ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2565
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2565
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 256 5 โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพอันมีผลเป็นการเสริมสร้างขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติงานของ เลขาธิการคณะ กรรมการ ป.ป.ช. ข้าราชการ และลูกจ้างในสังกัดสานักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อาศัยอานาจตามความในมาตรา 14 4 (7) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรกลา ง บริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วย การจัดสวัสดิการภายในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ งชาติ พ.ศ. 2554 ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ” หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ “ เลขาธิการ ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. “ รองเลขาธิการ ” หมายความว่า รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือตาแหน่งอื่น ที่เที ยบเท่า “ ข้าราชการ ” หมายความว่า ข้าราชการสานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ “ ลูกจ้าง ” หมายความว่า ลูกจ้างประจาและลูกจ้างตามสัญญาจ้างสานักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ “ สำนักงาน ป.ป.ช. ” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ “ สำนัก ” หมายความว่า ส่วนราชการตามประกาศแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ้ หนา 21 ่ เลม 139 ตอนที่ 75 ก ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
“ คณะกรรมการสวัสดิการ ” หมายความว่า คณะกรรมการสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายใน สำนักงาน ป.ป.ช. “ ประธานกรรมการ ” หมายความว่า ปร ะธานกรรมการสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายใน สำนักงาน ป.ป.ช. “ กรรมการ ” หมายความว่า กรรมการสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. “ เหรัญญิก ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคลังหรือข้าราชการใน สำนักบริหารงานคลังที่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ทางด้านกำรเงินและการบัญชีที่ผู้อำนวยการ สำนักบริหารงานคลังมอบหมาย “ สวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. ” หมายความว่า กิจกรรมหรือกิจการใด ๆ ที่คณะกรรมการสวัสดิการจัดให้มีขึ้นเป็นส่วนรวม โดยมีวัตถุประสงค์ในการสงเคราะห์ ช่วยเหลือและ อานวยความสะดวกให้แก่เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ข้าราชการ และลูกจ้างในสังกัดสานักงาน ป.ป.ช. เพื่อประโยชน์ในการดารงชีพนอกเหนือจากสวัสดิการที่ทางราชการจัดให้เป็นกรณีปกติหรือ เพื่อประโยชน์แก่การสนับสนุนการปฏิบัติราชการหรือที่คณะกรรมการสวัสดิกา รเห็นสมควรให้จัดให้มีขึ้น ในสำนักงาน ป.ป.ช. “ การจัดสวัสดิการในเชิงธุรกิจ ” หมายความว่า การดาเนินกิจกรรมหรือกิจการสวัสดิการ ซึ่งเป็นไปในทางการค้ากับบุคคลทั่วไป “ สมาชิก ” หมายความว่า สมาชิกสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. “ กองทุนสวัสดิการ ” หมำยความว่า กองทุนสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. ข้อ 5 ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้ กปปช. มีอานาจ ตีความและวินิจฉัยชี้ขาด คำวิ นิจฉัยของ กปปช. ให้เป็นที่สุด หมวด 1 สมาชิกสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. และคณะกรรมการสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนที่ 1 สมาชิกสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ้ หนา 22 ่ เลม 139 ตอนที่ 75 ก ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
