Sat Mar 18 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566


พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566

พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 25 6 6 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ได้บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือที่ขัดหรือแย้งกับ บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน ้ หนา 60 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “ หน่วยจัดการเรียนรู้ ” หมายความว่า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอาเภอ ศูนย์การเรียนรู้ ระดับตาบล ศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ ศูนย์หรือสถาบันการเรียนรู้เฉพาะด้านหรือเฉพาะกิจการ หรือ หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่ทำหน้าที่จัดการเรียนรู้ในสังกัดกรมส่งเสริม การเรียนรู้ “ ภาคีเครือข่าย ” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงาน เอกชน ชุมชน ครอบครัว สถาบันทางศาสนา และบุคคลอื่นใด ที่ประสงค์จะจัด ร่วมจัด ส่งเสริม หรือสนับสนุนการดาเนินงานของกรมส่งเสริมการเรียนรู้หรือหน่วยจัดการเรียนรู้ “ สถานศึกษา ” หมายความว่า สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ “ สถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ ” หมายความว่า สถาบันพัฒนาหลักสูตรและ การเรียนรู้ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ “ กรม ” หมายความว่า กรมส่งเสริมการเรียนรู้ “ อธิบดี ” หมายความว่า อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ “ จังหวัด ” หมายความรวมถึงกรุงเทพมหานครด้วย “ อำเภอ ” หมายความรวมถึงเขตด้วย “ ตาบล ” หมายความรวมถึงแขวงด้วย “ รัฐมนตรี ” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบั ญญัตินี้ มาตรา 5 การส่งเสริมการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคคล ให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นคนดี มีวินัย รู้จักสิทธิควบคู่กับ หน้าที่และความรับผิดชอบ ภูมิใจและตระหนักในความสาคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและ ของประเทศชาติ รู้จักความพอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ใฝ่เรียนรู้ มีความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง มีคุณธรรม และมีความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งมีสานึกในความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มีความเป็นพลเมืองที่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไทย และสังคมโลกได้อย่างผาสุก กับเพื่อให้บุคคลมีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต ที่สอด คล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก และมีโอกาสพัฒนาหรือเพิ่มพูนทักษะของตนให้สูงขึ้นหรือ ปรับเปลี่ยนทักษะของตนตามความถนัดหรือความจำเป็น ้ หนา 61 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

มาตรา 6 ให้กรมมีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้ (1) การเรียนรู้ตลอดชีวิต (2) การเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ตนเอง (3) การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ นอกจากการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ตามวรรคหนึ่ง กรมอาจจัดส่งเสริม และ สนับสนุนการเรียนรู้ในรูปแบบอื่นที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนได้ ทั้งนี้ ตามประกาศที่รัฐมนตรี กำหนด ประกาศดังกล่าวให้ระบุเป้าหมำย แนวทาง และวิธีการไว้ด้วย การจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้คานึงถึงความหลากหลาย และความต้องการของผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยมีโอกาสเรียนรู้และเข้าถึง แหล่งเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ มาตรา 7 การเรียนรู้ตลอดชีวิตมีเป้าหมายเพื่อจัดให้มีระบบกระตุ้น ชี้แนะ หรืออำนวย ความสะดวกด้วยวิธีการใด ๆ ให้บุคคลสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองในเรื่องที่ตนสนใจหรือตามความถนัด ของตน สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทุกประเภทได้ในเวลาใด ๆ ที่ตนสะดวกโดยไม่มีภาระค่าใช้จ่าย เกินสมควร และเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวาง รู้เท่าทันพัฒนาการของโลกอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รวมทั้งนำความรู้ไปเติมเต็มชีวิตให้แก่ตนเองหรือเกิดประโยชน์ต่อสังคม โดยอาจได้รับการรับรองคุณวุฒิ ตามความเหมาะสมด้วยก็ได้ มาตรา 8 ในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้กรมดาเนินการ โดยคำนึงถึงแนวทาง ดังต่อไปนี้ (1) ดาเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อกระตุ้นให้บุคคลใฝ่หาความรู้ในเรื่องที่ตนสนใจ และ สร้างสมรรถนะในการเรียนรู้โดยผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันได้ ด้วยตนเองในทุกเวลา อย่างรู้เท่าทัน และเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทุกประเภทได้โดยง่ายในเวลาที่ตนสะดวกโดยไม่มีภาระค่าใช้จ่าย เกินสมควร (2) จัดให้มีและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อให้บุคคลสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตได้โดยสะดวก โดยไม่มีข้อกาหนดหรือเงื่อนไขใด ๆ ที่อาจเป็นอุ ปสรรคต่อการเรียนรู้หรือมีลักษณะเป็นการไม่เกื้อหนุน ให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ้ หนา 62 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

