ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง นโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ. 2566 - 2570)
ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง นโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ. 2566 - 2570)
ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง นโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ. 2566 - 2570) โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 240 (1) และ (3) บัญญัติให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีหน้าที่และอานาจในการวางนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน และกากับการตรวจเงินแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน โดยการกาหนดนโยบายนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 มาตรา 28 บั ญญัติ ให้ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินวางนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินประจาปีและนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน ระยะยาว ซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ (1) ทิศทางและเป้าหมายในการตรวจเงินแผ่นดิน (2) ผลสัมฤทธิ์ในการตรวจเงินแผ่นดิน และ (3) การพัฒนาการตรวจเงินแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว และให้นานโยบายการตรวจเงินแผ่นดินแจ้งต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีทราบ และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปด้วย ประกอบกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 80 บัญญัติหลักการสาคัญเรื่องการตรวจเงินแผ่นดินไว้ว่า การตรวจเงินแผ่นดิน ต้องกระทาด้วยความสุจริต รอบคอบ โปร่งใส เที่ยงธรรม กล้าหาญ ปราศจากอคติ และเป็นไป ตามหลักธรรมาภิบาล โดยให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน ในช่วงระยะเวลาการป ฏิบัติงานตามนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ. 2561 - 2565) ได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID - 19 ) ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อการดาเนินการตามนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินระดับหนึ่ง ประกอบกับนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน จะสิ้นสุดการใช้บังคับในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จึงได้ มอบหมายให้สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินดาเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบาย การตรวจเงินแผ่นดินภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว พบว่า การปฏิบัติงานตามนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์บางประการ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการตรวจเงินแผ่นดินเป็นไปอย่างล่าช้า การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพไม่เป็นไปตามเป้าหมาย คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จึงได้นำผลการประเมินดังกล่าวมาเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาวิเคราะห์ในการจัดทำนโยบาย การตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ. 2566 - 2570) การจัดทานโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ. 2566 - 2570) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ความสาคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพการตรวจเงินแผ่นดินภายใต้สถานการณ์ประเด็นอุบัติใหม่ ( Emerging Issues ) และการพัฒนาผลผลิตของงานที่เส ริมสร้างความเข้มแข็งให้กับงานตรวจสอบ ( Non - Audit Product ) อาทิ รายงานการศึกษาวิจัยด้านการตรวจเงินแผ่นดิน รายงานการแก้ไข ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน ซึ่งจะทำให้การใช้จ่ายเงินแผ่นดินมีเสถียรภาพและความยั่งยืน ทางการคลัง และมีความสอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะด้านกำรขจัดอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และการเบิกจ่ายเงินเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ้ หนา 7 ่ เลม 139 ตอนที่ 74 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565
