Sun Nov 13 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ [คดีหมายเลขดำที่ อม. 5/2554 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 7/2556 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ร้อง นายโภคิน พลกุล ที่ 1 นายประชา มาลีนนท์ ที่ 2 นายวัฒนา เมืองสุข ที่ 3 พลตำรวจตรี อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ที่ 4 บริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์รซอย เอจี แอนด์ โค เคจี หรือ บริษัท จีดี ยูโรเปียน แลนด์ซิสเต็ม - สไตเออร์ จำกัด ที่ 5 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ 6 จำเลย]


คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ [คดีหมายเลขดำที่ อม. 5/2554 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 7/2556 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ร้อง นายโภคิน พลกุล ที่ 1 นายประชา มาลีนนท์ ที่ 2 นายวัฒนา เมืองสุข ที่ 3 พลตำรวจตรี อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ที่ 4 บริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์รซอย เอจี แอนด์ โค เคจี หรือ บริษัท จีดี ยูโรเปียน แลนด์ซิสเต็ม - สไตเออร์ จำกัด ที่ 5 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ 6 จำเลย]

( อม . 33 ) คําพิพากษา คดีหมายเลขดําที่ อม . 5 / 2554 คดีหมายเลขแดงที่ อม . 7 / 2556 ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง วันที่ 15 เดือน กันยายน พุทธศักราช 2565 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ร้อง นายโภคิน พลกุล ที่ 1 นายประชา มาลีนนท์ ที่ 2 นายวัฒนา เมืองสุข ที่ 3 พลตํารวจตรี อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ที่ 4 บริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์รซอย เอจี แอนด์ โค เคจี หรือ บริษัท จีดี ยูโรเปียน แลนด์ซิสเต็ม - สไตเออร์ จํากัด ที่ 5 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ 6 จําเลย เรื่อง ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคา ต่อหน่วยงานของรัฐ โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุจําเลยที่ 1 ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลบริหารราชการแผ่นดินและควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ราชการของกรุงเทพมหานคร ระหว่าง ้ หนา 18 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

จําเลยที่ 2 ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอํานาจหน้าที่กํากับดูแล บริหารราชการแผ่นดินและควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ราชการของกรุงเทพมหานคร จําเลยที่ 3 ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีอํานาจหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการและกําหนดนโยบาย ของกระทรวงพาณิชย์ให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกําหนดหรืออนุมัติ และรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการของกระทรวงพาณิชย์ จําเลยที่ 4 เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร จําเลยที่ 5 เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ และเป็นคู่สัญญาผู้ขายรถดับเพลิง เรือดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ให้กรุงเทพมหานคร ส่วนจําเลยที่ 6 ดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2547 ถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2551 มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ระหว่างปลายปี 2545 ถึงต้นปี 2549 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จําเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 กระทําการอันมิชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการจัดซื้อยานพาหนะดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย โดยอาศัยตําแหน่งหน้าที่ของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกับจําเลยที่ 5 ให้มีการจัดซื้อสินค้าด้วยวิธีการที่ผิดกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ขั้นตอนริเริ่มโครงการ การเสนอโครงการและการอนุมัติโครงการด้วยการทําข้อตกลงของความเข้าใจ (AGREEMENT OF UNDERSTANDING หรือ A.O.U.) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐออสเตรียที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องด้านกฎหมายจากหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ และมีการกําหนดคุณสมบัติของรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะของสินค้า วิธีการจัดหา และราคาไว้ล่วงหน้าโดยทุจริต โดยอาศัยโอกาสจากการที่จําเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 เป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอํานาจหน้าที่กํากับดูแล กรุงเทพมหานคร และกระทรวงพาณิชย์วางแผนแบ่งหน้าที่กันทําตามตําแหน่งของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โดยเริ่มต้นจากการจัดทําโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน สํานักป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานครเพื่อจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย โดยให้เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรียประจําประเทศไทยเสนอวิธีการซื้อขายในลักษณะรัฐต่อรัฐ พร้อมข้อเสนอรับพันธะการค้าต่างตอบแทนในสัดส่วนร้อยละ 100 ซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญเพื่อหลีกเลี่ยง การประกวดราคา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการดังกล่าว เป็นเหตุให้มีการจัดซื้อในราคาที่สูงเกินกว่า ้ หนา 19 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ความเป็นจริง โดยจําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะนั้นได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่ปฏิบัติการทําการค้าต่างตอบแทน ตามมติคณะรัฐมนตรี หากแต่อ้างการดําเนินการในลักษณะรัฐต่อรัฐเพื่อหลีกเลี่ยงการสอบราคา รวมทั้งละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบราชการที่เกี่ยวข้อง มุ่งหมายมิให้เกิดการแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรมเพื่อเอื้อประโยชน์แก่จําเลยที่ 5 ให้ได้เข้าทําสัญญากับหน่วยงานของรัฐเพียงรายเดียวในราคาสูง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และราชอาณาจักรไทย กล่าวคือ จําเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 และเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา กับจําเลยที่ 5 ได้ร่วมกันและแยกกันกระทําความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน โดยจําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ นายสมัคร ร่วมกันจัดทําโครงการพัฒนาระบบบริหาร และเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานครขึ้น เพื่อจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ตามราคาและจํานวนที่จําเลยที่ 5 ประสงค์จะเสนอขายให้แก่กรุงเทพมหานคร ซึ่งการจัดทําโครงการดังกล่าว จําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ นายสมัคร ได้ร่วมกระทําอันมีลักษณะเป็นตัวการ โดยจําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ นายสมัคร มีการแบ่งหน้าที่กันทําเป็นขั้นเป็นตอนตามอํานาจและตําแหน่งหน้าที่ซึ่งแต่ละคนมีอํานาจ และความรับผิดชอบอยู่ในขณะนั้น และการกระทําของจําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ นายสมัคร ได้ก่อให้เกิดผลตามมา คือ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2547 คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาและมีมติอนุมัติ ในหลักการเกี่ยวกับโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน สํานักป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร โดยให้ดําเนินการให้ได้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงบประมาณ จําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ นายสมัคร กระทําโดยมีเจตนาให้คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการดังกล่าว ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติดังกล่าว จําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ นายสมัคร ใช้อํานาจหน้าที่ ในตําแหน่งราชการโดยมิชอบ ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยการกระทําการโดยมุ่งหมาย มิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้อประโยชน์แก่จําเลยที่ 5 โดยฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบ ้ หนา 20 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ของทางราชการเกี่ยวกับการพัสดุ โดยมีจําเลยที่ 5 เป็นผู้สนับสนุนการกระทําความผิด ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่า