Sun Nov 13 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต [คดีหมายเลขดำที่ อม. 36/2562 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 22/2565 ระหว่าง อัยการสูงสุด โจทก์ นายนริศร ทองธิราช จำเลย]


คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต [คดีหมายเลขดำที่ อม. 36/2562 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 22/2565 ระหว่าง อัยการสูงสุด โจทก์ นายนริศร ทองธิราช จำเลย]

( อม . 33 ) คําพิพากษา คดีหมายเลขดําที่ อม . 36 / 2562 คดีหมายเลขแดงที่ อม . 22 / 2565 ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง วันที่ 22 เดือน กันยายน พุทธศักราช 2565 อัยการสูงสุด โจทก์ นายนริศร ทองธิราช จําเลย เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โจทก์ฟ้องและแก้ไขฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุจําเลยดํารงตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย จึงเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 มาตรา 4 มีอํานาจหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยในการใช้อํานาจนิติบัญญัติ มีหน้าที่ในการออกกฎหมายนับแต่การเสนอร่างกฎหมาย การพิจารณาร่างกฎหมาย ไปจนถึงการตรากฎหมาย มาบังคับใช้แก่ประชาชน และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 122 มาตรา 123 นอกจากนั้น ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ได้กําหนดให้รัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องประชุมร่วมกัน จําเลยในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นสมาชิกรัฐสภาจึงมีอํานาจหน้าที่ต้องประชุมร่วมกัน ระหว่าง ้ หนา 81 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ของรัฐสภากับสมาชิกวุฒิสภาอื่น จําเลยในฐานะสมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ตามมาตรา 126 วรรคสาม และต้องปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ตามมาตรา 137 ประกอบข้อบังคับ การประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2556 จําเลยกับคณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ( ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … ( แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 และมาตรา 241 วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา 113 และมาตรา 114 )) ต่อประธานรัฐสภา ซึ่งประธานรัฐสภาได้ส่งสําเนาญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ บรรจุเข้าวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาและลงมติในวาระที่หนึ่ง วาระที่สอง และวาระที่สาม ในระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2556 ถึงวันที่ 28 กันยายน 2556 ติดต่อต่อเนื่องกันตามลําดับ จําเลยกระทําความผิดหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ 2 . 1 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2556 เวลากลางวัน ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาวาระที่สอง ขั้นพิจารณาเรียงลําดับ มาตราครั้งที่ 9 ( สมัยสามัญทั่วไป ) เพื่อพิจารณาและลงมติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว เกี่ยวกับเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภาในมาตรา 9 กรณีห้ามมิให้จับกุมคุมขัง หรือหมายเรียกตัว กรรมการการเลือกตั้งไปทําการสอบสวนในระหว่างที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือประกาศให้มีการออกเสียงประชามติมีผลใช้บังคับ โดยจําเลยได้เข้าประชุม ร่วมกันของรัฐสภา และในวันดังกล่าว เวลา 17 . 33 นาฬิกา เมื่อประธานในที่ประชุมแจ้งให้สมาชิก ลงมติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 9 จําเลยใช้อํานาจหน้าที่ในตําแหน่งของตนโดยมิชอบ โดยนําบัตรประจําตัวและลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นบัตรจริงของจําเลยและของสมาชิกรัฐสภารายอื่น จํานวนหลายใบอันเกินกว่าจํานวนบัตรแสดงตนและลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ที่จําเลยและสมาชิกรัฐสภาคนหนึ่ง จะพึงมีและใช้ได้เพียงคนละ 1 ใบ คนละ 1 เสียง มาใช้แสดงตนและออกเสียงลงคะแนนของจําเลย และแสดงตนและออกเสียงแทนสมาชิกรัฐสภารายอื่น โดยเสียบบัตรแสดงตนและลงคะแนน อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวหมุนเวียนใส่เข้าไปในเครื่องออกเสียงลงคะแนน และกดปุ่มเพื่อแสดงตน และลงมติคราวละหลายใบในการออกเสียงลงคะแนนในคราวเดียวกัน อันเป็นการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน เกินกว่า 1 เสียงในการลงคะแนนมติในแต่ละครั้ง และ 2 . 2 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2556 เวลากลางวัน ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาวาระที่สอง ขั้นพิจารณาเรียงลําดับมาตราครั้งที่ 10 ้ หนา 82 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

( สมัยสามัญทั่วไป ) เพื่อพิจารณาและลงมติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ในมาตรา 10 เรื่องให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งมีสมาชิกภาพอยู่ในวันที่รัฐธรรมนูญใช้บังคับยังคงมีสมาชิกภาพ และปฏิบัติหน้าที่วุฒิสภาต่อไป จําเลยได้เข้าประชุมร่วมกันของรัฐสภา และในวันดังกล่าวเวลา 16 . 43 นาฬิกา เมื่อประธานในที่ประชุมได้ขอมติที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาปิดการอภิปรายในมาตรา 10 ตามที่มีสมาชิกรัฐสภาอื่น ได้เสนอญัตติขอปิดการอภิปรายตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา จําเลยใช้อํานาจหน้าที่ในตําแหน่ง ของตนโดยมิชอบ โดยนําบัตรประจําตัวและลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นบัตรจริงของจําเลย และของสมาชิกรัฐสภารายอื่น จํานวนหลายใบอันเกินกว่าจํานวนบัตรแสดงตนและลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ที่จําเลยและสมาชิกรัฐสภาคนหนึ่งจะพึงมีและใช้ได้เพียงคนละ 1 ใบ คนละ 1 เสียง มาใช้แสดงตน และออกเสียงลงคะแนนของจําเลย และแสดงตนและออกเสียงแทนสมาชิกรัฐสภารายอื่น โดยเสียบบัตรแสดงตน และลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวหมุนเวียนใส่เข้าไปในเครื่องออกเสียงลงคะแนน และกดปุ่มเพื่อแสดงตน และลงคะแนนคราวละหลายใบในคราวเดียวกัน โดยจําเลยได้ออกเสียงลงคะแนนให้ปิดการอภิปราย อันเป็นการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเกินกว่า 1 เสียงในการลงคะแนนมติในแต่ละครั้ง การกระทํา ของจําเลยดังกล่าวทั้งสองครั้งเป็นการขัดต่อหลักการพื้นฐานของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือการครอบงําใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ขัดต่อหลักความซื่อสัตย์สุจริตที่สมาชิกรัฐสภาได้ปฏิญาณตนไว้ ขัดต่อหลักการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา ที่ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม และขัดต่อหลักการออกเสียง ลงคะแนนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 126 วรรคสาม ที่กําหนดให้สมาชิกคนหนึ่งมีเพียงเสียงหนึ่งเสียงในการออกเสียงลงคะแนน ซึ่งการกระทําของจําเลย มีผลทําให้การออกเสียงลงคะแนนในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ทุจริตบิดเบือน ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับการประชุมรัฐสภาโดยชัดแจ้ง ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่แท้จริง ของผู้แทนปวงชนชาวไทย อันเป็นการกระทําการในตําแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ และมิอาจถือได้ว่า มติของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาในกระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นไป โดยชอบตามกฎหมายและข้อบังคับการประชุมรัฐสภา จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15 - 18 / 2556 คดีระหว่าง พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม กับคณะ ผู้ร้องที่ 1 ้ หนา 83 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ผู้ร้องที่ 2 นายสาย กังกเวคิน กับคณะ ผู้ร้องที่ 3 และ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กับคณะ ผู้ร้องที่ 4 กับ ประธานรัฐสภา ผู้ถูกร้องที่ 1 รองประธานรัฐสภา ผู้ถูกร้องที่ 2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ผู้ถูกร้องที่ 3 ถึงที่ 312 ว่า การกระทําของจําเลยดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมิชอบ และการพิจารณาและลงมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าว เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การปฏิบัติหน้าที่ของจําเลยดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา อันเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ปวงชนชาวไทยโดยส่วนรวม กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญของรัฐสภาอันเป็นฝ่ายนิติบัญญัติและสมาชิกรัฐสภาอื่น ประชาชน ผู้มีชื่ออื่น และเป็นการกระทํา โดยทุจริต เหตุเกิดที่อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จําเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจําเลยในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อม . 8 / 2565 ของศาลนี้ ขอให้ลงโทษ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 มาตรา 123 / 1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2561 มาตรา 172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 นับโทษจําเลยต่อจากโทษจําคุก ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อม . 8 / 2565 ของศาลนี้ จําเลยให้การปฏิเสธว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอํานาจตรวจสอบจําเลย กระบวนการและเนื้อหา ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสมาชิกรัฐสภาและรัฐสภา การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคําร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย จึงถือว่าเป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจตามกฎหมาย ส่งผลให้คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการ ป . ป . ช . ด้วย ทั้งรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ไม่ได้บัญญัติให้ทางเลือกสําหรับผู้ทราบการกระทํายื่นคําร้อง โดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ จึงต้องเสนอเรื่องไปยังอัยการสูงสุดได้ช่องทางเดียว คณะกรรมการ ป . ป . ช . ไม่มีอํานาจไต่สวนข้อเท็จจริงในคดีนี้ และไม่อาจดําเนินการไต่สวนและชี้มูลความผิดไปตามผลของคําวินิจฉัยนั้น อีกทั้งคณะกรรมการ ป . ป . ช . ก็ไม่มีอํานาจตรวจสอบว่ารัฐสภาหรือสมาชิกรัฐสภาได้ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ โดยถูกต้องตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องระเบียบของงานของรัฐสภาโดยเฉพาะ ซึ่งไม่อยู่ในอํานาจของคณะกรรมการ ป . ป . ช . ที่จะดําเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ้ หนา 84 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

