Thu Feb 16 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำพิพากษาของศาลฎีกา เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ชั้นไม่รับคำคู่ความ) [คดีหมายเลขดำที่ อม.อธ.3/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อม.อธ. 5/2565 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โจทก์ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน จำเลย]


คำพิพากษาของศาลฎีกา เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ชั้นไม่รับคำคู่ความ) [คดีหมายเลขดำที่ อม.อธ.3/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อม.อธ. 5/2565 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โจทก์ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน จำเลย]

(อม.35) คําพิพากษาชั้นอุทธรณ คดีหมายเลขดําที่ อม.อธ. 3/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อม.อธ. 5/2565 ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย ศาลฎีกา วันที่ 20 เดือน ธันวาคม พุทธศักราช 2565 คณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โจทก์ นางสาวยิ่งลักษณ ชินวัตร ที่ 1 นายนิวัฒนธํารง บุญทรงไพศาล ที่ 2 นายสุรนันทน เวชชาชีวะ ที่ 3 บริษัทมติชน จํากัด (มหาชน) ที่ 4 บริษัทสยามสปอรต ซินดิเคท จํากัด (มหาชน) ที่ 5 นายระวิ โหลทอง ที่ 6 จําเลย เรื่อง ความผิดต่อตําแหนงหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วย การปองกันและปราบปรามการทุจริต ความผิดต่อพระราชบัญญัติวาด้วยความผิดเกี่ยวกับ การเสนอราคาต่อหนวยงานของรัฐ (ชั้นไม่รับคําคู่ความ) ระหวาง ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนที่ 11 ก ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

โจทก์อุทธรณคัดคานคําสั่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมือง ลงวันที่ 9 เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2565 ศาลฎีการับวันที่ 20 เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช 2565 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 192 พระราชบัญญัติวาด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหนวยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 และมาตรา 13 และจําเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 , 151 และมาตรา 157 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 192 พระราชบัญญัติวาด้วยความผิดเกี่ยวกับ การเสนอราคาต่อหนวยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 , 12 และมาตรา 13 นับโทษของจําเลยที่ 1 ต่อจากโทษของจําเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อม. 211/2560 ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมือง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมืองพิจารณาฟ้องแล้ว วินิจฉัยวา คําฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายองคประกอบให้เห็นวาจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือรักษาทรัพย์อยางไร กรณีถือวาฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายโดยแจงชัดซึ่งสาระสําคัญ เป็นฟ้องที่ไม่ครบองคประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 จึงเป็นฟ้อง ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 วรรคสาม และเป็นกรณีที่ไม่อาจสั่งให้โจทก์แกฟ้องที่ขาดองคประกอบความผิดให้เป็นฟ้องที่ครบองคประกอบความผิดได้ จึงมีคําสั่งไม่ประทับรับฟ้องขอหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 สวนขอหาอื่นให้ประทับรับฟ้อง โจทก์อุทธรณต่อที่ประชุมใหญศาลฎีกา องคคณะวินิจฉัยอุทธรณพิเคราะหอุทธรณของโจทก์ และคําแกอุทธรณของจําเลยทั้งหกแล้ว เห็นสมควรหยิบยกปญหาขอกฎหมายขึ้นวินิจฉัยเสียกอนวา โจทก์มีสิทธิอุทธรณโตแยงคําสั่งไม่ประทับ ฟ้องขอหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนง ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนที่ 11 ก ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ทางการเมือง หรือไม่ องคคณะวินิจฉั ยอุทธรณโดยมติที่ประชุมใหญศาลฎีกา เห็นวา รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 195 วรรคสี่ บัญญัติวา คําพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมือง ให้อุทธรณต่อที่ประชุมใหญศาลฎีกาได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมืองมีคําพิพากษา และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ วาด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 60 บัญญัติวา คําพิพากษาของศาลให้อุทธรณต่อที่ประชุมใหญศาลฎีกาได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษา การที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมืองตรวจฟ้องโจทก์แล้วมีคําสั่งไม่ประทับฟ้องขอหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 โดยให้เหตุผลวาฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายองคประกอบความผิด ให้เห็นวาจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือรักษาทรัพย์อยางไร กรณีถือวาฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายโดยแจงชัดซึ่งสาระสําคัญและถือวาเป็นฟ้องที่ไม่ครบองคประกอบความผิด จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 วรรคสาม นั้น คําสั่งไม่ประทับฟ้องเพราะเหตุวาฟ้องขาดองคประกอบความผิดดังกลาว มีผลเป็นการพิพากษายกฟ้องในความผิดขอหาดังกลาว จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีในรูปแบบของคําสั่ง ซึ่งมีผลเชนเดียวกับคําพิพากษาตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 195 วรรคสี่ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 60 บัญญัติให้คู่ความมีสิทธิยื่นอุทธรณต่อที่ประชุมใหญศาลฎีกาได้ โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ โตแยงคําสั่งไม่ประทับฟ้องขอหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมืองได้ มีปญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทก์เพียงประการเดียววา โจทก์บรรยายฟ้องจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ครบองคประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 หรือไม่ โจทก์อุทธรณวา โจทก์บรรยายฟ้องขอ 1 หน้า 2 ขอ 3.2 หน้า 9 และขอ 3.3 หน้า 11 และ 14 วา จําเลยที่ 1 ในฐานะนายกรัฐมนตรีมีอํานาจอนุมัติเห็นชอบให้สวนราชการใชเงินงบกลางในวงเงินเกิน 10 ลานบาท จึงเป็นผู้มีหน้าที่โดยตรงในการจัดการทรัพย์ คือ เงินงบกลางซึ่งเป็นงบประมาณแผนดิน จําเลยที่ 1 ใชดุลพินิจบิดผันอํานาจสั่งอนุมัติให้ใชเงินงบกลาง 40 ลานบาท เพื่อเป็นคาใชจายในโครงการ ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนที่ 11 ก ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ROADSHOW ที่จังหวัดหนองคายและจังหวัดนครราชสีมา ตามที่จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รวมกันกําหนด ตัวจําเลยที่ 4 และที่ 5 ให้เป็นผู้รับจางไวลวงหน้าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นกรณีที่จําเลยที่ 1 ได้เอาอํานาจในฐานะผู้มีหน้าที่จัดการทรัพย์อันเป็นเงินงบกลางดังกลาวไปใชเกี่ยวกับการดําเนินโครงการ ROADSHOW โดยทุจริต เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแกสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและสํานักงบประมาณ ฟ้องโจทก์จึงได้บรรยายโดยแจงชัดวาจําเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ใชอํานาจในตําแหนงโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแกรัฐ จึงเป็นฟ้องที่ครบองคประกอบความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 แล้ว สําหรับจําเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์บรรยายฟ้องขอ 1 หน้า 3 ขอ 3.4 หน้า 18 และขอ 3.5 หน้า 20 วา จําเลยที่ 2 ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ผู้กํากับดูแลสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีอํานาจอนุมัติสั่งจางในการดําเนินการโครงการ ROADSHOW โดยวิธีพิเศษตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แกไขเพิ่มเติม ขอ 66 และจําเลยที่ 3 ในฐานะเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของขาราชการ ในสังกัดสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จําเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่โดยตรง ในการจัดการงบประมาณแผนดิน จํานวน 240 ลานบาท เพื่อนํามาใชในการจัดทําโครงการ ROADSHOW แล้วจําเลยที่ 2 และที่ 3 ใชอํานาจเกี่ยวกับการอนุมัติในหลักการและอนุมัติจัดจาง จําเลยที่ 4 และที่ 5 โดยจําเลยที่ 3 ได้ลงนามเห็นชอบตามบันทึกของคณะกรรมการจัดจางโดยวิธีพิเศษ เห็นควรจาง และลงนามในบันทึกเสนอจําเลยที่ 2 ผู้มีอํานาจอนุมัติให้สั่งจางโดยวิธีพิเศษ เพื่อขออนุมัติให้จางจําเลยที่ 4 ที่จังหวัดหนองคายและจังหวัดนครราชสีมา และอนุมัติให้จางจําเลยที่ 4 และที่ 5 อีก 10 จังหวัดที่เหลือ ซึ่งทั้ง 2 กรณี จําเลยที่ 2 ได้ใชอํานาจอนุมัติตามที่จําเลยที่ 3 เสนอ อันเป็นการใชอํานาจในตําแหนงโดยทุจริต เพื่อแสวงหาประโยชนที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แกจําเลยที่ 4 และที่ 5 ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจงชัดถึงการกระทําทั้งหลายของจําเลยที่ 2 และที่ 3 วา เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ โดยใชอํานาจในตําแหนงโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแกรัฐ ครบองคประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 แล้ว อีกทั้งคําฟ้องยอมรวมถึงเอกสารทายฟ้องและสํานวนการไตสวนขอเท็จจริงของคณะกรรมการปองกัน และปราบปรามการทุจริตซึ่งกฎหมายบัญญัติให้โจทก์สงสํานวนการไตสวนดังกลาวต่อศาลเพื่อใชเป็นหลัก ในการพิจารณาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนง ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนที่ 11 ก ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 6 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคสอง ศาลยอมต้องพิจารณาคําฟ้อง โดยนําเอกสารทายฟ้องและสํานวนการไตสวนขอเท็จจริงดังกลาวมาพิจารณาประกอบการพิจารณาคําฟ้องด้วย องคคณะวินิจฉัยอุทธรณเสียงขางมาก เห็นวา ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 เจ้าพนักงานผู้กระทําต้องมีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ แล้วใชอํานาจในตําแหนง โดยทุจริตแสวงหาประโยชนที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายจากตัวทรัพย์นั้น โดยมิได้เอาทรัพย์ไป มิใชเพียงแต่มีหน้าที่เกี่ยวของกับตัวทรัพย์นั้นเทานั้น ฟ้องโจทก์คงบรรยายขอให้ลงโทษจําเลยที่ 1 ในฐานะนายกรัฐมนตรีซึ่งมีอํานาจกํากับทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผนดิน ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผนดิน พ.