การทําสัญญากับกรุงเทพมหานครในลักษณะนี้เป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าทําการแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรม แต่ได้ร่วมกันกระทําการอันเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการกระทําความผิด ของจําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ นายสมัคร ด้วยการเข้าทําสัญญากับกรุงเทพมหานคร โดยจําเลยที่ 5 ได้จัดทําร่าง A.O.U. แล้วมอบหมายให้ทูตพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐออสเตรียนําร่าง A.O.U. ไปให้จําเลยที่ 4 เมื่อจําเลยที่ 4 ได้รับร่าง A.O.U. แล้วได้นําเสนอร่าง A.O.U. ต่อคณะกรรมการบริหาร โครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจําเลยที่ 4 เป็นประธานให้รับร่าง A.O.U. นั้น และในวันเดียวกันนั้น นายสมัคร ได้มีหนังสือถึงจําเลยที่ 1 แจ้งว่า คณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาระบบบริหาร และเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีความเห็นสอดคล้องกับ สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่า ร่าง A.O.U. ดังกล่าวถูกต้อง ซึ่งจําเลยที่ 1 มีหน้าที่ ต้องปฏิบัติตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2547 คือ จะต้องได้รับ ความเห็นจากกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สํานักงานคณะกรรมการ พัฒนาระบบราชการ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงบประมาณ และให้รับความเห็นจากคณะรัฐมนตรีไปดําเนินการด้วย ทั้งร่าง A.O.U. ดังกล่าวจะต้องให้สํานักงานอัยการสูงสุด ตรวจสอบความถูกต้องตามระเบียบราชการ จําเลยที่ 1 กระทําโดยปราศจากอํานาจในการลงนามในสัญญา แทนรัฐบาลไทย อันเป็นการกระทําขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2535 วันที่ 1 ตุลาคม 2545 วันที่ 7 มกราคม 2546 วันที่ 30 ธันวาคม 2546 และไม่เป็นไป ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค . ศ . 1969 โดยในวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 จําเลยที่ 1 ลงนามใน A.O.U. กับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรียประจําประเทศไทย โดยไม่มีข้อความ ตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2547 แต่อย่างใด ต่อมาวันที่ 27 สิงหาคม 2547 นายสมัคร ได้ลงนามในข้อตกลงซื้อขายรถดับเพลิง เรือดับเพลิง และอุปกรณ์ บรรเทาสาธารณภัย (PURCHASE AGREEMENT) กับจําเลยที่ 5 ซึ่งมิได้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2547 ที่กําหนดให้ทําสัญญาแบบรัฐต่อรัฐ อันเป็นการขัดต่อระเบียบ และกฎหมาย โดยไม่ได้รับความเห็นจากกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ้ หนา 21 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงบประมาณ และไม่ได้รับความเห็นของคณะรัฐมนตรี ไม่มีการตรวจสอบความถูกต้อง ของร่างสัญญาจากสํานักงานอัยการสูงสุด เพื่อประสงค์ให้กรุงเทพมหานครตกลงซื้อสินค้าจากจําเลยที่ 5 โดยไม่มีการตรวจสอบชนิดและราคาสินค้า ซึ่งสินค้าบางรายการผลิตขึ้นในประเทศไทยและมีราคาแพงกว่า ราคาในท้องตลาดมาก กล่าวคือ เรือดับเพลิงมีการผลิตและประกอบขึ้นที่บริษัท ซีทโบ๊ท จํากัด ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และโครงประธานรถยนต์แบบขับเคลื่อนสี่ล้อ ( 4 x 4 ) ที่นําไปติดตั้ง อุปกรณ์ดับเพลิง คือ รถยนต์ยี่ห้อมิตซูบิชิ แอล (L) 200 ที่ผลิตได้ในประเทศไทย แต่จําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ นายสมัคร ได้ร่วมกันกล่าวอ้างว่า เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรียประจําประเทศไทย ได้เสนอวิธีการจัดซื้อในลักษณะรัฐต่อรัฐ พร้อมข้อเสนอรับพันธะการค้าต่างตอบแทนในสัดส่วนร้อยละ 100 ซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญจนคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการ โดยไม่ได้ตรวจสอบชนิดและราคาสินค้า การกระทําของจําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ นายสมัคร ถือได้ว่า เป็นการร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต มีเจตนาเพื่อจะแสวงหาประโยชน์จากโครงการดังกล่าวที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ให้แก่จําเลยที่ 5 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และกรุงเทพมหานคร และยังเป็นการปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และเป็นการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 11 , 12 และ 13 ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการดังกล่าวแล้ว จําเลยที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ตามมติคณะรัฐมนตรีที่จะต้องทําการค้าต่างตอบแทนกับรัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรีย ด้วยเงื่อนไข รับพันธะการค้าต่างตอบแทนร้อยละ 100 โดยเน้นสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) แต่จําเลยที่ 3 มิได้จัดให้มีการลงนามในสัญญาการค้าต่างตอบแทนแต่อย่างใด เนื่องจากจําเลยที่ 3 ได้ออกประกาศ กระทรวงพาณิชย์ เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดําเนินการการค้าต่างตอบแทน พ . ศ . 2547 โอนอํานาจในการกําหนดรายการสินค้าในบัญชีรายการสินค้าการค้าต่างตอบแทนและอํานาจในการลงนามจากอํานาจ ของคณะกรรมการการค้าต่างตอบแทน มาเป็นอํานาจของกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งมี นายราเชนทร์ พจนสุนทร เป็นอธิบดี จากนั้น จําเลยที่ 3 และ นายราเชนทร์ ได้ร่วมกับบริษัท ซี . พี . เมอร์แชนไดซิ่ง จํากัด (CPM) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จํากัด ( มหาชน ) และเป็นบริษัทในครอบครัวของจําเลยที่ 3 ้ หนา 22 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

โดยผลักดันให้กระทรวงพาณิชย์เสนอคณะรัฐมนตรีให้มีมติเน้นสินค้าไก่ต้มสุกแทนที่จะเป็นสินค้า OTOP ตามนโยบายของรัฐบาล โดย นายราเชนทร์ ให้ความเห็นชอบให้เพิ่มรายการสินค้าไก่ต้มสุกลงไป ในบัญชีรายการสินค้าซื้อตอบแทน และในวันที่ 30 กันยายน 2547 ได้ลงนามในสัญญาการค้าต่างตอบแทน ระหว่างกรมการค้าต่างประเทศกับจําเลยที่ 5 ซึ่งไม่ได้รับมอบอํานาจจากรัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรีย จึงมิใช่เป็นการทําสัญญาการค้าต่างตอบแทนในลักษณะรัฐต่อรัฐ ไม่เป็นไปตามเจตนาของเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐออสเตรียประจําประเทศไทยที่ได้ให้คํามั่นไว้ว่ารัฐบาลแห่งสาธารณรัฐออสเตรียยินดีรับ พันธะการค้าต่างตอบแทน ร้อยละ 100 และไม่เป็นไปตามความประสงค์ของรัฐบาลไทยที่ต้องการ ระบายสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมของไทย รวมทั้งการขยายสินค้าไทยในตลาดสาธารณรัฐออสเตรีย ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ และไม่เป็นไปตามวิธีการค้าต่างตอบแทน ทําให้ประเทศไทยต้องขาดดุลการค้าต่อสาธารณรัฐออสเตรีย เป็นเงิน 6 , 687 , 489 , 000 บาท การกระทําของจําเลยที่ 3 จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และยังเป็นการปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ก่อให้เกิดการทําสัญญาที่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้อื่น ทําให้เกิดความเสียหายแก่รัฐและกรุงเทพมหานคร อันเป็นการกระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และเป็นการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคา ต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 11 , 12 และ 13 การที่จําเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และ นายสมัคร ได้กระทําความผิดตามที่กล่าวมาข้างต้น เป็นผลมาจากการที่จําเลยที่ 5 ให้การช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทําความผิดของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และ นายสมัคร ดังนั้น การกระทําของจําเลยที่ 5 จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก ในการกระทําความผิดของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และ นายสมัคร อันเป็นความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด เกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 11 , 12 และ 13 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และจําเลยที่ 5 ยังได้ร่วมกระทําความผิดกับจําเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และ นายสมัคร ในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคา ต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 7 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ้ หนา 23 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

