พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566
พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566
พระราชกำหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 25 6 6 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ทางเทคโนโลยี พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 36 มาตรา 37 และมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นใน การจำกัดสิทธิและเสรีภาพบุคคลตามพระราชกำหนดนี้ เพื่อคุ้มครองประชาชนผู้สุจริตซึ่งถูกหลอกลวงจนสูญเสียไปซึ่งทรัพย์สิน โดยผ่านโทรศัพท์หรือวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งแต่ละวันมีผู้ถูกหลอกลวงจำนวนมากและมีมูลค่าความเสียหายสูงมาก สมควรมีมาตรการเพื่อป้องกันและ ปราบปรามอาชญากรรมประเภทนี้ให้หมดไปโดยเร็ว อันเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจาเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัย ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนที่ 18 ก ราชกิจจานุเบกษา 16 มีนาคม 2566
สาธารณะ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการตราพระราชกาหนดนี้สอดคล้องกับ เงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใ นมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกาหนดนี้เรียกว่า “ พระราชกาหนดมาตรการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมทำงเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ” มาตรา 2 พระราชกาหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา 3 ในพระราชกำหนดนี้ “ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี ” หมายความว่า การกระทาหรือพยายามกระทาความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อฉ้อโกง กรรโชก หรือรีดเอาทรัพย์ บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือโดยประการที่น่าจะทาให้บุคคลอื่นเสียหาย หรือกระทาความผิดฐานฉ้อโกง กรรโชก หรือรีดเอาทรัพย์ โดยใ ช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ “ สถาบันการเงิน ” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะ จัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน “ ผู้ประกอบธุรกิจ ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยระบ บการชำระเงิน มาตรา 4 เพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในกรณีที่มีเห ตุอันควรสงสัยว่า มีหรืออาจมีการกระทาความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ มีหน้าที่เปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าที่เกี่ยวข้องในระหว่าง สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจนั้นผ่านระบบหรือกระบวนการเปิดเผย หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นชอบร่วมกัน เพื่อดาเนินการตามวัตถุประสงค์ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการ โทรคมนาคมอื่น หรือผู้ให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่เปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลการให้บริการ ที่เกี่ยวข้องระหว่างกันผ่านระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมและสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสี ยง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เห็นชอบร่วมกัน ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนที่ 18 ก ราชกิจจานุเบกษา 16 มีนาคม 2566
เมื่อมีการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว ให้ผู้เปิดเผย หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลแจ้งให้สำนักงานตำร วจแห่งชาติหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ แล้วแต่กรณี และสำนักงานป้องกันและปราบป รามการฟอกเงิน ทราบโดยทันที และเมื่อได้รับแจ้งแล้ว ให้สานักงานตารวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือสานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แล้วแต่กรณี มีอานาจนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพื่อป้องกัน ปราบปราม หรือระงับอาชญากรรม ทางเทคโนโลยีได้ มาตรา 5 ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทาความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และมีความจำเป็นต้องทราบข้อมูลการลงทะเบียนผู้ใช้งานหรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ให้สานักงานตารวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือสานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แล้วแต่กรณี มีอา นาจสั่งให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอื่น หรือผู้ให้บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการกระทาดังกล่าว เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องเท่าที่จาเป็น และเมื่อได้รับคาสั่งแล้ว ให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอื่น หรือ ผู้ให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับ การกระทำนั้น มีหน้าที่ส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่ผู้สั่งภายในระยะเวลาที่ผู้สั่งกำหนด มาตรา 6 ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจพบเหตุอันควรสงสัยเองหรือได้รับข้อมูล จากระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 ว่าบัญชีเงินฝากหรือ บัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ใดถูกใช้หรืออาจถูกใช้ทาธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน ให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ ระงับการทำธุรกรรมและแจ้งสถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจที่รับโอนถัดไป พร้อมทั้งนำข้อมูลเข้าสู่ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือ แลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจผู้รับโอนทุกทอดทราบ และระงับการทาธุรกรรมดังกล่าวไว้ทันทีเป็น การชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่พบเหตุอันควรสงสัย หรือได้รับแจ้ง แล้วแต่กรณี เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแท้จริง และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีอานาจ ดาเนินคดีอาญาหรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดาเนินการตรวจสอบ ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือผู้ ประกอบธุรกิจได้รับแจ้งเหตุตามวรรคหนึ่งจากเจ้าพนักงาน ผู้มีอานาจดาเนินคดีอาญาหรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้สถาบัน การเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ระงับการทาธุรกรรม พร้อมทั้งนำข้อมูลเข้าสู่ระบบหรือกระบวนการเปิดเผย ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนที่ 18 ก ราชกิจจานุเบกษา 16 มีนาคม 2566
หรือแลกเปลี่ ยนข้อมูลตามมาตรา 4 เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจผู้รับโอนทุกทอดทราบ และระงับการทำธุรกรรมดังกล่าวไว้ทันที แล้วแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ เมื่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจดาเนินคดีอาญาหรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินตรวจสอบแล้ว ปรำกฏพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าบัญชีเงินฝากหรือบัญชี เงินอิเล็กทรอนิกส์นั้นถูกใช้ในการกระทาความผิด ให้ดาเนินการตามกฎหมายภายในเจ็ดวันนับแต่ วันที่ได้รับแจ้งการระงับการทาธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง หรือแจ้งสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจ ตามวรรคสอง หากไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่เชื่อได้ว่าบัญชีเงินฝากหรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้น ถูกใช้ในการกระทำความผิด ให้แจ้งผลการตรวจสอบให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจทราบ เพื่อ ยกเลิกการระงับการทำธุรกรรมต่อไป เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามวรรคสามแล้ว หากเจ้าพนักงานผู้มีอำนา จดำเนินคดีอาญา หรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไม่แจ้งผลการดาเนินการ ให้สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจยกเลิกการระงับการทำธุรกรรมนั้น มาตรา 7 ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจได้รับแจ้งจากผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้ถือบัญชีเงินฝากห รือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ว่า ได้มีการทำธุรกรรมโดยบัญชีเงินฝากหรือ บัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวและเข้าข่ายเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวมีหน้าที่ระงับการทำธุรกรรมนั้นไว้ชั่วคราว พร้อมทั้งนำข้อมูลเข้าสู่ ระบบ หรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ ผู้รับโอนทุกทอดทราบและระงับการทาธุรกรรมดังกล่าวไว้ทันที และแจ้งให้ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ ต่อพนักงานสอบสวนภายในเจ็ดสิบสองชั่วโมง เมื่อมีการร้องทุกข์แล้ว ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับการทาธุรกรรมไว้ทราบ และให้พนักงานสอบสวนพิจารณา ดาเนินการเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากและบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับ แจ้งความร้องทุกข์ หากไม่มีคาสั่งให้ระงับการทาธุร กรรมไว้ต่อไปภายในเวลาดังกล่าว ให้สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจยกเลิกการระงับการทำธุรกรรมนั้น มาตรา 8 การแจ้งข้อมูลหรือหลักฐานตามมาตรา 6 และมาตรา 7 จะกระทาทางโทรศัพท์ หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ในกรณีที่กระทาทางโทรศัพท์ ให้ผู้ได้รับแจ้งบัน ทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ลงลายมือชื่อผู้รับแจ้ง และวันเวลาที่ได้รับไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งส่งสำเนาให้ผู้แจ้งเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนที่ 18 ก ราชกิจจานุเบกษา 16 มีนาคม 2566
