Thu Jan 05 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2565


กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2565

กฎ กระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2565 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 8 ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทร วงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2559 ข้อ 2 ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงาน และศักยภาพของกาลังแรงงานและผู้ประกอบกิจการ เพื่อให้กาลังแรงงานมีฝีมือได้มาตรฐานในระดับสากล มีความรู้ความสามารถใน การประกอบอาชีพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ พัฒนาประสิทธิภาพของผู้ประกอบกิจการให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และควบคุม กำกับดูแลการประกอบอาชีพที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะหรือต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถ โดยให้มีหน้าที่แล ะอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ดาเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน กฎหมายว่าด้วย การจัดหางานและคุ้มครองคนหางานเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสถานทดสอบฝีมือแรงงานและการทดสอบ ฝีมือแรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (2) กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงำน และแนวทางในการพัฒนากำลังแรงงาน ของประเทศและในระดับพื้นที่ ตลอดจนบูรณาการและประสานแผนการฝึกอาชีพของทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน (3) จัดทำและพัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและความต้องการ ของตลาดแรงงาน การจัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานทั้ งในประเทศและต่างประเทศ พัฒนาระบบ การรับรองความรู้ความสามารถ และพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนที่ 2 ก ราชกิจจานุเบกษา 6 มกราคม 2566

(4) ส่งเสริมและพัฒนาระบบและรูปแบบการพัฒนากำลังแรงงาน การพัฒนาศักยภาพแรงงาน และผู้ประกอบกิจการ การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และการออก หนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ (5) ส่งเสริมและประสานความร่วมมือให้ภาครัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการดาเนินการ เกี่ยวกับการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน มาตรฐานฝีมือแรงงาน การรับรองความรู้ความสามารถ และ กา รส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ (6) ดาเนินการเกี่ยวกับการเป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศ (7) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของกรมหรือตามที่ รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ 3 ให้แบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดังต่อไปนี้ (1) สำนักงานเลขานุการกรม (2) กองบริหารการคลัง (3) กองบริหารทรัพยากรบุคคล (4) กองแผนงานและสารสนเทศ (5) กองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก (6) กองพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน (7) กองพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ป ระกอบกิจการ (8) กองส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (9) - (53) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 - 45 ข้อ 4 ในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้มีกลุ่มกฎหมาย เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกรม รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดี โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ดาเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรม รวมทั้งงานนิติกรรมและสัญญา งานยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา ความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ งานคดีปกครอง งานคดีแรงงาน และงานคดีอื่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจขอ งกรม (2) ให้คาปรึกษาและแนะนำ ตลอดจนเสนอความเห็นเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คาสั่ง และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (3) ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อยกร่างและพัฒนากฎหมายที่อยู่ในความรับ ผิดชอบของกรม (4) พิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งหรือคาวินิจฉัยตามกฎหมาย กฎ และ ระเบียบในความรับผิดชอบของกรม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดี มอบหมาย ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนที่ 2 ก ราชกิจจานุเบกษา 6 มกราคม 2566

ข้อ 5 ในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้มีกลุ่มตรวจสอบภายใน เพื่อทำหน้าที่หลักใน การตรวจสอบการดาเนินงานภายในกรมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของกรม รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดี โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ดาเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของกรม (2) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดี มอบหมาย ข้อ 6 ในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้มีกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เพื่อทำหน้าที่หลักในการพัฒนา การบริหารของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดี โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนะและให้คาปรึกษาแก่อธิบดีเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในกรม (2) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพั ฒนาระบบราชการภายในกรม (3) ประสานและดาเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานภายในกรม (4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดี มอบหมาย ข้อ 7 สำนักงานเลขานุการกรม มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานสารบรรณของกรม (2) ดาเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและประสานราชการ (3) ดาเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการผู้บริหาร (4) ดาเนินการเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร ผลการปฏิบัติงาน และ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยว กับงานในหน้าที่ของกรม (5) ดาเนินการเกี่ยวกับงานห้องสมุด (6) ดาเนินการเกี่ยวกับงานอาคารสถานที่และยานพาหนะ รวมทั้งการบริหารจัดการงาน ด้านสาธารณูปโภคของกรม (7) ดาเนินการอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการใดของกรม (8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือ สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดี มอบหมาย ข้อ 8 กองบริหารการคลัง มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ดาเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ และการพัสดุของกรม (2) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดี มอบหมาย ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนที่ 2 ก ราชกิจจานุเบกษา 6 มกราคม 2566