(3) จัดหรือส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายจัดหรือร่วมกันจัดให้บุคคลในครอบครัวและชุมชนมีนิสัย รักการอ่านหรือการเรียนรู้ รวมทั้งจัดให้มีแหล่งส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ในชุมชน (4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ชานาญการในภูมิปัญญาท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ในการจัดการเรียนรู้และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มาตรา 9 การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะ และ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้ำนตามความถนัดของตน การประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ การยกระดับ คุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว ชุมชน หรือสังคม หรือเพื่อประโยชน์แห่งความรอบรู้ของตน โดยอาจ ได้รับการรับรองคุณวุฒิตามความเหมาะสม ในการจัดการเรียนรู้ตามวรรคหนึ่ง ให้มีระบบแนะแนวการเรียนและการประก อบอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ทราบล่วงหน้าหรือวางแผนให้สอดคล้องกับความถนัดของตนด้วย มาตรา 10 ในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง ให้กรม ดาเนินการโดยคำนึงถึงแนวทาง ดังต่อไปนี้ (1) ดาเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อกระตุ้นให้บุคค ลทุกช่วงวัยทุกอาชีพใฝ่เรียนรู้หรือฝึกฝน ในเรื่องที่ตนถนัดหรือสนใจ เพื่อการพัฒนาศักยภาพ ทักษะ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สาหรับ การประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ การดาเนินชีวิตอย่างผาสุก หรือการร่วมกันพัฒนาชุมชนของตน (2) ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือหรือร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการดาเนินการตาม (1) มาตรา 11 การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับมีเป้าหมายเพื่อจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้ซึ่ง อยู่ในวัยเรียนแต่ไม่ได้รับการศึกษาในสถานศึกษา หรือผู้ซึ่งพ้นวัยที่จะศึกษาในสถานศึกษา หรืออยู่ใน พื้นที่ที่ห่างไ กลหรือทุรกันดาร หรือไม่มีหน่วยงานอื่นใดไปดาเนินการ เพื่อให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุน เพื่อให้ได้รับการศึกษาสูงกว่าระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามศักยภาพ ของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ตามวรรคหนึ่งต้องดาเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์แล ะเป้าหมายตามที่ กาหนดในกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ทั้งนี้ โดยให้ปรับอายุและระยะเวลาตามที่กาหนดไว้ ในกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติให้สอดคล้องกับสภาพความจาเป็นของผู้เรียน และให้นาความใน มาตรา 9 วรรคสอง มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ้ หนา 63 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

