พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566
พระราชบัญญัติ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 25 6 6 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติกองทุนบาเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566 ” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประ กาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 38/2 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบาเหน็จ บำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ้ หนา 26 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566
“ มาตรา 38/2 บุคคลใดซึ่งเข้ารับราชการและมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนสารองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายและมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือชราภาพ ได้แสดงความประสงค์ให้โอนเงินดังกล่าว ทั้งจำนวนมายังกองทุน ให้กองทุนรับโอนเงินดังกล่าวเข้าเป็นเงินสะสมและดอกผลของเงินสะสม ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกผู้ นั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกาหนด ” มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติกองทุน บาเหน็จบานาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบาเหน็จบานาญ ข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 และให้ใ ช้ความต่อไปนี้แทน “ ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดประสงค์ที่จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราตามวรรคหนึ่ง ให้ดาเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกาหนด แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้ รวมกันแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละสามสิบของเงินเดือน ” มาตรา 5 ให้เพิ่ม ความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติ กองทุนบาเหน็จบานาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 “ ถ้าผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งยังไม่ยื่นคาขอรับเงิน ให้กองทุนบริหารเงินนั้นต่อไปได้ตามแผน การลงทุนที่สมาชิกผู้นั้นได้เลือกไว้ก่อนวันที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ” มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 67/1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบาเหน็จบำนาญ ข้าราชการ พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบาเหน็จบานาญข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 67/1 ในกรณีที่สมาชิกซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงและมีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามมาตรา 45 ยังไม่ขอรับเงินคืน หรือขอทยอยรับเงินคืน ให้กองทุนบริหารเงินที่ยังไม่รับคืนตามแผนการลงทุนเดิมต่อไปได้ ในกรณี เ ช่นว่านี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิเลือกแผนการลงทุนตามมาตรา 70 วรรคสามได้ แต่ถ้าผู้นั้นขอโอนเงินไปยัง กองทุนสารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายและมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกัน ในกรณีการออกจากงานหรือชราภาพ ให้กองทุนโอนเงินไปยังกองทุนดังกล่าว ภายในเจ็ดวันทาการ ้ หนา 27 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566
นับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความประสงค์และได้ปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกาหนด ในกรณีที่กองทุนบริหารเงินของสมาชิกซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงต่อไปตามวรรคหนึ่งและต่อมา ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ถ้าผู้มีสิทธิรับมรดกตามมาตรา 59 ยังไม่ยื่นคาขอรับเงินดังกล่าว ให้กองทุน บริหารเงินนั้นต่อไปได้ตามแผนการลงทุนที่สมาชิกผู้นั้นได้เลือกไว้แล้วจนกว่าผู้มีสิทธิรับมรดกนั้น จะยื่นคาขอรับเงินดังกล่าว ” มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบาเ หน็จบานาญ ข้าราชการ พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบาเหน็จบานาญข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 70 เงินของกองทุนที่อยู่ในบัญชีเงินสารองตามมาตรา 71 (1) ให้ลงทุนได้ ดังต่อไปนี้ (1) เงินฝากธนาคารแห่ งประเทศไทยหรือธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือบัตรเงินฝาก ที่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก (2) พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (3) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย (4) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณเป็นผู้ออก เงินของกองทุนที่อยู่ในบัญชีเงินกองกลางตามมาตรา 71 (2) ให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ ที่กาหนดในกฎกระทรวง ซึ่งอย่างน้อยต้องกาหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ากว่า ร้อยละหกสิบ เงินของกองทุนที่ อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลตามมาตรา 71 (3) ให้กองทุนจัดให้มีแผนการลงทุน เพื่อให้สมาชิกเลือก โดยอาจกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงแตกต่างกันได้ แต่อย่างน้อยต้องมีแผนการลงทุนที่กาหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ากว่าร้อยละหกสิบ และแผนการลงทุนที่กาหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเหมาะสมกับช่วงอายุของสมาชิก แต่ถ้าสมาชิกไม่ได้ใช้สิทธิเลือกแผนการลงทุน ให้ถือว่าสมาชิกยินยอมให้กองทุนนำเงินดังกล่าว ไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเหมาะสมกับช่วงอายุของสมาชิก ้ หนา 28 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566
การกำหนดให้หลักทรั พย์ใดเป็นหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงตามวรรคสองและวรรคสาม ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง การจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือก แผนการลงทุนแก่สมาชิก และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่คณะกรรมการกาหนด ” มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 70/8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุน บาเหน็จบานาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบาเหน็จบานาญ ข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 70/8 ให้ส มาชิกตามมาตรา 70/6 ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนโดยคานวณตามบัญชี อัตราเงินเดือนและตามอัตราที่กาหนดในกฎกระทรวง แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมดังกล่าวจะต้องไม่เกิน ร้อยละสามสิบของเงินเดือน ” มาตรา 9 ให้ผู้ที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่ในวันก่อนวันที่ พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงอยู่ในแผนการลงทุนเดิมก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับต่อไปจนกว่า จะแสดงความประสงค์เลือกแผนการลงทุนตามมาตรา 70 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 10 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 29 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566
หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศ ใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติของพระราชบัญญัติกองทุน บาเหน็จบานาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยกาหนดให้กองทุนสามารถรับโอนเงินของสมาชิกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายและมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือชราภาพได้ กำหนดให้สมาชิก สามารถส่งเงินสะสมเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของเงินเดือน และเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถเลือก แผนการลงทุนได้หลากหลายขึ้น และสามารถลงทุนได้ทั้งเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าว และในกรณีที่สมาชิกไม่ได้ใช้สิทธิ เลือกแผนการลงทุนให้ถือว่า สมาชิกยินยอมให้กองทุนนาเงินดังกล่าวไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เหมาะสมกับช่วงอายุของสมาชิก นอก จากนี้ ในกรณีที่สมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพและยังไม่รับเงินที่ตนมีสิทธิได้รับคืนหรือขอทยอยรับเงินคืน สมาชิกมีสิทธิเลือกแผนการลงทุนที่ กองทุน จัดให้เพื่อให้กองทุนบริหารเงินนั้นต่อไปได้ สาหรับกรณีที่สมาชิก ถึงแก่ความตายและผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกยังไม่ยื่นคำขอรับเงินให้กองทุนบริหารเงินนั้นต่อไปได้ ตามแผนการลงทุนที่สมาชิกผู้นั้นได้เลือกไว้ก่อนวันที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย จึงจำเป็นต้องตราพ ระราชบัญญัตินี้ ้ หนา 30 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566