 การจัดทํา พัฒนา หรือปรับปรุงมาตรการของรัฐเพื่อส่งเสริม คุ้มครอง และปกป้อง สิทธิมนุษยชนภายในของไทยให้สอดคล้องกับบริบทภายในประเทศและสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี อย่างน้อยปีละ 2 มาตรการ

  • 46 - ตัวชี้ วัดที่ 2 คําร้องเกี่ ยวกับการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและการถูกเลือกปฏิบัติได้รับ การพิจารณาและเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับ ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ตัวชี้วัดที่ 3 การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับในรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ของประเทศตามกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ( Universal Periodic Review: UPR) ภายใต้ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ( Human Rights Council: HRC) ภายในปี 2570 มีผลการปฏิบัติ ตาม ข้อเส นอแนะที่ไทยตอบรับในกระบวนการ UPR รอบที่ 3 ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 50 และรอบที่ 4 ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 10 4. กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 1 การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 ส่งเสริมการเรียนรู้ และการ จัด ทําหรือ พัฒนาหลักสูตร การศึกษา เกี่ยวกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ ในทุกระดับอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับทุกช่วงวัย เพื่อ สร้าง ความรู้ ความเข้าใจและ การตระหนักถึงความสําคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในชาติ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 ส่งเสริมการจัดทําและเผยแพร่ชุดข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ โครงการพระราชดําริ หลักการทรงงาน แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยมุ่งเน้นการจัดทําสื่อที่มีความทันสมัย มีการเผยแพร่ในหลายช่องทาง รวมถึงมีการจัดทําระบบการบ ริหาร จัดการ ชุดข้อมูลระหว่างส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะการเข้ามามีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน กลยุทธ์ย่อยที่ 1.3 เสริมสร้างการพัฒนาประสิทธิภาพในการธํารงรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมุ่งเน้นการประเมินและกลไกการบริหารจัดการที่มีอยู่เดิมให้เกิดประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ที่ เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน และองค์กรทางสังคม กลยุทธ์ หลัก ที่ 2 การ ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนในชาติอย่างสันติ และเคารพในความแตกต่างหลากหลาย บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 ทบทวน ปรับปรุง พัฒนา กฎหมาย กฎ ระเบียบ แนวทาง วิธีปฏิบัติ คําสั่ง ทางการบริหาร ข้อบังคับ และมาตรการของรัฐ ใน การส่งเสริมและให้ความคุ้มครองบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน การให้บริการสาธารณะโดยไม่เลือกปฏิบัติ ตลอดจน สร้างหลักประกันว่าบุคคลต้องได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนใน ชาติ โดย สร้าง ความ ตระหนักรู้ให้แก่ ทุกภาคส่วนให้เห็นคุณค่าการอยู่ร่วมกัน ใน สังคมพหุวัฒนธรรม การเคารพสิทธิและ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยดํา เนินงานภายใต้กรอบการไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่าง ในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา เพศ เพศสภาพและเพศวิถี อายุ ความพิการ สภาพทางกาย หรือจิต สุขภาพ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ติดยาเสพติด สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อ ทางศาสนาหรือความเชื่ออื่น การศึกษาอบรม ตลอดจน ความคิดเห็นทางกา รเมือง หรือ ความคิดเห็นอื่น อันไม่ขัดต่อ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใดจะกระทํามิได้

  • 47 - กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 ใช้แนวทางสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้งและส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ สาธารณะในการพูดคุยแลกเปลี่ ยนระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และประชาชน โดยเฉพาะประเด็น ทางการเมือง ข้อเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน และประเด็นที่รัฐเป็นคู่ขัดแย้ง ตามหลักการ สิทธิมนุษยชนอย่างสันติ กลยุทธ์ย่อยที่ 2. 4 สร้างความตระหนักรู้ การ เสริมสร้าง ทัศนคติ และความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการสิทธิมนุษยชนในทุกระดับ ตั้งแต่ร ะดับครอบครัว ชุมชน สถานศึกษา สถานที่ทํางาน ให้บุคคล ตระหนักและปกป้องถึงสิทธิของตนเอง รวมถึงเคารพและไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น กลยุทธ์ย่อยที่ 2.5 เพิ่ม ประสิทธิภาพ การบริหารจัดการ ของภาครัฐในการจัดสรร ทรัพยากร และการเข้าถึงบริการสาธารณะของรัฐบนพื้นฐานของความเสมอภาค ความ เท่าเทียม และการไม่เลือกปฏิบัติ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.6 เพิ่ม ประสิทธิภาพ การขยาย ช่อง ทาง การร้องเรียนหรือร้องทุกข์ให้สามารถ เข้าถึงได้ทุกระดับ โดย มีการติดตามและรายงานผล ให้ แก่ ผู้ ร้องเรียนหรือ ผู้ ร้องทุกข์ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.7 ส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยเฉพาะการดําเนินการของกองทุนยุติธรรมให้มีงบประมาณเพียงพอต่อการดําเนินการและความต้องการ ของประชาชนในการเข้าถึงการรับบริการ และการกําหนดให้มีมาตรการคุ้มครองและช่วยเหลือเยียวยา แก่ประชาชน ที่ถูกละเมิดสิทธิอย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ย่อยที่ 2. 8 สนับสนุนและ กํากับดูแลเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้อง โปร่งใส เป็นธรรม และเคารพหลักการสิทธิมนุษยชน ไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ และการให้บริการต่อประชาชน และให้ความสําคัญกับความคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐในการปฏิเสธคําสั่งที่มิชอบ ด้วยกฎหมาย หรือการกระทําอื่นใด ซึ่งเข้าข่ายการเลือกปฏิบัติหรือขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนดําเนินการ ทางวินัย และ/หรือ กฎหมายแก่เจ้าหน้าที่ รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง กลยุทธ์ย่อยที่ 2. 9 บูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ทั้ง ภาย ในประเทศและ ระหว่างประเทศ ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 0 ส่งเสริมให้สถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษา เป็น หน่วยทางสังคม ที่สําคัญในการวาง รากฐาน ความมั่นคงของประเทศ โดยมุ่งเน้น แนวคิดการแบ่งปันและการทําประโยชน์เพื่อสังคม ส่วนรวม ตลอดจนการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลายของคนในชาติ กลยุทธ์ หลัก ที่ 3 การให้ความสําคัญกับทุกศาสนา ผู้ที่มีหลักความเชื่อต่าง ๆ และผู้ที่ไม่นับถือศาสนา กลยุทธ์ย่อยที่ 3 . 1 สร้างหลักประกันทางสังคมสําหรับผู้ที่นับถือศาสนาและไม่นับถือศาสนา ในการป้องกันมิให้เกิดความไม่เท่าเทียมในการรับบริการจากรัฐ หรือการกระทําอื่นใดของบุคคลซึ่งอาจถูกเลือกปฏิบัติ กลยุทธ์ย่อยที่ 3.2 ให้ความคุ้มครองและส่งเสริมศาสนาและหลักความเชื่อต่าง ๆ รวมถึง ผู้ที่ไม่นับถือศาสนาอย่างเท่าเทียมตามหลักสิทธิมนุษยชน

  • 48 - กลยุทธ์ย่อยที่ 3.3 เสริมสร้างความเข้าใจ ทัศนคติเชิงบวก และความเคารพใน ความหลากหลาย ระหว่างศาสนิก ผู้ที่มีความเชื่อต่าง ๆ และผู้ที่ไม่นับถือศาสนา 5 . หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

  • 49 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 2 การปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ และการพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ 1. จุดมุ่งเน้น การปกป้อง รักษา และแก้ไขปัญหาที่กระทบต่ออธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ รวมทั้งการพัฒนา ขีดความสามารถเชิงยุทธศาสตร์ของกองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง เพื่อการป้องกันประเทศ ในอนาคต 2. ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แ ละ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2.1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง เป้าหมายที่ 3 กองทัพ หน่วยงานด้านความมั่นคง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน มีความพร้อม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคง 2.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 3 แผนย่อยการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อ ความมั่นคงของชาติ เป้าหมาย กองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคงมีความพร้อมสูงขึ้นที่จะเผชิญภัยคุกคาม ทุกรูปแบบ ทุกมิติ และทุกระดับความรุนแรง 3 . เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมายที่ 1 การปกป้อง รักษา และแก้ไขปัญหาที่กระทบต่ออธิปไตยและ ผลประโยชน์ของชาติ ผลสัมฤทธิ์ กองทัพ และหน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง มีความพร้อมสูงขึ้น สําหรับการปฏิบัติตาม แผนป้องกันประเทศ หรือแผนปฏิบัติการอื่น ๆ ด้วยระบบการปฏิบัติการร่วม ตัวชี้วัด ที่ 1 ความพร้อมของกองทัพ และ หน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง ในการปฏิบัติการ ตาม แผนป้องกันประเทศด้วยระบบปฏิบัติการร่วม โดย หน่วยทหารตามแผนป้องกันประเทศผ่านเกณฑ์มาตรฐาน การฝึกร่วมกองทัพไทย ภายในปี 2570 ตัวชี้ วัด ที่ 2 หน่วยปฏิบัติการหลักของเหล่าทัพในการปฏิบัติการตามแผนป้องกันประเทศ มีความพร้อม ด้านกําลังพล ยุทโธปกรณ์ และการฝึก ไม่ต่ํากว่า ร้อยละ 80 ภายในปี 2570 เป้าหมายที่ 2 การพัฒนาขีดความสามารถเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการป้องกันประเทศในอนาคต ผลสัมฤทธิ์ กองทัพ และหน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง มีความพร้อมและทันสมัย ทั้งในด้าน การจัดหน่วย อาวุธยุทโธปกรณ์ ระบบการสนับสนุน และการส่งกําลังบํารุง รวมทั้งระบบการควบคุมบังคับบัญชาด้วย การประยุกต์ ใช้ นวัตกรรมและ เทคโนโลยีดิจิทัล การปฏิบัติการทาง ไซเบอร์และอวกาศ ตลอดจนสามารถนํา กํา ลังพลสํารอง ในบัญชีบรรจุกําลังของหน่วย เข้าร่วมการฝึกหรือปฏิบัติภารกิจกับกองทัพได้ ทั้งใน ภาวะ ปกติ วิกฤติ และสงคราม

  • 50 - ตัวชี้ วัดที่ 1 การพัฒนากองทัพ และหน่วยงานด้านความมั่ นคงที่ เกี่ยวข้อง ไปสู่ ความทันสมัย ด้วยการประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเชื่อมโยงระบบงาน ตลอดจนเสริมสร้างความพร้อมเพื่อให้สามารถรองรับ ปฏิบัติการทางไซเบอร์และอวกาศได้ ภายในปี 2570 ตัวชี้วัดที่ 2 หน่วยทหารที่มีกําลังพลสํารองบรรจุในอัตราของหน่วยมีการเรียกกําลังพลสํารอง เข้าร่วม การฝึกหรือ ปฏิบัติภารกิจ ร่วมกับของ กองทัพ ครบทุกหน่วย ภายในปี 2570 3. กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 1 การปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางบก ทางทะเล และทางอากาศ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 จัดให้มีระบบการข่าว การลาดต ร ะเวน การเฝ้าตรวจ ป้องกัน และรักษา พื้นที่ชายแดน ชายฝั่งทะเล เกาะแก่ง และอาณาเขตทางทะเล เพื่อป้องกัน ป้องปราม และแก้ไขการละเมิดอธิปไตย ทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ กลยุทธ์ ย่อยที่ 1.2 พัฒนาขีดความสามารถด้านการปฏิบัติการร่วมของกองทัพ และหน่วยงาน ด้านความมั่นคง ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความพร้อมตั้งแต่ ภาวะ ปกติ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.3 ปรับปรุง และพัฒนา แผนและระบบการป้องกันประเทศให้ทันสมัย สามารถใช้ได้จริง และมีการ ฝึก ซ้อมการปฏิบัติอยู่เสมอ เพื่อสร้างความพร้อมให้แก่กองทัพและ หน่วยงานด้านความมั่นคง ที่เกี่ยวข้อง กลยุทธ์ หลัก ที่ 2 การพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 เตรียมกําลังเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อให้หน่วยขึ้นตรงของกระทรวงกลาโหม กองทัพ และหน่วยงาน ด้าน ความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง มีความพร้อม ความทันสมัย และความต่อเนื่องในการปฏิบัติ สําหรับใช้สนับสนุนแผนป้องกันประเทศ หรือแผนการปฏิบัติการอื่น ๆ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 พัฒนากองทัพ และหน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง ไปสู่ความทันสมัย ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเชื่อมโยงระบบงานทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนเสริมสร้าง ความพร้อมเพื่อให้สามารถรองรับการปฏิบัติการทางไซเบอร์และอวกาศได้ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 พัฒนาระบบกําลังสํารอง กําลังพ ล สํารอง และ การระดมสรรพกําลัง รวมถึงกิจการมวลชนและกําลังประชาชน เพื่อการป้องกันประเทศ 5. หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน กระทรวงกลาโหม

  • 51 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 3 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติพื้นที่ชายแดน 1. จุดมุ่งเน้น พื้นที่ ชายแดนและประชาชนในพื้นที่มีการพัฒนา มีความมั่นคงปลอดภัย มีศักยภาพในการป้องกัน และแก้ไขภัยคุกคามทุกรูปแบบ มีสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม ความมั่ นคง ของมนุษย์ อย่างสมดุล และเป็นพื้นที่ความร่วมมือและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศรอบบ้านในด้านการร่วมกัน ป้องกัน ภัยคุกคาม ปัญหาความมั่นคง การแก้ไขปัญหาคงค้าง และการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกั น อย่างยั่งยืน 2 . ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2 .1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง เป้าหมาย บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ 2 .2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 2 แผนย่อยการป้องกันและแก้ไ ขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เป้าหมาย ปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน (เช่น ปัญหายาเสพติด ความมั่นคงทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ ฯลฯ) ได้รับการแก้ไขจนไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ 3. เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมายที่ 1 พื้นที่ชายแดนมีความมั่นคง ปลอดภัย มีศักยภาพการป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามทุกรูปแบบ และเป็นพื้นที่ เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างไทยกับประเทศรอบบ้าน ผลสัมฤทธิ์ พื้นที่ชายแดนมี ศักยภาพในการป้องกันภัยคุกคามรูปแบบ ประชาชนและชุมชน ตามแนวชายแดนมีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงเป็นจุดเชื่อมโยงสําคัญทางเศรษฐกิจ การสัญจร และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวชี้วัดที่ 1 การพัฒนาระบบป้องกันตามแนวชายแดนด้วยการใช้เทคโนโล ยี อย่างน้อยร้อยละ 85 ของจังหวัดชายแดนทั้งหมด ภายในปี 2570 ตัวชี้วัดที่ 2 มูลค่าการค้าชายแดน เพิ่มขึ้นอย่าง น้อยร้อยละ 5 ต่อปี เป้าหมายที่ 2 ปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศรอบบ้านได้รับการแก้ไข และไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ผลสัมฤทธิ์ ประเทศ ไทยสามารถ แก้ไขปัญหาเขตแดน โดยมีความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ แห่งชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตัวชี้วัด เป้าหมายในการสํารวจและจัดทําหลักเขตแดนของไทย อยู่ที่ร้อยละ 80 ภายในปี 2570

  • 52 - 4 . กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 1 การ สร้างสภาพแวดล้อมในพื้นที่ชายแดนให้ มีความปลอดภัยและมีศักยภาพในการป้องกัน และแก้ไขภัยคุกคาม กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนชายแดนไทยและประเทศรอบบ้าน รวมทั้งให้ประชาชน ตามแนวชายแดนมีส่วนร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนในการป้องกันภัยคุกคาม ที่อาจผ่านพื้นที่ชายแดนเข้าสู่พื้นที่ของประเทศไทย และเพิ่มกลยุทธ์ในการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมมากขึ้น สนับสนุนบทบาทของผู้นําชุมชนในพื้นที่ให้ผลักดันการพัฒนาจากภาย ในชุมชนเอง ตลอดจน สร้างความสัมพันธ์ในชุมชนเพื่ อร่วมดําเนินกิจกรรมพัฒนาและป้องกันความมั่ นคงปลอดภัยในชุ มชน ตามแนวชายแดน กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 ป้องกันและ แก้ไข ภัยคุกคามทุกรูปแบบ บริเวณ พื้นที่ชายแดน โดย ผลักดัน การหารือระหว่างไทยกับประเทศรอบบ้านผ่านกลไกความร่วมมือระหว่ำงประเทศในทุกระดับ โดยเฉพาะ อาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหา การ ลักลอบตัดไม้ และทําลายป่า ผู้หลบหนีเข้าเมือง และ โรคติดต่อ อุบัติใหม่ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.3 จัดทําระบบป้องกันพื้นที่ชายแดน ของจังหวัดชายแดน โดยให้ ความสําคัญ กับการนําเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการ ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไข การกระทํา อัน ผิดกฎหมาย ของไทย โดยเฉพาะ บริเวณช่องทางธรรมชาติ กลยุทธ์ หลัก ที่ 2 การ ยกระดับและพัฒนาจุดผ่านแดน ให้มีป ระสิทธิภาพในการป้องกันภัยคุกคาม และ เชื่อมโยงเศรษฐกิจ การค้า และการสัญจรข้ามแดน กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน หรือจุดผ่านแดนประเภทต่าง ๆ เพื่ออํานวยความสะดวกด้านเศรษฐกิจ การค้า และการสัญจรข้ามแดน และ/หรือเพื่อเตรียมความพร้อมสําหรับ การยกระดับจุดผ่านแดนถาวรในอนาคต กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 พัฒนาระบบการสัญจรข้ามแดน ประกอบด้วย สินค้า ยานพาหนะ และการเดินทางข้ามแดน โดย เชื่อมโยง ฐานข้อมูล ระหว่างหน่วยงาน เพื่ออํานวยความสะดวกในการข้ามแดน และสามารถ เฝ้าระวังภัยคุกคาม ที่แฝงมากับการข้ามแดน กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชน และอาชญากรรม ข้ามชาติได้ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 หารือร่วมกับประเทศรอบบ้านผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ ในทุกระดับ เพื่อผลักดันให้มีการยกระดับช่องทางธรรมชาติและจุดผ่านแดน ให้สอดคล้องกับแนวทางการยกระดับ ช่องทางธรรมชาติและจุดผ่านแดนของไทย กลยุทธ์ หลัก ที่ 3 การแก้ไข ปัญหา เขตแดน ระหว่างไทยกับประเทศรอบบ้าน โดยให้สมดุลระหว่าง ผลประโยชน์แห่งชาติและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กลยุ ทธ์ ย่ อยที ่ 3.1 หยิบยกประเด็นการสํารวจและจัดทําหลั กเขตแดนระหว่างไทย และประเทศรอบบ้านเข้าสู่ การหารือและพิจารณากําหนดแนวทาง การดําเนินการภายใต้กลไกความร่วมมือ ระหว่างประเทศในทุกระดับ รวมถึง พิจารณา แนวทางร่วมในการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายแดน

  • 53 - กลยุทธ์ย่อยที่ 3.2 สํารวจ ภูมิประเทศในพื้นที่ชายแดน เพื่อสนับสนุนกระบวนการสํารวจ และจัดทําหลักเขตแดน กลยุทธ์ย่อยที่ 3.3 เสริม สร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นเขตแดนที่ถูกต้องให้กับประชาชน โดยเฉพาะในพื้ นที่ ชายแดน เพื่ อให้ประ ชาชนใช้ประโยชน์พื้ นที่ ได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้ ง ป้องกันไม่ให้เกิด การ กระทํา ที่อาจ ละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ 5. หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน กระทรวงมหาดไทย

  • 54 - นโยบายและแผนความมั่นคง ที่ 4 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 1. จุดมุ่งเน้น ความมั่นคงทางทะเลแบบองค์รวมโดยมุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามทางทะเลที่สําคัญ และความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ คํานึงถึงการรักษาความมั่นคงทางทะเลและผลประโยชน์ของชาติ ทางทะเลให้มีความสมดุลและยั่งยืน และการบริหารจัดการองค์ความรู้ทางทะเลที่มีประสิทธิภาพ 2 . ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2.1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง เป้าหมาย บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ 2.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 2 แผนย่อยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เป้าหมาย ปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน (เช่น ปัญหายาเสพติด ความมั่นคงทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ ฯลฯ) ได้รับการแก้ไขจนไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ 3 . เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมายที่ 1 ประเทศไทยสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาควา มมั่นคงทางทะเลได้อย่างต่อเนื่อง จนไม่ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ ผลสัมฤทธิ์ ประเทศไทยมีขีดความสามารถและศักยภาพในการเฝ้าระวัง ติดตาม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางท ะเลในภาพรวมของประเทศเพิ่มขึ้นส่งผล ใ ห้ประเทศมีความมั่นคงและปลอดภัย ตัวชี้วัด ดัชนีความมั่นคงทางทะเล ในภาพรวม อยู่ที่ 69 คะแนน ภายในปี 2570 เป้าหมายที่ 2 ประเทศไทยมีการบริหารจัดการองค์ความรู้ทางทะเลที่ช่วยสนับสนุนการรักษาความมั่นคงและ ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ผลสัมฤทธิ์ ประเทศไทยมีองค์ความรู้ทางทะเลที่สําคัญที่สนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย ในการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และประชาชนมีความรู้ ค วามเข้าใจ และความตระหนักรู้ เกี่ยวกับทะเล ตัวชี้วัดที่ 1 จํานวนองค์ความรู้ ทางทะเล ที่สําคัญที่สนับสนุนการตัดสินใจของกลไกระดับ นโยบายของประเทศ อย่างน้อยปีละ 1 ประเด็น ตัวชี้วัดที่ 2 การสร้างองค์ความรู้และความตระหนักรู้ทางทะเลให้แก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยปีละ 1 ประเด็น

  • 55 - 4. กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับการดําเนินการด้านความมั่นคงทางทะเล กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 พัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปกป้องและรักษา ความมั่นคงทางทะเล ทั้งด้านสมรรถนะของ อุปกรณ์ และ เครื่องมือ ในการปฏิบัติงาน ระบบ เทคโนโลยี รวมถึง ศักยภาพของบุคลากร โดยเฉพาะขีดความสามารถด้านการตรวจการณ์ การลาดตระเวน รวมถึงปฏิบัติการทางทะเล กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางทะเล โดยเฉพาะ ปัญหา โจรสลัดและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธ การลักลอบค้าและขนส่งสินค้าผิดกฎหมาย รวมถึงการค้ามนุ ษย์ และ การโยกย้ายถิ่นฐานทางทะเลแบบไม่ปกติ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.3 เสริมสร้างและใช้ประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับ ประเด็นทางทะเล โดยเฉพาะความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน อาเซียน และประเทศในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก กลยุ ท ธ์ ย่ อยที ่ 1.4 พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของภาครัฐตามหลักธรรมาภิ บาล โดยเฉพาะการจัดทํา พัฒนา ปรับปรุง กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับ กิจการทางทะเล ให้สอดคล้อง กับสถานการณ์ปัจจุบันและอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกิจการทางทะเลฉบับต่าง ๆ โดยเฉพาะ อนุสัญญา สหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กลยุท ธ์ย่อยที่ 1.5 สนับสนุน การเฝ้าระวัง และรักษาความ ปลอดภัยทางทะเล ทั้งน่านน้ํา ภายใน และนอก ทะเล อาณาเขต ของประเทศ โดยเฉพาะ เส้นทาง การเดินเรือ การขนส่งสินค้า ภัยพิบัติและอุบัติภัย ทางทะเล รวมถึงการดําเนินกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของไทย กลยุทธ์ หลัก ที่ 2 การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทะเลอย่างสมดุลและยั่งยืน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ําเงิน กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 ส่งเสริมการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคทะเลอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การประมง การพาณิชยนาวี และการขุดเจาะหรือสํารวจแหล่งพลังงานใต้ทะเล กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 ส่งเสริมการบริหารจัดการประมงและการเพาะเลี้ยงทางทะเลอย่างถูกกฎหมาย และ ยั่งยืน เพื่อรักษาสมดุลของทรัพยากรสัตว์น้ํา รวมทั้งอนุรักษ์ ฟื้นฟูและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหามลพิษทางทะเลและขยะทะเล กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 ส่งเสริมและพัฒนาแนวทางการป้อง กันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่งทะเล เพื่อรักษา ระบบนิเวศ ทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งพื้นที่การใช้ประโยชน์จากทะเลและชายฝั่ง กลยุทธ์ย่อยที่ 2.4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชนบริเวณ ชายฝั่ง และเกาะแก่งสามารถใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากทะเลได้อย่างยั่ งยืน โดยไม่ส่งผลต่อปัญหาความมั่ นคง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล กลยุทธ์ หลัก ที่ 3 การบริหารจัดการองค์ความรู้ทางทะเล และการสร้างความตระหนักรู้ความสําคัญของทะเล กลยุ ทธ์ ย่ อยที ่ 3 . 1 ผลั กดั นการจั ดตั ้ งองค์ กรจั ดการความรู ้ ทางทะเลในระยะนําร่ อง ภายใต้มหาวิทยาลัยในกํากับดูแลของรัฐ หรือคลัง สมองทางทะเล ( Maritime Think Tank) เพื่อรวบรวม ศึกษา วิจัย และ พัฒนา องค์ความรู้ด้านความมั่นคงทางทะเลแบบองค์รวม ตลอดจนมีบทบาทในการกําหนดยุทธศาสตร์ หรือแผนในระดับนโยบาย ทั้งในเชิงสมุททานุภาพ ( Sea Power) และสมุท รำภิบาล ( Ocean Governance)

  • 56 - กลยุทธ์ย่อยที่ 3.2 พัฒนาและขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับองค์ความรู้ ทาง ทะเล เพื่อให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักรู้ถึงความสําคัญ ของทะเลในทุกมิติ 5 . หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน ศูนย์อํานวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

  • 57 - นโยบายและแผนความมั่นคง ที่ 5 การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1. จุดมุ่งเน้น การลด การก่อเหตุรุนแรง และความสูญเสีย การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ สอดคล้องกับ วิถีชีวิต และศักยภาพ ของพื้นที่ รวมทั้ง เสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2 . ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2 .1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง เป้าหมาย บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ 2 .2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 2 แผนย่อยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เป้าหมาย ภาคใต้มีความสงบสุข ร่มเย็น 3 . เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมายที่ 1 จังหวัดชายแดนภาคใต้มี การก่อเหตุรุนแรงและความสูญเสียลดลง ผลสัมฤทธิ์ ความรุนแรงและความสูญเสียจากสถานการณ์ความมั่นคง ในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ ยุติลงในปี 2570 ตัวชี้วัด สถิติเหตุการณ์ความรุนแรงและความสูญเสียจากสถานการณ์ความมั่นคง ในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ลดลง ร้อยละ 100 จากปีฐาน 2560 ภาย ในปี 2570 เป้าหมายที่ 2 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ผลสัมฤทธิ์ คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น ด้วยการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม อันสอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของประชาชน และศักยภาพของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตัวชี้วัด สถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค ( Gross Regional Product : GRP) ในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้เพิ่มขึ้นทุกปี เป้าหมายที่ 3 ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลสัมฤทธิ์ การยอมรับและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลาย ตัวชี้วัด การสร้างความ เชื่อมั่น ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างน้อย ร้อยละ 80 ภายในปี 2570 4. กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 1 การเสริมสร้างความปลอดภัยและขจัดเงื่อนไขความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลยุทธ์ย่ อยที่ 1.1 เสริ มสร้างขีดความสามารถ ใน การรักษาความปลอดภั ยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน โดยเพิ่มประสิท ธิภาพการเฝ้าระวังความปลอดภัย การเฝ้าตรวจพื้นที่เสี่ยง การสร้าง

  • 58 - ความเข้มแข็งของชุมชน และ หมู่บ้าน ควบคู่กับการพัฒนาระบบงานด้านการข่าวกรองและฐานข้อมูลด้านความมั่นคง จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งยกระดับขีดความสามารถการบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคงให้สามารถ ป้องกัน สกัดกั้น และยับยั้งการก่อเห ตุรุนแรงและการกระทําความผิดในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนเร่งรัด การ แก้ไข ปัญหายาเสพติดและภัยแทรกซ้อนอื่น ๆ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 ขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุ ขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บนพื้นฐานของความจริงใจ สมัครใจ และให้ เกียรติ เพื่อเป็น ทางออกของความขั ดแย้งตามแนวทางสันติวิธี รวมทั้ง เสริมสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อกระบวนการพูดคุย เพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่กับ การศึกษาและแลกเปลี่ยนความเห็นถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับ ประเด็นการกระจายอํานาจที่เหมาะสมของพื้นที่ กลยุทธ์ หลัก ที่ 2 การยกระดับการพัฒนาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 ยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจให้ สอดคล้องกับ วิถีชีวิตและความต้องการ ของประชาชน และความ เหมา ะสมกับศักยภาพของพื้นที่ โดยพัฒนาและปรับปรุงโ ครงสร้างพื้นฐานสําคัญ ให้ครอบคลุม การสร้างโอกาสการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่อาศัยการนําความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมายกระดับ สินค้าและวัตถุ ดิบในพื้นที่ การส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มธุร กิจให้เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน การสนับสนุน การค้าชายแดนและการลงทุนขนาดใหญ่ รวมทั้งการหนุนเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่สอดรับกับบริบทของพื้นที่ โดยเฉพาะธุรกิจฮาลาล การ ประมง และปศุสัตว์ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 พัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ โดย เสริมสร้าง องค์ ความรู้ และทักษะที่ จําเป็นอย่างทั่วถึงผ่านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับ ความต้องการและวิถีชีวิต การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การขยายโอกาสการเข้าถึงการศึกษาอย่างไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อให้การศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ( Inclusive Education) ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบของรัฐและ เอกชน การเสริมสร้างบทบาทของครอบครัวและชุมชนให้มีความเป็นปึกแผ่นและสามารถพึ่งพาตนเองได้ การส่งเสริมการเรียนและใช้ภาษา ไทยควบคู่กับการใช้ภาษา ที่หลากหลาย ตลอดจนการแก้ไขปัญหาความยากจน และลดความเหลื่อมล้ําในพื้นที่ กลยุทธ์ หลัก ที่ 3 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมใ นพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลยุทธ์ย่อยที่ 3 . 1 พัฒนาการอํานวยความยุติธรรมและการ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้ง การลดเงื่อนไขความหวาดระแวงและฟื้นคืนความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการอํานวยความยุติธรรม และการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ การส่งเสริมกระบวนการเยียวยาของภาครัฐให้มี ความรวดเร็ว เป็น ธรรม และครอบคลุมทั่วถึง การเสริมสร้างประสิทธิภาพของมาตรการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชน ตลอดจน ส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพื้นที่ กลยุทธ์ย่อยที่ 3.2 ส่งเสริมการยอมรับและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง หลากหลาย โดยสนับสนุนการดําเนินวิถีชีวิตตามหลักศาสนา การสร้างพื้นที่กลาง และสภาวะแวดล้อมที่เอื้ อต่อ การปฏิสัมพันธ์ การพัฒนาทักษะทางวัฒนธรรม การ เสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ระหว่างประชาชนกับประชาชน