มาตรา 12 ในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ ให้กรม ดาเนินการโดยคำนึงถึงแนวทาง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการจัดการเรียนรู้สาหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ซึ่งมิได้ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาไม่ว่า ด้วยเหตุใด เพื่อให้ได้รับคุณวุฒิระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านสามั ญศึกษาหรืออาชีวศึกษา (2) วิธีการจัดการเรียนรู้และการจัดทาหรือพัฒนาหลักสูตรต้องสอดคล้องกับพัฒนาการของโลก และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความถนัดหรือความสนใจ ของตน ทั้งนี้ วิธีการและหลักสูตรดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กรมและสถาบันพัฒนาหลักสูตรและ การเรียนรู้ร่วมกันกำหนด (3) การประเมินผลเพื่อให้ได้รับคุณวุฒิทางการศึกษา ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อใช้กับ ผู้เรียนซึ่งมีความแตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม โดยต้องไม่ใช้วิธีการทดสอบความรู้ ในทางวิชาการแต่เพียง ด้านเดียว (4) ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อจัด ส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้ซึ่งได้รับคุณวุฒิระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานด้านสามัญศึกษาหรืออาชีวศึกษาตาม (1) เพื่อให้ได้รับการศึกษาสูงกว่าระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรณีที่เด็กตามกฎหมายว่าด้ วยการศึกษาภาคบังคับเข้ารับการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับกับ หน่วยจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าผู้ปกครองตามกฎหมายดังกล่าวได้ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้อง ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับแล้ว แต่ในการจัดการเรียนรู้สาหรับเด็กดังกล่าว กรมต้องจัด กระบว นการเรียนรู้ หลักสูตร และระยะเวลาการเรียนให้สอดคล้องกับความจาเป็นและความต้องการ ของผู้เรียน โดยให้กรมและสถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ร่วมกันออกแบบให้เหมาะสมและ มีประสิทธิภาพ มาตรา 13 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย การส่งเสริมการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นสิทธิของบุคคลและคณะบุคคลที่จะดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายใน การ จัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ มาตรา 14 ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตามมาตรา 6 ให้หน่วยจัดการเรียนรู้มีอานาจ รับรองคุณวุฒิให้แก่ผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยออกเป็นประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตร หรือ ออกหนังสือรับรองความรู้เพื่อนำไปสะสมในการได้รับการรับรองคุณวุฒิ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ้ หนา 64 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

มาตรา 15 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรมจัดให้มี ระบบ ดังต่อไปนี้ (1) ระบบการเทียบระดับการศึกษา เทียบเคียงหรือเทียบโอนผลการเรียน ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ สมรรถนะ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้จากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่งตามมาตรา 6 หรือจากหน่วยจัดการเรียนรู้หนึ่งไปยังอีกหน่วยจัดการเรียนรู้หนึ่ง หรือจากหน่วยจัดการเรียนรู้หนึ่งไปยัง สถานศึกษา หรือจากสถานศึกษามายังหน่วยจัดการเรียนรู้ หรือเพื่อประโยชน์ในการสะสมความรู้ (2) ระบบนำผลการเทียบเคียงตาม (1) ไปสะสมเพื่อประโยชน์ในการได้รับการรับรองคุณวุฒิ หรือเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ ในการ ทำระบบดังกล่าวให้ทำร่วมกับสถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ มาตรา 16 ให้กรมมีหน้าที่รับผิดชอบการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ ตามมาตรา 6 และตามที่มีกฎหมายอื่นกำหนด รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มี ส่งเสริม และสนับสนุนให้ มีการผลิตและพัฒนาหลักสูตร โปรแกรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ บรรดาที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้ที่อยู่ใน ความรับผิดชอบของกรม รวมทั้งนำหลักสูตร โปรแกรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และวิธีการ จัดกระบวนการเรียนรู้ที่ หน่วยงานอื่นจัดทำไว้มาใช้ประโยชน์ได้ (2) จัดทาแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ รวมทั้งร่วมกับ ภาคีเครือข่ายในการติดตาม ตรวจสอบ ให้คาแนะนำ และประเมินผลสัมฤทธิ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ (3) จัดให้มี ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนามาใช้ประโยชน์ ในการส่งเสริมการเรียนรู้ (4) จัด ส่งเสริม และสนับสนุน การเรียนการสอน สภาพแวดล้อม ตลอดจนเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดเพื่อให้คนพิการ หรือบุคคลซึ่ง มี ความต้องการจำเป็นพิเศษ สามารถเรียนรู้ได้โดยสะดวกและเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทุกประเภทได้อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่มีภาระค่าใช้จ่ายเกินสมควร ้ หนา 65 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