จําเลยที่ 6 เข้ารับตําแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2547 โดยรู้มาก่อนแล้วว่าจําเลยที่ 4 และ นายสมัคร ได้ยื่นคําขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (L/C) ไว้ ให้แก่จําเลยที่ 5 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงได้มีคําสั่งให้ระงับการขอเปิด L/C ตาม A.O.U. และข้อตกลงซื้อขาย หลังจากนั้น จําเลยที่ 6 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณารายละเอียดการจัดซื้อ รถดับเพลิง เรือดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย เพื่อตรวจสอบรายละเอียดในการจัดซื้อ แทนที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบขั้นตอนความไม่โปร่งใสของการจัดซื้อ แล้วยึดถือ เอาผลของรายงานการตรวจสอบที่รายงานว่า ได้เจรจาต่อรองกับจําเลยที่ 5 เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมแล้ว เพื่อมีคําสั่งยกเลิกคําสั่งระงับการขอเปิด L/C และให้ธนาคารกรุงไทย จํากัด ( มหาชน ) อนุมัติวงเงิน เพื่อจ่ายให้แก่จําเลยที่ 5 โดยไม่ได้พิจารณาถึงขั้นตอนการจัดซื้อที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบราชการ นอกจากนี้ จําเลยที่ 6 ยังได้แก้ไขข้อความอันเป็นสาระสําคัญของเงื่อนไขใน L/C หลายรายการ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่จําเลยที่ 5 ในการส่งมอบสินค้าและการชําระเงิน ซึ่งจําเลยที่ 6 รู้อยู่แล้ว ในขณะนั้นว่า การแก้ไขดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่จําเลยที่ 5 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และกรุงเทพมหานคร การกระทําของจําเลยที่ 6 จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริต อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ก่อนฟ้องคดีโจทก์ ได้มีมติให้ส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดําเนินการฟ้องคดี ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง แต่อัยการสูงสุดมีความเห็นว่าเรื่องที่ส่งไปยัง มีข้อไม่สมบูรณ์ และมีหนังสือแจ้งโจทก์ทราบ จนมีการตั้งคณะทํางานขึ้นเพื่อพิจารณาพยานหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์ แต่ปรากฏว่าคณะทํางานไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับการฟ้องคดีได้ อัยการสูงสุดได้ส่งสํานวน รายงานและเอกสาร ที่เกี่ยวข้องคืนให้แก่โจทก์เพื่อฟ้องคดีเอง เหตุเกิดที่แขวงเสาชิงช้า และแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และที่ตําบลบางกระสอ อําเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เกี่ยวพันกัน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 , 83 และ 86 และพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 7 , 11 , 12 และ 13 จําเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ให้การปฏิเสธ จําเลยที่ 5 ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาครั้งแรก ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีเฉพาะจําเลยที่ 5 ออกจากสารบบความ ้ หนา 24 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองพิจารณาแล้ว พิพากษาว่า จําเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 13 ประกอบมาตรา 12 และจําเลยที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 12 การกระทําของจําเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นการกระทํากรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จําคุกจําเลยที่ 2 มีกําหนด 12 ปี และจําคุกจําเลยที่ 4 มีกําหนด 10 ปี ข้อหาอื่นให้ยก ยกฟ้องโจทก์สําหรับจําเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 6 จําเลยที่ 2 และที่ 4 อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีคําสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจําเลยที่ 2 และที่ 4 ไว้พิจารณา โจทก์ยื่นคําร้องขอให้ยกคดีโจทก์สําหรับจําเลยที่ 5 ขึ้นพิจารณา ศาลอนุญาต ศาลส่งหมายเรียก สําเนาคําฟ้อง และหมายนัดพิจารณาครั้งแรกให้จําเลยที่ 5 ทราบโดยชอบแล้ว แต่จําเลยที่ 5 ไม่มาศาล ศาลออกหมายจับกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนจําเลยที่ 5 เกิน 3 เดือน แต่ไม่สามารถจับได้ จึงพิจารณาคดีโดยไม่ต้องกระทําต่อหน้าจําเลยที่ 5 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 28 และจําเลยที่ 5 ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาครั้งแรก ถือว่าจําเลยที่ 5 ให้การปฏิเสธ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 33 วรรคสาม พิเคราะห์พยานหลักฐานที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองไต่สวนเพิ่มเติม ประกอบรายงานการไต่สวนของโจทก์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 ดํารงตําแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2547 ถึงวันที่ 6 มีนาคม 2548 มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลบริหารราชการแผ่นดินและควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ราชการของกรุงเทพมหานคร จําเลยที่ 2 ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2545 ถึงวันที่ 11 มีนาคม 2548 มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลบริหารราชการแผ่นดินและควบคุมดูแล การปฏิบัติหน้าที่ราชการของกรุงเทพมหานคร จําเลยที่ 3 ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ้ หนา 25 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 11 มีนาคม 2548 มีอํานาจหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการ และกําหนดนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกําหนดหรืออนุมัติ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวงพาณิชย์ จําเลยที่ 4 ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการ สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2547 เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญมีอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ประกอบประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการ ภายในหน่วยงานและกําหนดอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ( ฉบับที่ 50 ) ลงวันที่ 19 กันยายน 2546 จําเลยที่ 5 เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ และเป็นคู่สัญญาผู้ขายรถดับเพลิง เรือดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ให้กรุงเทพมหานคร จําเลยที่ 6 ดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2547 ถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2551 มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแล บริหารราชการกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2528 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ . ศ . 2535 จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีฐานะเป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 และจําเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2546 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้น รวมทั้งสถานีดับเพลิง จํานวน 78 สถานี เพื่อรองรับภารกิจการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่จะถ่ายโอน มาจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติตามนโยบายรัฐบาล และต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 สํานักงานตํารวจแห่งชาติได้โอนภารกิจการป้องกันและระงับอัคคีภัยให้แก่กรุงเทพมหานคร จําเลยที่ 4 ซึ่งขณะนั้น รับราชการในตําแหน่งผู้บังคับการตํารวจดับเพลิง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ได้ขอโอนย้าย มายังกรุงเทพมหานครในตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ต่อมาวันที่ 22 มิถุนายน 2547 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพ การทํางานสํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยมีหลักการสําคัญว่า วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ยานพาหนะต่าง ๆ ให้นําเข้าเฉพาะส่วนที่จําเป็น และที่ไม่มีหรือที่ไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศเท่านั้น และให้กระทรวงพาณิชย์รับไปดําเนินการ เกี่ยวกับการทําการค้าต่างตอบแทน (Counter Trade) กับรัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรีย วันที่ ้ หนา 26 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

