Sat Mar 18 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

พระราชกฤษฎีการะเบียบข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ. 2566


พระราชกฤษฎีการะเบียบข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ. 2566

พระราชกฤษฎีกา ระเบียบข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 256 6 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนกลาโหม อาศัยอานาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 6 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีการะเบียบข้าราชการพลเรือน กลาโหม พ.ศ. 2566 ” มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ้ หนา 73 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

มาตรา 3 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้และ ให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ แ ละคำสั่ง ของกระทรวงกลาโหมเพื่อกาหนดการ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา 4 ให้กระทรวงกลาโหมแต่งตั้งคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนกลาโหม ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 เพื่อทาหน้าที่ ให้คาปรึกษาหรือคาแนะนาเกี่ยวกับการกา หนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงกลาโหม จะต้องกาหนดตามพระราชกฤษฎีกานี้ หรือการใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชาหรือการดาเนินการทางวินัย และการอุทธรณ์ รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่อื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน กลาโหม ในการนี้ให้กระทร วงกลาโหมโดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนกลาโหม มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องต่าง ๆ แทนคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือนกลาโหม หรือตามที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนกลาโหมมอบหมายได้ด้วย มาตรา 5 การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนกลาโ หมตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้คำนึงถึง ระบบคุณธรรมดังต่อไปนี้ (1) การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งต้องคานึงถึงความรู้ ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ (2) การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องคำนึงถึงผลสัมฤท ธิ์และประสิทธิภาพขององค์กร และลักษณะของงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (3) การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตาแหน่ง และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการ ต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพ และความประพฤติและจะนาความคิดเห็น ทางการเมืองหรื อสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้ (4) การดาเนินการทางวินัยต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ (5) การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง หมวด 1 การกำหนดตาแหน่ง ประเภทตำแหน่ง และระดับตาแหน่ง ้ หนา 74 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

มาตรา 6 ตาแหน่งข้าราชการพลเรือนกลาโหมมี 5 ประเภท ดังต่อไปนี้ (1) ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งที่ปฏิบัติงานบริหารราชการในฐานะ หัวหน้าส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมระดับกระทรวง กรม รองหัวหน้าส่วนราชการของ กระทรวงกลาโหมระดับกระทรวง กรม และตาแหน่งอื่นที่เทีย บเท่า ทั้งนี้ ตามที่สภากลาโหมกำหนด (2) ตาแหน่งประเภทอานวยการ ได้แก่ ตาแหน่งหัวหน้าส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม รองหัวหน้าส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมซึ่งดารงตาแหน่งต่ำกว่าตาแหน่งตาม (1) และตาแหน่งอื่น ที่เทียบเท่า ทั้งนี้ ตามที่สภากลาโหมกำหนด (3) ตาแหน่ งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตาแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญา เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตาแหน่งนั้น ทั้งนี้ ตามที่สภากลาโหมกำหนด (4) ตาแหน่งประเภทการสอนหรือวิจัย ได้แก่ ตาแหน่งที่จาเป็นต้องใช้ผู้สาเร็จการศึกษา ระดับปริญญา เพื่อปฏิบัติห น้าที่ด้านการสอนหรือวิจัยในสถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้ ตามที่สภากลาโหมกำหนด (5) ตาแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตาแหน่งที่ไม่ใช่ตาแหน่งตาม (1) (2) (3) และ (4) ทั้งนี้ ตามที่สภากลาโหมกำหนด มาตรา 7 ระดับตาแหน่งข้าราชการพลเรือนกลาโหม มี ดังต่อไปนี้ (1) ตาแหน่งประเภทบริหาร มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับต้น (ข) ระดับสูง (2) ตาแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับต้น (ข) ระดับสูง (3) ตาแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับปฏิบัติการ (ข) ระดับชำนาญการ (ค) ระดับชำนำญการพิเศษ (ง) ระดับเชี่ยวชาญ (จ) ระดับทรงคุณวุฒิ ้ หนา 75 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