ข้อ 9 กองบริหารทรัพยากรบุคคล มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ดาเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรของกรม (2) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดระบบงาน และบริหารทรัพยากรบุคคลของกรม (3) เสริมสร้างวินัย พิทักษ์ระบ บคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และดาเนินการทางวินัย (4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดี มอบหมาย ข้อ 10 กองแผนงานและสารสนเทศ มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเสนอแนะนโยบายการพัฒนากาลังแรงงานตามเป้าหมาย การพัฒนาพื้นที่และรายอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคต เพื่อกาหนดทิศทาง การพัฒนากาลังแรงงานของประเทศ รวมถึงติดตามประเมินผลการดาเนินงานตามนโยบายการพัฒนา กำลังแรงงาน (2) จัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสต ร์และแผนปฏิบัติราชการของกรม รวมทั้งประสาน แผนปฏิบัติราชการของกรมไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายกระทรวง และแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง (3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลการพัฒนากาลังแรงงานที่บูรณาการและเชื่อมโยงกับหน่วยงำนอื่น โดยเน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และศึกษาวิจัย เพื่อสนับสนุนการกาหนดนโยบายการพัฒนา ฝีมือแรงงาน และการกาหนดเป้าหมายการพัฒนาเชิงพื้นที่ทั้งในระดับภูมิภาคและพื้นที่จังหวัด (4) ดาเนินการเกี่ยวกับการเป็นศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขอ งกรม ส่งเสริมการพัฒนาระบบข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อการพัฒนากำลังแรงงานและศักยภาพแรงงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการให้บริการผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (5) ดาเนินการเกี่ยวกับงานวิเทศสัมพันธ์ รวมถึงการติดต่อและประสานงานความร่วมมือ และ ดาเนิ นโครงการความช่วยเหลือ เพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ (6) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ประสานความร่วมมือ และพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาศักยภาพ แรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ (7) ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงาน การฝึกอาชีพแห่งชาติ (8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดี มอบหมาย ข้อ 11 กองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาระบบและรูปแบบการฝึกอบรมฝีมือแร งงาน (2) ดาเนินการเกี่ยวกับการเป็นศูนย์ปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการพัฒนาผู้ฝึกและบุคลากร ด้านพัฒนาฝีมือแรงงานเกี่ยวกับเทคนิคการฝึกและวิทยาการในสาขาต่าง ๆ การกากับและส่งเสริม ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนที่ 2 ก ราชกิจจานุเบกษา 6 มกราคม 2566

สถานฝึกอบรมภาครัฐและเอกชน เพื่อตอบสนองการเพิ่มผลิตภาพแรงงานของประเทศ รวมทั้ง การพัฒนาผู้ฝึกและการอื่นที่เกี่ยวข้อง (3) จัดทาและพัฒนาหลักสูตร ชุดการฝึก มาตรฐานการฝึก อุปกรณ์ช่วยฝึกและเทคโนโลยี ในการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรตามความสามารถและการอบรมด้วยระบบ เทคโนโลยีดิจิทัลให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่และทักษะที่ ตลาดแรงงานต้องการ (4) พัฒนาผู้ฝึกและบุคลากรด้านพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีความรู้และทักษะที่ทันต่อ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และระบบประกันคุณภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน (5) ให้คาปรึกษาแนะนาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาฝีมือแรงงาน และส่งเสริมการพัฒนา อย่างต่อเนื่องแ ก่กำลังแรงงานและผู้ประกอบกิจการ (6) บริหารจัดการศูนย์บริภัณฑ์เทคโนโลยีการพัฒนาฝีมือแรงงาน (7) ส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่สถานฝึกอบรมของภาครัฐ และภาคเอกชน (8) สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศในการพัฒนาผู้ฝึก บุคลากรด้านพัฒนาฝีมือแรงงาน และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงานและศักยภาพแรงงาน (9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดี มอบหมาย ข้อ 12 กองพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาระบบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ รวมถึง การดาเนินการเชื่อมโยงกับระบบมาตรฐานฝีมือแรงงานในระดับนานาชาติ (2) พัฒนาผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและระบบประกันคุณภาพมาตรฐานฝีมือแรงงาน (3) ส่งเสริมการจัดทำและพัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงำนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ครอบคลุมทุกสาขาอาชีพและปรับปรุงมาตรฐานฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่และ ทักษะที่ตลาดแรงงานต้องการ (4) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ทางวิชาการเกี่ยวกับการทดสอบ มาตรฐานฝีมือแรงงาน การพัฒนาผู้ทดสอบมาตร ฐานฝีมือแรงงาน การรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน และการออกใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน (5) ดาเนินการส่งเสริม สร้างเครือข่าย อนุญาต กากับ ดูแล ติดตาม และตรวจสอบ การดาเนินการของผู้ดาเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและผู้ดาเนินการทดสอบฝีมือคนหางาน รวมทั้งพัฒนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการส่งเสริม สร้างเครือข่าย อนุญาต กากับ ดูแล ติดตาม และตรวจสอบดังกล่าว (6) ส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการและองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนนามาตรฐานฝีมือ แรงงานไปใช้ในระบบการพัฒนากำลังแรงงานและการจ้างงาน ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนที่ 2 ก ราชกิจจานุเบกษา 6 มกราคม 2566