มาตรา 270 คดีนี้ คณะกรรมการ ป . ป . ช . เร่งรีบรวบรัดจนเห็นเสมือนว่าต้องการให้คดีแล้วเสร็จ โดยเร็วภายในเวลาไม่กี่เดือน อันถือได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมต่อจําเลย หลังจากรัฐประหารมีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2561 ที่มีผลบังคับย้อนหลังและมีผลร้ายต่อจําเลยเป็นอย่างยิ่ง จึงไม่อาจบังคับใช้ได้ ตามระเบียบของรัฐสภาว่าด้วยการมีบัตรและใช้บัตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีบัตรที่ใช้ในการออกเสียงจํานวน 3 บัตร คือ 1 ) บัตรประจําตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 ) บัตรลงคะแนนเสียง และ 3 ) บัตรลงคะแนนเสียงสํารองในกรณีบัตรลงคะแนนเสียงเกิดปัญหาใช้การไม่ได้ จําเลยหลงลืมบัตรทั้งสามแบบดังกล่าวจึงได้ขอทําบัตรใหม่หลายครั้ง เมื่อออกบัตรใหม่เจ้าหน้าที่ ออกบัตรก็จะยกเลิกรหัสบัตรเก่าไป เมื่อใช้บัตรลงคะแนนจึงไม่สามารถแสดงตนได้ จําเลยถือบัตรทุกใบ ที่ถูกยกเลิกและบัตรสํารองในการลงคะแนนไว้เสมอ ในทางเทคนิคจึงเห็นเป็นเสมือนว่าจําเลยมีบัตรหลายใบ ( ตามคลิป ) และในการลงคะแนนขอมติจากที่ประชุมรัฐสภาจะใช้เวลาไม่เกิน 2 ถึง 3 วินาที ต่อการลงคะแนนแต่ละครั้ง ประธานในที่ประชุมก็จะขอผลการลงคะแนน แต่ในคลิปเป็นระยะเวลา กว่า 1 นาที 23 วินาที จึงหาใช่การลงคะแนนเพื่อขอมติในที่ประชุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ละคนย่อมทราบดีว่าไม่สามารถลงคะแนนแทนกันได้ การลงมติตามฟ้องมีการตั้งกรรมาธิการขึ้นมา ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว แต่ก็ไม่พบการกระทําความผิดหรือมีคําสั่งลงโทษจําเลย มูลคดีตามฟ้อง เป็นการแสวงหาประโยชน์ทางการเมืองของผู้ร้องเพื่อจะลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในขณะนั้น จนนําไปสู่การรัฐประหาร อีกทั้งแผ่นบันทึกภาพและเสียง ( คลิป ) ของโจทก์มีการตัดต่อภาพและเสียง ซึ่งเป็นพยานหลักฐานที่ไม่สามารถรับฟังลงโทษจําเลยได้ คําฟ้องว่าจําเลยกดบัตรแทนบุคคลอื่นนั้น ไม่เป็นความจริง อีกทั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 130 วรรคแรก บัญญัติไว้โดยแจ้งชัดว่า การออกเสียงลงคะแนนย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดของจําเลย ผู้ใดจะนําไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใดมิได้ คําฟ้องของโจทก์ ข้อ 2 . 1 ที่ว่า “ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2556 เวลากลางวัน ” ไม่ปรากฏว่ามีวันเวลาดังกล่าวในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา ของคณะกรรมการ ป . ป . ช . ที่แจ้งแก่จําเลย รัฐบาลไทยถูกรัฐประหารและมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ทําให้จําเลยพ้นสภาพเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว การลงมติตามฟ้องก็ถูกยกเลิก ( เป็นโมฆะ ) ไม่มีการรับรองมติการลงคะแนน จึงไม่มีผลทําให้รัฐ ้ หนา 85 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

