Thu Nov 24 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 17 - 19/2565 เรื่อง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 มาตรา 244/6 มาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 29 วรรคหนึ่งและวรรคสอง หรือไม่ [ระหว่าง ศาลแพ่ง ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]


คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 17 - 19/2565 เรื่อง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 มาตรา 244/6 มาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 29 วรรคหนึ่งและวรรคสอง หรือไม่ [ระหว่าง ศาลแพ่ง ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย ศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยที่ 17 – 19/2565 เรื่องพิจารณาที่ 8/2565 เรื่องพิจารณาที่ 13/2565 เรื่องพิจารณาที่ 14/2565 วันที่ 2 เดือน พฤศจิกายน พุทธศักราช 2565 ศาลแพง - เรื่อง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 มาตรา 244/6 มาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 ซึ่งแกไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ขัดหรือแยง ต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 29 วรรคหนึ่งและวรรคสอง หรือไม่ ศาลแพงสงคําโตแยงของจําเลย รวม 3 คํารอง (นายสุวิทย หรือ นายกองเอก สุวิทย พิพัฒนวิไลกุล ที่ 10 นายพิสิษฏ พิพัฒนวิไลกุล ที่ 11 นางสาวพัชรา มาสอน ที่ 12 และ นางสาวพรพรรณ สะระบุญมา ที่ 13 ในคดีแพงหมายเลขดําที่ พ 2870/2564 นายสุวิทย หรือ นายกองเอก สุวิทย พิพัฒนวิไลกุล ที่ 4 และ นายพิสิษฏ พิพัฒนวิไลกุล ที่ 5 ในคดีแพง ระหวาง ผู้ถูกรอง ผู้รอง ้ หนา 41 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

หมายเลขดําที่ พ 4444/2564 และ นายสุวิทย หรือ นายกองเอก สุวิทย พิพัฒนวิไลกุล ที่ 11 และ นายพิสิษฏ พิพัฒนวิไลกุล ที่ 12 ในคดีแพงหมายเลขดําที่ พ 4027/2564) เพื่อขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ขอเท็จจริงตามหนังสือสงคําโตแยงของจําเลยทั้งสาม คํารองและเอกสารประกอบ สรุปได้ดังนี้ คํารองที่หนึ่ง (เรื่องพิจารณาที่ 8/2565) สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสุวิทย หรือ นายกองเอก สุวิทย พิพัฒนวิไลกุล ที่ 10 นายพิสิษฏ พิพัฒนวิไลกุล ที่ 11 นางสาวพัชรา มาสอน ที่ 12 และ นางสาวพรพรรณ สะระบุญมา ที่ 13 กับพวก รวม 17 คน เป็นจําเลย ต่อศาลแพงวา ระหวางวันที่ 23 มิถุนายน 2557 ถึงวันที่ 9 มกราคม 2558 จําเลยทั้งสิบเจ็ด รวมกันสรางราคาและปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ (หุน) บริษัท โพลาริส แคปปตัล จํากัด (มหาชน) ( POLAR) เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 243 ประกอบมาตรา 244 อัตราโทษตามมาตรา 296 และการแกไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกลาว ยังคงให้การกระทําเป็นความผิดต่อไปตามพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 ต้องระวางโทษตามมาตรา 296 มาตรา 296/1 และมาตรา 296/2 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 อันเป็นความผิดที่อาจกําหนดให้มีมาตรการ ลงโทษทางแพง โจทก์เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพง (ค.ม.พ.) เพื่อพิจารณา กําหนดมาตรการลงโทษทางแพงกับจําเลยทั้งสิบเจ็ด ค.ม.พ. พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้นํามาตรการลงโทษ ทางแพงมาใชบังคับแกจําเลย โดยกําหนดให้จําเลยทั้งสิบเจ็ดชําระคาปรับทางแพง แต่จําเลยทั้งสิบเจ็ด ไม่ยินยอมปฏิบัติตาม โจทก์ฟ้องจําเลยทั้งสิบเจ็ดเป็นคดีต่อศาลแพง ฐานรวมกันสรางราคาและปริมาณ การซื้อขายหลักทรัพย์ เรียกให้ชําระคาปรับทางแพง จํานวนทุนทรัพย์ 454 , 281 , 382 บาท ระหวางการพิจารณาคดีของศาลแพง จําเลยทั้งสี่โตแยงพรอมด้วยเหตุผล สรุปได้ดังนี้ 1. พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 เป็นบทบัญญัติที่กําหนดเนื้อหาของการกระทํา ลักษณะ องคประกอบของความผิด ้ หนา 42 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

หรือเนื้อหาของสิทธิ หน้าที่ และขอหามตาง ๆ เป็นกฎหมายสารบัญญัติที่บัญญัติเพิ่มเติมให้การกระทํา เป็นความผิดทางอาญา โดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มีผลบังคับใชเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2559 ภายหลังวันที่โจทก์อางวามีการกระทําความผิด เป็นการบัญญัติ กฎหมายที่มีโทษอาญายอนหลัง อีกทั้งบทบัญญัติมาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 ที่กําหนดวา “ ให้สันนิษฐานไวกอนวา… ” เป็นบทสันนิษฐานความผิดและผลักภาระการพิสูจนความผิด ทําให้จําเลย ซึ่งเป็นเพียงผู้ถูกกลาวหามีภาระการพิสูจน บทบัญญัติดังกลาวขัดต่อหลักนิติธรรม เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิ หรือเสรีภาพในการซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ และกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 29 2. พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หมวด 12/1 มาตรการ ลงโทษทางแพง มาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงคเพื่อลงโทษและยับยั้งการกระทําความผิด ในลักษณะการลงโทษบุคคลเชนเดียวกับคดีอาญา เนื่องจากมาตรการลงโทษทางแพงเป็นการลงโทษทางทรัพย์สิน ของบุคคลที่มีระดับรายแรง เขาหลักเกณฑความผิดอาญาที่ต้องปฏิบัติตามกติการะหวางประเทศวาด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ( International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) แต่ไม่มีบทบัญญัติหรือมาตรการคุมครองสิทธิตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อพิสูจนความผิด หรือความบริสุทธิ์ของบุคคล จึงไม่สามารถนํามาตรการลงโทษทางแพงมาใชบังคับยอนหลังได้ ทั้งเป็นกฎหมาย ที่บัญญัติภายหลังการกระทําความผิดแตกตางกับกฎหมายที่ใชในขณะกระทําความผิด ต้องใชกฎหมาย ในสวนที่เป็นคุณ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 เทานั้น บทบัญญัติดังกลาวขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 จําเลยทั้งสี่ขอให้ศาลแพงสงคําโตแยงดังกลาวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 คํารองที่สอง (เรื่องพิจารณาที่ 13/2565) สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสุวิทย หรือ นายกองเอก สุวิทย พิพัฒนวิไลกุล ที่ 4 และ นาย พิสิษฏ พิพัฒนวิไลกุล ที่ 5 กับพวก รวม 5 คน เป็นจําเลย ต่อศาลแพงวา ระหวางวันที่ 17 กุมภาพันธ 2558 ถึงวันที่ 2 มีนาคม 2558 ้ หนา 43 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

จําเลยทั้งหาได้รวมกันสรางราคาและปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ (หุน) บริษัท เนชั่น อินเตอรเนชั่นแนล เอ็ดดูเทนเมนท จํากัด (มหาชน) ( NINE-W 1) เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 243 ประกอบมาตรา 244 อัตราโทษตามมาตรา 296 และการแกไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกลาว ยังคงให้การกระทําเป็นความผิดต่อไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 ต้องระวางโทษตามมาตรา 296 มาตรา 296/1 และมาตรา 296/2 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 อันเป็นความผิดที่อาจกําหนดให้มีมาตรการลงโทษทางแพง โจทก์เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ พิจารณามาตรการลงโทษทางแพง (ค.ม.พ.) เพื่อพิจารณากําหนดมาตรการลงโทษทางแพงกับจําเลยทั้งหา ค.ม.พ. พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้นํามาตรการลงโทษทางแพงมาใชบังคับแกจําเลย โดยกําหนดให้จําเลยทั้งหา ชําระคาปรับทางแพง แต่จําเลยทั้งหาไม่ยินยอมปฏิบัติตาม โจทก์ฟ้องจําเลยทั้งหาเป็นคดีต่อศาลแพง ฐานรวมกันสรางราคาและปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ เรียกให้ชําระคาปรับทางแพง จํานวนทุนทรัพย์ 10 , 222 , 170 บาท ระหวางการพิจารณาคดีของศาลแพง จําเลยทั้งสองโตแยงพรอมด้วยเหตุผลเชนเดียวกับคํารองที่หนึ่ง และขอให้ศาลแพงสงคําโตแยงดังกลาวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 คํารองที่สาม (เรื่องพิจารณาที่ 14/2565) สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสุวิทย หรือ นายกองเอก สุวิทย พิพัฒนวิไลกุล ที่ 11 และ นายพิสิษฏ พิพัฒนวิไลกุล ที่ 12 กับพวก รวม 12 คน เป็นจําเลย ต่อศาลแพงวา ระหวางวันที่ 19 ธันวาคม2557 ถึงวันที่ 24 มีนาคม 2558 จําเลยทั้งสิบสองได้รวมกันสรางราคาและปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ (หุน) บริษัท เนชั่น อินเตอรเนชั่นแนล เอ็ดดูเทนเมนท จํากัด (มหาชน) (NINE) เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 243 ประกอบมาตรา 244 อัตราโทษตามมาตรา 296 และการแกไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกลาว ยังคงให้การกระทําเป็นความผิดต่อไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 ต้องระวางโทษตามมาตรา 296 มาตรา 296/1 ้ หนา 44 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