  • 59 - การฟื้นฟู และสร้างความตระหนักรู้ถึงความเป็นเอกลักษณ์ร่วมในพื้นที่ที่มีมาตั้งแต่อดีต และไม่มีการแบ่งแยก ตลอดจนขจัดการเลือกปฏิบัติทางวัฒนธรรม เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย กลยุทธ์ หลัก ที่ 4 การ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของภาครัฐ และการประสานความร่วมมือกับภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องในการ ป้องกันและ แก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลยุทธ์ย่อยที่ 4.1 เพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีเอกภาพ ประสิทธิภาพ และประสานสอดคล้อง โดยบูรณาการกำรแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งมิติด้านความมั่นคง และด้านการพัฒนา อัน เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล การเสริมสร้างความเข้าใจและพัฒนาขีดความสามารถเจ้าหน้าที่ ของ รัฐให้มีความรู้และทักษะที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานในพื้นที่ การส่งเสริมกำรประยุกต์ใช้งานวิ จัยทางวิชาการ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนการติดตามและประเมินผลการขับเคลื่ อนงาน อย่างเป็นระบบ กลยุทธ์ย่อยที่ 4.2 เสริม สร้างความรับรู้ให้กับสังคมภายในและภายนอกพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ให้มีความเข้าใจต่อสถานการณ์ โดย มีการ ประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่าง บูรณาการด้วยการ ป้องกันแก้ไข การนําเสนอข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม การ ชี้แจงและทําความเข้าใจต่อสถานการณ์ในพื้นที่ และแนวนโยบายของภาครัฐแก่ประชาชนในพื้นที่ สังคม นอกพื้นที่ และต่างประเทศ ตลอดจน เร่งรัดการชี้แจง กรณีที่เป็น ปร ะเด็นความห่วงกังวล ที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศได้อย่างทันท่วงที การ เสริมสร้าง ความตระหนักรู้ ของหน่วยงานภาครัฐต่อประเด็นที่มี นัยละเอียดอ่อน และเป็นที่สนใจของประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยง การสื่อสารที่บิดเบือนข้อเท็จจริงและก่อให้เกิดความเข้าใ จที่คลาดเ คลื่อน กลยุทธ์ย่อยที่ 4.3 เสริ มสร้างความร่วมมื อเชิงสร้างสรรค์กั บภาคส่วนที่ เกี ่ ยวข้อง ทั้ งในและต่างประเทศ เพื่ อแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้ นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยประสานความร่วมมือ เชิงสร้างสรรค์กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้ง ภาย ใน ประเทศ และต่างประเทศ ผ่านกรอบความร่วมมือและกลไกต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายการทํางานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคีเครือข่าย นอกภาครัฐ และการเสริมสร้าง ความไว้วางใจระหว่างภาครัฐกับเครือข่ายองค์การระหว่างประเทศและภาคปร ะชาสังคม ต่าง ๆ ที่ดําเนินกิจกรรม ในพื้นที่จั งหวัดชายแดนภาคใต้ 5 . หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

  • 60 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 6 การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง และผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ 1. จุดมุ่งเน้น การบริหารจัดการ ผู้ มีปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล แรงงานต่างด้าว กลุ่ มเปราะบาง ต่อ ความมั่ นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ รวมถึง ผู้ได้รับ การ คุ้มครองหรือผู้อยู่ระหว่าง คัดกรองสถานะ ที่ ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศ อันเป็น ภูมิลําเนา ได้ ให้มีความสมดุลระหว่างมิติความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และหลักสิทธิมนุษยชน 2 . ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2 .1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง เป้าหมาย บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ 2 .2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 2 แผนย่อยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เป้าหมาย ปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน (เช่น ปัญหายาเสพติด ความมั่นคงทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ ฯลฯ) ได้รับการแก้ไขจนไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ 3 . เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมายที่ 1 ผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิบุคคลมีจํานวนลดลง และได้รับการดูแลตามหลักมนุษยธรรม ผลสัมฤทธิ์ ผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิบุคคลได้รับสถานะอยู่ในราชอาณาจักรอย่างถูกต้อง ตามกฎหมายเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัด จํานวนผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิบุคคลที่ได้รับสถานะอยู่ในราชอาณาจักรอย่างถูกต้อง ตามกฎหมาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ภายในปี 257 0 เป้าหมายที่ 2 แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม มีจํานวนการลักลอบ หลบหนี เข้าเมืองลดลง ผลสัมฤทธิ์ แรงงานต่างด้าวสัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม มีการ จดทะเบียน ถูกต้อง ตามกฎหมาย เพิ่มขึ้น ตัวชี้วัด จํานวน แรงงานต่างด้าวสัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม อย่าง ถูก ต้อง ตาม กฎหมาย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 30 ภายในปี 257 0 เป้าหมายที่ 3 การ บริหารจัดการ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง กลุ่มเปราะบาง ต่อ ความมั่นคง และ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ผู้ได้รับการคุ้มครอง รวมถึง ผู้อยู่ระหว่างคัดกรอง สถานะ ที่ ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศ อันเป็น ภูมิลําเนา ได้ อย่างเป็นระบบ

  • 61 - ผลสัมฤทธิ์ ประเทศไทยมีระบบและมาตรการการบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่ม เปราะบาง ต่อ ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผู้โยกย้ายถิ่นฐำนแบบไม่ปกติ รวมถึง ผู้ได้รับ การ คุ้มครอ งหรือ ผู้อยู่ระหว่างคัดกรองสถานะที่ไม่สามารถเดินทางกลับ ประเทศอันเป็นภูมิลําเนาได้ เพื่อ เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ โดยคํานึงถึงความสมดุลระหว่างมิติ ความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และหลักสิทธิมนุษยชน ตัวชี้วัด การจัดวางระบบป้องกัน กระบวนการ และหลักเกณฑ์บริหารจัดการ ผู้หลบหนีเข้าเมือง กลุ่มเปราะบาง ต่อ ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ รวมถึง ผู้ได้รับ การคุ้มครองหรือผู้อยู่ระหว่างคัดกรองสถานะ ที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลําเนาได้ ภายในปี 2570 4 . กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 1 การป้องกันและ แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มที่มีปัญหาสถานะและสิทธิของบุคค ล กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 เร่งรัดการจัดทําสถานะบุคคลให้แก่ผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิที่ได้รับ การสํารวจจัดทําทะเบียน ประวัติไว้แล้ว กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 ทบทวน ปรับปรุง และพัฒนากฎหมายที่มีอยู่เพื่อขจัดปัญหาอุปสรรค หรือการขัดกันของกฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง กับ ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มที่มีปัญหาสถานะ และสิทธิของบุคคล กลยุทธ์ย่อยที่ 1.3 คุ้มครองและส่งเสริมสวัสดิการ อาทิ สิทธิด้านการศึกษา สิทธิด้านสาธารณสุข และสิทธิในการทํางานของ กลุ่มที่ มีปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ให้เข้าถึงเป็นไปตามกฎหมายภายใน และ พันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเป็นรัฐภาคี รวมทั้งการมีกองทุนสนับสนุนงบประมาณรองรับการดําเนินงาน ที่ เกี่ยวข้อง กลยุทธ์ย่อยที่ 1.4 จัดทําฐานข้อมูลที่เป็นข้อมูลมัธยฐานเกี่ยวกับ สถิติ ผู้หลบหนีเข้าเมือง กลุ่มที่มีปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล กลยุทธ์ หลัก ที่ 2 การป้องกันและ การแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบและจับกุมแรงงานต่างด้าว ผิดกฎหมาย ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้จัดหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง กล ยุทธ์ย่อยที่ 2.2 ทบทวนหรือปรับปรุงบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจ้างงาน ระหว่างรัฐบาล ไทย – กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม รวมทั้งบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างงานเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน อย่างถูกกฎหมาย กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 บูรณาการความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และประเทศต้นทางในการเร่งรัดกําหนดมาตรการแก้ไขปัญหากลุ่มผู้ติดตามแรงงานต่างด้าว อาทิ บุตร บิดา มารดา แ ละญาติของแรงงานต่างด้าวที่ติดตามเข้ามาในราชอาณาจักรแต่ ไม่ได้ทํางาน และกําหนดมาตรการเฉพาะ ในการจัดการกับกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติจากประเทศต้นทาง กลยุทธ์ย่อยที่ 2.4 ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศต้นทาง เพื่อเร่งรัดการออกหนังสือ เดินทางหรือเอก สารแสดงตน

  • 62 - กลยุทธ์หลักที่ 3 การป้องกันและ แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มเปราะบางต่อความมั่นคงและ ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ และกลุ่มอื่น ๆ ตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง กลยุทธ์ย่อยที่ 3.1 เพิ่มความเข้มข้นในการสกัดกั้นและป้องกันการหลบหนีเข้าเมืองเป็นพิเศษ ของ กลุ่มเปราะบางต่อความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึง ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ กล ยุทธ์ย่อยที่ 3.2 จัดระบบการตรวจสอบและติดตามการเคลื่อนไหว ของผู้หลบหนีเข้าเมือง และผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติอัน จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงและปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่างใกล้ชิด กลยุทธ์ย่อยที่ 3.3 ชี้แจงและทําความเข้าใจกับประเทศที่เกี่ยวข้องและองค์การระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการดําเนินการของฝ่ายไทย ในประเด็นการบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง กลุ่มเปราะบางต่อความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และ ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ เพื่อ ให้เกิดภาพลักษณ์ ที่ดี ต่อป ระเด็น ด้าน สิทธิมนุษยชน กลยุทธ์ย่อยที่ 3.4 แสวงหาความร่วมมือกับประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน องค์การ ระหว่างประเทศ และองค์กรพัฒนาเอกชน ทั้ง ในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อสกัดกั้นและป้องกันการเดินทาง เข้าสู่ประเทศไทย รวมถึง เตรียมพร้อมในการเดินทางกลับมาตุภูมิ หรือการส่งไปประเทศที่สาม โดยคํานึงถึง กฎหมายภายในและหลักสิทธิมนุษยชน กลยุทธ์ย่อยที่ 3.5 พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบตรวจคนเข้าเมืองและฐานข้อมูล คนเข้าเมืองให้ทันสมัยและเชื่อมโยงระหว่างส่วนราชการ เพื่ อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ตรวจสอบและ ติดตาม บุคคลต่างด้าวที่เดินทางเข้า – ออก และพํานักในประเทศไทย กลยุทธ์ย่อยที่ 3.6 กําหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมายสอดคล้องกับกฎหมาย ว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทำงกลับประเทศอันเป็นภูมิลําเนาได้ 4. หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

  • 63 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 7 การป้องกันและแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์ 1. จุดมุ่งเน้น การยกระดับสถานะ และเพิ่มขีดสมรรถนะ ของประเทศ ไทย ในการ ป้องกันและ แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ให้ได้รับการยอมรับจากสากล 2 . ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2 .1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง เป้าหมาย บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ 2 .2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 2 แผนย่อยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เป้าหมาย ปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน (เช่น ปัญหายาเสพติด ความมั่นคงทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ ฯลฯ) ได้รับการแก้ไขจนไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ 3. เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมายที่ 1 การยกระดับสถานะของประเทศไทยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ผลสัมฤทธิ์ ประเทศไทยแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนไม่ ส่งผลกระทบต่อ ภาพลักษณ์ เศรษฐกิจ การบริหาร และการพัฒนาประเทศ ตัวชี้ วัด ร้อยละความสําเร็จของประเทศไทยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ในระดับนานาชาติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ภายในปี 2570 เป้าหมายที่ 2 ประเทศไทยสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ผลสัมฤทธิ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคลากรที่ปฏิบัติงานมีศักยภาพในการป้องกันและ แก้ไข ปัญหาการค้ามนุษย์ดีขึ้น รวมทั้งสามารถบูรณาการการทํางานกับทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการ ค้า มนุษย์ร่วมกัน ตัวชี้วัดที่ 1 การปราบปรามและดําเนินคดีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 85 ภายในปี 2570 ตัวชี้วัดที่ 2 แรงงานที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและพันธกรณีระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 85 ภายในปี 2570 ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ที่ได้รับ การคุ้มครองตามกฎหมายและมาตรฐานสากล เพิ่มขึ้นร้อยละ 85 ภายในปี 257 0 ตัวชี้วัดที่ 4 การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากผลการดําเนินงานของปีที่ผ่านมา

  • 64 - 4. กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 1 การยกระดับความเชื่อมั่นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในระดับสากล กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 เร่งรัดการบริหารจัดการคดีค้ามนุษย์ โดยมีการดําเนินคดีทางอาญากับ ผู้กระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 ส่งเสริมความร่วมมือและประสานงานกับภาคประชาสังคมภายในประเท ศ และต่างประเทศในการสืบสวนสอบสวนการค้ามนุษย์ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.3 เพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินการกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ค้ามนุษย์ทั้งทางอาญาและวินัย กลยุทธ์ย่อยที่ 1.4 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแรงงานกลุ่มเปราะบางที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการนําเข้าและอนุญาตทํางานของคนต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย โดยใช้กลไกการขับเคลื่อนและบูรณาการ การทํางานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ของแรงงานไทย และแ รงงานต่างด้าว กลยุทธ์ย่อยที่ 1.5 ป้องกัน คุ้มครอง และแก้ไขปัญหาแรงงานประมงผิดกฎหมาย รวมทั้ง ส่งเสริมการตรวจติดตามเฝ้าระวังเรือประมง กลยุทธ์ย่อยที่ 1.6 เสริมสร้างความเข้าใจ การรับรู้และบูรณาการความร่วมมือในการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทยแก่นานา ประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.7 เพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และกลุ่มเสี่ยงอย่างเป็นระบบ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.8 เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการป้องกันและปราบปรามปัญหาการค้า ประเวณี และบริการทางเพศในกลุ่มเด็กและเยาวชน กลยุทธ์ย่อยที่ 1.9 เพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 2 การพัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 จัดทํา ปรั บปรุง ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการต่อต้านการค้ามนุษย์ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และพัฒนาศักยภาพให้แก่ คณะสหวิชาชีพ เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเจ้าพนักงานตํารว จ และพนักงานฝ่ายปกครอง ในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินคดีค้ามนุษย์ รวมทั้งเทคนิคการสืบสวนสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและบริบทต่าง ๆ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของพนักงานอัยการและผู้พิพากษาเกี่ยวกับ ขั้นตอนการดําเนินงาน โดยคํานึงถึงบาดแผลทางใจให้แก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.4 จัดทําและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษาเพื่อให้เด็ก และเยาวชนสามารถป้องกันตนเองจากการค้ามนุ ษย์

  • 65 - กลยุทธ์ย่อยที่ 2.5 ส่งเสริมความร่วมมือการสร้างภาคีเครือข่ายนอกภาครัฐเพื่อให้เป็น หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์กับภาครัฐให้ตระหนักถึงปัญหาการค้ามนุษย์และนําไปสู่การเฝ้าระวังและแจ้งเตือน สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.6 ส่งเสริมการดําเนินนโ ยบายเชิงรุกให้ภาคเอกชนมีการอบรมให้ความรู้ กับพนักงานหรือลูกจ้างเกี่ยวกับแนวทางการป้องกัน การคุ้มครองความเสียหาย และการรักษาสวัสดิภาพ ในกรณีหากตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.7 พัฒนาระบบบูรณาการฐานข้อมูลด้านการค้ามนุษย์ระหว่างหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อ ง เพื่อติดตามการดําเนินงานและ นํา มาใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย โดยเฉพาะการเชื่อมโยง ฐานข้อมูลแรงงานในเรือประมงให้เป็นปัจจุบัน กลยุทธ์ย่อยที่ 2.8 ส่งเสริมและพัฒนาการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการปราบปรามการแสวงประโย ชน์ทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต การสืบสวนสอบสวนเพื่อให้ได้มาซึ่งเส้นทางการเงินและทรัพย์สิน 5 . หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

  • 66 - นโยบายและแผนความมั่นคง ที่ 8 การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด 1. จุดมุ่งเน้น การป้องกัน ประชากรทุกกลุ่ มเป้าหมายไม่ให้เข้าไปเกี่ ยวข้องกับยาเสพติด การสกัดกั้ นยาเสพติด และปราบปรามขบวนการการค้ายาเสพติด ตลอดจน การบําบัด รักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดให้เกิดการยอมรับ จากสังคม 2 . ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2 .1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง เป้าหมาย บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ 2 .2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 2 แผนย่อยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เป้าหมาย ปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน (เช่น ปัญหายาเสพติด ความมั่นคงทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ ฯลฯ) ได้รับการแก้ไขจนไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ 3 . เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมายที่ 1 การป้องกันประชากรทุกกลุ่มเป้าหมายไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ผลสัมฤทธิ์ ประชากรทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับการป้องกันจากยาเสพติด ตัวชี้วัด สัดส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดต่อประชากรลดลง 8 คน ต่อประชากร 1 , 000 คน ภายในปี 257 0 เป้าหมายที่ 2 การสกัดกั้นและปราบปรามเครือข่ายการค้ายาเสพติดในประเทศและอาชญากรรมข้ามชาติ ผลสัมฤทธิ์ ประเ ทศไทยสามารถสกัดกั้นยาเสพติด ปราบปราม และ ทําลายเครือข่ายการค้า ยาเสพติดรายสําคัญ ด้วยมาตรการทางทรัพย์สิน ตัวชี้วัด ที่ 1 คดียาเสพติดที่มีการสืบสวนขยายผลจากการจับกุมผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จากผลการดําเนินงานของปีที่ผ่านมา ตัวชี้วัด ที่ 2 การสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดนเปรียบเทียบกับปริมาณที่จับกุม ยาเสพติด ทั้งประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากผลการดําเนินงานของปีที่ผ่านมา เป้าหมายที่ 3 ผู้เสพยาเสพติดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขไม่ส่งผลกระทบ ต่อสังคม และไม่หวนกลับเข้าสู่วงจรยาเสพติด ผลสัมฤทธิ์ ผู้เสพยาเสพติดที่เข้าสู่กระบวนการบําบัดรักษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น

  • 67 - ตัวชี้วัด ผู้เสพยาเสพติดที่เข้าสู่กระบวนการบําบัดรักษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากปี 2569 ในปี 2570 4 . กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้มี ภูมิคุ้มกันและสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างพื้นที่ปลอดภัยและลดความต้องการยาเสพติด กลยุทธ์ย่อยที่ 1 . 1 สร้างภูมิคุ้ มกันระดับบุคคล ด้วยการเสริมสร้างทัศนคติและ ความรู้ เท่าทันยาเสพติดทั้งการเสพและการค้า รวมถึง การพัฒนาคุณภาพชีวิตและ ส่งเสริมกิจกรรม เชิง สร้างสรรค์ ให้สอดคล้องกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ทั้งรูปแบบ เนื้อหา วิธีการ และช่องทางการสื่อสาร และให้ความสําคัญ กับการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายในทุกขั้นตอน กลยุทธ์ย่อยที่ 1 . 2 สร้างความเข้มแข็งในสถาบันครอบครัวและชุมชน เพื่อเป็นกลไกป้องกัน ยาเสพติด และดูแลประคับประคองกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยง เพื่อลดโอกาสการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งการเสพและการค้า กลยุทธ์ย่อยที่ 1 . 3 สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน พัฒนา เสริมสร้างกลไก เค รือข่าย ทางสังคมในการ เฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนาปัจจัยบวก และควบคุมปัจจัยเสี่ยงเพื่อให้สังคมเกิดสภาวะแวดล้อม ที่ปลอดภัยจาก ยาเสพติด กลยุทธ์ย่อยที่ 1 . 4 เฝ้าระวัง ป้องกัน และสร้างความรู้เท่าทันยาเสพติดบนพื้นที่เสมือน (Cyber Space) กลยุทธ์หลักที่ 2 การ ลดอุปทานยาเสพติด และ ปราบปรามเครือข่ายยาเสพติด/องค์กรอาชญากรรม กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 สกัดกั้นการลักลอบลําเลียงยาเสพติดตั้งแต่พื้นที่ชายแดนไม่ให้เข้าสู่ พื้นที่ตอนในของประเทศ และไม่ให้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน ในการลักลอบลําเลียงยาเสพติด กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 ปราบปรามผู้ค้ายาเสพติดและเครือข่ายการค้ายาเสพติดในประเทศ และอาชญากรรมข้ามชาติ ด้วยมาตรการทาง ทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 เพิ่ม ประสิทธิภาพ การบังคับใช้กฎหมายใน กระบวนการยุติธรรม อย่างเป็นธรรม ตลอดจนดําเนินการต่อเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ที่ เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด อย่างจริงจัง กลยุทธ์ย่อยที่ 2.4 พัฒนาเทคโนโลยีและฐานข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวังการใช้ แพลตฟอร์มออนไลน์ ในการลักลอบจําหน่ายยาเสพติด และประโยชน์ทางเทคโนโลยีในการลักลอบลําเลียง ยาเสพติด กลยุทธ์ย่อยที่ 2.5 พัฒนาระบบการข่าวและการแจ้งเตือนข้อมูล เครือข่าย การค้ายาเสพติด เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถดําเนินการจับกุมและสกัดกั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.6 ลดวงจรค้ายาเสพติดในระดับผู้ค้ายาเสพติดรายย่อย และ ลงโทษผู้ต้องหา คดียาเสพติดรายย่อยตามลักษณะและพฤติกรรมความผิด กลยุทธ์หลักที่ 3 การ สร้างความสมดุลบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนในการบําบัด ฟื้นฟู และการผนวกสู่สังคม ได้อย่างปกติสุข

  • 68 - กลยุทธ์ย่อยที่ 3.1 ลดความเป็นอาชญากรรม ปรับเปลี่ยนมุมมองทางสังคมต่อผู้ที่ติดยาเสพติด มองผู้เสพเป็นผู้ป่วยที่ควรได้รับการบําบัดรักษา และดูแลช่วยเหลือ กลยุทธ์ย่อยที่ 3.2 ยึดหลักทางสาธารณสุขเป็นแนวทางนําในการลดอุปสงค์ยาเสพติด โดยใช้ระบบสมัครใจของผู้เสพ รวมถึงการพัฒนาระบบการบําบัด รักษา และฟื้นฟูผู้ที่ ติดยาเสพติดให้มีประสิทธิผล และประสิทธิภาพในทุกกระบวนการ โดยมุ่งเน้นป้องกันการกลับมาติดยาเสพติดซ้ํา กลยุทธ์ย่อยที่ 3.3 เสริมสร้างโอกาสและทางเลือกของผู้เสพยาเสพติด ภายหลังการเข้ารับ การบําบัดให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข มีศักดิ์ศรีบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน และ ไม่ถูกตีตราหรือ เลือกปฏิบัติ กลยุทธ์หลักที่ 4 การเสริมสร้าง ความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ป้องกัน ปราบปราม และ แก้ไขปัญหา ยาเสพติด กลยุทธ์ย่อย ที่ 4.1 เสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือด้านยาเสพติด ทั้งการป้องกัน ปราบปราม และบําบัดฟื้นฟูกับองค์กำ รระหว่างประเทศ ประเทศในภูมิภาคอาเซียน และนานาประเทศ กลยุทธ์ย่ อยที่ 4.2 พัฒนาขีดความสามารถให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเรี ยนรู้ และการพัฒนาบุคลากรด้านยาเสพติดระหว่างประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 4.3 เสริมสร้างการ ใช้กลไกคณะทํางานร่วมด้านความมั่นคง เพื่อส่งเสริม ความร่วมมือระดับทวิภาคี และพหุภาคี ในการปราบปรามองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และการค้ายาเสพติด ระหว่างประเทศ 5. หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบู รณาการขับเคลื่อน กระทรวงยุติธรรม ( สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด )

  • 69 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 9 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1. จุดมุ่งเน้น การจัดการ ความเสี่ ยงสาธารณภัยที่ สําคัญอันเกิดจากภัยธรรมชาติ และภัยที่ เกิดจากการกระทํา ของมนุษย์ และ/หรือ เป็นภัยซ้ําซ้อน ให้ สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และยั่งยืน 2 . ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2 .1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง เป้าหมาย บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ 2 .2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 2 แผนย่อยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผล กระทบต่อความมั่นคง เป้าหมาย ปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน (เช่น ปัญหายาเสพติด ความมั่นคงทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ ฯลฯ) ได้รับการแก้ไขจนไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ 3 . เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมาย การ ยกระดับ การจัดการความเสี่ยงสาธารณภัย ที่สําคัญ อันเกิดจากภัยธรรมชาติ และ ภัยที่เกิดจาก การกระทําของมนุษย์ ที่เกิดขึ้น และ/หรือ เป็นภัยซ้ําซ้อน (Compound Hazards ) ไปสู่มาตรฐานตามหลักสากล ผลสัมฤทธิ์ ประเทศไทยสามารถจัดการความเสี่ยง พร้อมทั้งรับมือและลดผลกระทบจากสาธารณภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัดที่ 1 อัตราการเสียชีวิตจาก ภัยธรรมชาติ ( อุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง ) ต่อประชากร 100,000 คน ลดลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ตัวชี้วัดที่ 2 จํานวนผู้ได้รับผลกระทบจาก ภัยธรรมชาติ ( อุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง ) ต่อประชากร 100,000 คน ลดลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ตัวชี้วัดที่ 3 อัตราการเสียชีวิตจาก ภัยที่เกิดจากการกระทําของมนุษย์ (อัคคีภัย) ต่อประชากร 100 , 000 คน ลดลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ตัวชี้วัดที่ 4 การแจ้งเตือนสาธารณภัยล่วงหน้าได้ทันสถานการณ์ภายในระยะเวลาที่กําหนด (เฉพาะภัยธรรมชาติ 4 ภัย ได้แก่ อุทกภัย วาตภัย น้ําป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม และสึนามิ) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 98 ของการเกิดภัยดังกล่าวทุกปี 4 . กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 1 การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย ให้มีประสิทธิภาพ กล ยุทธ์ย่อยที่ 1.1 พัฒนามาตรการลด ความเสี่ยง จากสาธารณภัย ที่เกิดขึ้น และ ป้องกัน ความเสี่ยงใหม่ ให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงภัยซ้ําซ้อน โดยเฉพาะอุทกภัย วาตภัย น้ําป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม

  • 70 - สึนามิ และอัคคีภัย หรือเหตุอื่นใดซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ อาทิ ภัยจากสารเคมีรั่วไหล และปัญหาน้ํามันรั่วไหลในทะเล กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 พัฒนา ระบบคลังข้อมูลความเสี่ ยงสาธารณภัยแห่งชาติให้ทันส มัย มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน โดยมีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน การประสานแลกเปลี่ยน และบูรณาการ ข้อมูลร่วมกันด้วยเทคโนโลยี เพื่อนํามาวางแผนตัดสินใจเชิงนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน รวมถึง การแจ้งเตือนภัย พร้อมทั้งการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ของทุกภาคส่ วน กลยุทธ์ย่อยที่ 1.3 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงการรับรู้และตระหนักรู้การจัดการ ความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่ถูกต้องให้กับทุกภาคส่วน ทั้งมิติการวิเคราะห์ภัยที่อาจเกิดขึ้น ความล่อแหลมในพื้นที่ และประเมินสภาพความเปราะบางที่อาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน กลยุทธ์ย่อยที่ 1.4 พัฒนาแนวทางการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัย ในทุกระดับ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสากล โดยให้ความสําคัญกับการระดมทรัพยากรเข้าพื้นที่ประสบภัย การให้ ความช่วยเหลือผู้ประ สบภัย การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะของประเทศ การจัดการพื้นที่ ตามระบบผังเมือง ระบบประกันภัย การฝึกป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การอพยพและศูนย์พักพิงชั่วคราว การบริหารความต่อเนื่อง โดยให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชำชน เข้ามา มีส่วนร่วมตลอดกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้วย กลยุทธ์ย่อยที่ 1.5 ส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากรและการสร้างแรงจูงใจในการดําเนินการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของภำคีเครือข่าย ภาคประชาชน อาสาสมัคร และอื่น ๆ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.6 ส่งเสริม พัฒนา ต่อยอดงานวิจัยและองค์ความรู้ โดยประยุกต์ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการจัดตั้งสถาบันด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ของประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญและความเป็นมืออาชีพให้มีทักษะ ความ รู้ และสมรรถนะ ด้านการจัดการความเสี่ยงสาธารณภัย ตลอดจนยกระดับศักยภาพการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.7 ส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงสาธารณภัย และ การประสานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ใ ห้ครอบคลุมมิติการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง กลยุทธ์ หลัก ที่ 2 การจัดการสาธารณภัยให้มีมาตรฐานตามหลักสากล กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 เสริมสร้างการจัดการในภาวะฉุกเฉินแบบบูรณาการให้เป็นไปตาม มาตรฐานในการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉิน โดยเร่งกระบวนการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย การใช้ระบบ บัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System: ICS ) แ ละการใช้วง เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เพื่อ บรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของผู้ประสบภัยพิบัติ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 กําหนดแนวทาง การ ปฏิบัติ ร่วมของ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ( Emergency Operation Center: EOC) ให้เป็นระบบมาตรฐานหลักสากล และหลักธรรมาภิบาล เพื่อลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย การเตรียมพร้อมรับมือกับสาธารณภัย และการฟื้นฟู บนฐานข้อมูลความเสียหายและความต้องการของประชาชน

  • 71 - กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 พัฒนาระบบการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่าง หน่วยงานในการจัดการความเสี่ยงสาธารณภัยที่มีแนวโน้มขยายขอบเขตไปสู่ การจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ ขึ้น ไปให้มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.4 พัฒนาระบบ การแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า ( Early Warning) โดยใช้เทคโนโลยี สาร สนเทศ นวัตกรรม แบบจําลองการวิเคราะห์ข้อมูลจํานวนมาก ( Data Analytics and Big Data) ปัญญาประดิษฐ์ ( Artificial Intelligence: AI) รวมถึงเสริมสร้าง ความตระหนักรู้ และการตอบสนองต่อการแจ้งเตือนภัยข อง ชุมชน และ ประชาชน กลยุทธ์ย่อยที่ 2.5 เสริมสร้างระบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับการบรรเทาทุกข์และการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และเป็นธรรม 5 . หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย )

  • 72 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 10 การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ 1. จุดมุ่งเน้น ประเทศไทยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการ ป้องกัน การโจมตีทางไซเบอร์ การ ยกระดับมาตรฐาน รักษา ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และลดการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ 2 . ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2 .1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง เป้าหมาย บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ 2 .2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 2 แผนย่อยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เป้าหมาย ปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน (เช่น ปัญหายาเสพติด ความมั่นคงทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ ฯลฯ) ได้รับการแก้ไขจนไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ 3. เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมาย ประเทศไทยมีความพร้อมต่อการป้องกัน รับมือความเสี่ยงกับภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์และอาชญากรรม ทาง ไซเบอร์ ผลสัมฤทธิ์ หน่วยงานระดับชาติ กลุ่มภารกิจหรือให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ และระดับ หน่วยงานมี ความพร้อมและ มาตรการและแนวทางปฏิบัติในการลดความเสี่ยง จาก ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่เท่าทันเหตุการณ์สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมถึงมีกลไกและแนวทางในการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมทางไซเบอร์ แ ละการพัฒนาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์ ตัวชี้ วัดที่ 1 การพัฒนาระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้สอดคล้องมาตรฐานสากล เพิ่มขึ้นร้อยละ 90 ภายในปี 2570 ตัวชี้วัดที่ 2 การแก้ไขเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต่อโครงสร้างพื้นฐานสําคัญ ทางสารสนเทศที่มี ประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้นร้อยละ 90 ภายในปี 2570 ตัวชี้วัดที่ 3 การจัดทําหรือพัฒนากลไก มาตรการ และแนวทางในการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมทางไซเบอร์ รวมถึงการพัฒนาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6 0 ภายในปี 2570 ตัวชี้วัดที่ 4 สถิติคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ลดลงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