คุ้มค่า โปร่งใส ปราศจากการทุจริต รวมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ กล่าวคือ ประการแรก กา รตรวจเงินแผ่นดินเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐมีการรักษา วินัยการเงินการคลังของรัฐทั้งรายได้และรายจ่าย ก่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงของเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ รวมถึงเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ประการที่สอง การตรวจเงินแผ่นดินเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและปราบปราม การทุจริตของการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักรำช 2560 และบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจึงวางนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินระยะยาว โดยมีระยะเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. นโยบายการตรวจเงินแผ่นดินในภาพรวม 1.1 การตรวจเงินแผ่นดินต้องกระทำด้วยความสุจริต รอบคอบ โปร่งใส เที่ยงธรรม กล้าหาญ ปราศจากอคติ โดยต้องคานึงถึงหลักธรรมาภิบาลและปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามมาตรฐาน ทางจริยธรรม 1.2 การตรวจเงินแผ่นดินต้องคานึงถึงการดาเนินการตามหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ ความคุ้มค่า ความสงบเรียบร้อย ความไว้วางใจของสาธารณชน ความสุจริต ในการดาเนินงาน รวมทั้งเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืน ทางการคลัง ของรัฐด้วย 1.3 การตรวจเงินแผ่นดินต้องมีความเป็นอิสระและเป็นกลาง และได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมาย 1.4 การตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไป ตามกฎหมาย นโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน และหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงิน แผ่นดิน และต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อหน่วยรับตรวจ 1.5 การตรวจเงินแผ่นดินต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการจัดหารายได้ การใช้จ่าย การบริหารการเงินการคลัง และการก่อหนี้ของหน่วยรับตรวจ รวมถึงการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น แก่การเงินการคลังของรัฐ 1.6 การพิจารณาวินิจฉัยลงโทษทางปกครองกรณีที่มีการกระทาผิดกฎหมายว่าด้วยวินัย การเงินการคลังของรัฐ ต้องมีความโปร่งใส เป็นกลาง และเป็นธรรม เพื่อให้มีการชดใช้ค่าเสียหาย ที่เกิดขึ้นโดยเร็ว ้ หนา 8 ่ เลม 139 ตอนที่ 74 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565
1.7 การให้คำปรึกษา แนะนาหรือเสนอแนะเกี่ยว กับการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน รวมทั้งการตอบ ข้อสอบถามของหน่วยรับตรวจให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐและกฎหมายอื่น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐ 2. ทิศทางและเป้าหมายในการตรวจเงินแผ่นดิ น 2.1 การตรวจสอบการบริหารการคลังและงบประมาณแผ่นดิน การรักษาวินัยทางการคลัง ด้านรายได้รายจ่าย และการบริหารหนี้สาธารณะ ทั้งที่เป็นเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ ให้สอดคล้องกับนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน หลักเกณฑ์มาตรฐาน และเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย วินัยการ เงินการคลังของรัฐ และกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่เกี่ยวข้อง 2.2 การตรวจสอบการจัดหารายได้ การใช้จ่าย การบริหารการเงินการคลังและการก่อหนี้ ต้องตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Development Goals : SDGs ) ที่อาจ ส่งผลต่อทางด้านเศรษฐกิ จ สังคม สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนและเสถียรภาพทางการคลังของรัฐ 2.3 การตรวจเงินแผ่นดินต้องตอบสนองต่อการบริหารจัดการงบประมาณ และการก่อหนี้ ผูกพันในสถานการณ์ประเด็นอุบัติใหม่ ( Emerging Issues ) หรือภัยพิบัติในกรณีฉุกเฉินจำเป็น 2.4 การให้ความสำคัญกับ การติดตามผลการตรวจสอบ โดยให้หน่วยรับตรวจนำผล การตรวจสอบและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อป้องกันข้อบกพร่องที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต 2.5 การตอบข้อสอบถามหรือให้คาแนะนำเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดินต้องปฏิบัติให้เป็นไป ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคั บ มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการ 2.6 การให้ความสาคัญกับการสร้างผลผลิตของงานที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับงานตรวจสอบ ( Non - Audit Product ) สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับการตรวจเงินแผ่นดินในภาพรวม