หรือบุคคลอื่นใดเป็นผู้เสียหาย ทั้งตามคําขอท้ายคําฟ้องของโจทก์ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2561 มาตรา 4 , 172 , 192 , 198 เป็นบทกฎหมาย ที่ตราขึ้นมาบังคับใช้หลังจากเกิดเหตุและเป็นผลร้ายแก่จําเลย โจทก์จะขอลงโทษไม่ได้ ขอให้ยกฟ้อง แต่จําเลยรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจําเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ พิเคราะห์พยานหลักฐานตามทางไต่สวนของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ประกอบรายงานการไต่สวนของคณะกรรมการ ป . ป . ช . และคําแถลงปิดคดีของจําเลยแล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้น รับฟังได้ว่า วันที่ 24 สิงหาคม 2550 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยหมวด 6 รัฐสภา ส่วนที่ 1 บททั่วไป รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 480 คน เป็นสมาชิกมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน และสมาชิกมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน 80 คน ส่วนที่ 3 วุฒิสภา มาตรา 111 ถึงมาตรา 121 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหาเท่ากับ 150 คน หักด้วยที่มาจากการเลือกตั้ง สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภา มีกําหนดวาระละ 6 ปี จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกิน 1 วาระไม่ได้ ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกัน ของรัฐสภา มาตรา 136 ในกรณีต่อไปนี้ ให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน ( 1 ) … ( 16 ) การแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 มาตรา 137 ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ใช้ข้อบังคับ การประชุมรัฐสภา … หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 การแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญให้กระทําได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ ( 1 )… ถึง ( 7 )… โดยมีหลักเกณฑ์ และวิธีการด้วยว่า ให้แก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตราโดยรัฐสภา ให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ ผู้เสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภามีจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะเสนอมิได้ ต่อมามีข้อบังคับ การประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2553 เป็นต้นไป ตามเอกสารหมาย จ . 5 และต่อมามีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 1 ) พุทธศักราช 2554 ้ หนา 86 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป ได้แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยแก้ไขเพิ่มเติมด้วยว่า สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 500 คน มาจากการเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 375 คน มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 125 คน และรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พุทธศักราช 2554 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป ได้แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทําหนังสือสัญญากับนานาประเทศ โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 ว่าต้องเสนอต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปทั่วประเทศ จําเลยได้รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย ตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ . 64 จําเลยจึงเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 ต่อมาวันที่ 20 มีนาคม 2556 จําเลยกับคณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ได้ร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภา โดยเสนอญัตติ ขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา รวม 3 ฉบับ ฉบับละเรื่อง ฉบับที่หนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติม โดยกําหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง ( ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … ( แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 และมาตรา 241 วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา 113 และมาตรา 114 )) ฉบับที่สอง แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทําหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 และฉบับที่สาม แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ การยุบพรรคการเมือง กรรมการบริหาร พรรคการเมือง ตามมาตรา 68 และมาตรา 237 ซึ่งประธานรัฐสภาได้ส่งสําเนาญัตติ ขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อให้ที่ประชุมร่วมกัน ของรัฐสภาพิจารณาและลงมติ โดยจําเลยมีหน้าที่ต้องเข้าประชุมร่วมกันของรัฐสภากับสมาชิกรัฐสภาอื่น และจําเลยในฐานะสมาชิกคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน สํานักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎรได้ออกบัตรลงคะแนนให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 ประเภท ประกอบด้วย ( 1 ) บัตรลงคะแนน ( บัตรจริง ) ซึ่งมีรูปสมาชิกปรากฏอยู่ด้านหน้าของบัตร และมีข้อมูลชื่อ นามสกุล เลขที่ประจําตัว และพรรคที่สังกัด สมาชิกเป็นผู้เก็บรักษาเอง ( 2 ) บัตรลงคะแนนสํารอง ซึ่งไม่มีรูปสมาชิก ้ หนา 87 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ปรากฏอยู่ด้านหน้าของบัตร แต่มีรหัสและข้อมูลอื่นเช่นเดียวกับบัตรจริง และ ( 3 ) บัตรลงคะแนนพิเศษ (SP) ซึ่งบัตรทั้งสองประเภทหลังนี้ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สํานักการประชุม เป็นผู้เก็บรักษา สมาชิกที่ไม่ได้นําบัตรจริงมา สามารถขอยืมบัตรสํารองไปใช้ในวันนั้นได้ หากสมาชิกไม่มีทั้งบัตรจริงและบัตรสํารองก็ขอยืมบัตรพิเศษ จากเจ้าหน้าที่สํานักการประชุมเพื่อใช้ลงคะแนนได้ โดยสมาชิกจะต้องลงลายมือชื่อยืมในแบบฟอร์ม ขอใช้บัตรลงคะแนนสํารอง และกรอกข้อมูลสมาชิกประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล เลขที่ประจําตัว และพรรคที่สังกัด เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบการลงคะแนนของสมาชิกให้สํานักการประชุม และชวเลข ขั้นตอนการลงคะแนน เริ่มจากประธานในที่ประชุมแจ้งให้สมาชิกแสดงตนเพื่อตรวจสอบ องค์ประชุมก่อน เจ้าหน้าที่กลุ่มงานโสตทัศนูปกรณ์ผู้รับผิดชอบดูแลระบบการลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ จะเปิดฟังก์ชันการลงคะแนน ( ระบบการลงคะแนน ) เมื่อระบบทํางานจะมีไฟกะพริบบนเครื่องอ่านบัตร พร้อมกันทั้ง 5 ดวง สมาชิกจะกดปุ่มแสดงตน หลังจากนั้น ประธานในที่ประชุมจะแจ้งปิดการแสดงตน เมื่อปิดฟังก์ชันการแสดงตนหรือสมาชิกดึงบัตรลงคะแนนออกไฟที่กะพริบนั้นจะดับ จากนั้น ระบบคอมพิวเตอร์ จะประมวลผลแสดงผลการแสดงตนต่อที่ประชุม เมื่อมีการแสดงตนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ประธานในที่ประชุม จะแจ้งให้สมาชิกลงคะแนน ซึ่งจะมีการเปิดฟังก์ชันการลงคะแนน เมื่อมีการเสียบบัตรแล้วก็จะต้องกดปุ่มแสดงตน และกดปุ่มลงคะแนนเพื่อแสดงว่าเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง เครื่องอ่านบัตรแต่ละเครื่อง สามารถใช้บัตรลงคะแนนของสมาชิกคนใดก็ได้และจํานวนเท่าใดก็ได้ เป็นเหตุให้สามารถใช้บัตรลงคะแนน ของสมาชิกจํานวนหลายใบใส่ลงในช่องเครื่องอ่านบัตรเครื่องเดียวกันได้ในช่วงระยะเวลาที่ยังไม่ปิดฟังก์ชัน แต่หากสมาชิกใช้ทั้งบัตรจริงและบัตรสํารองของตนต่อเนื่องกัน ระบบจะบันทึกผลการลงคะแนนเฉพาะบัตร ที่ใช้ครั้งแรกเท่านั้น เพราะบัตรจริงและบัตรสํารองมีรหัสและข้อมูลเหมือนกันทุกประการ ระบบการลงคะแนน จะบันทึกข้อมูลจากฐานข้อมูลแล้วแสดงผลในรายงานการออกเสียงลงคะแนนเฉพาะชื่อ นามสกุล เลขที่สมาชิก พรรคที่สังกัด แต่ระบบการลงคะแนนไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าสมาชิกเสียบบัตรลงคะแนน ที่เครื่องอ่านบัตรจุดใดของห้องประชุม ในการประชุมมีการถ่ายทอดสดการประชุมรัฐสภาไปยังสถานีโทรทัศน์ ของรัฐสภา และกระจายสัญญาณภาพไปยังเครื่องโทรทัศน์ภายในรัฐสภา โดยใช้กล้องถ่ายภาพ จํานวน 9 ตัว แต่จะมีการบันทึกภาพต่อเมื่อนําภาพจากกล้องนั้นมาถ่ายทอดสดออกอากาศ โดยการบันทึกภาพ จะไม่มีการจับภาพเจาะจงไปที่สมาชิกผู้หนึ่งผู้ใดในขณะลงคะแนนเสียงโดยเฉพาะ ในการขอแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้มีมติรับหลักการเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2556 ้ หนา 88 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ต่อมาเริ่มการประชุมวาระที่สอง ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป ขณะเกิดเหตุ วันที่ 10 กันยายน 2556 มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา วาระที่สอง ขั้นพิจารณาเรียงลําดับ มาตราครั้งที่ 9 ( สมัยสามัญทั่วไป ) เพื่อพิจารณาและลงมติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว เกี่ยวกับเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภาในมาตรา 9 กรณีห้ามมิให้จับกุมคุมขัง หรือหมายเรียกตัว กรรมการการเลือกตั้งไปทําการสอบสวน ในระหว่างที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาหรือประกาศให้มีการออกเสียงประชามติมีผลใช้บังคับ ครั้นเวลา 17 . 33 นาฬิกา ประธานในที่ประชุมแจ้งให้สมาชิกลงมติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 9 จําเลยร่วมแสดงตน และลงคะแนนด้วย ต่อมาวันที่ 11 กันยายน 2556 มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาวาระที่สอง ขั้นพิจารณาเรียงลําดับมาตราครั้งที่ 10 ( สมัยสามัญทั่วไป ) เพื่อพิจารณาและลงมติร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาในมาตรา 10 เรื่อง ให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งมีสมาชิกภาพ อยู่ในวันที่รัฐธรรมนูญใช้บังคับยังคงมีสมาชิกภาพและปฏิบัติหน้าที่วุฒิสภาต่อไป โดยจําเลยเข้าประชุมร่วมกัน ของรัฐสภา ครั้นเวลา 16 . 43 นาฬิกา ประธานในที่ประชุมในขณะนั้นได้ขอมติที่ประชุมร่วมกัน ของรัฐสภาปิดการอภิปรายในมาตรา 10 ตามที่มีสมาชิกรัฐสภาอื่นได้เสนอญัตติขอปิดการอภิปราย ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา จําเลยร่วมแสดงตนและลงคะแนนทั้งสองครั้งดังกล่าวด้วย ตามรายงาน การประชุมร่วมกันของรัฐสภาและบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกรัฐสภาในการประชุมร่วมกัน ของรัฐสภาเอกสารหมาย จ . 59 ถึง จ . 62 การประชุมรัฐสภาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ได้เสร็จสิ้นวาระที่สองทั้งสามร่าง เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2556 แต่ก่อนถึงกําหนดประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม วาระที่สาม ในวันที่ 28 กันยายน 2556 ได้มีสมาชิกรัฐสภา ไปยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ 4 คําร้อง ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณาและเรียก ดังนี้ พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม กับคณะ ผู้ร้องที่ 1 นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ผู้ร้องที่ 2 นายสาย กังกเวคิน กับคณะ ผู้ร้องที่ 3 และ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กับคณะ ผู้ร้องที่ 4 และเรียกประธานรัฐสภา ผู้ถูกร้องที่ 1 รองประธานรัฐสภา ผู้ถูกร้องที่ 2 และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ผู้ถูกร้องที่ 3 ถึงที่ 312 โดยผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 ต่างยื่นคําร้องเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2556 ผู้ร้องที่ 3 ยื่นคําร้องเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2556 และผู้ร้องที่ 4 ยื่นคําร้องเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2556 ตามเอกสารหมาย จ . 25 ถึง จ . 33 นอกจากนี้ วันที่ 26 กันยายน 2556 ้ หนา 89 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

นายวันชัย สอนศิริ กับคณะ คือ นายตวง อันทะไชย และ นายประสาร มฤคพิทักษ์ ซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ไปยื่นคําร้องต่อคณะกรรมการ ป . ป . ช . ขอให้ตรวจสอบเกี่ยวกับการกระทําของสมาชิกรัฐสภา จํานวน 308 คน ว่าเป็นการกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือเป็นการกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ ตามเอกสารหมาย จ . 15 การประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้พิจารณาวาระที่สามในวันที่ 28 กันยายน 2556 โดยมีมติเห็นชอบ ในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญ สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรดําเนินการส่งร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมทั้งสามฉบับซึ่งผ่านรัฐสภาแล้วไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรี นําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายต่อไป ต่อมา นายวันชัย ยื่นคําร้องเพิ่มเติมกล่าวหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาที่ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ จํานวน 358 คน ตามเอกสารหมาย จ . 16 ถึง จ . 18 วันที่ 17 ตุลาคม 2556 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิวัฒน์ชัย กุลมาตย์ พันโท รัฐเขต แจ้งจํารัส และคณะ ร่วมกันยื่นคํากล่าวหาคณะบุคคลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทย ( ไม่ระบุชื่อ ) ต่อคณะกรรมการ ป . ป . ช . กรณีเสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน ตามเอกสารหมาย จ . 19 และ จ . 20 ศาลรัฐธรรมนูญไต่สวนพยาน 7 ปาก คือ พลเอก สมเจตน์ นายวิรัตน์ นางสาวรังสิมา รอดรัศมี นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ซึ่งเป็นพยานผู้ร้อง และไต่สวนพยานที่ศาลรัฐธรรมนูญ เรียกมาเองคือ นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย ในฐานะเลขาธิการรัฐสภา และ นางอัจฉรา จูยืนยง ในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบโสตทัศนูปกรณ์ของรัฐสภา และมีพยานหลักฐานประกอบการไต่สวน คือ คลิปวีดิทัศน์ที่ นางสาวรังสิมา อ้างว่าได้ให้บุคคลที่ไว้วางใจบันทึกภาพไว้ด้วย ต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 สรุปเป็นประเด็นหลักสองประเด็น ประเด็นที่หนึ่ง กระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … เป็นการกระทําเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไป ตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะเหตุผลหลัก 3 ประการ คือ ( 1 ) ในการพิจารณา ของที่ประชุมรัฐสภา มิได้นําเอาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ฉบับที่ นายอุดมเดช รัตนเสถียร และคณะ เสนอ ( คือฉบับที่หนึ่ง ) ต่อสํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2556 มาใช้ในการพิจารณาในวาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการ แต่ได้นําร่าง ที่มีการจัดทําขึ้นใหม่ซึ่งมีการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหลักการที่สําคัญจากร่างเดิมหลายประการ ้ หนา 90 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