(5) ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งเรียนรู้ เพื่อ ให้ผู้เรียน สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ทุกรูปแบบ ทุกที่ และทุกเวลา รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ เป็นการทั่วไป (6) กาหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หรือหนังสือรับรอง ความรู้ให้แก่ผู้เรียนตามมาตรา 14 (7) ดาเนินการเทียบระดับกา รศึกษา การเทียบเคียงหรือเทียบโอนผลการเรียนตามมาตรา 15 (8) จัดทำหลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพ การศึกษาของหน่วยจัดการเรียนรู้หรือภาคีเครือข่าย (9) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะของ บุคลากรซึ่งทาหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถส่งเสริมการเรียนรู้และแนะแนวการเรียนรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาได้ (10) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือที่มีกฎหมายอื่นกำหนด การผลิตและพัฒนาหลักสูตรตาม (1) และจัดทาหลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ตาม (8) ให้หารือกับสถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ก่อน หน้าที่และอานาจของกรมไม่เป็นการตัดอานาจหน่วยงานอื่นของรัฐหรือตัดสิทธิของบุคคลใด ในการดาเนินการดังกล่าวตามอำนาจหรือสิทธิที่มีอยู่ ตามกฎหมายอื่น มาตรา 17 ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด ดังต่อไปนี้ (1) ในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้แทน กระทรวงแรงงาน ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนภาคีเครือข่าย ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจานวนไม่เกินแปดคนเป็นกรรมการ ซึ่งในจานวนนี้ต้องแต่งตั้งจากผู้แทนหน่วยงาน ของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา อย่างน้อยด้านละ หนึ่งคน และผู้ชานาญการในภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ละด้านตามความเหมาะสม และให้ผู้อานวยการ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการ ้ หนา 66 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

(2) ในจังห วัดอื่น ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ ปลัดจังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด แรงงานจังหวัด ศึกษาธิการ จังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้แทนภาคีเครือข่าย ซึ่งรั ฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินแปดคนเป็นกรรมการ โดยต้องแต่งตั้งจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่ของจังหวัด ซึ่งในจานวนนี้ต้องแต่งตั้งจากผู้แทนหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน และผู้ชำนาญการ ในภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ละด้าน ตามความเหมาะสม และให้ผู้อานวยการสานักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจาจังหวัด เป็นกรรมการและ เลขานุการ คุณสมบัติอื่น การแต่งตั้ง วาระการดารงตำแหน่ง การพ้นจากตาแหน่งของผู้แทนภาคี เครือข่าย และการประชุมของคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศ กำหนด มาตรา 18 คณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) พิจารณา ให้ข้อเสนอแนะในการจัดทา และให้ความเห็นชอบแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ ของจังหวัด ( 2) ส่งเสริมและสนับสนุนการดาเนินงานของหน่วยจัดการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์และ เป้าหมายตามแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังหวัด (3) ส่งเสริมและสนับสนุนภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดให้มีและพัฒนา แหล่งเรียนรู้ภายในพื้นที่จังหวัดให้สอดคล้องกับแผ นการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังหวัด (4) ติดตามการดาเนินงานในการส่งเสริมการเรียนรู้ของหน่วยจัดการเรียนรู้และภาคีเครือข่าย ให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังหวัด (5) เสนอแนะให้มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามมาตรา 20 วรรคสอง (6) เสนอ แนะให้มีการจัดตั้งศูนย์หรือสถาบันการเรียนรู้เฉพาะด้านหรือเฉพาะกิจการ ตามมาตรา 23 (7) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่อธิบดีมอบหมาย มาตรา 19 ในทุกจังหวัดให้มีสานักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจาจังหวัดทาหน้าที่เป็น หน่วยงานธุรการของคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด เพื่อกากับ ดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม ้ หนา 67 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