ทาให้การบริหาร การเงินการคลังของรัฐเป็นไปตามกฎหมาย เกิดผลสัมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพ 2.7 การส่งเสริมและสนับสนุนการดาเนินการเพื่อให้หน่วยรับตรวจมีความรู้ความเข้าใจ ในหน้าที่ที่ต้องรักษาวินัยการเงินการคลัง และปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการ 2.8 การให้ความร่วมมือกับกระทรวงการคลังเพื่อพัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถสนับสนุนภารกิจเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน 2.9 การบริหารจัดการและพัฒนาบุคลากรทั้งระบบ โดยบูรณาการความรู้ความสามารถ ในการตรวจเงินแผ่นดินให้เป็นสหสาขาวิชา สอดคล้องกับมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดินระดับสากล เพื่อให้บุคลากรมีศักยภาพ มีความเป็นมืออาชีพภายใต้ระบบคุณธรรม 2.10 การกาหนดค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม โดยคานึงถึงความเพียงพอใน การดารงชีพ เพื่อให้เกิดขวัญกาลั งใจ และสามารถรักษาเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ้ หนา 9 ่ เลม 139 ตอนที่ 74 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565
2.11 การส่งเสริมและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการและประสบการณ์ ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยร่วมมือกับ หน่ วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ 2.12 การรายงานผลการตรวจเงินแผ่นดินและรายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดินต้องโปร่งใสและเป็นอิสระ และจัดให้มีการนาเสนอข้อเท็จจริงผลการประเมินงาน ด้านต่าง ๆ ในข้อที่เป็นสาระสาคัญ ร วมทั้งมีการนาข้อคิดเห็นของหน่วยรับตรวจที่มีต่อข้อตรวจพบมา พิจารณาประกอบการจัดทำรายงาน และต้องเผยแพร่รายงานดังกล่าวให้ประชาชนทราบได้โดยสะดวก 2.13 การสนับสนุนให้สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นองค์กรที่นาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ในการตรวจเงินแผ่นดินมากขึ้น โดย มุ่งพัฒนาให้เป็นองค์กรชั้นนาในระดับสากล 3. ผลสัมฤทธิ์ในการตรวจเงินแผ่นดิน 3.1 การตรวจเงินแผ่นดินเป็นไปตามนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินและหลักเกณฑ์มาตรฐาน เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ เกิดผลสัมฤทธิ์และ มีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐ 3.2 การบริหารการเงินการคลัง การจัดหารายได้ การใช้จ่ายและการก่อหนี้ของหน่วยรับตรวจ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ คุ้มค่า เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ ช่วยป้ องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐ 3.3 การตรวจสอบเชิงบูรณาการ เน้นการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพ สามารถ ให้คาแนะนำหรือข้อเสนอแนะแก่หน่วยรับตรวจ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินแผ่นดินเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ต่อประเทศชาติและประชาชน 3.4 การตรวจเงินแผ่นดินสามารถระงับหรือยับยั้งความเสียหายอย่างร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น แก่การเงินการคลังและทรัพย์สินของรัฐ ( Foresight and Prevention ) อันเกิดจากการกระทาที่ ไม่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ 3.5 การรายงานผลการตรวจเงินแผ่นดินมีความถูกต้อง โปร่งใส เป็นกลาง ตอบสนองต่อ แนวนโยบายแห่งรัฐและยุทธศาสตร์ชาติ เป็นที่ยอมรับของหน่วยรับตรวจและสาธารณชน ด้วยการให้ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยรับตรวจ คณะรัฐมนตรี รัฐสภาและสาธารณชน ส่งผลให้เกิด ความตระหนัก ในการบริหารเงินแผ่นดินในภาพรวมของหน่วยรับตรวจและรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพและ คุ้มค่า เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 3.6 หน่วยรับตรวจมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในหน้าที่ที่ต้องรักษาวินัยการเงินการคลัง ตามกฎหมายและระเบียบอย่างเคร่งครัด เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลและความคุ้มค่าในการบริหารเงิน แผ่นดิน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพอย่างยั่งยืนทางการคลัง ้ หนา 10 ่ เลม 139 ตอนที่ 74 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565