การร้องทุกข์ในความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจะกระทาต่อพนักงานสอบสวน ณ สถานีตารวจแห่งใดในราชอาณาจักรหรือต่อกองบั ญชาการตารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรม ทางเทคโนโลยีก็ได้ และจะร้องทุกข์โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ โดยให้ถือว่าเป็นการร้องทุกข์ โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และในการสอบสวนหรือดาเนินการเกี่ยวกับ การกระทาความผิดดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนที่รับคาร้องทุกข์ไม่ว่าประจาอยู่ที่ใดหรือพนักงานสอบสวน ที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอำนาจสอบสวนและดำเนินการ เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าวได้ไม่ว่าความผิดนั้นจะเกิดขึ้น ณ ที่ใดในราชอา ณาจักร มาตรา 9 ผู้ใดเปิดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้หรือยืมใช้เลขหมายโทรศัพท์สาหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตน ทั้งนี้ โดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือความผิดทางอาญาอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 10 ผู้ใดเป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใด ๆ เพื่อ ให้มีการซื้อ ขาย ให้เช่า หรือให้ยืม บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ ในการกระทาความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือความผิดทางอาญาอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สองปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้า แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 11 ผู้ใดเป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใด ๆ เพื่อให้มีการซื้อ หรือขายเลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งลงทะเบียนผู้ใช้บริการในนาม ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ต้อ งระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 12 การเปิดเผย การแลกเปลี่ยน การเข้าถึง ตลอดจนการเก็บ การรวบรวม หรือการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชกาหนดนี้ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มค รองข้อมูล ส่วนบุคคล แต่ผู้ได้รับหรือครอบครองข้อมูลจะเปิดเผยให้บุคคลอื่นซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทราบมิได้ มาตรา 13 ในวาระเริ่มแรกให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีจานวน ตามที่เห็นสมควร เพื่อกาหนดแนวทางในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเหตุอันควรสงสัยตามพระราชกาหนดนี้ รวมทั้งให้คาแนะนาและคาปรึกษา ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนที่ 18 ก ราชกิจจานุเบกษา 16 มีนาคม 2566
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการ ตามพระราชกำหนดนี้ โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทำหน้าที่หน่วยธุรการของคณะกรรมการดังกล่าว และให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแต่งตั้งข้าราชการของสานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขำนุการ โดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะแต่งตั้งข้าราชการจากสำนักงานตารวจแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้ เมื่อครบห้าปีหลังจากที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมประเมินความจาเป็นในการให้มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ งปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยในกรณีมีความจำเป็นต้องมีคณะกรรมการต่อไป ให้เสนอแนะหน่วยงานที่จะทาหน้าที่หน่วยธุรการของคณะกรรมการต่อไปด้วย ในกรณีที่เห็นว่าไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องมีคณะกรรมการดังกล่าวต่อไป และคณะรัฐมนตรีมีม ติเห็นชอบด้วย ให้คณะกรรมการดังกล่าว สิ้นสุดลงนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติหรือวันที่คณะรัฐมนตรีกาหนด แล้วแต่กรณี ในกรณีที่เห็นควรมีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งต่อไป คณะรัฐมนตรีจะกำหนด ให้มีคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเป็นคราว ๆ หรือตลอดไปก็ได้ ในกรณีเช่ นนั้นการแต่งตั้ง และวาระการดารงตาแหน่งให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกาหนด มาตรา 14 ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนที่ 18 ก ราชกิจจานุเบกษา 16 มีนาคม 2566
หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชกาหนด ฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีการใช้วิธีการทางเทคโนโลยี หลอกลวงประชาชนทั่วไปผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ จนทาให้ประชาชนสูญเสียทรัพย์สินเป็นจานวนมาก และผู้หลอกลวงได้โอนทรัพย์สินที่ได้จากการกระทาความผิดดังกล่าวนั้นผ่านบัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทร อนิกส์ของบุคคลอื่นต่อไปเป็นทอด ๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อปกปิดหรืออาพรางการกระทำความผิด ซึ่งแต่ละวันประชาชนผู้สุจริตถูกหลอกลวงจานวนมากและมีมูลค่าความเสียหายสูงมาก และการหลอกลวงดังกล่าว ซึ่งเป็นการกระทาความผิดได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างและ เป็นอันตรายร้ายแรง ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ ในอันที่จะต้องมีมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อรักษาความปลอดภัย ของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และความมั่นค งในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็น ต้องตราพระราชกำหนดนี้ ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนที่ 18 ก ราชกิจจานุเบกษา 16 มีนาคม 2566