  • 73 - 4 . กลยุทธ์ กลยุทธ์หลักที่ 1 การป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงกับภั ยคุกคามทางไซเบอร์ที่กระทบต่อระบบ โครงสร้าง พื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 เสริมสร้างศักยภาพของ กลไกและ หน่วยงานระดับชาติ ศูนย์ประสาน การรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( National Computer Emergency Response Team: NCERT) และศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ สําหรับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญ ทางสารสนเทศ (Sectorial CERT) โดยมีการเชื่อมโยงการทํางานระหว่างกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถรักษา ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และแก้ไขเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้ อย่าง มี ประสิทธิภาพ กลยุทธ์ย่อยที่ 1. 2 ส่งเสริมให้ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศมี มาตร ฐาน และแนวทางปฏิบัติ ในการ ป้องกัน รับมือ ลดความเสี่ยง รักษา และฟื้นฟูความเสียหาย จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่เท่าทันต่อเหตุ การณ์ ที่สอดคล้องกับ มาตรฐานสากล กลยุทธ์ย่อยที่ 1. 3 บูรณาการความร่วมมือ ภายในประเทศ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ทั้งฝ่ายทหาร พลเรือน ตํารวจ ภาคเอกชน และ ภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็ง เพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์และเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ต่อ โครงสร้าง พื้นฐานสําคัญทางสาร สนเทศ รวมถึง สงครามไซเบอร์ กลยุทธ์ย่อยที่ 1. 4 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดย แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ข่าวกรอง และความรู้ที่ทันต่อเหตุการณ์ และเสริมสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีในทุกระดับ เพื่อให้สามารถป้องกัน ลดความเสี่ยง รวมถึงรับมือกับภัยคุกคาม ทางไซเบอร์และเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเ บอร์ต่อโครงสร้างพื้นฐานสําคัญ ทางสารสนเทศ ได้อย่า งทันท่วงที กลยุทธ์ย่อยที่ 1. 5 ส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกํากับดูแล และหน่วยงาน เอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งพัฒนาทักษะ ความรู้ และ ความ เชี่ยวชาญใน ด้าน การรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ หรือบุคลากรของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อ ง กลยุทธ์ย่อยที่ 1.6 ส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสําคัญ ของ ภัยคุกคามทางไซเบอร์และเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับ ความมั่นคงปลอดภัยไซ เบอร์ แก่ องค์กรและบุคลากร ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่เกี่ยวข้อง กลยุทธ์หลักที่ 2 การเสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้ไซเบอร์เป็นช่องทาง ในการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ กลยุทธ์ย่อยที่ 2 .1 พัฒนา กลไก มาตรการ และ แนวทาง ที่ เกี่ ยวข้องกับ การป้องกัน และปราบปราม ที่ครอบคลุมถึงการ พัฒนาการเฝ้าระวังความเสี่ยงในการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ การแจ้งเตือน เพื่อลดความเสี่ยงการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ รวมถึงการติดตาม วิเคราะห์ และการประมวลผลข้อมูล ตลอดจนพัฒนาการ สืบสวนอาชญากรรม ทาง ไซเบอร์ ด้วย การนํา เทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์

  • 74 - กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 ส่งเสริมค วามร่วมมือ หรือให้ความช่วยเหลือระหว่างหน่วยงาน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจาก การก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ร่วมกัน กลยุทธ์ย่อยที่ 2 . 3 เสริมสร้างความตระหนักรู้ และพัฒนาขีดความสามารถแก่ องค์กร และ บุคลากร ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ในการป้องกันตนเองจากอาชญากรรม ทางไซเบอร์ 5 . หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

  • 75 - นโยบายและแผนความมั่นคง ที่ 11 การป้องกันและแก้ไขปัญหา การก่อการร้าย 1. จุดมุ่งเน้น ประเทศ ไทย มีภูมิคุ้มกันในการรับมือ กับภัยก่อการร้าย มีขีดความสามารถในการตอบโต้ และมีศักยภาพ ในการ ฟื้น ตัวจากภัยก่อการร้าย 2 . ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2 .1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง เป้าหมาย บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ 2 .2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 2 แผนย่อยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เป้าหมาย ปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน (เช่น ปัญหายาเสพติด ความมั่นคงทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ ฯลฯ) ได้รับการแก้ไขจนไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ 3 . เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมายที่ 1 ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับภัยก่อการร้าย ผลสัมฤทธิ์ หน่วยงาน ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติมี ขีดความสามารถในการเตรียมพร้อม รับ มือ กับ ภัยก่อการร้ายเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัด การดําเนินการมาตรการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเชิงป้องกันภัยก่อการร้าย อย่างน้อย ร้อยละ 80 ภายในปี 2570 เป้าหมายที่ 2 ประเทศไทยมี ขีดความสามารถ ในการตอบโต้ ต่อเหตุวิกฤต จากการก่อการร้าย ผลสัมฤทธิ์ หน่วยงาน สามารถระงับเหตุ จากการก่อการร้าย ได้ทันการณ์ และลด ความสูญเสีย ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด ตัวชี้วัด การพัฒนาศักยภาพของระบบที่ตอบสนอง ต่อ การระงับเหตุวิกฤตจากการก่อการร้าย และควบคุม สถานการณ์การก่อการร้าย อย่างน้อยร้อยละ 80 ภายในปี 2570 เป้าหมายที่ 3 ประเทศไทยมี ศักยภาพ ในการฟื้น ตัวจากภัยก่อการร้ายให้กลับสู่สภาวะปกติ ผลสัมฤทธิ์ เหยื่ อและผู้ ได้รับผลกระทบจากการก่อการ ร้ายได้รับการช่วยเหลือ เยียวยา อย่าง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพื้นที่ประสบภัยจากการก่อการร้ายมีการ ฟื้นตัว ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ โดยเร็ว และปลอดภัยกว่าเดิม ตัวชี้วัด การวางระบบฟื้นตัวจากภัยก่อการร้าย อย่างน้อย ร้อยละ 80 ภายในปี 2570 และสามารถ ฟื้นฟูจากเหตุก่อการร้ายได้

  • 76 - 4. กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 1 การป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกัน ในการรับมือกับภัยก่อการร้า ย กลยุ ทธ์ ย่ อยที ่ 1.1 แลกเปลี ่ ยนข้ อมู ลข่ำวสารและข่ำวกรอง ด้ำนการก่ อการร้ำย ทั้ง ภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นความถูกต้อง รวดเร็ว และความน่าเชื่อถือ เพื่อเอื้ออํานวยให้มีข้อมูล ที่เพียงพอต่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 ป้องกันการเดินทางผ่านเข้า และ ออกของนักรบก่อการร้ายต่างชาติ โดย เสริมสร้างการบริหารจัดการระบบการรักษาความมั่ นคงปลอดภัยทั้ งทางบก ทางน้ํา และทางอากาศ ให้มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.3 รับมือกับการเผยแพร่ลัทธิและแนวคิดที่ยึดหลักความรุนแรงทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการป้องกันและยับยั้งแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน กลยุท ธ์ย่อยที่ 1.4 ปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสําคัญและพื้นที่เปราะบาง โดยเฉพาะ การรักษา ความปลอดภัยสถานที่ราชการ สถานที่สําคัญ และบุคคล กลยุท ธ์ย่อยที่ 1.5 ต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย โดยเสริม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เกี่ยวกับ กระบวนการสืบสวนสอบสวนทางการเงิน กลยุทธ์ย่อยที่ 1.6 จัดทํา ระบบ ฐานข้อมูล และเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้าน การก่อการร้ายระหว่างหน่วยงานภายในประเทศ กลยุท ธ์ย่อยที่ 1.7 พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการดําเนินการในกรอบนโยบายและกรอบกฎหมาย พร้อมทั้ง สร้าง การ ตระหนัก รู้ และการมีส่วนร่วมของ ภาคเอกชนและภาค ประชาชนในการป้องกันภัยก่อการร้าย กลยุทธ์ หลัก ที่ 2 การเสริมสร้าง การตอบโต้ต่อเหตุวิกฤตจากการก่อการร้าย กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 พัฒนากลไกการรับมือขณะเกิดเหตุ ก่อการร้าย ให้เป็นเอกภาพ โดยเฉพาะ บุคคลแรกหรือหน่วยงานแรก ( First R esponder) ที่ต้องเข้าถึงที่เกิดเหตุ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 ส่งเสริมความร่วมมือกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในคดีที่เกี่ยวข้องกับ การก่อการร้ายกับหน่วยงานภายในประเทศและหน่วยงานต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยแลกเปลี่ ยน และพัฒนาองค์ความรู้และการ ฝึกซ้อมร่วมกันกับ หน่วยงานภายในประเทศหรือต่างประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 2. 4 พัฒนาระบบการแจ้งเตือน การสื่อสาร และการประชาสัมพันธ์ต่อ เหตุวิกฤตจากการก่อการร้าย เพื่อสร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และความ เชื่อมั่นให้แก่ประชาชน กลยุทธ์ หลัก ที่ 3 การเสริมสร้างการฟื้นตัวภายหลังเกิดเหตุวิกฤตก่อการร้ายให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว กลยุทธ์ย่อยที่ 3 . 1 ฟื้นฟูระบบการทํางานของโครงสร้างพื้นฐานสําคัญที่ได้รับความเสียหาย หรือผลกระทบจากการก่อเหตุก่อการร้าย เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติประจําวันได้โดยเร็วที่สุด

  • 77 - กลยุทธ์ย่อยที่ 3.2 จัดทํา พัฒนา วางระบบกลไก และหลักเกณฑ์ การประเมินความเสียหาย ความต้องการความช่วยเหลือ และ ดําเนินการ การเยียวยาแก่เหยื่อ ครอบครัวของเหยื่อ และ ผู้ได้รับผลกระทบ จากการก่อเหตุ ก่อการร้าย กลยุทธ์ย่อยที่ 3.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่น สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายแนวคิดสุดโต่ง ที่นิยมความรุนแรง ผู้ที่เคยได้รับการบ่มเพาะแนวคิดสุดโต่ง ที่นิยม ความรุนแรง และผู้เคยกระทําผิดฐานการก่อการร้าย 5 . หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

  • 78 - นโยบายและแผนความมั่นคง ที่ 1 2 การสร้างดุลยภาพระหว่างประเทศ 1. จุดมุ่งเน้น ประเทศไทยสามารถ รักษาดุลยภาพระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้าง ความมั่นคง แห่งชาติ มี บทบาทนํา ในประชาคมการเมื องและความมั ่ นคงอาเซี ยน รวมทั ้ งรั กษาผลประโยชน์ แห่ งชาติ บริ เวณลุ ่ มน้ ําโขง และ ความสัมพันธ์อันดีกับประเทศรอบบ้าน 2 . ความเชื่อมโยงกับ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2 .1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง เป้าหมายที่ 4 ประเทศไทยมีบทบาทด้านความมั่นคงเป็นที่ชื่นชมและได้รับการยอมรับโดยประชาคม ระหว่างประเทศ 2 .2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 4 แผนย่อยการ บูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนและนานาชาติ รวมทั้งองค์กรภาครัฐและมิใช่ภาครัฐ เป้า หมาย 1 . ประเทศไทยมีความมั่นคงและสามารถ รับมือกับความท้าทายจากภายนอก ได้ทุกรูปแบบสูงขึ้น 2 . ประเทศไทยมี บทบาทเพิ ่ มขึ ้ นในการกําหนดทิศทางและส่ งเสริม เสถียรภาพของภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งเป็นประเทศแนวหน้าในภูมิภาคอาเซียน • ประเด็นการต่างประเทศ แผนย่อยที่ 1 แผนย่อยความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ เป้าหมาย 1 . ประเทศไทยมีความมั่นคงและสามารถรับมือกับความท้าทายจากภายนอก ได้ทุกรูปแบบสูงขึ้น 2 . ประเทศไทยมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการกําหนดทิศทางและส่งเสริ ม เสถียรภาพ ของภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งเป็นประเทศแนวหน้าในภูมิภาคอาเซียน 3 . เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมายที่ 1 ประเทศ ไทย สามารถรักษาความสัมพันธ์ กับประเทศ มหาอํานาจและประเทศ ที่มีความสําคัญ เชิงยุทธศาสตร์ ต่อความมั่นคงของไทย อย่างมีดุลยภาพ ผลสัมฤทธิ์ ประเทศ ไทยสามารถรักษาผลประโยชน์ แห่งชาติ และแสดงท่าที อย่างเหมาะสม ผ่านกลไกความร่วมมือ หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่มีความ สําคัญ เชิง ยุทธศาสตร์ ต่อความมั่นคงของไทย ตัวชี้วัด ประเทศไทยมีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ําเสมอกับ 4 กลุ่มประเทศเหล่านี้ อย่างน้อยกลุ่มละ 1 ครั้งต่อปี ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มที่ 2 สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และ

  • 79 - ออสเตรเลีย กลุ่มที่ 3 จีนและรัสเซีย กลุ่มที่ 4 ประเทศอื่น ๆ ที่มีความสําคัญเชิ งยุทธศาสตร์กับไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย แอฟริกาใต้ บราซิล ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน และอิสราเอล เป้าหมายที่ 2 ประเทศไทยมี บทบาทนําในประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ผลสัมฤทธิ์ ข้อตกลงหรือข้อปฏิบัติร่วมกันของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ในเรื่องการ ป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามที่สําคัญในภูมิภาค ตั วชี ้ วั ด ความสําเร็ จของไทยในการผลักดัน ให้ ข้ อเสนอ ในประเด็นความมั่ นคง ที่ ไทย ให้ความ สําคัญ ปรากฏในเอกสารผลลัพธ์การประชุมในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสขึ้นไปของกลไกภายใต้ประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียน อย่างน้อย 1 ฉบับต่อปี เป้าหมายที่ 3 ประเทศไทยสามารถรักษาผลประโยชน์แห่งชาติในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง และสามารถรักษา ความสัมพันธ์อันดีกับประเทศรอบบ้าน ผล สัมฤทธิ์ การได้รับผลประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มประเทศอนุภูมิ ภาค ลุ่มน้ําโขง และประเทศ รอบบ้านของไทย ตัวชี้ วัดที่ 1 ระดับความสําเร็จในการจัดทําแผนลุ่ มน้ําเชิงรุกระดับภูมิภาค ( Proactive Regional Planning) เพื่อบริหารทรัพยากรน้ําในลุ่มน้ําโขงอย่างยั่งยืน ตัวชี้วัดที่ 2 ไทยสามารถจัดทํา ผลลัพธ์ด้าน ความร่วมมือด้าน ความมั่นคงที่เป็นรูปธรรม ( key deliverables) ในกรอบหรือกับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขงได้อย่างน้อยปีละ 3 ประเด็น หรือ 15 ประเด็น ภายในปี 2570 3. กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 1 การรักษาดุล ย ภาพระหว่างประเทศสําคัญทางยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ย่อยที่ 1 .1 ทบทวนและ กําหนดแนวทางท่าทีของไทยต่อประเทศมหาอํานาจ ประเทศหรือ กลุ่มประเทศที่มีบทบาทสําคัญทางยุทธศาสตร์ และ ประเทศที่ มี บทบาท ด้านการเมือง ความมั่นคง การทหาร และเศรษฐกิจที่สําคัญในภูมิภาค เพื่อ ปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติของไทย และรักษา ดุลยภาพ ความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงระหว่างประเทศได้อย่างเหมาะสม กลยุทธ์ย่อยที่ 1 .2 รักษา ความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับประเทศ หรือกลุ่มประเทศ ที่มีความ สําคัญทางยุทธศาสตร์ เพื่อให้ไทยสามารถประเมินการเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษา ดุลยภาพระหว่างประเทศของไทยได้ทันท่วงที กลยุทธ์ย่อยที่ 1 .3 ส่งเสริมการจัดตั้ง หรือ ขับเคลื่อนกลไกหารือด้านความมั่นคงระหว่างไทย กับประเทศที่มีความสําคัญทางยุทธศาสตร์ เพื่อ รักษาผลประโยชน์แห่งชาติของไทย กลยุทธ์ หลัก ที่ 2 การเสริมสร้างบทบาท นํา ของไทย ใน ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน กลยุทธ์ย่อยที่ 2 .1 เสริมสร้างบทบาทนําที่สร้างสรรค์ของไทยในการรักษาสันติภาพและ การแก้ไข ข้อพิพาทโดยสันติวิธี เพื่อเสถียรภาพความมั่นคงของ อาเซียน

  • 80 - กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 เสริมสร้างบทบาทนําของไทย ในประชาคมการเมืองและความมั่นคง อาเซียน เพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของไทย และเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาค โดยผลักดัน ความร่วมมือ ในการป้องกันและแก้ไข ภัยคุกคาม ระดับภูมิภาค อาทิ ประเด็นโจรสลัดและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธ ประเด็น การ ต่อต้าน ยาเสพติด และสินค้าผิดกฎหมาย ประเด็นการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ ปกติ ประเด็น ภัยคุกคาม ทางไซเบอร์ ประเด็นหมอกควันข้ามแด น และประเด็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 ดําเนินการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และการทูตเชิงป้องกัน ระหว่างไทย กับประเทศสมาชิก อาเซียน เพื่อ สร้างบรรยากาศแห่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค กลยุทธ์ย่อยที่ 2.4 เสริมสร้างศักยภาพปฏิบัติการทางทหารร่วมกับอาเซียนในภารกิจ ที่มิใช่ ด้านสงคราม อาทิ การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทา ภัยพิบัติ ( Humanitarian Assistance and Disaster Relief: HADR ) การแพทย์ทหาร (Military Medicine: MM) และ การต่อต้าน การ ก่อการร้าย (Counter Terrorism: CT) ผ่านการแลกเปลี่ยนความร่วมมือและข้อมูลร่วมกัน กลยุทธ์หลักที่ 3 การ ส่งเสริมความเข้าใจและพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคง กับประเทศรอบบ้าน และอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง กลยุทธ์ย่อยที่ 3.1 เสริมสร้างบทบาทนําของไทยในกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคง ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง เพื่อกําหนดทิศทางและแนวทางการปฏิบัติที่ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี ความร่วมมือ ที่สร้างสรรค์ และความยั่งยืนร่วมกัน อันส่งผลให้อนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขงเป็นอนุภูมิภาคแห่งความร่วมมือ กลยุทธ์ย่อยที่ 3.2 ผลักดันกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงที่มีอยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง เพื่อป้องกันและ แก้ไขประเด็นความมั่นคงที่สําคัญ อาทิ ประเด็น การบริหารจัดการน้ํา ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นยาเสพติด ประเด็นการค้ามนุษย์ และประเด็นการบริหารจัดการ ความเสี่ยงโรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคระบาดข้ามพรมแดน กลยุทธ์ย่อยที่ 3.3 ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงกับกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาค ลุ่มน้ําโขง เพื่อสร้ำงดุลยภาพที่สร้างสรรค์ และรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของไทย กลยุทธ์ย่อยที่ 3.4 เสริมสร้าง ความเข้าใจและพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคง รวมถึง การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยสันติวิธีระหว่ำงไทยกับประเทศรอบบ้าน ภายใต้ กลไกความร่วมมือ ด้านความมั่นคง ทุกระดับ กลยุทธ์ย่อยที่ 3.5 ส่งเสริม สนับสนุน และ ใช้ความเข้มแข็งของความร่วมมือระดับ ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น ภาคเอกชน และ สมาคมมิตรภาพ มาใช้ในการ ดําเนิน กิจกรรม ที่นําไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างไทยกับประเทศรอบบ้าน 5 . หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน กระทรวงการต่างประเทศ

  • 81 - นโยบายและแผนความมั่นคง ที่ 13 การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและโรคติดต่ออุบัติใหม่ 1. จุดมุ่งเน้น การเตรียมความพร้อม และเพิ่ มขีดความสามารถการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และโรคติดต่ออุบัติใหม่ ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมและการบริหารจัดการทรัพยากรด้านการแพทย์รองรับ ภาวะวิกฤต 2. ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2.1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง เป้าหมาย บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ 2.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 2 แผนย่อยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อควำมมั่นคง เป้าหมาย ปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน (เช่น ปัญหายาเสพติด ความมั่นคงทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ ฯลฯ) ได้รับการแก้ไขจนไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ 3. เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมายที่ 1 ระบบสาธารณสุขมีความพร้อมในการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข 5 ด้าน ประกอบด้วย 1 ) โรคติดต่อและการระบาด 2 ) โรคและภัยที่เกิดจากสารเคมี 3 ) โรคและภัยสุขภาพที่เกิดจาก กัมมันตภาพรังสีและนิวเคลียร์ 4 ) โรคที่เกิดจากการบาดเจ็บและอุบัติภัย และ 5 ) โรคและภัยสุขภาพอันเกิดจาก ภัยธรรมชาติ ผลสัมฤทธิ์ ประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมเพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน สาธารณสุขกับทุกภาคส่วน รองรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและโรคติดต่ออุบัติให ม่ ตัวชี้วัด ที่ 1 หน่วยงานด้านสาธารณสุขทั้งส่วนกลางและระดับภูมิภาค มีแผนเผชิญเหตุเพื่อรองรับ ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขทั้ง 5 ด้าน ร้อยละ 80 ภายในปี 2570 ตัวชี้วัด ที่ 2 การฝึกซ้อมเพื่อบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เป็นประจําทุก 2 ปี เป้าหมายที่ 2 ระบบสาธารณสุขมีศักยภาพการเผชิญเหตุและการบริการด้านการแพทย์ในภาวะฉุกเฉิน ผลสัมฤทธิ์ ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรค จัดการ ภัยคุกคามสุขภาพ และดูแลประชาชน เมื่อเกิดภาวะสาธารณสุขฉุกเฉินและโรคติดต่ออุบัติใหม่ ตัวชี้วัด ที่ 1 ความสําเร็จของการ มีระบบรองรับการบริหารจัดการเฝ้าระวัง คัดกรอง และตรวจ วินิจฉัยโรคติดต่ออุบัติใหม่และภัยสุขภาพ เมื่อเกิด ภาวะฉุกเฉินระดับเขตสุขภาพ ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 ตัวชี้วัดที่ 2 ระ บบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ในภาวะวิ กฤตจากการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่และภัยสุขภาพ ได้แก่ 1 ) เขตสุขภาพมีระบบการบริหารจัดการเตียง เพื่อรองรับผู้ป่วยวิกฤตในภาวะฉุกเฉิน ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 และ 2) เขตสุขภาพมีระบบบริหารจัดการ

  • 82 - ทรัพยากรทางการแพทย์ การสํารองยา และเวชภัณฑ์ที่จําเป็นให้สามารถใช้งานได้อย่างน้อย 2 เดือน เพื่อให้ สามารถเผชิญเหตุได้อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 80 ภายในปี 2570 ตัวชี้วัดที่ 3 เขตสุขภาพมีแนวทางการระดมสรรพกําลังบุคลากรเพื่อดูแลประชาชนยามวิกฤต ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 เป้าหมายที่ 3 ระบบสาธารณสุขของประเทศสามารถพึ่งตนเองได้ มีความมั่นคงทางยาและเวชภัณฑ์ ผลสัมฤทธิ์ ประเทศไทย สามารถผลิตยาและเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภาวะฉุกเฉิน ทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตัวชี้วัด ที่ 1 มูลค่าการสนับสนุนการผลิตยาและอุตสาหกรรม ทาง การแพทย์ภายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ตัวชี้วัดที่ 2 การจัดทําข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของ การผลิตยาและ อุตสาหกรรม ทาง การแพทย์ ( Resource Mapping ) ที่ใช้ในภาวะฉุกเฉินเป็นประจําทุก 2 ปี 4 . กลยุทธ์ กลยุทธ์หลักที่ 1 การพัฒนาศักยภาพและการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุขรองรับ ภาวะสาธารณสุขฉุกเฉินและโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 วางแผนและดําเนินการตามแผนการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไข ปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 พัฒนาการเตรียมความพร้อมและการบริหารจัดการความเสี่ยงของ โรคติดต่ออุบัติใหม่และภัยสุขภาพทั้ง 5 ด้านแก่บุคลากร กลยุทธ์ย่อยที่ 1.3 สร้างความเข้มแข็งของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข รองรับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขทั้ง 5 ด้าน กลยุทธ์ย่อยที่ 1 .4 เสริมสร้างสวัสดิภาพและมาตรการคุ้มครองแก่บุคลากรการแพทย์เพื่อลด ความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน กล ยุทธ์ย่อยที่ 1.5 ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้สอดคล้อง กับกฎอนามัยระหว่างประเทศ และวาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลก กลยุทธ์หลักที่ 2 การพัฒนาระบบและบริการทางการแพทย์ในภาวะฉุกเฉิน กลยุทธ์ย่อยที่ 2. 1 พัฒนาระบบบัญชาการเหตุการณ์และการจัดการด้านการแพทย์และ สาธารณสุข เพื่อความเป็นเอกภาพของการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 ส่งเสริมศักยภาพของระบบวินิจฉัย การรักษาพยาบาลและการจัดการ ทรัพยากร รวมถึงระบบสํารองเวชภัณฑ์ให้สามารถเผชิญเหตุได้อย่างรวดเร็ว กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 พัฒนาเครือข่ายและกลไกเพื่อบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในสังคม ทั้งระดับประเทศและนานาชาติ

  • 83 - ก ลยุทธ์ย่อยที่ 2.4 ส่งเสริม การฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุและการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข ฉุกเฉินและโรคติดต่ออุบัติใหม่บนแนวทางที่ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วม กลยุทธ์ย่อยที่ 2.5 เตรียมแผนฟื้นฟูหลังการเกิดภาวะสาธารณสุขฉุกเฉินและโรคติดต่ออุบัติใหม่ ร่วมกับทุกภาคส่วน กลยุทธ์หลักที่ 3 การส่งเสริมการวิจัย พัฒนานวัตกรรมและผลิตยา รวมถึงอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ภายในประเทศ ลดการพึ่งพาต่างประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 3. 1 ยกระดับขีดความสามารถในการผลิตยา และอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ภายในประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 3.2 พัฒนาระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มั่นคงสามารถผลิตยาและ เวชภัณฑ์ในภาวะฉุกเฉินได้ กลยุ ทธ์ ย่ อยที ่ 3.3 สนั บสนุ นงบประมาณเพื ่ อการวิ จั ย พั ฒนายาและอุ ตสาหกรรม ทาง การแพทย์ครบวงจรในประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่ 3.4 จัดทําระบบฐานข้อมูลและแผนที่ทรัพยากรเพื่อ การเผชิญเหตุยามฉุกเฉิน กลยุทธ์ย่อยที่ 3.5 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านสาธารณสุขฉุกเฉิน และโรคติดต่ออุบัติใหม่เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สู่ระดับสากล 5. หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน กระทรวงสาธารณสุข

  • 84 - นโยบายและแผนความมั่นคง ที่ 1 4 การพัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมแห่งชาติ และ การ บริหาร จัดการ วิกฤตการณ์ระดับชาติ 1. จุดมุ่งเน้น การพัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมเพื่อป้องกัน และตอบสนองต่อภัยคุกคาม รวมทั้งการบูรณาการ ทรัพยากรของประเทศเพื่อใช้ในการเผชิญกับวิกฤตการณ์ระดับชาติ 2. ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2.1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง เป้าหมายที่ 3 กองทัพ หน่วยงานด้านความมั่นคง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน มีความพร้อม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคง 2.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 3 แผนย่อยการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อ ความมั่นคงของชาติ เป้าหมาย กองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคงมีความพร้อมสูงขึ้นที่จะเผชิญภัยคุกคาม ทุกรูปแบบ ทุกมิติ และทุกระดับความรุนแรง 3 . เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมายที่ 1 การพัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมสําหรับการระดมทรัพยากรที่จําเป็นเพื่อ ใช้ในกรณี ที่ประเทศเผชิญกับภัยคุกคามหรือ วิกฤตการณ์ระดับชาติ ผลสัมฤทธิ์ ประเทศไทยมีความพร้อมในการระดมทรัพยากรที่จําเป็น เพื่อ ใช้ในกรณีที่ประเทศ เผชิญกับภัยคุกคาม รวมถึงเมื่อประเทศเข้าสู่ภาวะวิกฤตระดับชาติ ตัวชี้วัด การพัฒนาศักยภาพของกลไก การบริหารจัดการ และความพร้อมของทรัพยากร ที่จําเป็น เพื่อใช้สําหรับการระดมทรัพยากรในกรณีที่ประเทศเผชิญกับภัยคุกคามหรือวิกฤตการณ์ระดับชาติ ร้อย ละ 85 ภายใน ปี 2570 เป้าหมายที่ 2 การพัฒนาศักยภาพการบริหาร จัดการ วิกฤตการณ์ระดับชาติ ผลสัมฤทธิ์ กลไกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีศักยภาพในการ ตอบสนอง ระงับเหตุ และควบคุม วิกฤต การณ์ระดับชาติ เพื่อลดความรุนแรงของผลกระทบและความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด การพัฒนาศักยภาพการบริหาร จัดการ วิกฤตการณ์ระดับชาติ ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 4. กลยุทธ์ ก ลยุทธ์หลักที่ 1 การเสริมสร้างศักยภาพการเตรียมพร้อมเพื่อ รองรับภัยคุกคาม และวิกฤตการณ์ระดับชาติ ก ลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 จัดทํา ทบทวน และปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ ในด้านที่มีความจําเป็นเร่งด่วน เพื่อให้เอื้อต่อการบริหารจัดการเมื่อประเทศเผชิญกับ ปัญหาภัยคุกคาม หรือเข้าสู่ภาวะวิกฤต ระดับชาติ

  • 85 - ก ลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 ทบทวน และพัฒนากลไกการบริหารจัดการ ทั้งใน ระดับนโยบาย ระดับอํานวยการ และระดับปฏิบัติการ ให้สามารถ ปฏิบัติภารกิจร่วมกัน ได้อย่างประสานสอดคล้อง เมื่อประเทศเผชิญกับปัญหา ภัยคุกคาม หรือเข้าสู่ภาวะวิกฤต ระดับชาติ ก ลยุทธ์ย่อยที่ 1.3 ส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับมาตรฐานสากล ที่ เกี่ยว ข้อง กับการเตรียมพร้อม รับมือกับภัยคุกคาม และ การบริหารวิกฤตการณ์ กลยุทธ์ย่อยที่ 1.4 ส่งเสริมและ สนับสนุนการนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ ทั้งในก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ โดยการพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ ทรัพยากรทุกประเภท เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถเตรียมพร้อมรับมือได้แบบทันเวลา เพื่อให้ สามารถรองรับภัยคุกคามและวิกฤตการณ์ระดับชาติ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ กลยุทธ์ย่อยที่ 1 . 5 ส่งเสริมการบริหารจัดการพลังงาน ด้วยการพัฒนาแหล่งพลังงาน ที่มีการผลิตและใช้พลังงานทดแทนในประเทศ อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานน้ํา รวมถึงควรมีการศึกษาความเป็นไปได้การใช้พลังงานนิวเคลียร์ ตลอดจนสนับสนุนความร่วมมือด้านพลังงาน กับต่างประเทศ และส่งเสริมพัฒนาต่อยอดการวิจัยด้านพลังงานนําไปสู่การสร้างความตระหนักรู้การใช้พลังงาน แก่ผู้ประกอบการ ผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชน รวมทั้งให้มีการจัดเตรี ยมแผนเตรียมพร้อมและแผนบริหาร วิกฤตการณ์ความมั่นคงด้านพลังงาน เพื่อไม่ส่งผลต่อการขาดแคลนพลังงานในประเทศ ตั้งแต่ ในภาวะปกติ กลยุทธ์ย่อยที่ 1 . 6 เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยมุ่งเน้นการมีอาหารที่เพียงพอ ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการและสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะมีคลังอาหารสํารอง กรณีฉุกเฉิน ตลอดจนส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งให้มีการจัดเตรียม แผนเตรียมพร้อมและแผนบริหารวิกฤตการณ์ความมั่นคงด้านอาหาร เพื่อไม่ส่งผลต่อการขาดแค ลนอาหาร ในประเทศตั้งแต่ในภาวะปกติ กลยุทธ์ หลัก ที่ 2 การจัดการทรัพยากรเพื่อเตรียมพร้อมรองรับภัยคุกคามทุกรูปแบบ ก ลยุทธ์ย่อยที่ 2 . 1 พัฒนาประสิทธิภาพในการประเมินความต้องการใช้ทรัพยากรที่มีความจําเป็น ในการรองรับเมื่อประเทศเผชิญกับปัญหาภัยคุกคาม หรือเข้าสู่ภาวะวิกฤต ระดับชาติ และจัดหาทรัพยากรให้มี ความพร้อมต่อการปฏิบัติภารกิจ รวมถึงรวบรวมข้อมูลแหล่งที่มาและบัญชีทรัพยากร ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น อย่างเป็นระบบ กลยุทธ์ย่อยที่ 2 . 2 พัฒนากลไก ระบบการสั่งการ และการบูรณาการในการระดม จัดสรร และถ่ายโอนทรัพยากรที่จําเป็นเพื่อนํามาใช้ในการปฏิบัติภารกิจ เมื่อประเทศเผชิญกับปัญหาภัยคุกคาม หรือเข้าสู่ ภาวะวิกฤตระดับชาติได้อย่างทันท่วงที กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 ส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการเรียนรู้และฝึกทักษะ ที่สําคัญและจําเป็น ต่อการปฏิบัติภารกิจเมื่อประเทศเผชิญกับปัญหาภัยคุกคาม หรือเข้าสู่ภาวะวิกฤตระดับชาติ เพื่อให้บุ คลากร ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติ ทั้งในภาครัฐและเอกชนให้สามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้อย่างสม่ําเสมอ

  • 86 - ตลอดจน เสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างบุคลากรทุกภาคส่วน เพื่ อเป็นพื้ นที่ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และทักษะที่สําคัญ กลยุทธ์ หลัก ที่ 3 การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ระดับชาติ กลยุทธ์ย่อยที่ 3.1 กําหนด ทบทวน และพัฒนาหลักเกณฑ์หรือแนวทางการวิเคราะห์ และประเมินระดับความรุนแรงของภัยคุกคาม รวมถึงการเข้าสู่ภาวะวิกฤตระดับชาติของประเทศ เพื่อใช้เป็น กรอบในการบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ กลยุ ทธ์ ย่ อยที ่ 3.2 จัดทํา ทบทวน และปรับปรุงแผน คู่ มือ แนวทาง หรือแนวปฏิบัติ ในการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ พร้อมทั้งประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการถ่ายทอ ดข้อมูลไปสู่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง กลยุทธ์ย่อยที่ 3.3 พัฒนาขีดความสามารถในการประเมินและติดตามสถานการณ์ ที่มีความเสี่ยงในการเข้าสู่ภาวะวิกฤตการณ์ระดับชาติ การแจ้งเตือนภัย การประสานงานระหว่างหน่วยงาน และผู้ปฏิบัติภารกิจ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเมื่อ ประเทศเข้าสู่ภาวะวิกฤตระดับชาติ ไปสู่ ทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน กลยุทธ์ย่อยที่ 3.4 ยกระดับการบูรณาการสําหรับบริหารจัดการภัยคุกคาม ใน ทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน ผ่านการจัดตั้งภาคีเครือข่ายความร่วมมือ การประชุมปรึกษาหารือร่วมกันอย่างต่อเนื่อง หรือกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่เข้มแข็งและสามารถ แก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นองค์รวม ก ลยุทธ์ย่อยที่ 3.5 จัดกา รฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ทั้งในระดับชาติ ระดับหน่วยงาน และระดับท้องถิ่น เป็นประจําและต่อเนื่อง เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและเป็นการเตรียมความพร้อมของหน่วยงาน ให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคามได้ 5 . หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

  • 87 - นโยบายและแผน ความมั่นคง ที่ 15 การพัฒนาระบบข่าวกรองแห่งชาติ 1. จุดมุ่งเน้น การยกระดับ ระบบงานข่าวกรองแห่งชาติในการประเมินสถานการณ์ด้านความมั่นคงเชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาว พร้อมทั้งขยายเครือข่ายเฝ้าระวังเพื่อสนับสนุนงานข่าวกรอง และการวางระบบงานข่าวกรองเพื่อป้องกันภัยคุกคาม ที่สําคัญ 2. ความเชื่อมโยงกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2.1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง เป้าหมายที่ 3 กองทัพ หน่วยงานด้านความมั่นคง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน มีความพร้อม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคง 2.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 3 แผนย่อยการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อ ความมั่นคงของชา ติ เป้าหมาย หน่วยงานด้านการข่าวและประชาคมข่าวกรองทํางานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3 . เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมาย การยกระดับระบบข่าวกรอง แห่งชาติใน การเฝ้าระวัง ประเมิน ตอบสนอง และแจ้งเตือนสถานการณ์ ที่ มีความเสี่ยงอันจะนําไปสู่ภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ และผลประโยชน์แห่งชาติ ผลสัมฤทธิ์ กลไกระดับนโยบายของประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นํารำยงาน ข่าวกรอง ที่ประเมินภัยคุกคามด้าน ความมั่นคง ในระยะยาว (10 ปีขึ้นไป) ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจกําหนดนโยบาย ยุทธ ศาสตร์ และแผน รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารและข่าวกรองที่มาจากเครือข่ายความร่วมมือ จากหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนสามารถป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้ ตัวชี้วัดที่ 1 รำยงาน ข่าวกรองที่ประเมินภัยคุกคามด้านความมั่นคง ในระยะยาว (10 ปีขึ้ นไป) เพื่อประกอบการตัดสินใจในระดับนโยบายของประเทศ รวมถึงการกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ภายในปี 2570 ตัวชี้วัดที่ 2 การขยาย เครือข่าย เฝ้าระวังตามประเด็นความมั่นคงสําคัญ/พื้นที่ความมั่นคงภายใน ประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ภายในปี 2570 ตัวชี้วัดที่ 3 การ มีระบบ เชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลด้านการข่าว เพื่อ การแจ้งเตือน ภัยคุกคาม ทางไซเบอร์ ภายในปี 2570

  • 88 - 4. กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 1 การพัฒนา การประเมินสถานการณ์ความมั่นคงเชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาว กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 พัฒนาขีดความสามารถในการรวบรวมและประเมินสถานการณ์ด้านการข่าว และจัดทํา รำยงาน ข่าวกรองที่ประเมินภัยคุกคามด้านความมั่นคง ในระยะยาว (10 ปีขึ้นไป) ในการ ประกอบ การตัดสินใจ เชิง นโยบาย ให้เท่าทันพลวัต ของบริบทด้านความมั่นคง กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 พัฒนาศักยภาพ เสริมสร้างองค์ความรู้ และสร้างความเชี่ยวชาญ ให้กับ บุคลากรในประชาคมข่าวกรองให้สอดรับกับระบบ วิธีการ และกลไกที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ในการประเมิน สถานการณ์ ด้านการข่าวในระยะยาว กลยุทธ์ หลัก ที่ 2 การพัฒนา และขยาย เครือข่ายความร่วมมือ กับภาคส่วนอื่นนอกภาครัฐให้เข้ามา เป็นหุ้นส่วน ด้านการข่าวกรอง กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 แสวงหาเ ครือข่ายความร่วมมือกับภาคส่วนอื่นนอกภาครัฐเพื่อให้เข้าถึง ข้อมูลข่าวสารเชิงลึกในพื้นที่เป้าหมาย กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 พัฒนา และขยาย เครือข่ายด้านการข่าว ในประเด็นความมั่นคงสําคัญ กับภาคส่วนอื่นนอกภาครัฐ โดยเฉพาะภาคประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อสนับสนุนภารกิจงานด้านการรักษา ความมั่นคงปลอดภัย กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 เสริมสร้าง ศั กยภาพของเครื อข่ายด้านการข่าว นอกภาครัฐ ให้ มี ความตระหนักรู้ และนําไปสู่การยกระดับประสิทธิภาพการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 3 การเชื่อมโยง บูรณาการ และแจ้งเตือน ข้อมูลด้านการข่าวเพื่ อรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ กลยุทธ์ย่อยที่ 3 . 1 พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการข่าวให้สามารถแจ้งเตือน ภัยคุกคาม และป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ย่อยที่ 3.2 พัฒนาระบบ กลไก การเชื่อมโยง และ การบูรณาการข้อมูลด้านการข่าว เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และสามารถแจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5 . หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน สํานักข่าวกรองแห่งชาติ

  • 89 - นโยบายและแผนความมั่นคง ที่ 16 การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง 1. จุดมุ่งเน้น การ จัดทํา และเชื่ อมโยง บัญชีข้อมูล ด้านความมั่ นคงขนาดใหญ่เชิงดิจิทัลให้สามารถนําไป ใช้ประกอบ การตัดสินใจเชิงนโยบายในการป้องกันและแก้ไข ภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ 2. ความเชื่อมโยงกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2.1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง เป้าหมายที่ 5 การบริหารจัดการความมั่นคงมีผลสําเร็จที่เป็นรูปธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ 2.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 5 แผนย่อยการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม เป้าหมาย กลไกการบริหารจัดการความมั่นคงมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 3 . เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และ ตัวชี้วัด เป้าหมาย การมีฐานข้อมูลหรือชุดข้อมูลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสําหรับวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้านความมั่นคง สามารถนําไปสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหา ที่มีผลกระทบต่อ ความมั่นคงระดับชาติ ผลสัมฤทธิ์ ระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้านความมั่นคงเพื่อใช้สนับสนุนการแก้ไขปั ญหา ที่มีผลกระทบต่อ ความมั่นคง ตัวชี้วัด จําน วนของประเด็นความมั่นคง และประเด็นศักยภาพความมั่นคง ภายใต้นโยบายและ แผน ระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ที่นํา มาเชื่อมโยง วิเคราะห์ และ ประมวลผล ด้วยระบบ วิเคราะห์ข้อมูลขนาด ใหญ่ เพิ่มขึ้น อย่างน้อย ปีละ 2 ประเด็น 4. กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 1 การ เชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคงเพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 พัฒนาระบบข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลของ หน่วยงานของรัฐ ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตาม แพลตฟอร์ม สําหรับการแลกเปลี่ยน ระหว่างกัน กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 จัดทําบัญชีข้อมูลด้านความมั่นคงตามประเด็นความมั่นคงและประเด็น ศักยภาพความมั่นคง ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) กลยุทธ์ย่อยที่ 1 . 3 กําหนดโจทย์ประเด็นความมั่นคงและประเด็น ศักยภาพความมั่นคง ภายใต้ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อใช้เป็นประเด็น สําหรับ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ( Big Data) กลยุทธ์ย่อยที่ 1. 4 จัดทําระบบเชื่อมโยงหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล ขนาดใหญ่ สําหรับแบ่งปันข้อมูลภายใน แพลตฟอร์ม ด้านความมั่นคง

  • 90 - กลยุทธ์ หลัก ที่ 2 การพัฒนากลไกการบริหารจัดการการบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 จัดทําแผน หรือแนวทางการขับเคลื่อนการบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 สร้างความร่วมมือหรือความตกลงสําหรับการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และแบ่งปันข้อมูลภายในแพลตฟอร์มด้านความมั่นคงตามหน้าที่อํานาจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 จัดทําธรรมำ ภิบาลข้อมูลและต้องดูแลรักษาข้อมูลให้มีความมั่นคงปลอดภัย พร้อมทั้งประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ กลยุ ทธ์ย่อยที่ 2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถด้านดิจิทัล รวมถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ 5 . หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

  • 91 - นโยบายและแผนความมั่นคง ที่ 17 การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ 1. จุดมุ่งเน้น การป้องกัน และแก้ไขปัญหา ความมั่นคงใน พื้นที่เป้าหมาย ระดับตําบล เพื่อ ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยขยายแนวคิดของการพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ และแผนตําบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ให้เป็นรูปธรรม 2 . ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2 .1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง เป้าหมาย บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ 2 .2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ • ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยที่ 2 แผนย่อยการป้องกันและแก้ไ ขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เป้าหมาย ปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน (เช่น ปัญหายาเสพติด ความมั่นคงทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ ฯลฯ) ได้รับการแก้ไขจนไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ 3 . เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ ตัวชี้วัด และ ค่าเป้าหมาย เป้าหมาย พื้นที่ เป้าหมาย ระดับตําบล ที่มีปัญหาความมั่นคงสําคัญเร่งด่วนลดลง ผลสัมฤทธิ์ พื้นที่เป้าหมาย ระดับตําบล ได้รับการแก้ไข ปัญหาและพัฒนา ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และชุมชนมีความเข้มแข็ง นําไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตัวชี้วัด พื้นที่เป้าหมายระดับตําบลทั้งประเทศ ตาม ที่จังหวัดประกาศมีปัญหาความมั่นคงสําคัญ เร่งด่วนลดลงร้อยละ 80 ภายในปี 2570 4. กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก ที่ 1 การป้องกันและแก้ไข ปัญหาในพื้นที่เป้าหมายระดับตําบล ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชน ให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกัน ด้านความมั่นคงในเชิงพื้นที่ โดยพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐาน และ สวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมของชุมชนให้น่าอยู่ ร่วมคิดร่วมทํา ช่ว ยเหลือ เกื้อกูล อันจะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาความมั่นคงแบบองค์รวม และเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน กล ยุทธ์ย่อยที่ 1. 2 ส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงเร่งด่วนในพื้นที่เป้าหมาย ระดับตําบล โดยพิจารณาบนพื้นฐานประเด็นที่กําหนดไว้ใน นโยบายและแผนความมั่นคง โดยเฉพาะ ความ มั่นคง ทาง ชายแดน ความมั่นคงทางทะเล ผู้หลบหนีเข้าเมือง การค้ามนุษย์ ยาเสพติด สาธารณภัย ความมั่นคงทางไซเบอร์ โรคติดต่ออุบัติใหม่ ตลอดจน ประเด็นความมั่นคงในระดับพื้นที่ สําคัญ อาทิ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับสัตว์ในพื้นที่ ความ มั่นคง ทางพลังงาน อาหาร และน้ํา

  • 92 - กลยุทธ์ย่อยที่ 1. 3 ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการในการดําเนินงานของทุกภาคส่วน ทั้งราชการ ส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาชน ที่มีความ สอดคล้องกับ บริบทความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ เพื่อป้องกัน แก้ไข และพัฒนา พื้นที่เป้าหมาย โดยเฉพาะในระดับตําบลที่มีขอบเขต ของปัญหาความมั่นคงเชื่อมโยงหรือทับซ้อนกับจังหวัดใกล้เคียงที่ปรากฏปัญหาความมั่นคงเร่งด่วนและไม่สามารถ ดําเนินการแก้ไขปัญหาได้ด้วยกลไกระดับจังหวัดเพี ยงจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ ง จึงต้องอาศัยความร่วมมือ ในการขับเคลื่อนร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพ กลยุทธ์ หลัก ที่ 2 การบริหารจัดการความมั่นคงเชิงพื้นที่ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 จัดทําแนวทางการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ตามที่ สภาความมั่นคงแห่งชาติให้ความเห็นชอบ เพื่อให้เกิดการ ขยายผล แนวคิดการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ และแผนตําบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม กลยุทธ์ย่อยที่ 2. 2 ทบทวน ปรับปรุง แก้ไข และ พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร จัดการความมั่นคงเชิงพื้นที่ ให้เป็นปัจจุบันและ สอดคล้องกั บการดําเนินงานในพื้นที่ โดยบูรณาการกลไกให้มี ความเป็น เอกภาพ และให้ประสานการดําเนินงานทั้งในระดับนโยบายส่วนกลางและระดับจังหวั ด เพื่อกําหนด โครงการ/กิจกรรม/งบประมาณ ที่เกื้อกูลกันในพื้นที่ตําบลเป้าหมายเดียวกัน กลยุ ทธ์ ย่ อยที่ 2.3 พัฒนา และเสริมสร้าง แนวทางการประเมินระดับความรุ นแรงของ ภัยคุกคาม ความมั่นคงเชิงพื้นที่ โดย มี หลักเกณฑ์กลาง ตามที่สภาความ มั่นคงแห่งชาติกําหนด ในการประเมิน สถานการณ์และจัดลําดับความสําคัญของปัญหาความมั่นคงในระดับพื้นที่ รวมทั้งนํา เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้ ในการ รวบรวมข้อมูลระดับความรุนแรงของภัยความมั่ นคง ดังกล่าว และใช้ประโยชน์ในการประมวลผล หาพื้นที่เป้าหมายเร่งด่วน กลยุทธ์ย่อยที่ 2.4 พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจงานความมั่นคงเชิงพื้นที่ โดยมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ปฏิบัติงานความมั่นคงในระดับพื้นที่ ให้สามารถดําเนินงาน อย่างถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งสามารถถ่ายทอดและขยายผลองค์ความรู้ไปสู่ผู้ปฏิบัติงานใ นองค์กร และภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง กลยุทธ์ย่อยที่ 2.5 พัฒนาเครือข่ายการเสริมสร้างความมั่นคงเชิงรุกในระดับพื้นที่ ทั้งภาครัฐ และนอกภาครัฐให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสานการดําเนินการ และสะท้อนความต้องการจากระดับพื้นที่ สู่ระดับนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ย่อยที่ 2.6 พัฒนาระบบการติดตามและประเมิน ผลการดําเนินงานเชิงพื้นที่อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการรวบรวมข้อมูลการดําเนินการทั้งผลผลิต ผลลัพธ์ และปัญหาอุปสรรค เพื่อให้การประมวลผลในภาพรวมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ครบถ้วน และรอบด้าน ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สามารถนํามาใช้ประโยชน์ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ รวมทั้ งกําหนดตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย การดําเนินงานเชิงพื้นที่ แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ อย่างชัดเจน 5 . หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

  • 93 - ส่วนที่ 5 การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล

  • 95 - 1. ภาพรวมการขับเคลื่อน และติดตามประเมินผล นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ( พ . ศ . 2566 – 2570 ) มีสถานะเป็นแผนระดับที่ 2 รองรับการดําเนินการแผนระดับที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง โดยเป็นนโยบายและแผนการขับเคลื่อน ของประเทศในมิติด้านความมั่นคงในเชิงลึกให้เห็นผลสัมฤทธิ์การดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในห้วง 5 ปี (เป้าหมาย ระยะปานกลาง) และใช้เป็นกรอบทิศทางเชิงนโยบายควบคู่ไปกับการดําเนินการร่วมกับแผนระดับที่ 2 ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ แผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่ นค ง ให้มีการขับเคลื่ อนไปในคราวเดียวกัน โดยให้หน่วยงานของรัฐนําไปจัดทําแผนระดับที่ 3 โดยจะต้องถ่ายทอดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และกลยุทธ์ ที่กําหนดไว้ ไปเป็นแนวทางการจัดทําและขับเคลื่อนให้เห็นผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมในห้วงระยะเวลา 5 ปี การจั ดทําแผนระดับที ่ 3 ให้ สอดคล้องกั บนโยบายและแผนระดั บชาติ ว่ำด้ วยความมั ่ นคงแห่ งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) จะเป็นกลไกส ํา คัญในการแสดงให้เห็นถึงผลการดําเนินงานผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐในแต่ละปีงบประมาณ และห้วง 5 ปี อันจะน ํา ไปสู่การบรรลุ เป้าหมายการพัฒนาตามที่ก ํา หนด ตามหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล ( Causal Relationship : XYZ ) แนวทางการขับเคลื่อน ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลมุ่งเน้นการบูรณาการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ของทุกภาคส่วน ตาม แนวทางบูรณาการการทํางานของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปในทิศทางเดียวกั น ( Whole - of - Government Approach) และแนวทางบูรณาการการทํางานที่ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วม ( Whole - of - Society Approach) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแบบองค์รวม จึงกําหนดให้มีการบูรณาการทั้งในเชิงโครงสร้าง และกลไก การถ่ายทอดเป้าหมายและตัวชี้วัดลงสู่ระดับหน่วยงาน เพื่อเชื่อมโยงให้การดําเนินการมีทิศทาง เชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ ที่ชัดเจน รวมทั้งให้มีหน่วยงานเจ้าภาพ รับผิดชอบ บูรณาการขับเคลื่อนที่ชัดเจน ซึ่งจะส่งเสริมให้มีการทํางานร่วมกัน ในลักษณะประสานเชื่อมโยงแบบเครือข่าย ร วมทั้งให้นํานโยบายและแผน ระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) เป็นกรอบทิศทางการจัดสรรงบประมาณภายใต้ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีของประเทศ ด้วยเหตุนี้ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ( พ . ศ . 2566 – 2570 ) จึงนํา หลักการ บริหารงานคุณภาพ (PLAN DO CHECK ACT: PDCA ) มาใช้ในกระบวนการทํางานให้เป็น ระบบมากขึ้น ตาม แนวทางวงจรนโยบายให้สามารถแปลงไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2. แนวทางการขับเคลื่อน และ ติดตามประเมินผล ยึดหลักการบริหารงานคุณภาพ ( PLAN DO CHECK ACT: PDCA ) เพื่อให้เกิดกระบวนการทํางาน “ ตั้งเป้า ปฏิบัติ ตรวจสอบ ปรับปรุง ” โดยครอบคลุมการดําเนินงาน 4 ขั้นตอน ดังนี้ 2.1 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ( PLAN ) ให้กลไก การบริหารจัดการ ทั้งเชิงแผนยุทธศาสตร์และ เชิงภารกิจ วางแผนร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยให้ ภาคส่วน ต่าง ๆ อาทิ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานให้เป็นไปตาม หลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล โดยนําสาระสําคัญของนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ที่มีการกําหนด เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ และผลสัมฤทธิ์ของ 17 นโยบาย

  • 96 - และแผนความมั่นคง ไปถ่ายทอดในการจัดทําแผนระดับที่ 3 และวางแผนจัดทําคําของบประมาณตาม ยุทธศาสตร์ การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบประมาณ 2.2 การปฏิบัติ ( DO ) ให้กลไกการ บริหารจัดการ ทั้งเชิงแผนยุทธศาสตร์และเชิงภารกิจ ดําเนินการ ตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) และหน่วยงานของรัฐ จัดทําแผนระดับที่ 3 ตามภารกิจที่รับผิดชอบรองรับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570 ) โดยให้ความสําคัญกับการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ที่ต้องมีการวัดผลสําเร็จของการดําเนินงาน ด้วยการถ่ายทอดเป้าหมาย ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม ทั้งในเชิงประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในทุกกระบวนการของวงจรหลักการบริหารงานคุณภาพ โดยมีหน่วยงานเจ้าภาพ รับผิดชอบ บูรณากำรขับเคลื่อน มีบทบาทหน้าที่ในการเป็นหน่วยประสานงานกลาง (Focal Point ) เพื่อบูรณาการขับเคลื่อน 17 นโยบายและแผน ความมั่นคง ผ่านการติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และประเมินผลสําเร็จขั้นต้นของการแปลงนโยบายและแผน ระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 25 70) ไปสู่การปฏิบัติ 2.3 การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล ( CHECK ) ให้สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ร่วมกับ หน่วยงานเจ้าภาพ รับผิดชอบ บูรณาการขับเคลื่อน ดําเนินการประมวลข้อมูลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล ตาม นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อ รายงาน ผลการดําเนินงาน เสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดย ใช้ประโยชน์จาก ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform: eMENSCR) ซึ่งต้องให้ความ สําคัญกับ การติดตามผลการดําเนินการ เพื่อแจ้งเตือนล่วงหน้า ในกรณีประเด็นที่ต้องเร่งดําเนินการ หรือต้องเร่งแก้ไขให้เท่าทัน ต่อสถานการณ์ และจําเป็นต้องปรับแผนการดําเนินการ ประจําปี/แ ผนงบประมาณ โดยขั้นตอนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล แบ่งออกเป็น 2 ห้วงสําคัญ ดังนี้ 2.3.1 การติดตามความคืบหน้าการดําเนินการรอบ 6 เดือน เพื่อติดตามประเมินผลในระหว่างที่ แผนงานและโครงการต่าง ๆ อยู่ระหว่างการดําเนินการ เพื่อตรวจติดตามว่าการดําเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กรอบระยะเวลา และการสํารวจปัญหาอุปสรรคที่อาจส่งผลให้การดําเนินการล่าช้าหรือไม่สามารถบรรลุ ผลสัมฤทธิ์ตามที่กําหนด 2.3.2 การประเมินผลสัมฤทธิ์การดําเนินงานรำยปี และราย 5 ปี เป็นการประเมินผลว่าแผนงาน และโครงการที่ดําเนินการแล้วเสร็จสามารถบรรลุเป้าหมาย ผลผลิต และผลลัพธ์ตามที่กําหนดไว้มากน้อยเพียงใด ทั้งในระหว่างและหลังจากสิ้นสุดแผน ตลอดจนประเมินผลกระทบที่เป็นการศึกษาวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลง ของบริบทความมั่นคงที่ เกิดเนื่องมาจากการดําเนินงานที่สําคัญภายใต้นโยบายและแผ นระดับชาติว่าด้วยความมั่นค ง แห่ง ชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ตลอดจนความสามารถในการสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งนี้ การรายงานผลสัมฤทธิ์ให้เสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติรับทราบ พร้อมทั้งเผยแพร่ผลการดําเนินงานที่สําคัญ ให้สาธารณชนรับทราบ และจัดให้มีช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน เพื่อเป็นประโยชน์ ในการทบทวน ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการดําเนินงาน 2.4 การทบทวน ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการดําเนินงาน ( ACT ) ให้สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ วิเคราะห์และประมวลข้อมูลรายงานให้สภาความมั่นคง แห่งชาติรับทราบ สําหรับกรณีที่สถานการณ์ของโลก

  • 97 - หรือสถานการณ์ของประเทศเปลี่ยนแปลงไป จนไม่สามารถหรือไม่เหมาะสมที่จะดําเนินการตามเป้าหมาย นโย บายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) หรือการปรับรายละเอียดของ กลไกการ บริหารจัดการ หรือการขับเคลื่อนการดําเนินการที่เกี่ยวข้อง ให้สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติดําเนินการตามหน้าที่อํานาจต่อไป 3. กลไกการบริหารจัดการ กลไกการบริหารจัดการมีความสําคัญในการ ขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลนโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ( พ . ศ . 2566 – 2570 ) ตามหลักการบริหารงานคุณภาพ ( PLAN DO CHECK ACT: PDCA) ทั้ง 4 ขั้นตอน เพื่อให้เกิดกระบวนการทํางาน “ ตั้งเป้า ปฏิบัติ ตรวจสอบ ปรับปรุง ”

  • 98 - 3 .1 สภาความมั่นคงแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรี/ประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธาน) เป็นกลไก หลัก ในการกํากับและติดตามการด ํา เนินการ ในภาพรวมของ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) รวมถึงการพิจารณาปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการ และการขับเคลื่อน ที่เกี่ยวข้องกับ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) 3.2 กลไกแผนงานยุทธศาสตร์ความมั่นคง เป็นกลไกหลักสําคัญ ที่สภาความมั่นคงแห่งชาติจัดตั้งขึ้น เพื่อ ผลักดันการขับเคลื่อนให้บรรลุ เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ตามหลักความสัมพันธ์ เชิงเหตุและผล โดย ถ่ายทอดแผนระดับที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่ นคง แผนระดับที่ 2 (แผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง และ ประเด็นการต่างประเทศ) ไปสู่การปฏิบัติผ่านแผนระดับที่ 3 (แผนปฏิบัติการด้าน… แผนปฏิบัติราชการ และแผนพัฒนา ใน ระดับพื้นที่) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 3. 2 . 1 ระดับนโยบาย คือ คณะกรรมการบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง (รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) เป็นกลไกการขับเคลื่อน ติดตาม และ ตรวจสอบการดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) และเชื่อมโยงกับกลไกอื่น ๆ ด้านความมั่นคง 3. 2 .2 ระดับส่วนกลาง คือ คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น ความมั่นคง และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (หัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบ ในแต่ละคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อย เป็นประธาน) เป็นกลไกการขับเคลื่อน ติดตาม และการรายงานผล การดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงให้มีความเหมาะสมและเป็นเอกภาพ โดยมีการบูรณาการกลไก การดําเนินการระหว่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง และ นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ โดย รายงาน ผลเสนอ คณะกรรมการบูรณาการขับเคลื่อนยุ ทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประกอบด้วย 5 คณะย่อย ดังนี้ 1) คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการรักษาความสงบภายในประเทศ ( เลขาธิการ กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นประธาน ) 2) คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อ ความมั่นคง ( เลขาธิการกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นประธาน) 3) คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญ ภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ ( ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ) 4) คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคง กับอาเซียนและนานาชาติ รวมทั้งองค์กรภาครัฐและที่มิใช่ภาครัฐ ( ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน ) 5) คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคง แบบองค์รวม ( เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธาน ) 3. 2 . 3 ระดับพื้นที่ ให้ความสําคัญกับ การขับเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับ กลไกการบริหาร แผนพัฒนา ในระดับ พื้นที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ 1) กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานบูรณาการสําคัญในการเสนอแผนหรือแนวทางปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความมั่นคงในระดับพื้นที่ รองรับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ

  • 99 - (พ.ศ. 2566 – 2570) ให้กลไกที่เกี่ยวข้องตาม กฎหมาย ว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ ซึ่งจะส่งผ ล ต่อการถ่ายทอดไปสู่การจัดทําและประสานแผนพัฒนาระดับพื้นที่เป็นลักษณะแผนเดียวกัน (One Plan ) ตั้งแต่ระดับ หมู่บ้าน/ชุมชน (แผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน) ระดับตําบล (แผนชุมชนระดับตําบล/แผนพัฒนาตําบล) ระดับอําเภอ (แผนพัฒนาอําเภอ) ระดับจังหวัด ( แผนพัฒนา จังหวัด / แผนปฏิบัติราชกำรประจําปีของจังหวัด/การจัดทํา และบริหารงบประมาณ จังหวัด) และระดับกลุ่ม จังหวัด ( แผนพัฒนา กลุ่ม จังหวัด / แผนปฏิบัติราชการประจําปี ของกลุ่มจังหวัด/การจัดทําและบริหารงบประมาณกลุ่มจังหวัด) รวมถึงประสานกับสํานักงานสภาพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่รับผิดชอบการจัดทําเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค พร้อมทั้งองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น 2) คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ( ก . บ . จ .) เป็นกลไกหลักสําคัญที่เป็น แกนกลางในการผลักดันแผนงานด้านความมั่นคงในแผนพัฒนาระดับพื้นที่ 3) คณะอนุกรรมการจัดทําแผนงานด้านความมั่นคงจังหวัด เป็นกลไกสนับสนุน ในการให้ ข้อเสนอแผน และบูรณาการแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ให้สนับสนุนและสอดประสานกันในพื้นที่เป้าหมาย ด้ำนความมั่นคงของจังหวัด โดยทุกจังหวัดมีกลไกคณะอนุกรรมการดังกล่าวที่มีองค์ประกอบ อาทิ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ ได้รับมอบหมาย ผู้แทนกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหรือจังหวัด ศูนย์อํานวยการรักษาผลประโยชน์ ของชาติทางทะเลภาคหรือจังหวัด ภาคเอกชน ภาคีภาคประชาสังคม 3.3 กลไกขับเคลื่อนการดําเนินงานตามภารกิจความมั่นคง เป็น กลไกขับเคลื่อนดําเนินการของ หน่วยงานที่มีภารกิจรับผิดชอบในแต่ละประเด็นความมั่นคงหรือประเด็นศักยภาพความมั่นคงภายใต้นโยบายและแผน ระดับชาติว่าด้วยความมั่ นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) การจัดทําและขับเคลื่ อนแผนระดับที่ 3 รวมทั้งกรณีมีเรื่องสําคัญที่เห็นควรเสนอให้กลไกสภาความมั่นคงแห่งชาติตัดสินใจ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 3.3.1 ระดับ นโยบาย ประกอบด้วย 2 กลไก ดังนี้ 1) คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นภายใต้คําสั่งสภาความมั่นคงแห่งชาติ อาทิ คณะกรรมการ นโยบาย ของสภาความมั่นคง แห่งชาติ คณะกรรมการร้อยกรองงานของสภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะกรรมการประสานงาน ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะกรรมการเตรียมพร้อมแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายวิชาการด้านความมั่ นคง 2 ) คณะกรรมการระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ อาทิ คณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์แห่งชาติ และ คณะกรรมการบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง 3.3.2 ระดับส่วนกลาง 1) หน่วยงาน ของรัฐ ระดับส่วนกลาง ให้หน่วยงานระดับ กระทรวง และกรม แปลงนโยบายและแผน ระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ไป สู่การปฏิบัติ อาทิ การถ่ายทอดนโยบายและแผน ความ มั่นคงที่มีภารกิจรับผิดชอบ การ จัดทําแผนระดับที่ 3 มาตรการ แผนงาน โครงการ และกิจก รรมต่าง ๆ