3.7 หน่วยรับตรวจบริหารงบประมาณและการก่อหนี้ผูกพันในสถานการณ์ประเด็นอุบัติใหม่ ( Emerging Issues ) หรือภัยพิบัติในกรณีฉุกเฉินจาเป็น เกิดผลประโยช น์สูงสุดต่อสาธารณะและเป็นไป ตามนโยบายการเงินการคลังของรัฐ 3.8 หน่วยรับตรวจสามารถนาผลการตรวจสอบ คาแนะนา และข้อเสนอแนะไปปฏิบัติ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อความมีเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจน ความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ 3.9 สานักงานการ ตรวจเงินแผ่นดินเป็นองค์กรมืออาชีพ ได้รับความเชื่อมั่นและการยอมรับ ทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล 3.10 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและทักษะใน การปฏิบัติงานเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ภายใต้การบริหารงานบุคคลในระบบพิทักษ์คุณธรรม รวม ถึง มีค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมกับภาระความรับผิดชอบและเพียงพอต่อการดารงชีพ 3.11 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นองค์กรตรวจเงินแผ่นดินดิจิทัล สามารถนำเทคโนโลยี มาใช้สนับสนุนการตรวจเงินแผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. การพัฒนาการตรวจเงินแผ่นดินให้ มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว 4.1 การพัฒนาการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้ความสำคัญกับภารกิจการตรวจเงินแผ่นดินของ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่ต้องมีความเป็นอิสระและเป็นกลาง โดยการสนับสนุนส่ งเสริมการพัฒนาการตรวจเงิน แผ่นดินในทุกลักษณะงานตรวจสอบ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินแผ่นดินเป็นไปอย่างถูกต้อง คุ้มค่า และ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนี้ 4.1.1 สนับสนุนการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของการบริหารการเงิน การคลังและงบประมาณแผ่นดิน การรักษาวินัยทางการคลังด้านรายได้และรายจ่าย การบริหารหนี้ สาธารณะ ทั้งที่เป็นเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและ ความคุ้มค่า 4.1.2 ส่งเสริมการตรวจเงินแผ่นดินโดยมุ่งเน้นการตรวจสอบเชิงบูรณากา รด้าน การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดาเนินงาน การเงิน การปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินแผ่นดินเป็นไปอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน 4.1.3 สนับสนุนและให้ความสำคัญกับการตรวจสอบโครงการของรัฐบาลที่มีผล กระทบ ต่อฐานะการคลังของประเทศ หรือโครงการที่มีผลกระทบต่อประชาชน หรือเรื่องที่สาธารณชนให้ความสนใจ 4.1.4 สนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยทั้งภายในและภายนอกสานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในด้านการตรวจเงินแผ่นดิน ทั้งความร่วมมือภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนาข้อเสน อแนะ ที่ได้จากการวิจัยมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ้ หนา 11 ่ เลม 139 ตอนที่ 74 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565
4.1.5 สนับสนุนการให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์รวบรวมข้อมูลรายงานผล การตรวจสอบหรือการวิจัยที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อสร้างผลผลิตของงานที่ส่งเสริมความเข้มแข็ง ให้กับงานตรวจสอบ ( Non - Audit Prod uct ) ทาให้เพิ่มคุณค่ากับการตรวจเงินแผ่นดินในภาพรวม และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารการเงินการคลังของรัฐ 4.1.6 สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่จะทำให้ การตรวจเงินแผ่นดินมีประสิทธิภาพและป้องกันความเสียหายได้ทันกาล ( Timeliness ) และการสร้าง มูลค่าเพิ่ม ( Value Added ) ให้กับการตรวจเงินแผ่นดิน 4.1.7 ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน อันเป็นปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัดที่จะทำให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ การตรวจเงินแผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 4.2 การพัฒนาการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินส่งเสริมให้สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นองค์กร ตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ โดยนาเทคโนโลยี ดิจิทัลมาใช้ในการสนับสนุนการตรวจสอบและการบริหารงาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านการวิจัยและวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านความร่วมมือระหว่างองค์กร