ศ. 2534 และที่แกไขเพิ่มเติม และเป็นผู้มีอํานาจอนุมัติเห็นชอบ ให้สวนราชการใชเงินงบกลางในวงเงินเกิน 10 ลานบาท สําหรับจําเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์บรรยายฟ้อง ขอให้ลงโทษจําเลยที่ 2 ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีผู้มีอํานาจสั่งอนุญาตหรืออนุมัติให้สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หรือขาราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในสวนสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการได้ตามกฎหมาย มีอํานาจอนุมัติให้สั่งจางตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แกไขเพิ่มเติม ขอ 66 กับบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยที่ 3 ในฐานะเลขาธิการนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ของขาราชการในสังกัดสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อ นายกรัฐมนตรี มีอํานาจหน้าที่ในการเผยแพร และประชาสัมพันธนโยบาย ยุทธศาสตร และผลงานรัฐบาล เสนอความเห็นเพื่อสั่งการของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมาย ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีหรือตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย เห็นได้วาสถานะความเป็นเจ้าพนักงานของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตามที่โจทก์บรรยายในฟ้องนั้น ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ สวนที่โจทก์อุทธรณวา ศาลต้องนําเอกสารทายฟ้องและสํานวนการไตสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มาพิจารณาประกอบคําฟ้องด้วยนั้น องคคณะวินิจฉัยอุทธรณเห็นวา การพิจารณาวาคําฟ้องของโจทก์ครบองคประกอบความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาจากคําฟ้องโจทก์เทานั้น สวนเอกสารทายฟ้องแมเป็นสวนหนึ่งของคําฟ้องก็เป็นเพียงสวนแสดง ขอเท็จจริงและรายละเอียดเทานั้น ไม่อาจนําเอกสารทายฟ้องมาพิจารณาประกอบกับคําฟ้องเพื่อให้ฟ้องที่ขาด องคประกอบความผิดเป็นฟ้องที่ครบองคประกอบความผิดดังที่โจทก์อุทธรณ สําหรับสํานวนการไตสวน ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. นั้น ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญา ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนที่ 11 ก ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566

ของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 26 วรรคสอง บัญญัติวา “ ภายใตบังคับ มาตรา 27 ในวันยื่นฟ้องให้จําเลยมาหรือคุมตัวมาศาล และให้โจทก์สงสํานวนการไตสวน ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะผู้ไตสวนอิสระ แล้วแต่กรณี พรอมสําเนาอิเล็กทรอนิกสต่อศาล เพื่อใชเป็นหลักในการพิจารณาและรวมไวในสํานวน ทั้งนี้ ศาลอาจไตสวนหาขอเท็จจริงและพยานหลักฐาน เพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ” โดยในมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ยังคงบัญญัติให้เป็นหน้าที่โจทก์ต้องบรรยายฟ้อง ให้มีขอความตามที่บัญญัติไวในมาตรา 158 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แสดงให้เห็นวาสํานวนการไตสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. พรอมสําเนาอิเล็กทรอนิกสเป็นเพียงเอกสารประกอบ ในสํานวนที่โจทก์ต้องนํามาสงศาลในวันที่ยื่นฟ้องนอกเหนือจากคําฟ้อง เพื่อให้ศาลใชสํานวนการไตสวน ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. พรอมสําเนาอิเล็กทรอนิกสเป็นหลักในการพิจารณาไตสวนหาขอเท็จจริงเพิ่มเติม ตามที่เห็นสมควร อันเป็นการดําเนินกระบวนพิจารณาอีกชั้นหนึ่งตางหาก จากการพิจารณาตรวจรับคําฟ้อง จึงไม่อาจนําสํานวนการไตสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มาพิจารณาประกอบคําฟ้องเพื่อให้ฟ้องที่ขาด องคประกอบความผิดเป็นฟ้องที่ครบองคประกอบความผิดดังที่โจทก์อุทธรณ ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมืองมีคําสั่งไม่ประทับฟ้องในขอหานี้มานั้นชอบแล้ว อุทธรณของโจทก์ฟงไม่ขึ้น พิพากษายืน. นายอธิคม อินทุภูติ นายสมเกียรติ ตั้งสกุล นางสุวิชา นาควัชระ นายอําพันธ สมบัติสถาพรกุล นายสาคร ตั้งวรรณวิบูลย นายยงยุทธ แสงรุงเรือง นายชลิต กฐินะสมิต นางกาญจนา ชัยคงดี นายสุทิน นาคพงศ ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนที่ 11 ก ราชกิจจานุเบกษา 17 กุมภาพันธ์ 2566