และมาตรา 296/2 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 อันเป็นความผิดที่อาจกําหนดให้มีมาตรการลงโทษทางแพง โจทก์เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ พิจารณามาตรการลงโทษทางแพง (ค.ม.พ.) เพื่อพิจารณากําหนดมาตรการลงโทษทางแพงกับจําเลยทั้งสิบสอง ค.ม.พ. พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้นํามาตรการลงโทษทางแพงมาใชบังคับแกจําเลย โดยกําหนด ให้จําเลยทั้งสิบสองชําระคาปรับทางแพง แต่จําเลยทั้งสิบสองไม่ยินยอมปฏิบัติตาม โจทก์ฟ้องจําเลยทั้งสิบสอง เป็นคดีต่อศาลแพง ฐานรวมกันสรางราคาและปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ เรียกให้ชําระคาปรับทางแพง จํานวนทุนทรัพย์ 84 , 788 , 540 บาท ระหวางการพิจารณาคดีของศาลแพง จําเลยทั้งสองโตแยงพรอมด้วยเหตุผลเชนเดียวกับคํารองที่หนึ่ง และขอให้ศาลแพงสงคําโตแยงดังกลาวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ศาลแพงเห็นวา จําเลยทั้งสามคํารองโตแยงวาพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 มาตรา 244/6 มาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 29 ซึ่งศาลจะใชบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกลาวบังคับแกคดี และยังไม่มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในสวนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ จึงสงคําโตแยงดังกลาวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องตนมีวา ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจรับหนังสือสงคําโตแยง ของจําเลยทั้งสามคํารองไวพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง หรือไม่ เห็นวา ศาลแพงสงคําโตแยงของจําเลย คํารองที่หนึ่ง (เรื่องพิจารณาที่ 8/2565) คํารองที่สอง (เรื่องพิจารณาที่ 13/2565) และคํารองที่สาม (เรื่องพิจารณาที่ 14/2565) เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยวา พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 มาตรา 244/6 มาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 ซึ่งแกไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 29 บทบัญญัติดังกลาวเป็นบทบัญญัติที่ศาลแพงจะใชบังคับแกคดี เมื่อจําเลยทั้งสาม คํารองโตแยงพรอมด้วยเหตุผลวาบทบัญญัติดังกลาวขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคําวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญในสวนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง จึงมีคําสั่งรับคํารองทั้งสามไวพิจารณาวินิจฉัย ้ หนา 45 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

คํารองทั้งสามมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเป็นประเด็นเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญจึงพิจารณา สํานวนคดีทั้งสามให้รวมเขาด้วยกัน โดยให้เรื่องพิจารณาที่ 8/2565 เป็นสํานวนคดีหลัก และเพื่อประโยชน แห่งการพิจารณา ให้บุคคลที่เกี่ยวของจัดทําความเห็นเป็นหนังสือตามประเด็นที่ศาลกําหนดและจัดสงขอมูล พรอมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวของยื่นต่อศาล เลขาธิการวุฒิสภาจัดสงสําเนาบันทึกการประชุมและสําเนารายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 36/2559 วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2559 สําเนาบันทึกการประชุมและสําเนารายงาน การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 54/2559 วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2559 สําเนาเอกสาร ประกอบการพิจารณารางพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ((ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559) สําเนาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณารางพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ((ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559) สําเนารายงานการประชุม คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณารางพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ((ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559) และสําเนารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณารางพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ((ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นสรุปได้วา พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงคเพื่อปรับปรุงโครงสรางการกําหนดลักษณะของการกระทําความผิด และมาตรการลงโทษในความผิดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ เนื่องจากคดีอาญามีมาตรฐานในการพิสูจนที่สูงตามหลักการ พิสูจนจนสิ้นสงสัย อาจไม่เหมาะกับการกระทําความผิดในคดีหลักทรัพย์ที่หลักฐานการกระทําความผิด สวนใหญอยู่ในการรับรูและความครอบครองของผู้กระทําความผิด ยากที่จะพิสูจนให้ได้ตามมาตรฐานดังกลาว พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 มีสาระสําคัญเป็นการกําหนดหามมิให้กระทําการที่มีลักษณะเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขาย หลักทรัพย์ รวมถึงกําหนดบทสันนิษฐานในกรณีตาง ๆ เกี่ยวกับการกระทําดังกลาว สวนมาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 มีสาระสําคัญเป็นการกําหนดให้มีมาตรการลงโทษทางแพงเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถบังคับใชกฎหมายกับผู้กระทําความผิดได้อยางมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกเหนือจากการบังคับใช กฎหมายผานมาตรการลงโทษทางอาญา ้ หนา 46 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีความเห็นสรุปได้วา พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มาตรา 244/3 ปรับปรุงองคประกอบ ความผิดฐานสรางราคาและปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งเดิมบัญญัติไวในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 243 ให้กระชับ ชัดเจน และเป็นสากลมากยิ่งขึ้น สวนมาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 เป็นขอสันนิษฐานตามกฎหมายที่สันนิษฐานขอเท็จจริงบางสวน ขององคประกอบความผิดอันเป็นบทสันนิษฐานที่ไม่เด็ดขาด อีกทั้งเพิ่มเติมบทบัญญัติการลงโทษทางแพง เพื่อเป็นมาตรการลงโทษทางเลือกนอกจากมาตรการลงโทษทางอาญา โดยมาตรา 317/1 กําหนด ประเภทความผิดที่อาจบังคับด้วยมาตรการลงโทษทางแพงได้ มาตรา 317/4 กําหนดมาตรการลงโทษ ทางแพงที่จะนํามาใชบังคับกับผู้กระทําความผิด และมาตรา 317/5 กําหนดอัตราคาปรับทางแพง ตามลักษณะความผิด ปลัดกระทรวงการคลังมีความเห็นสรุปได้วา บทบัญญัติของกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เดิม มีขอจํากัดบางประการทําให้ไม่สามารถใชบังคับมาตรการลงโทษทางอาญากับผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับ หลักทรัพย์อยางมีประสิทธิภาพ จึงปรับปรุงบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กรณีการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์บางประการขึ้นใหม รวมทั้ง เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรการลงโทษทางแพงเพื่อใชบังคับแกผู้กระทําความผิดแทนมาตรการลงโทษ ทางอาญาบางกรณี โดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มาตรา 244/3 ปรับปรุงลักษณะหรือองคประกอบความผิดของการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับ การซื้อขายหลักทรัพย์ มาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 กําหนดให้การกระทําของบุคคลบางลักษณะ เขาขอสันนิษฐานทางขอเท็จจริง รวมถึงการเป็นตัวการรวมกระทําความผิดตามมาตรา 244/3 สวนมาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 เพิ่มการบังคับใชกฎหมายโดยมาตรการลงโทษทางแพงด้วยการกําหนด ให้ความผิดกรณีการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์สามารถดําเนินมาตรการลงโทษ ทางแพงกับผู้กระทําความผิด ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคําโตแยงของจําเลยทั้งสามคํารอง ความเห็นและขอมูลของหนวยงาน ที่เกี่ยวของและเอกสารประกอบแล้วเห็นวา คดีเป็นปญหาขอกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอ ้ หนา 47 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

ที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไตสวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณา ของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กําหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัย รวม 2 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 29 วรรคหนึ่งและวรรคสอง หรือไม่ ประเด็นที่สอง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคหนึ่งและวรรคสอง หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นวา รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 29 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ การตรากฎหมายที่มีผลเป็น การจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญ มิได้บัญญัติเงื่อนไขไว กฎหมายดังกลาวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพ ของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุ เหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพไวด้วย ” วรรคสอง บัญญัติวา “ กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใชบังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุงหมายให้ใชบังคับแกกรณีใดกรณีหนึ่งหรือแกบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นการเจาะจง ” และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เวนแต่ได้กระทําการ อันกฎหมายที่ใชอยู่ในเวลาที่กระทํานั้นบัญญัติเป็นความผิดและกําหนดโทษไว และโทษที่จะลงแกบุคคลนั้น จะหนักกวาโทษที่บัญญัติไวในกฎหมายที่ใชอยู่ในเวลาที่กระทําความผิดมิได้ ” วรรคสอง บัญญัติวา “ ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไวกอนวาผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และกอนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุด แสดงวาบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้ ” พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มีเหตุผลในการประกาศใช เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีบทบัญญัติบางประการ ที่ไม่เหมาะสมกับสภาวการณในปจจุบัน รวมทั้งยังมีขอจํากัดบางประการทําให้ไม่สามารถใชบังคับ ้ หนา 48 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

