Mon Dec 26 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565


ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565

ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสอง มาตรา 27 (5) มาตรา 34 วรรคสอง มาตรา 35 วรรคสาม มาตรา 39 (7) มาตรา 48 วรรคสอง และมาตรา 49 (9) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้ วยหลักเกณฑ์ และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ 18 ของระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบ การละเมิดสิทธิมนุษยชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 “ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังถ้อย คาของบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่กาหนดไว้ ในหมวด 3 การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน มาใช้บังคับกับการประสานการคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนโดยอนุโลม ” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 22 ของระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอ บการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ ข้อ 22 ในกรณีคาร้องที่รับไว้ตรวจสอบตามข้อ 21 จานวนมากกว่าหนึ่งคาร้องขึ้นไป มีข้อกล่าวอ้าง หรือประเด็นร้องเรียนอย่างเดียวกันหรือเกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกันหรือมีคู่กรณีเดียวกันหรือ ร่วมกัน ถ้าคณะกรรมการหรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จะให้พิจารณารวมกันไปก็ได้ ” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 23 ของระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 25 61 และให้ใช้ความ ดังต่อไปนี้แทน “ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบคาร้องได้รับมอบหมายแล้ว ให้ดาเนินการตรวจสอบเพื่อให้ ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงตามมาตรา 35 ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับมอบหมาย เว้นแต่กรณี เป็นคำร้องที่ซับซ้อน ให้ดาเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกาหนด ” ้ หนา 9 ่ เลม 139 ตอนที่ 79 ก ราชกิจจานุเบกษา 27 ธันวาคม 2565

ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 27/1 ของระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2561 “ ข้อ 27/1 ในการรับฟังถ้อยคำของบุคคลหรือหน่ วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจดาเนินการผ่านทาง โทรศัพท์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ โดยให้บันทึกการรับฟังถ้อยคาไว้เป็นหลักฐาน โดยอย่างน้อยต้องมี รายละเอียด ดังต่อไปนี้ (1) วัน เดือน ปี ที่มีการรับฟังถ้อยคำ (2) ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้ถ้อยคำ (3) สรุปข้อเท็จจริงที่ได้จากการรับฟังถ้อยคำ (4) ชื่อและตาแหน่งของผู้รับฟังถ้อยคำ ก่อนเริ่มรับฟังถ้อยคาตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งต่อผู้ให้ถ้อยคาทราบด้วยว่าเป็นการให้ถ้อยคา ในกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งจะมีการบันทึกเสียงหรือภาพและเสียง แล้วแต่กรณี แ ละจัดทาบันทึกการรับฟังไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้ การบันทึกเสียงหรือภาพและเสียงของผู้ให้ถ้อยคา ให้ขอความยินยอมจากผู้ให้ถ้อยคำก่อน วิธีการรับฟังถ้อยคาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้นาระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยการประชุม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับโดยอนุโลม บันทึกการรับฟังถ้อยคำตามข้อนี้ ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกาหนด ” ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 25 6 5 พรประไพ กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ้ หนา 10 ่ เลม 139 ตอนที่ 79 ก ราชกิจจานุเบกษา 27 ธันวาคม 2565