(4) ตาแหน่งประเภทการสอนหรือวิจัย มีดังต่อไปนี้ (ก) ประเภทคณาจารย์ ได้แก่ ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการสอนหรือวิจัยใน สถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหมที่ให้การศึกษาหรือจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับป ริญญา มีระดับดังต่อไปนี้ 1) อาจารย์ 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 3) รองศาสตราจารย์ 4) ศาสตราจารย์ (ข) ประเภทครู ได้แก่ ตาแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการสอนในสถาบันการศึกษาสังกัด กระทรวงกลาโหม มีระดับดังต่อไปนี้ 1) ครู 2) ครูชำนาญการ 3) ครูชำนาญการพิเศษ 4) ครูเชี่ยวชาญ 5) ครูเชี่ยวชาญพิเศษ (5) ตาแหน่งประเภททั่วไป มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับปฏิบัติงาน (ข) ระดับชำนาญงาน (ค) ระดับอาวุโส (ง) ระดับทักษะพิเศษ การจัดประเภทตาแหน่ง การจัดระดับตาแหน่ง และการจัดทามาตรฐานกาหนดตาแหน่ง ให้เ ป็นไปตามที่สภากลาโหมกำหนด มาตรฐานกาหนดตาแหน่งจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจำแนกตาแหน่งเป็นประเภท และสายงานตามลักษณะงาน โดยจัดตาแหน่งประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่มีคุณภาพของงาน เท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้ โดยคานึงถึงลักษณะหน้าที่ความรั บผิดชอบและคุณภาพ ของงาน ้ หนา 76 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

มาตรา 8 ตาแหน่งข้าราชการพลเรือนกลาโหม จะมีในส่วนราชการใด จานวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด โดยต้องคานึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้าซ้อน และประหยัดเป็นหลัก รวมทั้ งต้องเป็นไป ตามมาตรฐานกำหนดตาแหน่งตามมาตรา 7 การกำหนดตำแหน่งประเภทบริหารให้มีในส่วนราชการใดจะต้องได้รับความเห็นชอบ จากสภากลาโหมด้วย หมวด 2 การบรรจุ การแต่งตั้ง และการปรับตาแหน่ง มาตรา 9 การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหม และแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งต้องเป็นไปตามความรู้ความสามารถ และระบบคุณธรรม รวมทั้งต้องคานึงถึง พฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ มาตรา 10 การบรรจุบุคคลเข้า รับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหมเพื่อแต่งตั้ง ให้ดารงตาแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตาแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้ง ตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ หลักเกณฑ์การสอบแข่งขันให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคั บแก่การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา 13 มาตรา 14 มาตรา 20 มาตรา 21 และมาตรา 22 มาตรา 11 ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหมต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิดตามกฎห มายว่าด้วยสัญชาติ (2) มีอายุไม่ต่ากว่าสิบแปดปีนับถึงวันบรรจุเข้ารับราชการ (3) เป็นผู้ที่เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ ้ หนา 77 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

ข. ลักษณะต้องห้าม (1) เป็นผู้ดำรงตาแหน่งทางการเมือง (2) เป็นกรรมการบริหารพรร คการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (3) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคที่ขัดต่อการรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด (4) เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อ น ตามพระราชกฤษฎีกานี้ หรือกฎหมายอื่น (5) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (6) เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (7) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุกเพราะกระทาความผิด ทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (8) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่น ของรัฐหรือองค์การระหว่างประเทศ (9) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัย ตามพระราชกฤษฎี กานี้หรือตามกฎหมายอื่น (10) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาสังกัด กระทรวงกลาโหมหรือสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหมที่มีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (5) (6) (7) (8) (9) หรือ (10) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (8) หรือกรณีถูกลงโทษให้ออกหรือปลดออกตาม (9 ) ผู้นั้น ต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีเป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกตาม (9) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือ ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ ในการยกเว้นดังกล่าว ให้สภากลาโหม ลงมติซึ่งกระทาโดยลับ และต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม แล้วแจ้งให้กระทรวงกลาโหม เพื่ออนุมัติเข้ารับราชการต่อไป ้ หนา 78 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

