Mon Jan 02 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 23/2565 เรื่อง พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 มาตรา 22 วรรคสอง และมาตรา 81 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 37 วรรคหนึ่งและวรรคสอง หรือไม่ [ระหว่าง ศาลแพ่ง ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]


คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 23/2565 เรื่อง พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 มาตรา 22 วรรคสอง และมาตรา 81 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 37 วรรคหนึ่งและวรรคสอง หรือไม่ [ระหว่าง ศาลแพ่ง ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยที่ 23 / 2565 เรื่องพิจารณาที่ 10 / 2565 วันที่ 14 เดือน ธันวาคม พุทธศักราช 2565 ศาลแพ่ง ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง เรื่อง พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มาตรา 22 วรรคสอง และมาตรา 81 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 37 วรรคหนึ่งและวรรคสอง หรือไม่ ศาลแพ่งส่งคําโต้แย้งของจําเลยทั้งสาม ( นางสาวอภิญญา ศิรมณีรัตน์ ที่ 7 นางสาวอิศรา ศิรมณีรัตน์ ที่ 8 และ นางสาวพิชญา ศิรมณีรัตน์ ที่ 9 ) ในคดีแพ่งหมายเลขดําที่ พ 1214 / 2562 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ข้อเท็จจริงตามหนังสือส่งคําโต้แย้ง ของจําเลยทั้งสามและเอกสารประกอบ สรุปได้ดังนี้ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องบริษัท ดีดี มอลล์ จํากัด หรืออินสแควร์ ช้อปปิ้งมอลล์ หรือ เจ . เจ . เซ็นเตอร์ จํากัด จําเลยที่ 1 กับพวก รวม 10 คน เป็นจําเลย ต่อศาลแพ่งว่า จําเลยที่ 1 ทําสัญญาสินเชื่อกับโจทก์ จําเลยที่ 7 ถึงที่ 9 นําสิทธิการเช่าห้อง ในศูนย์การค้าดีดีมอลล์มาจดทะเบียนตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจประกันการชําระหนี้ของจําเลยที่ 1 ระหว่าง ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

โดยโจทก์ขอให้จําเลยทั้งสิบร่วมกันชําระเงิน หากจําเลยทั้งสิบไม่ชําระเงิน ให้ยึดทรัพย์จํานําหุ้น ของจําเลยที่ 1 และสิทธิการเช่าห้องในศูนย์การค้าดีดีมอลล์ ของจําเลยที่ 7 ถึงที่ 9 และทรัพย์สินอื่น ของจําเลยทั้งสิบออกขายทอดตลาดนําเงินมาชําระหนี้แก่โจทก์ ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลแพ่ง จําเลยทั้งสามโต้แย้งว่า พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มาตรา 22 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ให้หลักประกันนําทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ตามพระราชบัญญัตินี้ไปจํานําเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ต่อไป มิฉะนั้น การจํานํานั้นตกเป็นโมฆะ เป็นการจํากัดสิทธิการใช้ทรัพย์สินของบุคคล โดยไม่ระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิไว้ และมาตรา 81 บัญญัติให้ผู้รับหลักประกันจะบังคับหลักประกันแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความ แล้วก็ได้ เป็นการจํากัดสิทธิผู้ให้หลักประกันในการต่อสู้คดีเรื่องอายุความ ซึ่งลูกหนี้ได้รับการคุ้มครอง และรับรองไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม โดยไม่ระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิไว้ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 มาตรา 26 และมาตรา 37 จําเลยทั้งสามขอให้ศาลแพ่งส่งคําโต้แย้งดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ศาลแพ่งเห็นว่า จําเลยทั้งสามโต้แย้งว่าพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มาตรา 22 และมาตรา 81 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 มาตรา 26 และมาตรา 37 ซึ่งศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบังคับแก่คดี และยังไม่มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ จึงส่งคําโต้แย้งดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจรับหนังสือ ส่งคําโต้แย้งของจําเลยทั้งสามไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง หรือไม่ เห็นว่า ศาลแพ่งส่งคําโต้แย้งของจําเลยทั้งสามเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มาตรา 22 และมาตรา 81 ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 มาตรา 26 และมาตรา 37 บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ศาลแพ่ง จะใช้บังคับแก่คดี เมื่อจําเลยทั้งสามโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ กรณีเป็นไปตาม ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

รัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โต้แย้งว่า พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มาตรา 22 และมาตรา 81 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 หรือไม่ นั้น เห็นว่า มาตรา 5 เป็นบททั่วไปที่วางหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญไว้ โดยมิได้มีข้อความที่เป็น การคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพไว้เป็นการเฉพาะ ศาลรัฐธรรมนูญไม่จําต้องวินิจฉัยในส่วนนี้ จึงมีคําสั่งรับไว้ พิจารณาวินิจฉัยเฉพาะในประเด็นที่ขอให้วินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มาตรา 22 และมาตรา 81 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 37 หรือไม่ และเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทําความเห็นและจัดส่งข้อมูลพร้อมเอกสาร หลักฐานยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทําความเห็นและจัดส่งข้อมูลพร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้ 1 . เลขาธิการวุฒิสภาจัดส่งสําเนาบันทึกการประชุมและสําเนารายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 13 / 2558 วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 และครั้งที่ 47 / 2558 วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2558 สําเนาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ หลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . … สําเนารายงานการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . … สําเนาร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . … สําเนารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . … สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสําเนาเอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ หลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . … 2 . กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิ ชย์ และสํานักงานคณ ะกรรมการกฤษฎีกา จัดทําความเห็นสรุปแนวทางเดียวกันว่า การนําทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันการชําระหนี้ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ จํานําและจํานอง มีข้อจํากัดโดยการจํานําจะมีแต่เฉพาะสังหาริมทรัพย์ ที่ใช้เป็นหลักประกันในการจํานําได้ และต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันให้แก่ผู้รับจํานํา ผู้จํานํา ไม่มีสิทธิใช้ทรัพย์สินของตนในระหว่างที่ใช้เป็นหลักประกัน ส่วนการจํานองแม้ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน ที่เป็นหลักประกันให้แก่ผู้รับจํานอง แต่หลักประกันมีได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ที่มีทะเบียนบางประเภทเท่านั้น ด้วยข้อจํากัดของการจํานําและจํานองจึงมีการตรากฎหมายเฉพาะ ขึ้นสองฉบับเพื่อแก้ไขข้อจํากัดดังกล่าว ได้แก่ พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ . ศ . 2514 ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

เพื่อให้สามารถจดทะเบียนจํานองเครื่องจักรเป็นประกันการชําระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และพระราชบัญญัติการจํานองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล พ . ศ . 2537 เพื่อกําหนดวิธีการ จํานองเรือเดินทะเลเป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขข้อจํากัดของการจํานํา และจํานองได้อย่างแท้จริง เพราะยังมีทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจอีกเป็นจํานวนมากที่ผู้ประกอบการ ไม่สามารถนํามาใช้เป็นหลักประกันการชําระหนี้ในลักษณะที่ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ให้แก่แหล่งทุน เช่น สังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ สินค้าคงคลัง วัตถุดิบ ที่ใช้ในการประกอบสินค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้มีการนําทรัพย์สินที่มีมูลค่า ทางเศรษฐกิจที่ไม่สามารถจํานําหรือจํานองได้มาใช้เป็นหลักประกันการชําระหนี้ในลักษณะ ที่ผู้ให้หลักประกันไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันให้แก่ผู้รับหลักประกัน จึงตราพระราชบัญ ญั ติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 โดยมาตรา 22 บัญ ญั ติให้ ผู้ให้หลักประกันจะนําทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไปจํานําเพื่อประกันการชําระหนี้ต่อมิได้ บทบัญญัติ ดังกล่าวมีเจตนารมณ์ให้ผู้ให้หลักประกันนําทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจมาใช้เป็นหลักประกัน เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อให้ผู้ให้หลักประกันสามารถใช้สอย ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันให้เกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง หากกําหนดให้ผู้ให้หลักประกัน สามารถนําทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไปจํานําเพื่อเป็นหลักประกันการชําระหนี้ต่อไปได้อีก จะทําให้ ผู้ให้หลักประกันไม่สามารถใช้ทรัพย์สินนั้นในการประกอบธุรกิจเพื่อหาประโยชน์ต่อไปได้ เป็นการขัดต่อ เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ ส่วนกรณีมาตรา 81 บัญญัติให้ผู้รับหลักประกันจะบังคับหลักประกัน แม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชําระตามสัญญาหลักประกัน ทางธุรกิจเกินกว่าห้าปีไม่ได้นั้น เนื่องจากสัญญาหลักประกันทางธุรกิจมีลักษณะเช่นเดียวกับการจํานอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงนําหลักการบังคับจํานองตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 745 มากําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย เพื่อคุ้มครองผู้รับหลักประกัน ตามพระราชบัญญัตินี้ให้สอดคล้องกันกับสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคําโต้แย้งของจําเลยทั้งสาม ความเห็นและข้อมูลของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และเอกสารประกอบแล้วเห็นว่า คดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอ ที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

ของศาลรัฐธรรมนูญ พ . ศ . 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ข้อโต้แย้งของจําเลยทั้งสามที่ว่า พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มาตรา 22 วรรคสอง และมาตรา 81 ไม่ได้ระบุ เหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิไว้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 นั้น เห็นว่า เป็นการโต้แย้งว่า กระบวนการตราพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 148 บัญญัติกระบวนการร้องหรือผู้มีสิทธิขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การยื่นคําร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 มิได้ให้สิทธิโต้แย้งว่ากระบวนการ ตรากฎหมายไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่จําต้องวินิจฉัย และกําหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มาตรา 22 วรรคสอง และมาตรา 81 ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 37 วรรคหนึ่งและวรรคสอง หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 37 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ การตรากฎหมายที่มีผล เป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณี ที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัด สิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย ” วรรคสอง บัญญัติว่า “ กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ” และมาตรา 37 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ บุคคลย่อมมีสิทธิ ในทรัพย์สินและการสืบมรดก ” วรรคสอง บัญญัติว่า “ ขอบเขตแห่งสิทธิและการจํากัดสิทธิเช่นว่านี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ” พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มีเหตุผลในการประกาศใช้เนื่องจาก ทรัพย์สินที่อาจนํามาใช้เป็นประกันการชําระหนี้ในลักษณะที่ผู้ให้หลักประกันไม่ต้องส่งมอบการครอบครอง ทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับหลักประกัน หรือการจํานองตามมาตรา 703 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ จํากัดเฉพาะอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์มีทะเบียนบางประเภทเท่านั้น ผู้ประกอบธุรกิจ ไม่สามารถนําทรัพย์สินอื่นที่ใช้ในการประกอบธุรกิจนอกจากทรัพย์สินดังกล่าวมาใช้เป็นประกัน การชําระหนี้ในลักษณะที่ผู้ให้หลักประกันไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับหลักประกัน ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

เช่น สังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ สินค้าคงคลัง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งที่ทรัพย์สินเหล่านี้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเช่นกัน อีกทั้งกระบวนการบังคับ จํานองมีความล่าช้าอันเป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ สมควรตรากฎหมายเพื่อรองรับการนําทรัพย์สิน ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นประกันการชําระหนี้ในลักษณะที่ไม่ต้องส่งมอบการครอบครองแก่เจ้าหนี้ และสร้างระบบการบังคับหลักประกันที่มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมอันจะเป็นประโยชน์ ต่อการประกอบธุรกิจ โดยมาตรา 22 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ ผู้ให้หลักประกันมีสิทธิครอบครอง ใช้สอย แลกเปลี่ยน จําหน่าย จ่ายโอน และจํานองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน รวมทั้งใช้เป็น หลักประกัน ใช้ในการผลิต นําไปรวมเข้ากับทรัพย์สินอื่นใช้ไปสิ้นไปในกรณีที่ครอบครองเพื่อการใช้ สิ้นเปลือง และได้ดอกผลของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น ” วรรคสอง บัญญัติว่า “ ผู้ให้หลักประกันจะนําทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามพระราชบัญญัตินี้ไปจํานํา เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ต่อไปมิได้ มิฉะนั้น การจํานํานั้นตกเป็นโมฆะ ” และมาตรา 81 บัญญัติว่า “ ผู้รับหลักประกันจะบังคับหลักประกันแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้น ขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับ เอาดอกเบี้ยที่ค้างชําระตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเกินกว่าห้าปีไม่ได้ ” ข้อโต้แย้งของจําเลยทั้งสามที่ว่า พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มาตรา 22 วรรคสอง กําหนดให้ผู้ให้หลักประกันจะนําทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไปจํานําต่อไม่ได้ เป็นบทบัญญัติ จํากัดสิทธิในการใช้ทรัพย์สินของบุคคล ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 37 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง นั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง กําหนดหลักการสําคัญของสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ คือ เป็นการตราทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไว้ แก่ผู้รับหลักประกัน โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับหลักประกัน เพื่อให้สอดคล้องกับเหตุผล ในการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ และทรัพย์สินที่จะนํามาเป็นหลักประกันตามความในมาตรา 8 ได้แก่ กิจการ สิทธิเรียกร้อง สังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้าคงคลัง หรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า อสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่ผู้ให้หลักประกันประกอบธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์โดยตรง ทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ซึ่งทรัพย์สิน บางประเภทเป็นสังหาริมทรัพย์ที่อาจนําไปจํานําได้ แต่มาตรา 22 ยังคงให้ผู้ให้หลักประกัน มีสิทธิครอบครอง ใช้สอย แลกเปลี่ยน จําหน่าย จ่ายโอน จํานองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันได้ ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

รวมทั้งใช้เป็นหลักประกัน ใช้ในการผลิต นําไปรวมเข้ากับทรัพย์สินอื่นใช้ไปสิ้นไปในกรณีที่ครอบครอง เพื่อการใช้สิ้นเปลือง และได้ดอกผลของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน การที่มาตรา 22 กําหนดห้ามนํา หลักประกันไปจํานําต่อไปนั้น เนื่องจากการจํานําต้องส่งมอบทรัพย์จํานําให้แก่ผู้รับจํานํา ทรัพย์สินดังกล่าวจึงไม่อยู่ ในความครอบครองของผู้จํานํา ทําให้ผู้ให้หลักประกันซึ่งเป็นผู้จํานําไม่สามารถใช้ทรัพย์สินที่เป็น หลักประกันในการประกอบธุรกิจของตน อันจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้รับหลักประกันซึ่งเป็นเจ้าหนี้ และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 ที่ต้องการให้ ยังสามารถใช้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันประกอบธุรกิจได้ต่อไป ประกอบกับเมื่อพิจารณา มาตรา 33 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “ ในกรณีที่มีการนําทรัพย์สินสิ่งหนึ่งตราไว้เป็นประกันการชําระหนี้ ตามพระราชบัญญัตินี้แก่ผู้รับหลักประกันหลายราย ให้ถือลําดับผู้รับหลักประกันเรียงตามวันและเวลา ที่ได้รับการจดทะเบียน โดยผู้รับหลักประกันที่ได้รับการจดทะเบียนก่อนมีสิทธิได้รับชําระหนี้ก่อน ผู้รับหลักประกันที่ได้รับการจดทะเบียนภายหลัง ” และวรรคสอง ที่บัญญัติว่า “ หากมีการใช้ทรัพย์สิน ที่เป็นหลักประกันตามพระราชบัญญัตินี้ไปจํานองเป็นประกันการชําระหนี้ด้วยให้ถือลําดับผู้รับหลักประกัน และผู้รับจํานองเรียงตามวันและเวลาที่ได้รับการจดทะเบียน โดยผู้รับหลักประกันหรือผู้รับจํานองที่ได้รับ การจดทะเบียนก่อนมีสิทธิได้รับชําระหนี้ก่อนผู้รับหลักประกันหรือผู้รับจํานองที่ได้รับการจดทะเบียน ภายหลัง ” แล้ว เห็นได้ว่าผู้ให้หลักประกันยังสามารถนําทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไปเป็นหลักประกัน หรือไปจํานองแก่ผู้รับหลักประกันรายอื่นได้อีกหลายรายตามมูลค่าทรัพย์สินที่ยังคงเหลือเป็นการเปิด โอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถใช้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจ อย่างสูงสุด การห้ามผู้ให้หลักประกันนําทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามพระราชบัญญัตินี้ไปจํานํา มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นผู้ให้หลักประกันสามารถใช้ทรัพย์สินนั้นในการประกอบธุรกิจต่อไปได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจของผู้ให้หลักประกันเอง มีผลต่อความสามารถในการชําระหนี้ ให้แก่ผู้รับหลักประกัน และเป็นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจรวมถึงความไว้วางใจและความเชื่อมั่น ระหว่างคู่สัญญาด้วย แม้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการจํากัดสิทธิในทรัพย์สินอยู่บ้าง แต่ยังคงได้สัดส่วน ระหว่างสิทธิในการใช้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันของผู้ให้หลักประกันกับสิทธิของผู้รับหลักประกัน ในการได้รับชําระหนี้หรือบังคับหลักประกันดังกล่าว พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มาตรา 22 วรรคสอง ไม่เป็นการจํากัดสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ ไม่ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 37 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

สําหรับข้อโต้แย้งของจําเลยทั้งสามที่ว่า พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มาตรา 81 ให้สิทธิผู้รับหลักประกันบังคับชําระหนี้ได้แม้หนี้ขาดอายุความ เป็นการจํากัดสิทธิในการต่อสู้คดี ซึ่งเป็นสิทธิที่ลูกหนี้ได้รับการคุ้มครองและรับรองไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และ เป็นการจํากัดการใช้สิทธิของบุคคลตามกระบวนการยุติธรรม ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 37 วรรคหนึ่งและวรรคสอง นั้น เห็นว่า สัญญาหลักประกันทางธุรกิจมีลักษณะที่เป็นการนําทรัพย์สิน มาเป็นหลักประกันการชําระหนี้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับหลักประกันซึ่งมีลักษณะเดียวกับ การจํานอง เมื่อพิจารณามาตรา 80 ที่บัญญัติว่า “ สัญญาหลักประกันทางธุรกิจระงับสิ้นไปเมื่อ ( 1 ) หนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุประการอื่นใดอันมิใช่เหตุอายุความ ” เห็นได้ว่าสัญญาหลักประกัน ทางธุรกิจระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อสัญญาประธานระงับสิ้นไปด้วยเหตุอื่นที่ไม่ใช่เหตุอายุความเช่นเดียวกับ การจํานองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเหตุที่ทําให้หนี้ระงับสิ้นไป ได้แก่ การชําระหนี้ ปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ แปลงหนี้ใหม่ และหนี้เกลื่อนกลืนกัน การที่หนี้ขาดอายุความจึงไม่เป็นเหตุ ให้หนี้ระงับ เพราะมูลหนี้ตามสัญญายังคงมีอยู่เพียงแต่ลูกหนี้มีสิทธิอันจะอ้างได้ตามกฎหมายที่จะปฏิเสธ ในการชําระหนี้เท่านั้น การที่ผู้รับหลักประกันจะบังคับหลักประกันแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้ว ก็เพราะมูลหนี้ตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือตัวทรัพย์สินนั้น นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวยังกําหนดให้การบังคับหลักประกันกรณีผู้ให้หลักประกันไม่ยินยอมส่งมอบทรัพย์สิน ผู้รับหลักประกันจะต้องยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อให้มีคําพิพากษาบังคับหลักประกัน โดยให้ระบุ ในคําร้องด้วยว่าจะบังคับหลักประกันโดยให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิหรือโดยจําหน่าย ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อนําเงินมาชําระหนี้ ซึ่งศาลจะต้องพิจารณาเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ให้หลักประกัน ด้วยว่ามีเหตุบังคับหลักประกันทางธุรกิจตามที่กําหนดไว้ในสัญญาและเหตุบังคับหลักประกันทางธุรกิจนั้น ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ โดยผู้รับหลักประกันจะบังคับ เอาดอกเบี้ยที่ค้างชําระตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเกินกว่าห้าปีไม่ได้ เพื่อไม่ให้ผู้รับหลักประกัน เพิกเฉยละเลยไม่ดําเนินการบังคับชําระหนี้ และเรียกเอาดอกเบี้ยสูงเกินควร พระราชบัญญัติหลักประกัน ทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มาตรา 81 ไม่มีลักษณะเป็นการจํากัดสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล ไม่กระทบสิทธิ ในการถือครองทรัพย์สิน ไม่เป็นการเพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 37 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ . ศ . 2558 มาตรา 22 วรรคสอง และมาตรา 81 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 37 วรรคหนึ่งและวรรคสอง นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายวิรุฬห์ แสงเทียน นายจิรนิติ หะวานนท์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายนภดล เทพพิทักษ์ นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566