คือ การเพิ่มเติมหลักการโดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 116 วรรคสอง และมาตรา 241 วรรคหนึ่ง ด้วย การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 116 จะมีผลทําให้บุคคลผู้เคยดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลง สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้อีกโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 2 ปี และมีการดําเนินการในลักษณะที่มีเจตนาปกปิดข้อเท็จจริงไม่แจ้งข้อความจริงว่า ได้มีการจัดทําร่างขึ้นใหม่ ให้สมาชิกรัฐสภาทราบทุกคน มีผลเท่ากับว่าการดําเนินการในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ที่รัฐสภารับหลักการตามคําร้องนี้ เป็นไปโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ( 1 ) วรรคหนึ่ง ( 2 ) การกําหนดวันแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยเมื่อที่ประชุมรัฐสภาในวันที่ 18 เมษายน 2556 ลงมติให้กําหนดเวลาแปรญัตติ 15 วัน การให้เริ่มต้นนับย้อนหลังไปโดยให้นับระยะเวลา 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2556 นั้นไม่ชอบเพราะไม่อาจนับย้อนหลังได้ แต่ต้องนับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมมีมติ เป็นต้นไป การเริ่มนับระยะเวลาย้อนหลังไปจนทําให้เหลือระยะเวลาขอแปรญัตติเพียง 1 วัน เป็นการดําเนินการที่ขัดต่อข้อบังคับการประชุมและไม่เป็นกลาง จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 125 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ทั้งขัดต่อหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 วรรคสอง ด้วย และ ( 3 ) วิธีการในการแสดงตนและลงมติในการพิจารณาญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ของสมาชิกวุฒิสภาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะสมาชิกรัฐสภาคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน แต่จากพยานหลักฐานในการไต่สวนชี้ให้เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 162 ( จําเลย ) ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภา ได้ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและออกเสียงลงคะแนนคราวละหลายใบ หมุนเวียนใส่เข้าไป ในเครื่องอ่านบัตรและกดปุ่มแสดงตนติดต่อกันหลายครั้ง รับฟังได้ว่ามีสมาชิกรัฐสภาหลายราย มิได้มาออกเสียงลงมติในที่ประชุมรัฐสภาในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ ( คือฉบับที่หนึ่ง ) แต่ได้มอบให้สมาชิกรัฐสภาบางรายใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในการพิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 มาตรา 123 มาตรา 126 วรรคสาม และขัดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ประเด็นที่สอง การแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … มีลักษณะเป็นการกระทํา เพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15 - 18 / 2556 เอกสารหมาย จ . 23 หลังจากนั้น ้ หนา 91 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

นายอุทัย ยอดมณี ผู้ประสานงานเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ( คปท .) ยื่นคําร้อง ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ร้องเรียนสมาชิกรัฐสภา 312 คน ต่อคณะกรรมการ ป . ป . ช . อีกคําร้องหนึ่ง ตามเอกสารหมาย จ . 21 นอกจากนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นําฝ่ายค้าน และคณะ 144 คน ทําหนังสือ 3 ฉบับ ลงวันที่ 6 กันยายน 2556 วันที่ 18 กันยายน 2556 และวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 ร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนบุคคล ออกจากตําแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ถึงมาตรา 274 โดยขอให้ถอดถอนสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 383 คน ออกจากตําแหน่ง วันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 คณะกรรมการ ป . ป . ช . มีมติให้ไต่สวนข้อเท็จจริง ส่วนสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 แจ้งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปยังสํานักงานคณะกรรมการ ป . ป . ช . ต่อมาวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ขณะ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ . ศ . 2556 กําหนดเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยดังกล่าว เลขาธิการคณะรัฐมนตรีก็ได้ส่งร่างรัฐธรรมนูญทั้งสามฉบับ คืนสํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เกิดรัฐประหาร วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2557 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา ต่อมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่วุฒิสภาประชุมดําเนินกระบวนการเพื่อถอดถอน จนกระทั่งมีมติเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 ถอดถอนจําเลยเมื่อครั้งดํารงตําแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกจากตําแหน่ง คณะกรรมการ ป . ป . ช . แจ้งข้อกล่าวหาแก่จําเลย นายคมเดช ไชยศิวามงคล และ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ตามเอกสารหมาย จ . 69 จ . 70 และ จ . 71 จําเลย นายคมเดช และ นายยุทธพงศ์ ต่างยื่นคําชี้แจงข้อกล่าวหาตามเอกสารหมาย จ . 72 จ . 74 และ จ . 75 วันที่ 8 กันยายน 2559 คณะกรรมการ ป . ป . ช . มีมติว่า การกระทําของจําเลย มีมูลความผิดทางอาญา ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทําให้ผู้อื่น เชื่อว่ามีตําแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองหรือผู้อื่น และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใด ในตําแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ้ หนา 92 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 มาตรา 123 และมาตรา 123 / 1 ส่วน นายคมเดช และ นายยุทธพงศ์ คณะกรรมการ ป . ป . ช . มีมติว่า จากการไต่สวนข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟังได้ว่าได้กระทําความผิดตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป และคณะกรรมการ ป . ป . ช . มีมติว่า การกระทําของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ นายอุดมเดช รัตนเสถียร มีมูลความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 มาตรา 123 / 1 ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด ( โจทก์ ) เพื่อฟ้องคดีต่อศาลนี้ ตามสําเนารายงาน และสํานวนการไต่สวนข้อเท็จจริง เอกสารหมาย จ . 7 โจทก์คงฟ้องแต่จําเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562 โจทก์ไม่รับดําเนินคดี นายสมศักดิ์ และ นายอุดมเดช คณะกรรมการ ป . ป . ช . จึงฟ้อง นายสมศักดิ์ และ นายอุดมเดช เองต่อศาลนี้ต่างหากจากคดีนี้ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อแรกมีว่า โจทก์มีอํานาจยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือไม่ เห็นสมควรวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจําเลยเป็นลําดับไป ดังนี้ ข้อที่จําเลยโต้แย้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอํานาจรับคําร้องที่เกี่ยวกับการกระทําของจําเลย เนื่องจาก การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอํานาจของรัฐสภาที่จะดําเนินการได้ ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 68 มิได้บัญญัติให้ผู้ร้องยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงได้ โดยไม่ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากอัยการสูงสุดก่อน ส่งผลให้คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15 - 18 / 2556 ไม่มีผลผูกพันคณะกรรมการ ป . ป . ช . ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 216 วรรคห้า คณะกรรมการ ป . ป . ช . จึงไม่มีอํานาจไต่สวน และชี้มูลความผิดตามผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น เห็นว่า ตามคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15 - 18 / 2556 ไม่มีประเด็นเรื่องความรับผิดทางอาญาของบุคคลใด ดังนั้น การที่บุคคลใด จะต้องรับโทษอย่างไรหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องดําเนินการเป็นคดีอาญาอีกส่วนหนึ่งตามบทกฎหมายต่อไป โดยจะต้องมีการพิจารณาคดีอาญาโดยเปิดเผยต่อหน้าบุคคลที่อยู่ในฐานะเป็นจําเลย ทั้งในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และมาตรฐานการพิสูจน์ความผิดในคดีอาญานั้น ศาลจึงต้องแน่ใจว่าจําเลยเป็นผู้กระทําความผิดโดยปราศจากความสงสัยตามสมควร เมื่อกระบวนการ ้ หนา 93 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

พิจารณาพิพากษาคดีอาญามีความแตกต่างจากการพิจารณาและวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการ ป . ป . ช . ย่อมมีอํานาจหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริงตามความจริงที่เกิดขึ้นแล้วมีความเห็น หรือคําวินิจฉัยเองได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15 - 18 / 2556 หรือไม่ก็ตาม ซึ่งคดีนี้ คณะกรรมการ ป . ป . ช . ก็ได้ดําเนินการไต่สวนพยานหลักฐานนอกเหนือไปจากที่ปรากฏในคดี ของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ส่วนคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวคงนํามาประกอบการไต่สวน ข้อเท็จจริงเท่านั้น และคณะกรรมการ ป . ป . ช . ได้ให้โอกาสจําเลยชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาอย่างเต็มที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการ ป . ป . ช . มิได้ชี้มูลความผิดไปโดยอาศัยเหตุที่คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีผลผูกพันคณะกรรมการ ป . ป . ช . ดังที่จําเลยยกเป็นข้อต่อสู้ ข้ออ้างข้อนี้ของจําเลยฟังไม่ขึ้น ที่จําเลยอ้างว่า คณะกรรมการ ป . ป . ช . ไม่มีอํานาจตรวจสอบว่ารัฐสภาหรือสมาชิกรัฐสภา ได้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา เพราะเป็นเรื่องภายในของรัฐสภาโดยเฉพาะ นั้น เห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติให้รัฐสภามีอํานาจหน้าที่ ในการเสนอญัตติและพิจารณาญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ในส่วนการกระทําของสมาชิกรัฐสภา ในฐานะเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมจะต้องถูกตรวจสอบโดยกระบวนการยุติธรรมได้ โดยหากมีการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติใดที่อาจมีความรับผิดทางอาญา สมาชิกรัฐสภานั้น ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีโดยศาลที่มีอํานาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย หาใช่ว่าจะมีการตรวจสอบภายในของสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นดังที่จําเลยอ้าง คดีนี้เป็นการกล่าวหาจําเลย ซึ่งเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองว่ากระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือทุจริตต่อหน้าที่ จึงอยู่ในอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป . ป . ช . ที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อดําเนินคดีอาญาแก่จําเลยได้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 ส่วนที่จําเลยอ้างว่า คดีนี้มีการเร่งรีบรวบรัดจนถือได้ว่าเลือกปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นธรรม เนื่องจาก ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ มีทัศนคติที่เป็นลบต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ส่วน ศาสตราจารย์ภักดี โพศิริ เคยถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย 129 คน ยื่นขอถอดถอน ออกจากตําแหน่งมาก่อน แต่คณะกรรมการ ป . ป . ช . กลับแต่งตั้งให้บุคคลทั้งสองร่วมเป็นองค์คณะ ในการไต่สวนข้อเท็จจริงและเป็นผู้รับผิดชอบสํานวนนั้น เห็นว่า เมื่อพิจารณาจากรายงานการไต่สวน ของคณะกรรมการ ป . ป . ช . แล้ว ปรากฏว่าได้มีการไต่สวนพยานบุคคลมากถึง 30 ราย บ่งชี้ให้เห็นว่า ้ หนา 94 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

