Sun Nov 13 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต [คดีหมายเลขดำที่ อม. 1/2563 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 20/2565 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โจทก์ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ที่ 1 นายอุดมเดช รัตนเสถียร ที่ 2 จำเลย]


คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต [คดีหมายเลขดำที่ อม. 1/2563 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 20/2565 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โจทก์ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ที่ 1 นายอุดมเดช รัตนเสถียร ที่ 2 จำเลย]

( อม . 33 ) คําพิพากษา คดีหมายเลขดําที่ อม . 1 / 2563 คดีหมายเลขแดงที่ อม . 20 / 2565 ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง วันที่ 19 เดือน กันยายน พุทธศักราช 2565 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โจทก์ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ที่ 1 นายอุดมเดช รัตนเสถียร ที่ 2 จําเลย เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โจทก์ฟ้องว่า จําเลยที่ 1 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2554 และเป็นประธานรัฐสภา โดยตําแหน่ง จําเลยที่ 2 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนนทบุรี ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 คดีนี้ เกิดเหตุระหว่างวันที่ 20 มีนาคม 2556 ถึงวันที่ 28 กันยายน 2556 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จําเลยทั้งสองกระทําผิดตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยมีเจตนา กล่าวคือ ( 3 . 1 ) เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2556 มีผู้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ..) ระหว่าง ้ หนา 43 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

พุทธศักราช … พร้อมด้วยบันทึกหลักการและเหตุผลและบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสําคัญ ของร่างรัฐธรรมนูญต่อจําเลยที่ 1 ในคราวเดียวกันสามฉบับ คือ ร่างกําหนดให้สมาชิกวุฒิสภา มาจากการเลือกตั้ง ( แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 และมาตรา 241 และยกเลิกมาตรา 113 และมาตรา 114 ) ซึ่งจําเลยที่ 2 กับคณะ รวม 314 คน เป็นผู้เสนอ ร่างการทําหนังสือสัญญา ( แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 ) นายประสิทธิ์ โพธสุธน สมาชิกวุฒิสภา กับคณะ รวม 320 คน เป็นผู้เสนอ และร่างแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 และยกเลิกมาตรา 237 วรรคสอง นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกวุฒิสภา กับคณะ รวม 318 คน เป็นผู้เสนอ โดยสําหรับร่างที่จําเลยที่ 2 กับคณะ เป็นผู้เสนอนั้น ได้เสนอร่าง บันทึกหลักการและเหตุผล และบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสําคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ตามเอกสารประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 15 เมื่อเอกสารประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 15 ไปถึงกลุ่มงานพระราชบัญญัติและญัตติ 1 สํานักการประชุม ซึ่ง นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์ เป็นผู้บังคับบัญชากลุ่มงานนี้ได้มอบหมายให้ นางนงค์เยาว์ ประพิณ นิติกรชํานาญการพิเศษ ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นผู้รับผิดชอบ นางนงค์เยาว์ ตรวจสอบร่างแล้วทําบันทึกข้อความ ลงวันที่ 20 มีนาคม 2556 เรียน ผู้อํานวยการสํานักการประชุม ถึงผลการตรวจสอบร่าง เกี่ยวกับจํานวนผู้เสนอครบถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เอกสารครบถ้วนและถูกต้อง และเนื้อหาสาระสําคัญ ของร่างมิได้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ แต่อย่างใด เห็นควรนําเสนอเลขาธิการรัฐสภาเพื่อนํากราบเรียนประธานรัฐสภา อนุญาตบรรจุระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับญัตติ ตามสําเนาบันทึกข้อความเอกสารประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 18 เสนอบันทึกข้อความนี้ผ่าน นายศิโรจน์ นายศิโรจน์ จึงได้ทําบันทึกข้อความลงวันที่ 21 มีนาคม 2556 เรียน เลขาธิการรัฐสภา ถึงร่างทั้งสามฉบับ เห็นควรนํากราบเรียนประธานรัฐสภา ( ผ่านรองประธานรัฐสภา ) พิจารณาอนุญาต บรรจุระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาต่อไป นางบุษกร อัมพรประภา ผู้อํานวยการสํานักการประชุม ลงชื่อต่อจาก นายศิโรจน์ ได้ส่งไปยัง นางพรรณิภา เสริมศรี รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นางพรรณิภา เกษียนว่า กราบเรียนประธานรัฐสภา ( ผ่านรองประธานรัฐสภา ) เพื่อโปรดพิจารณาอนุญาต บรรจุวาระร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … จํานวน 3 ฉบับ ้ หนา 44 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

และโปรดพิจารณากําหนดวันเวลาประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาต่อไป ลงวันที่ 21 มีนาคม 2556 นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา ลงชื่อต่อจาก นางพรรณิภา ลงวันที่ 22 มีนาคม 2556 และ นายประสพ บุษราคัม เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงชื่อต่อจาก นายนิคม ลงวันที่ 25 มีนาคม 2556 แล้วได้ส่งไปยังจําเลยที่ 1 หน้าห้องจําเลยที่ 1 รับเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2556 เวลา 17 . 00 นาฬิกา แล้วจําเลยที่ 1 เกษียนสั่งว่า อนุญาต ลงวันที่ 27 มีนาคม 2556 ตามสําเนาบันทึกข้อความเอกสารประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 21 แต่ก่อนที่จําเลยที่ 1 สั่งว่าอนุญาตดังกล่าว ในวันที่ 27 มีนาคม 2556 เวลาประมาณ 8 . 30 นาฬิกา นายเอรวัตร อุ่นกงลาด ผู้บังคับบัญชา กลุ่มงานรองประธานสภาคนที่หนึ่ง ประสานมายัง นายศิโรจน์ ว่าจําเลยที่ 2 แสดงความจํานง ขอปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอไว้โดยการเปลี่ยนเป็นร่างใหม่ โดยที่มิได้มีการเสนอญัตติขึ้นใหม่ และมิได้มีการรับรองญัตติจากสมาชิกรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด และจําเลยที่ 2 สั่งให้ นายอนาวิน แก้วนามชัย ปลัดอําเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ช่วยราชการสํานักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ช่วยของจําเลยที่ 2 นําร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ได้จัดทําขึ้นใหม่ มาสับเปลี่ยน กับร่างเดิมที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และนําร่างเดิมกลับคืน ทั้งที่มิได้มีการเสนอ เป็นญัตติใหม่และมิได้เสนอญัตติตามขั้นตอนทางกฎหมาย หรือข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา หรือขั้นตอนทางธุรการซึ่งไม่อาจกระทําได้ จําเลยที่ 2 กระทําโดยพลการ มอบหมายให้ นายอนาวิน นําร่างมาเปลี่ยนที่ห้องประชุมอาคาร 3 ชั้นลอย มี นางบุษกร นายเอรวัตร นายศิโรจน์ และ นางนงค์เยาว์ อยู่ด้วยขณะเปลี่ยนร่างดังกล่าว ร่างฉบับใหม่ที่นํามาสับเปลี่ยน มีบันทึกหลักการและเหตุผล และบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสําคัญของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้จัดทําขึ้นใหม่ แนบมาพร้อมกันด้วย ตามสําเนาเอกสารประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 23 ร่างฉบับใหม่ มีเนื้อหาแตกต่างจากร่างเดิม โดยร่างฉบับใหม่มีการเพิ่มเนื้อหาด้วยการเพิ่มมาตรา 116 วรรคสอง ว่า บุคคลผู้เคยดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินสองปี จะเป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองซึ่งมิใช่สมาชิกวุฒิสภามิได้ ผลก็คือผู้เคยดํารงตําแหน่ง สมาชิกวุฒิสภาซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงสามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้เลย โดยไม่ต้องรอ ให้พ้นระยะเวลา 2 ปี จากนั้น นางนงค์เยาว์ ทําบันทึกข้อความลงวันที่ 27 มีนาคม 2556 เรียน ผู้อํานวยการสํานักการประชุม มีใจความว่า ตามร่างเดิมที่เสนอเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2556 นั้น ้ หนา 45 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

กลุ่มงานพระราชบัญญัติและญัตติ 1 ได้รับการประสานและได้รับร่างฉบับใหม่ซึ่งเป็นฉบับที่แก้ไขแล้ว เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2556 ร่างฉบับใหม่ได้เพิ่มมาตรา 116 วรรคสอง และเพิ่มคําว่า วรรคหนึ่ง หลังมาตรา 241 เห็นควรนําเสนอเลขาธิการรัฐสภาเพื่อนํากราบเรียนประธานรัฐสภาเพื่ออนุญาต บรรจุระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาต่อไป นายศิโรจน์ เกษียนในบันทึกข้อความนี้ว่า เรียน เลขาธิการรัฐสภา เพื่อโปรดนํากราบเรียนประธานรัฐสภา เพื่ออนุญาตให้ผู้เสนอร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภา แก้ไขเพิ่มเติมในบันทึกหลักการและในร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 116 วรรคสอง และคําว่า วรรคหนึ่ง ของมาตรา 241 ซึ่งสามารถทําได้ เนื่องจากประธานรัฐสภา ยังไม่ได้อนุญาตบรรจุร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสามฉบับเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ตามสําเนาบันทึกข้อความเอกสารประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 24 ไม่ปรากฏว่า ได้เสนอบันทึกข้อความนี้ ไปยังเลขาธิการรัฐสภา ไม่ปรากฏว่า ผู้อํานวยการสํานักการประชุม ( นางบุษกร ) และเลขาธิการรัฐสภา ได้นําเรียนให้จําเลยที่ 1 รับทราบญัตติที่จําเลยที่ 2 ได้มีการเปลี่ยนร่างใหม่ และไม่ปรากฏว่า จําเลยที่ 1 ได้ลงนามหรือเกษียนสั่งในบันทึกข้อความเอกสารประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 24 แต่อย่างใด ต่อมาจําเลยที่ 1 เรียกประชุมรัฐสภาในวันที่ 1 เมษายน 2556 ซึ่งประชุมพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่หนึ่ง จําเลยที่ 1 ก็ใช้ร่างฉบับใหม่ที่จําเลยที่ 2 นํามาสับเปลี่ยนให้รัฐสภาพิจารณา ซึ่งร่างฉบับใหม่มีความแตกต่างกันในหลักการที่เป็นสาระสําคัญ คือ เพิ่มมาตรา 116 วรรคสอง เข้ามา เป็นหลักการสําคัญที่มิได้เสนอไว้ในญัตติเดิมอันเป็นการเกินกว่าหลักการเดิม และถือเป็นญัตติใหม่ ที่ไม่อาจนํามาสับเปลี่ยนกับร่างเดิมที่เสนอเป็นทางการไปก่อนหน้านั้นได้ หากจะเสนอหลักการใหม่ ก็จะต้องทําเป็นญัตติใหม่และเสนอรวมพิจารณา โดยญัตติใหม่ต้องมีสมาชิกเข้าชื่อเสนอญัตติ ตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด จําเลยที่ 2 ไม่อาจนําร่างฉบับใหม่มาสับเปลี่ยนกับร่างเดิมได้ จําเลยที่ 1 ก็ไม่อาจนําร่างฉบับใหม่ที่จําเลยที่ 2 นํามาสับเปลี่ยนกับร่างเดิมนั้น บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาได้ ผลของการที่จําเลยที่ 2 นําร่างฉบับใหม่มาสับเปลี่ยนและจําเลยที่ 1 บรรจุเข้าระเบียบวาระ การประชุมรัฐสภา รัฐสภาลงมติเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามเจตนาของจําเลยทั้งสอง การกระทําของจําเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทําที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ประกอบข้อบังคับ การประชุมรัฐสภา ( 3 . 2 ) ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 90 กําหนดว่า ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มีผู้เสนอตามมาตรา 291 ( 1 ) ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภา ้ หนา 46 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ทําการตรวจสอบและหากมีข้อบกพร่องให้ประธานรัฐสภาแจ้งผู้เสนอเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง และข้อ 91 กําหนดให้ประธานรัฐสภาบรรจุร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับญัตตินั้น แต่จําเลยที่ 1 ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าจําเลยที่ 2 นําร่างฉบับใหม่ มาสับเปลี่ยนกับร่างเดิม จําเลยที่ 1 เพียงแต่เรียก นางบุษกร มาหารือที่ห้องทํางาน ไม่ได้ทําการตรวจสอบ หากได้ตรวจสอบก็จะพบว่าร่างฉบับใหม่มีการเพิ่มเติมหลักการสําคัญในมาตรา 116 วรรคสอง ซึ่งเป็นการเพิ่มหลักการสําคัญที่ต้องเสนอเป็นญัตติเข้ามาใหม่ โดยมีสมาชิกรัฐสภาลงชื่อเป็นผู้เสนอ จํานวนครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญเข้ามาใหม่ มิใช่เป็นเพียงการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย และจําเลยที่ 1 มิได้สั่งการใด ๆ โดยไม่ปรากฏว่า ได้สั่งการในบันทึกข้อความตามเอกสาร ประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 24 ดังกล่าว อันจะถือว่าเป็นการสั่งการให้แก้ไขญัตติเดิม ซึ่งถ้าสั่งให้แก้ไข ก็มีเวลาเหลือพอที่จะแก้ไขได้เพราะเพิ่งผ่านมา 7 วัน นับแต่วันรับญัตติ หรือจะให้ถือว่าสั่งให้เอาร่างฉบับใหม่ บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาก็มิได้ เพราะมิได้สั่งการในบันทึกข้อความตามเอกสาร ประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 24 การที่จําเลยที่ 1 เกษียนสั่งอนุญาตในบันทึกข้อความเอกสาร ประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 21 ซึ่งมี นางพรรณิภา บันทึกเสนอจําเลยที่ 1 ให้พิจารณาอนุญาตบรรจุวาระ ต้องถือว่าจําเลยที่ 1 สั่งให้นําร่างเดิมบรรจุเข้าระเบียบวาระ แต่เมื่อถึงเวลาประชุมรัฐสภาในวันที่ 1 เมษายน 2556 ซึ่งจําเลยที่ 1 เป็นประธานในที่ประชุมกล่าวเปิดประชุม กลับใช้ร่างฉบับใหม่ ในการประชุมตั้งแต่วาระที่หนึ่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติรับหลักการตามร่างฉบับใหม่ ตั้งคณะกรรมาธิการ และพิจารณาในวาระที่สองไปจนถึงการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามในวันที่ 28 กันยายน 2556 โดยในวาระที่สามที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญ การที่จําเลยที่ 1 ใช้ร่างฉบับใหม่มาใช้ในการพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภา จึงมีผลเท่ากับว่าจําเลยที่ 1 ใช้ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมที่มีการดําเนินการในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นไปโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ( 1 ) วรรคหนึ่ง มาใช้ในการพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภา ( 3 . 3 ) จําเลยที่ 1 ทําหน้าที่ประธานในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในวันที่ 3 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นการประชุม ในวาระที่หนึ่ง ที่ประชุมมีมติรับหลักการญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และมีมติตั้งคณะกรรมาธิการ ของรัฐสภา จํานวน 45 คน นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง สมาชิกวุฒิสภา เสนอญัตติขอให้กําหนดเวลา แปรญัตติภายใน 15 วัน แต่ นายอรรถพร พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ้ หนา 47 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