หลักเกณฑ์การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ทั้งนี้ อาจยกเว้นให้เป็นการเฉพาะรายหรือจะปร ะกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้ มาตรา 12 ผู้สมัครสอบแข่งขันในตาแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะ ต้องห้ามหรือได้รับการยกเว้นตามมาตรา 11 และมีคุณสมบัติเฉพาะสาหรับตาแหน่งตรงตามมาตรฐาน กำหนดตาแหน่งตามมาตรา 7 หรือได้รับอนุมัติจากกระทรวงกลาโหมตามมา ตรา 19 วรรคสอง มาตรา 13 ในกรณีที่มีเหตุพิเศษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ตามมาตรา 15 อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตาแหน่งโดยไม่ต้อง ดาเนินการสอบแข่งขันตามมาตรา 10 ก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มาตรา 14 ส่วนราชการใดมีเหตุและความจำเป็นอย่างยิ่งจะบรรจุและแต่งตั้งบุคคล ซึ่งมีความรู้ความสามารถและความชานาญงานสูง เข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งประเภท วิชาการระดับชานาญการ ชานาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตาแหน่งประเภทการสอน หรือวิจัย ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ ครูชานาญการ ครูชานาญการ พิเศษ ครูเชี่ยวชาญ หรือครูเชี่ยวชาญพิเศษ หรือตาแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มาตรา 15 การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรื อนกลาโหม และแต่งตั้ง ให้ดารงตาแหน่งตามมาตรา 7 ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้ เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (1) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตาแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทการสอนหรือวิจัยระดับศาสตราจารย์และครูเชี่ยว ชาญพิเศษ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนาความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (2) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภท อานวยการ ตาแหน่งประเภทวิชาการ และตาแหน่งประเภทกา รสอนหรือวิจัย ให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหมเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด (3) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งประเภททั่วไป ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ซึ่งได้รับ มอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้มีอานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ทั้ งนี้ ตามที่กระทรวงกลาโหม กำหนด ้ หนา 79 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

มาตรา 16 การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหม โดยจะให้ได้รับ เงินเดือนและเงินประจาตาแหน่งตามตาแหน่งใด ประเภทใด ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน และเงินประจำตาแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหม มาตรา 17 ผู้ได้รั บบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 13 ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและ เป็นข้าราชการที่ดีตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีผลการประเมินทดลองปฏิ บัติหน้าที่ราชการ ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 15 สั่งให้ผู้นั้น รับราชการต่อไป ถ้าผู้นั้นมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ากว่ามาตรฐานที่กาหนดก็ให้สั่ง ให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาท ดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือน กลาโหม แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือการรับเงินเดือนหรือ ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมี สิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติ หน้าที่ราชการ ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทาผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดาเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 5 การบังคับบัญชา วินัย การรักษาวินัย การดาเนินการทางวินัย การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และถ้าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องออกจากราชการ ตามวรรคสอง ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดาเนินการตามวรรคสองไปก่อน ให้นาความวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับแก่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งโอนมำตามมาตรา 21 ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยโดยอนุโลม มาตรา 18 การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนกลาโหมให้ดารงตาแหน่งในสายงานที่ไม่มีกาหนด ไว้ในมาตรฐานกำหนดตาแหน่งจะกระทำมิได้ มาตรา 19 ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งข้าราชการพลเรือนกลาโหมตาแหน่งใดต้ องมี คุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตาแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตาแหน่ง ้ หนา 80 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

ในกรณีที่มีเหตุผลและความจาเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาจอนุมัติให้แต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนกลาโหมซึ่งมีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสาหรับตาแหน่งนั้นตามมาตรฐาน กำหนดตาแหน่งก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่สภากลาโหมกำหนด ในกรณีที่กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับ ตาแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนรับรอง มาตรา 20 การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนตาแหน่ง การย้าย การโอนข้าราชการ พลเรือนกลาโหม และการเปลี่ยนประเภทจากข้าราชการทหารเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหมให้เป็นไป ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด การย้ายข้าราชการพลเรือนกลาโหมไปแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งในระดับที่ต่ากว่าเดิมจะกระ ทามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้นั้น การบรรจุข้าราชการพลเรือนกลาโหมซึ่งได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการ เพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสาหรับการคานวณบาเหน็จบานาญเหมือนเต็มเวลา ราชการหรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ กลับเข้ารับราชการในส่วนราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดารง ตำแหน่งประเภทใด สาย งานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามที่ กระทรวงกลาโหมกำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้และตามกฎหมายว่าด้วยบาเหน็จ บำนาญข้าราชการ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ข้าราชการพลเรือนกลาโหม ที่ได้ออกจากราช การไปตามวรรคสาม เมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการให้มีสิทธินับวันรับราชการ ก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารกองประจาการ หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ แล้วแต่กรณี และวันรับราชการเมื่อไ ด้รับบรรจุ กลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ สาหรับ ผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งได้รับ ้ หนา 81 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

บรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคสามให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อน ออกจากราชการเพื่อประโยชน์ ในการนับเวลาราชการ มาตรา 21 การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น การโอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนกลาโหม ตามพระราชกฤษฎีกานี้และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง และการโอนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหมตลอดจนจะแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่ง ประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทาได้ตามที่กระทรวงกลาโหม กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมา รับราชการตามวรรคหนึ่ง เป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนกลาโหมตามพระราชกฤษฎีกานี้ด้วย มาตรา 22 พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งไม่ใช่ออกจากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือ ข้าราชการซึ่งไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนกลาโหมตามพระราชกฤษฎีกานี้ และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้ใด ออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหมและ ทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 15 พิจารณาโ ดยคานึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ทั้งนี้ จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่ง ประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกาหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทางานของผู้เข้ารับราชการ ตา มวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการ พลเรือนกลาโหมตามพระราชกฤษฎีกานี้ด้วย มาตรา 23 ข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งตามมาตรา 19 แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุ ณสมบัติเฉพาะสำหรับตาแหน่งนั้น ให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 15 แต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดารงตาแหน่งตามเดิมหรือตาแหน่งอื่น ในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันโดยพลัน แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไป ตามหน้าที่และอานาจ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับอยู่ก่อน ได้รับคำสั่งให้กลับไปดารงตาแหน่งตามเดิมหรือตาแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน ้ หนา 82 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

การรับเงินเดือน สิทธิและประโยชน์ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปดารงตาแหน่งตามเดิมหรือ ตาแหน่ งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหม กำหนด ในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งให้กลับไปดารงตาแหน่งตามเดิมหรือตาแหน่งอื่นในประเภทเดียวกัน และระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่งได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาเป็นการเฉพาะรำย มาตรา 24 ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหมและแต่งตั้ง ให้ดารงตาแหน่งใดตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง มาตรา 13 มาตรา 14 มาตรา 20 มาตรา 21 และมาตรา 22 หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามโดยไม่ได้รับ การยกเว้นตา มมาตรา 11 หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตาแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก กระทรวงกลาโหมตามมาตรา 19 อยู่ก่อนก็ดี มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดี ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 15 สั่งให้ผู้นั้น ออกจาก ราชการโดยพลัน แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามหน้าที่และอานาจ และ การรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับอยู่ก่อนได้รับคาสั่งให้ออกนั้น และ ถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่ งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบานาญข้าราชการ มาตรา 25 ในกรณีที่ตาแหน่งข้าราชการพลเรือนกลาโหมว่างลง หรือผู้ดารงตาแหน่ง ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 15 มีอานาจสั่งให้ ข้าราชกา รกระทรวงกลาโหมที่เห็นสมควรรักษาราชการ รักษาราชการแทน หรือทำการแทน ในตาแหน่งนั้นได้ ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมโดยอนุโลม ผู้รักษาราชการ ผู้รักษาราชการแทน หรือผู้ทาการแทนในตาแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีหน้าที่ และอานาจตามตาแหน่งที่รักษาราชการ รักษาราชการแทน หรือทาการแทนนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติของคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตามกฎหมายหรือคาสั่งผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ผู้ดารงตาแหน่งนั้น ๆ เป็นกรรมการ หรือให้มีหน้าที่และอานาจอย่าง ใด ก็ให้ผู้รักษาราชการ ผู้รักษาราชการแทน หรือผู้ทาการแทนในตาแหน่งทาหน้าที่กรรมการหรือมีหน้าที่และอานาจอย่างนั้น ในระหว่างที่รักษาราชการ รักษาราชการแทน หรือทำการแทนในตาแหน่ง แล้วแต่กรณี ้ หนา 83 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

มาตรา 26 ในกรณีที่มีเหตุผลความจาเป็น ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอานาจสั่ งบรรจุตามมาตรา 15 มีอานาจสั่งข้าราชการพลเรือนกลาโหมให้ประจาส่วนราชการเป็นการชั่วคราว โดยให้พ้นจากตาแหน่ง หน้าที่เดิมได้ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การดาเนินการทางวินัยและการออก จากราชการของข้าราช การพลเรือนกลาโหมตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มาตรา 27 ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดสั่งให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนกลาโหม ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมในการสั่งการตามสมควรเพื่อเยียวยา และแก้ไขหรือดาเนินการตามที่เห็ นสมควรได้ หมวด 3 เงินเดือนและเงินประจำตาแหน่ง มาตรา 28 อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน และ การให้ได้รับเงินประจำตาแหน่ง ของข้าราชการพลเรือนกลาโหม ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน และเงินประจำตาแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหม มาตรา 29 การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและผู้มีอานาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ พลเรือนกลาโหม ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนกลาโหมให้คำนึงถึงการประเมินผลการปฏิ บัติ ราชการของข้าราชการพลเรือนกลาโหม คุณภาพและปริมาณงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน ที่ปฏิบัติมา ความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติหน้าที่ การรักษาวินัย การประพฤติตน อยู่ในจรรยา การปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหม และการปฏิบั ติราชการ อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มาตรา 30 ข้าราชการพลเรือนกลาโหมอาจได้รับเงินเพิ่มสาหรับตาแหน่งที่ประจาอยู่ใน ต่างประเทศหรือตาแหน่งที่มีเหตุพิเศษ เงินเพิ่มผู้ชานาญงาน เงินเพิ่มอื่น หรือเงินช่วยเหลือ และ ประโยชน์ตอบแทนตามกฎหมายห รือตามที่คณะรัฐมนตรีกาหนด โดยเทียบเคียงกับสิทธิประโยชน์ ลักษณะดังกล่าวของข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหารและข้าราชการ ้ หนา 84 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

ประเภทอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ทั้งนี้ ตามที่สภากลาโหมกาหนดและให้กระทรวงกลาโหม แจ้งกระทรวงการคลังเพื่อทราบ ข้าราชการ พลเรือนกลาโหมอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกาหนด หมวด 4 การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและการเสริมสร้างแรงจูงใจ มาตรา 31 ให้กระทรวงกลาโหมมีหน้าที่ดาเนินการให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและ เสริมสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการพลเรือนกลาโหม เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนกลาโหมมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจ ของรัฐ มาตรา 32 ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรม และเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดารงตนเป็นข้าราชการที่ดี มาตรา 33 ข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใดปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ ประพฤติตน อยู่ในจรรยา และรักษาวินัย นอกจากได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตามมาตรา 29 แล้ว ผู้บังคับบัญชาอาจพิจารณาให้บาเหน็จความชอบอย่างอื่นซึ่งอาจเป็นคาชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัลด้วยก็ได้ มาตรา 34 การให้ข้าราชการพลเรือนกลาโหมไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มาตรา 35 ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือน กลาโหมที่อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนขั้นเงินเดือน ทั้งนี้ ตามที่ กระทรวงกลาโหมกำหนด ผลการประเมินตามวรรคหนึ่ง ให้นาไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและเพิ่มพูนประสิทธิภาพ การปฏิบัติราชการด้วย ้ หนา 85 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

มาตรา 36 ข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ ราชการ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนขั้นเ งินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคานวณ บำเหน็จบำนาญหรือให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นตามที่ทางราชการกำหนด ข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใดทุพพลภาพหรือพิการเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นตามที่ทางราชการกำหนด หมวด 5 การบั งคับบัญชา วินัย การรักษาวินัย การดาเนินการทางวินัย การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ มาตรา 37 วันเวลาทางาน วันหยุดราชการตามประเพณีและวันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการ ของข้าราชการพลเรือนกลาโหม ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับข้าราชการทหาร เว้นแต่กระทรวง กลาโหมจะกำหนดเป็นกรณีเฉพาะ มาตรา 38 เครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนกลาโหมและการแต่งเครื่องแบบ ให้เป็นไป ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มาตรา 39 ข้าราชการพลเรือนกลาโหมต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและการรักษาจริยธรรมโดยเคร่งครัด มาตรา 40 ข้าราชการพลเรือนกลาโหมต้องรักษาวินัยโดยการกระทาหรือไม่กระทาตามที่ บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด มาตรา 41 ข้าราชการพลเรือนกลาโหมต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา 42 ข้าราชการพลเรือนกลาโหมต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม (2) ต้องรักษาระเบียบการเคารพตามลำดับอาวุโสในราชการ (3) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คาสั่งของ ทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของ ทางราชการ ้ หนา 86 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