คณะกรรมการ ป . ป . ช . มิได้ไต่สวนข้อเท็จจริงอย่างรวบรัด อีกทั้ง ศาสตราจารย์พิเศษวิชา ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2556 แจ้งคําสั่งไต่สวนข้อเท็จจริงให้จําเลยทราบว่าคณะกรรมการ ป . ป . ช . ทั้งคณะเป็นองค์คณะในการไต่สวน และมอบหมายให้ ศาสตราจารย์พิเศษวิชา นายใจเด็ด พรไชยา และ ศาสตราจารย์ภักดี กรรมการ ป . ป . ช . เป็นผู้รับผิดชอบสํานวนการไต่สวนข้อเท็จจริง ตามเอกสารหมาย จ . 11 หน้า 195 จําเลยก็ไม่ได้คัดค้านองค์คณะในการไต่สวนข้อเท็จจริงดังกล่าว และต่อมายังได้มีการปรับเปลี่ยนกรรมการ ป . ป . ช . ผู้รับผิดชอบสํานวน เนื่องจาก ศาสตราจารย์พิเศษวิชา นายใจเด็ด และ ศาสตราจารย์ภักดี พ้นจากตําแหน่งกรรมการ ป . ป . ช . โดยแจ้งให้จําเลยทราบ ตามหนังสือฉบับลงวันที่ 18 มีนาคม 2559 เอกสารหมาย จ . 12 หน้า 196 แล้ว ดังนั้น เมื่อ ศาสตราจารย์พิเศษวิชา และศาสตราจารย์ภักดี พ้นจากตําแหน่งไปก่อนแล้วย่อมไม่อาจเข้าไป ก้าวก่ายชี้นําในขณะที่คณะกรรมการ ป . ป . ช . พิจารณาสํานวนการไต่สวนข้อเท็จจริงและลงมติเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2559 ว่าการกระทําของจําเลยมีมูลความผิดทางอาญาได้ ประกอบกับการพิจารณา ของคณะกรรมการ ป . ป . ช . ได้ดําเนินการในรูปของคณะกรรมการ การที่กรรมการคนใดจะลงความเห็น ย่อมอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนข้อเท็จจจริง ดังจะเห็นได้จากที่คณะกรรมการ ป . ป . ช . มีมติเป็นเอกฉันท์ด้วยคะแนนเสียง 9 เสียงว่าในส่วน นายคมเดช ไชยศิวามงคล และ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร จากการไต่สวนข้อเท็จจริงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟังได้ว่าได้กระทําความผิด ตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหาตกไป ตามเอกสารหมาย จ . 6 หน้า 134 ซึ่ง นายคมเดช และ นายยุทธพงศ์ ก็เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทยเช่นเดียวกับจําเลย แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการ ป . ป . ช . มิได้ดําเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงในลักษณะเร่งรีบรวบรัด โดยมุ่งจะเอาผิดดังที่จําเลยอ้าง แต่อย่างใด ที่จําเลยอ้างว่า บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ป . ป . ช . มิได้ระบุเวลาเกิดเหตุเวลากลางวัน ดังเช่นคําฟ้องนั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 มาตรา 47 วรรคหนึ่ง เป็นเพียงกําหนดรูปแบบการแจ้งข้อกล่าวหาให้จัดทําบันทึก การแจ้งข้อกล่าวหา เพียงเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าได้มีการไต่สวนในเรื่องใดและทราบว่าการกระทํา ของผู้ต้องหาเป็นความผิดเท่านั้น สาระสําคัญอยู่ที่ว่ามีแจ้งข้อกล่าวหาถูกต้องตามพยานหลักฐานแล้ว ซึ่งตามบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาแก่จําเลยได้ระบุวันเดือนปีที่เกิดเหตุแล้ว ส่วนที่ไม่ได้กล่าวว่าเป็นเวลากลางวัน ้ หนา 95 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ก็เพราะได้ระบุโดยละเอียดเป็นวันที่ 10 กันยายน 2556 เวลา 17 . 33 นาฬิกา กับวันที่ 11 กันยายน 2556 เวลา 16 . 43 นาฬิกา ตามบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเอกสารหมาย จ . 68 ทั้งจําเลย ได้เข้าร่วมประชุมรัฐสภาในวันเกิดเหตุ ย่อมไม่มีเหตุที่จะเข้าใจผิดหลง แต่อย่างใด และก็ไม่ทําให้จําเลย ขาดโอกาสแสดงพยานหลักฐานแก้ข้อกล่าวหา จึงไม่ใช่ข้อที่จะทําให้การแจ้งข้อกล่าวหาคดีนี้เสียไป ที่จําเลยอ้างว่า ฟ้องของโจทก์ ข้อ 2 . 1 บรรยายว่า เวลา 17 . 33 นาฬิกา เมื่อประธาน ในที่ประชุมแจ้งให้สมาชิกลงมติร่างรัฐธรรมนูญ แต่ตามรายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เอกสารหมาย จ . 59 หน้า 3072 ระบุว่า ประธานได้สั่งปิดการประชุม เลิกประชุมเวลา 17 . 31 นาฬิกา บันทึกการออกเสียงลงคะแนนตามเอกสารหมาย จ . 59 หน้า 3506 และคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 4 คลิปที่ 1 เป็นเวลา 17 . 29 นาฬิกา ส่วนฟ้องของโจทก์ ข้อ 2 . 2 บรรยายว่า เวลา 16 . 43 นาฬิกา เมื่อประธานในที่ประชุมขอมติปิดอภิปรายในมาตรา 10 แต่ตามรายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เอกสารหมาย จ . 60 หน้า 3460 ระบุว่า ประธานได้สั่งปิดการประชุมและเลิกประชุมเวลา 01 . 35 นาฬิกา บันทึกการออกเสียงลงคะแนนตามเอกสารหมาย จ . 60 หน้า 3539 และคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 4 คลิปที่ 2 เป็นเวลา 16 . 46 นาฬิกา ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบนั้น เห็นว่า การดําเนินคดีในระบบไต่สวน ศาลต้องพิจารณาค้นหาความจริง หากจําเลยเห็นว่าคําฟ้องของโจทก์บรรยายไม่ชอบ จําเลยย่อมมีสิทธิ แถลงต่อศาลก่อนหรือในขณะที่ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังเพื่อให้ศาลสั่งให้โจทก์ชี้แจงข้อหา ตามคําฟ้องหรือแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายละเอียดแห่งคําฟ้องจนจําเลยเข้าใจ แต่จําเลยให้การปฏิเสธ โดยมิได้แถลงต่อศาลว่าไม่เข้าใจคําฟ้อง จําเลยจึงไม่อาจยกปัญหาว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้อีก ประกอบกับฟ้องของโจทก์ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทําความผิด ในลักษณะประมาณเวลาอันเป็นเพียงรายละเอียดในชั้นพิจารณา โจทก์ย่อมนําพยานมาไต่สวนได้ว่า การกระทํานั้นเกิดขึ้นช่วงเวลาซึ่งบรรยายไว้ในฟ้องได้ ฟ้องของโจทก์จึงชอบแล้ว ที่จําเลยอ้างว่า หลังเกิดเหตุได้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2561 ใช้บังคับซึ่งเป็นผลร้ายแก่จําเลย โจทก์จะขอบังคับให้ลงโทษจําเลยไม่ได้นั้น เห็นว่า ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562 ปรากฏว่ามีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2561 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561 โดยยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 ้ หนา 96 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2561 มาตรา 172 ยังคงบัญญัติให้การกระทําตามฟ้องเป็นความผิดอยู่และมีระวางโทษเท่าเดิม มิใช่เป็นการยกเลิกการกระทําอันเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายเดิมไปเสียทีเดียว การที่โจทก์มีคําขอให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 มาตรา 123 / 1 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทําความผิด และอ้างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2561 มาตรา 172 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้องมาด้วย ถือได้ว่าโจทก์อ้างมาตราในกฎหมาย ซึ่งบัญญัติว่าการกระทําเช่นนั้นเป็นความผิดแล้ว คําฟ้องของโจทก์จึงชอบแล้ว จากที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น สรุปแล้ว โจทก์มีอํานาจยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ข้ออ้างของจําเลยข้อนี้ ฟังไม่ขึ้น ปัญหาต้องวินิจฉัยข้อต่อไปว่า จําเลยกระทําความผิดตามฟ้องหรือไม่ ในปัญหานี้ ข้อเท็จจริง ได้ความจาก นางสาวรังสิมา รอดรัศมี เป็นพยานเบิกความว่า มีบุคคลถือบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตน และลงคะแนนไว้ในมือจํานวนหนึ่งซึ่งมากกว่า 2 บัตร และใช้บัตรดังกล่าวใส่เข้าออกในช่องอ่านบัตร พร้อมกดปุ่มบนเครื่องลงคะแนนต่อเนื่องกันทุกบัตร ปรากฏตามภาพในคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 คลิปที่ 1 และที่ 2 และ วจ . 9 คลิปที่ 3 ซึ่งพยานจดจําบุคคลนี้ได้เป็นอย่างดีว่าคือ จําเลย เนื่องจากพยานและจําเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาหลายสมัยและรู้จักกัน อีกทั้งก่อนถ่ายคลิปวีดิทัศน์ดังกล่าว พยานได้จัดทําแผนผังระบุที่นั่งและเสื้อผ้าของจําเลยและติดต่อสื่อสารกับผู้บันทึกภาพอยู่ตลอดในระหว่างบันทึกภาพ ประกอบกับในชั้นพิจารณาจําเลยซึ่งได้ดูภาพจากคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 คลิปที่ 2 และ วจ . 9 คลิปที่ 3 แล้วก็เบิกความรับว่า บุคคลที่ปรากฏในภาพตามคลิปวีดิทัศน์ดังกล่าวคือ จําเลย อันเป็นการเจือสมกับคําเบิกความของ นางสาวรังสิมา พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ําหนักให้รับฟัง ส่วนที่จําเลยต่อสู้ว่า คลิปวีดิทัศน์ดังกล่าวมีการตัดต่อจึงเป็นพยานหลักฐานที่ไม่สามารถรับฟังลงโทษจําเลยได้นั้น เห็นว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองได้ส่งคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 วจ . 9 และ วจ . 114 ไปตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ตามที่โจทก์จําเลยแถลงขอ ซึ่ง พันตํารวจโท นิติ อินทุลักษณ์ นักวิทยาศาสตร์ ( สบ 1 ) กลุ่มงานตรวจพิสูจน์อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สํานักงานพิสูจน์หลักฐานตํารวจ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ พยานโจทก์ ้ หนา 97 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