เสนอญัตติขอให้กําหนดเวลาแปรญัตติภายใน 60 วัน อันเป็นกรณีที่มีผู้เสนอญัตติกําหนดเวลาแปรญัตติ สําหรับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไว้เป็นอย่างอื่นตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 96 ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เมื่อจําเลยที่ 1 ตรวจสอบองค์ประชุมแล้ว พบว่าองค์ประชุมไม่ครบ ซึ่งจําเลยที่ 1 ต้องสั่งปิดการประชุมหรือเลื่อนการประชุมรัฐสภาออกไปก่อน แต่จําเลยที่ 1 กลับวินิจฉัยว่าเมื่อองค์ประชุมไม่ครบก็ต้องถือเอากําหนดเวลาแปรญัตติภายใน 15 วัน โดยไม่ฟังคําทักท้วงและคัดค้านของสมาชิกรัฐสภาและยังไม่ได้ลงมติ ต่อมาจําเลยที่ 1 สั่งให้ประชุมร่วมกัน ของรัฐสภาในวันที่ 18 เมษายน 2556 เพื่อลงมติกําหนดเวลาแปรญัตติ ปรากฏว่าที่ประชุม มีมติเห็นชอบกําหนดเวลาแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสามฉบับภายใน 15 วัน ตามญัตติที่ นายสุรชัย เสนอ ทั้งที่จําเลยที่ 1 มีคําวินิจฉัยไปแล้ว ทําให้การแปรญัตติมีผล 15 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภารับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ( วันที่ 4 เมษายน 2556 ) โดยจําเลยที่ 1 สรุปให้เริ่มต้นนับกําหนดเวลาแปรญัตติย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันที่รัฐสภารับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ทําให้ครบกําหนดเวลาแปรญัตติ ในวันที่ 19 เมษายน 2556 จึงเหลือเวลาเพียง 1 วัน ในการแปรญัตติ เป็นเหตุให้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ สมาชิกรัฐสภา ไม่อาจยื่นคําแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมได้ทัน หลังจากรัฐสภา พิจารณาเสร็จวาระที่สอง ยังไม่ทันได้พิจารณาวาระที่สาม มีผู้ไปยื่นคําร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ส่วนที่โจทก์มี นายวันชัย สอนศิริ นายตวง อันทะไชย และ นายประสาร มฤคพิทักษ์ ซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาขณะนั้น ร่วมกันยื่นคําร้อง ลงวันที่ 26 กันยายน 2556 ต่อโจทก์ขอให้ตรวจสอบการกระทําของสมาชิกรัฐสภา กรณีร่วมกันยื่น และนําร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม แก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภาเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภาว่า เป็นการกระทําความผิดอาญาหรือไม่ ส่วนทางรัฐสภาก็ยังคงประชุมพิจารณาวาระที่สามในวันที่ 28 กันยายน 2556 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีผู้ไปยื่นคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 นั้น ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาไต่สวนแล้วมีคําวินิจฉัยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ว่าเป็นการกระทําที่ไม่ชอบ ตามสําเนาคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยที่ 15 - 18 / 2556 เอกสารประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 30 หลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย นายอุทัย ยอดมณี ผู้ประสานงานเครือข่ายนักศึกษาประชาชน ้ หนา 48 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ปฏิรูปประเทศไทย ( คปท .) มีหนังสือลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ยื่นต่อโจทก์ขอให้ไต่สวนเรื่องนี้ โจทก์ดําเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2559 ว่า การกระทํา ของจําเลยที่ 1 กรณีรู้เห็นให้มีการสับเปลี่ยนร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่ตรวจสอบและสั่งการให้แก้ไข ให้ถูกต้อง และกรณีจงใจนับกําหนดเวลาแปรญัตติย้อนหลัง ทําให้เหลือระยะเวลาให้สมาชิกรัฐสภา เสนอคําแปรญัตติเพียง 1 วัน มีมูลความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 มาตรา 123 / 1 ส่วนการกระทํา ของจําเลยที่ 2 กรณีสลับสับเปลี่ยนร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ที่เสนอต่อประธานรัฐสภา โดยไม่มีสมาชิกรัฐสภาลงชื่อรับรอง มีมูลส่อว่าจงใจใช้อํานาจหน้าที่ ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 291 และมีมูลความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 มาตรา 123 / 1 โจทก์ส่งรายงาน เอกสารและความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดําเนินการฟ้องจําเลยทั้งสองต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง และส่งรายงาน เอกสารที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทําหน้าที่ประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอนจําเลยทั้งสองออกจากตําแหน่ง สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่วุฒิสภามีมติในการประชุม เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 ให้ถอดถอนจําเลยที่ 2 เมื่อครั้งดํารงตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ออกจากตําแหน่ง ส่วนในทางอาญา อัยการสูงสุดเห็นว่ารายงาน เอกสาร และความเห็นที่โจทก์ส่งให้ ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะดําเนินคดีได้ จึงมีการตั้งคณะทํางานร่วมเป็นคณะทํางานผู้แทนฝ่ายอัยการสูงสุด และคณะทํางานผู้แทนฝ่ายโจทก์ แต่คณะทํางานร่วมไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับการดําเนินการฟ้องคดีได้ โจทก์จึงฟ้องคดีเองเป็นคดีนี้ เหตุเกิดที่รัฐสภา ถนนอู่ทองใน แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 มาตรา 123 / 1 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2561 มาตรา 172 และมาตรา 198 จําเลยที่ 1 ให้การว่า ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 36 กําหนดว่า ญัตติที่บรรจุเข้าวาระการประชุมรัฐสภาแล้ว หากผู้เสนอญัตติจะแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องได้รับความยินยอม ของที่ประชุมรัฐสภา ดังนั้น ตราบใดที่จําเลยที่ 1 ในฐานะประธานรัฐสภายังมิได้สั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระ ้ หนา 49 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

การประชุมรัฐสภา ผู้เสนอญัตติย่อมแก้ไขเพิ่มเติมได้เสมอ ไม่ว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องผิดพลาด เล็ก ๆ น้อย ๆ หรือแก้ไขในเรื่องสาระสําคัญของญัตติ และจากแนวปฏิบัติที่ผ่านมาก็ได้ให้แก้ไขเพิ่มเติมได้ ในครั้งนี้ก่อนจําเลยที่ 1 สั่งอนุญาตให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา จําเลยที่ 1 ได้สอบถาม นางบุษกร อัมพรประภา ผู้อํานวยการสํานักการประชุม ผู้เสนอแฟ้ม ว่าการแก้ไข ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่เสนอมานี้สามารถทําได้หรือไม่ ได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วหรือไม่ นางบุษกร ตอบว่าทําได้และได้ดําเนินการมาโดยถูกต้องแล้ว จําเลยที่ 1 ตรวจสอบเอกสารในแฟ้ม ที่เสนอก็มีเอกสารประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 21 และ 23 ไม่มีเอกสารประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 15 , 18 และ 24 ในแฟ้ม และจําเลยที่ 1 ไม่ทราบว่า นางนงค์เยาว์ ประพิณ ทําบันทึกข้อความ ตามเอกสารประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 24 ซึ่งในข้อนี้ นางบุษกร ให้การในชั้นไต่สวน ของทางคณะกรรมการ ป . ป . ช . ก็รับว่า นางบุษกร มิได้เสนอเอกสารประกอบคําฟ้องโจทก์หมาย 24 ต่อจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 1 จึงเชื่อโดยสุจริตว่าการแก้ไขเพิ่มเติมญัตติของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ได้ดําเนินการทางธุรการถูกต้องครบถ้วน ไม่มีเจตนาที่จะปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใด ในตําแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต แต่อย่างใด สําหรับการนับเวลาเสนอคําแปรญัตตินั้น ในคืนวันที่ 4 เมษายน 2556 หลังจากที่ประชุมรัฐสภาลงมติรับหลักการทั้งสามร่าง และตั้งคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสามชุด ชุดละร่างแล้ว มีผู้เสนอคําแปรญัตติ 15 วัน ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 96 แต่ก็มีผู้เสนอ 60 วัน จําเลยที่ 1 จึงจะขอมติที่ประชุมว่า 15 วัน หรือ 60 วัน โดยขณะนั้น ไม่มีปัญหาว่านับแต่วันใด ก่อนขอมติที่ประชุม จําเลยที่ 1 ต้องตรวจสอบองค์ประชุมในขณะนั้นก่อน ปรากฏว่าเมื่อตรวจสอบองค์ประชุมแล้ว องค์ประชุมไม่ครบ จําเลยที่ 1 จําต้องมีคําสั่งปิดประชุม ก่อนสั่งปิดประชุม จําเลยที่ 1 ย้ําถึงเวลาการแปรญัตติ 15 วัน ไปพลางก่อน เพื่อรักษาสิทธิการเสนอคําแปรญัตติของสมาชิกรัฐสภา เพราะจําเลยที่ 1 ในฐานะประธานรัฐสภาเห็นว่า เมื่อยังไม่ได้กําหนดเวลาแปรญัตติไว้เป็นอย่างอื่น ก็ต้อง 15 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภารับหลักการไปก่อน ทั้งนี้ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภา ที่จะเสนอคําแปรญัตติได้มีเวลาเตรียมการจัดทําคําแปรญัตติได้ทัน เมื่อต่อมาจําเลยที่ 1 สั่งให้นัดประชุมรัฐสภาในวันที่ 18 เมษายน 2556 ที่ประชุมมีมติให้เสนอคําแปรญัตติในกําหนด 15 วัน ้ หนา 50 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

จําเลยที่ 1 เห็นว่าเมื่อรัฐสภาไม่ได้กําหนดเวลาเสนอคําแปรญัตติไว้เป็นอย่างอื่น ก็ต้องนับแต่วันถัดจาก วันที่รัฐสภารับหลักการตามข้อบังคับฯ ข้อ 96 จะวินิจฉัยให้เป็นอย่างอื่นมิได้ และแม้ว่า เหลือระยะเวลาให้สมาชิกรัฐสภาทําคําแปรญัตติเพียง 1 วัน แต่สมาชิกส่วนใหญ่ คือ 202 คน ยื่นหรือเสนอคําแปรญัตติได้ทันมีเพียง 1 คน เท่านั้น คือ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ที่อ้างว่ายื่นไม่ทัน แต่จําเลยที่ 1 ก็ได้ให้โอกาส นายนิพิฏฐ์ ได้อภิปรายในวาระที่สอง จําเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะทําผิดรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา และเมื่อมีผู้ร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญและร้องไปยังโจทก์ ( คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ) แม้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การกระทํา ของจําเลยที่ 1 ไม่ชอบ แต่จําเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาทําผิดกฎหมาย และจากการไต่สวนของโจทก์ โจทก์ไต่สวนพยานบุคคล 2 ประเภท คือ ( 1 ) พยานที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับจําเลยที่ 1 คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายไพบูลย์ นิติตะวัน นายวิรัตน์ กัลยาศิริ นายวันชัย สอนศิริ และ นายอุทัย ยอดมณี ซึ่งเป็นนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง มีความคิดเห็น และดําเนินการทางการเมืองที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับจําเลยที่ 1 มาโดยตลอด ทั้งเป็นผู้ร้องกล่าวหา จําเลยที่ 1 ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง และ ( 2 ) พยานที่เป็นข้าราชการประจํารัฐสภา หรืออดีตข้าราชการประจํารัฐสภา ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานจริงที่ไม่มีส่วนได้เสีย ได้แก่ นางนงค์เยาว์ ประพิณ นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์ นางบุษกร อัมพรประภา นางนรรัตน์ พิมเสน นายจํานงค์ สวมประคํา นายจเร พันธุ์เปรื่อง นางสาววันเพ็ญ อินทร์รวย นางพรรณิภา เสริมศรี นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย นางสาวรุ่งนภา ขันธิโชติ นายธงชัย ดุลยสุข และ นางสาวสุภางค์จิตต ไตรเทพพิสัย ซึ่งต่างก็ให้ถ้อยคําตรงกันและสอดคล้องกับคําให้การของจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 1 ขออ้างเอาบันทึก ปากคําพยาน 5 คนแรกดังกล่าว ที่ให้ถ้อยคําชั้นไต่สวนของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของคําให้การจําเลยที่ 1 โจทก์ไต่สวนแล้วเลือกเชื่อพยานที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับจําเลยที่ 1 ดังกล่าว โดยเห็นว่าจําเลยที่ 1 ส่อว่ากระทําผิด ส่งเรื่องให้ถอดถอนจําเลยที่ 1 ออกจากตําแหน่ง จําเลยที่ 1 ได้ไปชี้แจงต่อที่ประชุม สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่วุฒิสภาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2558 ไม่ถอดถอนจําเลยที่ 1 ออกจากตําแหน่ง จําเลยที่ 1 ขอถือเอาภาพเคลื่อนไหวและเสียง (VCD) บันทึกคําชี้แจงและรายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558 ซึ่งจําเลยที่ 1 ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ้ หนา 51 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