(4) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ (5) ต้องปฏิบัติตามคาสั่งของผู้บั งคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคาสั่งนั้นจะทาให้ เสียหายแก่ราชการหรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือ ทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบั ญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยัน ให้ปฏิบัติตามคาสั่งเดิม ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม (6) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ (7) ต้องรักษาความลับของทางราชการ (8) ต้องสุภาพเรียบร้ อย รักษาความสามัคคี และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการ ระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ (9) ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ผู้ติดต่อ ราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน (10) ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบั ติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน (11) ต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตาแหน่งหน้าที่ราชการของตน มิให้เสื่อมเสีย (12) การกระทำอื่นใดตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดโดยความเห็นชอบของสภากลาโหม มาตรา 43 ข้าราชการพลเรือนกลา โหมต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้ (1) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย (2) ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว (3) ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง หรือผู้อื่น (4) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ ้ หนา 87 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

(5) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่ นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสีย ความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของหน้าที่ราชการของตน (6) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงาน คล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (7) ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นกา รกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ (8) ต้องไม่กระทาการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กระทรวงกลาโหม กำหนด (9) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ (10) ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดโดยควา มเห็นชอบของสภากลาโหม มาตรา 44 ข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา 40 มาตรา 41 หรือมาตรา 42 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 43 ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย มาตรา 45 การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (1) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต (2) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง (3) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ (4) กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (5) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ำยผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง (6) กระทาความผิดอาญาจนได้รับโทษจาคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจาคุกโดยคาพิพากษา ถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำ โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (7) ละเว้นการกระทาหรือกระทาการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 หรือ ฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 43 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ้ หนา 88 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

(8) ละเว้นการกระทาหรือกระทาการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 (12) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 43 (10) ที่สภากลาโหมกำหนดให้เป็นความผิ ดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา 46 ข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใดกระทำผิดวินัยจะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่กาหนดในพระราชกฤษฎีกานี้หรือตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังต่อไปนี้ (1) ภาคทัณฑ์ (2) ตัดเงินเดือน (3) ลดเงินเดือน (4) ปลดออก (5) ไล่ออก มาตรา 47 ผู้บังคับบัญชาผู้มีอานาจในการดาเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษข้าราชการ พลเรือนกลาโหมที่กระทำผิด มีดังต่อไปนี้ (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (2) ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชำการ ทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (3) ผู้บังคับบัญชา ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้บัญชาการกองพล ผู้บัญชาการกองเรือ ผู้บัญชาการกองพลบิน หรือตาแหน่งบังคับบัญชาอื่นที่เทียบเท่าตาแหน่งดังกล่าวขึ้นไป การสั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนกลาโหมที่กระทาผิดตามวรรคหนึ่ง ให้กระทาได้แต่เฉพาะ ตามที่กาหนดในตารางกาหนดอานาจในการสั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนกลาโหมที่กระทาผิดวินัย ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ การดาเนินการสั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนกลาโหมให้ทำเป็นคาสั่งโดยผู้สั่งลงโทษ และต้องสั่ง ลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด เป็นไปด้วยความยุติธร รม และปราศจากอคติ โดยในคาสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดและตามมาตราใด หน้าที่และอำนาจของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจในการดาเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษ ข้าราชการพลเรือนกลาโหมที่กระทำผิดวินัย อาจมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับรองลงไปปฏิบั ติแทน ก็ได้ ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ้ หนา 89 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

มาตรา 48 เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใด กระทาผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 47 ทราบโดยเร็ว และให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 47 ดาเนินการตำมพระราชกฤษฎีกานี้โดยเร็ว ด้วยความยุติธรรม และโดยปราศจากอคติ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 47 ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย มาตรา 49 เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา 48 หรือความดังกล่าวปรากฏต่อผู้บังคับบัญชา ตามมาตรา 47 ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 47 รีบดาเนินการหรือสั่งให้ดาเนินการสืบสวนหรือ พิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควร กล่าวหาว่ากระทาผิดวินั ยก็ให้ยุติเรื่องได้ ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนกลาโหม ผู้ใดกระทำผิดวินัย โดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ดาเนินการต่อไปตามมาตรา 50 มาตรา 50 ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา 49 ปรากฏว่ากรณีมีมูล ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 47 ดาเนินการทางวินัย โดยไม่แต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวนก็ได้ แต่หากปรากฏว่ากรณีมีมูลอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาตามมำตรา 47 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหา และสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ พร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา เมื่อดาเนินการ สอบสวนแล้วเสร็จ ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 47 ในกรณีผู้บังคับบั ญชาตามมาตรา 47 เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทาผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาให้ดาเนินการต่อไปตามมาตรา 51 หรือมาตรา 52 แล้วแต่กรณี ในกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กระทรวงกลาโหมกา หนด จะดาเนินการทางวินัย โดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ มาตรา 51 ข้ำรำชการ พลเรื อน กลาโ ห มผู้ใด กร ะ ทำผิด วิ นั ยอย่างไ ม่ร้ำยแ รง ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 47 สั่งลงโทษตามควรแก่กรณี ให้เหมาะสมกับความผิด ดังต่อไปนี้ ้ หนา 90 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

