Sat Mar 18 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566


พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566

พระราชบัญญัติ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 25 6 6 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทาได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจาเป็นในการจากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้ มีกลไกการชาระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ อันจะทาให้กองทุน มีความมั่นคงและสามารถให้โอกาสในการเข้าถึงเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนหรือนั กศึกษา ได้ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญั ตินี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “ นักเรียนหรือนักศึกษา ” และ “ สถานศึกษา ” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ นักเรียนหรือนักศึกษา ” หมายความว่า ผู้ซึ่งศึกษาอยู่ในสถานศึกษา หรือผู้ซึ่งได้รับการตอบรับ ให้เข้าศึกษาในสถานศึกษาแล้ว และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งมีหลั กฐานว่าจะเข้าศึกษาในหลักสูตรอาชีพ หรือเพื่อยกระดับทักษะ สมรรถนะ หรือการเรียนรู้ในสถานศึกษาด้วย “ สถานศึกษา ” หมายความว่า โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา หรือสถานศึกษาอื่นของรัฐ โรงเรียนของเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และให้หมายความรวมถึงบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งจัดให้มีการศึกษาในหลักสูตรอาชีพหรือเพื่อยกระดับ ทักษะ สมรรถนะ หรือการเรียนรู้ ตามที่คณะกรรมการกำหนดด้วย ” มาตรา 4 ให้ยกเลิกวรรคสามของมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 มาตรา 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 6/1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 “ มาตรา 6/1 กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกำรศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืม เพื่อการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) ขาดแคลนทุนทรัพย์ (2) ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ (3) ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

(4) เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ (5) ลักษณะอื่นตามความจำเป็นและเหมาะสม ในกรณีตาม (3) คณะกรรมการจะกำหนดให้เป็นทุนการศึกษาแทนการให้เงินกู้ยืม เพื่อการศึกษาก็ได้ แต่ต้องกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขให้ชัดเจนและใช้บังคับเป็นการทั่วไป โดยจะกำหนดให้ผู้ได้รับทุนต้องปฏิบัติงานในหน่วยงานตามเวลาที่กำหนดด้วยหรือไม่ก็ได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามวรรคสองให้รวมถึงการทาสัญญาและความรับผิดในกรณีไม่ปฏิบัติ ตามสัญญาด้วย ” มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 9 กองทุนมีอานาจกระทากิจการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา 6/1 และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (1) ซื้อ จัดหา เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง จำหน่ำย ทำนิติกรรม หรือดาเนินงานใด ๆ เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ (2) จัดทาระบบข้อมูลสารสนเทศ เก็บรักษาหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืม เพื่อการศึกษา (3) จัดหาผลประโยชน์จากเงินและทรัพย์สินของกองทุน (4) กระทาการอื่นใดบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สาเร็จตามวัตถุประสงค์ ของกองทุน ” มาตรา 7 ให้ยกเลิกความใน (1) ของมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติกองทุน เงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “( 1) เป็นเงินกู้ยืมเพื่อการศึ กษา และทุนการศึกษาตามมาตรา 6/1 วรรคสอง ” มาตรา 8 ให้ยกเลิกความใน (3) ของมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “( 3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความ รู้ ความสามารถ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ โดยในจำนวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการศึกษา ด้านการจัดสวัสดิการสังคม ด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ด้านการเงินหรือการบัญชี ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

