พระราชบัญญัติสถาปนิก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566
พระราชบัญญัติสถาปนิก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566
พระราชบัญญัติ สถาปนิก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 25 6 6 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยสถาปนิก พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรี ภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทาได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้มีมาตรการในการกำกับดูแลและจัดระเบียบกำรประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมให้เป็นไป ตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ ้ หนา 48 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติสถาปนิก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “ สถาปนิกต่างชาติขึ้นทะเบียน ” “ สถาปนิกขึ้น ทะเบียน ” และ “ สภานายกพิเศษ ” ระหว่างบทนิยามคาว่า “ ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ” และ “ สมาชิก ” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 “ “ สถาปนิกต่างชาติขึ้นทะเบียน ” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย ซึ่งได้รับอนุญาตหรือขึ้ นทะเบียนให้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมจากประเทศที่สภาสถาปนิก ประกาศกาหนด ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสภาสถาปนิกให้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี “ สถาปนิกขึ้นทะเบียน ” หมายความว่า ผู้ ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และได้รับการขึ้นทะเบียนจากสภาสถาปนิกให้ประกอบ วิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศที่สภาสถาปนิกประกาศกำหนด ทั้งนี้ ตามความตกลงระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี “ สภานายกพิเศษ ” หมายความว่า สภานำยกพิเศษแห่งสภาสถาปนิก ” มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3/1) ของมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 “( 3/1) กำหนดมาตรฐานวิชาการขั้นพื้นฐานเพื่อการรับรองการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ” มาตรา 5 ให้ยกเลิกความใน (4) ของมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติ สถาปนิก พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “( 4) ควบคุมความประพฤติและการดาเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม และสมาชิกให้ถูกต้องตามมาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรม ” มาตรา 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7/1) ของมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 ้ หนา 49 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566
“( 7/1) ดาเนินการให้เป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับวิชาชีพสถาปัตยกรรม ที่ประเทศไทยเป็นภาคี ” มาตรา 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6/1) ของมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 “( 6/1) ปฏิบัติหน้าที่ตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ประเทศไทย เป็นภาคี โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงได้รับ ” มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 10 ให้รัฐมนตรีดารงตา แหน่งสภานายกพิเศษและมีอานาจหน้าที่ตามที่บัญญัติ ไว้ ในพระราชบัญญัตินี้ ” มาตรา 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 “( 7) ประพฤติตนตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรมตามที่กำหนดในข้อบังคับ สภาสถาปนิก ” มาตรา 10 ใ ห้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 13/1 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 “ มาตรา 13/1 ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 51 มาตรา 52 มาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 60 มาตรา 61 (1) (2) และ (3) และมาตรา 62 มาใช้บังคับแก่สมาชิก ซึ่งถูกกล่าวหา กล่าว โทษ หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรมด้วยโดยอนุโลม ” มาตรา 11 ให้ยกเลิกความใน (5) ของมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “( 5) วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจรรยาบรรณตามมาตรา 62 ” มาตรา 12 ให้ยกเลิกความในมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ้ หนา 50 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566
“ มาตรา 45 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนพร้อมจะประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมสาขาใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาต ในสาขานั้นจากสภาสถาปนิก หรือเป็นการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของสถาปนิกต่างชาติ ขึ้นทะเบียนตามประกาศที่ออกตามมาตรา 49/1 วรรคสอง ” มาตรา 13 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ผู้ขอรับใบอ นุญาตซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาต้องเป็นสมาชิกสามัญหรือสมาชิกวิสามัญของ สภาสถาปนิก และต้องไม่เป็นผู้ถูกภาคทัณฑ์ซึ่งยังไม่พ้นระยะเวลาตามที่คณะกรรมการจรรยาบรรณวินิจฉัย แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ถูกภาคทัณฑ์ ทั้งนี้ ถ้าขาดจากสมาชิกภาพเมื่อใดให้ใบอนุญาตของผู้ นั้น สิ้นสุดลง ” มาตรา 14 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 49/1 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 “ มาตรา 49/1 ผู้ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นสถาปนิกต่างชาติขึ้นทะเบียนและสถาปนิก ขึ้นทะเบียน ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่คณะกรรมการประกาศกำหน ด โดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษ การขึ้นทะเบียน อายุการขึ้นทะเบียน การพักใช้การขึ้นทะเบียน และการเพิกถอนการขึ้น ทะเบียนสถาปนิกต่างชาติขึ้นทะเบียนและสถาปนิกขึ้นทะเบียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกาหนดโดยความเห็นชอบของ สภานายกพิเศษ ประกาศตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามความตกลงระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี ” มาตรา 15 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 50/1 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 “ มาตรา 50/1 ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 50 มาตรา 51 มาตรา 52 มาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 60 มาตรา 61 มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 64 และมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับแก่สถาปนิกต่างชาติขึ้นทะเบียนด้วยโดยอนุโลม ” ้ หนา 51 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566