(7) ดาเนินการจัดการแข่งขันฝีมือแรงงานทุกระดับทั้งภายในประเทศและในระดับนานาชาติ รวมถึงส่งเสริมให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมหรือจัดการแข่งขันฝีมือแรงงาน (8) ดาเนินการเกี่ยวกับการเป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน (9) ให้คาปรึกษาแนะ นาเกี่ยวกับกระบวนการวิเคราะห์จาแนกตาแหน่งงานหรือการบริหาร ค่าจ้างและค่าตอบแทนให้กับสถานประกอบกิจการ (10) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดี มอบหมาย ข้อ 13 กองพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการ มีหน้าที่แล ะอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อพัฒนาและสร้างนวัตกรรมด้านการพัฒนาศักยภาพ แรงงานและผู้ประกอบกิจการ (2) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบกิจการ (3) ส่งเสริมการพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพและองค์ความรู้เสริมในการพัฒนาศักยภาพแรงงาน (4) ส่งเสริมและให้คำปรึกษา แนะนำ ตามกระบวนการพัฒนาฝีมือแรงงาน และการจ้างงาน ผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานหรือผู้ผ่านการรับรองความรู้ความสามารถ (5) ส่งเสริม สร้างเครือข่าย และพัฒนาศักยภาพแรงงานผู้สูงอายุ สตรี เยาวชน คนพิการ และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ( 6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดี มอบหมาย ข้อ 14 กองส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาระบบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม การพัฒนำฝีมือแรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (2) ให้คาปรึกษา แนะนา และประสานงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือ แรงงาน (3) ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการจำแนกและกำหนดระดับความรู้ความสามารถ กาหนดช่วงอัตราค่าจ้างที่เหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถ จัดให้มีการพัฒนา การประเมิน และออกหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ รวมถึงการขึ้นทะเบียนผู้ประเมิน (4) กำกับ ดูแล ติดตาม แ ละตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนา ฝีมือแรงงาน (5) ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถ และ การให้ความเห็นชอบหลักสูตรและรายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน รวมถึงการขอรับ สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนที่ 2 ก ราชกิจจานุเบกษา 6 มกราคม 2566

(6) บริหารจัดการและดาเนินการเพื่อการประเมินผลกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมถึง ดำเนินการเกี่ยวกับการให้กู้ยืมและการช่วยเหลือหรืออุดหนุน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การพัฒนาฝีมือแรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (7) ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดี มอบหมาย ข้อ 15 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 - 4 5 มีหน้าที่และอานาจในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (1) ดำเนินการกำกับ ดูแล ติดตาม และตรวจสอบให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไป ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (2) จัดทาแผนงานและแนวทางการพัฒนากาลังแรงงาน บู รณาการและประสานแผนการฝึก อาชีพของทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และเป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ด้านพัฒนาฝีมือแรงงาน (3) ให้คาปรึกษาแนะนาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาฝีมือแรงงานและกระบวนการวิเคราะห์ จำแนกตาแหน่งงานหรือการบริหารค่าจ้างและค่าตอบแทนเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะ และ ทัศนคติของกำลังแรงงาน รวมทั้งภาคส่วนอื่น เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบกิจการ (4) ส่งเสริมและให้คาปรึกษาแนะนาการจัดทามาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพ การรับรองมาตรฐำนฝีมือแรงงาน รวมทั้งดาเนินการจัดการแข่งขันฝีมือแรงงาน (5) สนับสนุนการใช้หรือปรับปรุงระบบ รูปแบบการพัฒนาฝีมือแรงงาน หลักสูตรอุปกรณ์ ช่วยฝึก และเทคโนโลยีการพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการพัฒนาผู้ฝึกให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน (6) ส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมทั้ง ประสานการสร้างเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงานและศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการทั้งใน ระดับประเทศและระดับนานาชาติ (7) ส่งเสริม สนับส นุน และดาเนินการให้สถานประกอบกิจการและองค์กรทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชนนามาตรฐานฝีมือแรงงานไปใช้ในระบบการพัฒนากาลังแรงงานและการจ้างงานให้สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดแรงงานและเทคโนโลยีสมัยใหม่ (8) ดาเนินการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และรับ รองความรู้ ความสามารถ เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานและศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการ รวมถึงการพัฒนา ทักษะเทคโนโลยีเฉพาะทางเพื่อสร้างผู้ชานาญการเฉพาะทาง ตลอดจนดาเนินการเกี่ยวกับการประกัน คุณภาพในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนที่ 2 ก ราชกิจจานุเบกษา 6 มกราคม 2566

(9) ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลตลาดแรงงานเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายการพัฒนา ฝีมือแรงงานและรูปแบบการพัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ (10) ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรอาชีพจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม ฝีมือแรงงาน ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ศูนย์ ประเมินความรู้ความสามารถ และสถานทดสอบ ฝีมือคนหางาน (11) ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงาน การฝึกอาชีพจังหวัด (12) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดี มอบหมาย ให้ไว้ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ . 256 5 สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนที่ 2 ก ราชกิจจานุเบกษา 6 มกราคม 2566

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ และหน้าที่และอานาจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนที่ 2 ก ราชกิจจานุเบกษา 6 มกราคม 2566