ด้านแรงงานหรือการพัฒนาฝีมือแรงงาน ด้านภาคประชาสังคมที่มีบทบาทในการแ ก้ไขปัญหาหนี้สิน ที่เกิดขึ้นจากการศึกษา และด้านกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน ” มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 19 คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และควบคุมดูแลกิจการของกองทุนให้เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ (2) ติดตามและประเมินผลการดาเนินงานของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ (3) เสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการดาเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อสมทบกองทุน (4) พิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจาปีสาหรับการดาเนินการและการบริหารงาน ของกองทุน (5) กำหนดลักษณะของนักเรียนหรือนักศึกษาตามมาตรา 6/1 (6) กำหนดขอบเขตการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง (7) กาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามมาตรา 12 มาตรา 31 มาตรา 33 วรรคสอง มาตรา 38 วรรคหนึ่ง มาตรา 39 มาตรา 43/1 วรรคสอง มาตรา 44 วรรคสอง วรรคสี่ และวรรคแปด มาตรา 49 วรรคหนึ่ง และมาตรา 51 วรรคหนึ่งและวรรคหก (8) กำหนดมาตรการใด ๆ ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนและ กำรติดตามการชาระเงินคืนกองทุน (9) กำหนดมาตรการช่วยเหลือให้ผู้กู้ยืมเงินมีงานทำและสามารถชำระเงินคืนกองทุน โดยมาตรการดังกล่าวกำหนดให้ดาเนินการร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานเอกชน หรือสถานศึกษาที่เข้าร่วมดาเนินงานกับกองทุนตามมาตรา 3 8 ในการช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินดังกล่าว (10) พิจารณาเสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ในครอบครองของบุคคลอื่น และเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับการรับเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำ ระเงินคืนกองทุนของผู้กู้ยืมเงินตามมาตรา 45 (11) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การเงิน การพัสดุ การบัญชี การตรวจสอบบัญชีและข้อบังคับอื่นที่จำเป็นในการดาเนินการและการบริหารงานของกองทุน ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

(12) พิจารณาผลการศึกษา วิเคราะห์ และประเมินความต้อ งการเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ของนักเรียนหรือนักศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่ผู้จัดการเสนอ (13) ออกข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิบัติการอื่นใดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ (14) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดลักษณะนักเรียนหรือนักศึกษาตาม (5) คณะกรรมการต้องกำหนดให้ผู้ซึ่ง ขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริงมีโอกาสกู้ยืมเงินได้ โดยต้องไม่คานึงถึงเฉพาะรายได้ต่อครอบครัวของ ผู้กู้ยืมเงินเพียงด้านเดียว แต่ต้องคำนึงถึงรายจ่ายของครอบครัวด้วย และรายได้ต่อครอบครัว ที่กำหนดเมื่อหัก รายจ่ายของครอบครัวแล้วหากไม่เพียงพอที่จะรับผิดชอบในการศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษานั้นได้ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ในการดาเนินการตามหน้าที่และอานาจ ให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนหรือ นักศึกษา ผู้กู้ยืมเงิน และส ถานศึกษา ประกอบการพิจารณาดาเนินการด้วย คณะกรรมการอาจมอบอานาจตาม (2) (6) (8) และ (14) เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับ การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นใดกระทำการแทนคณะกรรมการก็ได้ ” มาตรา 10 ให้ยกเลิกมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 มาตรา 11 ให้ยกเลิกมาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 มาตรา 12 ให้ยกเลิกความในมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 26 ให้นาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 15 รวมทั้งการประชุมและการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ ประชุมตามมาตรา 20 มาใช้บังคับแก่คณะอนุกรรมการ ตามมาตรา 21 ด้วยโดยอนุโลม ” มาตรา 13 ให้ยกเลิกความในมาตรา 37 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติกองทุน เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

“ มาตรา 37 ให้คณะกรรมการประกาศกาหนดลักษณะข องเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ขอบเขต การให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา รวมตลอดทั้งประเภทวิชา สถานศึกษาหรือระดับชั้นการศึกษา และ หลักสูตรที่จะให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ภายในเดือนมกราคมของทุกปี โดยอาจประกาศเพิ่มเติมได้ แต่ต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันเริ่มปีการศึกษาแต่ละปี ให้สานักงานส่งประกาศตามวรรคหนึ่งให้สถานศึกษาที่เข้าร่วมดาเนินงานกับกองทุน และ ให้สานักงานและสถานศึกษาดังกล่าวเผยแพร่ให้ประชาชนทราบทั่วไป โดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของสานักงานหรือสถานศึกษา และ ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สานักงานหรือบริเวณสถานศึกษา แล้วแต่กรณีด้วย มาตรา 38 สถานศึกษาที่ประสงค์จะเข้าร่วมดาเนินงานกับกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอเข้าร่วมดาเนินงานต่อสำนักงาน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด สถานศึกษาที่ได้ รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมดาเนินงานกับกองทุนตามวรรคหนึ่ง ให้ทำบันทึก ข้อตกลงกับกองทุนตามแบบที่กองทุนกาหนด และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่กาหนดไว้ในบันทึกข้อตกลง โดยเคร่งครัด หากสถานศึกษาใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องครบถ้วน กองทุนอาจเพิกถอนการเข้าร่วม ดาเนิน งานของสถานศึกษาแห่งนั้นก็ได้ ” มาตรา 14 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 38/1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 “ มาตรา 38/1 เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาใช้ประกอบการพิจารณาขอกู้ยืมเงิน ให้สานักงานรวบรวมและเผยแพร่ข้ อมูลสถิติที่สานักงานมีอยู่ เกี่ยวกับการมีงานทา และประเภทของงาน ที่ทาของผู้กู้ยืมเงินภายหลังที่สาเร็จการศึกษาแล้ว รวมทั้งคาดการณ์งานที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต โดยให้เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเป็นระยะ ๆ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ” มาตรา 15 ให้ยกเลิกความในมาตรา 40 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติกองทุน เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 40 นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ใดจะขอกู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้ยื่นคาขอต่อ สำนักงานตามวิธีการที่กองทุนกาหนด ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