  • 100 - 2) คณะที่ ปรึกษาของสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ จัดตั้ งขึ้ นภายใต้พระราชบัญญัติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 เพื่อติดตาม ประเมิน วิเคราะห์สถานการณ์อันเป็นภัยคุกคามต่อ ความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้งให้คําแนะนํา คําปรึกษา และความคิดเห็นในเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ หรือ พิจารณาเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมาย 3.3.3 ระดับพื้นที่ คือ หน่วยงานของรัฐระดับภูมิภาค จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ น รวมถึง หน่วยงานและ/หรือกลไกในระดับพื้นที่ อื่น ๆ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้อง 3.4 กลไกอํานวยการที่มีภารกิจความมั่นคงในพื้นที่ เป็นกลไกอํานวยการ ประสานงาน และสนับสนุน การปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐในภารกิจความมั่นคงในพื้นที่ ประกอบด้วย กองอํานวยการรักษาความมั่นคง ภายในภาค กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ศูนย์อํานวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค ศูนย์อํานวยการรักษาผลประโยชน์ของ ชาติทางทะเลจังหวัด คณะกรรมการอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค และ คณะกรรมการอํานวยการรักษาความมั่นคงภายใน จั งหวัด 3. 5 กลไกสนับสนุน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การ ขับเคลื่อนและ ติดตามประเมินผล เป็นกลไกที่มีหน้าที่ อํานาจและความรับผิดชอบตามกฎหมาย และความเชี่ยวชาญของหน่วยงาน โดยดําเนินการ ให้สอดคล้องกับ แนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ 3.6 หน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน 3. 6 .1 หลักเกณฑ์พิจารณากําหนดหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อน 1) กําหนดให้มีหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบบูรณาการขับเคลื่อนในทุก นโยบายและแผน ความมั่นคง จํานวน 1 หน่วยงาน เพื่อให้เกิดเอกภาพในการดําเนินการตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย ความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) 2) สอดคล้องกับภารกิ จและหน้าที่อํานาจของหน่วยงานที่มีบทบาทสําคัญหรือความรับผิดชอบ โดยตรงในแต่ละประเด็นความมั่นคงหรือประเด็นศักยภาพความมั่นคง หรือเป็นไปตามที่กฎหมายกําหนดไว้ 3) เป็น หน่วยงานของรัฐ อันหมายรวมถึงหน่วยงานในกํากับของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน กรณีเป็นส่วนราชการให้ระบุเป็นระดับกระทรวง ยกเว้นกรณีที่มีภารกิจเกี่ยวข้องโดยตรงหน่วยเดียว หรือมีส่วนสําคัญ อย่างชัดเจน ให้ระบุเป็นระดับกรมหรือเทียบเท่า 4) เป็นหน่วยงานเดียวกับ “ แนวความคิดในการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ” ตามที่ปรากฏในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง โดยอาศัยการแบ่งมอบความรับผิดชอบ ให้หน่วยงานในระดับต่าง ๆ เพื่อให้การด ํา เนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ทั้งนี้ นโยบายและแผน ความมั่นคงที่ 13 กำรบริหารจัดการด้านสาธารณสุขฉุกเฉินและโรคติดต่ออุบัติใหม่ เป็นประเด็นที่ไม่ได้กําหนดไว้ ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง จึง พิจารณาหน่วยงานที่มีภารกิจและหน้าที่อํานาจ รับผิดชอบสําคัญต่อความสําเร็จในการขับเคลื่อนอย่างชั ดเ จน

  • 101 - 3. 6 .2 การแบ่งมอบความรับผิดชอบ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ( พ . ศ . 2566 – 2570 ) หน่วยงานเจ้าภาพ รับผิดชอบ บูรณาการ คณะที่ 1 : คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการรักษาความสงบภายในประเทศ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 1 การ เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ กองอํานวยการรักษาความมั่ นคง ภายในราชอาณาจักร คณะที่ 2 : คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 3 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติพื้นที่ชายแดน กระทรวงมหาดไทย นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 4 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ศูนย์อํานวยการรักษาผลประโยชน์ ของชาติทางทะเล นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 5 การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 6 การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง และ ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ กองอํานวยการรักษาความมั่ นคง ภายในราชอาณาจักร นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 7 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 8 การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด กระทรวงยุติธรรม (สํานักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 9 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 10 การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ สํานักงาน คณะกรรมการการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ นโยบายและแผน ความมั่นคง ที่ 11 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 13 การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและโรคติดต่ออุบัติใหม่ กระทรวงสาธารณสุข นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 17 การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ กองอํานวยการรักษาความมั่ นคง ภายในราชอาณาจักร

  • 102 - นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ( พ . ศ . 2566 – 2570 ) หน่วยงานเจ้าภาพ รับผิดชอบ บูรณาการ คณะที่ 3 : คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคาม ที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 2 การปกป้ องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ และ การ พัฒนาศักยภาพ การป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 14 การพัฒนา ศักยภาพ การเตรียมพร้อมแห่งชาติ และการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ ระดับชาติ สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 15 การพัฒนาระบบข่าวกรองแห่งชาติ สํานักข่าวกรองแห่งชาติ คณะที่ 4 : คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียน และนานาชาติ รวมทั้งองค์กรภาครัฐและมิใช่ภาครัฐ นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 12 การสร้างดุลยภาพระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ คณะที่ 5 : คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อยด้านการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคง แบบองค์รวม นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 16 การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง กองอํานวยการรักษาความมั่ นคง ภายในราชอาณาจักร 3. 6 .3 แนวทางการดําเนินการ 1) เป็นห น่วยรับผิดชอบประสานงานกลางเพื่ อ บูรณาการขับเคลื่อนติดตามความคืบหน้า การดําเนินการและประเมินผลสัมฤทธิ์ขั้นต้นให้เกิดเอกภาพในการบริหารจัดการ และปรับปรุงการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง 2) อาจพิจารณาใช้กลไกที่มีหน้าที่อํานาจสอดคล้องกับประเด็นตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เป็นกลไกกลางในการประสานขับเคลื่อนภารกิจและบูรณาการการปฏิบัติ 3) หากมีประเด็นที่ ต้องการรับการสนับสนุนเชิงนโยบาย ให้หน่วยงานเจ้าภาพ รับผิดชอบ บูรณาการขับเคลื่อนประสานสํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อเสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติพิจารณา 4) การรายงานผลควา มคืบหน้าการดําเนินการรอบ 6 เดือน และรายปี ให้หน่วยงานเจ้าภาพ บูรณาการขับเคลื่อนพิจารณาประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมาย อาทิ ข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ กลไกความมั่นคงเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้อง และ ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ ( eMENSCR) โดยแจ้งให้ สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อประมวลผลในภาพรวมเสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติต่อไป 5) การกําหนดหน่วยงานสนับสนุนในระยะต่อไปให้หน่วยงานเจ้าภาพบูรณาการขับเคลื่อน มีส่วนร่วมในการพิจารณา ร่วม กับสํานักงานสภาความมั่น คงแห่งชาติ

  • 103 - 4 . ปัจจัยแห่งความสําเร็จ 4 .1 รัฐบาลให้ความสําคัญและสนับสนุนการดําเนินการตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย ความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) อย่างต่อเนื่อง โดยให้การสนับสนุนทรัพยากรแก่หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ตลอดจนสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ไปสู่การปฏิบัติ 4 .2 หน่วยงานที่ เกี่ ยวข้องในทุกระดับรับรู้ และเข้าใจเกี่ ยวกับการดําเนินการและขับเคลื่ อน นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยสํานักงานสภาความมั่นคง แห่งชาติมีแนวทางและกลยุทธ์สร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจแก่หน่วยงาน ใน ระดับนโยบาย กระทรวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความสําคัญและความมุ่งหมายของนโยบาย จุดเน้น สําคัญที่ ควรเร่งดําเนินการ กลไก การขับเคลื่ อนไปสู่ การปฏิบัติ การติดตาม ตรวจสอบ และ ประเมินผล เพื่ อให้หน่วยงานที่ เกี่ ยวข้องสนับสนุนกา รดําเนินการทั้ ง เชิงนโยบาย และเชิงปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และ เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม 4 . 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสําคัญกับการถ่ายทอดเป้าหมายและตัวชี้วัดของนโยบายและแผน ระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ไปสู่การจัดทําแผนระดับที่ 3 เ พื่อให้สามารถ สะท้อนการแปลงนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ไปสู่การปฏิบัติ ตำมหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะความสอดคล้องกับเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ และห่วงโซ่คุณค่าประเทศไทย (Value Chain Thailand ) รวมทั้งนําไปเป็นหลักการจัดลําดับ ความสําคัญและความเร่งด่วนของโครงการและการดําเนินงานให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 4 .4 หน่วยงานที่เ กี่ยวข้องมีความพร้อมด้านทรัพยากร สามารถปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการ ตามภารกิจที่รับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับแนวทางตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) และสถานการณ์ความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความพร้อม ด้านงบประมาณ ที่เพียงพอและสามารถดําเนินการให้เกิดผลอย่างคุ้มค่า ด้านบุคลากร ทั้งในระดับผู้บริหารและ ผู้ปฏิบัติในการพัฒนาแผนงาน/โครงการของหน่วยงานให้สอดคล้องกับนโยบาย รวมไปถึงการมีบุคลากรที่เข้าใจ บริบทงานความมั่นคง และ ด้านการบริหารจัดการ โดย พั ฒนาปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่น คล่องตัว บนพื้นฐานของการบูรณาการงานให้เกิดความประสานสอดคล้องในการปฏิบัติ และสร้างภาคีความร่วมมือกับ ทุกภาคส่วน อย่างใกล้ชิด เพื่อมุ่งรับมือกับภัยคุกคามและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงในรูปแบบต่าง ๆ ใน เชิงรุก โดยมีการติดตามและประเมินความสําเร็จตาม เป้าหมายและ ตัวชี้วัดอย่างต่อเนื่อง 4 . 5 การ พิจารณาจัดสรร งบประมาณ ให้หน่วยงานของรัฐให้ สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อ ประโยชน์ในการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณสําหรับ แผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นเรื่องสําคัญ ให้หน่วยงานของรัฐเสนอแผนงานหรือ โครงการดังกล่าวต่อสํานักงานสภาความมั่น คงแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็น และให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่

  • 104 - อํานาจในการจัดทํางบประมาณนําความเห็นดังกล่าวไปประประกอบการพิจารณาด้วย โดยแผนงานหรือโครงการใด จะถือเป็นแผนงานหรือโครงการเรื่องสําคัญให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด 4.6 การบูรณาการการทํางานของ ทุกภาค ส่วน ให้เข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนการดําเนินการ ตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ทั้งภาครัฐ (ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น) ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ผ่านกลไก คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทํางาน หรือกลไกรูปแบบอื่นภายใต้สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ ห น่วยงานอื่น จัดตั้งขึ้น เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการขับเคลื่อน นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่น คงแห่งชาติ ( พ . ศ . 2566 – 2570 ) ตลอดจนเข้ามามีส่วนร่วม โดยสนับสนุนข้อมูลหรือทรัพยากร ด้านต่าง ๆ ต่อการดําเนินการให้เกิดผลสําเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงได้อย่างแท้จริง 4 . 7 การขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) สามารถดําเนินการไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลัก ในการติดตามผลการดําเนินงานตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) แผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่อง และแผนงานหรือโครงการ เกี่ยวกั บความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นเรื่องสําคัญ เพื่อสนับสนุน อํานวยการ หรือประสานการดําเนิน การที่จําเป็น รวมทั้ง ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการเร่งรัดหรือ ปรับปรุง การดําเนินงานดังกล่าวให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เห็นว่าการดําเนินงานใดของหน่วยงานของรัฐไม่เป็นไปตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) หรือแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่อง หรือแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งเป็นเรื่องสําคัญ ให้เสนอความเห็นต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อพิจารณาเสนอเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี พิจารณาตามที่เห็นสมควรต่อไป ---------------- -------------------------------

  • 105 - ส่วนที่ 6 ภาคผนวก

  • 107 - ผนวก ก กระบวนการจัดทํา

  • 109 - กระบวนการจัดทํา (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1 . การกําหนดเค้าโครงและกรอบทิศทาง 1.1 หลักการ ศึกษาเปรียบเทียบนโยบายความมั่นคงแห่งชาติที่ผ่านมา (ฉบับแรกที่มีการเผยแพร่ อย่างเป็นทางการ พ.ศ. 2 541 – 2 544) จนถึงฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2 56 2 – 2 565) แผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง และ (ร่าง) ทิศทางแผนพั ฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 รวมทั้ง นโยบายความมั่นคงแห่งชาติของต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาที่มีจุดเด่นการกําหนดขอบเขตและชี้เป้าประเด็น ความมั่นคงที่ต้องดําเนินการภายใน 4 ปี สหราชอาณาจักรที่มีแนวคิดการจัดลําดั บความสําคัญของประเด็น ความมั่นคง เป็นต้น 1.2 วิธีการ ดําเนินการ โดย สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีการหารือภายในหน่วยงาน และนําเสนอคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อจัดทําร่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2 566 – 2 570) พิจารณาเห็นชอบ 2 . การ ตรวจสอบสภาวะแวดล้อมและผลกระทบด้านความมั่นคง 2.1 หลักการ วิเคราะห์ ความสําคัญของภูมิยุทธศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ และภูมิเศรษฐศาสตร์ไทยที่ส่งผลต่อ ความมั่นคงแห่งชาติ การประเมินขีดความสามารถของประเทศเพื่อเสริมสร้างกําลังอํานาจของชาติ รวมทั้ง ความเปลี่ยนแปลงของบริบทความมั่นคงในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับภายในประเทศ โดยเฉพาะ ผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ โรค โควิด - 19 และแนวโน้มสถานการณ์ในระดับโลก ทําให้กรอบการประเมิน สถานการณ์และแนวโน้มความมั่นคงได้ใช้กระบวนการวิเคราะห์ด้านการคาดการณ์อนาค ตเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อประเมินความเสี่ยงภัยคุกคามที่จะส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศในห้วง 5 ปี ระหว่าง พ . ศ . 2566 – 2570 2.2 วิธีการ แบ่งออกเป็น 1) สํารวจเอกสาร ได้แก่ แผนระดับ ชาติ ที่เกี่ยวข้อง รายงานสถานการณ์ ความมั่นคงในรอบ 5 ปีของคณะที่ปรึกษาการข่าวจากการประมวลข้อมูลโดยสํานักข่าวกรองแห่งชาติ และกองประเมิน ภัยคุกคามของ สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ งานวิจัยของคณะที่ปรึกษาด้านวิชาการ และบทความทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้อง 2 ) ประชุมหารือ และขอรับข้อมูลสนับสนุน ร่วมกับภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาครัฐ ภาควิชาการ

  • 110 - ภาคการเมือง ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน และ 3) หารือและแลกเปลี่ยน ข้อมูลร่วมกับกลไก และหน่วยงานระดับนโยบายที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง คณะที่ปรึกษาของ สภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะอนุกรรมการจัดทําข้อเสนอทางวิชาการ เพื่อเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านความมั่นคง และ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 3 . การวิเคราะห์ความเสี่ยงของภัยคุกคามและจัดลําดับความสําคัญของประเด็นความมั่นคง 3.1 หลักการ สังเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มความเสี่ยงและโอกาส โดยใช้หลักการประเมินความเป็นไปได้ และผลกระทบ จึงกําหนดประเด็นความมั่นคงที่พิจารณาบนพื้นฐานผลประโยชน์แห่งชาติ การประเมินสถานการณ์ และการศึกษาของคณะที่ปรึกษาด้านวิชาการ ซึ่งประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบพบว่า ความเสี่ยง ของภัยคุกคามในปัจจุบันและแนวโน้มเปลี่ยนผ่านระย ะ ต่อไป มีทั้งสิ้น 28 ประเด็นความมั่นคง ดังนี้ 1. สถาบันหลักของชาติ 2 . ความขัดแย้งทางการเมือง 3. ความแตกแยกของคนในชาติ และความรุนแรงในสังคม 4. ปัญหาอาชญากรรม ภายในประเทศ 5. การป้องกันประเทศ 6. ความมั่นคงทางชายแดน 7. ความมั่นคงทางทะเล 8. ความมั่นคงทางอากาศ และอวกาศ 9. ความไม่สงบในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ 10. สาธารณภัย 11. ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 1 2 . ความมั่นคงทางพลังงาน 13. ความมั่นคงทางอาหาร 14. ความมั่นคงทางน้ํา 15. การเปลี่ยนแปลงทาง ภูมิประชากรศาสตร์ 16. ผู้หลบหนีเข้าเมือง 17. ยาเสพติด 18. การ ก่อการร้าย 19. โรคติดต่ออุบัติใหม่ 2 0. ความมั่นคงทางไซเบอร์ 2 1. อาชญากรรม ทางเศรษฐกิจ 22 . การฟอกเงิน 2 3. การค้ามนุษย์ และชิ้นส่วนมนุษย์ 2 4. ฉ้อโกงข้ามชาติ 2 5. การปลอมแปลงเอกสารและ หลักฐานเกี่ยวกับตัวบุคคล 2 6. ทุจริตคอร์รัปชัน 2 7. การแข่งขันขยายอิทธิพล ของมหาอํานาจ และขั้วอํานาจต่าง ๆ 2 8. การสะสมและแพร่ขยาย อาวุธ รวมถึงการค้า และการลักลอบค้าอาวุธ ผิดกฎหมาย

  • 111 - 3.2 วิธีการ 3.2.1 เครื่องมือทางวิชาการร่วมกับคณะที่ปรึกษาด้านวิชาการ มุ่งเน้นการประเมินแนวโน้มอนาคต เชิงยุทธศาสตร์ และการบริหารจัดการความเสี่ยง 3.2.2 จัดทําหลักเกณฑ์ประเมินภาพรวมระดับความเป็นไปได้และระดับผลกระทบ ของ แนวโน้ม ความเสี่ยงและโอกาส ประเด็นความมั่นคง แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ 1) ระดับคะแนนสีแดง เป็นประเด็นที่จะส่งผลกระทบและแนวโน้มความเสี่ยงสูงอย่างร้ายแรง 2) ระดับคะแนนสีส้ม เป็นประเด็นที่จะส่งผลกระทบและแนวโน้มความเสี่ยงสูงอย่างมาก 3) ระดับคะแนนสีเหลือง เป็นประเด็นที่จะส่งผลกระทบและแนวโน้มความเสี่ยงสูง 4) ระดับคะแนนสีเขียว เป็นประเด็นที่จะส่งผลกระทบและแนวโน้มความเสี่ยงเฝ้าระวัง 3.2.3 สํารวจความเห็นและการสัม ภาษณ์ผู้ เชี่ ยวชาญ ด้าน ความมั่ นคง ด้วยเทคนิคเดลฟาย เพื่อจัดลําดับความสําคัญประเด็นความมั่นคงที่มีผลกระทบและความเสี่ยงตามเกณฑ์ระดับคะแนนที่กําหนดไว้ 3.2.4 กําหนดประเด็นความมั่น คง ที่มีความสําคัญในระดับคะแนนสีแดง และระดับคะแนนสีส้ม รวมทั้งสิ้น 13 ประเด็นความมั่นคง ซึ่งจําเป็นต้องมีเครื่องมือสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ทําให้จําแนกออกเป็น 2 หมวด ได้แก่ 1) หมวดประเด็นความมั่นคง และ 2) หมวดประเด็นศักยภาพความมั่นคง ทั้งนี้ ประเด็นอื่นยังคงได้รับความสําคัญไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) 4 . การกําหนด ประเด็นนโยบายด้านความมั่นคงและแนวทางการขับเคลื่อน 4.1 หลักการ กําหนดขอบเขตความมั่นคงแบบองค์รวมและจัดวางทิศทางการขับเคลื่อนให้ชัดเจน ที่ เล็งเห็นผลความสําเร็จในระยะ 5 ปี โดยใช้ข้อมูลจากการประเมินแนวโน้มสถานการณ์ความมั่นคง และการจัด ลําดับ ความสําคัญของประเด็นความมั่นคง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง 4. 2 วิธีการ ดําเนินการตามกระบวนการที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 รวมถึง กลไก อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการยกร่าง มี 2 กลไกหลัก ได้แก่ 1) คณะทํางานยกร่าง นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2 566 – 2 570) และ 2) คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อจัดทําร่างนโยบาย และแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2 566 – 2 570) 5. การเสนอ ( ร่าง ) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570) 5.1 หลักการ เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 กําหนดให้สํานักงาน สภาความมั่นคงแห่งชาติ จัดทํานโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ตามเป้าหมายและแนวทาง ที่สภาความมั่นคงแห่งชาติกําหนด เพื่อเสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ และคณะรั ฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ รวมทั้งให้มีการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและของประชาชน และทําเป็นประกาศ พระบรมราชโองการ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา 5.2 วิธีการ เสนอกลไกพิจารณา ดังนี้ 1) คณะกรรมการร้อยกรองงานของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (เลขาธิ การสภาความมั ่ นคงแห่ งชาติ เป็ นประธาน) 2) คณะกรรมการนโยบายของสภาความมั ่ นคงแห่ งชาติ (รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) 3) สภาความมั่นคงแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) 4) คณะรัฐมนตรี หลังจากนั้นเสนอทูลเกล้าฯ เพื่อ ประกาศพระบรมราชโองการ และประกาศในราชกิจจานุ เบกษา ทั้งนี้ ได้เสนอ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ (นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) รับทราบด้วย เพื่อแสดงความสอดคล้องและ ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง

  • 113 - ผนวก ข ความเปลี่ยนแปลงของ บริบทความมั่นคงในระยะ 5 ปี

  • 115 - ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญความเสี่ยงหลายประการที่มีความเชื่อมโยงระหว่างกัน ซึ่งสามารถส่งผลกระทบ ต่อความมั่นคงในหลายระดับ เนื่องจากลักษณะของภัยคุกคามมี ความผันผวน ความไม่แน่นอน ความสลับซับซ้อน และความคลุมเครือ ( VUCA World) อันเป็นผลมาจากปัจจัยภายในประเทศและปัจจัยระหว่างประเทศ ส่งผลให้ สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นมีความรุนแรงและยากจะคาดการณ์ รูปแบบภัยคุกคามจะมีความหลากหลาย และมีลักษณะ ผสมผสาน ปัญหาข้ามพรมแดนแปรผันตามความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อน ทั้งที่เป็นผลสืบเนื่ อง มาจากสถานการณ์ แพร่ ระบาดของ โรค โควิด - 19 และแนวโน้มสถานการณ์ในระดับโลก ทําให้กรอบการประเมิน สถานการณ์และแนวโน้มความมั่นคงได้ใช้กระบวน การวิเคราะห์ด้านการคาดการณ์อนาคตเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อประเมินความเสี่ยงภัยคุกคามที่จะส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศในห้วง 5 ปี ระหว่าง พ . ศ . 2 566 – 2 570 แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับโลก 2 ) ระดับภูมิภาค และ 3) ระดับประเทศ โดยพิจารณาจากมุมมอง ผลกระทบภายนอกที่ส่งผลต่อไทย และมุมมองสถานการณ์ภายในประเทศที่ส่ง ผลต่อภายนอก 1 . ความ เปลี่ยนแปลงของบริบทความมั่นคงในระดับโลก 1.1 การแข่งขันขยายอิทธิพลของประเทศ มหาอํานาจและขั้วอํานาจต่าง ๆ ในห้วงที่ผ่านมามีการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอํานาจ และขั้วอํานาจต่าง ๆ ของโล ก อย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันของประเทศมหาอํานาจอย่างสหรัฐอเมริกาผ่านการสานต่อการดําเนินยุทธศาสตร์อินโด - แปซิฟิก เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของจีนที่มีต่อโครงการ ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และการนําเสนอให้มีการจัดตั้งกรอบความริเริ่ม ความมั่นคงโลก ซึ่งเป็นแนวคิดความมั่นคงโล กแบบองค์รวมที่จีนได้นําเสนอ ในขณะเดียวกัน หากสถานการณ์ความขัดแย้งหรือวิกฤตการณ์การสู้รบของประเทศมหาอํานาจหนึ่ง ที่มีต่อประเทศอื่นมีสัญญาณบ่งชี้การขยายผลกระทบในวงกว้างไปสู่ระดับโลกได้ ทั้งในเรื่องการแสดงท่าที และการดําเนินการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การดําเนินนโยบายรองรับการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานโลก และปัญหาทางเศรษฐกิจ หากประเทศคู่ขัดแย้งเป็นผู้ส่งออกสินค้าสําคัญ อาทิ สินค้าทางการเกษตร น้ํามัน และก๊าซธรรมชาติ ที่เป็นวัตถุดิบสําคัญในภาคการผลิตด้วยแล้ว ก็อาจนําไปสู่ ความผันผวนของราคาพลังงาน อาหาร รวมถึงสินค้าหลายประเภท และส่งผลต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนจนเกิดเป็นภาวะวิกฤตได้ ซึ่งประเทศไทยจําเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตการณ์ความมั่นคงดังกล่าว โดยให้ความสําคัญกับ การเสริมสร้างสมดุลความมั่นคงทางอาหารและพลั งงาน เพื่อลดความเสี่ยงต่อความมั่นคงแห่งชาติและคุณภาพชีวิต ของคนในชาติ ตลอดจนการพัฒนาระบบป้องกันประเทศและการเตรียมพร้อมแห่งชาติ เพื่อรองรับกับภัยคุกคาม ต่อความมั่นคงด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น อาทิ อาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ นอกจากนี้ แนวโน้ม การรวมกลุ่มของขั้วอํานาจต่าง ๆ ได้มีการต่อรองผลประโยชน์ร่วมกัน และเร่งรัดกระบวนการแยกตัว ของระบบการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีระหว่าง กลุ่มประเทศต่าง ๆ ให้ชัดเจนและรวดเร็วยิ่ง ขึ้น อาทิ กรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาคอินโด – แป ซิฟิก ของพันธมิตร ความมั่นคงสี่ฝ่าย ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ( Quadrilateral Security Dialogue : QUAD ) และกลุ่ ม AUKUS ( Australia – the United Kingdom – the United States ) เพื่ อเสริมสร้าง กําลังอํานาจของชาติ ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี การเสริมสร้าง ศักยภาพของกองทัพ และยุทโธปกรณ์ การแสวงหาทรัพยากรและพื้ นที่ อิทธิพลใหม่ ๆ การรวมกลุ่ มพันธมิตรที่ มีผลประโยชน์

  • 116 - สอดคล้องกัน ตลอดจน การปิดล้อมหรือสกัดกั้นอิทธิพลของประเทศที่เป็นคู่ขัดแย้ ง อย่างไรก็ตามมีแนวโน้ม การรวมกลุ่มกันในรายประเด็นผลประโยชน์ที่มีความเชื่อมโยงทับซ้อนกันระหว่างประเทศในแต่ละ ขั้วอํานาจ ไม่ได้ แยกออกจากกันโดยสิ้นเชิงด้วย การดําเนินการดังกล่าวส่งผลให้รูป แบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และสร้างความท้าทายต่อการดําเนินนโยบายความมั่นคงกับต่างประเทศ อันส่งผล ต่อการกําหนดจุดยืน ของไทย ในเวทีการเมืองและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยมีแนวโน้มการแข่งขันเพื่อขยายอิทธิพล 2 เรื่องสําคัญ ดังนี้ 1.1.1 การสะสมอาวุธและการแพร่ขยายอาวุธ ข้อบ่งชี้การใช้จ่ายงบประมาณทางทหารทั่วโลกและรายงานสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ (Armed c onflict) ที่เพิ่มสูงขึ้นได้สร้างบรรยากาศความหวาดระแวงและความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน ส่งผลให้ แต่ละประเทศและพันธมิตรของขั้วอํานาจเสริมสร้างศักยภาพการป้องกันประเทศให้พร้อมรับมือด้วยการเพิ่ม ปริมาณการสะสมอาวุธ การปรับยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดวิกฤตการณ์ควำมขัดแย้งระหว่างประเทศ และการพัฒนาแสนยานุภาพและเทคโนโลยีทางการทหาร โดยนําไปสู่การแพร่ขยายของอาวุธตามแบบ ( conventional weapons) และอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง ( Weapons of Mass Destruction: WMD ) รวมถึง อาวุธไฮเปอร์ โซนิกหรืออาวุธความเร็วเหนือเสียง ( Hypersonic Weapon) ซึ่งนําไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการนําไปใช้ ในอาชญากรรม หากอาวุธดังกล่าวอยู่ภายใต้การครอบครองของรัฐที่มีสถานการณ์ ขัดกันทางอาวุธหรือตัวแสดง ที่ไม่ใช่รัฐบางกลุ่ม ทําให้เกิดความพยายามในการจัดระเบียบโลกเพื่อควบคุมและลดอาวุธ อันจะส่งผลกระทบต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความมั่นคงของรัฐ ไทยมีความเสี่ยงจากการเป็นพื้นที่แสวงประโยชน์เพื่อการจัดหา จัดซื้อ ลักลอบขนส่ง และลําเลียงสินค้าอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ผิดกฎหมาย ตลอดจนการถู กกดดันให้มีการควบคุมและลดอาวุธที่ส่งผลต่อ การพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ 1.1.2 การแสวงประโยชน์จากความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเปลี่ ยนผ่านเข้าสู่ ยุคดิจิทัลของ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้ งที่ 4 ได้ สร้างพลวัต ให้ ประเทศมหาอํานาจ ประเทศที่มีศักยภาพ และตัวแสดงระหว่างประเทศ เพื่อขยายอิทธิพลใน การ เสริมสร้าง กําลังอํานาจของชาติ ด้วยการ พัฒนา และเสริมสร้างความทันสมัยของเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต ที่ เน้ นการต่ อยอดและผสมผสานเทคโนโลยีต่ำงสาขาเข้ำด้ วยกัน อาทิ เทคโนโลยีควอนตัม การจัดการระบบ แพลตฟอร์ม การวิเคราะห์ และเข้าถึง ข้ อมูลขนาดใหญ่ การใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และ ระบบอัตโนมัติ ซึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมดังกล่าว มีแนวโน้ม ถูกนํามาใช้เป็นเครื่องมือต่อรองและแสวงประโยชน์ ที่เพิ่มความหวาดระแวง ระหว่างกัน ทั้ งในเรื่ อง การโจมตีโครงสร้างพื้ นฐาน การจารกรรมข้อมูล การสอดแนม การก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ และอาชญากรรมข้ามชาติรูปแบบอื่น ๆ รวมถึงภาวะการพึ่งพิงจากการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม อย่างไรก็ตาม ไทย สามารถ แสวงหาโอกาสและประโยชน์ กับประเทศมหาอํานาจ และขั้วอํานาจต่าง ๆ ผ่ำนการส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อ พัฒนาต่อยอดและนําเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด และรองรับภัยคุกคามอันเกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และนวัตกรรม

