Mon Jan 02 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 22/2565 เรื่อง พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือไม่ [ระหว่าง ศาลฎีกา ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]


คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 22/2565 เรื่อง พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือไม่ [ระหว่าง ศาลฎีกา ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยที่ 22 / 2565 เรื่องพิจารณาที่ 9 / 2565 วันที่ 14 เดือน ธันวาคม พุทธศักราช 2565 ศาลฎีกา ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง เรื่อง พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ศาลฎีกาส่งคําโต้แย้งของจําเลยที่ 1 ( นายวิทยา ศุภศิริโภคา ) ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อท 63 / 2564 คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5534 / 2564 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ข้อเท็จจริงตามหนังสือส่งคําโต้แย้งของจําเลยที่ 1 และเอกสารประกอบ สรุปได้ดังนี้ พนักงานอัยการ สํานักงานอัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายวิทยา ศุภศิริโภคา จําเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และ นายสุรเชษฐ จําปาศรี จําเลยที่ 2 ในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิด ระหว่าง ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

ความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต่อศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบกลาง ซึ่งต่อมาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางพิพากษาว่า จําเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ( เดิม ) จําคุก 3 ปี จําเลยที่ 2 มีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ( เดิม ) ประกอบมาตรา 86 จําคุก 2 ปี จําเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ จําคุกจําเลยที่ 1 มีกําหนด 2 ปี และปรับ 10 , 000 บาท โทษจําคุก ให้รอการลงโทษมีกําหนด 2 ปี และคุมความประพฤติไว้ 1 ปี นับแต่วันที่ได้อ่านคําพิพากษา และให้ยกฟ้องจําเลยที่ 2 โจทก์ยื่นคําร้องขออนุญาตฎีกาโดยอัยการสูงสุดรับรอง และโจทก์ยื่นคําฟ้องฎีกา ศาลฎีกา มีคําสั่งรับฎีกาของโจทก์ จําเลยที่ 1 ยื่นคําร้องขออนุญาตฎีกา และยื่นคําฟ้องฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า ฎีกาของจําเลยที่ 1 ไม่เป็นปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย มีคําสั่งไม่อนุญาต ยกคําร้อง และไม่รับฎีกา จําเลยที่ 1 โต้แย้งว่าพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการว่า มีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย ให้ถือว่าเป็นปัญหาสําคัญและให้ศาลฎีการับฎีกานั้น เป็นกฎหมาย ที่ไม่เป็นธรรมต่อจําเลยที่ 1 ที่ต้องร้องขออนุญาตฎีกาและอยู่ในอํานาจการวินิจฉัยของศาลฎีกาว่า มีเหตุผลจะให้ฎีกาหรือไม่ จําเลยที่ 1 ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกับพนักงานอัยการโจทก์ ขอให้ศาลฎีกาส่งคําโต้แย้งดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ศาลฎีกาเห็นว่า จําเลยที่ 1 โต้แย้งว่าพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 และมาตรา 27 ซึ่งศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบังคับแก่คดี และยังไม่มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ จึงส่งคําโต้แย้งดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจรับหนังสือส่งคําโต้แย้ง ของจําเลยที่ 1 ไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง หรือไม่ เห็นว่า ศาลฎีกาส่งคําโต้แย้งของจําเลยที่ 1 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติ ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 และมาตรา 27 บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ศาลฎีกาจะใช้บังคับแก่คดี เมื่อจําเลยที่ 1 โต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคําวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง แต่ส่วนที่โต้แย้งว่าพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 หรือไม่ นั้น เห็นว่า มาตรา 5 เป็นบททั่วไปที่วางหลัก ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญไว้ โดยมิได้มีข้อความที่เป็นการคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพ ไว้เป็นการเฉพาะ ศาลรัฐธรรมนูญไม่จําต้องวินิจฉัยในส่วนนี้ จึงมีคําสั่งรับไว้พิจารณาวินิจฉัยเฉพาะ ประเด็นที่ขอให้วินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 หรือไม่ และเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทําความเห็นและจัดส่งข้อมูลพร้อมเอกสารหลักฐานยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทําความเห็นและจัดส่งข้อมูลพร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้ 1 . อัยการสูงสุดจัดทําความเห็นสรุปได้ว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ เป็นคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์และต้องผ่านกระบวนการไต่สวน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( คณะกรรมการ ป . ป . ช .) หรือคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ( คณะกรรมการ ป . ป . ท .) รวมถึงผ่านการพิจารณากลั่นกรอง ของพนักงานอัยการก่อนที่จะมีการฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งแตกต่างจากคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง โดยพนักงานอัยการมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เที่ยงธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง การที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ กําหนดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้กลั่นกรองว่าคดีใดมีประเด็นสําคัญอันสมควรให้ศาลฎีกาวินิจฉัย เป็นกลไกการอํานวยความยุติธรรมอีกชั้นหนึ่ง ไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ต่อบุคคลระหว่างคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์กับคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดี 2 . เลขาธิการวุฒิสภาจัดส่งสําเนารายงานการประชุม บันทึกการประชุม และเอกสาร ประกอบการพิจารณาพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