ภายในประเทศและต่างประเทศ และด้านความโปร่งใสและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สามารถรองรับ กับการตรวจสอบที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคต ดังนี้ 4.2.1 ด้านการพัฒนาการตรวจเงินแผ่นดิน (1) พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบ โดยให้ความสาคัญกับการพัฒนาเทคนิค วิธีการ และเครื่องมือการตรวจสอบ รวมทั้งนาเทคโนโลยีและสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพและคุณภาพการตรวจสอบทุกลักษณะงานตรวจสอบ (2 ) ส่งเสริมและสนับสนุนในการเตรียมความพร้อม เพื่อให้สานักงานการตรวจเงิน แผ่นดินทาหน้าที่เป็นผู้ประเมินผล ติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ในการบริหารเงิน แผ่นดินที่ตอบสนองต่อการนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ( Auditing SDGs ) (3) ปรับปรุงและแก้ไขหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นที่ยอมรับของสากล (4) พัฒนาแนวปฏิบัติหรือคู่มือการบูรณาการการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และ ประสิทธิภาพการดาเนินงานกับการตรวจสอบการ ปฏิบัติตามกฎหมายและการตรวจสอบการเงิน รวมทั้ง เสริมสร้างความรู้ด้านการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดาเนินงานให้แก่ผู้ตรวจสอบในทุก ลักษณะงาน เพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในงานตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพ การดาเนินงาน ้ หนา 12 ่ เลม 139 ตอนที่ 74 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565
(5) พัฒนาคู่มือและแนวทางการ ตรวจสอบให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์มาตรฐาน ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งกาหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการให้คาแนะนาเกี่ยวกับการตรวจเงิน แผ่นดินแก่หน่วยรับตรวจได้อย่างมีประสิทธิภาพ (6) พัฒนาระบบบริหารงานตรวจสอบที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนการตรวจสอบให้มี ประสิทธิภำพและประสิทธิผล ทันสมัย สามารถใช้งานง่าย เหมาะสมกับสถานการณ์การใช้จ่ายเงิน งบประมาณของหน่วยรับตรวจ (7) ส่งเสริมและผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการตรวจเงิน แผ่นดิน โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐและคว ำมผิด เกี่ยวกับวินัยการเงินการคลังของรัฐ ให้สอดคล้องกับหลักการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นที่ยอมรับของสากล (8) ส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์กร ภาครัฐ องค์กรอิสระ และภาคเอกชน ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์และ ก ระบวนการปฏิบัติงาน รวมถึงด้านบุคลากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของสานักงานการตรวจเงิน แผ่นดิน 4.2.2 ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี (1) พัฒนาระบบงานการตรวจเงินแผ่นดินอิเล็กทรอนิกส์ การรวบรวมและ วิเคราะห์ข้อมูลการตรวจสอบ ( Data Analytics ) และระบบการตอบข้ อสอบถามของหน่วยรับตรวจ โดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ ( Artificial Intelligence : AI ) และการตรวจสอบทางบัญชีนิติวิทยา ( Forensic Accounting ) มาช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ (2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลและการจัดการทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ ระบบบริหารและพัฒนาบุคลา กร ระบบบริหารงบประมาณและการเงิน ระบบสานักงานอิเล็กทรอนิกส์ และระบบการจัดการฐานข้อมูล ( Database Management System - DBMS ) ที่ใช้ในการตรวจสอบ ให้สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถทางด้านการตรวจเงินแผ่นดินและรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคดิจิทัลซึ่งเชื่อมโยง กับแนวทางการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (3) สนับสนุนและส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ซอฟต์แวร์ เครือข่ายการสื่อสาร ซึ่งเป็นไปตามข้อกาหนดภาครัฐ ได้รับการรับรองมาตรฐาน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ( Green IT ) เทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Digital Tech nology and Sustainable Development ) 4.2.3 ด้านการพัฒนาบุคลากร (1) พัฒนางานและศักยภาพบุคลากร รวมถึงปรับปรุงโครงสร้างภายใน ระเบียบและคาสั่ง เพื่อรองรับการจัดทาผลผลิตของงานที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับงานตรวจสอบ ้ หนา 13 ่ เลม 139 ตอนที่ 74 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565