(1) ภาคทัณฑ์ (2) ตัดเงินเดือน (3) ลดเงินเดือน ในกรณี มีเหตุอันควรลดหย่อนจะนามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการลงโทษ ภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บน เป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การกำหนดอัตราโทษที่จะสั่ งลงโทษได้ตามมาตรานี้ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มาตรา 52 ข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษ ปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนามาประกอบการพิจารณา ลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ากว่าปลดออ ก ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา 53 เมื่อข้อเท็จจริงจากการสอบสวนปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าผู้ใต้บังคับบัญชา กระทำผิดวินัย แต่ความผิดนั้นมีอัตราโทษเกินกว่าอานาจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาผู้นั้น ใ ห้รายงานตามลำดับชั้นจนถึงผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งลงโทษตามตารางกำหนดอำนาจในการสั่งลงโทษ ข้าราชการพลเรือนกลาโหมที่กระทาผิดวินัยท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เพื่อให้พิจารณาดาเนินการเพื่อมี คำสั่งลงโทษตามควรแก่กรณีต่อไป มาตรา 54 กระบวนการดำเนินการทางวินัยและวิธีการ สอบสวน การสั่งพักราชการ การรายงานผลการดาเนินการทางวินัย การทบทวนคาสั่งลงโทษ การดาเนินการทางวินัยข้าราชการ พลเรือนกลาโหมที่กระทาผิดวินัยร่วมกับข้าราชการต่างสังกัดหรือต่างประเภท การดาเนินการทางวินัย ผู้ที่โอนมาเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหม ระยะเวลาที่เกี่ ยวข้องกับการดาเนินการทางวินัย และ การดาเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการดาเนินการทางวินัย ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มาตรา 55 การดาเนินทางวินัยกับข้าราชการพลเรือนกลาโหมซึ่งออกจากราชการอันมิใช่ เพราะเหตุตาย ให้ดาเนินการทางวินัยต่อไปได้ตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม มาตรา 56 ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามมาตรา 51 หรือมาตรา 52 หรือถูกสั่งให้ออกจาก ราชการตามมาตรา 17 มาตรา 24 และมาตรา 60 (1) (3) (5) (6) (7) และ (8) ผู้นั้นมีสิทธิ ้ หนา 91 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

อุทธรณ์โดยทาเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาที่ทาคาสั่งได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่า ทราบคำสั่ง การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ ให้เป็นตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มาตรา 57 เมื่อผู้บังคับบัญชาผู้มีอานาจพิจารณาคาอุทธรณ์ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ ผู้บังคับบัญชาที่ทำคำสั่งดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาคาอุทธรณ์มีคาวินิจฉัย ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณา คาอุทธรณ์ อาจฟ้องคดีต่อศาลปกครอ งภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคาวินิจฉัย ของผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาคาอุทธรณ์ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น มาตรา 58 ข้าราชการพลเรือ นกลาโหมผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือ ไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชาและเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์โดยทำเป็นหนังสือ ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาผู้มีอานาจพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่า ท ราบเรื่องอันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ การร้องทุกข์จะกระทำได้แต่สำหรับเรื่องของตนเองเท่านั้น การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ให้เป็นตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด หมวด 6 การออกจากราชการ มาตรา 59 ข้าราชการพลเรือนกลาโหมออกจากราชการเมื่อ (1) ตาย (2) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบานาญข้าราชการ (3) ได้รับอนุญาตให้ลาออกตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ้ หนา 92 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

