Sat Feb 18 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566


พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566

พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25 6 6 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ กระทาได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชกำหนดนี้ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมตัวและการบันทึกข้อมูลของผู้ถูกควบคุมตัว รวมถึง การเข้าถึงข้อมูลของผู้ถูกควบคุมตัวตามกฎหมายเป็นไปอย่า งเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการตราพระราชกำหนดนี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนที่ 12 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 กุมภาพันธ์ 2566

อาศัยอานาจตามความในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกาหนดนี้เรียกว่า “ พระราชกาหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ” มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาต รา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ” มาตรา 4 ในระหว่างที่มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย และหน่วยงานที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบการควบคุมตัวตามมาตรา 22 และมาตรา 23 เร่งเตรียมการให้มีความพร้อมรองรับการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหายมีมาตรการและกลไก ที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยเร็ว มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนที่ 12 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 กุมภาพันธ์ 2566

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชกำหนด ฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันได้มีการตราพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 กาหนดมาตรการป้องกัน การทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย ซึ่งรวมถึงการให้เจ้าหน้ำที่ของรัฐผู้รับผิดชอบการควบคุมตัว ต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมตัวและแจ้งให้พนักงานอัยการและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในท้องที่ทราบ โดยทันที ซึ่งขณะนี้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบได้มีการเตรียมความพร้อมในการดาเนินการตามมาตรการ ดังกล่าวในระดับหนึ่งแล้ว โดยได้จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จาเป็น ตลอดจนฝึกอบรมความรู้และทักษะ ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งวางระเบียบและแนวปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างชัดเจน เหมาะสม เพื่อให้ การป้องกันและปราบปรามการทรมาน การกระทาที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ และการกระทาให้บุคคลสูญหาย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ แต่โดยที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ในขณะที่ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า สานักงานตารวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติการตามกฎหมาย และหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบการควบคุมตัว ยังมีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับความพร้อมด้านงบประมาณ การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ และขั้นตอน การปฏิบัติงานในการบังคั บใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความละเอียด ซับซ้อน และมีผลกระทบ ต่อความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของประชาชนโดยตรง รวมถึ ง ส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อสาธารณะ หากมีการใช้บังคับกฎหมายในขณะที่หน่วยงานยังไม่มีความพร้อม จะทาให้การเฝ้าระวังและการ เก็บรวบรวม และบันทึกพยานหลักฐานในระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่มีความไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจทาให้เป็นประเด็น โต้แย้งในชั้นการดำเนินคดีต่อผู้กระทาความผิด ส่งผลให้การจับมิชอบ การบังคับใช้กฎหมายขาดประสิทธิภาพ และไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันและปราบปรามการก ระทาความผิด ซึ่งจะเป็นผลร้ายแรงต่อสังคมและ ความปลอดภัยสาธารณะอย่างร้ายแรง อีกทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่มีทรัพยากรในการปฏิบัติงานที่พร้อมยังต้อง เสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางวิ นัยอีกด้วย ข้อเท็จจริงดังกล่า ว ถือเป็นกรณีฉุกเฉินที่มี ความจำเป็นรีบ ด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยสาธารณะ จึงสมควรขยายกาหนดเวลาในการมีผลใช้บังคับของบทบัญญัติเพียงเฉพาะ ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการใช้กล้องบันทึกภาพและเสียงในขณะการควบคุมตัว เพื่อให้สานักงานตารวจ แห่งชาติ และหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบการควบคุมตัวได้เตรียมความพร้อมในด้านอุปกรณ์และบุคลากร สำหรับการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ ตลอดจนให้มีการวางหลักเกณฑ์และมาตรฐาน การปฏิบัติงานอย่างรอบคอบ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นป ระโยชน์ต่อการรักษา ความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของประชาชนอย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนที่ 12 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 กุมภาพันธ์ 2566