Sat Mar 18 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2566


พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2566

พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 25 6 6 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2566 ” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

“ การพ้นจากตาแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตาแหน่ งอัยการผู้ช่วย หากเป็นกรณี ตาม (1) (2) (3) หรือ (7) ให้นาความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจากตาแหน่ง ตาม (4) (5) หรือ (6) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตาแหน่ง โดยให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการ แล้ วแต่กรณี ” ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติ ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดการดาเนินการ เกี่ยวกับการพ้นจากตาแหน่งของข้าราชการอัยการให้มีความเหมาะสมในกรณีการนาความกราบบังคมทูล เพื่อทรงทราบและเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ โดยพิจารณาเทียบเคียงกับมาตรา 180 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งรา ชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติให้ในกรณีที่พ้นจากตาแหน่งเพราะความตาย เกษียณอายุ หรือพ้นจากราชการเพราะถูกลงโทษ ให้นาความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนที่ 20 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2566