เป็นส่วนหนึ่งของคําให้การจําเลยที่ 1 ด้วย ส่วนในทางอาญา โจทก์มีมติว่าการกระทําของจําเลยทั้งสอง มีมูลความผิดทางอาญา ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีอาญา อัยการสูงสุดเห็นว่าสํานวนการไต่สวน ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะดําเนินคดีได้ จึงมีการตั้งคณะทํางานร่วมกัน รวบรวมเอกสารเพิ่มเติม และสอบปากคําพยานเพิ่มอีก 2 คน คือ นายพิทูร พุ่มหิรัญ อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ นางสาวปิยวรรณ บุญยิ่ง ผู้รับมอบอํานาจจากเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทั้งสองปากก็ให้การไปในทางเดียวกัน กับพยานที่โจทก์ไต่สวนที่เป็นข้าราชการรัฐสภาและอดีตข้าราชการรัฐสภาดังกล่าวข้างต้นว่า การที่ให้ผู้เสนอญัตติแก้ไขได้เมื่อยังไม่ได้สั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา เป็นการกระทํา ที่สืบทอดกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในทางธุรการของรัฐสภา คณะทํางานฝ่ายผู้แทนอัยการสูงสุด เห็นควรไม่รับดําเนินคดีจําเลยทั้งสอง อัยการสูงสุดเห็นชอบ คณะทํางานร่วมจึงมีมติว่าเป็นกรณี ที่คณะทํางานร่วมไม่อาจหาข้อยุติได้ โจทก์จึงฟ้องจําเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ขอให้ยกฟ้อง จําเลยที่ 2 ให้การว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้อยู่แล้ว แต่เมื่อปี 2555 สมาชิกรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีได้เสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 คือ ขอแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้แล้วนั้น ขอแก้ไขเพิ่มเติม เป็นให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาจัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ไม่มีอยู่ในหลักเกณฑ์และวิธีการตามมาตรา 291 ปรากฏว่ารัฐสภาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ในครั้งนั้นไปได้ก่อนที่จะให้ความเห็นชอบในวาระที่สาม มีผู้ไปยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่พิจารณาอยู่นั้นไม่ชอบ แต่ก็กล่าวไว้ด้วยว่ารัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติม เป็นรายมาตราก็เป็นความเหมาะสมและเป็นอํานาจของรัฐสภาที่จะดําเนินการได้ ต่อมาต้นปี 2556 สมาชิกรัฐสภาปรึกษาหารือกันได้ข้อสรุปว่าจะขอแก้ไขเป็นรายมาตรา โดยเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติม 3 เรื่อง ร่างละเรื่องหรือร่างละฉบับ ฉบับที่หนึ่ง จํานวนและที่มาของสมาชิกวุฒิสภา โดยแก้ไขเพิ่มเติมเป็นว่า ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด จํานวน 200 คน และสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ควรไปจํากัดสิทธิ ของผู้ที่ดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาอยู่ว่าจะต้องรอให้พ้นจากตําแหน่ง 2 ปีก่อน แล้วจึงจะลงสมัครรับเลือกตั้งได้ ฉบับที่สอง เกี่ยวกับการทําหนังสือสัญญาระหว่างประเทศตามมาตรา 190 และฉบับที่สาม เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง เมื่อได้ข้อสรุปดังกล่าวแล้วได้มอบหมายให้ตัวแทนของสมาชิกรัฐสภา ้ หนา 52 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ไปทําความเข้าใจกับสมาชิกของฝ่ายตนที่ไม่ได้เข้าร่วมหารือถึงหลักการที่จะยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญทั้งสามร่าง พร้อมทั้งขอให้สมาชิกที่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญลงชื่อมาด้วยสามชุด เพื่อใช้แนบกับญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งสามร่าง ขณะลงชื่อ ผู้ลงชื่อยังไม่เห็นร่างที่จะขอแก้ไข เพียงแต่ทราบเฉพาะหลักการและเหตุผลในการขอแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2556 ตัวแทนสมาชิกวุฒิสภาและตัวแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ร่วมกันแถลงข่าวที่อาคารรัฐสภา โดยมี นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกวุฒิสภา จําเลยที่ 2 และคณะ เป็นผู้ร่วมแถลงข่าวเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญทั้งสามประเด็น ให้สื่อมวลชนทราบว่า การแก้ไขเพิ่มเติมที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 200 คน และให้สมาชิกวุฒิสภาลงสมัครรับเลือกตั้งได้โดยไม่ต้องเว้นวรรค 2 ปี การแถลงข่าวดังกล่าวปรากฏตามสื่อมวลชนทุกแขนงและประชาชนก็รับทราบกันโดยทั่วไป เช่น ข่าวในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นต้น ต่อมาวันพุธที่ 20 มีนาคม 2556 จําเลยที่ 2 และสมาชิกรัฐสภายื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อจําเลยที่ 1 ที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารรัฐสภา ซึ่งเป็นพิธีกรรมเพื่อให้สื่อมวลชนได้ทําข่าวให้ประชาชนรับรู้ถึง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หลังจากจําเลยที่ 1 รับร่างดังกล่าวก็ส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยตรงในการตรวจสอบว่า ร่างที่ยื่นมีจํานวนผู้ยื่นถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ มีเอกสารหลักการและเหตุผลหรือไม่ เนื้อหาต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการดําเนินการทางธุรการก่อนที่จะนําเสนอต่อจําเลยที่ 1 เพื่อให้จําเลยที่ 1 พิจารณาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ระหว่างนั้น มีสมาชิกรัฐสภา ที่ร่วมลงชื่อทักท้วงว่าร่างมีความบกพร่อง ไม่เป็นไปตามที่ได้หารือและที่แถลงข่าวในวันที่ 18 มีนาคม 2556 จึงหารือกันว่าควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ได้ร่วมกันแถลงข่าวไว้ เจ้าหน้าที่รัฐสภา เห็นว่าสามารถขอปรับปรุงแก้ไขร่างได้ ตราบใดที่ประธานรัฐสภายังมิได้อนุญาตให้บรรจุเข้าระเบียบวาระ การประชุมรัฐสภา ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 36 ต่อมาวันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2556 เป็นวันประชุมคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ( วิปรัฐบาล ) จําเลยที่ 2 แจ้งวิปรัฐบาลให้ทราบถึงข้อบกพร่องและได้แก้ไขปรับปรุงให้เป็นไปตามที่ได้หารือและที่ได้แถลงข่าวกันไว้แล้ว ขอให้วิปรัฐบาลช่วยแจ้งสมาชิกรัฐสภาทราบด้วยและขอแก้ไขให้เป็นไปตามที่ได้หารือกันไว้ ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม 2556 ช่วงเช้า ซึ่งเป็นวันประชุมวิปรัฐบาลเพื่อทบทวนเรื่องที่ประชุมกันในวันที่ 25 มีนาคม 2556 จําเลยที่ 2 ก็ได้แจ้งวิปรัฐบาลว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ได้ยื่นต่อประธานรัฐสภา ้ หนา 53 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2556 มีข้อบกพร่อง ขาดสาระสําคัญในส่วนที่จะกําหนดให้สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงสามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้โดยไม่ต้องรอให้ครบ 2 ปี ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ตกลงกันไว้แล้ว หลังจากนั้น จําเลยที่ 2 ได้มอบให้ นายอนาวิน แก้วนามชัย ปลัดอําเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ช่วยราชการสํานักนายกรัฐมนตรี ซึ่งทําหน้าที่ช่วยงานวิปรัฐบาล อยู่ในขณะนั้น ไปประสานงานกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ทราบว่าได้ไปประสานกับ นายเอรวัตร อุ่นกงลาด เจ้าหน้าที่สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่หน้าห้อง นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง บริเวณชั้น 3 ของอาคารรัฐสภา เพื่อให้ช่วยประสาน ดําเนินการตามขั้นตอนทางธุรการในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ข้อนี้เห็นได้จากคําให้การของ นางบุษกร อัมพรประภา ว่า ขณะที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงร่าง มี นางบุษกร นายเอรวัตร นายอนาวิน ซึ่งเป็นเลขานุการของจําเลยที่ 2 นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์ นางนงค์เยาว์ ประพิณ และคนอื่น ๆ อยู่ร่วมด้วยในขณะที่มีการเปลี่ยนร่าง นางบุษกร ยังได้โทรศัพท์ประสานมายังจําเลยที่ 2 เพื่อสอบถามเจตนา ในการแก้ไขเพิ่มเติมด้วย ในวันที่ 1 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นวันประชุมรัฐสภา จําเลยที่ 2 ในฐานะผู้เสนอหลัก ได้อภิปรายหลักการและเหตุผลในการขอแก้ไขเพิ่มเติม ระหว่างอภิปราย จนกระทั่งถึงขั้นรับหลักการไม่ปรากฏว่า มีสมาชิกผู้ใดคัดค้านหรือถอนชื่อจากการขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จากคําให้การของจําเลยที่ 2 ดังกล่าว เห็นได้ว่าการขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างในประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ไม่ต้องเว้นวรรค 2 ปี ก็สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้นั้น เป็นประเด็นที่ตั้งใจแก้ไขเพิ่มเติมอยู่ก่อนแล้ว ปรากฏตามที่ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน แต่ร่างที่เสนอไปบกพร่องขาดประเด็นนี้ จึงได้ปรับปรุง โดยจัดทําร่างใหม่ เพื่อความสวยงาม ไม่ต้องมีรอยขูดลบขีดฆ่า สะดวกต่อการอ่าน จําเลยที่ 2 เชื่อโดยสุจริตว่าทําได้ เพราะยังอยู่ในขั้นตอนทางธุรการของรัฐสภา ไม่ผิดรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ การประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 36 ซึ่งมีประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายปี เจ้าหน้าที่รัฐสภา ก็ว่าทําได้จนกว่าประธานรัฐสภาสั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ซึ่งหากทําไม่ได้ เจ้าหน้าที่รัฐสภา ที่มีหน้าที่โดยตรงสามารถคืนร่างหรือปรับปรุงร่างให้ถูกต้องได้ การที่เจ้าหน้าที่รัฐสภารับร่างของจําเลยที่ 2 เพื่อนําเสนอจําเลยที่ 1 ทําให้เข้าใจได้ว่าจําเลยที่ 2 ได้กระทําถูกต้องตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 จําเลยที่ 2 ไม่มีเจตนากระทําผิดกฎหมาย ไม่มีเจตนาซ่อนเร้นแอบสลับร่างหรือลักลอบสลับร่าง มิได้กระทําตามอําเภอใจ แต่กระทําตามมติที่ประชุมที่ได้มีการปรึกษาหารือกันไว้ก่อนแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ้ หนา 54 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