เบิกความว่า พยานตรวจพิสูจน์คลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 และ วจ . 9 แล้วได้ทํารายงานการตรวจว่า ผลการตรวจพิสูจน์ไม่พบร่องรอยการตัดต่อแฟ้มข้อมูลภาพยนตร์ที่ตรวจพบตามรายการที่ระบุซึ่งรวมถึง คลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 คลิปที่ 2 และ วจ . 9 คลิปที่ 3 ดังนี้ การตรวจพิสูจน์วัตถุพยานคลิปวีดิทัศน์ หมาย วจ . 6 และ วจ . 9 ได้กระทําตามหลักวิชาโดยผู้เชี่ยวชาญ มีน้ําหนักให้รับฟัง ส่วนคลิปวีดิทัศน์ หมาย วจ . 2 คลิปที่ 3 ซึ่งปรากฏภาพบางส่วนอย่างเดียวกันกับคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 9 คลิปที่ 3 แต่มีเสียงแตกต่างกันนั้น นายเกียรติศักดิ์ พุฒิพันธ์ พยานโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายเลขานุการในการไต่สวนคดีนี้ก็เบิกความว่า ในชั้นไต่สวนได้รวบรวมคลิปมาจากหลายแหล่ง ทั้งจากนักข่าว ทั้งศาลรัฐธรรมนูญ และผู้กล่าวหา พยานยึดถือคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 คลิปที่ 2 และ วจ . 9 คลิปที่ 3 ที่ได้จาก นางสาวรังสิมา เป็นหลักฐานที่ใช้ในการกล่าวหาจําเลยคดีนี้ จึงส่งไปตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐานแล้วปรากฏว่าไม่มีการตัดต่อ ส่วนคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 2 มิได้ส่งไปตรวจพิสูจน์ ดังนี้เห็นได้ว่าเหตุที่คลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 2 คลิปที่ 3 ปรากฏเสียงการอภิปราย ของสมาชิกในเวลาอื่นซึ่งมิใช่เหตุการณ์ในเวลาลงคะแนนนั้น อาจมีการนําเสียงในเหตุการณ์อื่นมาใส่ จนเป็นเหตุให้คลิปวีดิทัศน์ดังกล่าวปรากฏเสียงไม่สอดคล้องกับภาพเหตุการณ์ขณะลงคะแนนก็เป็นได้ กรณีจึงไม่อาจนําเอาคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 2 มารับฟังเป็นข้อพิรุธแก่คลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 และ วจ . 9 จนทําให้มีน้ําหนักในการรับฟังลดน้อยลง แต่อย่างใด ส่วนที่จําเลยอ้างว่า นางสาวรังสิมา มิได้ประท้วงเรื่อง การเสียบบัตรแทนกันในขณะเกิดเหตุทั้งที่เคยประท้วงเรื่องนี้มาตลอด ทั้ง นางสาวรังสิมา มิได้นําคลิปวีดิทัศน์มาแสดงต่อสื่อมวลชนตั้งแต่วันแรก ๆ ที่เกิดเหตุ จึงไม่น่าเชื่อว่าจะมีคลิปวีดิทัศน์ ในวันเกิดเหตุจริงนั้น ข้อนี้ นางสาวรังสิมา เบิกความถึงเหตุผลในเรื่องนี้ว่า เหตุที่พยานไม่ได้ประท้วง ต่อประธานในที่ประชุม เพราะประท้วงทีไรก็ไม่ได้ผล ทั้งหากเปิดเผยเรื่องคลิปออกไปในตอนนั้น อาจทําให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลที่บันทึกภาพ พยานจึงนําคลิปวีดิทัศน์ไปให้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และฝ่ายกฎหมายของพรรคตรวจสอบก่อนว่าจะสามารถดําเนินการต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งความข้อนี้ สอดคล้องกับคําเบิกความของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น พยานโจทก์อีกปากหนึ่งที่เบิกความยืนยันว่า นางสาวรังสิมา ได้นําคลิปวีดิทัศน์ไปให้ตรวจสอบจริง คําเบิกความของ นางสาวรังสิมา ดังกล่าวจึงนับว่ามีเหตุผลให้รับฟัง แม้ไม่ปรากฏว่าบุคคลที่ถ่ายภาพ คือผู้ใดหรือบุคคลนั้นมิได้มาเบิกความยืนยัน ก็ไม่ทําให้พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ําหนักลดน้อยลง ้ หนา 98 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

และแม้คลิปวีดิทัศน์เกิดขึ้นจากการแอบถ่ายก็ตาม แต่ก็เป็นการแอบถ่ายการกระทําที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว มิได้มีการก่อหรือจูงใจให้เกิดการกระทําดังกล่าว การนําเสนอคลิปวีดิทัศน์จึงเป็นการนําเสนอพยานหลักฐาน ที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจําเลยกระทําความผิด ทั้งการพิจารณาคดีในระบบไต่สวน ศาลมีอํานาจ อย่างกว้างขวางในการค้นหาความจริงเพื่อพิสูจน์ว่าจําเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์ ทั้งศาลได้ส่งคลิปวีดิทัศน์ ไปตรวจพิสูจน์และได้เปิดให้พยานดูต่อหน้าคู่ความหลายครั้งดังที่กล่าวมาแล้ว ศาลจึงรับฟังคลิปวีดิทัศน์ดังกล่าว ประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ ที่จําเลยอ้างว่า ขณะมีการประชุมเพื่อพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มีผู้สื่อข่าวจํานวนมากเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ หากจําเลยกระทําผิดตามคลิปวีดิทัศน์ดังกล่าวก็จะต้องมี คลิปวีดิทัศน์อื่นด้วยนั้น เห็นว่า ผู้สื่อข่าวหรือบุคคลอื่นไม่มีเหตุที่จะต้องสนใจคอยเฝ้าสังเกตดูจําเลย เป็นพิเศษตลอดเวลา ทั้งการที่จะบันทึกภาพขณะเกิดเหตุได้ก็มิใช่เรื่องง่ายเพราะเป็นเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะและเครื่องเสียบบัตรลงคะแนนมีเคาน์เตอร์บังด้านหน้าอยู่ตามภาพถ่าย ในบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุเอกสารหมาย จ . 67 หน้า 3622 ถึง 3630 ดังจะเห็นได้จาก นางสาวรังสิมา เองยังต้องใช้ความพยายามอย่างมาก โดยให้บุคคลที่ไว้วางใจมาแอบบันทึกภาพจําเลย โดยเฉพาะ จึงได้มาซึ่งคลิปวีดิทัศน์ดังกล่าว ดังนั้น การที่ไม่ปรากฏคลิปวีดิทัศน์จากผู้สื่อข่าว จึงไม่เป็นข้อพิรุธ แต่อย่างใด พยานหลักฐานจากการไต่สวนรับฟังได้มั่นคงว่า จําเลยนําบัตรหลายใบ ใส่เข้าไปในเครื่องลงคะแนนตามที่ปรากฏภาพในคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 คลิปที่ 2 วจ . 9 คลิปที่ 3 และ วจ . 6 คลิปที่ 1 ทั้ง 3 ตอน จริง ปัญหาต่อไปว่า การที่จําเลยนําบัตรหลายใบใส่เข้าไปในเครื่องลงคะแนนตามที่ปรากฏ ในคลิปวีดิทัศน์เป็นการลงคะแนนแทนสมาชิกรายอื่นหรือไม่ ในข้อนี้ นางสาวสายฝน ไกรสมเลิศ นางบุษกร อัมพรประภา นางปัทมา แสงดี นางสาวธนพร ธิราพรธราวุธ นางอัจฉรา จูยืนยง นายกันตินันท์ ตั้งใจ นายเจษพันธ์ วงศาโรจน์ นายชนะ มาประสม พยานโจทก์ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ เกี่ยวกับบัตรลงคะแนน การลงคะแนน และงานธุรการในที่ประชุมรัฐสภา ต่างเบิกความตรงกันว่า บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงคะแนนนั้น สมาชิกรัฐสภามีบัตรจริงคนละหนึ่งใบ และมีบัตรสํารองอีก คนละหนึ่งใบ โดยบัตรสํารองเจ้าหน้าที่เก็บรักษาไว้ที่สําหรับให้สมาชิกขอรับไปใช้ในกรณีลืมนําบัตรจริงมา นอกจากนั้น ยังมีบัตรพิเศษ (SP) สําหรับสมาชิกที่ลืมนํามาทั้งบัตรจริงและบัตรสํารอง โดยเฉพาะ นางบุษกร นางปัทมา นางธนพร นางอัจฉรา นายกันตินันท์ พยานโจทก์ซึ่งได้ดูคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 ้ หนา 99 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