มาตรการลงโทษทางอาญากับผู้กระทําความผิดที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ได้อยางมีประสิทธิภาพอันเป็นอุปสรรค ต่อการปองกันและปราบปรามการกระทําความผิดดังกลาว สมควรปรับปรุงบทบัญญัติบางประการ เพื่อให้สอดคลองกับพัฒนาการของระบบการซื้อขายหลักทรัพย์และรองรับการเชื่อมโยงระหวางตลาดทุน ทั้งในประเทศและตางประเทศ รวมทั้งกําหนดให้นํามาตรการลงโทษทางแพงมาใชบังคับแกผู้กระทําความผิด แทนมาตรการลงโทษทางอาญาได้ในบางกรณี เพื่อให้การบังคับใชกฎหมายมีประสิทธิภาพและทําให้ผู้ลงทุน ได้รับการคุมครองมากยิ่งขึ้น พระราชบัญญัติดังกลาวมีหลักการสําคัญในการกําหนดหามมิให้กระทําการ ที่มีลักษณะเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และการกําหนดบทสันนิษฐาน ในกรณีตาง ๆ ที่เกี่ยวกับการกระทําดังกลาว รวมทั้งเพิ่มกระบวนการบังคับใชกฎหมายด้วยมาตรการ ลงโทษทางแพงเป็นมาตรการทางเลือกนอกเหนือไปจากโทษทางอาญา ประเด็นที่หนึ่ง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 29 วรรคหนึ่งและวรรคสอง หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นวา พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 เป็นบทบัญญัติในหมวด 8 การกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ และการเขาถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ สวนที่ 1 การปองกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับ การซื้อขายหลักทรัพย์ โดยมาตรา 244/3 บัญญัติวา “ หามมิให้บุคคลใดกระทําการ ดังต่อไปนี้ (1) สงคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ หรือซื้อหรือขายหลักทรัพย์ อันเป็นการทําให้บุคคลทั่วไปเขาใจผิด เกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ (2) สงคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ หรือซื้อหรือ ขายหลักทรัพย์ ในลักษณะต่อเนื่องกันโดยมุงหมายให้ราคาหลักทรัพย์หรือปริมาณการซื้อหรือขายหลักทรัพย์นั้น ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด ” มาตรา 244/5 บัญญัติวา “ ให้สันนิษฐานไวกอนวาการกระทําดังต่อไปนี้ เป็นการกระทําที่ทําให้บุคคลทั่วไปเขาใจผิดเกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ตามมาตรา 244/3 (1) หรือเป็นการกระทําที่ทําให้ราคาหลักทรัพย์หรือปริมาณการซื้อหรือ ขายหลักทรัพย์นั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาดตามมาตรา 244/3 (2) แล้วแต่กรณี (1) ซื้อหรือ ้ หนา 49 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

ขายหลักทรัพย์ซึ่งในที่สุดบุคคลที่ได้ประโยชนจากการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ยังคงเป็นบุคคลคนเดียวกัน (2) สงคําสั่งซื้อหลักทรัพย์โดยรูอยู่แล้ววาตนเองหรือบุคคลซึ่งรวมกันกระทําการ ได้สั่งขายหรือจะสั่ง ขายหลักทรัพย์เดียวกัน ในจํานวนใกลเคียงกัน ราคาใกลเคียงกัน และ ภายในเวลาใกลเคียงกัน (3) สงคําสั่งขายหลักทรัพย์โดยรูอยู่แล้ววาตนเองหรือบุคคลซึ่งรวมกันกระทําการ ได้สั่งซื้อหรือจะสั่งซื้อหลักทรัพย์เดียวกัน ในจํานวนใกลเคียงกัน ราคาใกลเคียงกัน และภายในเวลาใกลเคียงกัน (4) สง แกไข หรือยกเลิกคําสั่งซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ในชวงกอนเปดหรือชวงกอนปดตลาดหลักทรัพย์หรือศูนยซื้อขายหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี โดยมุงหมายให้ราคาเปดหรือราคาปดของหลักทรัพย์นั้นสูงหรือต่ํากวาที่ควรจะเป็น (5) สง แกไข หรือยกเลิกคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบุคคลอื่น ซึ่งมีผลทําให้บุคคลอื่นต้องสงคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในราคาที่สูงกวาหรือต่ํากวาที่ควรจะเป็น ” และมาตรา 244/6 บัญญัติวา “ ให้สันนิษฐานไวกอนวาผู้กระทําการดังต่อไปนี้ เป็นตัวการใน การกระทําความผิดตามมาตรา 244/3 (1) เปดบัญชีธนาคารรวมกันเพื่อการชําระเงินหรือรับชําระเงิน ที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์ (2) ยอมให้บุคคลอื่นใชประโยชนจากบัญชีธนาคารของตน เพื่อการชําระเงินหรือรับชําระเงินที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์ (3) ยอมให้บุคคลอื่น ใชบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของตน (4) ชําระเงินหรือรับชําระเงินคาซื้อขายหลักทรัพย์แทนกัน (5) นําเงิน หรือทรัพย์สินอื่นมาวางเป็นประกันในการซื้อขายหลักทรัพย์แทนกัน (6) ยอมให้บุคคลอื่นรับประโยชน หรือรับผิดชอบในการชําระเงินที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของตน หรือ (7) โอนหรือรับโอน