  • 117 - 1. 2 สถานการณ์การก่อการร้าย แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ตลอดห้วงที่ผ่านมา จะส่งผลให้การเคลื่อนไหว ของกลุ่มก่อการร้ายต่าง ๆ ลดน้อยลง อันเนื่องจากมาตรการจํากัดการเข้าเมือง และการปิดพรมแดนของนานาประเทศ ตลอดจนการเข้มงวดการเดินทางสัญจรระหว่างประเทศ แต่กลุ่มก่อการร้ายมีแนวโน้มปรับรูปแบบการก่อเหตุ ในลักษณะของปฏิบัติการโดยลําพัง รวมถึงมุ่งเน้นการเผยแพร่ / บ่มเพาะแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการดําเนินการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่อกลุ่มที่มีความเปราะบำง ได้แก่ เด็ก เยาวชน และสตรี อีกทั้ง หากสถานการณ์ของโรคโควิด - 19 คลี่คลายลง มีแนวโน้มที่กลุ่มก่อการร้ายต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มนักรบก่อการร้าย ต่างประเทศจะกลับมาเคลื่อนไหว / ก่อเหตุรุนแรงอีก โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น ความขัดแย้งทางการเมือง ศาสนา ชาติพันธุ์ เป็นต้น รวมทั้งความขัดแย้งในภูมิภาคต่าง ๆ ที่มีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ก่อการร้าย กลุ่มก่อการร้ายอาจใช้ไทยเป็นสถานที่พักพิงและอํานวยความสะดวกเพื่อตระเตรียมก่อเหตุ ไปจนถึงขั้นก่อเหตุ อีกทั้งการก่อการร้ายยังเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมอื่น ๆ อาทิ ยาเสพติด การค้ามนุษย์ การค้าอาวุธ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการฟอกเงินและการให้เงินอุดหนุนต่อการก่อการร้าย นอกจากนี้ ความก้าวหน้าของนวัตกรรมและเทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยเสี่ยงสําคัญที่นํามาใช้พัฒนาอาวุธในการก่อการร้าย อาทิ อากาศยานโจมตีไร้คนขับก่อเหตุ การก่อกำรร้ายทางไซเบอร์ และการใช้อาวุธทางชีวภาพในการก่อการร้าย ดังนั้ น ไทยจําเป็นต้องมีแนวทางการเตรียมพร้อม เพื่ อรับมือและต่อต้านการก่อการร้าย ทุกรูปแบบ และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ 1.3 การเปลี่ ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน ที่ส่งผลต่อภัยคุกคาม ทางไซเบอร์ พัฒนาการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทําให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานสําคัญ เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ได้เป็นปัจจัยเร่ง ให้ วิ ถี ชี วิ ตของประชาชนต้ องพึ่ งพิงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ ้ น ซึ ่ งมี แนวโน้ มความเสี่ ยงไปสู่ การก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ที่มีลักษณะไร้ตัวตน ( Invisible) ไร้พรมแดน ( Borderless) และนิรนาม ( Anonymous) ไทยมีแนวโน้มเผชิญกับสถานการณ์การโจมตีทางไซเบอร์และอาชญากรรมทาง ไซเบอร์ อาทิ การทําสงครามไซเบอร์ระหว่างรัฐที่เป็นคู่ขัดแย้ง ปฏิบัติการของเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ การล่อลวง และฉ้อโกงทางไซเบอร์เพื่อแสวงประโยชน์ทางการเงินผ่านมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware ) ขบวนการฉ้อโกง การสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต (Voice over Internet Protocol: VoIP) การโจมตีระบบของ สถาบันทางการเงิน ภัยจากการใช้เงินตราเข้ารหัสลับ ( Cryptocurrency) ที่นําไปสู่การฟอกเงิน ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ ข้ามชาติ การพนันออนไลน์ การถูกครอบงําหรือชี้นําทางความคิดผ่าน สื่อสังคมออนไลน์เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ การล่อลวงเป้าหมายอ่อนแอด้วยวิธีการหาคู่ทางอินเทอร์เน็ต ( Romance scam) การระรานทางไซเบอร์ ( Cyber b ullying) รวมถึงมีการละเมิดข้อมูล หรือการเข้าถึงข้อมูล โดยไม่ได้รับอนุญาตจะเพิ่มขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทําให้ องค์กร และรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นในการกู้คืน อาชญากรไซเบอร์ส่วนใหญ่ยังคงมุ่งโจมตีเว็บไซต์ แลกเปลี่ยน ซื้อ – ขาย และเว็บไซต์ที่ให้บริการจัดเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ อีกทั้ง ใช้เป็นช่องทางฟอกเงิน เนื่องจากจะไม่ปรากฏเส้นทางการโอนเงินเหมือนกับการชําระด้วยเงินสดหรือบัตรเครดิต

  • 118 - ในขณะเดียวกัน ไทยสามารถใช้โอกาสจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อพั ฒนาอุตสาหกรรม และ เทคโนโลยีการป้องกันประเทศ เพื่อนําไปใช้ในการป้องกันและการ สืบสวนอาชญากรรม ทาง ไซเบอ ร์ รวมทั้งเชื่อมโยง ระบบข้อมูลขนาดใหญ่ด้านความมั่นคงของประเทศให้เป็นเอกภาพ รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือกับประชาคม ระหว่างประเทศในการป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทั้งจากรัฐ และตัวแสดงที่มิใช่รัฐ ที่ใช้ช่องทาง ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานสําคัญ การโจมตีโครงสร้างพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ รวมถึงอาชญากรรม ทางไซเบอร์ และการก่อการร้าย 1.4 โรคติดต่ออุบัติ ใหม่และภัยสุขภาพ ต่าง ๆ ปัจจัยทางชีวภาพของเชื้อโรคที่มีวิวัฒนาการอย่างสม่ําเสมอ การดื้อยาต้านจุลชีพ ( Antimicrobial resistance) พฤติกรรมของมนุษย์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องส่งผลให้โรคติดต่ออุบัติใหม่และภัยสุขภาพต่าง ๆ มากขึ้ น และมีแนวโน้มยกระดับโรคติดต่ออุบัติใหม่ และอุบัติซ้ําเป็นโรคระบาดที่เป็นโรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคแน่ชัด ซึ่งอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่น ได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง หรือมีภาวะของการเกิดโรคมากกว่าปกติที่เคยเป็นมา กรณีตัวอย่างที่ ชัดเจนพิจารณาได้จากองค์การอนามัยโลก ( World Health Organization: WHO) แถลงการณ์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 ยกระดับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID - 19 จากโรคระบาด ( Epidemic) เป็นโรคระบาดใหญ่ ( Pandemic) หลังจากมีการลุกลามไปหลายประเทศในภูมิภาค ต่าง ๆ ได้ส่งผลกระทบในทุกระดับ และเป็นประเด็นระดับโลกที่จําเป็นต้องร่วมมือเพื่อป้องกันและระงับยับยั้ง ร่วมกันในการบริหารจัดการทางด้านสาธารณสุขของประชาคมโลกผ่านกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ วิกฤตการณ์โรคติดต่ออุบัติใหม่แล ะภัยสุขภาพต่าง ๆ จึงส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศได้ โดยเฉพาะผลกระทบต่อความมั่ นคงทางอาหารและความมั่ นคงทางสุขภาพต่ อสุขภาวะของคนในชาติ อาทิ การนําเข้าอาหาร ยารักษาโรค และเครื่องมือทางการแพทย์ ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมและการบริหารจัดการ ทรัพยากร ด้านการ แพทย์และสาธา รณสุขจึงมีความจําเป็นในการรับมือกับโรคต่าง ๆ ทั้งเรื่องโรคติดต่อและ การระบาด โรคและภัยที่เกิดจากสารเคมี โรคและภัยสุขภาพที่เกิดจากกัมตภาพรังสีและ นิวเคลียร์ โรคที่เกิดจาก การบาดเจ็บและอุบัติภัย ตลอดจนโรคและภัยสุขภาพที่เกิดจากภัยธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของโรคอุบัติใหม่และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉินจะเป็นช่องทาง ให้ประเทศมหาอํานาจแสวงประโยชน์ผ่านความร่วมมือทางด้านสาธารณสุขเพื่อเสริมบทบาทนําในเวทีระหว่าง ประเทศ อาทิ การแลกเปลี่ยนวิทยาการทางการแพทย์ องค์ความรู้ในการจัดการ ตลอดจนกําหนดแนวทาง ในการแบ่งปัน/จัด สรร เวชภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและป้องกันโรค สําหรับไทย ควรมีการเสริมศักยภาพในการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข ทั้งในด้านงบประมาณ หน่วยงาน บุคลากร และ องค์ความรู้ เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นในอนาคต 1.5 การเ ปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ผลกระทบจากการเปลี่ ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนมีความเกี่ ยวข้องกับ มิติความมั่นคงหลายประการและเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเปราะบางของปัญหาที่มีอยู่เดิม ดังนี้

  • 119 - 1.5.1 ปัญหาระดับน้ําทะเลที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อ การกัดเซาะบริเวณชายฝั่งทําให้เส้นฐาน ( Baseline) ที่ใช้ในการกําหนดเขตพื้นที่ดังกล่าวถอยร่นตามแนวน้ําที่สูงขึ้นจากตําแหน่งเดิม อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ยังไม่มีบรรทัดฐานทางกฎหมายระหว่างประเทศอันเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นสากลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเส้นฐาน การกําหนดเขตทางทะเลอันเป็นผลจากการเพิ่มสูงของระดับน้ําทะเล 1.5.2 ปัญหาการขาดแคลนและแย่งชิงทรัพยากรน้ํา อันเป็นผลมาจากประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น และการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสาเหตุของปัญหาภัยแล้ง จึงมีแนวโน้มเกิดความขัดแย้งหรือ กรณีพิพาทระหว่างประเทศต่อปัญหาการแย่งชิงกรรมสิทธิ์ในบริเวณที่มีทรัพยากรน้ํา 1.5.3 ปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐาน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นแรงผลักดันให้กลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบพิจารณาโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อแสวงหาโอกาส ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งการโยกย้ายถิ่นฐานข้ามประเทศก่อให้เกิดปัญหาทั้งในมิติด้านความมั่ นคง สังคม ทรัพยากร และเศรษฐกิจของประเทศปลายทาง 1.5.4 ปัญหาความมั่นคงทางอาหารและน้ํา ประชากรโลกมีแนวโน้มเผชิญภาวะอดอยาก และการขาดสารอาหารเพิ่มขึ้น ราคาอาหารมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง เนื่องจากผู้ผลิตไม่สามารถผลิต อาหารได้ ทันกับ ความต้องการทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางน้ําของโลกในระยะยาว ยังคงน่ากังวล โดยประชากรโลกร้อยละ 30 ไม่สามารถเข้าถึงน้ําสะอาด และขาดแคลนน้ําดื่ม ซึ่งหากประชาชน ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ําและอาหารที่ปลอดภัยและเพียงพอต่อความต้องกา ร ย่อมเพิ่มความรุนแรงของปัญหา ความเหลื่อมล้ําในสังคมและนําไปสู่ความขัดแย้งที่ขยายตัวเป็นวงกว้าง 1.5.5 ปัญหาความมั่นคงทาง พลังงาน กระบวนการจัดหาพลังงาน การนําเข้าและส่งออก พลังงานฟอสซิลได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทําให้หลายประเทศเริ่มหันไปใช้พลังงานสะอาด รวมถึงพลั งงาน ทดแทนและพลังงานทางเลือก อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ที่มีสัดส่วน การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อนในปริมาณที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ พลังงานฟอสซิล ประกอบกับการถูกกีดกันด้วยบรรทัดฐานทางการค้ำและการลงทุน ระหว่างประเทศ รวมทั้ง มีสัญญาณบ่งชี้ การหยุดชะงักโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสําคัญ เช่น ไฟฟ้า น้ํามัน เป็นต้น ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ห่วงโซ่อุปทานโลก ทําให้ปร ะเทศที่ยังคงใช้พลังงานฟอสซิลและพึ่งพาการนําเข้าทรัพยากรพลังงาน โดยเฉพาะ น้ํามันดิบจากต่างประเทศ ต้องเร่งปรับนโยบาย สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ซึ่งรวมถึง การปรับบทบาทและโอกาสของไทยให้สอดคล้องกับแนวโน้มสถานการณ์ดังกล่าว ลดการพึ่งพาแหล่งพลังงาน จากภายนอกของไทยผ่านการพัฒนาแหล่งพลังงานในประเทศ การสร้างความพร้อม ของบุคลากรของประเทศ ตลอดจนการบริหารจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และคํานึงถึงผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้ อม 1.6 การเปลี่ยนแปลงทางภูมิประชากรศาสตร์ คาดการณ์ ว่ำจํานวนประชากรโลกจะเพิ ่ มขึ ้ นมากกว่ำ 1 พั นล้ำนคนภายในปี 2 030 และภายในปี 2 050 ร้อยละ 80 ของประชากรโลกที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปจะอยู่ ในประเทศกําลังพัฒนา ซึ่งการที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นส่งผลให้ภาครัฐต้องมีการบริหารจัดการด้านหลักประกันสุขภาพและสาธารณสุข ที่เหมาะสม ในขณะเดียวกัน ความไม่สอดคล้องกันระหว่างแรงงานและความต้องการทางเศรษฐกิจ อันเป็นผล มาจาก

  • 120 - แนวโน้มประชากรวัยทํางานที่ลดลงจะก่อให้เกิดความไม่คล่องตัวต่อการสร้างรายได้ของรัฐบาลในช่วงเวลา ที่ประเทศต้องเผชิญกับความต้องการด้านอื่น ๆ อย่างเร่งด่วน โดยไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศ ที่เผชิญปัญหาสังคม ผู้สูงวัยไปพร้อมกับสถานการณ์ในระดับโลก การเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ของไทยจะนํามาซึ่ งความท้าทายทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ทั้งในเรื่องปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาการค้ามนุษย์อันเป็นผลมาจากความต้องการ ด้านแรงงานที่เพิ่มขึ้น การขาดระบบสวัสดิการที่เพียงพอ ปัญหาสุขภาพจิตใจของผู้สูงวัยจากการถูกแยกออกจาก ภาคเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงปัญหาช่องว่างระหว่างวัย ที่นําไปสู่การปะทะกันทางความคิดและความแตกแยก ในสังคม ดังนั้น ภาครัฐต้องปรับเปลี่ยนวิธีการวางนโยบายและการจัดส รรงบประมาณเพื่อรองรับแนวโน้มสังคมสูงวัย และความท้าทายของตลาดแรงงานไทย ตลอดจนการบริหารจัดการไม่ให้อคติช่วงวัยนําไปสู่การใช้ความรุนแรง 2. ความ เปลี่ยนแปลงของบริบทความมั่นคงในระดับภูมิภาค 2 .1 การแข่งขันและขยายอิทธิพลของประเทศมหาอํานาจและขั้วอํานาจต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ สภาพที่ ตั้ งของภูมิภาคในการเป็นเส้นทางคมนาคมและแหล่งทรัพยากรพลังงานที่ สําคัญ ส่งผลให้มีแนวโน้มการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอํานาจและพันธมิตรมาอย่างต่อเนื่ อ ง ในห้วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจการเมืองของจีน การที่สหรัฐอเมริกาพยายาม คานอํานาจและอิทธิพลของจีนในภูมิภาค การแสวงหาพันธมิตรในการเพิ่มอํานาจต่อรองหรือผลประโยชน์ จากพื้นที่บริเวณช่องแคบไต้หวัน และคาบสมุทรเกาหลี ตลอดจนการดึงดูดให้ประเท ศที่มีอิทธิพลในภูมิภาค อาทิ รัสเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย เข้ามามีบทบาทผ่านกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยการแข่งขันและ ขยายอิทธิพลดังกล่าวส่งผลต่อการกําหนดท่าที และการดําเนินนโยบายต่างประเทศของแต่ละประเทศ อาทิ นโยบายเน้ นการพึ่งพาประเทศมหาอํานาจ และนโยบายแสวงหาความร่วมมือด้านอื่น ๆ จากประเทศ มหาอํานาจใดมหาอํานาจหนึ่ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการรักษาดุลยภาพในภูมิภาคในอนาคต อย่างไรก็ตาม บริบทแนวโน้มการแข่งขันและขยายอิทธิพลที่ส่งผลกระทบและโอกาสในระดับ ภูมิภาคปราก ฏ พื้นที่สําคัญ 2 กรณี ดังนี้ 2.1.1 กรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ สถานการณ์ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ยังคงเป็นประเด็นท้าทายที่สําคัญของภูมิภาค ซึ่งเดิม พื้นฐานความขัดแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องการอ้างสิทธิทับซ้อนเหนือพื้นที่ทะเลจีนใต้ ต่อมาได้ยกระดับเป็น ประเด็นระดับโลก โดยมีประเทศภายนอกภูมิภาคเข้ามารักษาผลประโยชน์จากการใช้สิทธิการเดินเรืออย่างเสรี นอกจากนี้ ยังปรากฏแนวโน้มที่ทะเลจีนใต้จะถูกทําให้เป็นพื้นที่ทางการทหาร ( Militarization ) ซึ่งมีสัญญาณบ่งชี้ ได้แก่ การสะสมกําลังทางทะเลของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการอ้างสิทธิเหนือพื้ นที่พิพาท รวมถึงการนํากําลัง ของประเทศนอกภูมิภาคมาปฏิบัติการ อาทิ ปฏิบัติการเดินเรือและบินผ่านอย่างเสรี ( Freedom of Navigation Operations: FONOPs) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและการฝึกซ้อมทางทหาร ตลอดจนการแข่งขัน

  • 121 - เพื่อสร้าง อิทธิพลเหนือทะเลจีนใต้ในรูปแบบอื่น อาทิ การให้บริการเกี่ยวกับกิจการทางทะเล โดยเฉพาะการรักษา ความปลอดภัย ในการเดินเรือ และการใช้ยุทธวิธีกึ่งทหารกึ่งพลเรือน ( Grey zone activities ) เพื่อควบคุมพื้นที่ แม้ไทยจะไม่ใช่คู่ขัดแย้งในประเด็นพิพาทโดยตรง แต่เป็นผู้ใช้เส้นทางการเดินเรือพาณิชย์ ผ่านพื้นที่ ดังกล่าว จึงย่อมได้รับผลกระทบหากเกิดการใช้กําลังทหารไม่ว่าจะเป็นการทําสงครามอย่างเปิดเผยหรือ เหตุกระทบกระทั่งแบบไม่เจตนา หรือ สถานการ ณ์ความปลอดภัยและความมั่นคงในการข นส่งทางทะเล การกระทํา อันเป็นโจรสลัด จนถึงขั้นกระทบกับผลประโยชน์ของชาติ ที่ ต้องใช้ทะเลในบริเวณพื้ นที่ความขัดแย้งเป็นเส้นทาง ในการขนส่งสินค้าทางทะเลเพื่อเข้าและออกประเทศไทยได้ นอกจากนี้ หากเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลในพื้นที่ขัดแย้งปิดลง ประเทศไทยจะมี ระยะเวลาเตือนภัยเพียง 48 ชั่วโมง เพื่อ บริหารจัดการ แก้ไขปัญหาดังกล่าว อันจะส่งผลต่อแหล่งเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่ในห่วงโซ่การส่งออกและนําเข้าที่ต้องพึ่งพาการลําเลียงวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ผ่านการขนส่งทางทะเล โดย มีมูลค่า สูง ถึง 7 ล้านล้านบาทต่อปี อีกทั้งไทยยังมีแนวโน้มถูกกดดันจากประเทศมหาอํานาจเพื่อขอรับ การสนับสนุนเกี่ยวกับการแสดงท่าที ห รือการดําเนินกิจการในทะเลจีนใต้อีกด้วย ดังนั้น ไทยจึงควรแสดงท่าที ต่อการสนับสนุนในการ แก้ไขข้อพิพาทของคู่กรณีต่าง ๆ ผ่านกระบวนการสันติและสร้างสรรค์ เพื่อลดความขัดแย้ง ในบริเวณพื้นที่ทะเลจีนใต้ 2.1.2 กรณีอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง อนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขงมีความสําคัญทางยุทธศาสตร์เพิ่มขึ้นในการเป็นอีกพื้นที่แข่งขันอิทธิพล อย่างเข้มข้นของประเทศมหาอํานาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ผ่านการดําเนินนโยบายของ ประเทศตน โดยใช้ช่องทางทวิภาคีและพหุภาคี เช่น ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง ( Be lt and Road Initiative : BRI) ของจีน และการจัดตั้งกรอบความร่วมมือข้อริเริ่มลุ่มน้ําโขงตอนล่าง ( Lower Mekong Initiative - LMI) ซึ่งได้ยกระดับ เป็นกรอบความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ําโขง ( Mekong – U.S. Partnership) ของสหรัฐ อเมริกา เป็นต้น รวมถึง ใช้ ประโยชน์จากความได้เปรียบของภูมิรัฐศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ อํานาจทางเศรษฐกิจ หรือเทคโนโลยี ของประเทศนั้น ๆ เป็นกลไกสนับสนุนการดําเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ การแข่งขัน เพื่อช่วงชิงบทบาทนําระหว่างประเทศมหาอํานาจเหล่านี้ก่อให้เกิดความท้าทาย แก่ ประเทศในอนุภูมิภาค โดยเฉพำะการกําหนดท่าทีและดําเนินนโยบายต่างประเทศ ทั้งการรักษาสมดุลความสัมพันธ์ และหลีกเลี่ยงการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากลุ่มแม่น้ําโขงเป็นพื้นที่ที่นานาประเทศใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทรัพยากรน้ําในลุ่มน้ําโขง ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และประชาชนที่อาศัยทรัพยากรธรรมชาติในการดําเนินชีวิต รวมถึงความปลอดภัยในการคมนาคมทางน้ํา และการปล่อยสารพิษลงในน้ํา ดังนั้น การอาศัยกลไกหรือกระบวนการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยส่งเสริมการบริหาร จัดการ ที่สามารถลดความขัดแย้งหรือความตึงเครียดอันเป็นผลมาจากการแข่งขันทางอิทธิพลดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม ไทยควรใช้โอกาสดําเนินความสัมพันธ์กับประเทศมหาอํานาจอย่างสร้างสรรค์และมีดุลยภาพ เพื่ อรักษา ผลประโยชน์ของชาติ

  • 122 - 2 . 2 บทบาท ของอาเซียน เนื่องด้วยความแตกต่างด้านค่านิยม วัฒนธรรม ระดับการพัฒนา ระบบการปกครอง จึงเป็น ความท้าทายของอาเซียนในการมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ที่อาจส่งผลต่อปัญหาและความท้าทายที่สําคัญ ดังนี้ 2.2.1 การป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน การอํานวยความสะดวก ให้มีการติดต่อ แลกเปลี่ยนระหว่าง ประเทศสมาชิกอาเซียน ผ่าน ช่องทางชายแดน ระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างประชาชน ย่อม ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้าย ทั้งคนและสินค้ามากขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มเชื่อมโยงกับ ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ และภัยข้ามชาติต่าง ๆ ที่ กระทบต่อเสถียรภาพ ทาง ความมั่นคงภายในภูมิภาค 2.2.2 ความมีเอกภาพของอำเซียน อาเซียนจะเผชิญบททดสอบความเป็นเอกภาพของประเทศสมาชิก และการเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในภูมิภาคอันเนื่องมาจาก มุมมองเกี่ยวกับ ผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของ แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนประกอบกับสภาพ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และระดับ การพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก ที่แตกต่างกัน จะกระทบต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างประเทศสมาชิก ในการตอบสนองต่อประเด็นความมั่นคงรูปแบบต่าง ๆ ขณะเดียวกันการมองผลประโยชน์ของประเทศสมาชิก ที่แตกต่างกันย่อมเพิ่มแนวโน้มการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศมหาอํานาจ และป ระเทศนอกภูมิภาคอื่น ๆ ในกรอบทวิภาคีมากกว่าการดําเนินการผ่านกลไกของอาเซียน ซึ่งจะทําให้อาเซียนขาดพลังต่อรองกับประเทศนอกภูมิภาค รวมทั้งในเวทีระหว่างประเทศ 2.2.3 ความเป็นแกนกลางของอาเซียน มีแนวโน้มว่าประเทศมหาอํานาจจะแข่งขันขยายอิทธิพล ในภูมิภาคอย่างเข้มข้นขึ้ น ทั้งรูปแบบของการใช้พลังอํานาจทาง การเมือง การ ทหาร เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ จะ ส่งผลให้มีการเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของประเทศในภูมิภาค ซึ่งอาเซียน ต้องทบทวนบทบาทเกี่ยวกับการคงสถานะความเป็นกลางที่จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก 2.2.4 มุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด - แปซิฟิก (ASEAN Outlook on Indo - Pacific: AOIP) ให้ความสําคัญกับ ความร่วมมือภาคพื้ นมหาสมุทร เพื่ อยืนยันจุดยืนของอาเซียนในเรื่ องการกําหนด ให้ มหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างและปลอดภัยสําหรับทุกฝ่ายที่จะเข้ามาแสวงหา ประโยชน์ร่วมกันด้วยการยึดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล การแสดงบทบาทเป็น ตัวกลาง ประสานความร่วมมือและเชื่อมโยงทุกฝ่าย ที่เข้ามาแสวงประโยชน์ในภูมิภาค รวม ถึง การส่งเสริมและขับเคลื่อน ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ ด้วยเหตุนี้ ไทยและประเทศสมาชิกใน อาเซียนจะได้ประโยชน์ จากการแข่งขันทางยุทธศาสตร์ ของมหาอํานาจ เพื่ อ พัฒนาโครงสร้างพื้ นฐาน กระตุ้ นการลงทุนภาคเอกชน ช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การเติบโตของ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และโอกาสในการดําเนินธุรกิจมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศมหาอํานาจ อาจ มีอิทธิพลในการกําหนดทิศทางของอาเซียนได้ ปัญหาประชากรจีนย้ายถิ่นฐาน และความเสี่ยงด้านการชําระหนี้ ซึ่ งไทยควรเพิ่ มอํานาจต่อรองให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ รวม ทั้ งเพิ่ มบทบาทในการเสนอแนวทาง เพื่อป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามในเวทีการประชุมทุกระดับของอาเซียน

  • 123 - 2 . 3 สถานการณ์ความมั่นคงในประเทศรอบบ้าน แนวโน้มประเทศมหาอํานาจจะเข้ามามีบทบาทในมิติด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของ ประเทศรอบบ้านเพิ่มมากขึ้น ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน การสนับสนุนทางการเมือง เศรษฐกิจ และการสนับสนุน เทคโนโลยีด้านการทหารและความมั่นคง ซึ่งทําให้ประเทศรอบบ้านของไทยมีการพึ่งพามหาอํานาจใดมหาอํานาจหนึ่ง สูงขึ้ นจนส่งผลกระทบต่อดุลยภาพและความสัมพันธ์ระหว่างประเท ศได้ นอกจากนี้ ในกรณีสถานการณ์ ความขัดแย้งภายในของประเทศรอบบ้านมีการแทรกแซงจากภายนอกอันเป็นผลจากสถานการณ์ความขัดแย้ง ทางการเมืองภายใน ทําให้การสู้รบระหว่างฝ่ายรัฐกับกลุ่มผู้เห็นต่างรุนแรงขึ้น ซึ่งคาดการณ์ได้ว่านานาชาติ อาจเพิ่มการกดดันเพื่อเร่งให้สถานการณ์คลี่คลาย ตลอดจนมีความคาดหวังต่อกลไกอาเซียนหรือกลไกความร่วมมือ ระหว่างประเทศอื่น ๆ ในการเป็นช่องทางหรือตัวกลางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว หากสถานการณ์ความขัดแย้งไม่มีสัญญาณการเจรจาประนีประนอมมีแนวโน้มพบความพยายาม ของประชาชนใ นการหลบหนีเข้ามาตามแนวชายแดน และความพยายามจัดหาอาวุธจากแหล่งต่าง ๆ ภายในภูมิภาค เพิ่มมากขึ้น ซึ่งไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ตึงเครียดตามแนวชายแดนในการเป็นพื้นที่รองรับ ผู้ได้รับผลกระทบ หรือการใช้ไทยเป็นทางผ่านไปยังประเทศอื่น รวมถึงความพยายามที่จะให้ ไทยเข้าไปมีส่วนร่วม ในประเด็นความขัดแย้ง ตลอดจนผลกระทบทางเศรษฐกิจและการค้าชายแดนของไทย อย่างไรก็ตาม ไทยสามารถแสดงบทบาทนําในการประสานงานและร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหา ดังกล่าวบนเวทีประชาคมอาเซียนและผ่านกลไกแบบทวิภาคีและพหุภาคีที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในการกําหนดท่าที ที่ เหมาะสม เพื่อดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย 2 .4 ความมั่นคงทางชายแดน สถานการณ์ความมั่นคงบริเวณชายแดนจะยังคงมีความแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่และ ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับมิติต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศโดยรวม โดยยังคงพบปัญหา ที่สําคัญ ดังนี้ 2.4.1 อาชญากรรมข้ามชาติในพื้นที่ชายแดน ปัญหาแหล่งการผลิตยาเสพติดขอ งประเทศ ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคํา ยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่อง โดยขบวนการ ค้ายาเสพติดอาศัยไทยเป็นทางผ่านในการลําเลียงยาเสพติดไปยังประเทศที่สาม เนื่องด้วยการลําเลียงมีความสะดวก กว่า การลําเลียงภายในประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงยังพบปัญหาการค้าอาวุธ ซึ่งมีปัจจัยจากสถานการณ์ทางการเมือง ของประเทศเพื่อนบ้าน การใช้อาวุธสงครามของกลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อใช้ป้องกันจากเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง ในพื้นที่ชายแดน นอกจากนี้ กลุ่มผู้ก่อเหตุใช้พื้นที่ ชายแดนในการกระทําความผิดในการก่อปัญหาอาชญากรรม ทางไซเบอร์ มิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์ (Call Center ) การฟอกเงิน และการพนันออนไลน์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อ ประชาชนภายในประเทศ จึงจําเป็นต้องแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในพื้นที่ชายแดนผ่านกลไกความร่วมมือ ทวิภาคีในระดับพื้นที่ โดยเฉพาะด้านการข่าวและการปฏิบัติการทางความมั่นคงร่วมกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ อาชญากรรมข้ามชาติในพื้ นที่ชายแดนส่งผลเข้ามายังพื้นที่ชั้นในของประเทศ 2.4.2 แรงงานผิดกฎหมายและการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย เกิดจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ของไทยและประเทศรอบบ้าน ได้แก่ ความต้องการแรงงานภายในไทย การแสวงหาโอกาสของประชาชน