มาตรา 16 ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติ สถาปนิก พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ กรรมการหรือบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมว่า ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรมโดยแจ้งเรื่องต่อสภาสถาปนิก สิทธิการกล่ำวหาตามวรรคหนึ่งหรือสิทธิการกล่าวโทษตามวรรคสองสิ้นสุดลงเมื่อพ้นสามปี นับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่องการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ สถาปัตยกรรมดังกล่าวและรู้ตัวผู้ประพฤติผิด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่มีการประพฤติผิด จรรยาบร รณนั้น ” มาตรา 17 ให้ยกเลิกความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 53 ให้มีคณะกรรมการจรรยาบรรณ ประกอบด้วยประธานกรรมการจรรยาบรรณ คนหนึ่งและกรรมการจรรยาบรรณตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนด แต่ไม่น้อยกว่าสามคน ให้คณะก รรมการแต่งตั้งกรรมการจรรยาบรรณตามมติของที่ประชุมใหญ่สภาสถาปนิก จากสมาชิกซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี (2) ไม่เคยถูกลงโทษฐานประพฤติผิดจรรยาบรรณ (3) ไม่เป็นกรรมการ ในการ แต่งตั้งกรรมการจรรยาบรรณ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา เพื่อดาเนินการสรรหาจากสมาชิกตามวรรคสองเพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สภาสถาปนิก ทั้งนี้ คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของคณะกรรมการสรรหา รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการในการสรรหา ให้เป็นไป ตามที่กาหนดในข้อบังคับสภาสถาปนิก ” มาตรา 18 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 57 คณะกรรมการจรรยาบรรณมีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยกรณีที่มีการกล่าวหา หรือกล่าวโทษว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรม ” ้ หนา 52 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566
มาตรา 19 ใ ห้ เ พิ่ ม ค วำ ม ต่ อ ไ ป นี้ เ ป็ น มำ ต รำ 6 1 / 1 แ ล ะ มำ ต รำ 6 1 / 2 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 “ มาตรา 61/1 ก รรมการจรรยาบรรณหรืออนุกรรมการจรรยาบรรณผู้ใดมีส่วนได้เสีย เป็นการส่วนตัวในเรื่องที่ปรึกษาหารือเรื่องหนึ่งเรื่องใด ห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณา ปรึกษาหารือ หรือลงคะแนนเสียงในเรื่องนั้น มาตรา 61/2 ให้นำความในมาตรา 35 มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการ จร รยาบรรณและคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณด้วยโดยอนุโลม ” มาตรา 20 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 62 ผู้กล่าวหาหรือผู้กล่าวโทษหรือผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งคณะกรรมการจรรยาบรรณ วินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 61 อาจอุทธรณ์คาวินิจฉัยชี้ขาดต่อคณะกรรมการได้ภายในสามสิบวันนับแต่ วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ” มาตรา 21 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญั ติสถาปนิก พ.ศ. 2543 “ การอุทธรณ์คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการจรรยาบรรณไม่เป็นการทุเลาการปฏิบัติ ตามคาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการจรรยาบรรณตามมาตรา 61 (2) (3) (4) และ (5) เว้นแต่ คณะกรรมการจะสั่งเป็นอย่างอื่น ” มาตรา 22 ให้ยกเลิกความในมาตรา 71 แห่งพร ะราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 71 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 45 หรือมาตรา 63 หรือสถาปนิกต่างชาติขึ้นทะเบียน ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 63 ซึ่งได้นามาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลมตามมาตรา 50/1 ต้องระวางโทษจาคุก ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่ นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ” มาตรา 23 ให้ยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน ้ หนา 53 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566
มาตรา 24 ให้คณะกรรมการจรรยาบรรณซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตาแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจรรยาบรรณ ตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 25 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 54 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566
หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติ ฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันประเทศไทยต้องปฏิบัติ ให้เป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศด้านการค้าบริการสาขาสถาปัตยกรรม โดยกาหนดให้สถาปนิกต่างชาติ ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามความตกลงระหว่างประเทศดังกล่าวสามารถเข้ามาประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ในประเทศไทย และให้ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมที่ได้รับ ใบ อนุญาตจาก สภา สถาปนิกสามารถ ขึ้นทะเบียนเพื่อไปประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศภาคีความตกลงระหว่างประเทศได้ แต่ โดยกฎหมายว่าด้วยสถาปนิกที่ใช้บังคับอยู่ขณะนี้ยังไม่มีบทบัญญัติที่รองรับการดาเนินการ ตาม ความตกลง ระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นภาคีดังกล่าว รวมทั้งความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่อาจมีขึ้นในอนาคต สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้มีการรองรับกรณีดังกล่าว และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่น เพื่อให้สอดคล้องกับ สภาพการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และอานาจหน้าที่ของ สภา สถาปนิก กาหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขึ้นท ะเบียน คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และมาตรการทางจรรยาบรรณ ของสถาปนิกต่างชาติและสถาปนิกขึ้นทะเบียน และกาหนดให้สมาชิก สภาสถาปนิกทุกคนต้องประพฤติตน ตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรมเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและความเที่ยงตรงแห่งวิชาชีพ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติม อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ้ หนา 55 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566