สนับสนุน อานวยความสะดวก และแนะนาการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ ระดับอาเภอ ศูนย์การเรียนรู้ระดับตาบล และศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ ทั้งในด้านวิชาการ เทคโนโลยี ที่จำเป็นในการส่งเสริมการเรี ยนรู้ การบริหารงาน และการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมตลอดทั้งการจัดทาแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังหวัดซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนการส่งเสริม การเรียนรู้ของกรม บริบทของท้องถิ่นและแผนการศึกษาแห่งชาติ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่อธิบดี มอบหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้สานักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจาจังหวัดมีหน้าที่และ อานาจในการประสาน สนับสนุน และร่วมมือ หรือมอบหมายให้ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมหรือ เป็นผู้ดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้ได้ ในการจัดทาแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังห วัดตามวรรคหนึ่งต้องรับฟังความคิดเห็นหรือ ข้อเสนอแนะของภาคีเครือข่ายประกอบด้วย และเมื่อจัดทาร่างแผนการส่งเสริมการเรียนรู้แล้วเสร็จ ให้เสนอคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบและใช้บังคับต่อไป มาตรา 20 ในการปฏิบัติหน้าที่ส่งเสริม การเรียนรู้ในระดับอำเภอ ให้มีศูนย์ส่งเสริม การเรียนรู้ระดับอาเภอมีสถานะเป็นสถานศึกษา เพื่อจัดการเรียนรู้ และกากับ ดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน อานวยความสะดวก และแนะนา ในการปฏิบัติหน้าที่ของศูนย์การเรียนรู้ระดับตาบลและ ศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ ทั้งในด้านวิชาการ และเทคโนโลยีที่จาเป็นในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เป็นไป ตามแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังหวัด รวมทั้งประสานความร่วมมือและแนะนาการจัดการเรียนรู้ ของภาคีเครือข่ายในพื้นที่และทำหน้าที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ของตาบลอันเป็นที่ตั้งของศูนย์ส่ งเสริม การเรียนรู้ระดับอำเภอหรือตาบลใกล้เคียงตามที่อธิบดีกำหนด และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่อธิบดีมอบหมาย ในกรณีจาเป็นเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอาเภอ จะจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้น ณ ที่ใดที่เห็นสมควรหรือตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดก็ได้ ให้นำความในมาตรา 19 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอด้วยโดยอนุโลม มาตรา 21 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ กรมอาจจัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ระดับ ตาบล สำหรับพื้นที่ของตาบลหนึ่งหรือหลายตำบลตามความจำเป็นและเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ก็ได้ ้ หนา 68 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

ในกรณีที่เป็นพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร พื้นที่เสี่ยงภัย หรือพื้นที่ที่มีความยากลำบาก ในการปฏิบัติงาน กรมจะประกาศจัดตั้งศูนย์การเรี ยนรู้ในพื้นที่นั้นก็ได้ มาตรา 22 ให้หน่วยจัดการเรียนรู้สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและสังคม รวมทั้ง ร่วมมือกับผู้ชำนาญการในภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาคีเครือข่าย และสถานศึกษา ในการส่งเสริมการเรียนรู้ การถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ หรือภูมิปัญญาให้แก่ผู้เรี ยนหรือประชาชนด้วย มาตรา 23 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้เฉพาะด้านหรือเฉพาะกิจการ อธิบดี โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีจะจัดตั้งศูนย์หรือสถาบันการเรียนรู้เฉพาะด้านหรือเฉพาะกิจการขึ้นตามที่ เห็นสมควรหรือตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดก็ได้ มาตรา 24 หน่วยจัดการเรียนรู้ใดนอกจากศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอาเภอ จะมี สถานะเป็ นสถานศึกษา ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา 25 เพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ตามมาตรา 6 กรมมีอานาจเชิญบุคคลผู้มี ความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงตามความถนัดของตนหรือในการประกอบอาชีพที่หลากหลายซึ่งไม่มี ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติมาให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้ และ ให้บุคคลดังกล่าวจัดการเรียนรู้ การถ่ายทอดประสบการณ์ ควำมรู้ หรือภูมิปัญญาให้แก่ผู้เรียนได้ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู อำนาจของกรมตามวรรคหนึ่ง กรมจะมอบอำนาจให้หน่วยจัดการเรียนรู้ก็ได้ ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองให้ใช้บังคับแก่การจัดการเรียนรู้ตามมาตรา 6 (1) หรือ (2) ที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดำเนิ นการด้วยโดยอนุโลม ในกรณีเช่นนั้นอำนาจของกรมตามวรรคหนึ่ง ให้เป็น อำนาจของหน่วยงานของรัฐนั้น มาตรา 26 บุคลากรซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมและในหน่วยจัดการเรียนรู้จะเป็นข้าราชการ ประเภทใดให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น มาตรา 27 ให้เปลี่ยนสานักงานส่งเสริมการศึก ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในสานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัตินี้ มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชกำรแผ่นดิน อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรี และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ้ หนา 69 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