ข้อ 6 สมาชิก มี 2 ประเภท (1) สมาชิกสามัญ ได้แก่ เลขาธิการ ข้าราชการ และลูกจ้างในสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. (2) สมาชิกสมทบ ได้แก่ สมาชิกสามัญที่เกษียณอายุราชการและประสงค์จะสมัคร เป็นสมาชิกสมทบ ส่วนที่ 2 คณะกรรมการสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ข้อ 7 ในการจัดสวัสดิ การและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ให้เลขาธิการแต่งตั้ง คณะกรรมการสวัสดิการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า “ คณะกรรมการสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายใน สำนักงาน ป.ป.ช. ” ประกอบด้วย (1) เลขาธิการหรือรองเลขาธิการที่เลขาธิการมอบหมายเป็นประธานกรรมการ (2) ข้าราชการ หรือลูกจ้าง ที่เลขาธิการแต่งตั้งตามความเหมาะสม จานวนไม่เกินสี่คน เป็นกรรมการ ในการแต่งตั้งกรรมการ ให้แต่งตั้งผู้ที่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ทางด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ หรือด้านนโยบายและแผน ไม่เกินสองคน และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่มภารกิจ ปฏิบัติการพื้นที่ ไม่เกินสองคน (3) ผู้แทนสมาชิกสามัญซึ่งคัดเลือกกันเอง จำนวนไม่เกินเจ็ดคน เป็นกรรมการ การคัดเลือกผู้แทนสมาชิกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการสวัสดิการ กำหนด (4) ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคลัง เป็นกรรมการ (5) ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพย์สิน เป็นกรรมการ (6) ผู้อานวยการสานักบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นกรรมการและเลขานุการ และอาจแต่งตั้ง ผู้ช่วยเลขานุการ จำนวนไม่เกินสองคนด้วยก็ได้ ข้อ 8 คณะกรรมการสวัสดิการตามข้อ 7 มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) กา หนดนโยบาย อานวยการ การอนุมัติแผนงาน โครงการ กิจกรรม และงบประมาณ ประจำปี เพื่อการจัดและยุบเลิกการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ และควบคุม ดูแลการจัดสวัสดิการ และการสงเคราะห์ประเภทต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสมาชิก (2) ออกข้อบังคับหรือข้อปฏิบัติคณะกร รมการสวัสดิการเกี่ยวกับการรับจ่ายเงิน อัตรา ค่าธรรมเนียมสมาชิก การจัดทำบัญชี การเก็บรักษาเงินกองทุนสวัสดิการ การให้บริการร้านค้า สวัสดิการ การสงเคราะห์ เพื่อใช้ในการดาเนินการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. ประเภทต่าง ๆ หรือที่ได้มีเพิ่ มเติมในภายหลัง โดยให้ออกเป็นข้อบังคับหรือข้อปฏิบัติ คณะกรรมการสวัสดิการ ้ หนา 23 ่ เลม 139 ตอนที่ 75 ก ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
(3) ควบคุม ดูแล เก็บค่าธรรมเนียมสมาชิก รับจ่ายเงินกองทุนสวัสดิการ และจัดสวัสดิการ และการสงเคราะห์ให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และตามข้อบังคับหรือข้อปฏิบัติที่คณะกรรมการสวัสดิการ กำหนด ( 4) แต่งตั้งบุคคล คณะทางาน หรือคณะอนุกรรมการเพื่อรับผิดชอบในการจัดทาสวัสดิการ และการสงเคราะห์แต่ละประเภทที่เลขาธิการหรือคณะกรรมการสวัสดิการอาจริเริ่มหรือสนับสนุน ให้จัดขึ้น โดยให้ประธานกรรมการลงนามในคาสั่ง (5) การดำเนินการในการจัดซื้อหรือการจัดจ้างและการบ ริหารพัสดุ เพื่อดำเนินการ จัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ สวัสดิการกาหนด โดยให้ประธานกรรมการหรือผู้ที่ประธานกรรมการมอบหมายเป็นผู้มีอานาจอนุมัติ ในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง (6) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ เพื่อใช้ในการดำเนินการจัดสวัสดิการและ การสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ตามระเบียบนี้ (7) กาหนดอัตราค่าบริการในการใช้บริการสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้จัดให้มีขึ้นและควบคุมการรับเงินและใช้จ่ายเงินของกองทุนสวัสดิการ (8) อนุมัติ การจ้างลูกจ้างสวัสดิการ การมอบหมายงาน และให้นาระเบียบคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยลูกจ้างสานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติมาใช้บังคับโดยอนุโลม (9) อนุมัติหรือมอบอานาจให้กรรมการคนหนึ่งคนใดเป็นผู้ดาเนินการก่อหนี้ผู กพันหรือลงนาม ในเอกสารต่าง ๆ แทนคณะกรรมการสวัสดิการ ตามข้อบังคับหรือข้อปฏิบัติที่คณะกรรมการสวัสดิการ กำหนด (10) ปฏิบัติการอื่นใดที่จาเป็นเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. หรือตามที่เลขาธิการกำหนด และในกรณีที่ไม่มีระเบียบ ข้อบั งคับ หรือข้อปฏิบัติของ คณะกรรมการสวัสดิการในเรื่องนั้นและเป็นเรื่องที่ต้องดาเนินการโดยเร็ว ให้ประธานกรรมการมีอานาจ ดาเนินการแล้วรายงานให้คณะกรรมการสวัสดิการทราบโดยเร็วเป็นเฉพาะกรณี ข้อ 9 กรรมการตามข้อ 7 (2) และ (3) มีวาระการดารงตาแหน่งสองปี นับแต่วั นที่ เลขาธิการแต่งตั้ง และอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกวาระได้ แต่กรรมการตามข้อ 7 (3) จะดารงตาแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ นอกเหนือจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการยังอาจพ้นจากตำแหน่ง หากประสงค์จะลาออกจากตาแหน่ง หรือเมื่อมีเหตุต้องออกจากรา ชการตามระเบียบคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. หรือ ออกจากงานตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยลูกจ้าง ้ หนา 24 ่ เลม 139 ตอนที่ 75 ก ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
สานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรร มการสวัสดิการ พิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้พ้นจากตาแหน่ง กรณีกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตามข้อ 7 (2) คนใดพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้เลขาธิการดาเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนตามข้อ 7 (2) กรณีกรรมการที่ได้รับการคัดเลือกตามข้อ 7 (3) คนใดพ้นจากตาแหน่ งก่อนครบวาระ ให้ดาเนินการคัดเลือกกรรมการแทน เว้นแต่วาระของกรรมการดังกล่าวเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน จะไม่คัดเลือกกรรมการแทนก็ได้ ในระหว่างนั้น ให้ถือว่าคณะกรรมการสวัสดิการมีจำนวนเท่าที่เหลืออยู่ ข้อ 10 การประชุมคณะกรรมการสวัสดิการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม กรณีที่ประธานกรรมการไม่มาประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ เป็นประธานในที่ประชุม การลงมติในการประชุมของคณะ กรรมการสวัสดิการ ให้ใช้คะแนนเสียงข้างมากของจานวน กรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ โดยประธานในที่ประชุมและกรรมการที่มาประชุมต้องลงคะแนนเสียง เพื่อมีมติ และให้กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ในกรณีมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธาน ในที่ประชุมมีสิทธิออกเสีย งเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด หมวด 2 การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ข้อ 11 การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. เลขาธิการหรือ คณะกรรมการสวัสดิการอาจริเริ่มหรือมอบหมายให้ดำเนินการหรือสนับสนุนให้มีการดำเนินการ จัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ตามประเภทกิจกรรม ดังต่อไปนี้ ( 1) การออมทรัพย์ ( 2) การให้กู้เงิน ( 3) การทัศนศึกษาและการส่งเสริมด้านการศึกษา ( 4) การฝึกอบรม การสัมมนา การประชุมการฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่สมาชิก ( 5) การให้บริการด้านสุขภาพอนามัยและการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน ( 6) การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี ( 7) การกีฬาและนันทนาการ ( 8) การให้บริการของร้านค้าสวัสดิการ ( 9) การจัดทำหนังสือ วา รสาร หรือสิ่งพิมพ์อื่นเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือกิจการ ของการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ้ หนา 25 ่ เลม 139 ตอนที่ 75 ก ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