  • 124 - ในประเทศรอบบ้าน รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษ ฐกิจของประเทศรอบบ้าน ส่งผลให้เกิดขบวนการ นําพาแรงงานผิดกฎหมายโดยลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายผ่านช่องทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง รวมถึงในพื้นที่ชายแดน มีการสร้างเครือข่ายในระดับประชาชนเพื่อจัดหาแรงงานผิดกฎหมาย ส่งผลให้แรงงานผิดกฎหมายเข้ามายังในพื้นที่ชั้นใน ของประเทศ รวมถึงเป็นพาหะของโรคระบาดเดิมและโรคติดต่ออุบัติใหม่ ซึ่ งไทยควรสร้างความเข้มแข็ง ให้กับชุมชนชายแดนเพื่อเฝ้าระวังขบวนการนําพาแรงงานผิดกฎหมาย รวมถึงการลดขั้นตอนและลดค่าธรรมเนียม เพื่ออํานวยความสะดวกให้แรงงานจากประเทศรอบบ้านเข้าประเทศไทยผ่านช่องทางจุดผ่านแดนให้มำกขึ้น 2.4.3 ความไม่ชัดเจนของเส้นเขตแดน สืบเนื่องจากกระบวนการสํารวจและจัดทําหลักเขตแดน ทั้งทางบกและทางทะเล ระหว่างไทยกับประเทศรอบบ้านบางส่วนยังไม่แล้วเสร็จ นอกจากนี้ ยังคงมีปัญหาเขตแดน ที่เกิดขึ้นมาใหม่อย่างต่อเนื่องอันเกิดจากปัญหาความไม่ชัดเจนของเส้ นเขตแดนที่อ้างอิงแผนที่คนละฉบับ รวมทั้ง การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ ทั้งโดยธรรมชาติและการกระทําของมนุษย์ จึงส่งผลให้การดําเนินการบริเวณพื้นที่ ที่มีปัญหาเขตแดนเป็นไปด้วยความยากล ําบาก อย่างไรก็ตาม ไทยควรดําเนินการรักษาผลประโยชน์ของไทย อย่างสูงสุด และควรแสดงท่าทีอย่างสร้างสรรค์ในการกําหนดนโยบายต่างประเทศในประเด็นเขตแดน เพื่อคงไว้ซึ่ง ความสงบเรียบร้อยและความสัมพันธ์อันดีกับประเทศรอบบ้าน 2.4.4 ปัญหาโรคระบาดในพื้นที่ชายแดน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ เกิดโรคระบาดซ้ําและโรคอุบัติใหม่ในหลายภูมิภาคของโรค ทั้งโรคระบาดในสัตว์ โรคระบาดในคน โรคระบาด ทั้งคนและสัตว์ และโรคระบาดในพื ช โดยเฉพาะในพื้นที่ประชากรหนาแน่นอย่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับประเทศรอบบ้านมีระดับทางสาธารณสุขที่แตกต่างจากประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดน มีการแพร่ระบาดของโรคตามแนวชายแดน ทั้งที่เกิดในมนุษย์และสัตว์ ซึ่งไทยควรมีการเตรียมพร้อมด้านความรู้ ด้ำนสาธารณสุขในเบื้องต้นให้กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ชายแดนทุกระดับ รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้นําเข้าสินค้า ประเภทสัตว์และเนื้อสัตว์สด นอกจากนี้ ควรแสวงหาความร่วมมือกับประเทศรอบบ้าน เพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุข และสร้างสุขภาวะที่ดีในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ชายแดนที่จะเข้ามายัง พื้นที่ชั้นใน 2 .5 ความมั่นคงทางทะเล สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในระดับโลก (Megatrends ) ประกอบกับ การแพร่ระบาดของโรค โควิด - 19 ได้ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการดําเนินกิจกรรมทางทะเลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในหลายมิติ ที่ จําเป็น ต้องเฝ้าระวังในระยะต่อไป ดังนี้ 2.5.1 การแย่งชิงผลประโยชน์ และการแข่งขัน ทางทะเล มีสัญญาณแนวโน้ม เป็นภัยคุกคามสําคัญ ต่อเสถียรภาพและความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาค เช่น การแข่งขันด้านอิทธิพลทางทะเลของประเทศมหาอํานาจ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล การอ้างสิทธิในพื้นที่ทางทะเลในบริเวณทะเลจีนใต้ ปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน ทางทะเลระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนการรุกล้ําน่ำนน้ําเพื่อทําการประมง ซึ่งสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน ดังกล่าวจะสร้างความหวาดระแวง และส่งผลให้ ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกันภายในภูมิภาค รวมถึงอาจเป็นปัจจัย ผลักดันให้ประเทศคู่กรณีหรือประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคมีความต้องการเสริมสร้างกําลัง ทาง ทหารเพิ่มมากขึ้น โดยอ้างความจําเป็นในการปกป้องผลประโยชน์และอธิปไตยของประเทศ

  • 125 - 2.5.2 ความปลอดภัย และอาชญากรรม ทางทะเล ภาว ะ เศรษฐกิจชะลอตัวจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรค โควิด - 19 ส่งผลให้คนตกงาน และมีแรงงานว่างงานเป็นจํานวนมาก เป็นปัจจัยที่ สามารถ ส่งผลให้มีแนวโน้มการก่อเหตุปล้นเรือแ ละโจรสลัดในภูมิภาคเพิ่ มขึ้ น ตลอดจนการใช้เส้นทางทางทะเล เพื่อลักลอบเข้าเมืองและแสวงหาอาชีพในต่างแดนแทนการเดินทางทางอากาศ เนื่องจากโรค โควิด - 19 ส่งผลให้ สายการบินระหว่างประเทศ มีมาตรการคัดกรองผู้เดินทางอย่างเข้มงวดและปรับลดการ ให้บริการ นอกจากนี้ การเพิ่มกําลังเจ้าหน้าที่ในการตรวจตราการกระทําผิดกฎหมายบริเวณชายแดนทางบกอาจส่งผลให้กลุ่มอาชญากร ปรับรูปแบบการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ โดยใช้เส้นทางทางทะเลเพิ่มขึ้น อาทิ การค้ามนุษย์ การก่อการร้ ำย การลักลอบขนส่งยาเสพติด สินค้าหนีภาษี น้ํามันเถื่อน และการค้าอาวุธผิดกฎหมาย ประกอบกับการใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีที่หลากหลายในการก่ออาชญากรรมทางทะเลส่งผลให้ภาครัฐจําเป็นต้องมีมาตรการและแนวทาง อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวังป้องกันและปราบปรามการก่อเหตุดังกล่าว 2. 5.3 ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล เกิดขึ้นจากกระบวนการทางธรรมชาติหรือการกระทํา ของมนุษย์ ทั้งในเรื่องปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ หรือแพลงก์ตอนบลูม อย่างไรก็ดี แนวโน้มกิจกรรมที่เกิดจากมนุษย์ได้ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างรุนแร งและกว้างขวาง อาทิ การรั่วไหลของน้ํามันจากการขนส่งทางทะเล นอกจากนี้ ในห้วงที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาด ของ โรค โควิด - 19 ทําให้หลายประเทศมีมาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นอย่ำงรวดเร็วของปริมาณขยะทางการแพทย์ หน้ากากอนามัย และการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้ งเดียวทิ้ง ซึ่งหากการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ จะกลายเป็นขยะพลาสติกไหลออกสู่ทะเล นอกจากนี้ การแสวงหาและใช้ประโยชน์ที่ ไม่คํานึงถึงขีดจํากัด และศักยภาพในการฟื้นตัว ย่อมส่งผลกระทบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลมากขึ้น ดังนั้น การดําเนินนโยบายทางทะเลจําเป็นจะต้องเร่งรัดให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งการเสริมสร้างองค์ความรู้ และความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสําคัญของทะเลอย่างเป็นระบบบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงวิชาการ ซึ่งหากมี การจัดตั้งองค์กรจัดการความรู้ทางทะเลในอนาคต จะเป็นส่วนเสริมให้การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ ของชาติทางทะเลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2 .6 ความมั่นคงทาง อากาศและอวกาศ แนวโน้ มที ่ จะกลายเป็ นสนามการแข่ งขันที ่ สําคั ญยิ ่ งขึ ้ น โดยหลายประเทศในภู มิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเคลื่ อนไหวในการพัฒนาขีดความสามารถทางอากาศมาอย่างต่อเนื ่ อง ผ่านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีกําลังทางอากาศต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีอากาศย ำนไร้คนขับ เทคโนโลยีด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม การพัฒนาท่าอากาศยาน การบริการด้านการบินพลเรือน ตลอดจน การจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการทหารและปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ นอกเหนือจากการแข่งขันการพัฒนาขีดความสามารถของกําลังทางอากาศแล้ว มีแนวโน้ม ที่ประเทศต่าง ๆ จะให้ความสําคัญกับบริบทความมั่นคงทางอวกาศ (Space Security ) มากยิ่งขึ้นด้วย โดยประเทศมหาอํานาจ มีแนวทางดําเนินนโยบายเพื่อช่วงชิงการเป็นผู้นําทางอวกาศ โดยการแย่งชิงตําแหน่งวงโคจรดาวเทียมระหว่างประเทศ

  • 126 - การพัฒนาขีดความสามารถของกลุ่มดาวเทียมในการระบุพิกัดพื้นที่ การพัฒนาเทคโนโลยีกลุ่มดาวเทียม ( Constellation Satellites ) การแสวงประโยชน์ จากกิ จการอวกาศเพื ่ อเพิ ่ มศั กยภาพทางการทหารและการป้ องกั นประเทศ การลงทุนและการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ตลอดจนการสร้างค วามร่วมมือกับมิตรประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายสําคัญเชิงยุทธศาสตร์ที่อยู่ตรงกลางของภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก เพื่อเสริมสร้างบทบาทผู้นําทางอวกาศ โดยมีการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางอวกาศให้แก่ประเทศ ดังกล่ำว ซึ่งจะส่งผลต่อการช่วงชิงพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ต่อบริบทความมั่นคงทางอวกาศที่เชื่อมโยงทั้งในบริบท โลก ภูมิภาค และกิจการภายในประเทศ ในโอกาสนี้ ไทยสามารถแสวงหาโอกาสจากความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอากาศและอวกาศ เพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติได้ โดยเตรียมพร้อมทรัพยากร การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะให้แก่บุคลากร เพื่อให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางอากาศและอวกาศ ตลอดจนการส่งเสริมและแลกเปลี่ยนงานวิจัย และนวัตกรรมทั้งภายในประเทศ ประเทศต่าง ๆ และสถาบันหรือองค์การระหว่าง ประเทศ 2 .7 ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นปัญหาความมั่นคงที่สําคัญในภูมิภาคและมีความซับซ้อนเชื่อมโยงระหว่างประเทศมากขึ้น โดยมีประเด็นสําคัญที่ควรเฝ้าระวัง ดังนี้ 2.7.1 การลักลอบค้ายาเสพติด จะมีการขยายตัวในภูมิภาคอย่างต่อเนื่องและนําไปสู่ปัญหา อาชญากรรมอื่น ๆ โดยมีปัจจัยเร่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด - 19 ที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ ในวงกว้าง และการขยายช่องทางจัดจําหน่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ทําให้สามารถเข้าถึงยาเสพติดได้ง่ายขึ้น รวมถึงมีกา ร ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งที่หลากหลายขึ้น สําหรับไทยจะยังประสบปัญหาการป้องกัน แก้ไข และปราบปรามการค้ายาเสพติด เนื่องจากเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศรอบบ้านมีความทับซ้อนในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เป็นพื้นที่ทางผ่านและพื้นที่ปลายทางของการลักลอบขนส่งยาเสพติด 2.7.2 การปลอมแปลงเอกสาร และหลักฐานเกี่ยวกับตัวบุคคล แม้การลักลอบผลิตและจัดหา เอกสารปลอมของประเทศในภูมิภาคได้ลดลงไปอย่างมาก แต่ยังคงพบขบวนการลักลอบการปลอมแปลงเอกสาร เคลื่อนไหวอยู่อีกหลายกลุ่ม โดยมักเกี่ยวข้องกับการปลอมแปลงบัตรอิเล็กทรอนิกส์และธนบัตรปลอม รวมถึง การปลอมแปลงดวงตราประทับวีซ่าและใบอนุญาตทํางาน และมีการปลอมเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะใบรับรอง การไม่ติดเชื้อหรือรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรค เพื่อให้บุคคลสามารถเดินทางข้ามประเทศได้ในห้วง ของการแพร่ระบาดของโรค โควิด - 19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ 2.7. 3 การลักลอบเข้าเมืองและการค้ามนุษย์ มีปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดของประเทศต้นทาง และปลายทางที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายคนและแรงงานอย่างผิดกฎหมายมากขึ้น โดยมีการแสวงประโยชน์ จากประชาชนในพื้นที่ตามแนวชายแดนร่วมกับขบวนการค้ามนุษย์ในการอํานวยความสะดวก และจั ดหาแรงงาน ผิดกฎหมาย ซึ่งประเทศในภูมิภาครวมถึงไทยจําเป็นต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงบริเวณพื้นที่ชายแดน ร่วมกับประเทศต้นทาง 2.7. 4 การฟอกเงิน การพัฒนาทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินที่ทันสมัย รวมถึง การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของคน เงิน และข้อมูลดิจิทัล ได้ส่งผลให้การฟอกเงินมีรูปแบบที่ซับซ้อนมากกว่าในอดีต

  • 127 - และมักจะมีความเชื่อมโยงกับอาชญากรรมข้ามชาติประเภทอื่น ๆ อาทิ การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การพนันออนไลน์ การหลอกลวงผ่านอีเมล และการลักลอบค้าสัตว์ป่า โดยเฉพาะการทําธุรกรรมทางการเงิน โดยผ่านช่องทางธุรกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งการเปิดธุรกิจบังหน้า การรับจ้างเปิดบัญชี การให้บริการโอนเงิน และ แลกเปลี่ยนสกุลเงินตราต่างประเทศได้เพิ่มความเสี่ยงให้กับ ไทย ที่จะถูกใช้เป็นแหล่งฟอกเงินขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติ รวมถึงการสนับสนุน ทางการเงินแก่การก่อการร้ายได้ ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยมีแนวโน้มได้รับผลกระทบและเผชิญกับประเด็นท้าทายการก่ออาชญากรรม ข้ามชาติดังกล่าว เนื่องจากเป็นที่ตั้งและศูนย์กลางด้านการคมนาคมและการสัญจรระหว่างประเทศที่สําคัญของ ภูมิภาค และเป็นแหล่งพักพิงและพื้นที่ปฏิบัติการของเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ 2 .8 การก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัญหาการก่อการร้ายและปัญหาจาก การบ่มเพาะแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงยังเป็นปัญหาความมั่นคงที่สําคัญของภูมิภาค โดยมีความพยายาม เผยแพร่อุดมการณ์และแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง เพื่อแสวงหาแนวร่วมในอนาคตโดยเฉพาะผ่านการใช้ สื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ สถานการณ์ ความขั ดแย้ งทางการเมื องภายในภู มิ ภาคตะวั นออกกลางและ ในอัฟกานิสถานที่ยังไม่แน่นอน มีสัญญาณแนวโน้มส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายของนักรบก่อการร้ายต่างชาติ ( Foreign Terrorist Fighters) เดินทางไปรวมกลุ่มในพื้นที่หรือนําอุดมการณ์ที่นิยมความรุนแรงกลับมาก่อเหตุ ในประเท ศมาตุภูมิในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทําเลที่ตั้งของไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางการเดินทางระหว่างประเทศที่สําคัญในภูมิภาคอาจถูกใช้เป็ น ทางผ่าน แหล่งพักพิงและแหล่งจัดหาวัสดุอุปกรณ์ นอกจากนี้ การก่อเหตุของผู้ปฏิบัติการโดยลําพัง ( Lone Actor) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในระยะหลังบ่อยครั้งเป็นปฏิบัติการจากสตรีและเยาวชน เพื่อหลีกเลี่ยงการเฝ้าระวังและติดตาม ของเจ้าหน้าที่ และมักจะก่อเหตุในพื้นที่เปราะบาง อาทิ ห้างสรรพสินค้า ศาสนสถาน และสถานที่ท่องเที่ยวสําคัญ ๆ 3 . ความเปลี่ยนแปลงของบริบทความ มั่นคงในระดับประเทศ 3 .1 ความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ ประกอบด้วย 3 สถาบันสําคัญ ดังนี้ 3.1.1 สถาบันชาติ ไทยเข้าสู่ความเป็นพหุสังคมมากขึ้น และ มีการแสดงพลังในการเรียกร้อง สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงได้รับตามกรอบของกฎหมาย ซึ่งการรวมกลุ่มดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการอยู่ร่วมกัน ของคนในชาติภายใต้สังคมที่มีความหลากหลาย อย่างไรก็ตาม กระแสการเปลี่ยนแปลงที่ รวดเร็วมีแนวโน้ม ก่อให้เกิด ความไม่เข้าใจในอัตลักษณ์ และความหลากหลายระหว่าง กลุ่ม ทั้งในเรื่องเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อความปรองดองสมานฉันท์ของคนในสังคมและความมั่นคงของชาติในภาพรวมได้ รวมถึง การปรับเปลี่ยนเชิงความคิดในระดับปัจเจกบุคคลที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากผลของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ประกอบกับ แนวโน้ มของพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการแสดงออกทางความคิดในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมมากขึ้น โดยชุดความคิดดังกล่าวมีความแตกต่างกับแนวความคิดเดิม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อการเสริมสร้าง ความมั่นคงสถาบันหลักของชาติ เช่น บทบาทการมีส่วนร่วม และทัศนคติ ของ เด็กและ เยาวชนต่อการเสริมสร้าง

  • 128 - ความมั่นคงให้กับสถาบันหลักของชาติ การสร้างการรับรู้และกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและหวงแหน ในศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และเอกลักษณ์ของความเป็นไทย เป็นต้น 3.1.2 สถาบันศาสนา สังคมไทยมีความหลากหลำยทางด้านการนับถือศาสนา รวมถึง ผู้ ที่ มีหลักความเชื่ อต่าง ๆ และผู้ ที่ ไม่นับถือศาสนา ส่งผลให้มีวิถีชีวิตที่ แตกต่างกันไปตามความเชื่อและ ขน บ ธรรมเนียมประเพณี อย่างไรก็ตาม ด้วยความเข้าใจในหลักคําสอนที่แตกต่างออกไปเป็นปัจจัยที่นําไปสู่ ความไม่เข้าใจระหว่างกัน และการบิดเบือนคําสอนของแต่ละศาสนาในประเทศ ดังปรากฏความขัดแย้งที่เห็นต่าง ระหว่างผู้นับถือ ต่างศาสนาในบางพื้นที่ แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สามารถแก้ไขร่วมกันตามแนวทางสันติวิธีในพื้ นที่ได้ 3.1.3 สถาบันพระมหากษัตริย์ มีความสําคัญและผูกพันกับสังคมไทยมาตลอดประวัติศาสตร์ ของประเทศในการเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ เนื่องมาจากสมเด็จพระบูรพมหากษัตริ ยาธิราชทุกพระองค์ ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทยอย่างเป็นอเนกประการ โดยเฉพาะโครงการตามแนวพระราชดําริ รวมทั้งการดําเนินการต่าง ๆ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงาน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่ปวงชนชาวไทย ทั้งนี้ บริบทและสถานการณ์ของสังคม สมัยใหม่จําเป็นต้องสร้างพื้นที่พูดคุยและการแลกเปลี่ยนมุมมองอย่างสันติเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักถึง การธํารงรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ 3. 2 สถานการณ์การเมืองภายในประเทศ จุดเปลี่ ยนสําคัญของ สถานการณ์การเมืองภา ยในประเทศเป็นผลสืบเนื่ อง จากประชาชน ที่มีความหลากหลายทางอายุ อาชีพ และสถานะทางสังคม เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นในการแสดงทัศนะ ต่อปัญหาเชิงโครงสร้าง สถาบันทางการเมือง โอกาสและการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ความยากจน ความเหลื่อมล้ํา สิทธิมนุษยชน และการชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิจากรัฐบาลในการบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น เป็นประจําทุกปี อาทิ ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ และปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ํา จึงจําเป็นต้อง มีแนวทางการบริหารจัดการเพื่อเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านให้ลดเงื่อนไ ขที่นําไปสู่ความขัดแย้ง และการใช้ความรุนแรงในสังคม นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ภายในประเทศส่งผลให้ประชาชนปรับเปลี่ยน วิถีชีวิตใหม่ โดยมีการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เป็นเครื่องมืออํานวยความสะดวกในการดํารงชีวิตและการทํางาน ตลอดจน รูปแบบและวิธีการทางกา รเมืองได้นําเทคโนโลยีผ่านสื่อสังคมออนไลน์มาใช้เป็นเครื่องมือสําคัญมากขึ้น โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอาจใช้เป็นช่องทางในการการปลุกระดมมวลชนด้วยการบิดเบือนข้อมูล หรือการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารเป็นเท็จ ดังนั้น สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาจึงมีบทบาทสําคัญในการวางรากฐาน เพื่อลดหรือขจัดเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ 3.3 สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ เงื่อนไขที่มีความละเอียดอ่อน ซับซ้อน และเชื่อมโยงกันได้ส่งผลต่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 3.3.1 เงื่อนไขระดับบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มคนไทยบางกลุ่มที่เห็นต่างจากรัฐ ได้นําเงื่อนไข ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ศาสนา และประวัติศาสตร์มาสร้างความชอบธรรมในการต่อสู่ตามเป้าห มาย / อุดมการณ์

  • 129 - 3.3.2 เงื่อนไขระดับโครงสร้าง จากข้อจํากัดของโครงสร้างการบริหารจัดการภาครัฐ 3.3.3 เงื่อนไขระดับวัฒนธรรม ที่ประชาชนในพื้นที่บางส่วนยังรู้สึกแปลกแยกจากสังคมไทย แนวโน้มสถานการณ์กำรก่อเหตุ รุนแรงระยะต่อไป ลดลง แต่จะมีความเคลื่อนไหวทางการเมือง มากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลสัมฤทธิ์ของการขับเคลื่อนงานและกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในห้วงที่ผ่านมา แล ะการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ นอกจากนี้ ปัญหาภัยแทรกซ้อน ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาความหวาดระแวง และความเข้าใจระหว่างกัน ยังคงเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงและส่งผลกระทบในพื้นที่อย่างมีนัยสําคัญ ขณะเดียวกัน สถานการณ์การแพร่ระบาดข องโรคโควิด - 19 ยังส่งผลให้ปัญหาเศรษฐกิจมีความรุนแรง และมีความเหลื่อมล้ํามากยิ่งขึ้น ดังนั้น ภาครัฐจึงจําเป็นต้องเสริมสร้างความปลอดภัยและความสันติสุขของประชาชนในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมุ่งเน้นการลดเงื่อนไขต่าง ๆ โดยเฉพาะความหวาดระแวง ความเสี่ยงต่อการละเมิด สิทธิมนุษยชน ข้อเรียกร้องต่าง ๆ ควบคู่กับการยุติเหตุความรุนแรงในพื้นที่ และขยายผลการพั ฒนาให้สอดคล้อง ตามศักยภาพของพื้นที่ต่อไป 3.4 ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง การโยกย้ายถิ่นฐานเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งที่ผ่านมาไทยได้รับผลกระทบ จากการโยกย้ายถิ่นฐานของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ดังนี้ 3. 4.1 กลุ่มที่อพยพเข้ามานานและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางหรือออกไปยัง ประเทศที่สามได้จึงยังตกค้างอยู่ในประเทศไทย ย่อมก่อให้เกิดปัญหาปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลต่อ ผู้โยกย้ายถิ่นฐานและบุตรในระยะยาว 3.4.2 กลุ่มที่อพยพเข้ามาเพื่อแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยมากเป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว และกัมพูชา) ลักลอบเข้ามาทํางานอย่างผิดกฎหมายจากประเทศรอบบ้านผ่านช่องทาง ชายแดนธรรมชาติ 3.4.3 กลุ่มที่อพยพเข้ามาเนื่องจากสถานการณ์ความไม่มั่นคงจากประเทศ ทั้งภา ยในและ ภายนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจําเป็นต้องมีแนวทางการดําเนินการแก้ไขปัญหาเป็นการเฉพาะ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองและส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 3.4.4 กลุ่มอื่น ๆ อาทิ กลุ่มคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยอย่า งถูกกฎหมาย แต่มีการลักลอบอาศัยอยู่ในไทยต่อภายหลังจากที่การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้สิ้นสุดลง และกลุ่มที่ปลอมแปลง เอกสารเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การลักลอบทํางาน หรือการแฝงตัวในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้ไท ยมีความเสี่ยงต่อการเป็นแหล่งพักพิงของกลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติ หรือกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ 3.5 ปัญหาการค้ามนุษย์ ประเทศไทยอยู่ในสถานะเป็นทั้งประเทศต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของกระบวนการค้ามนุษย์ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้พยายามดําเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสําคัญกับการป้องกัน การดําเนินคดี การคุ้มครองและช่วยเหลือ การพัฒนากลไกเชิงนโยบาย

  • 130 - และการขับเคลื่อน ตลอดจนการพัฒนาและการบริหารจัดการข้อมูล อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากสถานการณ์ การแ พร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ได้ ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการกระทําความผิด เนื่องจากผู้ค้ามนุษย์ เปลี ่ ยนรู ปแบบการกระทําความผิดของตนมาดําเนินการที ่ ผิดกฎหมาย ( to conduct illegal activities) ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น รูปแบบการค้ามนุษย์ที่พบบ่อย แบ่งออกเป็น 1 ) รูปแบบการค้าประเวณีโดยใช้ช่องทางออนไลน์ ในการติดต่อสื่อสาร 2 ) รูปแบบการแสวงหาประโยชน์ทางเพศออนไลน์ โดยการหลอกผู้เสียหาย ทั้งเด็กหญิง เด็กชาย และผู้ หญิงมาผลิตสื่ อลามกอนาจาร ( Child Sexual Abuse Material) และ 3 ) รูปแบบการหลอกลวงโฆษณา จัดหางานผ่านช่องทางสื่อสั งคมโซเชียล เพื่อชักชวนผู้เสียหายโดยเฉพาะผู้เสียหายคนไทยให้ไปทํางานต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศเพื่ อนบ้าน อาทิ ประเทศเมียนมา ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศในแถบ ประเทศตะวันออกกลางที่ไม่บังคับให้มีมาตรการในการกักตัว จึงทําให้มีจํานวนผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ชาวไทย ในประเทศเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งในส่วนของการเคลื่อนย้ายแรงงานโดยผิดกฎหมายยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ในกลุ่มแรงงานหรือประชาชนจากประเทศเมียนมาที่หนีภั ยการสู้รบ ทําให้บุคคลกลุ่มนี้ตกเป็นกลุ่มเปราะบาง และมีแนวโน้มถูกแสวงหาประโยชน์จากกลุ่มนายหน้า ซึ่งประเทศไทยจําเป็นต้องตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าว โดยเพิ่มมาตรการในการคัดแยกผู้เสียหายตามชายแดนมากขึ้น นอกจากนี้ จําเป็นต้องมีการดําเนินการเชิงนโยบาย และเชิงปฏิบัติในภา พรวมของประเทศ เพื่อ สร้างความเชื่อมั่นและยกระดับมาตรการต่อต้านการค้ามนุษย์ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล 3.6 ปัญหายาเสพติด ปัจจัย อุปทานสูงขึ้นส่งผลต่อ ความเชื่อมโยงกับสถานการณ์ ปัญหายาเสพติด โดยสารตั้งต้นและ เคมีภัณฑ์ยังคงสามารถลําเลียงเข้าสู่แหล่งผลิตได้ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ดําเนินการโดยองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ทําให้การผลิตยาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคําขยายตัวมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศเพื่อนบ้านเป็นช่องโห ว่ให้ผู้ค้ายาเสพติดฉกฉวยโอกาส ในการเร่งผลิตและลักลอบขนส่งยาเสพติดเข้าสู่ประเทศไทย โดยใช้ ระบบคมนาคมที่มีความสะดวกในการลําเลียง จากพื้นที่ชายแดนภาคเหนือ และพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่านทางแม่น้ําโขง รวมถึงการลักลอบนําเข้า ยาเสพติดทางทะเลในบางจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งมายังพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล ตลอดจนการ ใช้ประเทศไทย เป็นทางผ่านเพื่อส่งต่อยาเสพติดไปยังประเทศที่สาม แม้ว่าจะมีมาตรการป้องกัน แก้ไข และปราบปรามเพื่อลดอุปทานยาเสพติด การบําบัด และฟื้นฟู สมรรถ ภาพผู้ติดยาเสพติด และการป้องกันเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง แต่อุปสงค์และอุปทานยาเสพติดยังคงมีเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากกลยุทธ์ทางการค้าของกลุ่มนักค้ายาเสพติด ราคายาเสพติดถูกลง และปัจจัยความไม่แน่นอน ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการใช้ยาเสพติ ดในประเทศเพิ่มขึ้น โดยพบว่าผู้เข้าสู่วงจร ยาเสพติดรายใหม่มีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งผู้เสพและผู้ค้า ผู้ กระทําผิดซ้ํามีแนวโน้มสูงขึ้ นทั้ งผู้ เสพและผู้ ค้าจากปัจจัยมุมมองของสังคมต่อผู้ เสพ และผู้ต้องโทษคดียาเสพติดที่เอื้อให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถมีโอกาสใช้ชีวิตในสังคมได้ จึงมีแนวโน้มที่จะกระทําผิดซ้ํา

  • 131 - จนส่งผลให้เกิดปัญหานักโทษคดียาเสพติดล้นคุกที่เกี่ยวเนื่องตามมา ผู้ใช้ยาเสพติดที่มีอาการจิตเวชร่วมด้วย มีแนวโน้มสูงขึ้น การใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทมีแนวโน้มและรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะ ในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีควำมเสี่ยงสูงในการเสพยาเสพติดที่ผสมกันหลายชนิด ( Cocktail Drugs ) รูปแบบใหม่ ๆ ที่แพร่ระบาดและสร้างผลกระทบมากขึ้น วัยแรงงานซึ่งเป็นกําลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีแนวโน้ม การใช้ยาเสพติดมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในห้วง 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ขบวน การ ค้ายาเสพติดยังคงสรรหาวิธีการเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมของเจ้าหน้าที่ และแสวงหาโอกาสจากรูปแบบการส่งยาเสพติดทางพัสดุไปรษณีย์ การค้ายาเสพติดผ่านช่องทางออนไลน์ ในการสร้างช่องทางจําหน่าย โฆษณา และขยายโครงข่ายการค้ายาเสพติดให้เข้าถึงกลุ่มผู้เสพมีความหลากหลาย รูปแบบ และในพื้นที่ห่างไกลเพิ่มมากขึ้ น ในขณะเดียวกันแนวโน้มการขยายตัวของอาชญากรรมทางไซเบอร์ มีความเกี่ยวเนื่องกับปัญหาการค้ายาเสพติดที่ใช้ ช่องทางบล็อกเชน (Blockchain) ในการซื้อและขายมากขึ้น โดยเฉพาะในรูปแบบสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency ) ทําให้การติดตามตรวจสอบเพื่อระบุตัวตนดําเนินการได้ยากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ปัญหายาเสพติดจึงเป็นตัวการสําคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมอื่น ๆ ตามมาหลายประการ เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาความอ่อนแอทั้งร่างกายและจิตใจของประชาชน ปัญหาอาชญากรรมและการกระทํา ผิดกฎหมาย เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของประชาชนและของชาติโดยรวม 3.7 ปัญหาการทุจริตคอ ร์ รัปชัน แม้ว่าในห้วงที่ผ่านมาภาครัฐมีความพยายามแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังผ่านการบริหาร จัดการ บ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล ( Go od G overnance) แต่จากการจัดอันดับความโปร่งใสของไทยและ อันดับการรับรู้การทุจริตของประเทศได้สะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์การทุจริต คอ ร์ รัปชันของประเทศยังอยู่ในระดับ ที่มีความน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุจริตในภาครัฐที่มีการกระจายตัว ไปยังทุกระดับของสังคม ซึ่งทําให้ สาธารณชนเห็นการทุจริตเป็นเรื่ องปกติ อีกทั้ งกา รทุจริตต่อหน้าที่ หรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ของเจ้าหน้าที่รัฐได้เกี่ยวพันกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามอื่น ๆ อาทิ ยาเสพติด ผู้หลบหนีเข้าเมือง กลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ที่ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย และการฟอกเงิน ส่งผลให้ปัญหาทวีความรุนแรง และซับซ้อน มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคสําคัญในการพัฒนาประเทศ ตลอดจนส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล ภาครัฐ และระบอบประชาธิปไตย ตามลําดับ 3. 8 สาธารณภัย ไทยยังคงต้องเผชิญกับสาธารณภัยที่ท้าทาย ดังนี้ 3.8.1 ภัยที่เกิดจากทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทําให้เกิด ภาวะลมฟ้าอากาศแปรปรวน ระดับน้ําทะเลของโลกสูงขึ้น เกิดภาวะแล้งจัด พายุหมุน การกัดเซาะชายฝั่งทะเล วาตภัย มหา อุทกภัย น้ําป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม โรคติดต่ออุบัติใหม่ และ การเกิดสาธารณภัยขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีภัยที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ อาทิ แผ่นดินไหว สึนามิ ไฟป่าและหมอกควัน เป็นสาธารณภัยที่ต้องเผชิญ ในปัจจุบัน และมีแนวโน้มมากขึ้ นในอนาคต ตลอดจนปัญหาสาธารณภัยที่ มีแนวโน้มส่งผลกระทบและ สร้างความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่ อาทิ ปัญหาอุทกภัยจากการผันน้ําออกจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง ทําให้หลายหน่วยงานต้องบูรณาการการทํางานเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและลดความขัดแย้ งดังกล่าว