มาตรา 41 นักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ต้องทา สัญญากู้ยืมเงินกับกองทุนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กองทุนกำหนด ทั้งนี้ ในการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาห้ามมิให้กองทุนเรียกให้มีผู้ค้าประกันทุกกรณี ” มาตรา 16 ให้ยกเลิกความในวรรคห นึ่งของมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติกองทุน เงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 43 เมื่อได้ลงทะเบียนเรียนหรือมีหลักฐานว่าจะเข้าศึกษาแล้ว ให้ผู้กู้ยืมเงิน แจ้งขอเบิกเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาพร้อมทั้งแจ้งจำนวนเงินค่าเล่าเรี ยน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และ ค่าครองชีพโดยมีคำรับรองจากสถานศึกษาประกอบด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กองทุนกำหนด ” มาตรา 17 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 43/1 ของหมวด 4 แห่งพระราชบัญญัติ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 “ มาตรา 43/1 กองทุนจะจ่ายเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้แก่ผู้กู้ยืมเงินไม่เกินจำนวนปีที่กาหนด ไว้ในหลักสูตรที่ผู้กู้ยืมเงินศึกษาอยู่ ในกรณีจำเป็นและสมควร กองทุนจะพิจารณาจ่ายเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาเกินจานวนปีที่กาหนด ไว้ในหลักสูตรตามที่ผู้กู้ยืมเงินร้องข อก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ กำหนด ” มาตรา 18 ให้ยกเลิกความในมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 44 เมื่อสาเร็จการศึกษา เลิกการศึกษา หรือพ้นสภาพการศึ กษาแล้ว ให้ผู้กู้ยืมเงิน มีหน้าที่ต้องชาระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ได้รับไปตามสัญญากู้ยืมเงินคืนให้กองทุนโดยจะชาระเงินคืน กองทุนทั้งจำนวนหรือผ่อนชำระก็ได้ ทั้งนี้ ตามจำนวน ระยะเวลา และวิธีการที่กองทุนกาหนด คณะกรรมการจะกาหนดให้เริ่มคิดดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้กู้ยืมเงินนับแต่เวลาใด ภายหลังที่สาเร็จการศึกษา เลิกการศึกษา หรือพ้นสภาพการศึกษาแล้วก็ได้ แต่อัตราดอกเบี้ยหรือ ประโยชน์อื่นใดที่คิด ณ วันที่ทาสัญญา ต้องไม่เกินอัตราร้อยละหนึ่งต่อปี และห้ามมิ ให้คิดดอกเบี้ย ทบต้น หรือจะยกเว้นหรือลดหย่อนดอกเบี้ยให้แก่ผู้กู้ยืมเงินที่ชำระเงินคืนกองทุนครบถ้วน หรือมีประวัติ ชาระเงินคืนกองทุนดีต่อเนื่อง หรือกรณีที่มีเหตุจาเป็นและสมควร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