พิเคราะห์พยานหลักฐานตามทางไต่สวนของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ประกอบรายงานและสํานวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของโจทก์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า วันที่ 1 ตุลาคม 2549 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี วันที่ 24 สิงหาคม 2550 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยหมวด 6 รัฐสภา ส่วนที่ 1 บททั่วไป รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก 480 คน เป็นสมาชิกมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน และสมาชิกมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน 80 คน ส่วนที่ 3 วุฒิสภา มาตรา 111 ถึงมาตรา 121 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหา เท่ากับ 150 คน หักด้วยที่มาจากการเลือกตั้ง สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภามีกําหนดวาระละ 6 ปี จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกิน 1 วาระไม่ได้ ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง มาตรา 125 ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภามีอํานาจหน้าที่ดําเนินกิจการของสภานั้น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับ และต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติตามหน้าที่ ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา มาตรา 136 ในกรณีต่อไปนี้ ให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน ( 1 ) … ( 16 ) การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 มาตรา 137 ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา … หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทําได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังต่อไปนี้ ( 1 )… ถึง ( 7 )… โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการด้วยว่า ให้แก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตรา โดยรัฐสภา ให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ ผู้เสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะเสนอมิได้ วันที่ 29 มกราคม 2551 นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี วันที่ 18 กันยายน 2551 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี วันที่ 17 ธันวาคม 2551 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมามีข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2553 เป็นต้นไป และต่อมามีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 1 ) พุทธศักราช 2554 ้ หนา 55 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป ได้แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยแก้ไขเพิ่มเติมด้วยว่า สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 500 คน มาจากการเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 375 คน มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 125 คน และรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พุทธศักราช 2554 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป ได้แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทําหนังสือสัญญากับนานาประเทศ โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 ว่าต้องเสนอต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย ต่อมาวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปทั่วประเทศ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคเพื่อไทยได้รับเลือกตั้งเป็นจํานวนมากกว่าพรรคการเมืองอื่น จําเลยที่ 1 สังกัดพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 6 จังหวัดขอนแก่น และจําเลยที่ 2 สังกัดพรรคเพื่อไทย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนนทบุรี วันที่ 2 สิงหาคม 2554 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้จําเลยที่ 1 เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร นายเจริญ จรรย์โกมล เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง วันที่ 5 สิงหาคม 2554 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาปี 2555 คณะรัฐมนตรี พรรคการเมืองรวมทั้งพรรคเพื่อไทย และสมาชิกรัฐสภา เสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยขอแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 เป็นหลัก อันเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมการเปลี่ยนแปลงวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จากหลักเกณฑ์ที่ให้แก้ไขเพิ่มเติม เป็นรายมาตราโดยรัฐสภาดังกล่าวมาแล้ว เป็นให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ เพื่อนําไปสู่การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ทั้งฉบับ รัฐสภาพิจารณาวาระที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 ผ่านวาระที่หนึ่งและผ่านวาระที่สองแล้ว จะพิจารณาวาระที่สาม ในวันที่ 5 มิถุนายน 2555 แต่ พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม กับคณะ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ และผู้อื่นอีกไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ รวม 5 คําร้อง เสียก่อน ศาลรัฐธรรมนูญไต่สวนพยานฝ่ายผู้ร้อง 7 ปาก รวมทั้ง พลเอก สมเจตน์ และ นายวิรัตน์ และไต่สวนพยานฝ่ายผู้ถูกร้อง 7 ปาก รวมทั้ง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ( จําเลยที่ 1 คดีนี้ ) และ นายอุดมเดช รัตนเสถียร ( จําเลยที่ 2 คดีนี้ ) แล้ววินิจฉัยโดยกล่าวไว้ด้วยว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ้ หนา 56 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ได้มาโดยการลงประชามติของประชาชนก็ควรจะได้ให้ประชาชนผู้มีอํานาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ หรือรัฐสภาจะใช้อํานาจในการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราก็เป็นความเหมาะสมและเป็นอํานาจของรัฐสภาที่จะดําเนินการดังกล่าวนี้ได้ ซึ่งจะเป็นการสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ตามคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 18 - 22 / 2555 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว ฝ่ายจําเลยซึ่งยังประสงค์ขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอยู่ก็ดําเนินการเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราตามแนวคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว โดยเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติม 3 เรื่อง เรื่องละฉบับ ฉบับที่หนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยกําหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง ฉบับที่สอง แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทําหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 และฉบับที่สาม แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ขั้นตอนการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ การยุบพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง ตามมาตรา 68 และมาตรา 237 ดังนั้น วันที่ 18 มีนาคม 2556 จําเลยที่ 2 กับพวก รวมทั้ง นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกวุฒิสภา ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ก็นําไปลงข่าว ซึ่งตามหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับลงวันที่ 19 มีนาคม 2556 หนังสือพิมพ์บ้านเมืองฉบับลงวันที่ 19 มีนาคม 2556 และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับลงวันที่ 20 มีนาคม 2556 ลงข่าวมีใจความด้วยว่า ขอแก้ไขเพิ่มเติมให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง จากประชาชนทั้ง 200 คน และสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งสามารถที่จะมีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง ได้อีกหลังจากครบวาระ 6 ปี ตามสําเนาภาพถ่ายหนังสือพิมพ์เอกสารหมาย ล . 6 ถึง ล . 8 โดยสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งขณะนั้น จํานวน 76 คน จะสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวาระในวันที่ 2 มีนาคม 2557 ซึ่งถ้าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สมาชิกวุฒิสภา 76 คนนี้ เมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวาระแล้วก็ไม่อาจสมัครรับเลือกตั้งครั้งถัดไปได้ เพราะจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกิน 1 วาระไม่ได้ แต่ตามที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ให้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งได้ วันที่ 20 มีนาคม 2556 ฝ่ายจําเลยก็ได้ยื่นสามฉบับดังกล่าว ฉบับที่หนึ่ง จําเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นผู้เสนอ ( เจ้าหน้าที่รัฐสภาเรียกว่า ผู้เสนอหลัก ) ฉบับที่สอง นายประสิทธิ์ โพธสุธน สมาชิกวุฒิสภา ลงชื่อเป็นผู้เสนอ และฉบับที่สาม นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกวุฒิสภา ลงชื่อเป็นผู้เสนอ โดยทั้งสามฉบับมีจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาลงชื่อเป็นผู้ร่วมเสนอครบถ้วน ้ หนา 57 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่งฉบับที่หนึ่งมี จํานวน 314 คน มีปัญหาเกี่ยวข้องกับคดีนี้ เฉพาะฉบับที่หนึ่งฉบับเดียว กล่าวคือ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2556 จําเลยที่ 2 กับคณะทําหนังสือ ถึงประธานรัฐสภาเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … พร้อมบันทึกหลักการและเหตุผล และบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสําคัญของร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุด้วยว่า หลักการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยกําหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง ( แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 และมาตรา 241 ) ( โดยไม่ได้ระบุมาตรา 116 วรรคสอง และไม่มีคําว่า วรรคหนึ่ง หลังมาตรา 241 แต่อย่างใด ) เหตุผล โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งเพื่อให้วิธีการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภามีลักษณะเช่นเดียวกับวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยการได้รับการเลือกตั้ง โดยตรงจากประชาชน และระบุในบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสําคัญของร่างรัฐธรรมนูญด้วยว่า กําหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด จํานวน 200 คน รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมวาระการดํารงตําแหน่ง ของสมาชิกวุฒิสภาให้สามารถดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 1 วาระได้ เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ( แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 และมาตรา 241 ) ( โดยไม่ได้ระบุมาตรา 116 วรรคสอง และไม่มีคําว่า วรรคหนึ่ง หลังมาตรา 241 แต่อย่างใดเช่นเดียวกับหลักการ ) ตามสําเนาหนังสือเอกสารหมาย จ . 15 จําเลยที่ 2 ยื่นหนังสือ ลงวันที่ 20 มีนาคม 2556 เอกสารหมาย จ . 15 ที่สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งงานสารบรรณลงรับวันเดียวกันเวลา 13 . 05 นาฬิกา แล้วส่งต่อไปยังกลุ่มงานบริหารทั่วไป สํานักการประชุม ซึ่งงานสารบรรณก็ลงรับวันเดียวกันเวลา 13 . 20 นาฬิกา และส่งต่อไปยังกลุ่มงานพระราชบัญญัติ และญัตติ 1 สํานักการประชุม ซึ่งงานสารบรรณก็ลงรับวันเดียวกันเวลา 13 . 30 นาฬิกา ปรากฏว่า นางนงค์เยาว์ ประพิณ นิติกรชํานาญการพิเศษ กลุ่มงานพระราชบัญญัติและญัตติ 1 ทําบันทึกข้อความ ลงวันที่ 20 มีนาคม 2556 ถึงผู้อํานวยการสํานักการประชุม มีใจความว่า ในรัฐสภาขณะนี้ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 498 คน สมาชิกวุฒิสภา 149 คน รวมสมาชิกของทั้งสองสภา 647 คน สมาชิกที่ลงชื่อเสนอเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 258 คน สมาชิกวุฒิสภา 56 คน รวม 314 คน ซึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เอกสารครบถ้วน เนื้อหาสาระ ของร่างรัฐธรรมนูญมิได้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ้ หนา 58 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ แต่อย่างใด เห็นควรนําเสนอเลขาธิการรัฐสภาเพื่อนํากราบเรียน ประธานรัฐสภา อนุญาตบรรจุระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับญัตติ ตามสําเนาบันทึกข้อความเอกสารหมาย จ . 18 จากนั้น นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์ ผู้บังคับบัญชา กลุ่มงานพระราชบัญญัติและญัตติ 1 กับ นางบุษกร อัมพรประภา ผู้อํานวยการสํานักการประชุม ทําบันทึกข้อความลงวันที่ 21 มีนาคม 2556 ถึงเลขาธิการรัฐสภาว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญสามฉบับ มีใจความดังที่กล่าวมาแล้ว เห็นควรนํากราบเรียน ประธานรัฐสภา ( ผ่านรองประธานรัฐสภา ) พิจารณาอนุญาตบรรจุระเบียบวาระการประชุมต่อไป ส่งไปยังรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งงานสารบรรณลงรับวันเดียวกันเวลา 16 . 30 นาฬิกา และในวันเดียวกัน นางพรรณิภา เสริมศรี รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เกษียนว่า กราบเรียน ประธานรัฐสภา ( ผ่านรองประธานรัฐสภา ) เพื่อโปรดพิจารณาอนุญาตบรรจุวาระร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … จํานวน 3 ฉบับ และโปรดพิจารณากําหนดวัน เวลาประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาต่อไป ส่งต่อไปยังกลุ่มงานประธานวุฒิสภา ซึ่งงานสารบรรณลงรับวันที่ 22 มีนาคม 2556 เวลา 15 . 45 นาฬิกา นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ลงชื่อต่อจาก นางพรรณิภา ลงวันที่ 22 มีนาคม 2556 แล้วส่งต่อไปยังสํานักประธานรัฐสภา นายประสพ บุษราคัม เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงชื่อต่อจาก นายนิคม ลงวันที่ 25 มีนาคม 2556 แล้วส่งต่อไปยังหน้าห้องประธานรัฐสภา งานสารบรรณลงรับวันที่ 26 มีนาคม 2556 ตามสําเนาบันทึกข้อความเอกสารหมาย จ . 21 ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม 2556 เวลาช่วงเช้า จําเลยที่ 1 ยังมิได้เกษียนสั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา จําเลยที่ 2 อ้างว่ามีสมาชิกรัฐสภา ที่ร่วมลงชื่อทักท้วงว่าร่างบกพร่องโดยขาดสาระสําคัญในส่วนที่จะกําหนดให้สมาชิกวุฒิสภาที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลง สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้โดยไม่ต้องรอให้ครบ 2 ปี ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ได้ตกลงกันไว้ ตั้งแต่ก่อนยื่นญัตติแล้ว และข้อนี้ก็ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2556 จนหนังสือพิมพ์นําข่าวไปลงดังกล่าวแล้ว จําเลยที่ 2 กับคณะ จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างฉบับที่หนึ่ง โดยการจัดทําร่างฉบับที่หนึ่งเป็นร่างฉบับใหม่ ร่างฉบับใหม่ได้เพิ่มมาตรา 116 วรรคสอง และคําว่า วรรคหนึ่ง หลังมาตรา 241 ซึ่งการเพิ่มมาตรา 116 วรรคสอง มีผลว่าสมาชิกวุฒิสภาซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลง ้ หนา 59 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้โดยไม่ต้องรอให้ครบ 2 ปี เสียก่อนนั่นเอง โดยมีข้อเท็จจริงขณะนั้นว่า สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง จํานวน 76 คน จะสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวาระในวันที่ 2 มีนาคม 2557 ดังกล่าวมาแล้ว ก็จะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้โดยไม่ต้องรอให้ครบ 2 ปีเสียก่อน หรือก็คือไม่ต้องเว้นวรรค 2 ปี แต่อย่างใด จําเลยที่ 2 มอบหมายให้ นายอนาวิน แก้วนามชัย ปลัดอําเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ช่วยราชการสํานักนายกรัฐมนตรีซึ่งทําหน้าที่ช่วยงาน คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ( วิปรัฐบาล ) อยู่ในขณะนั้น ไปประสานงานกับเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ นายอนาวิน ได้ไปประสานงานกับ นายเอรวัตร อุ่นกงลาด เจ้าหน้าที่สํานักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่หน้าห้อง นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง นายเอรวัตร ประสานงานไปยัง นายศิโรจน์ แล้ว นายอนาวิน นําร่างฉบับใหม่ซึ่งเป็นร่างที่ได้จัดทําขึ้นใหม่มอบให้ นายศิโรจน์ นายศิโรจน์ ทราบและเชื่อว่าขณะนั้นร่างเดิม จําเลยที่ 1 ยังไม่ได้เกษียนสั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา จึงรับร่างฉบับใหม่ไว้ มอบให้ นางนงค์เยาว์ ประพิณ ผู้ใต้บังคับบัญชาตรวจดูเนื้อหาร่างฉบับใหม่ นางนงค์เยาว์ ตรวจดูแล้วร่างฉบับใหม่ ได้เพิ่มมาตรา 116 วรรคสอง และเพิ่มคําว่า วรรคหนึ่ง หลังมาตรา 241 จึงได้เขียนด้วยลายมือ แทรกเพิ่มคําว่า “ มาตรา 116 วรรคสอง ” ลงไประหว่างมาตรา 115 กับมาตรา 117 และเพิ่มคําว่า “ วรรคหนึ่ง ” หลังมาตรา 241 ลงในบันทึกข้อความเอกสารหมาย จ . 21 และได้ทําบันทึกข้อความ ลงวันที่ 27 มีนาคม 2556 เรียน ผู้อํานวยการสํานักการประชุม มีใจความว่า ตามร่างเดิมที่เสนอ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2556 นั้น กลุ่มงานพระราชบัญญัติและญัตติ 1 ได้รับการประสานงาน และได้รับร่างฉบับใหม่ซึ่งเป็นฉบับที่ปรับแก้ไขแล้วเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2556 ร่างฉบับใหม่ ได้เพิ่มมาตรา 116 วรรคสอง และเพิ่มคําว่า วรรคหนึ่ง หลังมาตรา 241 เห็นควรนําเสนอ เลขาธิการรัฐสภาเพื่อนํากราบเรียนประธานรัฐสภาเพื่ออนุญาตบรรจุวาระการประชุมรัฐสภาต่อไป นายศิโรจน์ เกษียนในบันทึกข้อความนี้ว่า เรียน เลขาธิการรัฐสภา เพื่อโปรดนํากราบเรียนประธานรัฐสภา เพื่ออนุญาตให้ผู้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภา แก้ไขเพิ่มเติม ในบันทึกหลักการและในร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 116 วรรคสอง และคําว่า วรรคหนึ่ง ของมาตรา 241 ซึ่งสามารถทําได้ เนื่องจากประธานรัฐสภายังไม่ได้อนุญาตบรรจุร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสามฉบับ เข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ตามสําเนาบันทึกข้อความเอกสารหมาย จ . 24 ยังไม่ทันได้ส่งไปยัง ้ หนา 60 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

เลขาธิการรัฐสภา แต่ได้มอบให้ นางบุษกร ขณะเดียวกัน จําเลยที่ 1 ซึ่งทราบว่ามีการนําร่างฉบับใหม่ มาสับเปลี่ยนร่างเดิม จึงเรียก นางบุษกร ไปพบ ถามว่าการสับเปลี่ยนเป็นร่างฉบับใหม่ทําได้หรือไม่ นางบุษกร ให้ถ้อยคําต่อองค์คณะในการไต่สวนของโจทก์ ( คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ ) ถึงคําถามนี้ว่า ทําได้ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 36 ซึ่งระบุว่า ญัตติซึ่งบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาแล้ว หากผู้เสนอญัตติจะถอนญัตติ หรือจะแก้ไขเพิ่มเติม หรือจะถอนชื่อจากการเป็นผู้ร่วมกันเสนอ หรือผู้รับรองจะถอนการรับรองญัตติ จะต้องได้รับความยินยอม ของที่ประชุมรัฐสภา จากนั้น จําเลยที่ 1 เกษียนสั่งต่อจากที่ นายประสพ ลงชื่อในบันทึกข้อความ เอกสารหมาย จ . 21 ว่า อนุญาต ลงวันที่ 27 มีนาคม 2556 มีความหมายว่า จําเลยที่ 1 อนุญาตให้บรรจุร่างทั้งสามฉบับเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ซึ่งสําหรับร่างฉบับที่หนึ่งที่อนุญาต ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาก็คือร่างฉบับใหม่ดังกล่าว ส่วนร่างเดิมเจ้าหน้าที่รัฐสภา อ้างว่าฝ่ายจําเลยที่ 2 รับคืนไปโดยมิได้ทําสําเนาไว้ แต่อย่างใด ร่างฉบับใหม่นี้จึงเป็นการนํามาสับเปลี่ยน กับร่างเดิมก่อนที่จําเลยที่ 1 เกษียนสั่งอนุญาตให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา โดยร่างฉบับใหม่นี้มิได้ดําเนินการให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาลงชื่อร่วมเสนอใหม่ ไม่ได้เริ่มต้นด้วยการยื่นที่สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและงานสารบรรณลงรับใหม่ ทางงานธุรการก็มิได้เดินแฟ้มไปยังงานสารบรรณแล้วลงรับไปที่กลุ่มงานบริหารทั่วไป สํานักการประชุม ที่กลุ่มงานพระราชบัญญัติและญัตติ 1 สํานักการประชุม ที่ห้องรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่กลุ่มงานประธานวุฒิสภา และที่สํานักประธานรัฐสภา ดังเช่นร่างเดิม แต่อย่างใด จึงมิได้ผ่าน นางพรรณิภา นายนิคม และ นายประสพ ส่วนบันทึกข้อความลงวันที่ 27 มีนาคม 2556 ที่ นางนงค์เยาว์ จัดทําและลงชื่อ มี นายศิโรจน์ เกษียนตามสําเนาบันทึกข้อความเอกสารหมาย จ . 24 นั้น นางบุษกร มิได้ลงชื่อหรือเกษียนและจําเลยที่ 1 ก็มิได้เกษียนสั่ง แต่อย่างใด จําเลยที่ 1 คงเกษียนสั่งอนุญาต ในบันทึกข้อความเอกสารหมาย จ . 21 ดังกล่าวแล้วเท่านั้น ซึ่งการที่นําร่างฉบับใหม่มาสับเปลี่ยนร่างเดิมนี้ โจทก์ฟ้องตามข้อ 3 . 1 ว่าร่างฉบับใหม่มีเนื้อหาแตกต่างจากร่างเดิมในสาระสําคัญ มิได้เป็นการแก้ไข ในรายละเอียดหรือแก้ไขเล็กน้อย เป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการสําคัญที่มิได้เสนอไว้ในญัตติเดิม อันเป็นหลักการเดิม ถือเป็นญัตติใหม่ ซึ่งต้องเสนอเป็นญัตติและหลักการเข้ามาใหม่ โดยมีสมาชิกรัฐสภา ลงชื่อร่วมเสนอใหม่ ไม่อาจใช้วิธีสับเปลี่ยนได้ การกระทําของจําเลยทั้งสองเป็นผลให้รัฐสภา ้ หนา 61 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ลงมติเห็นชอบให้แก้ไขรัฐธรรมนูญตามเจตนาของจําเลยทั้งสอง เป็นการกระทําที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 และฟ้องข้อ 3 . 2 ว่า จําเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าจําเลยที่ 2 นําร่างที่จัดทําขึ้นใหม่มาสับเปลี่ยนร่างเดิม แต่ก็มิได้สั่งการในบันทึกข้อความ ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2556 ที่ นางนงค์เยาว์ บันทึกเกี่ยวกับร่างที่จัดทําขึ้นใหม่ตามเอกสารหมาย จ . 24 มิได้แจ้งผู้เสนอเพื่อแก้ไขญัตติเดิมตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 90 แต่เกษียนสั่งในบันทึกข้อความฉบับลงวันที่ 21 มีนาคม 2556 เอกสารหมาย จ . 21 จึงต้องถือว่า สั่งให้บรรจุร่างเดิมเข้าระเบียบวาระการประชุม แต่ในการประชุมจําเลยที่ 1 นําร่างฉบับใหม่มาใช้ ในการประชุม โจทก์อ้างว่าเป็นการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ( 1 ) วรรคหนึ่ง ต่อมา ได้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 4 ( สมัยสามัญนิติบัญญัติ ) เมื่อวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 เริ่มประชุมเวลา 10 . 35 นาฬิกา เป็นการประชุมวาระที่ 1 ตามรายงานการประชุมได้บันทึกไว้ด้วยว่า จํานวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม 639 คน ระหว่างการประชุม มีการประท้วงกันมาก ประชุมไปจนถึงเวลา 22 . 57 นาฬิกา ก็พักประชุม เริ่มประชุมต่อเวลา 9 . 55 นาฬิกา ของวันที่ 2 เมษายน 2556 ประชุมไปจนถึงเวลา 22 . 03 นาฬิกา ก็พักประชุม เริ่มประชุมต่อ เวลา 9 . 31 นาฬิกา ของวันที่ 3 เมษายน 2556 มีการออกเสียงลงคะแนนวาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการ ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย ที่ประชุมมีมติรับหลักการทั้งสามร่าง โดยร่างฉบับที่หนึ่งรับหลักการ 367 คน ไม่รับหลักการ 204 คน งดออกเสียง 34 คน ซึ่งเสียงที่รับหลักการมีจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีการตั้งคณะกรรมาธิการของรัฐสภาเพื่อพิจารณาคณะละร่าง รวมสามคณะ คณะละ 45 คน เรียบร้อย แต่มีปัญหาเกี่ยวกับกําหนดเวลาเสนอคําแปรญัตติ ซึ่งตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 96 วรรคหนึ่ง กําหนดว่า การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขั้นคณะกรรมาธิการ สมาชิกรัฐสภาผู้ใดเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมก็ให้เสนอคําแปรญัตติล่วงหน้า เป็นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการภายในกําหนด 15 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภา รับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เว้นแต่รัฐสภาจะได้กําหนดเวลาแปรญัตติ สําหรับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไว้เป็นอย่างอื่น จําเลยที่ 1 ซึ่งขณะนั้นเป็นประธาน ของที่ประชุมจึงกล่าวว่า “ ไม่มีท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่น ระยะเวลาแปรญัตติก็ตามข้อบังคับ ” ้ หนา 62 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