14 กรกฎาคม 2547 จําเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือ ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนําเสนอคณะรัฐมนตรีทราบรายงานผลการดําเนินการ ตามที่กรุงเทพมหานครเสนอ โดยมีรายการสินค้าที่ต้องจัดหา 15 รายการ เป็นยานพาหนะดับเพลิง จํานวน 315 คัน เรือดับเพลิง จํานวน 30 ลํา ในวงเงิน 133 , 749 , 780 ยูโร คิดเป็นเงินไทย ประมาณ 6 , 687 , 489 , 000 บาท คณะรัฐมนตรีได้รับทราบรายงานผลดําเนินการ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ หลังจากนั้น นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร มีจําเลยที่ 4 เป็นประธาน ให้มีอํานาจ หน้าที่บริหารโครงการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี และดําเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และให้มีหน้าที่เป็นคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ . ศ . 2538 อีกหน้าที่หนึ่ง นอกจากนี้ นายสมัคร ยังมีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ พิจารณาคุณลักษณะเฉพาะ เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ยานพาหนะ และครุภัณฑ์บรรเทาสาธารณภัยที่จัดซื้อ มี พลตํารวจตรี นเรศ เทียมกริม เป็นประธาน คณะกรรมการบริหารโครงการฯ ได้พิจารณาร่าง A.O.U. ที่ได้รับจากทูตพาณิชย์สาธารณรัฐออสเตรียแล้ว ต่อมาวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 จําเลยที่ 1 ได้ลงนามใน A.O.U. ร่วมกับเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐออสเตรียประจําประเทศไทย ขณะเดียวกันคณะกรรมการพิจารณาคุณลักษณะเฉพาะ ได้จัดทําเอกสารคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ จํานวน 15 รายการ เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ความเห็นชอบใช้เป็นรายละเอียดในการจัดซื้อครุภัณฑ์ของสํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานสํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่วนการจัดซื้อครุภัณฑ์บรรเทาสาธารณภัยในโครงการดังกล่าว จําเลยที่ 4 ได้ขอยกเว้นไม่ปฏิบัติ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ กรุงเทพมหานคร ให้ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติฯ เฉพาะในกรณีที่ต้องดําเนินการตาม A.O.U. นอกจากนี้ จําเลยที่ 4 ยังเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขอความเห็นชอบดําเนินการจัดซื้อ โดยวิธีพิเศษ ขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ขออนุมัติเปิด L/C และขออนุมัติ ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 28 / 2543 ที่กําหนดให้การจัดซื้อจัดจ้าง ้ หนา 27 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

โดยวิธีพิเศษที่วงเงินเกิน 10 , 000 , 000 บาท ต้องรายงานเพื่อขอรับความเห็นชอบจากคณะผู้บริหาร กรุงเทพมหานครก่อน ปรากฏว่า นายสมัคร ได้เห็นชอบและอนุมัติตามที่จําเลยที่ 4 เสนอ สําหรับข้อตกลงซื้อขายที่ต้องจัดทําระหว่างกรุงเทพมหานครกับจําเลยที่ 5 นั้น จําเลยที่ 4 ได้ส่งร่างข้อตกลงดังกล่าวให้กองกฎหมายและคดี กรุงเทพมหานคร ตรวจพิจารณา แต่กองกฎหมาย และคดีกลับเสนอปลัดกรุงเทพมหานครจัดส่งร่างข้อตกลงให้สํานักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ . ศ . 2538 ข้อ 126 แทน เนื่องจากต้องจัดทําร่างข้อตกลง เป็นภาษาอังกฤษ ต่อมาวันที่ 27 สิงหาคม 2547 จําเลยที่ 4 เสนอขอถอนคืนร่างข้อตกลงซื้อขาย ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสํานักงานอัยการสูงสุด โดยขออนุมัติใช้ข้อตกลงในการจัดหาสิ่งอุปกรณ์ฯ ของสาธารณรัฐออสเตรียให้แก่กองอํานวยการกลาง ( กรป . กลาง ) เป็นแบบสัญญาแทน และ นายสมัคร ได้อนุมัติตามที่จําเลยที่ 4 เสนอ ดังนั้น หลังจากที่จําเลยที่ 4 ในฐานะประธานกรรมการจัดซื้อ โดยวิธีพิเศษได้ต่อรองราคากับจําเลยที่ 5 แต่จําเลยที่ 5 แจ้งยืนยันราคาเดิม แต่เสนอเงื่อนไขเพิ่มเติม ในรูปอุปกรณ์อะไหล่ และอุปกรณ์เครื่องมือมูลค่า 300 , 000 ยูโร กับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการรับรองคณะผู้ตรวจรับรถต้นแบบแล้ว จําเลยที่ 4 ได้รายงานขออนุมัติให้ทําข้อตกลงซื้อขาย กับจําเลยที่ 5 และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ วันที่ 27 สิงหาคม 2547 จึงมีการจัดทํา ข้อตกลงซื้อขายขึ้น ระหว่างกรุงเทพมหานคร โดย นายสมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับผู้แทน ของจําเลยที่ 5 ส่วนการทําการค้าต่างตอบแทนนั้น จําเลยที่ 5 ได้จ้างบริษัท ซี . พี . เมอร์แชนไดซิ่ง จํากัด (CPM) ให้เป็นผู้ดําเนินการตามข้อตกลงการซื้อต่างตอบแทนกับกรมการค้าต่างประเทศแทน และกรมการค้าต่างประเทศ ได้ดําเนินการเจรจาร่วมกับบริษัท CPM พิจารณารายการสินค้าและประเทศต้องห้าม ตามที่คณะรัฐมนตรี มีมติให้กระทรวงพาณิชย์เร่งรัดดําเนินการเกี่ยวกับการค้าต่างตอบแทน โดยให้เน้นไก่ต้มสุกเป็นสินค้า ที่จะดําเนินการเป็นลําดับแรก จนวันที่ 30 กันยายน 2547 จําเลยที่ 5 จึงได้ลงนามในสัญญา การซื้อตอบแทนกับกรมการค้าต่างประเทศ ส่วนการเปิด L/C ตามข้อตกลงซื้อขายนั้น เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2547 กรุงเทพมหานครโดย นายสมัคร มีหนังสือถึงธนาคารกรุงไทย จํากัด ( มหาชน ) มอบอํานาจให้จําเลยที่ 4 เป็นผู้ไปเปิด L/C และลงนามในหนังสือแทนกรุงเทพมหานคร ซึ่งขณะนั้น ในวันที่ 29 สิงหาคม 2547 มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแทน นายสมัคร ที่ได้ครบวาระลง จําเลยที่ 6 ได้รับเลือกตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ นายสมัคร ได้ส่งมอบงาน ้ หนา 28 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ในหน้าที่แก่จําเลยที่ 6 ในวันที่ 6 กันยายน 2547 ต่อมาวันที่ 23 กันยายน 2547 ธนาคารกรุงไทย จํากัด ( มหาชน ) มีหนังสือแจ้งจําเลยที่ 6 ว่าธนาคารอนุมัติวงเงิน L/C ( เฉพาะคราว ) จํานวน 133 , 479 , 780 ยูโร ให้แล้ว ให้กรุงเทพมหานครยืนยันการจ่ายดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายที่ธนาคารจ่ายไปก่อน จําเลยที่ 6 จึงสั่งการให้ปลัดกรุงเทพมหานครแจ้งจําเลยที่ 4 ขอขยายการเปิด L/C ต่อธนาคารออกไปอีก 1 เดือน เพื่อรอรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่รับผิดชอบงานของสํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้พิจารณาก่อน แต่จําเลยที่ 4 มีหนังสือ แจ้งว่าไม่อาจปฏิบัติตามคําสั่งได้ เนื่องจากจะขัดข้อตกลงซื้อขายที่กรุงเทพมหานครทํากับจําเลยที่ 5 ที่ต้องเปิด L/C ให้ภายใน 30 วัน ซึ่งจะครบกําหนดภายในวันที่ 26 กันยายน 2547 พร้อมกันนั้น จําเลยที่ 4 มีหนังสือด่วนที่สุดถึงธนาคารกรุงไทย จํากัด ( มหาชน ) ให้เร่งดําเนินการเปิด L/C ตามสัญญาซื้อขายโดยด่วน แต่จําเลยที่ 6 ได้ประสานงานเป็นการภายในไปยังธนาคารกรุงไทย จํากัด ( มหาชน ) ให้ระงับการเปิด L/C ไว้ในวันเดียวกันนั้น แล้วมีหนังสือแจ้งธนาคารกรุงไทย จํากัด ( มหาชน ) ให้ระงับการเปิด L/C ( ระงับ ครั้งที่ 1 ) กับยกเลิกการมอบอํานาจของ นายสมัคร แก่จําเลยที่ 4 ด้วย ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2547 จําเลยที่ 6 มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขอให้พิจารณาทบทวนการจัดซื้อรถดับเพลิง โดยเหตุผลว่าการทําสัญญาการค้าต่างตอบแทนยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ และตามข้อกําหนดของ A.O.U. ไม่เปิดช่องให้กรุงเทพมหานครสามารถทบทวนเปรียบเทียบ ในเรื่องของราคาของสินค้าตามสัญญาจัดซื้อที่ลงนามแล้วกับราคาสินค้าประเภทเดียวกันจากแหล่งผลิตอื่น ๆ ได้ นายสมศักดิ์ คุณเงิน ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยแจ้งจําเลยที่ 6 ว่า จําเลยที่ 2 ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าโครงการดังกล่าว ได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีมาเป็นลําดับ และมีการลงนามใน A.O.U. และข้อตกลงซื้อขายแล้ว รวมทั้งจําเลยที่ 5 ได้ลงนามในสัญญาซื้อต่างตอบแทนกับกรมการค้าต่างประเทศแล้ว จึงให้เร่งรัดการเปิด L/C เพื่อให้เป็นไปตาม A.O.U. และข้อตกลงซื้อขาย เมื่อได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วจําเลยที่ 6 จึงมีหนังสือ ถึงธนาคารกรุงไทย จํากัด ( มหาชน ) ในวันที่ 1 ตุลาคม 2547 ขอเปิดวงเงิน L/C เฉพาะคราว และมอบอํานาจให้ นายนิยม กรรณสูต ผู้อํานวยการสํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไปดําเนินการ ต่อมาวันที่ 12 ตุลาคม 2547 จําเลยที่ 6 มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขอให้ทบทวนความถูกต้องในการจัดซื้ออีก เนื่องจากสัญญาซื้อตอบแทนจัดทําขึ้นหลังข้อตกลงซื้อขาย ้ หนา 29 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ไม่เป็นไปตามขั้นตอนและประกาศกระทรวงพาณิชย์ ประกอบกับมีผู้ยื่นเรื่องราวต่อคณะกรรมการ ป . ป . ช . โดยให้มีการทบทวนเปรียบเทียบราคาตามสัญญากับสินค้าในประเภทเดียวกันจากแหล่งผลิตอื่นอีกครั้ง กับมีหนังสือถึงธนาคารกรุงไทย จํากัด ( มหาชน ) ขอให้ระงับการพิจารณาอนุมัติวงเงิน L/C เฉพาะคราวไปพลางก่อน ( ระงับครั้งที่ 2 ) ด้วย แต่ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 เมื่อจําเลยที่ 1 มีหนังสือตอบกรุงเทพมหานครว่าการจัดซื้อดังกล่าวเป็นการดําเนินการระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล เพื่อไม่ให้กระทบต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ควรดําเนินการเปิด L/C ตามเงื่อนไขใน A.O.U. ต่อไป ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 จําเลยที่ 6 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณารายละเอียดการจัดซื้อ รถดับเพลิงและอุปกรณ์ โดยมี นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานพิจารณาตรวจสอบรายละเอียดในการจัดซื้อและเจรจาต่อรองกับผู้ขาย จนกระทั่งวันที่ 7 มกราคม 2548 นายสามารถ รายงานจําเลยที่ 6 ถึงผลการเจรจาต่อรองสรุปผลสุดท้าย ได้ข้อยุติเป็นประโยชน์เพิ่มเติมแก่กรุงเทพมหานครแล้ว ในวันที่ 10 มกราคม 2548 จําเลยที่ 6 จึงมีหนังสือแจ้งธนาคารกรุงไทย จํากัด ( มหาชน ) เปิด L/C แก่จําเลยที่ 5 และมอบอํานาจให้ นายนิยม เป็นผู้ไปดําเนินการ ต่อมาจําเลยที่ 5 ทักท้วงความถูกต้องของ L/C ที่เปิดไปยังธนาคาร กรุงเทพมหานครจึงทําคําขอแก้ไข L/C กับธนาคารกรุงไทย จํากัด ( มหาชน ) และมีการแก้ไข L/C อีกครั้ง ในวันที่ 20 มกราคม 2548 ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ชําระเงินให้แก่จําเลยที่ 5 ตามข้อตกลงซื้อขายรถ และเรือดับเพลิง จํานวน 9 งวด รวมเป็นเงิน 6 , 244 , 914 , 502 . 