วรรคสี่ ในชั้นการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . … สภานิติบัญญัติแห่งชาติ 3 . เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดส่งสําเนาบันทึกสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประกอบร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . … เรื่องเสร็จที่ 359 / 2559 และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาให้ความเห็นร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . … สําเนาบันทึกการประชุมของคณะกรรมการกฤษฎีกา ( คณะพิเศษ ) สําเนาความเห็นของ คณะกรรมการกฤษฎีกา ( คณะพิเศษ ) และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาให้ความเห็นร่างพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . … ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคําโต้แย้งของจําเลยที่ 1 ความเห็นและข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเอกสารประกอบแล้วเห็นว่า คดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ . ศ . 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กําหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 27 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทย โดยมาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ” พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มีหลักการและเหตุผล ในการประกาศใช้ว่า การทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการมีผลกระทบต่อเสถียรภาพ ความมั่นคงทางสังคมและเป็นอันตรายต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนับวันจะมีความร้ายแรงมากขึ้น และเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์จํานวนมหาศาล หากไม่ได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนในที่สุด จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและประโยชน์ของประชาชน เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบดําเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและคดีความที่เกี่ยวข้องทั้งหลายได้รับการพิจารณาพิพากษา ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

อย่างเสมอภาค รวดเร็ว และเป็นธรรม สมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้น เพื่อใช้ในการดําเนินคดีของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยมาตรา 46 วรรคสี่ บัญญัติว่า “ ในกรณีที่อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกา จะได้วินิจฉัย ให้ถือว่าเป็นปัญหาสําคัญและให้ศาลฎีการับฎีกา ” บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มีความมุ่งหมายให้อัยการสูงสุดเป็นผู้กลั่นกรองว่าคดีใดเป็นปัญหาสําคัญอันเป็นเหตุอันควรให้ศาลฎีกาได้วินิจฉัย เนื่องจากกระบวนการฟ้องคดีของพนักงานอัยการผ่านขั้นตอนการไต่สวนรวบรวมพยานหลักฐาน ของคณะกรรมการ ป . ป . ช . ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือคณะกรรมการ ป . ป . ท . ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รวมถึงการพิจารณา กลั่นกรองของพนักงานอัยการก่อนที่จะมีการฟ้องคดีต่อศาล จึงกําหนดให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรอง ในฎีกาของพนักงานอัยการว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย และกําหนดเป็นเงื่อนไขบังคับให้ศาลฎีกา รับฎีกาโดยไม่อาจวินิจฉัยเป็นประการอื่นได้ ข้อโต้แย้งของจําเลยที่ 1 ที่ว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ เป็นบทบัญญัติที่ให้อํานาจอัยการสูงสุดรับรองฎีกาของพนักงานอัยการว่า มีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย ให้ถือว่าเป็นปัญหาสําคัญและให้ศาลฎีการับฎีกาของพนักงานอัยการ โดยที่ศาลฎีกาไม่สามารถใช้ดุลพินิจสั่งเป็นประการอื่นได้ เป็นบทบัญญัติที่ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ใช้อํานาจ ของศาลฎีกาโดยตรง ไม่เป็นธรรมต่อจําเลยที่ 1 ซึ่งต้องขออนุญาตฎีกาและอยู่ในอํานาจของศาลฎีกาว่า มีเหตุผลจะให้ฎีกาหรือไม่ ทําให้จําเลยที่ 1 ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกับโจทก์ ซึ่งเป็นพนักงานอัยการ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 นั้น เห็นว่า การฎีกาคือการพิจารณา ตรวจสอบคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นหลักประกันสิทธิของคู่ความในคดีให้ได้รับความเป็นธรรม ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ โดยเมื่อพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 กําหนดให้มีการพิจารณาคดีเพียงสองชั้นศาล เมื่อศาลอุทธรณ์ แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบมีคําพิพากษาหรือคําสั่งเป็นประการใด คําพิพากษาหรือคําสั่ง ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