คลิปที่ 2 วจ . 9 คลิปที่ 3 และ วจ . 6 คลิปที่ 1 ในระหว่างการไต่สวนของศาลแล้วต่างเบิกความยืนยัน ตรงกันว่า บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงคะแนนที่บุคคลในคลิปวีดิทัศน์นํามาใส่ลงในเครื่องลงคะแนน ต่อเนื่องกันนั้นเป็นบัตรจริง และมีจํานวนมากกว่า 1 ใบ เหตุที่ทราบว่าเป็นบัตรจริงเนื่องจากเป็น บัตรที่มีรูปติดอยู่ อีกทั้ง นางอัจฉรา นายเจษพันธ์ นายชนะ นายชัยรัตน์ นายรุ่งศิลป์ ดาแก้ว พยานโจทก์เบิกความต่อไปว่า เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์เครื่องหนึ่งสามารถเสียบบัตร ของสมาชิกใบแรกลงคะแนนแล้วดึงออก จากนั้น เอาบัตรสมาชิกรายอื่นเสียบเข้าไปเพื่อลงคะแนน ของสมาชิกรายอื่นได้จนกว่าจะมีการปิดลงคะแนน ดังนั้น การกระทําของจําเลยดังกล่าวจึงเป็นการดําเนินการ ตามขั้นตอนลงคะแนนอันส่งผลให้ปรากฏผลการลงคะแนนหลายครั้งสําหรับบัตรแต่ละใบได้ แต่เมื่อจําเลยและสมาชิกรัฐสภาคนหนึ่งต่างพึงมีและใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงคะแนน ได้เพียงคนละ 1 ใบ เพื่อลงคะแนนคนละ 1 เสียง เท่านั้น กรณีจึงมีเหตุผลและน้ําหนักให้รับฟังว่า จําเลยได้ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงคะแนนจํานวนหลายใบก็เพื่อลงคะแนนแทนสมาชิกรายอื่นด้วย ส่วนที่จําเลยต่อสู้ว่า จําเลยหลงลืมบัตรจึงขอทําบัตรใหม่หลายครั้ง จําเลยถือบัตรทุกใบที่ถูกยกเลิก และบัตรสํารองไว้เสมอ จึงเห็นเป็นเสมือนว่าจําเลยมีบัตรหลายใบนั้น ข้อเท็จจริงได้ความจาก นางสาวสายฝน ไกรสมเลิศ ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานบริการทั่วไป สํานักการประชุม สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พยานโจทก์ เบิกความประกอบหนังสือสํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 2 มีนาคม 2558 ลงนามโดย นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เอกสารหมาย จ . 66 ว่า สํานักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎรได้ตรวจสอบการออกบัตรลงคะแนนเสียงใหม่ของจําเลยตั้งแต่เข้ารับตําแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 1 สิงหาคม 2554 จนถึงยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 แล้ว ไม่มีการออกบัตรลงคะแนนเสียงใหม่แทนบัตรใบเดิม แต่อย่างใด กรณีจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จําเลยจะมีบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงคะแนนของจําเลยซึ่งเป็นบัตรจริงหลายใบ ได้ดังที่อ้าง นอกจากนั้น นางสาวพรลภัส ถนอมนาค พยานโจทก์ซึ่งเป็นเลขานุการในที่ประชุม นายเจษพันธ์ วงศาโรจน์ และ นายชัยรัตน์ ทาริยา พยานโจทก์ซึ่งร่วมกันรับผิดชอบดูแลระบบลงคะแนน ต่างเบิกความสอดคล้องกันด้วยว่า หากขอออกบัตรใหม่จะมีการยกเลิกบัตรเดิม ทําให้บัตรเดิม ไม่สามารถนํามาใช้ลงคะแนนได้อีก ดังนี้ กรณีจึงไม่มีประโยชน์อันใดที่จําเลยจะต้องนําบัตรที่ถูกยกเลิกแล้ว มาใส่ในเครื่องลงคะแนนในขณะเกิดเหตุ ยิ่งกว่านั้น นายชัยรัตน์ พยานโจทก์ยังเบิกความด้วยว่า ้ หนา 100 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

หากใช้ทั้งบัตรจริงและบัตรสํารองของสมาชิกคนเดิมก็จะเป็นฐานข้อมูลสมาชิกเดียวกัน ระบบจะแสดงผล การลงคะแนนเพียงครั้งเดียว เพราะระบบคอมพิวเตอร์อ้างอิงตามฐานข้อมูล กรณีจึงไม่มีเหตุผลใด ที่จําเลยจะต้องใส่ทั้งบัตรจริงและบัตรสํารองของจําเลยลงในเครื่องอ่านบัตรต่อเนื่องในคราวเดียวกัน ส่วนที่จําเลยอ้างว่า จําเลยถือบัตรอื่นไว้ด้วยนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพตามคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 คลิปที่ 2 วจ . 9 คลิปที่ 3 ก็ปรากฏว่า มีการเสียบบัตรลงในเครื่องลงคะแนนด้วยบัตรจํานวนหลายใบ โดยมีสัญญาณไฟกะพริบทุกครั้งที่ใช้บัตรแต่ละใบอันแสดงว่าใช้งานได้เป็นปกติ แสดงให้เห็นว่าบัตรแต่ละใบ ที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์นั้น ล้วนแต่เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงคะแนนทั้งสิ้น ข้ออ้างของจําเลยขัดต่อเหตุผล ไม่มีน้ําหนักให้น่าเชื่อถือ พยานหลักฐานตามการไต่สวนฟังได้ว่า จําเลยนําบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงคะแนนซึ่งเป็นบัตรจริงจํานวนหลายใบเสียบในเครื่องลงคะแนน ตามที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์ หมาย วจ . 6 คลิปที่ 2 และ วจ . 9 คลิปที่ 3 ลงคะแนนแทนสมาชิกรายอื่น ปัญหาต่อไปว่า การกระทําของจําเลยตามที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 คลิปที่ 2 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการลงคะแนนตามฟ้องข้อ 2 . 1 และการกระทําของจําเลย ตามที่ปรากฏคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 9 คลิปที่ 3 และ วจ . 6 คลิปที่ 1 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่มีการลงมติปิดอภิปรายตามฟ้องข้อ 2 . 2 หรือไม่ ในข้อนี้ นางอัจฉรา จูยืนยง และ นายเกียรติศักดิ์ พุฒพันธุ์ พนักงานไต่สวน ต่างเบิกความทํานองเดียวกันว่า เสียงที่ปรากฏ ในคลิปวีดิทัศน์ วจ . 6 คลิปที่ 2 ตรงกับข้อความที่บันทึกไว้ในรายงานการประชุมรัฐสภาเอกสาร หมาย จ . 59 แผ่นที่ 3068 และ 3069 ส่วนเสียงที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์ วจ . 9 คลิปที่ 3 และ วจ . 6 คลิปที่ 1 ก็ตรงกับข้อความที่บันทึกไว้ในรายงานการประชุมรัฐสภาเอกสารหมาย จ . 60 แผ่นที่ 3243 ถึง 3245 เห็นว่า นางอัจฉรา พยานโจทก์เป็นผู้บังคับบัญชากลุ่มงานโสตทัศนูปกรณ์ สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือได้ว่าเป็นพยานคนกลาง ได้เบิกความยืนยันว่า เสียงที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์ หมาย วจ . 6 คลิปที่ 2 และ วจ . 9 คลิปที่ 3 ตรงกับข้อความ รายงานการประชุมรัฐสภา ซึ่งรายงานการประชุมรัฐสภาดังกล่าวก็เป็นเอกสารที่เจ้าหน้าที่อื่นได้จัดทําขึ้น ตามหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการตั้งแต่ก่อนมีการกล่าวหาคดีนี้ และรายงานการประชุมดังกล่าว ได้บันทึกถ้อยคําของผู้เข้าร่วมประชุมไว้แบบแทบทุกถ้อยคํา ย่อมนํามาเปรียบเทียบกับเสียงที่ปรากฏ ในคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 คลิปที่ 2 และ วจ . 9 คลิปที่ 3 ได้ พยานหลักฐานจากการไต่สวน ้ หนา 101 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