แต่ นายอรรถพร พลบุตร เสนอให้กําหนดเวลาเสนอคําแปรญัตติภายใน 60 วัน มีผู้โต้แย้งว่าต้อง 15 วัน ตามมติวิปสามฝ่าย จําเลยที่ 1 จึงขอมติที่ประชุมว่า 60 วัน หรือ 15 วัน โดยขณะนั้น ยังไม่มีปัญหาว่านับแต่วันใด ก่อนขอมติที่ประชุมต้องตรวจสอบองค์ประชุมในขณะนั้นก่อน ปรากฏว่าเมื่อตรวจสอบองค์ประชุมแล้ว องค์ประชุมไม่ครบ จําเลยที่ 1 จึงกล่าวว่า องค์ประชุมไม่ครบ ถือว่า 15 วัน ตามข้อบังคับ เมื่อองค์ประชุมไม่ครบก็ปิดประชุม โดยเลิกประชุมเวลา 2 . 15 นาฬิกา ของคืนวันที่ 4 เมษายน 2556 ตามสําเนารายงานการประชุมเอกสารหมาย จ . 53 ต่อมาจําเลยที่ 1 เรียกประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 5 ( สมัยสามัญนิติบัญญัติ ) เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2556 เพื่อลงมติกําหนดเวลาแปรญัตติ โดยมีประเด็นโต้เถียงกันในที่ประชุมว่านับแต่วันใดในระหว่างวันถัดจาก วันที่รัฐสภารับหลักการ หรือนับตั้งแต่วันจะลงมติ คือ วันที่ 18 เมษายน 2556 ( วันประชุมครั้งนี้ ) กับอีกประเด็นมีว่าให้เสนอคําแปรญัตติในกําหนด 15 วัน หรือ 60 วัน สําหรับประเด็น ที่ว่านับตั้งแต่วันใดนั้น จําเลยที่ 1 มิได้ขอมติจากที่ประชุม แต่จําเลยที่ 1 ได้วินิจฉัยเสียเองก่อนว่า ต้องนับแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภารับหลักการตามข้อบังคับฯ ข้อ 96 โดยเมื่อรัฐสภารับหลักการวันที่ 4 เมษายน 2556 จึงต้องนับ 1 วันที่ 5 เมษายน 2556 จากนั้น จําเลยที่ 1 ขอมติที่ประชุม ในประเด็นกําหนดเวลาเสนอคําแปรญัตติ ที่ประชุมมีมติให้เสนอคําแปรญัตติในกําหนด 15 วัน ตามสําเนารายงานการประชุมเอกสารหมาย จ . 54 ซึ่งถ้านับตั้งแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภารับหลักการ ตามที่จําเลยที่ 1 วินิจฉัยก็จะครบกําหนด 15 วัน ในวันที่ 19 เมษายน 2556 ซึ่งก็คือเหลือเวลา เสนอคําแปรญัตติเพียง 1 วัน ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับจําเลยที่ 1 เห็นว่าต้องนับตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2556 ไป 15 วัน ในการวินิจฉัยนับวันของจําเลยที่ 1 นี้ โจทก์ฟ้องตามคําฟ้องข้อ 3 . 3 ว่า จําเลยที่ 1 จงใจนับเวลาแปรญัตติย้อนหลัง ทําให้เหลือระยะเวลาให้สมาชิกรัฐสภา เสนอคําแปรญัตติเพียง 1 วัน เป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับเป็นเหตุให้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ สมาชิกรัฐสภาไม่อาจยื่นคําแปรญัตติได้ทัน แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ ( จํานวน 202 คน ) ยื่นคําแปรญัตติทันภายในวันที่ 19 เมษายน 2556 ต่อมามีการพิจารณาขั้นคณะกรรมาธิการของรัฐสภา คณะที่พิจารณาร่างฉบับที่หนึ่งก็พิจารณา ไม่ราบรื่นมีปัญหาทักท้วงกันมาก รวมทั้งปัญหาว่าคําแปรญัตติของสมาชิกรัฐสภา 57 คน ขัดกับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ้ หนา 63 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ข้อ 96 วรรคสาม กําหนดว่า การแปรญัตติต้องไม่ขัดกับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ต่อมาเดือนสิงหาคม 2556 คณะกรรมาธิการของรัฐสภาพิจารณาเสร็จ ต่อไปก็เป็นการประชุมวาระที่สอง จําเลยที่ 1 บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา เริ่มประชุมตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป การพิจารณาเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คําปรารภ แล้วพิจารณาเรียงตามลําดับมาตรา การออกเสียงลงคะแนน ใช้บัตรแสดงตนและลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ถือเอาเสียงข้างมาก ซึ่งสมาชิกรัฐสภาคนหนึ่งมีบัตรแสดงตน และลงคะแนนเพียงใบเดียว แต่มีการกล่าวหาว่ามีสมาชิกรัฐสภาบางราย เช่น นายนริศร ทองธิราช ใช้บัตรแสดงตนและลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์คราวละหลายใบในการออกเสียงลงคะแนนในคราวเดียวกัน เหตุเกิดเมื่อวันที่ 10 และ 11 กันยายน 2556 อันเป็นการแสดงตนและลงคะแนนแทนสมาชิกรัฐสภา ที่ไม่ได้แสดงตนและลงคะแนนด้วยตนเอง การประชุมรัฐสภาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เสร็จสิ้นวาระที่สองทั้งสามร่างเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2556 ตามสําเนารายงานการประชุมร่วมกัน ของรัฐสภาเอกสารหมาย จ . 55 ถึง จ . 64 ซึ่งต้องรอไว้ 15 วัน เมื่อพ้น 15 วันแล้ว ให้รัฐสภา พิจารณาเป็นวาระที่สาม จําเลยที่ 1 กําหนดประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม วาระที่สามในวันที่ 28 กันยายน 2556 แต่ก่อนถึงวันที่ 28 กันยายน 2556 มีสมาชิกรัฐสภา ไปยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ 4 คําร้อง ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณาและเรียก ดังนี้ พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม กับคณะ ผู้ร้องที่ 1 นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ผู้ร้องที่ 2 นายสาย กังกเวคิน กับคณะผู้ร้องที่ 3 และ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กับคณะ ผู้ร้องที่ 4 และเรียกประธานรัฐสภา ผู้ถูกร้องที่ 1 รองประธานรัฐสภา ผู้ถูกร้องที่ 2 และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ผู้ถูกร้องที่ 3 ถึงที่ 312 โดยผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 ต่างยื่นคําร้องเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2556 ผู้ร้องที่ 3 ยื่นคําร้องเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2556 และผู้ร้องที่ 4 ยื่นคําร้องเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2556 นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2556 นายวันชัย สอนศิริ กับคณะ คือ นายตวง อันทะไชย และ นายประสาร มฤคพิทักษ์ ซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไปยื่นคําร้องต่อโจทก์ ( คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ) ขอให้ตรวจสอบเกี่ยวกับการกระทําครั้งนี้ ส่วนทางรัฐสภาก็มิได้รอฟังทางศาลรัฐธรรมนูญหรือรอฟังโจทก์ คงประชุมพิจารณาวาระที่สามตามนัด ในวันที่ 28 กันยายน 2556 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญ จากนั้น สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทําหนังสือลงวันที่ 28 กันยายน 2556 ส่งร่างรัฐธรรมนูญ ้ หนา 64 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งผ่านรัฐสภาแล้วไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้น ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายต่อไป ส่วนศาลรัฐธรรมนูญไต่สวนพยานฝ่ายผู้ร้อง 5 ปาก พยานศาล 2 ปาก รวม 7 ปาก เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 แล้ววินิจฉัยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 สรุปเป็นประเด็นหลักสองประเด็น ประเด็นที่หนึ่ง กระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … เป็นการกระทําเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะเหตุผลหลัก 3 ประการ คือ ( 1 ) ในการพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภา มิได้นําเอาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มา ของสมาชิกวุฒิสภาฉบับที่จําเลยที่ 2 และคณะ เสนอต่อสํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2556 ( คือ ร่างเดิมตามสําเนาเอกสารหมาย จ . 15 ) มาใช้ในการพิจารณา ในวาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการ แต่ได้นําร่างที่มีการจัดทําขึ้นใหม่ ( คือ ร่างฉบับใหม่ตามสําเนาเอกสารหมาย จ . 23 ) ซึ่งร่างฉบับใหม่มีการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหลักการที่สําคัญจากร่างเดิมหลายประการ คือ การเพิ่มเติมหลักการ โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 116 วรรคสอง และมาตรา 241 วรรคหนึ่ง ด้วย การแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 116 จะมีผลทําให้บุคคลผู้เคยดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลง สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้อีกโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 2 ปี และมีการดําเนินการในลักษณะที่มีเจตนาปกปิดข้อเท็จจริงไม่แจ้งข้อความจริงว่า ได้มีการจัดทําร่างขึ้นใหม่ ให้สมาชิกรัฐสภาทราบทุกคน เมื่อมิได้นําเอาร่างเดิมมาใช้ในการพิจารณาในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ แต่ได้นําร่างฉบับใหม่ซึ่งมีหลักการแตกต่างจากร่างเดิมที่จําเลยที่ 2 เสนอหลายประการ โดยไม่ปรากฏว่า มีสมาชิกรัฐสภาร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่จัดทําขึ้นใหม่ แต่อย่างใด มีผลเท่ากับ ว่าการดําเนินการในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่รัฐสภารับหลักการตามคําร้องนี้ เป็นไปโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ( 1 ) วรรคหนึ่ง ( 2 ) การกําหนดวันแปรญัตติ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยเมื่อที่ประชุมรัฐสภาในวันที่ 18 เมษายน 2556 ลงมติให้กําหนดเวลาแปรญัตติ 15 วัน จําเลยที่ 1 ได้สรุปให้เริ่มต้นนับย้อนหลังไปโดยให้นับระยะเวลา 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2556 นั้น ไม่ชอบเพราะไม่อาจนับย้อนหลังได้ แต่ต้องนับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมมีมติเป็นต้นไป การเริ่มนับระยะเวลา ย้อนหลังไปจนทําให้เหลือระยะเวลาขอแปรญัตติเพียง 1 วัน เป็นการดําเนินการที่ขัดต่อข้อบังคับ ้ หนา 65 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