  • 132 - 3.8.2 ภัยที่เกิดจาก กระทําของมนุษย์ อาทิ อัคคีภัย ภัยจากสารเคมี ปัญหาน้ํามันรั่วไหลในทะเล ภัยจากการคมนาคมที่เป็นอุบัติเหตุจากการจราจรทางบก ทางน้ํา และทางอากาศ การปล่อยของเสียและขยะมูลฝอย จากโรงงานอุตสาหกรรม ภัยจากมลพิษทางอากาศประเภทฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่มีสาเหตุหลักจาก การเผา ในที่โล่งของภาค เกษตรกรรม โดยส่วนให ญ่ เป็นการ เผาซั ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ขยายพื้นที่ปลูกในที่สูง เผาอ้อยเพื่อเก็บเกี่ยว และเผาตอซังข้าวในพื้นที่ราบเพื่อเตรียมเพาะปลูกรอบต่อไป การบุกรุกและลักลอบเผาป่า และการเผาตามวิถีชีวิตดั้ งเดิม นอกจากนี้ ยังรวมถึง การเผาไหม้เชื้ อเพลิงฟอสซิลจากการคมนาคมขนส่ง และภาคการผลิต ซึ่งปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้มีจุดความร้อน (Hotspots ) เพิ่มขึ้น และคุณภาพ ทางอากาศที่แย่ลง ดังนั้น ไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดสาธารณภัยที่มีความถี่และความรุนแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลกระทบ ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการท่องเที่ยว จึงจําเป็นต้องมีการลงทุน เพื่อการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่จะเกิดขึ้นด้วยการประเมินให้เข้าใจความเสี่ยง การป้องกันและลดผลกระทบ การเตรียมความพร้อม และการฟื้นฟูให้ดีกว่าเดิมมากขึ้น เพื่อให้ความสูญเสียด้านชีวิต ทรัพย์สิน เศรษฐกิจ และสังคม ของประชาชนและประเทศลดลงอย่างเป็นรูปธรรม 3 . 9 ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อน ภัยพิบัติ ขยะมูลฝอย ความเสื่อมโทรมของดิน และน้ํา การเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการใช้ทรัพยากรโดยขาดความสมดุล เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของสังคมเมือง เป็นปัจจัยเร่งสําคัญที่ส่งผลต่อปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแนวโน้มของปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้นจาก การบุกรุกแผ้ วถางป่าและครอบครองพื้นที่ป่าเพื่อทําเป็นพื้นที่ ประกอบอาชีพและอยู่อาศัยของประชาชน การลักลอบเผาในพื้นที่ป่า อนุรักษ์และป่าสงวนที่ส่งผลกระทบต่อ คุณภาพของอากาศ และปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก การลักลอบตัดและค้าไม้หวงห้ามและไม้มีค่าต่าง ๆ จํานวนมาก เพื่อนําไปจําหน่ายแก่นายทุ นอย่างผิดกฎหมาย การออกโฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิที่ไม่ถูกต้อง การกําหนดแนว เขตป่าไม้ และที่ดินของรัฐ เนื่องจากเทคโนโลยีในการจัดทําแผนที่ในอดีตไม่สามารถกําหนดรายละเอียดขอบเขต พื้นที่ป่าไม้ได้อย่างชัดเจน จึงทําให้ไม่มีการกันพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ทํากินของประชาชนที่ อยู่ก่อนประกาศเขตพื้นที่ ป่าไม้ออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้งปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับสัตว์ในพื้นที่ นอกจากนี้ สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจากการทําลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนของฤดูกาล ส่งผลให้การประกอบอาชีพเกษตรกร รมได้รับผลกระทบจากปัญหาผลผลิต ทางการเกษตรได้รับความเสียหายจากสาธารณภัยนําไปสู่ภัยพิบัติที่รุนแรงและสร้างความเสียหายในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งการสร้างความสมดุลในการบริหารจัดการของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่ง ยืน 3. 10 ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางรายได้ประกอบกับปัญหาการขาดโอกาสเชิงเศรษฐกิจของประชาชนในบางกลุ่ม และ บางพื้นที่อันเป็นผลมาจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง และก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ําทางสังคมสามารถนําไปสู่ปัญหา ความมั่นคงอื่น ๆ หรือส่งผลให้ปัญหาที่มีอยู่เดิมทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่น ปัญหาความยากจน การเข้าถึงปัจจัย ขั้นพื้นฐาน ปัญหาการก่ออาชญากรรม ปัญหายาเสพติด เป็นต้น ประกอบกับ การแพร่ระบาดของโรค โควิด - 19

  • 133 - และระบบเศรษฐกิจโลกที่ มีความไม่แน่นอนและ ผันผวนสูงเป็นปัจจัยหนึ่ งที่ ส่งผลให้ไทยต้องเผ ชิญกับ ภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม กลุ่มทุนขนาดใหญ่จะยังคงถือครองกําไรส่วนใหญ่และมีอํานาจในการกําหนด ราคาสินค้าและบริการ ส่งผลให้ภาควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้ งผู้ ประกอบการรายย่อย เกิดความไม่คล่องตัวในการบริหารจัดการ นอกจากนี้ การเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้ปรับเปลี่ยนลักษณะการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มุ่งไปใช้ ประโยชน์จากแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ก่อให้เกิดธุรกิจรายย่อยและแรงงานแพลตฟอร์ม ( Platform labor/ Gig worker) จํานวนมาก ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มแรงงานในธุรกิจใหม่ที่เข้ามาขับเคลื่อนการดําเนินเศรษฐกิจของสังคมเมือง และยังไม่มีหลักประกันในการทํางานหรือสวัสดิการที่เหมาะสม จึงเป็นเงื่อนไขสําคัญที่นําไปสู่ปัญหา ความขัดแย้ง ระหว่างประชาชน และความขัดแย้งกับหน่วยงานภาครัฐ อีกทั้งพฤติกรรมการบริโภคในระดับปัจเจกที่ เปลี่ยนแปลงไปได้กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อ การก่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่จะขยายตัวมากขึ้น อาทิ การลักลอบค้าสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การค้าน้ํามันเถื่อน การโจร กรรม การลักลอบค้าพาหนะข้ามแดน และการพนันออนไลน์

  • 135 - ผนวก ค แผนที่กลยุทธ์

  • 137 - แผนที่กลยุทธ์ ( Strategy Map) เป็นเครื่องมือความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมาย ก ลยุทธ์ ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย ในแต่ละ 17 นโยบาย และแผน ความมั่ นคง ตามหลัก ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล โดยมีจุดมุ่ งเน้นเป็นแกนกลางแสดงความสอดคล้อง ในภาพรวมทั้งหมดดังกล่าว 1. ความมุ่งหมาย 1.1 ใช้ในการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลในการแปลงนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปสู่การปฏิบัติ 1.2 เชื่อมโยงและประสานสอดคล้องกับระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ ( eMENSCR) และกลไกงบประมาณ 1.3 ให้หน่วยงานของรัฐสามารถนําไปสู่การถ่ายทอดในแผนระดับที่ 3 รวมทั้งแผนงาน โครงการ 2. หลักการพิจารณา 2.1 ยึดโยงเป้าหมายย่อยในแต่ละ 17 นโยบายและแผนความมั่ นคงเป็นตัวตั้ ง พิจารณาตัวชี้ วัดและ ค่าเป้าหมายรองรับ ซึ่งนําไปสู่การกําหนดกลยุทธ์ในการขับเคลื่อน 2.2 บางกลยุทธ์มีความเชื่อมโยงได้หลายตัวชี้วัด ทั้งทางตรงและทางอ้อม จุดมุ่งเน้น เป้าหมาย ย่อยของ 17 นโยบายและแผน ความมั่นคง ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ กลยุทธ์ หลัก กลยุทธ์ หลัก กลยุทธ์ หลัก กลยุทธ์ หลัก กลยุทธ์ย่อย กลยุทธ์ย่อย กลยุทธ์ย่อย กลยุทธ์ย่อย กลยุทธ์ย่อย กลยุทธ์ย่อย กลยุทธ์ย่อย กลยุทธ์ย่อย

  • 138 -

  • 139 -

  • 140 -

  • 141 -

  • 142 -

  • 143 -

  • 144 -

  • 145 -

  • 146 -

  • 147 -

  • 148 -

  • 149 -

  • 150 -

  • 151 -

  • 152 -

  • 153 -

  • 154 -

  • 155 - ผนวก ง ตารางสรุปตัวชี้วัด

  • 157 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 1 การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย การธํารงรักษาไว้ซึ่งสถาบัน พระมหากษัตริย์ การ จัดทําชุดข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ และเผยแพร่ตาม ช่องทางประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 5 จากผลการดําเนินงานของ ปีที่ผ่านมา คนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และเคารพในความแตกต่าง หลากหลาย โดยได้รับ ความคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งหมายรวมถึง การให้ความสําคัญ กับทุกศาสนา ผู้ที่มีหลักความเชื่อ ต่าง ๆ และผู้ที่ไม่นับถือศาสนา การจัดทํา พัฒนา หรือปรับปรุงมาตรการ ของรัฐเพื่อส่งเสริม คุ้มครอง และปกป้อง สิทธิมนุษยชนภายในของไทยให้สอดคล้องกับ บริบทภายในประเทศและสนธิสัญญาระหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทย เป็นภาคี อย่างน้อยปีละ 2 มาตรการ คําร้องเกี่ยวกับการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และการถูกเลือก ปฏิบัติได้รับการพิจาร ณา และเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหา โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้น อย่างน้อย ร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย ย้อนหลัง 5 ปี การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับ ในรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ของประเทศตามกระบวนการทบทวน สถานการณ์สิทธิมนุษยชน ( Universal Periodic Review: UPR) ภายใต้คณะมนตรี สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ( Human Rights Council: HRC) ภายในปี 2 570 มีผลการปฏิบัติตาม ข้อเ สนอแนะที่ไทย ตอบรับในกระบวนการ UPR รอบที่ 3 ไม่ต่ํากว่า ร้อยละ 50 และรอบที่ 4 ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 10

  • 158 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 2 การปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ และการพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย การปกป้อง รักษา และแก้ไขปัญหา ที่กระทบต่ออธิปไตยของชาติ และผลประโยชน์ ของ ชาติ ความพร้อมของกองทัพและหน่วยงาน ความมั่นคงที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการ ตามแผนป้องกันประเทศด้ว ย ระบบปฏิบัติการร่วม หน่วยทหารตาม แผนป้องกันประเทศ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน การฝึกร่วมกองทัพไทย ภายในปี 2570 หน่วยปฏิบัติการหลักของเหล่าทัพ ในการปฏิบัติการตามแผนป้องกันประเทศ มีความพร้อมด้านกําลังพล ยุทโธปกรณ์ และการฝึก ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 80 ภายในปี 2 570 การพัฒนาขีดความสามารถ เชิงยุทธศาสตร์ของกองทัพ เพื่อการป้องกันประเทศในอนาคต การพัฒนากองทัพ และหน่วยงานด้าน ความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง ไปสู่ความทันสมัย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ดิจิทัลในการเชื่อมโยง ระบบงาน ตลอดจน เสริมสร้างความพร้อม เพื่อให้สามารถรองรับ ปฏิบัติการทางไซเบอร์และ อวกาศได้ ภายใ นปี 2 570 หน่วยทหารที่มีก ําลังพลสํารองบรรจุในอัตรา ของหน่วย มีการเรียกกําลังพลสํารอง เข้าร่วม การฝึกหรือ ปฏิบัติภารกิจ ร่วมกับของ กองทัพ ครบทุกหน่วย ภายในปี 2570

  • 159 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 3 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติพื้นที่ชายแดน เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย พื้นที่ชายแดนมีความมั่นคง ปลอดภัย มีศักยภาพการป้องกัน และแก้ไขภัยคุกคามทุกรูปแบบ และเป็นพื้นที่ เชื่อมโยง ทางเศรษฐกิจและสังคม ระหว่างไทยกับประเทศรอบบ้าน การพัฒนาระบบป้องกันตามแนวชายแดน ด้วยการใช้เทคโนโลยี อย่างน้อยร้อยละ 85 ของ จังหวัดชายแดนทั้งหมด ภายในปี 2570 มูลค่าการค้าชายแดน เพิ่มขึ้น อย่างน้อย ร้อยละ 5 ต่อปี ปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับ ประเทศรอบบ้านได้รับการแก้ไข และไม่ส่งผลกระทบต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป้าหมายในการสํารวจและจัดทํา หลักเขตแดนของไทย ร้อยละ 80 ภายในปี 2 570

  • 160 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 4 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ประเทศไทยสามารถป้องกันและ แก้ไขปัญหาความมั่นคงทางทะเล ได้อย่างต่อเนื่อง จนไม่ส่งผล กระทบต่อความมั่นคงและ ความปลอดภัยของประเทศ ดัชนีความมั่นคงทางทะเลในภาพรว ม อยู่ที่ 69 คะแนน ภายในปี 2 570 ประเทศไทยมีการบริหารจัดการ องค์ความรู้ทางทะเลที่ช่วยสนับสนุน การรักษาความมั่นคงและ ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จํานวนองค์ความรู้ทางทะเลที่สําคัญที่สนับสนุน การตัดสินใจของกลไกระดับนโยบายของประเทศ อย่างน้อยปีละ 1 ประเด็น การสร้างองค์ความรู้และความตระหนักรู้ ทางทะเลให้แก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยปีละ 1 ประเด็น

  • 161 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 5 การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย จังหวัดชายแดนภาคใต้มี การก่อเหตุ รุนแรงและความสูญเสียลดลง สถิติเหตุการณ์ความรุนแรงและความสูญเสีย จากสถานการณ์ความมั่นคงในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ลดลง ร้อยละ 100 จากปีฐาน 2 560 ภายในปี 2 570 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการพัฒนาทางเศรษฐกิ จ เพิ่มขึ้น สถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค ( Gross Regional Product : GRP) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพิ่มขึ้นทุกปี ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อ การแก้ไขปัญหาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ การสร้างความเชื่อมั่นต่อการป้องกันและ แก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างน้อย ร้อยละ 80 ภายในปี 2 570

  • 162 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 6 การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง และผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล มีจํานวนลดลง และได้รับ การดูแลตามหลักมนุษยธรรม จํานวนผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล ที่ได้รับสถานะอยู่ในราชอาณาจักรอย่างถูกต้อง ตามกฎหมาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ภายในปี 2 570 แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม มีจํานวนการลักลอบหลบหนี เข้าเมืองลดลง จํานวนแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม อย่างถูกต้องตาม กฎหมาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ภายในปี 2 570 การบริหารจัดการเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาผู้หลบหนี เข้าเมืองกลุ่มเปราะบางต่อ ความมั่นคงและความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ผู้โยกย้ายถิ่นฐาน แบบไม่ปกติ ผู้ได้รับการคุ้มครอง รวมถึงผู้อยู่ระหว่างคัดกรองสถานะ ที่ไม่สามารถเดินทางกลั บ ประเทศ อันเป็นภูมิลําเนาได้อย่างเป็นระบบ การจัดวางระบบป้องกัน กระบวนการ และ หลักเกณฑ์บริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง กลุ่มเปราะบางต่อความมั่นคงแล ะ ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ รวมถึงผู้ได้รับการคุ้มครองหรือผู้อยู่ระหว่าง คัดกรองสถานะ ที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศ อันเป็นภูมิลําเนาได้ การจัดวางระบบ ภายในปี 2 570

  • 163 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 7 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย การยกระดับสถานะของประเทศไทย ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์ ร้อยละความสําเร็จของประเทศไทย ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ในระดับนานาชาติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ภายในปี 2570 ประเทศไทยสามารถป้องกัน และแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นรูปธรรม การปราบปรามและดําเนินคดีเกี่ยวกับ การค้ามนุษย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 85 ภายในปี 2570 แรงงานที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และพันธกรณีระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 85 ภายในปี 2570 ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และผู้เสียหาย จากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ที่ได้รับ การคุ้มครองตามกฎหมายแล ะ มาตรฐานสากล เพิ่มขึ้นร้อยละ 85 ภายในปี 2570 การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากผลการดําเนินงาน ของปีที่ผ่านมา

  • 164 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 8 การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย การป้องกันประชากรทุก กลุ่มเป้าหมายไม่ให้เข้าไป เกี่ยวข้องกับยาเสพติด สัดส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดต่อ ประชากร ลดลง 8 คน ต่อประชากร 1 , 000 คน ภายในปี 2 570 การสกัดกั้นและปราบปราม เครือข่ายการค้ายาเสพติด ในประเทศและอาชญากรรม ข้ามชาติ คดียาเสพติดที่มีการสืบสวนขยายผลจาก การจับกุมผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จากผลการดําเนินงานของ ปีที่ผ่านมา การสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน เปรียบเทียบกับปริมาณที่จับกุมยาเสพติดทั้ง ประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากผลการดําเนินงาน ของปีที่ผ่านมา ผู้เสพยาเสพติดมีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นสามารถใช้ชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่ส่งผลกระทบต่อสังคม และไม่หวนกลับเข้าสู่วงจร ยาเสพติด ผู้เสพยาเสพติดที่เข้าสู่กระบวนการ บําบัดรักษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากปี 2 569 ในปี 2 570

  • 165 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 9 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย การยกระดับการจัดการ ความเสี่ยง สาธารณภัย ที่ สําคัญอันเกิดจากภั ย ธรรมชาติ และภัยที่เกิดจากการกระทํา ของม นุษย์ที่เกิดขึ้น และ/หรือ เป็นภัยซ้ําซ้อน ( Compound Hazards) ไปสู่มาตรฐาน ตามหลักสากล อัตราการเสียชีวิตจากภัยธรรมชาติ (อุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง) ต่อประชากร 100 , 000 คน ลดลงเมื่อเทียบกับ ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี จํานวนผู้ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ (อุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง) ต่อประชากร 100 , 000 คน ลดลงเมื่อเทียบกับ ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี อัตราการเสียชีวิตจากภัยที่เกิดจาก การกระทําของมนุษย์ (อัคคีภัย) ต่อประชากร 100 , 000 คน ลดลงเมื่อเทียบกับ ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี การแจ้งเตือนสาธารณภัยล่วงหน้าได้ทัน สถานการณ์ภายในระยะเวลาที่กําหนด (เฉพาะภัยธรรมชาติ 4 ภัย ได้แก่ อุทกภัย วาตภัย น้ําป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม และสึนามิ) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 98 ของการเกิดภัยดังกล่าว ทุกปี

  • 166 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 10 การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ประเทศไทยมีความพร้อมต่อ การป้องกัน รับมือความเสี่ยงกับ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ อย่างมี ประสิทธิภาพ ในการป้องกัน การโจมตีทางไซเบอร์ และ อาชญากรรมไซเบอร์ ร้อยละความสําเร็จในการพัฒนาระบบ การรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ ให้สอดคล้องมาตรฐานสากล เพิ่มขึ้นร้อยละ 90 ภายในปี 2 570 ร้อยละของการแก้ไขเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต่อโครงสร้าง พื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศที่มี ประสิทธิภาพ อย่างน้อยร้อยละ 90 ในแต่ละปี ร้อยละของ การจัดทําหรือพัฒนากลไก มาตรการ และแนวทางในการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมทางไซเบอร์ รวมถึงการพัฒนา การสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 ภายในปี 2 570 ร้อยละของ สถิติคดีเกี่ยวกับอาชญากรรม ทางไซเบอร์ ลดลงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

  • 167 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 11 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกัน ในการรับมือ กับภัยก่อการร้าย การดําเนินการมาตรการเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนเชิงป้องกันภัยก่อการร้าย อย่างน้อยร้อยละ 80 ภายในปี 2570 ประเทศไทยมีขีดความสามารถ ในการตอบโต้ ต่อเหตุวิกฤต จากการก่อการร้าย การพัฒนาศักยภาพของระบบที่ตอบสนอง ต่อ การระงับเหตุวิกฤตจากการก่อการร้าย และควบคุมสถานการณ์การก่อการร้าย อย่างน้อยร้อยละ 80 ภายในปี 2570 ประเท ศไทยมีศักยภาพ ในการฟื้น ตัวจากภัยก่อการร้าย ให้กลับสู่สภาวะปกติ การวางระบบฟื้นตัวจากภัยก่อการร้าย ร้อยละ 80 ภายในปี 2570 และสามารถฟื้นฟูจาก เหตุก่อการร้ายได้

  • 168 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 12 การสร้างดุลยภาพระหว่างประเทศ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ประเทศ ไทย สามารถรักษา ความสัมพันธ์ กับประเท ศ มหาอํานาจ และประเทศ ที่มีความสําคัญ เชิงยุทธศาสตร์ ต่อ ความมั่นคงของไทย อย่างมีดุลยภาพ ประเทศไทยมีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ําเสมอกับ 4 กลุ่มประเทศ กลุ่มที่ 1 ประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มที่ 2 สหรัฐฯ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย กลุ่มที่ 3 จีน และรัสเซีย กลุ่มที่ 4 ประเทศอื่น ๆ ที่มีความสําคัญ เชิงยุทธศาสตร์กับไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย แอฟริกาใต้ บราซิล ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน และอิสราเอล อย่างน้อยกลุ่มละ 1 ครั้งต่อปี ประเทศไทยมีบทบาทนํา ในประชาคม การเมือง และความมั่นคงอาเซียน ความสําเร็จของไทยในการผลักดัน ให้ ข้อเสนอ ในประเด็นความมั่นคง ที่ ไทยให้ความ สําคัญ ปรากฏ ในเอกสารผลลัพธ์การประชุมในระดับเจ้าหน้าที่ อาวุโสขึ้นไปของกลไกภายใต้ประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน อย่างน้อย 1 ฉบับต่อปี ประเทศไทยสามารถรักษำ ผลประโยชน์ แห่งชาติ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง และสามารถรักษำ ความสัมพันธ์ อันดีกับประเทศรอบบ้าน ระดับความสําเร็จในการจัดทําแผนลุ่มน้ําเชิงรุก ระดับภูมิภาค ( Proactive Regional Planning) เพื่อบริหารทรัพยากรน้ําในลุ่มน้ําโขงอย่างยั่งยืน เป็นไปตามเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ ภายในปี 2570 ไทยสามารถจัดทํา ผลลัพธ์ด้าน ความร่วมมือ ด้าน ความมั่นคงที่เป็นรูปธรรม ( key deliverables) ในกรอบหรือกับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขงได้ อย่างน้อยปีละ 3 ประเด็น หรือ 15 ประเด็น ภายในปี 2570

  • 169 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 13 การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉิน ด้านสาธารณสุขและ โรคติดต่ออุบัติใหม่ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ระบบสาธารณสุขมีความพร้อม ในการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉิน ด้านสาธารณสุข 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) โรคติดต่อและ การระบาด 2) โรคและภัยที่เกิด จากสารเคมี 3) โรคและภัยสุขภาพ ที่เกิดจากกัมมันตภาพรังสี และนิวเคลียร์ 4) โรคที่เกิดจาก การบาดเจ็บและอุบัติภัย และ 5) โรคและภัยสุขภาพอันเกิดจาก ภัยธรรมชาติ หน่วยงานด้านสาธารณสุขทั้งส่วนกลางและระดับ ภูมิภาค มีแผนเผชิญเหตุเพื่อรองรับภาวะฉุกเฉิน ด้านสาธารณสุขทั้ง 5 ด้าน ร้อยละ 80 ภายในปี 2570 การฝึกซ้อมเพื่อบูรณาการความร่วมมือจาก ทุกภาคส่วน ประจํา ทุก 2 ปี ระบบสาธารณสุขมีศักยภาพ การเผชิญเหตุและการบริการ ด้านการแพทย์ในภาวะฉุกเฉิน ความสําเร็จของการ มีระบบรองรับการบริหาร จัดการเฝ้าระวัง คัดกรอง และตรวจวินิจฉัย โรคติดต่ออุบัติใหม่และภัยสุขภาพ เมื่อเกิด ภาวะฉุกเฉินระดับเขตสุขภาพ ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ในภาวะวิกฤต จากการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่และภัยสุขภาพ 1 ) เขตสุขภาพ มีระบบการบริหาร จัดการเตียงเพื่อ รองรับผู้ป่ว ย วิกฤต ในภาวะฉุกเฉิน ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 2) เขตสุขภาพ มีระบบบริหาร จัดการทรัพยากร ทางการแพทย์ การสํารองยา และเวชภัณฑ์

  • 170 - เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ที่จําเป็นให้ สามารถ ใช้งานได้อย่างน้อย 2 เดือน เพื่อให้ สามารถเผชิญเหตุ ไ ด้ อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 80 ภายในปี 2570 เขตสุขภาพมีแนวทางการระดมสรรพกําลั ง บุคลากร เพื่อดูแลประชาชนยามวิกฤต ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 ระบบสาธารณสุขของประเทศ สามารถพึ่งตนเองได้ มีความมั่นคง ทางยาและเวชภัณฑ์ มูล ค่าการสนับสนุนการผลิตยาและอุตสาหกรรม ทาง การแพทย์ภายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับ ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี มี การจัดทําข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของ การผลิตยา และ อุตสาหกรรม ทาง การแพทย์ ( Resource Mapping ) ที่ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ประจําทุก 2 ปี

  • 171 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 14 การพัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมแห่งชาติ และ การ บริหาร จัดการ วิกฤตการณ์ระดับชาติ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย การพัฒนาศักยภาพ การเตรียมพร้อมสําหรับ การระดมทรัพยากรที่จําเป็น เพื่อ ใช้ในกรณีที่ประเทศเผชิญ กับภัยคุกคามหรือ วิกฤตการณ์ ระดับชาติ การพัฒนาศักยภาพของกลไก การบริหารจัดการ และความพร้อมของทรัพยากรที่จําเป็น เพื่อใช้สําหรับการระดมทรัพยากรในกรณี ที่ประเทศเผชิญกับภัยคุกคามหรื อ วิกฤตการณ์ระดับชาติ ร้อย ละ 85 ภายใน ปี 2570 การพัฒนาศักยภาพการบริหาร จัดการ วิกฤตการณ์ระดับชาติ การพัฒนาศักยภาพการบริหาร จัดการ วิกฤตการณ์ระดับชาติ ร้อยละ 100 ภายในปี 2 570

  • 172 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 15 การพัฒนาระบบข่าวกรองแห่งชาติ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กำรยกระดับระบบข่าวกรอง แห่งชาติใน การเฝ้าระวัง ประเมิน ตอบสนอง และแจ้งเตือน สถานการณ์ ที่ มีความเสี่ยงอันจะ นําไปสู่ภัยคุกคามต่อความมั่นคง แห่งชาติ และผลประโยชน์แห่งชาติ รายงานข่าวกรองที่ประเมินภัยคุกคาม ด้านความมั่นคงในระยะยาว (10 ปีขึ้นไป) เพื่อประกอบการตัดสินใจในระดับนโยบาย ของประเทศ รวมถึงการกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ภายในปี 2 570 การขยายเครือข่ายเฝ้าระวังตามประเด็น ความมั่นคงสําคัญ/พื้นที่ความมั่นคง ภายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 5 ภายในปี 2 570 การมีระบบเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูล ด้านการข่าว เพื่อการแจ้งเตือนภัยคุกคาม ทางไซเบอร์ ภายในปี 2 570

  • 173 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 16 การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย การมีฐานข้อมูลหรือชุดข้อมูล ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สําหรับวิเคราะห์ข้อมูล ขนาดใหญ่ด้านความมั่นคง สามารถนําไปสนับสนุน การตัดสินใจ เพื่อแก้ไขปัญหา ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ระดับชาติ จํานวนของประเด็นความมั่นคง และประเด็น ศักยภาพความมั่นคง ภายใต้นโยบายและแผน ระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2 566 – 2 570) ที่นํามาเชื่อมโยง วิเคราะห์ และประมวลผล ด้วยระบบวิเคราะห์ ข้อมูลขนาดใหญ่ เพิ่มขึ้น อย่างน้อย ปีละ 2 ประเด็น

  • 174 - นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 17 การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย พื้นที่ เป้าหมาย ระดับตําบล ที่มีปัญหาความมั่นคงสําคัญ เร่งด่วนลดลง พื้นที่เป้าหมายระดับตําบลทั้งประเทศ ตาม ที่ จังหวัดประกาศมีปัญหาความมั่นคงสําคัญ เร่งด่วนลดลง ลดลงร้อยละ 80 ภายในปี 2570

  • 175 - ผนวก จ แผนระดับที่ 3 ขับเคลื่อน นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570)

  • 177 - แผนระดับที่ 2 แผนระดับที่ 3 นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 1 การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ - แผนปฏิบัติการด้านการธํารงรักษาสถาบันหลักของชาติ - แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ - แผนปฏิบัติการด้าน การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้ สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย - แผนการอุปถัมภ์คุ้มครองศาสนาต่าง ๆ - แผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 2 การปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ และ การพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ - แผนปฏิบัติการด้านการปกป้องอธิปไตยและ ผลประโยชน์ของชาติ ในภาพรวม ระยะที่ 2 - แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาศักยภาพของประเทศ ด้านความมั่นคง - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 3 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ ของชาติพื้นที่ชายแดน - แผนปฏิบัติการด้านบริหารจัดการจัดการชายแดน ด้านความมั่นคง - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 4 การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ ของชาติทางทะเล - แผนความมั่นคงแห่งชาติ ทางทะเล - แผน การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ ของชาติทางทะเล - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 5 การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ - นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ - แผนปฏิบัติการด้านการบริหารและการพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 6 การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง และผู้โยกย้ายถิ่นฐาน แบบ ไม่ปกติ - แผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร - นโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ การทํางานของคนต่างด้าว - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 7 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ - แผนการปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปราม การค้ามนุ ษย์ - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

  • 178 - แผนระดับที่ 2 แผนระดับที่ 3 นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 8 การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหา ยาเสพติด - นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 9 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 10 การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซ เบอร์ - นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 11 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย - แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการก่อการร้าย - ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 12 การสร้างดุลยภาพระหว่างประเทศ - แผนยุทธศาสตร์รายภูมิภาค และแผนปฏิบัติการการทูตพหุภาคี - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 13 การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และโรคติดต่ออุบัติใหม่ - แผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ - แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธา รณภัย ทางการแพทย์และการสาธารณสุข - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 14 การพัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมแห่งชาติและ การ บริหาร จัดการ วิกฤตการณ์ระดับชาติ - แผนเตรียมพร้อมแห่งชาติและแผนบริหารวิกฤตการณ์ - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 15 การพัฒนาระบบข่าวกรองแห่งชาติ - แผนปฏิบัติราชการของสํานักข่ำวกรองแห่งชาติ - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 16 การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง - แผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแผนความมั่นคงที่ 17 การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ - แผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร - แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

  • 179 - ผนวก ฉ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

  • 181 -