( Non - Audit Product ) ในการสร้าง ความหลากหลายและมูลค่าเพิ่ม ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และ ประสิทธิภาพในการตรวจเงินแผ่นดินในภาพรวม (2) สนับสนุนและส่งเสริมระบบสมรรถนะ ( Competency ) และเส้นทาง ความก้าวหน้าในวิชาชีพ ( Career Path ) ในทุกระดับตาแหน่งและสายงาน (3) พัฒนาระบบนิเวศทางการบริหารงาน บุคคล ( Human Resource Ecosystem ) ที่คานึงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้อง ผ่านวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ขององค์กร ภายใต้กรอบจรรยาบรรณการตรวจเงินแผ่นดิน 4.2.4 ด้านการพัฒนาการวิจัยและวิชาการ (1) ส่งเสริมสถาบันพัฒนาการตรวจเงินแผ่นดินให้เป็นศูนย์การเรียนการสอน สรรพวิทยาการด้านการตรวจเงินแผ่นดินและการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ เพื่อฝึกอบรมและ พัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพแก่เจ้าหน้าที่และบุคลากรของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและ หน่วยรับตรวจ (2) จัดให้มีหลักสูตรทั้งหลักสูตรพื้นฐานและหลักสูตรเฉพาะด้านที่ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบ เพื่อวางรากฐานการพัฒนาวิชาชีพด้านการตรวจเงิน แผ่นดินทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และหลักสูตรเกี่ยวกับการเสริมสร้างการบริหาร การเงินการคลังของรัฐให้ถู กต้องตามกฎหมาย (3) พัฒนาการวิจัยได้ทันกับบริบทการตรวจเงินแผ่นดินสากลที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อสนับสนุนการตรวจเงินแผ่นดิน สามารถนานวัตกรรมหรือผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยมาใช้ประโยชน์ อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ให้มีผู้สอบบัญชีภาครัฐเพื่ อทาหน้าที่ตรวจสอบบัญชี หน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ (4) ศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานการบัญชีภาครัฐให้มีความเหมาะสมกับขนาด ของหน่วยงานของรัฐเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐในอนาคต 4.2.5 ด้านการพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรตรวจเงินแผ่นดินต่างประเทศ (1) ส่งเสริมบทบาทในการปฏิบัติหน้าที่คณะมนตรีขององค์การสถาบัน การ ตรวจสอบสูงสุด ( INTOSAI Governing Board ) ประธานองค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชีย ( ASOSAI Chairman ) และสมาชิกองค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดแห่งอาเซียน ( ASEANSAI ) ให้เป็นที่ยอมรับในเวทีสากล (2) สนับสนุนกิจกรรมการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการตรวจเงิน แผ่นดิน ด้านวิจัยและวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาการตรวจเงินแผ่นดินไทยให้เป็นที่ยอมรับ ในระดับสากล เช่น ้ หนา 14 ่ เลม 139 ตอนที่ 74 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565
(ก) ศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ร่วมกับองค์กร ตรวจเงินแผ่นดินต่างประเทศ ( Cooperative Research ) ในหัวข้อหรือประเด็นการศึกษาที่สนใจ ร่วมกัน เพื่อพัฒนาแนวคิด มุมมอง เทคนิควิธีการตรวจสอบสมัยใหม่ (ข) จัดสัมมนาวิ ชาการด้านการตรวจเงินแผ่นดินร่วมกับองค์กรตรวจเงิน แผ่นดินต่างประเทศ ( Joint Seminar ) เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการตรวจเงิน แผ่นดินในระดับสากล (ค) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับองค์กรตรวจเงินแผ่นดินต่างประเทศ ( Cooperative Workshop ) เพื่ อสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างกันกับประเทศสมาชิกใน INTOSAI เป็นต้น (ง) ตรวจสอบร่วมกับองค์กรตรวจเงินแผ่นดินต่างประเทศ ( Cooperative Audit ) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดินแต่ละลักษณะงานตรวจสอบ (3) สนับสนุนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเจรจาสร้างความร่วมมือกับองค์กร ตรวจเงินแผ่นดินต่างประเทศหรือหน่วยงานระหว่างประเทศในฐานะพันธมิตรการพัฒนางานตรวจเงิน แผ่นดิน ( Public Audit Development Coalition ) เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาที่ยั่งยืน (4) สนับสนุนให้ ผู้ตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสามารถไป ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบรายงานการเงินขององค์การระหว่างประเทศ (5) สนับสนุนให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินขับเคลื่อนปฏิญญากรุงเทพ พ.