หลักทรัพย์ระหวางกัน ” ขอโตแยงของจําเลยที่วา พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 บัญญัติเนื้อหาและลักษณะองคประกอบความผิดเพิ่มเติม ให้การกระทําเป็นความผิดทางอาญา และมีผลบังคับใชภายหลังจากที่โจทก์อางวามีการกระทําความผิด เป็นการบัญญัติกฎหมายที่มีโทษอาญายอนหลัง อีกทั้งบทบัญญัติที่วา “ ให้สันนิษฐานไวกอน… ” เป็นบทสันนิษฐานความผิดและผลักภาระการพิสูจนแกจําเลย ขัดต่อหลักนิติธรรม เพิ่มภาระและจํากัดสิทธิ หรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ และกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 29 นั้น เห็นวา พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ้ หนา 50 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มีสาระสําคัญหามมิให้กระทําการที่มีลักษณะเป็นการกระทํา อันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมถึงกําหนดบทสันนิษฐานในกรณีตาง ๆ ที่เกี่ยวกับ การกระทําดังกลาว โดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 243 ซึ่งเป็นกฎหมายเดิมบัญญัติหามการปนหุนและกําหนดให้การกระทําที่มีลักษณะดังกลาวเป็นความผิด เกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ และมีการกําหนดโทษทางอาญาไว สําหรับการกระทําความผิด แต่เนื่องจากบทบัญญัติเดิมมาตรา 243 มีองคประกอบความผิดที่ไม่ชัดเจน และมีขอจํากัดบางประการ ทําให้ไม่สามารถบังคับใชกฎหมายลงโทษทางอาญากับผู้กระทําความผิด เกี่ยวกับหลักทรัพย์เพื่อปกปองตลาดทุนได้อยางมีประสิทธิภาพ อันเป็นอุปสรรคต่อการปองกันและปราบปราม การกระทําความผิด จึงแกไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกลาวตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ที่ยังคงหลักการเดียวกันคือ กําหนดความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรม เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะของการกระทําที่หามดําเนินการเนื่องจากมีลักษณะเป็นการปนหุน โดยมิได้ปรับเปลี่ยนองคประกอบความผิดของการกระทําและบทกําหนดโทษทางอาญา เพียงแต่บัญญัติเพิ่มเติม บทสันนิษฐานเกี่ยวกับการกระทําตามมาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 ทั้งนี้ เพื่อประโยชน ในการพิสูจนความผิดและนําตัวผู้กระทําความผิดมาลงโทษ เป็นกรณีที่กฎหมายใหมประสงคให้ความผิด ตามกฎหมายเดิมเป็นความผิดทางอาญาต่อไป มีผลทําให้ผู้ที่กระทําความผิดตามกฎหมายเดิมไม่พน จากการเป็นผู้กระทําความผิด ซึ่งสอดคลองกับหลักการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 ทั้งในกรณี ฐานความผิดที่กฎหมายเกาและกฎหมายใหมกําหนดโทษทางอาญาไวแตกตางกัน ศาลที่พิจารณาคดี จะต้องนํากฎหมายในสวนที่เป็นคุณมาใชบังคับแกผู้กระทําความผิด ไม่วาสวนที่เป็นคุณนั้นจะอยู่ในกฎหมายเกา หรือกฎหมายใหม ดังที่บัญญัติไวในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ประกอบกับบทเฉพาะกาล ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มาตรา 47 บัญญัติให้นํา บทบัญญัติในหมวด 12/1 มาตรการลงโทษทางแพงตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใชบังคับแกการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่เกิดขึ้นกอนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใชบังคับ และยังมิได้ มีการกลาวโทษต่อพนักงานสอบสวนด้วย ทั้งนี้ มาตรการบังคับที่จะนํามาใชกับผู้กระทําความผิด ้ หนา 51 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

จะกําหนดได้ไม่เกินอัตราโทษตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่ใชในขณะกระทําความผิด สําหรับมาตรา 244/5 กําหนดบทสันนิษฐานการกระทําวาการกระทํา ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามที่ปรากฏใน (1) ถึง (5) เป็นการกระทําตามมาตรา 244/3 สวนมาตรา 244/6 กําหนดบทสันนิษฐานเกี่ยวกับลักษณะการกระทําอยางใดอยางหนึ่งตามที่ปรากฏใน (1) ถึง (7) วาเป็นตัวการในการกระทําความผิดตามมาตรา 244/3 บทบัญญัติทั้งสองมาตราเป็นบทสันนิษฐาน ที่ถือเอาพฤติกรรมหรือการกระทําของบุคคลซึ่งกอให้เกิดการกระทําความผิดต้องรับผลของการกระทําของตนเอง มิใชเป็นบทสันนิษฐานความผิดของบุคคลวาเป็นผู้กระทําความผิดไวกอนตั้งแต่เริ่มคดี โจทก์ยังคงมีหน้าที่ พิสูจนการกระทําของบุคคลดังกลาวกอนวาเป็นผู้กระทําการตามที่กฎหมายบัญญัติหามไวในมาตรา 244/3 และมีความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยผู้ถูกกลาวหาวา กระทําผิดมีสิทธินําสืบหักลางขอสันนิษฐานดังกลาว สอดคลองกับหลักการทั่วไปของความรับผิดทางอาญา ที่ผู้กระทําความผิดจะต้องรับผลแห่งการกระทําการหรืองดเวนกระทําการนั้นเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไววา เป็นความผิดและครบองคประกอบความผิด นอกจากนี้ เมื่อบุคคลใดถูกกลาวหาวากระทําความผิด