53 บาท โจทก์มีมติว่าการกระทํา ของจําเลยทั้งหกและ นายสมัคร มีมูลความผิดทางอาญา ให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็น ไปยังอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดี แต่อัยการสูงสุดมีความเห็นว่าเรื่องที่ส่งไปยังมีข้อไม่สมบูรณ์ และมีหนังสือแจ้งโจทก์ทราบ ต่อมามีการตั้งคณะทํางานขึ้นเพื่อพิจารณาพยานหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์ แต่ปรากฏว่าคณะทํางานไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับการฟ้องคดีได้ โจทก์จึงยื่นฟ้องเองเป็นคดีนี้ ต่อมาวันที่ 10 กันยายน 2556 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองมีคําพิพากษาคดีนี้ นอกจากนี้ โจทก์มีคําวินิจฉัยว่า การลงนามในข้อตกลงความเข้าใจ A.O.U. ในคดีนี้ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ถือว่าเป็นการอนุมัติหรืออนุญาตให้สิทธิประโยชน์แก่บุคคลใดไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการ โจทก์จึงส่งเรื่องให้กรุงเทพมหานครดําเนินการเพื่อขอให้ศาลมีคําสั่ง หรือคําพิพากษาให้ยกเลิกหรือเพิกถอนสิทธิเกี่ยวกับการข้อตกลงซื้อขายรถและเรือดับเพลิง ตามมาตรา 99 ้ หนา 30 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2542 จากนั้น กรุงเทพมหานครส่งเรื่องขอให้สํานักงานอัยการสูงสุดยื่นฟ้องคดีต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลาง สํานักงานอัยการสูงสุดมีข้อสังเกตว่าจําเลยที่ 5 สามารถอ้างข้อสัญญาซื้อขาย ข้อ 13 ร้องขอต่อศาลให้นําข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการได้ ต่อมากรุงเทพมหานคร ได้ทําสัญญาจ้างบริษัท กลุ่มนักกฎหมายและที่ปรึกษา จํากัด เพื่อดําเนินคดีในชั้นอนุญาโตตุลาการ ณ ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ หอการค้านานาชาติ (ICC) กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เป็นคดีอนุญาโตตุลาการเลขที่ 16768/FM/MHM/EMMT (C-18930/MHM/EMT) ต่อมา คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ หอการค้านานาชาติ (ICC) มีคําชี้ขาดสิ้นสุด (The Final Award) ฉบับลงวันที่ 4 ธันวาคม 2547 ใจความสรุปว่า ให้ยกเลิกสัญญาซื้อขายรถดับเพลิง พร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ฉบับลงวันที่ 27 สิงหาคม 2547 กรรมสิทธิ์และความเสี่ยงทั้งหมด ในสินค้าดังกล่าวตกเป็นของกรุงเทพมหานคร มีผลเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557 ให้สไตเออร์ ( จําเลยที่ 5 ) ชําระเงินคืน 20 , 435 , 620 ยูโร ( 771 , 649 , 011 . 20 บาท ) แก่กรุงเทพมหานคร เป็นค่าส่วนต่างระหว่างมูลค่าทางตลาดที่ยุติธรรมกับเงินช่วยค่าซ่อมแซม ให้กรุงเทพมหานครจ่ายเงิน แก่จําเลยที่ 5 เป็นค่าใช้จ่ายทางคดี จํานวน 1 , 200 สวิสฟรังค์ ( 43 , 716 บาท ) จํานวน 1 , 955 . 95 ปอนด์สเตอริง ( 103 , 406 . 19 บาท ) ตามเอกสารหมาย จ . 527 และคําชี้ขาดบางส่วน ในส่วนที่ 4 อนุญาโตตุลาการยังให้กรุงเทพมหานครชําระเงิน จํานวน 2 , 105 , 472 . 40 เหรียญสหรัฐ ( 71 , 375 , 514 . 36 บาท ) ให้แก่จําเลยที่ 5 เป็นค่าชดใช้ค่าใช้จ่ายทางคดี และร่วมชําระค่าใช้จ่าย ของอนุญาโตตุลาการ ตามเอกสารหมาย จ . 531 กรุงเทพมหานครได้รับเงินคืนจากจําเลยที่ 5 เป็นค่าส่วนต่างระหว่างมูลค่าทางตลาดที่ยุติธรรมกับเงินช่วยค่าซ่อมแซม จํานวน 771 , 649 , 011 . 20 บาท ตามเอกสารหมาย จ . 538 สําหรับคดีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้ถอนฟ้องแล้ว ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยมีว่า จําเลยที่ 5 กระทําความผิดตามฟ้องหรือไม่ ในการวินิจฉัยปัญหานี้ เห็นสมควรวินิจฉัยก่อนว่า การดําเนินโครงการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงรวมทั้งอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยตามฟ้อง เป็นการดําเนินการในลักษณะรัฐต่อรัฐโดยสาธารณรัฐออสเตรียให้ความช่วยเหลือจัดหาแหล่งเงินทุนให้ และยอมรับพันธะการค้าต่างตอบแทนในสัดส่วนร้อยละ 100 จริงหรือไม่ พยานหลักฐานจากการไต่สวน ้ หนา 31 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ได้ความว่า ที่มาของโครงการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงรวมทั้งอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร ในคดีนี้เริ่มจากข้อเสนอของ ดร . เฮอเบิรท ทรักเซิล (Dr.Herbert Traxl) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรีย ประจําประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 4 มิถุนายน 2546 ที่มีถึง นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอโครงการขายรถดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย โดยให้ดําเนินการในลักษณะรัฐต่อรัฐ ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐออสเตรีย กับข้อเสนอ ให้ความช่วยเหลือจัดหาแหล่งเงินทุนให้โดยยอมรับพันธะการค้าต่างตอบแทนในสัดส่วนร้อยละ 100 พร้อมใบเสนอราคา (OFFER NO. 870 / 04 / 03 / 58 ) ของจําเลยที่ 5 สําหรับสินค้ารถและเรือดับเพลิง จํานวน 18 รายการ แยกเป็นรถดับเพลิงและรถอื่นที่ใช้ในการดับเพลิงรวม 315 คัน และเรือดับเพลิงอีก 15 ลํา อุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย อาคารฝึกอบรมและอุปกรณ์การฝึกอบรม เป็นเงินทั้งสิ้น 156 , 953 , 203 ยูโร ตามเอกสารหมาย จ . 35 หลังจากนั้น วันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 สํานักงานตํารวจแห่งชาติดําเนินการถ่ายโอนภารกิจป้องกันและระงับอัคคีภัยให้แก่กรุงเทพมหานคร ตามมติคณะรัฐมนตรี ต่อมากรุงเทพมหานครดําเนินการเสนอขอพัฒนาโครงการระบบบริหาร และเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของสํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยขอจัดซื้อรถดับเพลิง รวม 315 คัน กับเรือดับเพลิงอีก 30 ลํา พร้อมครุภัณฑ์อื่น ตลอดจนการก่อสร้างอาคารฝึกอบรม และอุปกรณ์การฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง โดยตัดรายการจัดซื้อครุภัณฑ์คงเหลือ 15 รายการ มูลค่า 133 , 749 , 780 ยูโร ซึ่งขณะที่มีการเสนอโครงการจัดซื้อดังกล่าวยังไม่ได้มีการสํารวจ ตรวจสอบว่ากรุงเทพมหานครมีความจําเป็นจะต้องใช้รถและเรือดับเพลิงรวมถึงอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย มากน้อยเพียงใด ทั้งการถ่ายโอนภารกิจการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ไปยังกรุงเทพมหานครตามมติคณะรัฐมนตรีนั้นก็เป็นการโอนวัสดุอุปกรณ์และยานพาหนะไปด้วย ประกอบกับกระทรวงการคลังและสํานักงบประมาณได้เสนอความเห็นให้กรุงเทพมหานครจําเป็นต้องฝึกฝน บุคลากรทดแทนให้เพียงพอ และเตรียมความพร้อมของอาคารสถานที่ให้เหมาะสมก่อน เพื่อป้องกันปัญหา มิให้รถดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว พฤติการณ์จึงบ่งชี้ว่า เป็นโครงการจัดซื้อที่จัดทําขึ้นตามจํานวนและราคาที่จําเลยที่ 5 ซึ่งเป็นฝ่ายผู้เสนอขาย โดยดําเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับใบเสนอราคา (OFFER NO. 870 / 04 / 03 / 58 ) ของจําเลยที่ 5 หาใช่เป็นความจําเป็น และความต้องการของกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นฝ่ายผู้ซื้ออย่างแท้จริง ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ้ หนา 32 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