ในการชาระเงิน คืนกองทุนตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้กู้ยืมเงินมีสิทธิได้รับประโยชน์จากระยะเวลา ปลอดหนี้เป็นเวลาสองปีนับแต่วันที่สาเร็จการศึกษา เลิกการศึกษา หรือพ้นสภาพการศึกษา ทั้งนี้ คณะกรรมการจะขยายระยะเวลาปลอดหนี้ให้อีกไม่เกินสองปีก็ได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควร เพื่ อบรรเทาภาระของผู้กู้ยืมเงินให้สามารถชำระเงินคืนกองทุนได้ กองทุนอาจผ่อนผัน ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินคืนกองทุนแตกต่างไปจากจำนวน ระยะเวลา หรือวิธีการที่กาหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือ ลดหย่อนหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ แปลงหนี้ใหม่ หรือระงับการชำระเงินคืนกองทุนตาม ที่ผู้กู้ยืมเงินร้องขอ เป็นรายบุคคลหรือเป็นการทั่วไปก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกาหนด การดาเนินการตามวรรคสี่ ให้กระทาได้แม้จะอยู่ในระหว่างการดาเนินคดี หรือมีคำพิพากษา ของศาลอันถึงที่สุดแล้ว หรืออยู่ในระหว่างการบังคับคดี ในกรณีที่มีการทาสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ภายหลังมีคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้วหรือ ในระหว่างการบังคับคดี หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดไม่ชาระเงินคืนกองทุนตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ถ้าระยะเวลาการบังคับคดีได้สิ้นสุดลงก่อนแล้วหรือเห ลือไม่ถึงสามปี ให้ดาเนินการบังคับคดีได้ภายใน สามปีนับแต่วันที่ผิดนัดชำระเงินคืนกองทุนตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ในกรณีที่มีการทาสัญญาแปลงหนี้ใหม่ภายหลังมีคาพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้วหรือ ในระหว่างการบังคับคดี ให้ถือว่าหนี้ตามคาพิพากษาเป็นอันระงับไป หา กมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ ให้ถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น และให้ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ชำระเงินคืนกองทุนตามที่ระบุไว้ในสัญญา แปลงหนี้ใหม่ ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินผู้ใดผิดนัดการชำระเงินคืนกองทุน และไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่อนผันตามวรรคสี่ ผู้กู้ยืมเงิ นต้องเสียเงินเพิ่มอีกไม่เกินร้อยละศูนย์จุดห้าต่อปี เว้นแต่คณะกรรมการจะยกเว้นหรือลดหย่อนให้ ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ” มาตรา 19 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 44/1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่ อการศึกษา พ.ศ. 2560 “ มาตรา 44/1 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกาหนดตามมาตรา 19 (8) ต้องเป็นไปตามหลักการดังต่อไปนี้ ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

(1) ระยะเวลาการผ่อนชำระเงินคืนกองทุน ต้องคานึงถึงรายได้และความสามารถในการชาระ เงินคืนของผู้กู้ยืมเงินประกอบด้วย แต่ต้ องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่มีหน้าที่ต้องชาระ เว้นแต่กรณี ที่มีเหตุจำเป็นและสมควรจะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปอีกก็ได้ (2) การผ่อนชำระเงินคืนกองทุนเป็นงวด ผู้กู้ยืมเงินต้องสามารถชำระเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปีได้ (3) ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินมีหนี้ค้างชาระทั้งต้นเงิน ดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด และเงินเพิ่ม เงินที่ผู้กู้ยืมเงินชาระให้นาไปหักต้นเงินเฉพาะส่วนที่ครบกาหนด ดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด และ เงินเพิ่มตามลำดับ (4) การให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในระดับสูงกว่าปริ ญญาตรีให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคานวณเงิน ที่จะต้องใช้ในห้าปีถัดไปแล้ว ยังมีเงินเหลือจากการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี (5) การกาหนดมาตรการจูงใจเพื่อให้ผู้กู้ยืมเงินไม่ผิดนัดชาระเงินคืนกองทุนหรือชาระเงินคืน กองทุนครบถ้วนก่อนกาหนดเวลา ซึ่ งอาจเป็นการลดหย่อนต้นเงินหรือให้ประโยชน์อื่นใดก็ได้ ” มาตรา 20 ให้ยกเลิกความใน (3) ของมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติกองทุน เงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “( 3) ดาเนินการตามมาตรการต่าง ๆ ที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 19 (8) ” มาตรา 21 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติกองทุน เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 “ ระยะเวลาตามวรรคสอง กองทุนจะขยายให้ตามความจำเป็นที่เห็นสมควรก็ได้ ” มาตรา 22 ให้ยกเลิกความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 49 ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินมีลักษณะดังต่อไปนี้ภายหลังจากการกู้ยืมเงินให้หนี้ที่มีต่อ กองทุนเป็นอันระงับไป (1) ตาย (2) ล้มละลาย ยกเว้นเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต ( 3) เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานหรือประกอบอาชีพได้ ทั้งนี้ ตามลักษณะและระยะเวลาที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