โจทก์จะต้องพิสูจนให้ศาลเห็นโดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยวาการกระทําความผิดดังกลาวเกิดขึ้นจาก การกระทําของบุคคลนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 โดยระหวาง การพิจารณาของศาลหรือหนวยงานในกระบวนการยุติธรรม บุคคลนั้นยังถือวาเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกวา ศาลมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดวาจําเลยได้กระทําการอันเป็นความผิด ดังนั้น แมบทบัญญัติมาตรา 244/3 มาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 จะจํากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอยู่บาง แต่เมื่อชั่งน้ําหนัก ระหวางสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่ถูกจํากัดตามกฎหมายกับประโยชนสวนรวมที่ได้รับตามวัตถุประสงค ของกฎหมายที่มุงปองกันและปราบปรามการกระทําความผิดที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์อยางมีประสิทธิภาพ รวมถึงเพื่อคุมครองตลาดทุนและประชาชนผู้ลงทุน เป็นไปตามหลักความได้สัดสวน ไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ ไม่กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย มีผลใชบังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุงหมายให้ใชบังคับแกกรณีใดกรณีหนึ่งหรือแกบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายที่มีโทษทางอาญาหามยอนหลังแกบุคคลและบทสันนิษฐานความรับผิดทางอาญาของบุคคล พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 29 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ้ หนา 52 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

ประเด็นที่สอง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคหนึ่งและวรรคสอง หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นวา พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 เป็นบทบัญญัติในหมวด 12/1 มาตรการลงโทษทางแพง โดยมาตรา 317/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ ให้การกระทําความผิดดังต่อไปนี้ เป็นการกระทําความผิดที่อาจดําเนินมาตรการ ลงโทษทางแพงกับผู้กระทําความผิดนั้นได้ (1) กระทําการอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ อันเป็นความผิดตามมาตรา 296 หรือมาตรา 296/1 (2) แสดงขอความอันเป็นเท็จหรือปกปด ขอความจริงซึ่งควรบอกให้แจงในสาระสําคัญ อันเป็นความผิดตามมาตรา 278 หรือมาตรา 281/10 (3) ไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการหรือผู้บริหารตามมาตรา 89/7 อันเป็นความผิดตามมาตรา 281/2 วรรคหนึ่ง (4) ยินยอมให้บุคคลอื่นใชบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์หรือบัญชีธนาคารที่ใชชําระคาซื้อขายหลักทรัพย์ หรือใชบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์หรือบัญชีธนาคารของบุคคลอื่น อันเป็นความผิดตามมาตรา 297 ” วรรคสอง บัญญัติวา “ การนํามาตรการลงโทษทางแพงมาใชบังคับแกผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความรายแรงของการกระทํา ผลกระทบต่อตลาดทุน พยานหลักฐานที่อาจนํามาใชพิสูจนความผิด และความคุมคาในการดําเนินมาตรการนั้น ” มาตรา 317/4 บัญญัติวา “ มาตรการลงโทษทางแพง ได้แก (1) คาปรับทางแพงตามมาตรา 317/5 (2) ชดใชเงินในจํานวนที่เทากับผลประโยชนที่ได้รับ หรือพึงได้รับจากการกระทําความผิดตามที่บัญญัติไวในมาตรา 317/1 (3) หามเขาซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนยซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเขาผูกพันตามสัญญาซื้อขายลวงหน้าในศูนยซื้อขาย สัญญาซื้อขายลวงหน้าภายในระยะเวลาที่กําหนดซึ่งต้องไม่เกินหาป (4) หามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัท ที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กําหนดซึ่งต้องไม่เกินสิบป (5) ชดใชคาใชจาย ของสํานักงานเนื่องจากการตรวจสอบการกระทําความผิดนั้นคืนให้แกสํานักงาน ” และมาตรา 317/5 บัญญัติวา “ ให้กําหนดคาปรับทางแพง ดังนี้ (1) กรณีตามมาตรา 317/1 (1) หรือ (2) ให้ปรับ ้ หนา 53 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