โครงการจัดซื้อดังกล่าวเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2547 จากนั้น ได้มีการจัดทําข้อตกลงของความเข้าใจ หรือ A.O.U. (Agreement of Understanding - A.O.U.) และข้อตกลงซื้อขาย (Purchase/Sale Agreement) ขึ้นตามเอกสารหมาย จ . 36 และ จ . 63 ซึ่งแม้ A.O.U. จะลงนามโดย ดร . เฮอเบิรท ทรักเซิล (Dr.Herbert Traxl) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรียประจําประเทศไทย แต่ลําพัง A.O.U. เป็นเรื่องที่คู่กรณีมีความคาดหวังจะมีการปฏิบัติตามความเข้าใจร่วมกันนั้นต่อไปโดยยังมิได้มีผลผูกพัน เป็นสัญญา ส่วนข้อตกลงซื้อขายก็เป็นเพียงการซื้อขายระหว่างกรุงเทพมหานครกับจําเลยที่ 5 ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน โดยบุคคลที่ลงนามฝ่ายผู้ขายในสัญญาซื้อขายคือผู้แทนจําเลยที่ 5 หาใช่เป็นการลงนาม โดยตัวแทนผู้มีอํานาจของรัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรียโดยตรง ดังนั้น A.O.U. และข้อตกลงซื้อขาย ดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแสดงว่ารัฐบาลของสาธารณรัฐออสเตรียได้ยอมเข้าผูกพันเป็นคู่สัญญาด้วย และข้อนี้ รองศาสตราจารย์อัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์ ที่ปรึกษาด้านวิชาการของจําเลยที่ 2 เบิกความว่า ได้มีการนําทูตสาธารณรัฐออสเตรียมาเสนอราคา แต่ไม่แน่ว่ารัฐบาลของสาธารณรัฐออสเตรีย จะทราบเรื่องนี้หรือไม่เพราะกระบวนการของทูตค่อนข้างเร่งด่วนมาก ข้อเท็จจริงจึงเห็นได้ว่า เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรียประจําประเทศไทยและทูตพาณิชย์สาธารณรัฐออสเตรียเพียงแต่ทําหน้าที่ ช่วยประสานงานและจัดให้มีการเจรจาทําสัญญาซื้อขายกันเองต่อไปเท่านั้น นอกจากนี้ โดยปกติ A.O.U. คงเป็นเพียงกรอบของความตกลงตามหนังสือกระทรวงการต่างประเทศ เอกสารหมาย จ . 36 แต่เมื่อพิจารณา A.O.U. ดังกล่าวแล้วปรากฏว่าได้กําหนดพันธกรณีที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่ที่ต้องผูกพัน ในการทําการซื้อขายต่อกัน โดยระบุตัวคู่สัญญาที่จะทําข้อตกลงซื้อขายกันไว้เป็นการล่วงหน้า คือ รัฐบาลไทยโดยกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ต้องซื้อสินค้าจากจําเลยที่ 5 รวมถึงการกําหนดจํานวนเงินที่ต้องชําระในการซื้อขายตามที่จําเลยที่ 5 เคยเสนอราคา และรัฐบาลไทย ต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (L/C) ชนิดเพิกถอนไม่ได้ให้ผู้ขายเป็นเงิน 133 , 749 , 780 ยูโร ภายใน 30 วัน หลังจากการลงนามในสัญญาซื้อขาย จึงเห็นได้ว่า A.O.U. ดังกล่าวกําหนดขึ้น เพื่อจะผูกมัดการขายสินค้า คุณลักษณะสินค้า ผู้ขายสินค้า และเงื่อนไขต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ แก่จําเลยที่ 5 โดยตรง แสดงให้เห็นว่าเป็นการอาศัย A.O.U. ดังกล่าวเพื่อให้มีผลผูกมัดให้มีผู้เสนอ ราคารายเดียวคือ จําเลยที่ 5 สําหรับข้อเสนอว่า สาธารณรัฐออสเตรียเสนอให้ความช่วยเหลือ จัดหาแหล่งเงินทุนให้และยอมรับพันธะการค้าต่างตอบแทนในสัดส่วนร้อยละ 100 นั้น ก็ไม่ปรากฏอยู่ใน A.O.U. ้ หนา 33 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

อันจะแสดงว่าสาธารณรัฐออสเตรียได้รับรู้และเข้ามาผูกพันตามเงื่อนไขดังกล่าว ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า การซื้อขายตาม A.O.U. และข้อตกลงซื้อขายทั้งสองฉบับนั้น ฝ่ายผู้ขายคิดดอกเบี้ยจากคู่สัญญาฝ่ายไทยไว้แล้ว ล่วงหน้าในอัตราร้อยละ 3 . 5 ต่อปี สําหรับการผ่อนชําระรวม 9 งวด เป็นเงิน 10 , 472 , 004 . 20 ยูโร คิดเป็นเงินไทย 523 , 650 , 210 บาท โดยกรุงเทพมหานครมีภาระต้องชําระค่าสินค้าตามข้อตกลง แก่จําเลยที่ 5 จํานวน 133 , 749 , 780 ยูโร คิดเป็นเงินไทย 6 , 687 , 489 , 000 บาท ในสัดส่วน ที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลร้อยละ 60 และในส่วนเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครร้อยละ 40 จึงเห็นได้ชัดแจ้งว่าไม่มีแหล่งเงินทุนที่รัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรียจัดหาให้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า รัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรียมิได้ให้ความช่วยเหลือรัฐบาลไทยในส่วนของเงินทุนตามที่มีการกล่าวอ้าง แต่อย่างใด ส่วนข้อเสนอที่มีการอ้างว่าสาธารณรัฐออสเตรียจะรับพันธะการค้าต่างตอบแทนในสัดส่วนร้อยละ 100 นั้น หากเป็นข้อเสนอจากรัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรียจริง ย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าสาธารณรัฐออสเตรีย จะต้องซื้อสินค้าจากประเทศไทยเป็นการตอบแทนในสัดส่วนร้อยละ 100 แต่ข้อเท็จจริงได้ความจาก พันตํารวจโท มนตรี บุณยโยธิน พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ ยืนยันว่า การซื้อตอบแทน ตามข้อตกลงการค้าต่างตอบแทนที่จําเลยที่ 5 ทํากับกรมการค้าต่างประเทศมีลักษณะเป็นเพียงการซื้อบิล ( ใบกํากับสินค้า ) ที่บริษัท CPM ส่งออกตามปกติอยู่แล้วมาตัดยอดตามสัญญาเท่านั้น โดย นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล พยานโจทก์ซึ่งดํารงตําแหน่งรองกรรมการผู้จัดการบริษัท CPM เบิกความรับว่า บริษัท CPM ทําข้อตกลงว่าด้วยการบริการการซื้อต่างตอบแทนกับจําเลยที่ 5 โดยจําเลยที่ 5 จ่ายค่าตอบแทนให้แก่บริษัท CPM ในอัตราร้อยละ 2 . 2 ของมูลค่าสินค้า ตามสัญญาการซื้อตอบแทน บริษัท เป็นผู้หาลูกค้าเอง รัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรียและจําเลยที่ 5 ไม่เคยหาลูกค้าให้ สินค้าที่ส่งออกไปคือไก่ต้มสุก โดยไม่ได้ส่งออกไปประเทศสาธารณรัฐออสเตรีย แต่ส่งไปประเทศอื่นในแถบยุโรปและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งบริษัท CPM เคยส่งไปอยู่แล้ว รัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรีย จึงไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับทางบริษัท CPM ในการทําสัญญาซื้อตอบแทนนี้ แต่อย่างใด การส่งออกเป็นคําสั่งซื้อ จากลูกค้าเดิม แต่ได้มีการเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น ซึ่งตัวเลขส่งออกจะใช้ตัดยอดบัญชีตามสัญญา กับกรมการค้าต่างประเทศโดยใช้วันส่งออกเป็นเกณฑ์ ยอดที่ส่งออกที่นํามาตัดบัญชีไม่อาจแยกได้ว่าส่วนใด เป็นการส่งออกตามปกติ และส่วนใดเป็นผลที่เกิดจากการทําการค้าต่างตอบแทนตามสัญญา ดังนี้ แสดงให้เห็นว่า บริษัท CPM เพียงแต่ใช้มูลค่าสินค้าส่งออกตามปกติอยู่แล้วของตนมาตัดยอด ้ หนา 34 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ตามสัญญาการค้าต่างตอบแทน เอกสารหมาย จ . 74 เท่ากับว่ารัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรียหรือจําเลยที่ 5 ไม่ได้เข้ามามีส่วนในการดําเนินการซื้อสินค้าไทยโดยตรง และไม่ได้คํานึงว่าจะได้มีการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปกติ หรือลดการขาดดุลการค้าจากการซื้อสินค้าในคดีนี้ จําเลยที่ 5 เองก็เคยมีหนังสือถึงจําเลยที่ 6 แจ้งว่า ข้อตกลงของความเข้าใจ A.O.U. และข้อตกลงซื้อขาย ไม่มีพันธะกรณีในการซื้อตอบแทน แต่อย่างใด ตามเอกสาร แฟ้มที่ 10 หน้า 14 , 781 ถึง 14 , 782 ส่วนข้อที่ทางไต่สวนได้ความว่า การค้าต่างตอบแทนได้ดําเนินการตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ การดําเนินการการค้าต่างตอบแทน พ . ศ . 2547 ซึ่งตามประกาศฉบับดังกล่าว ข้อ 7 เปิดช่องให้ จําเลยที่ 5 สามารถมอบหมายบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือหรือบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ดําเนินการแทนเกี่ยวกับการค้าต่างตอบแทนทั้งหมดหรือบางส่วนได้ โดยกรณีที่ผู้ขายไม่สามารถซื้อสินค้า จากประเทศไทยได้ ผู้ขายสามารถมอบหมายให้บริษัทการค้าระหว่างประเทศอื่นดําเนินการซื้อสินค้าแทนก็ได้นั้น หากรัฐบาลสาธารณรัฐออสเตรียตกลงรับพันธะการค้าต่างตอบแทนจริง กรณีก็ไม่น่าจะดําเนินการ โดยใช้วิธีการซื้อบิลของบริษัท CPM ที่ส่งออกตามปกติอยู่แล้วมาตัดยอดตามสัญญา เพราะเป็นการเห็นได้ชัดแจ้งว่า ไม่สอดคล้องกับหลักการของการค้าต่างตอบแทนที่แท้จริง โดยเฉพาะวิธีการซื้อบิลของบริษัทที่ส่งออกอยู่แล้ว มาตัดยอดนั้น ลําพังจําเลยที่ 5 สามารถดําเนินการได้เอง เพราะจําเลยที่ 5 เพียงแต่เสียค่าธรรมเนียมบริการ เป็นค่าจ้างให้แก่บริษัท CPM เท่านั้น กรณีจึงอยู่ในวิสัยที่จําเลยที่ 5 จะแอบอ้างดําเนินการไป โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐออสเตรียไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยได้ ดังนั้น ข้ออ้างเรื่อง การค้าต่างตอบแทน จึงรับฟังได้เพียงว่าเป็นการหาเหตุอ้างเพื่อให้เข้าใจว่าเป็นการดําเนินการในลักษณะรัฐต่อรัฐ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการจัดซื้อ รวมทั้งมีการนําไปใช้อ้างว่าราคาซื้อขาย ในกรณีนี้มีเงื่อนไขการค้าต่างตอบแทนด้วยจึงไม่อาจนําไปเปรียบเทียบราคากับผู้ขายรายอื่นได้ พยานหลักฐานตามการไต่สวนจึงมีน้ําหนักและเหตุผลรับฟังได้ว่า การดําเนินโครงการจัดซื้อรถ และเรือดับเพลิงรวมทั้งอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยตามฟ้อง ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการดําเนินการ ในลักษณะรัฐต่อรัฐที่สาธารณรัฐออสเตรียให้ความช่วยเหลือจัดหาแหล่งเงินทุนให้และยอมรับ พันธะการค้าต่างตอบแทนในสัดส่วนร้อยละ 100 ตามที่มีการพยายามกล่าวอ้าง ปัญหาต่อไปว่า จําเลยที่ 5 เสนอขายสินค้ารถและเรือพร้อมอุปกรณ์ดับเพลิงในราคาที่สูง เกินความเป็นจริงหรือไม่ ในข้อนี้ได้ความจาก พันตํารวจโท มนตรี บุณยโยธิน พยานโจทก์เบิกความว่า ้ หนา 35 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