จึงมีความเชื่อมโยงกัน ทั้งเมื่อศาลได้พิจารณาดูคลิปดังกล่าวจากการที่ศาลได้จัดให้เปิดให้พยานหลายปาก ดูต่อหน้าคู่ความทั้งสองฝ่ายประกอบด้วยแล้ว เชื่อว่า คลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 คลิปที่ 2 เป็นภาพเหตุการณ์ลงคะแนนระหว่างที่มีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มา ของสมาชิกวุฒิสภาในมาตรา 9 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2556 ตามฟ้องข้อ 2 . 1 ส่วนคลิปวีดิทัศน์ หมาย วจ . 9 คลิปที่ 3 เป็นเหตุการณ์ลงมติปิดอภิปรายที่มีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาในมาตรา 10 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2556 ตามฟ้องข้อ 2 . 2 อีกทั้งคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 คลิปที่ 1 เป็นการลงคะแนนในเหตุการณ์ต่อเนื่องในคราวเดียวกัน กับฟ้องข้อ 2 . 2 ส่วนที่จําเลยอ้างว่า บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ป . ป . ช . ระบุเวลากระทําผิดวันที่ 10 กันยายน 2556 เป็นเวลา 17 . 33 นาฬิกา แต่รายงานการประชุมร่วมกัน ของรัฐสภาระบุว่าเลิกประชุมเวลา 17 . 31 น . นั้น เป็นการบันทึกรายละเอียดซึ่งอาจคลาดเคลื่อนได้ และเวลาแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย จึงไม่ใช่ข้อพิสูจน์ว่าเป็นเหตุการณ์คนละวันกัน ดังที่จําเลยอ้าง ส่วนที่จําเลยอ้างว่า การลงมติแต่ละครั้งใช้เวลาไม่เกิน 2 ถึง 3 วินาที ประธานในที่ประชุม ก็จะขอผลการลงมติ แต่ในคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 ปรากฏภาพเป็นระยะเวลา 1 นาที 23 วินาที จึงไม่ใช่เหตุการณ์ที่มีการลงคะแนนเพื่อขอมติที่ประชุมนั้น เห็นว่า ข้ออ้างของจําเลยเป็นการกล่าวอ้างขึ้นเอง โดยไม่มีพยานหลักฐานใดสนับสนุน และเมื่อพิเคราะห์จากคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 คลิปที่ 1 แล้ว เห็นได้ว่าเป็นการบันทึกภาพเหตุการณ์เริ่มตั้งแต่มีการขอให้สมาชิกที่เข้ามาแสดงตนซึ่งต้องรอสมาชิก ทําการเสียบบัตรและกดปุ่มแสดงตน และเมื่อส่งผลการแสดงตนว่ามีสมาชิกแสดงตนครบองค์ประชุมแล้ว ประธานในที่ประชุมจึงขอให้สมาชิกลงคะแนนซึ่งต้องรอเวลาสําหรับให้สมาชิกเสียบบัตรและกดปุ่มแสดงตน โดยเสียงประธานในที่ประชุมในคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 คลิปที่ 1 ตรงตามที่ได้บันทึกไว้ในรายงาน การประชุมเอกสารหมาย จ . 60 แผ่นที่ 3243 ถึง 3245 โดยไม่มีข้อพิรุธใด ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า การกระทําของจําเลยตามที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ . 6 คลิปที่ 2 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่มีการลงคะแนนตามฟ้องข้อ 2 . 1 และการกระทําของจําเลยตามที่ปรากฏคลิปวีดิทัศน์ หมาย วจ . 9 คลิปที่ 3 และ วจ . 6 คลิปที่ 1 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการลงมติปิดอภิปราย ตามฟ้องข้อ 2 . 2 ้ หนา 102 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ที่จําเลยอ้างว่า ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาตรวจสอบตามคําสั่งรัฐสภา ที่ 15 / 2556 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 ผลปรากฏว่าไม่พบการกระทําความผิด ทําให้ข้อเท็จจริงยุติว่า ไม่มีการกระทําความผิดนั้น ก็เป็นเพียงการตรวจสอบเหตุการณ์ในช่วงก่อนเกิดเหตุคดีนี้ และจําเลยเอง ก็ยื่นคําแถลงปิดคดีรับว่าไม่มีการตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีนี้ ทั้งหากมีความเห็น ของคณะกรรมาธิการดังกล่าวก็ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้ศาลต้องผูกพันวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน ข้ออ้างของจําเลยจึงฟังไม่ขึ้น ที่จําเลยอ้างว่า หลังเกิดเหตุมีการรัฐประหารและยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ทําให้จําเลยพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การลงมติตามฟ้อง ถูกยกเลิกแล้ว จึงไม่มีผลทําให้รัฐหรือบุคคลอื่นเสียหายนั้น เห็นว่า ขณะเกิดเหตุจําเลยดํารงตําแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยขณะนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของจําเลยยังมีผลอยู่ แม้ต่อมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช .) ได้มีประกาศฉบับที่ 11 / 2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ให้รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 แต่ก็หาได้มีผลเป็นการลบล้างว่า ไม่มีการกระทําของจําเลยอันมิชอบด้วยกฎหมายเกิดขึ้นในวันดังกล่าว หรือมีผลกลับกลายเป็นว่า การกระทําของจําเลยไม่เป็นความผิดตามกฎหมายไปได้ ที่จําเลยอ้างว่า ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา จําเลยจะแสดงความคิดเห็นหรือออกเสียง ลงคะแนนย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวจําเลยในทางใดมิได้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 130 วรรคหนึ่ง นั้น เห็นว่า เอกสิทธิ์นี้เป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดที่ได้รับความคุ้มครองโดยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาได้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม รวมทั้งลงคะแนนได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไปกระทบกระเทือนหรือเป็นผลร้ายแก่ผู้ใด แต่การใช้เอกสิทธิ์ดังกล่าวต้องชอบด้วยข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ตลอดจนอยู่ภายใต้คําปฏิญาณตนว่า จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตด้วย เอกสิทธิ์ดังกล่าวจึงมิได้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดทางอาญา ให้จําเลยสามารถลงมติแทนสมาชิกรัฐสภารายอื่นได้ มิฉะนั้น จะกลายเป็นเหตุให้นําเอกสิทธิ์ที่รัฐธรรมนูญ ให้ความคุ้มครองนั้นมาใช้เพื่อกระทําการอันละเมิดหรือฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญเสียเอง ข้ออ้างของจําเลยจึงฟังไม่ขึ้น ้ หนา 103 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

จากเหตุผลที่วินิจฉัยข้างต้น พยานหลักฐานตามการไต่สวนที่มีทั้งพยานบุคคลและคลิปวีดิทัศน์ประกอบ จึงรับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่า ขณะเกิดเหตุมีการออกเสียงลงมติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา จําเลยนําบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงคะแนนซึ่งเป็นบัตรจริง ของจําเลยและสมาชิกรายอื่นเสียบเข้าไปในเครื่องลงคะแนนหลายใบเพื่อลงคะแนนแทนสมาชิกอื่น ตามฟ้องจริง การกระทําของจําเลยเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของการเป็นสมาชิกรัฐสภาซึ่งถือได้ว่า เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือการครอบงําใด ๆ และต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามบทบัญญัติมาตรา 122 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ขัดต่อหลักความซื่อสัตย์สุจริตที่สมาชิกรัฐสภาได้ปฏิญาณตนไว้ตามมาตรา 123 และขัดต่อหลักการออกเสียงลงคะแนนตามมาตรา 126 วรรคสาม ที่ให้สมาชิกคนหนึ่งมีเพียงเสียงหนึ่งเสียง ในการออกเสียงลงคะแนน มีผลทําให้การออกเสียงลงคะแนนของรัฐสภาในการประชุมนั้น ๆ เป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ทุจริต ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของผู้แทนปวงชนชาวไทย ถือได้ว่าเป็นการกระทําทุจริตต่อหน้าที่ในความหมายตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 มาตรา 4 ดังนั้น การกระทําของจําเลย จึงเป็นการปฏิบัติในตําแหน่งหรือหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ปวงชนชาวไทย รัฐสภา และสมาชิกรัฐสภารายอื่น หรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นความผิดตามฟ้อง เมื่อการกระทํา ของจําเลยตามฟ้องข้อ 2 . 1 และข้อ 2 . 2 เป็นการกระทําต่างวันเวลากัน ลักษณะความผิด ในแต่ละคราวอาศัยเจตนาในการกระทําความผิดแยกต่างหากจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน รวม 2 กรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 อนึ่ง แม้ภายหลังการกระทําความผิด มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2561 ใช้บังคับ โดยยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2561 มาตรา 172 ยังคงบัญญัติให้การกระทํา ตามฟ้องเป็นความผิดอยู่และมีระวางโทษเท่าเดิม จึงต้องลงโทษจําเลยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ้ หนา 104 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 มาตรา 123 / 1 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับ ในขณะที่จําเลยกระทําความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง พิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 มาตรา 123 / 1 เป็นการกระทําความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 องค์คณะผู้พิพากษา เสียงข้างมากให้ลงโทษจําคุกกระทงละ 1 ปี คําเบิกความของจําเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจําคุกกระทงละ 8 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจําคุก 16 เดือน พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้ไม่ปรากฏว่า จําเลยเคยกระทําความผิดใด ๆ มาก่อนก็ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษแก่จําเลย ส่วนที่โจทก์ มีคําขอให้นับโทษในคดีนี้ต่อจากโทษของจําเลยในคดีหมายเลขดําที่ อม . 8 / 2565 ของศาลนี้ นั้น เนื่องจากคดีดังกล่าวศาลยังมิได้มีคําพิพากษา คําขอส่วนนี้จึงให้ยก . นายประทีป ดุลพินิจธรรมา นายวรงค์พร จิระภาค นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ นายนพพร โพธิรังสิยากร นายอนันต์ วงษ์ประภารัตน์ นางวาสนา หงส์เจริญ นายสวัสดิ์ สุรวัฒนานันท์ นายจักษ์ชัย เยพิทักษ์ นายแรงรณ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ ้ หนา 105 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565