การประชุมและไม่เป็นกลาง จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 125 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ทั้งขัดต่อหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 วรรคสอง ด้วย และ ( 3 ) วิธีการในการแสดงตน และลงมติในการพิจารณาญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะสมาชิกรัฐสภาคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน แต่จากพยานหลักฐาน ในการไต่สวนชี้ให้เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 162 ( นายนริศร ทองธิราช ) ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภาได้ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ แสดงตนและออกเสียงลงคะแนนคราวละหลายใบ หมุนเวียนใส่เข้าไปในเครื่องอ่านบัตรและกดปุ่มแสดงตน ติดต่อกันหลายครั้ง รับฟังได้ว่ามีสมาชิกรัฐสภาหลายรายมิได้มาออกเสียงลงมติในที่ประชุมรัฐสภา ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ ( คือฉบับที่หนึ่ง ) แต่ได้มอบให้สมาชิกรัฐสภา บางรายใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 มาตรา 123 มาตรา 126 วรรคสาม และขัดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ประเด็นที่สอง การแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … มีลักษณะเป็นการกระทําเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15 - 18 / 2556 หลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย นายอุทัย ยอดมณี ผู้ประสานงานเครือข่ายนักศึกษาประชาชน ปฏิรูปประเทศไทย ( คปท .) ยื่นคําร้องลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ต่อโจทก์อีกคําร้องหนึ่ง ต่อมาวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 โจทก์มีมติให้ไต่สวนข้อเท็จจริง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ มีหนังสือลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 แจ้งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปยังสํานักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สําหรับสํานักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎรมีหนังสือลงวันที่ 2 ธันวาคม 2556 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งสามฉบับคืนอ้างเหตุว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบ และเกี่ยวกับการประชุมรัฐสภาในคราวนี้ ยังมีการร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนบุคคลออกจากตําแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ถึงมาตรา 274 ด้วย โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นําฝ่ายค้านทําหนังสือลงวันที่ 6 กันยายน 2556 ขอให้ถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช ออกจากตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ระบุว่า นายนิคม ประธานวุฒิสภาทําหน้าที่รองประธานรัฐสภาที่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ทําหนังสือลงวันที่ 18 กันยายน 2556 ขอให้ถอดถอนจําเลยที่ 1 ้ หนา 66 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ออกจากตําแหน่ง และ นายอภิสิทธิ์ ร่วมกับคณะ 144 คน ทําหนังสือลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 ขอให้ถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 383 คน ออกจากตําแหน่ง ประธานวุฒิสภา มีหนังสือลงวันที่ 6 ธันวาคม 2556 ส่งเรื่องถอดถอนไปยังโจทก์ ต่อมาวันที่ 9 ธันวาคม 2556 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ . ศ . 2554 กําหนดเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ต่อมาเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือลงวันที่ 16 มกราคม 2557 ส่งร่างรัฐธรรมนูญทั้งสามฉบับ คืนสํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ระบุข้อความด้วยว่า สํานักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แจ้งสํานักราชเลขาธิการเพื่อขอถอนร่าง สํานักราชเลขาธิการแจ้งว่าได้นําความกราบบังคมทูลทราบแล้ว จึงขอส่งร่างคืน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีการเลือกตั้งทั่วไป แต่ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั้นไม่ชอบ ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ พ้นจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เกิดรัฐประหาร วันที่ 24 พฤษภาคม 2557 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2557 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย สมาชิกไม่เกิน 220 คน ทําหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา ต่อมาเดือนมกราคม 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่วุฒิสภา ประชุมดําเนินกระบวนการเพื่อถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช ออกจากตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภา และเพื่อถอดถอนจําเลยที่ 1 ออกจากตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา จําเลยที่ 1 ได้ไปชี้แจงต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2558 แล้วสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2558 ไม่ถอดถอน นายนิคม ออกจากตําแหน่งและไม่ถอดถอนจําเลยที่ 1 ออกจากตําแหน่ง ตามสําเนารายงานการประชุมเอกสารหมาย ล . 3 ถึง ล . 5 และมีมติเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 ถอดถอนจําเลยที่ 2 เมื่อครั้งดํารงตําแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกจากตําแหน่ง ตามสําเนาบันทึกการประชุมเอกสารหมาย จ . 35 วันที่ 4 สิงหาคม 2558 ทางโจทก์แจ้งข้อกล่าวหาแก่จําเลยทั้งสอง วันที่ 8 กันยายน 2559 โจทก์มีมติว่า การกระทําของจําเลยทั้งสองมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติ ้ หนา 67 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ . ศ . 2554 มาตรา 123 / 1 ต่อมาสํานักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีหนังสือลงวันที่ 15 กันยายน 2559 ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อฟ้องคดีอาญา นายนริศร ทองธิราช และจําเลยทั้งสอง อัยการสูงสุดเห็นว่า สํานวนการไต่สวนยังไม่สมบูรณ์พอที่จะดําเนินคดีได้ จึงมีหนังสือลงวันที่ 18 ตุลาคม 2559 แจ้งโจทก์ และตั้งคณะทํางานโดยเห็นควรไต่สวนหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม รวมทั้งให้ไต่สวน บุคคลเพิ่มเติมอีก 5 คน แล้วอัยการสูงสุดกับโจทก์ตั้งคณะทํางานร่วม ( คณะกรรมการร่วม ) ฝ่ายละ 4 คน ประชุมกันครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 จากนั้น ได้รวบรวมพยานเอกสารและสอบคําให้การพยานสองคน คือ นายพิทูร พุ่มหิรัญ อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ นางสาวปิยวรรณ บุญยิ่ง ผู้รับมอบหมายจากเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร ประชุมครั้งที่สามเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 คณะทํางานฝ่ายผู้แทนโจทก์เห็นว่า พยานหลักฐานที่รวบรวมได้เพียงพอสามารถดําเนินคดีจําเลยทั้งสองตามมาตรา 123 / 1 ได้แล้ว ส่วนคณะทํางานฝ่ายผู้แทนอัยการสูงสุดขอรับเอกสารหลักฐานทั้งหมดไปพิจารณาทําความเห็น เสนออัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาต่อไป แล้วทําบันทึกข้อความลงวันที่ 19 ธันวาคม 2561 ทําความเห็นเสนออัยการสูงสุดว่า เห็นควรไม่รับดําเนินคดีจําเลยทั้งสองตามมาตรา 123 / 1 ระหว่างนั้น คือ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562 อัยการสูงสุดฟ้องคดีอาญา นายนริศร ทองธิราช ต่อศาลนี้ว่า นายนริศร นําบัตรประจําตัวและลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นบัตรจริงของ นายนริศร และของสมาชิกรัฐสภารายอื่นหลายใบมาใช้แสดงตนและออกเสียงลงคะแนนของตน และแสดงตน และออกเสียงแทนสมาชิกรัฐสภารายอื่นในวันที่ 10 และ 11 กันยายน 2556 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ จําเลยทั้งสอง อัยการสูงสุดมีคําสั่งเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบว่าพยานหลักฐาน ไม่สมบูรณ์เพียงพอรับดําเนินการฟ้องจําเลยทั้งสองตามมาตรา 123 / 1 คณะทํางานร่วมได้ประชุมกันอีก เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2562 มีมติว่าเป็นกรณีที่คณะทํางานร่วมไม่อาจหาข้อยุติได้ โจทก์จึงฟ้องเองเป็นคดีนี้ โดยฟ้องเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563 ้ หนา 68 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการแรกว่า จําเลยทั้งสองกระทําความผิดตามคําฟ้องข้อ 3 . 1 หรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษาโดยมติเสียงข้างมาก เห็นว่า เหตุที่จําเลยที่ 2 ดําเนินการให้มีการนําร่างฉบับใหม่ มาเปลี่ยนร่างเดิม จําเลยที่ 2 เบิกความยืนยันว่า เนื่องจากมีสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมลงชื่อทักท้วงว่า ร่างบกพร่องโดยขาดสาระสําคัญในส่วนที่จะกําหนดให้สมาชิกวุฒิสภาที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลง สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้โดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งเป็นข้อสรุป ที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ก่อนยื่นญัตติและข้อนี้ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2556 จนหนังสือพิมพ์ลงข่าวตามสําเนาหนังสือพิมพ์เอกสารหมาย ล . 6 ถึง ล . 8 ดังกล่าวแล้ว โดยจําเลยที่ 2 มี นายชวลิต วิชยสุทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเป็นหนึ่งในคณะกรรมการประสานงาน พรรคร่วมรัฐบาล ( วิปรัฐบาล ) ขณะเกิดเหตุ และ นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกวุฒิสภาและเป็นรองประธาน คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา ( วิปวุฒิสภา ) คนที่หนึ่ง ขณะเกิดเหตุมาเบิกความยืนยัน ตามที่จําเลยที่ 2 เบิกความยืนยัน และนอกจากความข้อนี้ ปรากฏในข่าวหนังสือพิมพ์เอกสารหมาย ล . 6 ถึง ล . 8 แล้ว ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 86 กําหนดว่า ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมต้องแบ่งเป็นมาตรา และต้องมีบันทึกประกอบดังต่อไปนี้ ( 1 ) หลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ( 2 ) เหตุผลในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ( 3 ) บันทึกวิเคราะห์ สรุปสาระสําคัญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ปรากฏตามร่างเดิมว่า ในบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสําคัญ ของร่างรัฐธรรมนูญได้ระบุไว้ด้วยว่า กําหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 200 คน รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมวาระการดํารงตําแหน่งของสมาชิกวุฒิสภาให้สามารถดํารงตําแหน่งติดต่อกัน เกินกว่า 1 วาระได้เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามสําเนาหนังสือเอกสารหมาย จ . 15 การที่มีข้อความระบุว่า รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมวาระการดํารงตําแหน่งของสมาชิกวุฒิสภาให้สามารถ ดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 1 วาระได้เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น เป็นการแสดงให้เห็น โดยชัดแจ้งว่า เป็นกรณีที่กําหนดให้สมาชิกวุฒิสภาที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงสามารถสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ติดต่อกันได้เลยไม่ต้องเว้นวรรค เพียงแต่ร่างเดิมมิได้ระบุว่าแก้ไขตรงมาตราใด ที่มีข้อความตามนัยให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาติดต่อกันได้ อันเป็นการบกพร่องในการร่างของร่างเดิม เมื่อร่างฉบับใหม่ได้ระบุว่าแก้ไขตรงมาตรา 116 วรรคสอง ก็เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้ตรงกัน กับที่ได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่ก่อนยื่นญัตติตามที่ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน และตามความที่ระบุไว้ในบันทึกวิเคราะห์ ้ หนา 69 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

สรุปสาระสําคัญของร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวนั่นเอง ความข้อนี้ จําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ ประสานงานสภาผู้แทนราษฎรยืนยันว่า จําเลยที่ 2 ได้แจ้งแก่คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ( วิปรัฐบาล ) ให้ทราบถึงข้อบกพร่องและได้แก้ไขปรับปรุงให้เป็นไปตามที่ได้หารือและที่ได้แถลงข่าวกันไว้แล้ว ขอให้วิปรัฐบาลช่วยแจ้งสมาชิกรัฐสภาทราบด้วยและขอแก้ไขให้เป็นไปตามที่ได้หารือกันไว้ อันเป็นการกระทําโดยเปิดเผย และในการประชุมรัฐสภาวาระที่หนึ่งซึ่งจําเลยที่ 2 เป็นผู้เสนอญัตติอภิปรายก่อน อภิปรายหลักการและเหตุผลตามความในร่างฉบับใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีสมาชิกที่ร่วมลงชื่อเสนอญัตติ ตามร่างเดิมทักท้วง แต่อย่างใด เชื่อว่าจําเลยที่ 2 เพียงแต่ต้องการแก้ไขร่างเดิมเพียงเพื่อจะให้มีเนื้อความถูกต้อง ตรงตามความประสงค์ของสมาชิกที่ลงชื่อเสนอมาเท่านั้น หาใช่จําเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะแก้ไขเอง ตามความประสงค์ส่วนตัวของจําเลยที่ 2 ทั้งจําเลยที่ 2 มิได้ใช้อิทธิพลหรืออํานาจครอบงําสั่งการใด ๆ ในทางบังคับเจ้าหน้าที่ของรัฐสภาให้จํายอมในการดําเนินการเรื่องนี้ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐสภายินยอม ให้จําเลยที่ 2 นําร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยนได้พร้อมทั้งคืนร่างเดิมแก่ฝ่ายจําเลยที่ 2 ไปเช่นนี้ มีเหตุผล ให้เชื่อได้ว่าจําเลยที่ 2 เข้าใจว่าเป็นกรณีที่สามารถทําได้ตามปกติ ส่วนจําเลยที่ 1 ที่จําเลยที่ 1 ให้การและเบิกความต่อศาลนี้ว่า พยานที่โจทก์ไต่สวนก็ดี ที่เบิกความต่อศาลนี้ก็ดี ที่เป็นข้าราชการ ประจํารัฐสภาหรืออดีตข้าราชการประจํารัฐสภาซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานจริง ต่างให้ถ้อยคําตรงกัน และสอดคล้องกันว่า ตราบใดที่ประธานรัฐสภายังมิได้สั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ผู้เสนอญัตติย่อมแก้ไขเพิ่มเติมได้เสมอนั้น พิจารณาแล้ว พยานให้ถ้อยคําต่อโจทก์ไว้เช่นนั้นจริง เช่น นายจํานงค์ สวมประคํา ให้ถ้อยคําต่อโจทก์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2557 ว่า ปี 2535 ถึง 2544 พยานดํารงตําแหน่ง รองเลขาธิการวุฒิสภา จากนั้น ตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2545 พยานดํารงตําแหน่งเลขาธิการวุฒิสภา จนเกษียณอายุราชการ ปี 2551 ถึง 2554 ดํารงตําแหน่ง สมาชิกวุฒิสภาสรรหาด้านวิชาการ ขณะให้ถ้อยคําเป็นข้าราชการบํานาญ พยานให้ถ้อยคํา และมอบเอกสารประกอบการให้ถ้อยคํา โดยในส่วนที่เกี่ยวกับคําฟ้องข้อ 3 . 1 ให้ถ้อยคําสรุปว่า สมาชิกรัฐสภาที่ได้ลงชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ สามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมญัตติ ที่เสนอได้ก่อนที่ประธานรัฐสภาอนุญาตบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา การแก้ไขเพิ่มเติม อาจกระทําได้ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 36 ดังนี้ 1 . การลงชื่อกํากับการแก้ไข ของผู้เสนอหลักในร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ โดยส่วนใหญ่เป็นกรณีที่เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ้ หนา 70 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

2 . การทําบันทึกว่ามีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้เสนอหลักทราบว่ามีประเด็นใดบ้าง และให้ผู้เสนอหลักลงชื่อกํากับ ในกรณีนี้ ผู้เสนอหลักสามารถลงชื่อกํากับการแก้ไขในร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ หรือจะจัดทํา ร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่มาเปลี่ยนก็ได้ โดยยังคงใช้เลขรับเดิม 3 . ผู้เสนอหลักจัดทํา ร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่มาเปลี่ยนกับร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติฉบับเดิมได้ ซึ่งอาจเป็นการแก้ไขเฉพาะหน้าที่ผิด หรือจะทําร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติใหม่ทั้งฉบับก็ได้ โดยยังคงใช้เลขรับเดิม 4 . ผู้เสนอหลักมีหนังสือขอนําร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติไปปรับปรุงแก้ไข โดยผู้เสนอหลักจะจัดทําร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติใหม่มาเปลี่ยน โดยยังคงใช้เลขรับเดิม และ 5 . ผู้เสนอหลักขอถอนร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติออกไปก่อน แล้วเสนอกลับเข้ามาใหม่ กรณีนี้ถือว่าผู้เสนอได้ถอนร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติออกไปแล้วจึงต้องใช้เลขรับใหม่ ทางปฏิบัติที่ผ่านมาเคยมีกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ ก่อนบรรจุเข้าระเบียบ วาระการประชุม ได้แก้ไขเพิ่มเติมญัตติที่เสนอไว้แล้วในเรื่องที่เป็นสาระสําคัญ ด้วยการเอาร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยน สํานักการประชุม สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรก็ดําเนินการเปลี่ยนให้ โดยยังคงใช้การลงชื่อ ของผู้ที่ร่วมเสนอเดิมและเลขรับหนังสือเดิม เช่น ร่างพระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ . ศ . … ( นายนิยม วรปัญญา กับคณะ พรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอ ) ร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า ( ฉบับที่ ..) พ . ศ . … ( นางอานิก อัมระนันทน์ กับคณะ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เสนอ ) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายต่อพืชผลิตผลเกษตรกรรม พ . ศ . … ( นายสุขวิชาญ มุสิกุล กับคณะ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เสนอ ) เป็นต้น ตามสําเนาบันทึกปากคําพยานเอกสารหมาย จ . 90 นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์ ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานพระราชบัญญัติและญัตติ 1 สํานักการประชุม สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรให้ถ้อยคําต่อโจทก์เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2557 และเบิกความต่อศาลนี้ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 สรุปได้ว่า ก่อนที่ประธานรัฐสภาอนุญาตให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ผู้เสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมญัตติได้ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 36 ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติม มีแนวทางการปฏิบัติของสํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่เคยปฏิบัติสืบทอดกันมา 5 แนวทาง คือ 1 . กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบข้อบกพร่องเกี่ยวกับญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือร่างของพระราชบัญญัติ ทางเจ้าหน้าที่จะประสานไปยังผู้เสนอหลัก เพื่อให้ลงชื่อกํากับในที่ที่มีการแก้ไข โดยไม่จําต้องลงเลขรับหนังสือใหม่ หรือให้สมาชิกที่ร่วมลงชื่อลงชื่อเสนอใหม่อีกครั้ง 2 . กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจพบข้อบกพร่องหลายประเด็น ้ หนา 71 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