ของศาลย่อมเป็นที่สุด สําหรับการฎีกาของคู่ความในคดีกฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติรับรองไว้ในหมวด 5 ฎีกา มาตรา 44 ถึงมาตรา 48 โดยนําระบบอนุญาตฎีกามาใช้บังคับกับกรณีของการฎีกาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบ ซึ่งมีความแตกต่างจากการฎีการะบบสิทธิที่กําหนดให้การฎีกาเป็นสิทธิของคู่ความ ที่ไม่ต้องขออนุญาตต่อศาลฎีกา โดยมาตรา 44 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การฎีกาคําพิพากษาหรือคําสั่ง ของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้ผู้ฎีกายื่นคําร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกา ไว้พิจารณาตามมาตรา 46 พร้อมกับคําฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งในคดีนั้น ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และมาตรา 46 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลฎีกามีอํานาจรับฎีกา ตามมาตรา 44 ไว้พิจารณาได้ เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย บทบัญญัติดังกล่าวมีลักษณะเป็นการบัญญัติให้อํานาจศาลฎีกาในการพิจารณาและวินิจฉัยว่า จะรับหรือไม่รับฎีกาเรื่องใดไว้พิ จารณำ แม้ว่ากระบวนการฟ้ องคดีของพ นักงานอัยการ ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 ผ่านขั้นตอนการไต่สวน รวบรวมพยานหลักฐานของคณะกรรมการ ป . ป . ช . หรือคณะกรรมการ ป . ป . ท . รวมถึงการพิจารณา กลั่นกรองของพนักงานอัยการก่อนที่จะมีการฟ้องคดีต่อศาลก็ตาม แต่พนักงานอัยการถือเป็นคู่ความ ฝ่ายหนึ่งเหมือนกับจําเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเช่นกัน เมื่อคดีถึงที่สุดตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง ของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบแล้ว คู่ความควรมีสิทธิในการฎีกาเท่าเทียมกัน โดยให้อยู่ในอํานาจการพิจารณาของศาลฎีกาว่าเป็นปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัยหรือไม่ การที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ กําหนดให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกา จะได้วินิจฉัย โดยให้ถือว่าเป็นปัญหาสําคัญและให้ศาลฎีการับฎีกา จึงเป็นการบัญญัติให้อัยการสูงสุด มีอํานาจรับรองฎีกาของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอัยการที่มีสถานะเป็นคู่ความฝ่ายหนึ่งไม่ต่างจากจําเลย ในการอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 โดยให้ถือว่าเป็นปัญหาสําคัญอันควร ให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้ นอกจากนี้ แม้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการว่า มีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยหรือไม่ แต่การที่มาตรา 46 วรรคสี่ บัญญัติให้ถือว่าเป็นปัญหาสําคัญ ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

และให้ศาลฎีการับไว้พิจารณา ทําให้อํานาจในการวินิจฉัยว่าจะรับฎีกาหรือไม่นั้น หาได้เป็นอํานาจ ขององค์คณะผู้พิพากษาที่ประธานศาลฎีกาแต่งตั้งตามมาตรา 45 วรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ เนื่องจากศาลฎีกาต้องรับฎีกาของพนักงานอัยการโดยไม่อาจวินิจฉัยเป็นประการอื่นได้ ส่งผลให้การนําคดี ขึ้นสู่ศาลฎีกาของพนักงานอัยการแตกต่างไปจากของจําเลย ส่วนการรับรองฎีกาของอัยการสูงสุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ที่บัญญัติว่า “ ในคดีซึ่งห้ามฎีกา ไว้โดยมาตรา 218 , 219 และ 220 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคําพิพากษาหรือทําความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้น เป็นปัญหาสําคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา หรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกา ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจารณาต่อไป ” นั้น เป็นการฎีการะบบสิทธิซึ่งราษฎร ที่เป็นจําเลยมีสิทธิที่จะขอให้ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคําพิพากษาหรือทําความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์พิจารณาอนุญาตฎีกาได้ นับว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิฎีกาเท่าเทียมกัน ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติรับรองว่าบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ซึ่งบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม โดยให้โอกาสแก่โจทก์และจําเลยสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อย่างเท่าเทียมกันในฐานะคู่ความในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างแท้จริง และบรรลุถึงหลักนิติธรรม ที่บุคคลทุกคนจะต้องได้รับความเสมอภาคและได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมาย รวมทั้งไม่ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมด้วยเหตุผลของความแตกต่างในสถานะของบุคคล การที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการฎีกาคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ระหว่างพนักงานอัยการกับจําเลยไว้แตกต่างกัน และกําหนดให้ศาลฎีการับฎีกาโดยไม่สามารถใช้ดุลพินิจสั่งเป็นประการอื่นได้ ย่อมทําให้หลักประกันสิทธิ ในการฎีกาของคู่ความในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบระหว่างพนักงานอัยการกับจําเลยได้รับการคุ้มครอง ที่แตกต่างกัน ไม่เสมอภาคกันในกฎหมาย ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลด้วยเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสถานะของบุคคล และขัดต่อหลักความเสมอภาค จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ . ศ . 2559 มาตรา 46 วรรคสี่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และกําหนดคําบังคับ ให้คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลเมื่อพ้นสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัย นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายวิรุฬห์ แสงเทียน นายจิรนิติ หะวานนท์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายนภดล เทพพิทักษ์ นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนที่ 1 ก ราชกิจจานุเบกษา 3 มกราคม 2566