สินค้ารถและเรือดับเพลิงที่มีคุณลักษณะของสินค้าใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่กรุงเทพมหานครจัดซื้อ มีผู้ผลิตและจําหน่ายในประเทศหลายราย จึงสามารถสอบราคาหรือเปรียบเทียบราคาจากผู้ผลิต หรือผู้จําหน่ายรายอื่นได้ ซึ่งจากการเปรียบเทียบราคาในการจัดซื้อรถดับเพลิงของกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยกับการจัดซื้อของกรุงเทพมหานครในคดีนี้ ตามเอกสารหมาย จ . 94 หน้า 1524 ถึง 1534 พบว่าการจัดซื้อในโครงการนี้มีราคาสูงกว่าสินค้าชนิดเดียวกันที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดซื้อเป็นอย่างมาก กล่าวคือ รายการที่ 1 รถดับเพลิงมีราคาต่างกันคันละ 2 , 154 , 050 บาท รายการที่ 2 โครงประธานและเครื่องยนต์แพงกว่าราคาคันละ 17 , 143 , 200 บาท รถดับเพลิงเคมี คือ รถฉีดโฟมที่กรุงเทพมหานครซื้อในราคาคันละ 72 ล้านบาท นั้นต่างประเทศราคาประมาณ 15 ล้านบาท นอกจากนั้น จากการเปรียบเทียบกับกรมตํารวจก็ปรากฏว่า กรุงเทพมหานครจัดซื้อรถดับเพลิง พร้อมบันไดแพงกว่าถึงร้อยละ 60 . 6 รถดับเพลิงบรรทุกน้ําแพงกว่าถึงร้อยละ 130 . 7 เรือดับเพลิง แพงกว่าถึงร้อยละ 36 และเรือดับเพลิง จําเลยที่ 5 ได้ประโยชน์เป็นเงินลําละ 11 , 162 , 100 บาท รวม 30 ลํา เป็นเงิน 334 , 523 , 000 บาท ตามเอกสารหมาย จ . 94 นอกจากนั้น ยังปรากฏว่า เมื่อเปรียบเทียบราคาสินค้าตามเอกสารเสนอราคา (Commercial Proposal) ของบริษัท ITURRI S.A. ที่เสนอผ่านสถานเอกอัครราชทูตสเปนประจําประเทศไทยมายังจําเลยที่ 6 เอกสารหมาย จ . 191 แล้ว สินค้ามีคุณลักษณะเฉพาะเช่นเดียวกันกับสินค้าที่จัดซื้อในโครงการนี้ และมีเงื่อนไขปลอดการชําระ 24 เดือน รวมทั้งการผ่อนชําระเป็นเวลา 5 ปี โดยยอมรับเงื่อนไขการซื้อตอบแทนเช่นเดียวกัน ราคาสินค้า ที่จัดซื้อจากจําเลยที่ 5 สูงกว่าทั้ง 15 รายการ คิดเป็นเงิน 1 , 869 , 235 , 950 บาท ตามตาราง เปรียบเทียบราคา เอกสารหมาย จ . 191 ยิ่งกว่านั้น จากการประเมินต้นทุนของสินค้าที่จัดซื้อ ในโครงการแล้ว ผลประโยชน์ที่จําเลยที่ 5 ได้รับเป็นเงิน 2 , 192 . 2 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ผ ล ป ร ะ โ ย ช น์ ต่ อ ต้ น ทุ น สู ง ถึ ง ร้ อ ย ล ะ 4 8 . 7 7 ซึ่ ง ต่ อ มำ ก ร ะ บ ว น กำ ร ร ะ งั บ ข้ อ พิ พำ ท โดยทางอนุญาโตตุลาการก็ได้มีคําชี้ขาดกําหนดจํานวนมูลค่ายุติธรรมของอุปกรณ์ที่จําเลยที่ 5 ส่งมอบให้ประเทศไทยในปี 2549 และ 2550 ซึ่งจะนําไปใช้คํานวณจํานวนเงินที่จําเลยที่ 5 จะต้องคืนให้แก่กรุงเทพมหานคร คือ ส่วนต่างระหว่าง 114 , 842 , 160 ยูโร และมูลค่าราคาซื้อขายเดิม 133 , 749 , 780 ยูโร ทําให้เกิดจํานวนที่จะต้องชําระให้กรุงเทพมหานครเป็นเงิน 20 , 435 , 620 ยูโร ( 771 , 649 , 011 . 20 บาท ) คําชี้ขาดดังกล่าวถือเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าจําเลยที่ 5 ้ หนา 36 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ได้เสนอราคาเป็นจํานวนที่สูงเกินกว่ามาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมไปมากเกินกว่าร้อยละ 15 ประกอบกับจําเลยที่ 5 มิได้เข้ามาต่อสู้คดีเพื่ออ้างพยานหลักฐานให้เห็นเป็นอย่างอื่น พยานหลักฐาน ที่ได้ความจากการไต่สวนจึงมีน้ําหนักรับฟังได้ว่า ราคารถและเรือพร้อมอุปกรณ์การดับเพลิง ที่กรุงเทพมหานครจัดซื้อจากจําเลยที่ 5 มีราคาสูงเกินความเป็นจริง ซึ่งการเสนอราคาดังกล่าว เป็นไปตามความประสงค์ของจําเลยที่ 5 ตามใบเสนอราคา (OFFER NO. 870 / 04 / 03 / 58 ) เอกสารหมาย จ . 5 ที่เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรียประจําประเทศไทยเสนอต่อ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ในครั้งแรก จําเลยที่ 5 เป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าประเภทนี้มานาน ทั้งจําเลยที่ 5 ได้ยินยอม ให้คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ หอการค้านานาชาติ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส มีคําชี้ขาดสิ้นสุด เพื่อกําหนดมูลค่ายุติธรรมของสินค้าที่ขายในคดีนี้และให้จําเลยที่ 5 ชําระเงินส่วนต่างคืนแก่กรุงเทพมหานคร แสดงว่าจําเลยที่ 5 รู้อยู่แล้วว่าได้เสนอขายสินค้ารถและเรือพร้อมอุปกรณ์ดับเพลิงในราคาที่สูง เกินความเป็นจริง ปัญหาต่อไปว่า จําเลยที่ 5 กระทําความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า จําเลยที่ 5 ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อรถและเรือพร้อมอุปกรณ์ดับเพลิงตั้งแต่แรก โดยจําเลยที่ 5 ได้ยื่นใบเสนอราคาที่ระบุรายการและจํานวนสินค้าจนนําไปสู่การแอบอ้างข้อเสนอให้ใช้วิธีดําเนินการ ในลักษณะรัฐต่อรัฐ ซึ่งมีการดําเนินการต่อมาตามลําดับจนมีการลงนามใน A.O.U. โดยเฉพาะเนื้อหา A.O.U. มีลักษณะเป็นการผูกมัดการขายสินค้า คุณลักษณะสินค้า ผู้ขายสินค้า และเงื่อนไขต่าง ๆ ตามใบเสนอราคา ของจําเลยที่ 5 อีกทั้งยังปรากฏว่า A.O.U. ได้กําหนดตัวคู่สัญญาล่วงหน้าเป็นจําเลยที่ 5 อันเป็นประโยชน์ แก่จําเลยที่ 5 โดยตรง ซึ่งผิดปกติของกรอบความตกลงเบื้องต้น ต่อมาได้มีการอาศัยอ้าง A.O.U. ไปใช้ในขั้นตอนดําเนินการต่าง ๆ เพื่อให้มีผลผูกมัดให้ต้องจัดซื้อสินค้าจากจําเลยที่ 5 โดยอ้างว่า จําเป็นต้องใช้การจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ไม่อาจใช้การประกวดราคาให้ผู้ขายรายอื่นเข้าเสนอราคาได้ จึงมีการยกเว้นการปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุ พ . ศ . 2538 อันเป็นผลให้ มีผู้เสนอราคารายเดียวคือจําเลยที่ 5 เท่านั้น ดังเช่นที่ นายปราโมทย์ นาคีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทพยนต์ แอโรโมทีฟ อินดัสตรีส์ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ทําหน้าที่ดูแลการซ่อมบํารุงรักษาสินค้า ของจําเลยที่ 5 เบิกความกล่าวอ้างว่า จําเลยที่ 5 ไม่ได้แข่งขันราคากับบริษัทอื่นเพราะการจัดซื้อ รถดับเพลิงของกรุงเทพมหานครมีเงื่อนไขว่าเป็นการดําเนินการระหว่างรัฐต่อรัฐ แต่พยานหลักฐานตามการไต่สวน ้ หนา 37 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ได้ความว่า ความจริงแล้วการดําเนินโครงการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงรวมทั้งอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการดําเนินการในลักษณะรัฐต่อรัฐที่สาธารณรัฐออสเตรียให้ความช่วยเหลือจัดหาแหล่งเงินทุนให้ และยอมรับพันธะการค้าต่างตอบแทนในสัดส่วนร้อยละ 100 ตามที่มีการพยายามกล่าวอ้าง อีกทั้งรถเรือดับเพลิงที่จัดซื้อในคดีนี้ก็ไม่ปรากฏว่า มีคุณลักษณะและประสิทธิภาพที่เหมาะแก่การใช้สอย ที่แตกต่างไปจากแหล่งผลิตอื่น จึงไม่ใช่สินค้าพิเศษที่จะต้องจัดซื้อจากจําเลยที่ 5 แต่เพียงรายเดียว ทั้งก็ไม่ใช่สินค้าพัสดุที่จะต้องจัดซื้อจากต่างประเทศอันจะเป็นเหตุให้ต้องจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ แต่อย่างใด แต่สามารถจัดซื้อได้ด้วยวิธีการปกติตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุได้ เมื่อจําเลยที่ 5 รู้อยู่แล้วว่า ราคาเสนอขายสินค้ารถและเรือพร้อมอุปกรณ์ดับเพลิงนั้นสูงเกินความเป็นจริง ซึ่งหากปล่อยให้มี การแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมโดยวิธีการประกวดราคา หรือมีการสอบราคาหรือหาราคาเปรียบเทียบ ตามขั้นตอนการจัดซื้อตามวิธีการปกติ ก็ย่อมเป็นไปได้ยากที่จําเลยที่ 5 จะสามารถทําสัญญาขายสินค้า แก่กรุงเทพมหานครในราคาสูงเกินจริง เช่นนั้นจนสําเร็จได้ ข้อนี้จึงเป็นมูลเหตุนําไปสู่การวางแผน ดําเนินโครงการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงรวมทั้งอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยโดยแอบอ้างว่า เป็นดําเนินการในลักษณะรัฐต่อรัฐโดยสาธารณรัฐออสเตรียให้ความช่วยเหลือจัดหาแหล่งเงินทุนให้ และยอมรับพันธะการค้าต่างตอบแทนในสัดส่วนร้อยละ 100 ทั้งที่ไม่มีอยู่จริง ประกอบกับจําเลยที่ 5 ยังได้มอบให้ นายมาริโอ มีนาร์ เป็นผู้แทนจําเลยที่ 5 ลงนามในสัญญาการซื้อตอบแทน กับกรมการค้าต่างประเทศ ตามเอกสารหมาย จ . 