(4) เป็นโรคอันตรายร้ายแรงหรือมีเหตุอันไม่สามารถประกอบการงานหรือประกอบอาชีพได้ ทั้งนี้ ตามลักษณะและระยะเวลาที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ในกรณีตาม (2) ให้ระงับเฉพาะหนี้ในส่วนที่ไม่ได้รับจากการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ” มาตรา 23 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติกองทุน เงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 51 ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่า จะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนบรรดาที่มีลักษณะตามที่คณะกรรมการกำหนด มีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมิน ของผู้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าว เพื่อชาระเงิ นกู้ยืมคืน ตามจานวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ โดยให้นาส่งกรมสรรพากรภายในกาหนดระยะเวลานาส่งภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกาหนด ” มาตรา 24 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคหกของมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติกองทุ น เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 “ เมื่อมีเหตุอันสมควรกองทุนจะยกเว้นหรือลดหย่อนเงินเพิ่มตามวรรคสี่ให้แก่ผู้จ่ายเงินได้ พึงประเมินเป็นการเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไปก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ กำหนด ” มาตรา 25 ให้กรรมการผู้ทรงคุณ วุฒิในคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ซึ่งดารงตาแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่ งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา 26 ห้ามมิให้ใช้บังคับบทบัญญัติมาตรา 44 วรรคแปด และมาตรา 51 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ในทางที่จะเป็นผลร้ายแก่ผู้กู้ยืมเงินหรือผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน จนกว่าหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดตามมาตราดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ มาตรา 27 เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาภาระของผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ค้ำประกัน ให้สามารถชาระเงินคืนกองทุนได้ ให้นา มาตรา 44 วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า วรรคหก วรรคเจ็ด และวรรคแปด แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไข ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่ผู้กู้ยืมเงินและผู้ค้าประกันซึ่งกู้ยืมเงินหรือค้าประกันไว้แล้ว ก่ อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย มาตรา 28 ผู้กู้ยืมเงินผู้ใดมีลักษณะตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติกองทุน เงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ ให้หนี้ที่มีต่อกองทุนเป็นอั นระงับไป แต่ถ้าได้มีการชาระเงินคืนกองทุนไปแล้วทั้งหมดหรือ บางส่วน ผู้กู้ยืมเงินไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน มาตรา 29 ในการออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่ม เติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ถ้าเป็นคุณต่อผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ค้าประกัน คณะกรรมการต้องกาหนดให้มีผลใช้บังคับกับผู้กู้ยืมเงินหรือ ผู้ค้าประกันซึ่งกู้ยืมเงินหรือได้ค้าประกันไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย แม้ว่าจะมี คำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้วหรืออยู่ในระหว่างการบังคับคดีก็ตาม เมื่อมีการดาเนินการตามมาตรา 44 วรรคสี่ ภายหลังจากวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกับ ผู้กู้ยืมเงิน ให้ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้นั้น มาตรา 30 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษากา รตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา เป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยลดความเ ห ลื่อมล้าในการศึกษา อันเป็นรากฐานสาคัญในการลดความเ ห ลื่อมล้า ทางเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวม แต่บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ใช้บังคับ อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่อานวยให้การให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาบรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ภายใต้บริบท การศึกษาเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึง เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้มากขึ้นเพื่อรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้มีระบบการให้ทุนการศึกษาในสาขาวิชา ขาดแคลนที่ต้องได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษ ปรับเปลี่ยนการดา เนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้ทำงานเชิงรุก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ข้อมูลแก่นักเรียนหรือนักศึกษาก่อนเลือกสาขาวิชาที่จะกู้ยืมเงินเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับอาชีพแห่งอนาคต รวมทั้งให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา อย่างเ หมาะสมและเป็นธรรม รวมถึงกาหนดกลไกให้ผู้กู้ยืมเงินสามารถชาระเงินคืนกองทุนตามความสามารถ ในการหารายได้และสร้างวินัยในการชาระเงินคืนกองทุนเพื่อสร้างความยั่งยืนแก่กองทุน จึงจาเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566