เจ้าหน้าที่ก็จัดทําบันทึกไปยังผู้เสนอหลัก แจ้งว่ามีประเด็นที่สมควรแก้ไขกี่ประเด็น ผู้เสนอหลัก สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธี เช่น ลงชื่อกํากับในประเด็นที่แก้ไข หรือแก้ไขโดยเปลี่ยนเฉพาะหน้าที่มีการแก้ไข หรือนําญัตติหรือร่างกฎหมายฉบับใหม่มาเปลี่ยน โดยไม่จําเป็นต้องลงรับหนังสือใหม่หรือให้สมาชิก ที่ร่วมลงชื่อลงชื่อเสนอใหม่อีกครั้งหนึ่ง 3 . กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วไม่พบข้อบกพร่อง แต่ผู้เสนอหลักประสงค์จะแก้ไขปรับปรุงผู้เสนอหลักก็นําร่างกฎหมายเฉพาะหน้าที่ต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือนําร่างกฎหมายทั้งฉบับมาเปลี่ยน โดยไม่จําเป็นต้องลงรับหนังสือใหม่หรือให้สมาชิกที่ร่วมลงชื่อ ลงชื่อเสนอใหม่อีกครั้งหนึ่ง 4 . กรณีผู้เสนอหลักทําหนังสือขอนําร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ นํากลับไปปรับปรุงแก้ไข โดยผู้เสนอหลักจะนําร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไข เปลี่ยนแปลงแล้วกลับคืนมา โดยไม่จําเป็นต้องลงเลขรับหนังสือใหม่หรือให้สมาชิกที่ร่วมลงชื่อลงชื่อเสนอใหม่ อีกครั้งหนึ่ง และ 5 . กรณีผู้เสนอหลักขอถอนร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติออกไป แล้วผู้เสนอหลักเสนอร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติกลับมาใหม่ กรณีนี้ต้องลงเลขรับหนังสือใหม่ พร้อมทั้งให้สมาชิกร่วมลงชื่อใหม่ด้วย ตามสําเนาบันทึกปากคําพยานเอกสารหมาย จ . 20 และ จ . 91 นางบุษกร อัมพรประภา ผู้อํานวยการสํานักการประชุม สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้ถ้อยคําต่อโจทก์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 และเบิกความต่อศาลนี้เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 สรุปได้ว่า ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา การแก้ไขร่างพระราชบัญญัติและญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มี 5 แนวทาง คือ 1 . กรณีแก้ไขเล็กน้อย ผู้เสนอหลักจะเป็นผู้ลงชื่อรับรองการแก้ไข 2 . กรณีเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบพบว่ามีข้อบกพร่อง จะนําเอกสารให้ผู้เสนอหลักแก้ไขให้ถูกต้อง เป็นการประสานงานแก้ไข โดยมิได้มีการลงเลขรับใหม่ 3 . กรณีผู้เสนอหลักประสงค์ขอแก้ไขเพิ่มเติม สามารถทําได้โดยลงชื่อกํากับ หรือเปลี่ยนร่างใหม่หรือเปลี่ยนเฉพาะหน้าที่มีการแก้ไข 4 . กรณีร่างมีข้อบกพร่องมาก ผู้เสนอหลัก จะมีหนังสือขอรับร่างกลับคืนเพื่อเสนอใหม่ ซึ่งกรณีนี้ ก็ยังคงใช้เลขรับเดิม โดยมิได้มีการลงเลขรับใหม่ และ 5 . กรณีมีการขอถอนร่างกลับคืนไป ถือว่าการเสนอร่างได้ยุติแล้ว กรณีนี้หากจะเสนออีก ต้องเสนอร่างเข้ามาใหม่ คดีนี้เมื่อร่างที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยเปลี่ยนเป็นร่างฉบับใหม่ นางนงค์เยาว์ ประพิณ นิติกรเจ้าของเรื่องได้ทําบันทึกข้อความลงวันที่ 27 มีนาคม 2556 เสนอผ่านผู้บังคับบัญชากลุ่มงาน พระราชบัญญัติและญัตติ 1 และเสนอมายังพยานขณะที่เอกสารยังอยู่ที่พยาน เวลาประมาณ 10 ถึง 11 นาฬิกา จําเลยที่ 1 เชิญพยานไปพบ พยานจึงนําเรื่องที่จําเลยที่ 2 ขอแก้ไขเรียนให้จําเลยที่ 1 ทราบ ้ หนา 72 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

จําเลยที่ 1 สอบถามพยานว่ากระทําได้หรือไม่ ซึ่งพยานตรวจสอบร่างแล้วเห็นว่าแก้ไขได้และร่างที่นํามาเปลี่ยน มิได้ขัดกับหลักการที่เสนอไว้แต่เดิม แต่อย่างใด จึงแจ้งจําเลยที่ 1 ว่าทําได้ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 36 ตามสําเนาบันทึกปากคําพยานเอกสารหมาย จ . 22 นายธงชัย ดุลยสุข ให้ถ้อยคําต่อโจทก์เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2557 ว่าพยานรับราชการตําแหน่งนิติกร 3 สํานักการประชุม สํานักงานเลขาธิการรัฐสภา ตั้งแต่ปี 2523 จนถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2555 ดํารงตําแหน่งที่ปรึกษา ด้านกฎหมาย ( นิติกรทรงคุณวุฒิ ) สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ดํารงตําแหน่งรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ( นักบริหารระดับสูง ) ซึ่งได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย มาตลอดระยะเวลาการทํางานกว่า 30 ปี กรณีที่ตรวจสอบพบร่างกฎหมายที่เสนอมีข้อบกพร่อง เจ้าหน้าที่จะประสานไปยังผู้เสนอหลัก เพื่อให้ผู้เสนอหลักมาแก้ไขข้อบกพร่อง ซึ่งไม่ขัดต่อข้อบังคับ การประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 36 เพราะเป็นการดําเนินการก่อนที่ประธานรัฐสภาพิจารณา อนุญาตบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุม ซึ่งแนวทางปฏิบัติดังกล่าวเป็นหลักและแนวทางที่ยึดถือมาโดยตลอด ไม่เลือกปฏิบัติว่าพรรคใดเป็นรัฐบาลว่าผู้เสนอหลักถือเป็นเจ้าของเรื่อง ส่วนผู้ร่วมลงชื่อถือเป็น ผู้ร่วมลงชื่อเสนอด้วยเท่านั้น เจ้าหน้าที่ของสํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจึงติดต่อประสานงาน กับผู้เสนอหลัก ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติดังกล่าวนํามาใช้ในกรณีที่ผู้เสนอหลักประสานขอแก้ไข มายังเจ้าหน้าที่ด้วยเช่นเดียวกัน และไม่ว่าผู้เสนอหลักขอแก้ไขมากหรือแก้ไขเล็กน้อย ก็สามารถทําได้ ไม่ขัดกับข้อ 36 และโดยธรรมเนียมการปฏิบัติการแก้ไขดังกล่าว ผู้ร่วมลงชื่อไม่จําต้องลงชื่อเสนอ ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมอีก แต่อย่างใด แต่หากเป็นการถอนร่างที่เสนอทั้งฉบับและไม่นํากลับมาเสนอใหม่ จะมีการถอนเลขรับสารบรรณ กรณีเช่นนี้ หากประสงค์จะเสนอร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวอีก จะต้องให้สมาชิกลงชื่อเสนอใหม่ทั้งฉบับ ตามสําเนาบันทึกปากคําผู้ให้ถ้อยคําเอกสารหมาย จ . 102 นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรให้ถ้อยคําต่อโจทก์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2557 ว่าในทางปฏิบัติ ร่างพระราชบัญญัติ ญัตติ หรือร่างรัฐธรรมนูญ ผู้เสนอหลักสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ ก่อนประธานรัฐสภาสั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา โดยติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่อง เพื่อขอแก้ไข หรือหากเจ้าหน้าที่พบข้อบกพร่องก็จะประสานผู้เสนอหลักเพื่อขอแก้ไข ตามสําเนาบันทึก ปากคําผู้ให้ถ้อยคําเอกสารหมาย จ . 98 นางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภาให้ถ้อยคําต่อโจทก์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2557 ว่าเมื่อมีการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก่อนประธานรัฐสภา ้ หนา 73 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

พิจารณาอนุญาตให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุม ผู้เสนอหลักสามารถแก้ไขปรับปรุงญัตติที่เสนอได้ แต่หากประธานรัฐสภาได้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว การจะแก้ไขญัตติจะต้องได้รับความยินยอม ของที่ประชุมรัฐสภาตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 36 ตามสําเนาบันทึกปากคําพยาน เอกสารหมาย จ . 93 นอกจากนี้ เมื่อโจทก์ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีอาญา อัยการสูงสุดเห็นว่า สํานวนการไต่สวนยังไม่สมบูรณ์พอที่จะดําเนินคดีอาญาได้ จึงมีการตั้งคณะทํางานร่วมกัน รวบรวมเอกสารเพิ่มเติม และสอบคําให้การพยานเพิ่มเติม 2 ปาก คือ นายพิทูร พุ่มหิรัญ อดีตเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร ก็ให้การว่า กรณีที่มีการแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ ทําได้ทั้ง 5 แนวทาง ซึ่งรวมทั้งนําร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยนร่างเดิม ทํานองเดียวกันกับที่ นายจํานงค์ สวมประคํา นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์ และ นางบุษกร อัมพรประภา ให้ถ้อยคําดังกล่าวข้างต้น เป็นแนวทางปฏิบัติจริง ที่เจ้าหน้าที่ดําเนินการ ไม่มีการกําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในที่ใด แต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา เป็นระยะเวลานาน และ นางสาวปิยวรรณ บุญยิ่ง ผู้รับมอบหมายจากเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ก็ให้การว่า สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีธรรมเนียมปฏิบัติ 5 แนวทางทํานองเดียวกับที่ นายจํานงค์ นายศิโรจน์ และ นางบุษกร ให้ถ้อยคําดังกล่าวข้างต้น ซึ่งก็รวมทั้งนําร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยนร่างเดิม ก่อนประธานรัฐสภาสั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ไม่ว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยหรือแก้ไขในสาระสําคัญ สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรชี้แจงว่า กรณีร่างพระราชบัญญัติสามฉบับดังที่ นายจํานงค์ ให้ถ้อยคําต่อโจทก์ดังกล่าวข้างต้นนั้น ผู้เสนอหลักจัดทําร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยนร่างเดิม โดยใช้เลขรับเดิม และลายมือชื่อสมาชิกที่ลงไว้เดิม และนอกจากสามฉบับนี้แล้วยังได้รวบรวมร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ . ศ . … นายเจริญ จรรย์โกมล กับคณะ พรรคพลังประชาชน เป็นผู้เสนอ ก็แก้ไขโดยผู้เสนอหลัก จัดทําร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยนร่างเดิม โดยยังคงใช้เลขรับเดิมและลายมือชื่อสมาชิกที่ลงไว้เดิม และร่างรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … ประชาชน 71 , 543 คน เป็นผู้เสนอ โดยมี นายเหวง โตจิราการ เป็นผู้แทนการเสนอกฎหมาย ประธานรัฐสภาตรวจสอบ พบข้อบกพร่อง คือ เพียงแต่ระบุชื่อหมวดและเลขมาตรา มิได้เป็นไปตามรูปแบบการเสนอร่างกฎหมาย ที่จะต้องระบุเนื้อหาที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกในแต่ละมาตรา จึงดําริให้ผู้แทนการเสนอกฎหมาย ดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องตามรูปแบบการเสนอร่างกฎหมาย เห็นได้ว่า พยานดังกล่าวเป็นข้าราชการประจํา และเคยเป็นข้าราชการประจํา เป็นผู้ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง และต่างก็ได้ปฏิบัติราชการ ้ หนา 74 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ที่รัฐสภามายาวนานหลายสิบปี ขณะ นายธงชัย พยานโจทก์ให้ถ้อยคําก็ดี ขณะ นายพิทูร กับ นางสาวปิยวรรณ ให้การก็ดี เป็นเวลาหลังจากรัฐประหาร ซึ่งนายกรัฐมนตรีและจําเลยทั้งสอง ที่สังกัดพรรคเพื่อไทยหลุดพ้นจากตําแหน่งไปแล้ว ส่วน นายศิโรจน์ นางบุษกร และ นายสุวิจักขณ์ แม้ให้ถ้อยคําต่อโจทก์ก่อนเกิดการรัฐประหาร แต่ก็มาเบิกความต่อศาลนี้เป็นพยานโจทก์ยืนยัน ตามที่เคยให้ถ้อยคําต่อโจทก์ สําหรับ นายจํานงค์ และ นางนรรัตน์ แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาเบิกความต่อศาล แต่ก็ให้ถ้อยคําต่อโจทก์ในทิศทางเดียวกันกับ นายศิโรจน์ และ นางบุษกร กรณีจึงไม่มีเหตุให้ระแวง สงสัยว่าพยานดังกล่าวมานี้มีส่วนได้เสียหรือให้ถ้อยคําหรือให้การช่วยเหลือหรือปรักปรําฝ่ายใด ถ้อยคําคําให้การและคําเบิกความของพยานดังกล่าวนี้มีน้ําหนักให้รับฟัง เชื่อว่าเบิกความตามจริง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังตามถ้อยคํา คําให้การ และคําเบิกความของพยานดังกล่าวนี้ได้ว่า พยานดังกล่าวนี้ รวมทั้งเจ้าหน้าที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาที่เกี่ยวข้องเข้าใจและเชื่อว่า ตราบใดที่ประธานรัฐสภา ยังมิได้สั่งอนุญาตให้บรรจุญัตติเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ผู้เสนอญัตติหลักแก้ไขเพิ่มเติมญัตติ ที่เสนอไว้เดิมได้ ไม่ว่าแก้ไขมากหรือแก้ไขเล็กน้อย ส่วนวิธีการแก้ไขเพิ่มเติม ไม่มีกําหนดไว้ เป็นลายลักษณ์อักษรในที่ใด ไม่มีการกําหนดไว้ว่าถ้าแก้ไขเพิ่มเติมเล็กน้อยทําได้ และไม่มีการกําหนดไว้ว่า ถ้าแก้ไขเพิ่มเติมสาระสําคัญทําไม่ได้ แต่มีแนวทางที่เคยปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนานหลายปีว่า แก้ไขเพิ่มเติมได้ 5 แนวทางดังกล่าว ซึ่งรวมทั้งการนําร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยนร่างเดิม ซึ่งมีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ที่เคยปฏิบัติสืบทอดกันมาชัดเจน 5 ตัวอย่างดังกล่าว เมื่อฝ่ายผู้เสนอหลักนําร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยน พยานดังกล่าวและหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ดําเนินการเปลี่ยนให้ ไม่รู้สึกหรือกังวลว่ากระทําโดยมิชอบ แต่ประการใด เพราะเป็นการกระทําตามที่เคยกระทําสืบทอดกันมา ดังจะเห็นได้จากการที่เมื่อจําเลยที่ 1 เชิญ นางบุษกร ไปพบและสอบถาม นางบุษกร ว่า การนําร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยนร่างเดิมทําได้หรือไม่ นางบุษกร ก็ตอบทันทีว่าทําได้ ซึ่งก็นับว่ามีเหตุผลให้จําเลยที่ 1 เชื่อว่าทําได้ และตามเหตุผลจําเลยที่ 1 ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวัฒนธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ล่าสุดประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2554 ถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ( วันยุบสภา ) หากจําเลยที่ 1 ไม่เชื่อว่าทําได้ หรือเชื่อว่าทําไม่ได้ จําเลยที่ 1 ก็ให้ฝ่ายจําเลยที่ 2 ไปดําเนินการเสนอร่างเข้ามาใหม่โดยให้สมาชิกรัฐสภา ร่วมลงชื่อเสนอญัตติเข้ามาใหม่ก็ทําได้โดยง่าย เพราะจําเลยทั้งสองสังกัดพรรคการเมืองเดียวกัน ้ หนา 75 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