63 โดยมีเพียง นายทอร์สเทน ไอซิงเกริช อุปทูต รักษาการแทนฯ สถานเอกอัครราชทูตออสเตรีย กรุงเทพฯ ร่วมลงชื่อในฐานะพยาน ซึ่งไม่ปรากฏว่า ได้รับมอบอํานาจจากสาธารณรัฐออสเตรียในการรับรู้ข้อตกลงฉบับนี้ และต่อมาจําเลยที่ 5 ใช้วิธีการซื้อบิลที่บริษัทในประเทศไทยส่งออกตามปกติอยู่แล้วมาตัดยอดตามสัญญา โดยรัฐบาล ของสาธารณรัฐออสเตรียมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับดําเนินการตามหลักการค้าต่างตอบแทนอย่างแท้จริง พฤติการณ์จึงแสดงให้เห็นว่าจําเลยที่ 5 ได้เข้ามาเกี่ยวข้องการกระบวนการจัดซื้อในส่วนสาระสําคัญ ในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การยื่นเสนอราคา การจัดทํา A.O.U. การทําสัญญาซื้อขาย ตลอดจน การค้าต่างตอบแทน โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐออสเตรียมิได้เข้ามาผูกพันเป็นคู่สัญญาด้วย นอกจากนั้น หากจําเลยที่ 5 มิได้คบคิดวางแผนกับจําเลยที่ 2 และที่ 4 มาก่อน ย่อมไม่มีทางที่จําเลยที่ 2 และที่ 4 จะได้รับผลประโยชน์อันใดจากการดําเนินการซับซ้อนหลายขั้นตอนจนสําเร็จตามความประสงค์ ้ หนา 38 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ของจําเลยที่ 5 ในขณะที่จําเลยที่ 2 และที่ 4 ต้องเสี่ยงต่อความรับผิดทางอาญาในข้อหาร้ายแรงเช่นนี้ พยานหลักฐานจากการไต่สวนรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า การจัดซื้อที่เกิดขึ้นเป็นการตกลงร่วมกัน ระหว่างจําเลยที่ 2 และที่ 4 มาแต่แรกที่จะซื้อสินค้าดังกล่าวจากจําเลยที่ 5 โดยมีพฤติการณ์ เป็นการแบ่งหน้าที่กันทําคือ ร่วมกันเสนอโครงการ และใช้ A.O.U. เป็นตัวกําหนดราคาสินค้า และผู้ขายไว้ล่วงหน้า จากนั้น ได้อ้าง A.O.U. นําไปสู่การลงนามในสัญญาซื้อขายโดยไม่มีการแข่งขันราคากัน อย่างเป็นธรรม อันสมประโยชน์ตามเป้าหมายที่จําเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 วางไว้ ส่วนข้อเสนอ ให้ดําเนินการในลักษณะรัฐต่อรัฐและรับพันธะการค้าต่างตอบแทนนั้น เป็นเพียงข้ออ้างและวิธีการดําเนินการ เพื่อเอื้ออํานวยให้จําเลยที่ 5 สามารถเข้าเป็นผู้มีสิทธิเข้าทําสัญญากับกรุงเทพมหานครได้แต่เพียงรายเดียว อันเป็นการปิดโอกาสผู้ประกอบการรายอื่น อาทิเช่น บริษัท ITURRI S.A. ที่เสนอราคา ผ่านสถานเอกอัครราชทูตสเปนประจําประเทศไทยมายังจําเลยที่ 6 ตามเอกสารหมาย จ . 191 เมื่อการกระทําของจําเลยที่ 2 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 13 ประกอบมาตรา 12 ส่วนการกระทําของจําเลยที่ 4 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคา ต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 12 ตามคําพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมืองฉบับลงวันที่ 10 กันยายน 2556 ดังนี้ จําเลยที่ 5 ซึ่งเป็นเอกชนที่ร่วมกระทําความผิดด้วย จึงต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทําความผิดของเจ้าพนักงานดังกล่าว แต่สําหรับความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 11 ศาลยกฟ้องโจทก์สําหรับจําเลยที่ 2 และที่ 4 ในข้อหาดังกล่าวไปแล้ว จําเลยที่ 5 จึงไม่อาจเป็นผู้สนับสนุน ในความผิดฐานดังกล่าวได้ แม้จําเลยที่ 5 จะได้ส่งมอบสินค้าตามสัญญาซื้อขาย และ นางสาวขนิษฐา นิลรัตน์ พยานโจทก์เบิกความว่า กรุงเทพมหานครได้ดําเนินคดีในชั้นอนุญาโตตุลาการ ณ ศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศ หอการค้านานาชาติ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เป็นคดีอนุญาโตตุลาการเลขที่ 16768/FM/MHM/EMMT (C-18930/MHM/EMT) ต่อมาคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ หอการค้านานาชาติ (ICC) มีคําวินิจฉัยสิ้นสุด (The Final Award) ฉบับลงวันที่ 4 ธันวาคม 2547 ใจความสรุปว่า ให้ยกเลิกสัญญาซื้อขายรถดับเพลิงพร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ฉบับลงวันที่ ้ หนา 39 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

27 สิงหาคม 2547 กรรมสิทธิ์และความเสี่ยงทั้งหมดในสินค้าดังกล่าวตกเป็นของกรุงเทพมหานคร มีผลเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557 ให้สไตเออร์ ( จําเลยที่ 5 ) จะชําระเงินคืน 20 , 435 , 620 ยูโร ( 771 , 649 , 011 . 20 บาท ) ซึ่งเป็นการชี้ขาดประเด็นข้อพิพาททางแพ่งที่คู่กรณีตกลงกันไม่ได้ เกี่ยวกับราคาที่เป็นธรรมของอุปกรณ์การดับเพลิงที่ส่งมอบตามสัญญาซื้อขายปี 2547 ตามเอกสารหมาย จ . 527 โดยกรุงเทพมหานครได้รับเงินจากจําเลยที่ 5 เป็นค่าส่วนต่างระหว่างมูลค่าทางตลาดที่ยุติธรรม กับเงินช่วยค่าซ่อมแซม จํานวน 771 , 649 , 011 . 20 บาท ครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่เมื่อการเข้าทําสัญญา ของจําเลยที่ 5 ได้เกิดจากการกระทําของจําเลยที่ 5 กับพวกที่มุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคา อย่างเป็นธรรม เช่นนี้ แม้จะมีการส่งมอบสินค้าและชําระเงินส่วนต่างตามคําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไปแล้ว ก็คงมีผลเป็นเพียงการระงับข้อพิพาททางแพ่งเท่านั้น แต่ไม่อาจลบล้างความผิดทางอาญาของจําเลยที่ 5 กับพวกซึ่งเกิดขึ้นแล้วในขั้นตอนก่อนและขณะเสนอราคาได้ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องและมีคําขอให้ลงโทษจําเลยที่ 5 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด เกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 7 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 นั้น องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมาก เห็นว่า คําฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว และพยานหลักฐานที่ได้ความจากการไต่สวน รับฟังได้ว่า จําเลยที่ 5 ใช้วิธีการอ้าง A.O.U. เป็นตัวกําหนดราคาสินค้าและผู้ขายไว้ล่วงหน้า จนนําไปสู่การลงนามในสัญญาซื้อขายกับจําเลยที่ 5 โดยไม่มีการแข่งขันราคากันอย่างเป็นธรรม อันถือได้ว่าเป็นการใช้อุบายหลอกลวงหรือกระทําการโดยวิธีอื่นใดเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาส เข้าทําการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม การกระทําของจําเลยที่ 5 จึงเป็นความผิดพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 7 อีกด้วย ซึ่งความผิดฐานนี้ ผู้กระทําความผิดไม่จําต้องเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐหรือผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง จึงย่อมลงโทษจําเลยที่ 5 ในฐานะตัวการในความผิดฐานดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เมื่อการกระทําความผิดของจําเลยที่ 5 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 12 , มาตรา 13 ประกอบมาตรา 12 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 7 ้ หนา 40 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เป็นการกระทําที่เกี่ยวเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียว คือ เพื่อให้จําเลยที่ 5 เข้าเป็นผู้มีสิทธิเข้าทําสัญญากับกรุงเทพมหานครได้แต่เพียงรายเดียว โดยไม่มี การแข่งขันราคากันอย่างเป็นธรรม จึงเป็นการกระทํากรรมเดียวกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ซึ่งต้องลงโทษบทหนัก ส่วนปัญหาว่า บทบัญญัติมาตราใดเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดสําหรับจําเลยที่ 5 นั้น องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมาก เห็นว่า การพิจารณาว่ากฎหมายใดมีโทษหนักกว่ากัน ต้องถือตามลําดับที่วางไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 เมื่อความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน การกระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด เกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 12 มาตรา 13 ประกอบมาตรา 12 ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดดังกล่าว ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ซึ่งในส่วนโทษจําคุกนั้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มีระวางโทษจําคุก ตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 13 มีระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 7 ปี ถึง 20 ปี หรือจําคุกตลอดชีวิต ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 12 มีระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 7 มีระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี ดังนี้ โทษจําคุกตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด เกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 13 ประกอบมาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 จึงเป็นบทกฎหมายที่มีโทษจําคุกหนักที่สุด และเมื่อใช้บทบัญญัติที่มีโทษหนักแล้ว ก็ใช้บทดังกล่าวเป็นบทลงโทษแต่บทเดียว ดังนั้น แม้จําเลยที่ 5 จะเป็นนิติบุคคล แต่ก็ไม่จําต้องพิจารณาในส่วนโทษปรับของแต่ละฐานความผิดอีก แต่อย่างใด พิพากษาว่า จําเลยที่ 5 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 12 , 13 ประกอบมาตรา 12 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 7 ้ หนา 41 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทําของจําเลยที่ 5 เป็นการกระทํากรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ . ศ . 2542 มาตรา 13 ประกอบมาตรา 12 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ลงโทษปรับ 266 , 666 บาท ไม่ชําระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ข้อหาอื่นให้ยก . นายอธิคม อินทุภูติ นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ นายโสภณ โรจน์อนนท์ นางสาวบุญมี ฐิตะศิริ นายประทีป ดุลพินิจธรรมา นายนพพร โพธิรังสิยากร นายอดิศักดิ์ ปัตรวลี นายอนันต์ วงษ์ประภารัตน์ นางวาสนา หงส์เจริญ ้ หนา 42 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565