มาตรา 28 ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และ ภาระผูกพันทั้งปวง รวมถึงข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของสานักงาน ปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิกา ร เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย ไปเป็นของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ ให้ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ หรือลูกจ้าง อยู่ในวันก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ หรือลูกจ้าง แล้วแต่กรณี ต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายตามมาตรา 26 กาหนด เป็นอย่างอื่น และให้มีสิทธิได้รั บเงินเดือน เงินประจาตาแหน่ง เงินวิทยฐานะ และประโยชน์ตอบแทนอื่น ไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่เดิม มาตรา 29 บรรดาคดีของสานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เฉพาะในส่วน ที่เกี่ยวกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่ได้ฟ้องหรือถูกฟ้ องเป็นคดี ต่อศาลไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่ากรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นผู้ฟ้องหรือถูกฟ้องในคดีดังกล่าว และให้ถือว่าผู้รับมอบอำนาจให้ดาเนินคดีแทน สานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสานักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในคดีนั้น ๆ เป็นผู้รับมอบอานาจจากกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 30 ให้ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยำศัยตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ มาตรา 31 ในวาระเริ่มแรกในระหว่างที่ยังไม่มีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาหลักสูตรและ การเรียนรู้ตามกฎหมายว่าด้วยกา รศึกษาแห่งชาติ ให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทาหน้าที่เป็นสถาบันพัฒนา หลักสูตรและการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหน้าที่และอำนาจตามที่พระราชบัญญัตินี้บัญญัติไว้ มาตรา 32 ในวำระเริ่มแรกให้แต่งตั้งผู้แทนภาคีเครือข่ายในคณะกรรมการส่งเสริม การเรียนรู้จังหวัดตามมาตรา 17 ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ้ หนา 70 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

มาตรา 33 ให้สถานศึกษาและศูนย์การเรียนชุมชนตามที่ประกาศกาหนดตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการศึกษานอ กระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นหน่วยจัดการเรียนรู้ ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการจัดตั้งหน่วยจัดการเรียนรู้ขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา 34 ให้นำกฎหมายว่าด้ วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมาใช้บังคับแก่การบริหาร ราชการของกรมส่งเสริมการเรียนรู้โดยอนุโลมไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้นากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึก ษา หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับแก่การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาหรือข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ แล้วแต่กรณี มาตรา 35 บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คาสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึง “ สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ” หรือ “ เลขาธิการสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ” ให้ถือว่าอ้างถึง “ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ” หรือ “ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ” แล้วแต่กรณี มาตรา 36 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 71 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติ ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 54 วรรคสาม ประกอบกับ มาตรา 258 จ. ด้านการศึกษา (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐต้องดาเนินการ ให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่า ง รัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดกำรศึกษา โดยสร้างโอกาส ให้ผู้ซึ่งอยู่ในวัยเรียนแต่ไม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียน หรือผู้ซึ่งพ้นวัยที่จะศึกษาในโรงเรียนหรือ อยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลหรือทุรกันดาร มีโอกาสเรียนรู้และเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงและพัฒนาศักยภาพ ทักษะ ความเชี่ยวชาญได้ตามความถนัด สมควรปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และปรับปรุงโครงสร้างของ หน่วยจัดการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ้ หนา 72 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566