และผู้ร่วมลงชื่อเสนอญัตติส่วนใหญ่ก็สังกัดพรรคการเมืองเดียวกันกับจําเลยทั้งสอง ซึ่งเชื่อได้ว่าจําเลยที่ 1 รู้ดีถึงการเปลี่ยนร่างเดิมเป็นร่างฉบับใหม่ รวมทั้งรู้ดีว่าร่างเดิมบกพร่องในการร่าง ที่มิได้ร่างแก้ไขเพิ่มเติม วาระการดํารงตําแหน่งของสมาชิกวุฒิสภาให้สามารถดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 1 วาระได้ จําเลยที่ 1 จึงอนุญาตให้นําร่างฉบับใหม่บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา การที่ นางบุษกร ตอบคําถาม จําเลยที่ 1 ว่าทําได้ก็ดี การที่จําเลยที่ 1 มิได้ให้ฝ่ายจําเลยที่ 2 ไปดําเนินการเสนอญัตติเข้ามาใหม่ก็ดี จึงมีเหตุผลให้รับฟังได้ว่าจําเลยที่ 1 เชื่อว่าทําได้ ซึ่งการกระทําของจําเลยทั้งสองในส่วนนี้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีผลเท่ากับการดําเนินการในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่รัฐสภา รับหลักการเป็นไปโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ( 1 ) วรรคหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม เห็นว่า การกระทําของจําเลยทั้งสองจะเป็นความผิดอาญาตามคําฟ้องข้อ 3 . 1 ต้องมีข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ว่า จําเลยทั้งสองมีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อํานาจ ในตําแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ และมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือมิฉะนั้น ก็มีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ซึ่งก็คือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองหรือผู้อื่น แต่ตามข้อเท็จจริง ดังที่ได้วินิจฉัยมารับฟังได้ว่า มีข้อสรุปที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ก่อนยื่นร่างเดิมแล้วว่าจะกําหนดให้สมาชิกวุฒิสภา ที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงสามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้โดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 2 ปี ดังที่ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนตั้งแต่ก่อนวันยื่นร่างเดิมสองวัน ทั้งได้ระบุความตามนัยนี้ไว้ในบันทึกวิเคราะห์ สรุปสาระสําคัญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมแห่งร่างเดิมด้วยแล้ว แต่ร่างเดิมมิได้ระบุว่าแก้ไขตรงมาตราใด ที่มีข้อความตามนัยให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาติดต่อกันได้ อันเป็นการบกพร่องในการร่างของร่างเดิม เมื่อจําเลยที่ 2 ทราบข้อบกพร่อง ก็ดําเนินการจัดทําร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยนร่างเดิม ร่างฉบับใหม่ ได้ระบุแก้ไขตรงมาตรา 116 วรรคสอง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้ตรงกันกับที่ได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่ก่อนยื่นร่างเดิม เพื่อจะได้มีเนื้อความถูกต้องตรงตามความประสงค์ของสมาชิกที่ลงชื่อเสนอมา หาใช่จําเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะแก้ไขเองตามความประสงค์ส่วนตัวของจําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 2 เข้าใจว่าการแก้ไข ด้วยวิธีการนําร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยนร่างเดิมสามารถทําได้ จึงยังฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 2 มีเจตนา และเจตนาพิเศษดังกล่าว การกระทําของจําเลยที่ 2 จึงไม่เป็นความผิดตามคําฟ้องข้อ 3 . 1 ส่วนจําเลยที่ 1 ก็มีเหตุผลให้รับฟังได้ว่าจําเลยที่ 1 เชื่อว่านําร่างฉบับใหม่มาเปลี่ยนร่างเดิมได้ ้ หนา 76 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

จึงอนุญาตให้นําร่างฉบับใหม่บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา รับฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 1 มีเจตนา และเจตนาพิเศษดังกล่าว การกระทําของจําเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตามคําฟ้องข้อ 3 . 1 เช่นกัน ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จําเลยที่ 1 กระทําความผิดตามคําฟ้องข้อ 3 . 2 หรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษาโดยมติเสียงข้างมาก เห็นว่า การที่จําเลยที่ 1 นําร่างฉบับใหม่ที่จําเลยที่ 2 เสนอ เป็นผลต่อเนื่องมาจากการที่จําเลยที่ 1 เชื่อว่าผู้เสนอญัตติสามารถแก้ไขญัตติได้หากประธานรัฐสภา ยังไม่ได้สั่งอนุญาตให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา แม้โจทก์บรรยายฟ้องการกระทํา ของจําเลยที่ 1 ส่วนนี้ตามคําฟ้องข้อ 3 . 2 แยกต่างหากจากคําฟ้องข้อ 3 . 1 ก็ตาม แต่จําเลยที่ 1 ก็มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน ข้อที่จําเลยที่ 1 มิได้สั่งอนุญาตให้นําร่างฉบับใหม่บรรจุวาระการประชุม โดยชัดแจ้งลงในบันทึกข้อความเอกสารหมาย จ . 24 ก็ได้ความว่า นางบุษกร มิได้เสนอบันทึกข้อความ เอกสารหมาย จ . 24 ต่อจําเลยที่ 1 ทั้งร่างเดิมฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐสภาก็ได้คืนแก่ฝ่ายจําเลยที่ 2 ไปก่อนแล้ว การที่จําเลยที่ 1 สั่งอนุญาตในบันทึกข้อความเอกสารหมาย จ . 21 จึงเป็นการสั่งไป โดยถือว่าได้มีการแก้ไขญัตติเดิมเป็นร่างฉบับใหม่เพียงฉบับเดียวแล้วนั่นเอง หาใช่ว่าจําเลยที่ 1 มีเจตนาจะให้ใช้ร่างเดิมบรรจุระเบียบวาระการประชุม เพราะขณะนั้น จําเลยที่ 1 ยังเชื่ออยู่ว่า สามารถเปลี่ยนเป็นร่างฉบับใหม่ได้ ย่อมไม่มีเหตุที่จําเลยที่ 1 จะสั่งอนุญาตให้นําร่างเดิมมาบรรจุ วาระการประชุมอีก แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ต่อมาจําเลยที่ 1 นําร่างฉบับใหม่เสนอให้ที่ประชุมรัฐสภา พิจารณาก็เป็นไปตามที่จําเลยที่ 1 สั่งและเชื่อมาแต่ต้น ดังนั้น การกระทําของจําเลยที่ 1 ตามคําฟ้องข้อ 3 . 2 ย่อมถือไม่ได้ว่า จําเลยที่ 1 มีเจตนาและเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่สมาชิกที่ร่วมพิจารณาญัตติดังกล่าวในขณะปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเช่นกัน จึงฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 1 กระทําความผิดตามคําฟ้องข้อ 3 . 2 ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อสุดท้ายว่า จําเลยที่ 1 กระทําความผิดตามคําฟ้องข้อ 3 . 3 หรือไม่ โจทก์ฟ้องว่าจําเลยที่ 1 จงใจนับเวลาแปรญัตติย้อนหลัง ทําให้เหลือระยะเวลาให้สมาชิกรัฐสภา เสนอคําแปรญัตติเพียง 1 วัน เป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับ เป็นเหตุให้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ สมาชิกรัฐสภา ไม่อาจยื่นคําแปรญัตติได้ทัน ปัญหานี้ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น โดยในการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 ต่อเนื่องมาจนถึงกลางคืนของคืนวันที่ 4 เมษายน 2556 มีการออกเสียงลงคะแนนวาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการที่ประชุมมีมติรับหลักการทั้งสามร่าง ้ หนา 77 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

มีการตั้งคณะกรรมาธิการของรัฐสภา คณะละร่าง สามคณะ คณะละ 45 คน ไม่มีปัญหา มามีปัญหาเกี่ยวกับการกําหนดเวลาเสนอคําแปรญัตติ ซึ่งตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 96 วรรคหนึ่ง กําหนดว่า การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขั้นคณะกรรมาธิการ สมาชิกรัฐสภาผู้ใดเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ก็ให้เสนอคําแปรญัตติล่วงหน้า เป็นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการภายในกําหนด 15 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภา รับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เว้นแต่รัฐสภาจะได้กําหนดเวลาแปรญัตติสําหรับร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมนั้นไว้เป็นอย่างอื่น ปรากฏว่าจําเลยที่ 1 ซึ่งขณะนั้นเป็นประธานของที่ประชุมกล่าวว่า “ ไม่มีท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่น ระยะเวลาแปรญัตติก็ตามข้อบังคับ ” แต่ นายอรรถพร พลบุตร เสนอให้กําหนดเวลาเสนอคําแปรญัตติภายใน 60 วัน มีผู้โต้แย้งว่าต้อง 15 วัน ตามมติวิปสามฝ่าย จําเลยที่ 1 จึงขอมติที่ประชุมว่า 60 วัน หรือ 15 วัน โดยขณะนั้น ยังไม่มีปัญหาว่านับแต่วันใด ก่อนขอมติที่ประชุมต้องตรวจสอบองค์ประชุมในขณะนั้นก่อน ปรากฏว่าเมื่อตรวจสอบองค์ประชุมแล้ว องค์ประชุมไม่ครบ จําเลยที่ 1 จึงกล่าวว่า องค์ประชุมไม่ครบ ถือว่า 15 วัน ตามข้อบังคับ เมื่อองค์ประชุมไม่ครบก็ปิดประชุม โดยเลิกประชุมเวลา 2 . 15 นาฬิกา ของคืนวันที่ 4 เมษายน 2556 ต่อมาจําเลยที่ 1 เรียกประชุมร่วมกันของรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2556 เพื่อลงมติ กําหนดเวลาแปรญัตติ โดยมีประเด็นโต้เถียงกันในที่ประชุมว่า นับแต่วันใดในระหว่างวันถัดจากวันที่ รัฐสภารับหลักการ คือ นับแต่วันที่ 5 เมษายน 2556 หรือนับตั้งแต่วันจะลงมติ คือ วันที่ 18 เมษายน 2556 ( วันประชุมครั้งนี้ ) กับอีกประเด็นมีว่า ให้เสนอคําแปรญัตติในกําหนด 15 วัน หรือ 60 วัน แต่สําหรับประเด็นที่ว่านับตั้งแต่วันใดนั้น จําเลยที่ 1 มิได้ขอมติจากที่ประชุม แต่จําเลยที่ 1 วินิจฉัยเสียเองก่อนว่าต้องนับแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภารับหลักการตามข้อบังคับฯ ข้อ 96 โดยเมื่อรัฐสภารับหลักการวันที่ 4 เมษายน 2556 จึงต้องนับ 1 วันที่ 5 เมษายน 2556 จากนั้น จําเลยที่ 1 ขอมติที่ประชุมในประเด็นกําหนดเวลาเสนอคําแปรญัตติที่ประชุมมีมติให้เสนอคําแปรญัตติ ในกําหนด 15 วัน ตามสําเนารายงานการประชุมเอกสารหมาย จ . 54 ซึ่งถ้านับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ รัฐสภารับหลักการตามที่จําเลยที่ 1 วินิจฉัย ก็จะครบกําหนด 15 วัน ในวันที่ 19 เมษายน 2556 ซึ่งก็คือเหลือเวลาเสนอคําแปรญัตติเพียง 1 วัน ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับจําเลยที่ 1 เห็นว่าต้องนับตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2556 ไป 15 วัน ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ต้องนับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมมีมติเป็นต้นไป ้ หนา 78 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

จําเลยที่ 1 ยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาลงวันที่ 16 ตุลาคม 2558 ต่อโจทก์ว่า เมื่อที่ประชุมรัฐสภา มิได้มีมติกําหนดเวลาแปรญัตติเป็นอย่างอื่น กําหนดเวลา 15 วัน ต้องนับจากวันถัดจากวันที่รัฐสภา มีมติรับหลักการ ( วันที่ 4 เมษายน 2556 ) มิใช่นับแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภามีมติกําหนดวันแปรญัตติ ( วันที่ 18 เมษายน 2556 ) เพราะถ้านับเช่นนั้น จะเป็นการนับเวลาแปรญัตติที่ขัดกับข้อบังคับฯ ข้อ 96 วรรคหนึ่ง จําเลยที่ 1 ไม่มีอํานาจที่จะนับเวลาการแปรญัตติให้แตกต่างไปจากที่ข้อบังคับ การประชุมรัฐสภากําหนดไว้ ตามสําเนาคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเอกสารหมาย จ . 83 และจําเลยที่ 1 ยื่นคําให้การและเบิกความต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองว่า เมื่อรัฐสภา ไม่ได้กําหนดเวลาเสนอคําแปรญัตติไว้เป็นอย่างอื่นก็ต้องนับแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภารับหลักการ ตามข้อบังคับฯ ข้อ 96 จะวินิจฉัยให้เป็นอย่างอื่นมิได้ องค์คณะผู้พิพากษาโดยมติเสียงข้างมาก เห็นว่า ไม่ปรากฏว่าเคยมีเหตุการณ์ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนับวันตั้งแต่วันใดเช่นครั้งนี้มาก่อน การนับวันกรณีมีเหตุการณ์เช่นนี้ ไม่มีเขียนหรือกําหนดหรือบัญญัติไว้ในที่ใด จึงต่างก็วินิจฉัยข้อบังคับ การประชุมรัฐสภา พ . ศ . 2553 ข้อ 96 การที่จําเลยที่ 1 ยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อโจทก์ดังกล่าวก็ดี และที่ยื่นคําให้การและเบิกความต่อศาลดังกล่าวก็ดี เชื่อว่าจําเลยที่ 1 วินิจฉัยโดยจําเลยที่ 1 เชื่อเช่นนั้นจริง จะถูกต้องหรือไม่ก็เป็นความเชื่อของจําเลยที่ 1 แต่จะเป็นความผิดอาญาตามฟ้องข้อ 3 . 3 ต้องมีข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ด้วยว่าจําเลยที่ 1 มีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่ง หรือหน้าที่หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ และมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือมิฉะนั้น ก็มีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ซึ่งก็คือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองหรือผู้อื่น แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ในการตรวจสอบองค์ประชุมเมื่อคืนวันที่ 4 เมษายน 2556 ก่อนขอมติที่ประชุม องค์ประชุมไม่ครบ จําเลยที่ 1 จึงกล่าวว่า องค์ประชุมไม่ครบ ถือว่า 15 วัน ตามข้อบังคับ เมื่อองค์ประชุมไม่ครบก็ปิดประชุม การที่จําเลยที่ 1 กล่าวว่าองค์ประชุมไม่ครบ ถือว่า 15 วัน ตามข้อบังคับนั้น จําเลยที่ 1 ยืนยันว่า เมื่อยังไม่ได้มีมติว่า 60 วัน หรือ 15 วัน ก็ต้องถือว่า 15 วัน ตามข้อบังคับไปพลางก่อน ผลจากการที่จําเลยที่ 1 กล่าวว่าองค์ประชุมไม่ครบ ถือว่า 15 วัน ตามข้อบังคับนั้น ทําให้ต่อมา มีสมาชิกรัฐสภายื่นหรือเสนอคําแปรญัตติได้ทันจํานวนมากถึง 202 คน คงมีเพียงบางคน เช่น นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ที่อ้างว่ายื่นไม่ทัน แม้อาจได้รับความเสียหายอยู่บ้าง แต่จําเลยที่ 1 ้ หนา 79 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ก็ให้โอกาส นายนิพิฏฐ์ ได้อภิปรายในวาระที่สอง ความเสียหายที่หากมีก็ไม่มากนัก พยานหลักฐาน ที่ได้จากการไต่สวนของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 มีเจตนาและเจตนาพิเศษดังกล่าว ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 1 กระทําความผิด ตามคําฟ้องข้อ 3 . 3 พิพากษายกฟ้อง . นายประทีป ดุลพินิจธรรมา นางนุจรินทร์ จันทร์พรายศรี นายวรงค์พร จิระภาค นายนพพร โพธิรังสิยากร นายอนันต์ วงษ์ประภารัตน์ นางวาสนา หงส์เจริญ นายนิพันธ์ ช่วยสกุล นายประสิทธิ์ เจริญถาวรโภคา นายพิศิฏฐ์ สุดลาภา ้ หนา 80 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565