( 10) การให้บริการหรือการช่วยเหลือแก่สมาชิกในด้านอื่น เช่น การช่วยเงินค่าอาหาร เงินช่วยค่าเดินทาง เงินช่วยค่าเครื่องแบบหรือเครื่องแต่งกาย ผู้ประสบภัยหรือการให้สิทธิประโยชน์อื่น ๆ แก่สมาชิกที่ได้ดาเนินการมาแล้วในสำนักงาน ป.ป.ช. ก่อนที่ได้ใช้ระเบียบนี้ ( 11) การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์อื่นตามที่เลขาธิการ หรือคณะกรรมการสวัสดิการ กำหนด ข้อ 12 การจัดให้มีสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนัก งาน ป.ป.ช. ประเภทใด ให้คานึงถึงสภาพความพร้อม ความต้องการของสมาชิก จานวนเงินทุน และศักยภาพในการจัดสวัสดิการภายใน สำนักงาน ป.ป.ช. สมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่าสามสิบคนอาจเข้าชื่อกันเสนอคณะกรรมการสวัสดิการ เพื่อพิจารณาให้มีการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ตามระเบียบนี้ก็ได้ ข้อ 13 การจัดสวัสดิการในเชิงธุรกิจภายในสำนักงาน ป.ป.ช. จะกระทามิได้ เว้นแต่ เป็นการจัดสวัสดิการภายในสานักงาน ป.ป.ช. เพื่อประโยชน์ของสานักงาน ป.ป.ช. ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการสวัสดิการกาหนด ข้อ 14 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. ทำหน้าที่บริหารงานสวัสดิการภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อปฏิบัติ คณะกรรมการสวัสดิการ และให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) จัดทำแผนงาน โครงการ กิจกรรม และงบประมาณประจำปีเสนอคณะกรรมการ สวัสดิการเพื่อพิจารณาอนุมัติ (2) เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการสวัสดิการในการออกข้อบังคับ ข้อปฏิบัติ หรือ หลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ เพื่อใช้ในการดาเนินการจัดสวัสดิการและการสงเครา ะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. ประเภทต่าง ๆ (3) การจัดให้มีการบริการ หรือกิจกรรมสวัสดิการต่าง ๆ ตามแผนงาน โครงการ กิจกรรม และหรือเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการสวัสดิการในการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมตามความเหมาะสม (4) ดาเนินการทางธุรการในการบรรจุ แต่งตั้ง บังคับบัญ ชา และประเมินผลการปฏิบัติงาน ลูกจ้างสวัสดิการสำนักงาน ป.ป.ช. (5) จัดทำทะเบียนรายชื่อสมาชิก (6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่เลขาธิการ หรือคณะกรรมการสวัสดิการมอบหมาย ข้อ 15 การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. เรื่องใดที่มีความสำคัญ และมีลักษณะ เฉพาะซึ่งสมควรแยกการบริหารจัดการ คณะกรรมการสวัสดิการจะดาเนินการ โดยมี ข้อบังคับหรือข้อปฏิบัติการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์เป็นการเฉพาะเรื่อง ตลอดจนกาหนดให้มี กองทุนสวัสดิการ และการจัดทำบัญชีรับจ่ายในเรื่องนั้น ๆ แยกจากกองทุนสวัสดิการอีกก็ได้ ้ หนา 26 ่ เลม 139 ตอนที่ 75 ก ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
ข้อ 16 กา รปฏิบัติหน้าที่ของเลขาธิการ ข้าราชการ และลูกจ้างตามระเบียบนี้ ให้ถือว่า เป็นการปฏิบัติราชการ ข้อ 17 ภายใต้บังคับกฎหมายและมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. เลขาธิการมีอำนาจดาเนินการ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ดังนี้ (1) พิจารณาอนุมัติให้สวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ใช้ที่ดิน ทรัพย์สินหรืออาคารของราชการ เพื่อประโยชน์แก่การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ตามที่จำเป็นและสมควรได้ (2) พิจารณาอนุมัติให้ซ่อมแซมหรือบารุงรักษาสถานที่ อาคำร หรือทรัพย์สินตาม (1) โดยให้ใช้จ่ายจากกองทุนสวัสดิการได้เท่าที่จำเป็น ในกรณีที่เงินกองทุนสวัสดิการมีไม่เพียงพอ ให้สานักงาน ป.ป.ช. เสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. ขออนุมัติให้เจียดจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่าย เพื่อการนี้ได้ (3) พิจารณาอนุมัติให้ใช้น้ำ กระแ สไฟฟ้า หรือสิ่งสาธารณูปโภคอื่นโดยประหยัดเพื่อให้ จัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ได้ตามความจำเป็น ข้อ 18 การใดที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นากฎหมายว่าด้วยการจัดสวั สดิการภายในส่วนราชการและระเบียบอื่น ที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ หมวด 3 การเงิน การบัญชี และการตรวจสอบ กองทุนสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนที่ 1 การเงิน ข้อ 19 ให้ประธานกรรมการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสวัสดิการจัดตั้งกองทุนขึ้น เรียกว่า “ กองทุนสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. ” แยกต่างหากจากเงินอื่น ของสานักงาน ป.