ศ. 2564 ( Bangkok Declaration 2021 ) ซึ่งว่าด้วยการปรับตัวขององค์การสถาบันการ ตรวจสอบสูงสุด แห่งเอเชีย ( ASOSAI ) ในยุคปกติถัดไป ( Next Normal ) โดยผลักดันกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม ในด้าน การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ตรวจเงินแผ่นดินที่สอดคล้องกับปฏิญญากรุงเทพ 4.2.6 ด้านการสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (1) สนับสนุนและส่งเสริมใ ห้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถบริหาร งบประมาณและก่อหนี้ผูกพันในสถานการณ์ประเด็นอุบัติใหม่ หรือภัยพิบัติฉุกเฉินจำเป็นได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและเกิดความเชื่อมั่นต่อสาธารณะ ( Public Trust ) (2) สนับสนุนบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการรักษาวินัยการเงินการคลัง การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน ที่อยู่ในการกากับดูแล รวมทั้งการให้คาแนะนาและตอบข้อสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในท้องถิ่น (3) จัดให้มีการประเมินผลการรักษาวินัยการเงินการคลังขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการรักษาวินัยการเงินการคลังเพิ่มมากขึ้น อันจะทาให้การใช้จ่ายงบประมาณ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปอย่างโปร่งใส มีความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น ้ หนา 15 ่ เลม 139 ตอนที่ 74 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565
(4) ศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการให้มีผู้สอบบัญชีที่สานักงานการตรวจเงิน แผ่นดินให้ความเห็นชอบ เพื่อตรวจสอบรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยคานึงถึง ฐานข้อกฎหมาย ความเสี่ยงของการรักษาวินัยการเงินการคลัง และธรรมาภิบาลขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นนั้น 4.2.7 ด้านความโปร่งใสและการประชาสัมพันธ์ (1) พัฒนารูปแบบการรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดินที่จะต้องรายงานต่อรัฐสภาให้ถูกต้ องและเข้าใจง่าย (2) สนับสนุนให้มีการรายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างงวด ( Interim Report ) ต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาในประเด็นข้อตรวจพบที่เป็นประโยชน์และมีความสำคัญเป็นพิเศษ (3) ส่งเสริมและสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ให้ภาคประชาชนสามารถเข้าถึง รายงานผลการปฏิบัติงานของสานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งให้มีส่วนร่วมหรือแจ้งเบาะแส ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินสาธารณะ (4) สนับสนุนให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีระบบบริการข้อมูล และ ข่าวสารแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเกิดความเชื่อมั่น ของผู้ใช้ข้อมูล โดยมีการบริหารจัดการที่เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานการจัดการด้านข้อมูล บทสรุป การจัดทานโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ. 2566 - 2570) นี้ ได้มีการวางทิศทางและ เป้าหมายการพัฒนา และผลสัมฤทธิ์ของการตรวจเงินแผ่นดินให้ครอบคลุมถึงอนาคต อันจะทาให้ นโยบายการตรวจเงินแผ่นดินมีความต่อเนื่องและทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและ ประเด็นอุบัติใหม่ ( Emerging Issues ) การสร้างนวัตกรรมการตรวจเงินแ ผ่นดินและการให้ความสำคัญ กับผลผลิตของงานที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับงานตรวจสอบ ( Non - Audit Product ) รวมทั้ง การจัดตั้งสถาบันการตรวจเงินแผ่นดินและหลักสูตรเพื่อวางรากฐานการพัฒนาวิชาชีพด้านการตรวจเงิน แผ่นดินทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเป็นระบบ อย่าง ไรก็ตาม ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินเห็นสมควร อาจปรับเปลี่ยนนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 256 5 พลเอก ชนะทัพ อินทามระ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ้ หนา 16 ่ เลม 139 ตอนที่ 74 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565