เป็นเงินไม่เกินสองเทาของผลประโยชนที่บุคคลนั้นได้รับไวหรือพึงได้รับจากการกระทําความผิดนั้น แต่ต้องไม่ต่ํากวาหาแสนบาท ในกรณีที่ไม่สามารถคํานวณผลประโยชนได้ ให้ปรับตั้งแต่หาแสนบาท ถึงสองลานบาท (2) กรณีตามมาตรา 317/1 (3) หรือ (4) ให้ปรับตั้งแต่หาหมื่นบาทถึงหนึ่งลานบาท ” ขอโตแยงของจําเลยที่วา มาตรการลงโทษทางแพงตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงคเพื่อลงโทษและยับยั้ง การกระทําความผิดในลักษณะเชนเดียวกับคดีอาญา ไม่สามารถนํามาใชบังคับยอนหลังได้ อีกทั้งบัญญัติขึ้น ภายหลังที่ได้กระทําความผิด โดยกฎหมายที่ใชในขณะกระทําความผิดแตกตางกับกฎหมายที่ใชภายหลัง กระทําความผิด ต้องใชกฎหมายในสวนที่เป็นคุณเทานั้น ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 นั้น เห็นวา พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มีสาระสําคัญกําหนดมาตรการลงโทษทางแพงเพิ่มเติมนอกเหนือจากการบังคับใชกฎหมาย โดยมาตรการลงโทษทางอาญา ด้วยเหตุที่การกระทําความผิดในคดีที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์มีลักษณะ แตกตางจากอาชญากรรมทั่วไป มีความซับซอน มีการวางแผนอยางรอบคอบ ผู้กระทําความผิดเป็นผู้มี ความรูความเชี่ยวชาญ มีการศึกษาและฐานะทางเศรษฐกิจดี รวมกลุ่มกันกระทําความผิดโดยผานตัวแทน ทําให้พยานหลักฐานที่เกี่ยวของสวนใหญอยู่ในความครอบครองของผู้กระทําความผิด การรวบรวม พยานหลักฐานเพื่อพิสูจนความผิดตามมาตรฐานคดีอาญาเป็นไปได้ยาก เนื่องจากการดําเนินคดีอาญา มีมาตรฐานการพิสูจนที่สูงตามหลักการพิสูจนจนสิ้นสงสัย มาตรการลงโทษทางแพงจึงเป็นมาตรการ เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใชกฎหมายโดยนํามาตรฐานการพิสูจนเชนเดียวกับคดีแพงมาใชพิสูจนความผิดของจําเลย เพื่อให้การบังคับใชกฎหมายวาด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กับผู้กระทําความผิดเกิดประสิทธิภาพ และได้ผลดียิ่งขึ้น มาตรการนี้กําหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพงเป็นผู้พิจารณาวา ควรดําเนินการทางแพงหรือทางอาญา ซึ่งหากมีการดําเนินการทางแพงและผู้กระทําความผิดยินยอม ที่จะปฏิบัติตามมาตรการที่กําหนดแล้ว ให้สิทธิในการนําคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ มาตรา 317/1 ้ หนา 54 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

เป็นบทบัญญัติกําหนดลักษณะของการกระทําความผิดวาความผิดในลักษณะใดที่สามารถนํามาตรการ ลงโทษทางแพงมาใชบังคับได้ซึ่งมิใชทุกฐานความผิด ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนจึงกําหนดกรอบ ในการพิจารณานํามาตรการลงโทษทางแพงมาใชบังคับแกผู้กระทําความผิดโดยคํานึงถึงความรายแรง ของการกระทํา ผลกระทบต่อตลาดทุน พยานหลักฐานที่อาจนํามาใชพิสูจนความผิด และความคุมคา ในการดําเนินมาตรการนั้น มาตรา 317/4 เป็นบทบัญญัติที่กําหนดบทลงโทษของมาตรการลงโทษทางแพง เพื่อเป็นหลักเกณฑการใชดุลพินิจของคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพง มาตรการลงโทษทางแพง ประกอบด้วย (1) คาปรับทางแพง (2) ชดใชเงินในจํานวนที่เทากับผลประโยชนที่ได้รับหรือพึงได้รับ จากการกระทําความผิด (3) หามเขาซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนยซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเขาผูกพันตามสัญญาซื้อขายลวงหน้าในศูนยซื้อขายสัญญาซื้อขายลวงหน้า (4) หามเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ และ (5) ชดใชคาใชจายของสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จากการตรวจสอบการกระทําความผิด และมาตรา 317/5 เป็นบทบัญญัติที่กําหนดคาปรับทางแพง เพื่อความชัดเจนในการบังคับใชกฎหมาย บทบัญญัติทั้งสามมาตรา จึงเป็นมาตรการลงโทษทางแพงที่กําหนดขึ้นใชบังคับเฉพาะกับการกระทําความผิดสําคัญในบางลักษณะ และมีกรอบในการนํามาตรการดังกลาวมาใชบังคับอยางชัดเจน อีกทั้งมาตรการลงโทษทางแพงมิใชโทษ ทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการทางเลือกสําหรับแกไขขอขัดของ จากมาตรการลงโทษทางอาญา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบังคับใชกฎหมายปองปราม การกระทําความผิด อันเป็นการดําเนินการแยกตางหากจากการดําเนินคดีอาญา และอยู่ภายใตการตรวจสอบ ขององคกรตุลาการ กรณีจึงไม่เกี่ยวกับหลักกฎหมายที่มีโทษทางอาญาหามยอนหลังแกบุคคลและบทสันนิษฐาน ความรับผิดทางอาญาของบุคคล ดังนั้น พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ้ หนา 55 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565

อาศัยเหตุผลดังกลาวขางตน จึงวินิจฉัยวา พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 244/3 มาตรา 244/5 และมาตรา 244/6 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 29 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 317/1 มาตรา 317/4 และมาตรา 317/5 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง นายวรวิทย กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ นายนครินทร เมฆไตรรัตน์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายปญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายวิรุฬห แสงเทียน นายจิรนิติ หะวานนท ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายนภดล เทพพิทักษ์ นายบรรจงศักดิ์ วงศปราชญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ้ หนา 56 ่ เลม 139 ตอนที่ 73 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2565