ป.ช. เพื่อสะสมทุนและใช้จ่ายสาหรับการดาเนินงานตามวัตถุประสงค์ของสวัสดิการ ภายในสานักงาน ป.ป.ช. และให้เหรัญญิกควบคุมและกำกับดูแลการรับจ่ายเงิน การเบิกเงิน การรักษาเงิน และการบัญชีของกองทุนสวัสดิการ ้ หนา 27 ่ เลม 139 ตอนที่ 75 ก ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
ข้อ 20 กองทุนสวัสดิการอาจมีรายได้ ดังนี้ (1) เงินค่าธรรมเนียม สมาชิก (2) เงินรายรับจากการจัดกิจกรรมหรือการจัดบริการของสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายใน สำนักงาน ป.ป.ช. (3) เงินกู้จากสถาบันการเงิน (4) เงินบริจาคเพื่อการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. (5) เงินอุดหนุนหรือรายได้อื่น (6) ดอกผลของเงินรายได้ตาม (1) ถึง (5) การกู้เงินจากสถาบันการเงินตาม (3) และเงินบริจาคเพื่อการจัดสวัสดิการตาม (4) ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการสวัสดิการมีมติกำหนด ข้อ 21 การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ให้เบิกจ่ายตามข้อบังคับหรือข้อปฏิบัติคณะกรรมการสวัสดิการเกี่ยวกับการรับจ่ายเงิน ที่คณะกรรมการสวัสดิการกาหนด การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ รวมถึงการจัดงานต่าง ๆ ที่มีความจาเป็นเร่งด่วน หรือเป็นเรื่องต้องดาเนินการเพิ่มเติมนอกเหนือ จากแผนงาน โครงการ หรือ กิจกรรมที่ตั้งไว้ หรือนอกเหนือจากที่กาหนดไว้ในข้อบังคับหรือข้อปฏิบัติการรับจ่ายเงิน ให้ประธาน กรรมการหรือผู้ที่ประธานกรรมการมอบหมายพิจารณาอนุมัติการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด ข้อ 22 ให้ กรรมการและเลขานุการหรือผู้ที่คณะกรรมการสวัสดิการมอบหมาย จัดทำรายงานผลการดาเนินงานในปีที่ผ่านมาเสนอคณะกรรมการสวัสดิการเพื่อพิจารณา ส่วนที่ 2 การบัญชี ข้อ 23 ให้เหรัญญิกหรือผู้ที่คณะกรรมการสวัสดิการมอบหมายดาเนินการเปิดบัญชีฝากเงิน สาหรับกองทุนสวัสดิการ ในนาม “ กองทุนสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. ” ไว้กับธนาคารพาณิชย์ตามมติคณะกรรมการสวัสดิการกาหนด และให้เหรัญญิกควบคุมและกากับดูแล การรับจ่ายเงิน การเบิกเงิน การรักษาเงินและการบัญชีของกองทุนสวัสดิการตามข้อ 19 ด้วย ข้อ 24 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. จัดทำระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. โดยแยกตามประเภท งาน ลงรายการรับและจ่ายเงินและสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นอยู่จริงตามประเภท กิจกรรม พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการดังกล่าว ้ หนา 28 ่ เลม 139 ตอนที่ 75 ก ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. จัดทางบรายรับรายจ่ายประจาเดือนเสนอคณะกรรมการสวัสดิ การเพื่อทราบ และให้มีการตรวจสอบ บัญชีภายในเป็นประจำ ทั้งนี้ ตามข้อบังคับคณะกรรมการสวัสดิการ ข้อ 25 การปิดบัญชีให้กระทำปีละครั้งตามปีปฏิทิน และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบใน การ จัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. จัดทางบการเงิน ซึ่งประกอบด้วยงบดุล บัญชีทาการ และบัญชีกาไรขาดทุนตามกฎหมายเพื่อดาเนินการตรวจสอบและรับรองบัญชีภายใน สี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ส่วนที่ 3 การตรวจสอบ ข้อ 26 ในทุกปี ให้ผู้ตรวจสอบ ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. หรือผู้มีคุณวุฒิด้านการเงิน และบัญชีที่คณะกรรมการสวัสดิการแต่งตั้ง ทำการตรวจสอบและรับรองการเงินและการบัญชี ของกองทุนสวัสดิการให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับงบการเงินตามข้อ 