(4) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา 17 มาตรา 24 มาตรา 60 หรือมาตรา 61 (5) ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก วันออกจากราชการตาม (4) และ (5) ให้เป็นไปตามที่กระทรวง กลาโหมกำหนด มาตรา 60 ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 15 มีอานาจสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนกลาโหมออกจากราชการเพื่อรับบาเหน็จบานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบาเหน็จ บำนาญข้าราชการได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) เมื่อข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจ ปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้ โดยสม่ำเสมอ (2) เมื่อข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ ของทางราชการ (3) เมื่อข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 11 ก. (1) หรือ (3) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 11 ข. (1) (3) (6) หรือ (7) (4) เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตาแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนกลาโหมปฏิบัติ หน้าที่หรือดารงอยู่ สำหรับผู้ที่ออกจากราชการในกรณีนี้ให้ได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด (5) เมื่อข้าราชการพลเรื อนกลาโหมผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและ เกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ (6) เมื่อข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใดหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตาแหน่งหน้าที่ราชกา ร ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการ ต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (7) เมื่อข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใดมีกรณีถูกสอบสวนว่ากระทาผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 50 และผลการสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะสั่งลงโทษตามมาตรา 52 แต่มีมลทิน หรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (8) เมื่อข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใดต้องรับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก ในความผิดที่ได้กระทาโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือต้องรับโทษจาคุกโดยคาสั่งของศาล ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่อ อก ้ หนา 93 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มาตรา 61 เมื่อข้าราชการพลเรือนกลาโหมผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วย การรับราชการทหารให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามว รรคหนึ่งและต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุมีอานาจ เปลี่ยนแปลงคาสั่งให้ออกตามวรรคหนึ่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นนั้นได้ บทเฉพาะกาล มาตรา 62 ในระหว่างที่กระทรวงกลาโหมยังมิได้กำหนดรายละเอียดเพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใด กระทรวงกลาโหมอาจกาหนดให้นากฎ ก.พ. หรือหนังสือเวียน ของ ก.พ. มาใช้บังคับไปพลางก่อนได้โดยอนุโลม มาตรา 63 ในกรณีที่ได้มีการกาหนดอัตราตาแหน่งใดในกระทรวงกลาโหมมาเ ป็นอัตรา ข้าราชการพลเรือนกลาโหมแล้ว แต่ยังมิได้ดาเนินการบรรจุบุคคลให้เข้ารับราชการในอัตราตาแหน่ง ข้าราชการพลเรือนกลาโหม ให้ข้าราชการทหารที่รับราชการอยู่ในอัตราตาแหน่งนั้นยังคงรับราชการ ในฐานะข้าราชการทหารเช่นเดิมและดารงอัตราข้าราชการพลเรือนกลาโหมนั้นไปพลาง ก่อน จนกว่า จะมีการบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการหรือดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนกลาโหมนั้น ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มาตรา 64 ในระยะเริ่มแรก อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจาตาแหน่ง การให้ได้รับ เงินเดือนและเงินประจาตาแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหม ให้เป็นไปตามบทบัญญัติที่ใช้บังคับ แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เว้นแต่ตาแหน่งประเภท การสอนหรือวิจัย ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตาแหน่งโดยเทียบเคียงกับอัตราเงินเดือนและ เงินประจาตาแหน่งของข้าราชการอื่นที่ดารงตาแหน่งปร ะเภทการสอนหรือวิจัยตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ทั้งนี้ จนกว่าจะมีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจาตาแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหม ใช้บังคับ ้ หนา 94 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

เพื่อประโยชน์ในการได้รับเงินเดือน ให้กาหนดอัตราเงินเดือนเป็นขั้นเงินเดือนโดยข้าราชการ พลเรือนกลาโหมซึ่งดำรงตำแหน่ง ประเภทใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนขั้นใด เป็นจำนวนเงินเท่าใด ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด และให้ใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการกำหนดขั้นเงินเดือน ตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตาแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหมใช้บังคับแทน ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 95 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 บัญญัติให้มีข้าราชการพลเรือนกลาโหม โดยการกาหนด ตาแหน่ง การบรรจุ การแต่งตั้ง การปรับตาแหน่ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การบังคับบัญชา วินัยและ การรักษาวินัย การดาเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ และการอื่นใด ตามที่จำเป็นเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนกลาโหมให้ตราเป็นพร ะราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ้ หนา 96 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566