25 ข้อ 27 ผู้ตรวจสอบภายในหรือผู้มีคุณวุฒิด้ำนการเงินและบัญชีที่คณะกรรมการสวัสดิการ แต่งตั้งตามข้อ 26 มีหน้าที่ตรวจสอบสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการบริหารกองทุน สวัสดิการ เพื่อการนี้อาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้ที่คณะกรรมการสวัสดิการ มอบหมายให้จัดการหรือดาเนินการจัดสวัสดิการและ การสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. นั้น หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ 28 เมื่อดาเนินการตรวจสอบบัญชีและรับรองการเงินและการบัญชีของกองทุนสวัสดิการ ตามข้อ 26 แล้วเสร็จ ให้ผู้ตรวจสอบภายในหรือผู้มีคุณวุฒิด้านการเงินและบัญชีตามข้อ 26 เสนอรายงานผลการตรวจสอ บและรับรองการเงินและการบัญชีดังกล่าวต่อคณะกรรมการสวัสดิการ เพื่อพิจารณา หมวด 4 การประเมินผลการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ข้อ 29 ให้คณะกรรมการสวัสดิการนำรายงานผลการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายใน สานักงาน ป.ป.ช. ตามข้อ 22 ประกอบผลการตรวจสอบบัญชีของกองทุนสวัสดิการที่คณะกรรมการ สวัสดิการเห็นชอบตามข้อ 28 มาประเมินผลการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. ในปีที่ผ่านมา เมื่อประเมินผลการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสานักงาน ป.ป.ช. ตามวรรคหนึ่ง แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการสวัสดิการรายงานผลการประเมินการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายใน สำนักงาน ป.ป.ช. ในปีที่ผ่านมา พร้อมส่งสำเนารายงานผลการจัดสวัสดิการดังกล่าวและ ้ หนา 29 ่ เลม 139 ตอนที่ 75 ก ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
ผลการตรวจสอบบัญชี ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. ทราบ ข้อ 30 ให้คณะกรรมการสวัสดิการ ประชาสัมพันธ์รายงานผลการประเมินผลการจัดสวัสดิการ และการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ตามข้อ 29 ให้สมาชิกทราบโดยทั่วกัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการสวัสดิการกาหนด บทเฉพาะกาล ข้อ 31 ภายใต้บังคับข้อ 9 วรรคสอง ให้กรรมการที่เลขาธิการแต่งตั้งตามข้อ 9 (2) และ กรรมการจากผู้แทนสมาชิกซึ่งคัดเลือกกันเองตามข้อ 9 (3) ตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในสานักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุ จริตแห่งชาติ พ.ศ. 2554 ที่ยังคงดารงตาแหน่งอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ เป็นกรรมการตามข้อ 7 (2) และ (3) แห่งระเบียบนี้ และยังคงดารงตาแหน่งดังกล่าวต่อไปจนกว่า จะครบวาระตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการจัดสวัสดิ การ ภายใน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2554 ข้อ 32 ให้การดำเนินการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายใน สานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2554 เป็นการจัดสวัสดิการ และการสงเคราะห์ภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ตามระเบียบนี้ ข้อ 33 ให้กองทุนสวัสดิการตามระเบียบ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในสานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ พ.ศ. 2554 เป็นกองทุนสวัสดิการตามระเบียบนี้ ข้อ 34 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติ ประกาศและคำสั่งที่ออกตามระเบียบ คณะกรรมกำรป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในสานักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2554 หรือมติคณะกรรมการสวัสดิการ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบี ยบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 1 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 25 6 5 พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ้ หนา 30 ่ เลม 139 ตอนที่ 75 ก ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565