Sun Nov 13 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

กฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2565) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485


กฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2565) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485

กฎ กระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2565) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุม การแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 พุทธศักราช 2486 และมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออก กฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตาม ความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 2 ในกฎกระทรวงนี้ “ ปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ ” หมายความว่า เงินตราต่างประเทศและเล็ตเตอร์ออฟเครดิต “ เล็ตเตอร์ออฟเครดิต ” ให้หมายความรวมถึง เอกสารหรือคาสั่งรับรองว่าจะจ่ายเงินหรือ ชาระเงิน ( authority to purchase ) และคาสั่งหรือเอกสารที่มีลักษณะทานองเดียวกัน เฉพาะที่ พึงจ่ายในต่างประเทศ “ ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ ” หมายความว่า การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อ ขาย ฝาก ถอน แลกเปลี่ยน โอน ให้กู้ยืม ให้บริการหรือปฏิบัติกิจการใด ๆ เกี่ยวกับปัจจัยชาระเงิน ต่างประเทศ “ นิติบุคคลรับอนุญาต ” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และบริษัทเงินทุน ที่ได้รับอนุญาตให้ปร ะกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ “ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ” หมายความว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วย ธุรกิจสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ ้ หนา 1 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

“ สาขา ” หมายความว่า สถานที่ทำการหรือจุดให้บริการที่ แน่นอนของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ ปัจจัยชำระเงินต่างประเทศซึ่งแยกออกจากสำนักงานใหญ่ “ ช่องทางให้บริการ ” หมายความว่า ช่องทางให้บริการเพิ่มเติมนอกจากสานักงานใหญ่ และสาขา ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศใช้เพื่อให้บริการหรือติดต่อกับลูก ค้า ตามที่เจ้าพนักงานกำหนด และให้หมายความรวมถึงการให้บริการโดยตัวแทนหรือตัวแทนช่วง ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อให้ดาเนินการแทนผู้ประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศด้วย “ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ” หมายความว่า บุคคลซึ่งถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ ปัจจัยชาระเงินต่างประเทศเกินกว่าจานวนหุ้นที่เจ้าพนักงานประกาศกาหนดสาหรับธุรกิจแต่ละประเภท และให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย “ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์กั บอีกบุคคลหนึ่งในลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นคู่สมรส (2) เป็นบุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (3) เป็นตัวการหรือตัวแทน ” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตาม ความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 3 ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ เว้นแต่ จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือได้รับการขึ้นทะเบียนจากเจ้าพนักงาน แล้วแต่กรณี การกาหนดประเภท ขอบเขต หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการประกอ บธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัย ชาระเงินต่างประเทศแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ทั้งนี้ จะกาหนดให้มีอายุ ของใบอนุญาตแต่ละประเภทด้วยก็ได้ การกาหนดขอบเขตหรือหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงิน ต่างประเทศตามวรรคสอง รัฐมนตรีอำจมอบหมายให้เจ้าพนักงานเป็นผู้ประกาศกำหนดได้ตามความจาเป็น และเหมาะสม ” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 ข้อ 3/2 ข้อ 3/3 และข้อ 3/4 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 “ ข้อ 3/1 บุคคลใดประสงค์จะประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศ ให้ยื่น คำขออนุญาตต่อรัฐมนตรีหรือยื่นคำขอขึ้นทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน แล้วแต่กรณี ผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย การขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามวรรคหนึ่ ง ให้ใช้กับการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศที่เป็นการนำนวัตกรรมใหม่มาใช้ ้ หนา 2 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

โดยผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากเจ้าพนักงานเพื่อทดสอบการประกอบธุรกิจก่อน เป็นการชั่วคราว และเมื่อผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดแล้ว ให้เสน อรัฐมนตรีพิจารณา ออกใบอนุญาตต่อไป ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ให้มีขอบเขตการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามประเภทการประกอบธุรกิจที่ได้รับ อนุญาตหรือขึ้นทะเบียน เว้นแต่กรณีมีเหตุจาเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน คุ้มครองอัตรา แลกเปลี่ยน หรือเหตุจาเป็นอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลกิจการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน เงินหรือการอื่นใดซึ่งมีเงินตราต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง รัฐมนตรีหรือเจ้าพนักงาน แล้วแต่กรณี อาจมีคำสั่งแก้ไขขอบเขตในการประกอบธุรกิจเป็นรายกรณีหรือกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไข ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศให้ผู้นั้นปฏิบัติด้วยก็ได้ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต และการขอขึ้นทะเบียนและการขึ้นทะเบียน ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ข้อ 3/2 ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศ หากประสงค์ จะนำนวัตกรรมใหม่มาใช้กับการประกอบธุรกิจภายใต้ขอบเขตที่ได้รับตามใบอนุญาตเดิม ให้แจ้ง ความประสงค์ต่อเจ้าพนักงานเพื่อทดสอบการประ กอบธุรกิจตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ เจ้าพนักงานกำหนด ข้อ 3/3 ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศแต่ละประเภท ให้ใช้ได้กับสาขาและช่องทางให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตนั้นด้วย เว้นแต่รัฐมนตรีจะกาหนดไว้ เป็นอย่างอื่น การขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศให้ใช้ได้เฉพาะกับ สำนักงานใหญ่ สาขา หรือช่องทางให้บริการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเท่านั้น ข้อ 3/4 ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ สาขา และช่องทางให้บริการ รวมทั้งจัดส่งรายงานการทำธุรกรรม ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานประกาศกาหนด ” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตาม ความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 4 การได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศ ไม่ถือว่าเป็นการได้รับอนุญาตให้กระทำการตามข้อ 7 ทวิ ข้อ 8 และข้อ 9 ” ้ หนา 3 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 และข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 5 ให้รัฐมนตรีหรือเจ้าพนักงาน แล้วแต่กรณี มีอานาจเพิกถอนการอนุญาตหรือการขึ้น ทะเบียน เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียน หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน หรือมีการปฏิบัติการอันเป็นภัยต่อระบบการแลกเปลี่ยนเงิน หรือเป็นภัย ต่อสาธารณชนในทางเศรษฐกิจ ข้อ 6 ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงิ นต่างประเทศต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) เคยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือเป็นบุคคลล้มละลาย (2) เคยต้องคาพิพากษาหรือคาสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือเคยต้อง คำ พิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบป รามการฟอกเงิน หรือเคยเป็นบุคคลซึ่งถูกกาหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทาอันเป็นการก่อการร้ายหรือการแพร่ขยายอาวุธ ที่มีอานุภาพทาลายล้างสูง หรือต้องคาพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทาความผิดฐานสนับสนุนทางการเงิน แก่การก่อการร้ายหรือการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทาลายล้างสู ง ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพ ทำลายล้างสูง (3) เคยถูกเพิกถอนการอนุญาตหรือการขึ้นทะเบียนประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงิน ต่างประเทศ ” ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 และข้อ 6/2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 “ ข้อ 6/1 ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศแต่งตั้งหรือยอมให้ บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นหรือทาหน้าที่ก รรมการหรือผู้ซึ่งมีอำนาจในการจัดการของผู้ประกอบ ธุรกิจดังกล่าว (1) อยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย และยังไม่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่มีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายหรือปลดจากการล้มละลาย (2) เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ควำมสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (3) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก หรือรับของโจร ไม่ว่าจะมีการรอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม ้ หนา 4 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

(4) เคยต้องคาพิพากษาหรือคาสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือเคยต้อง คำ พิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือเคยเป็นบุคคลซึ่งถูกกาหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระ ทาอันเป็นการก่อการร้ายหรือการแพร่ขยายอาวุธ ที่มีอานุภาพทาลายล้างสูงหรือต้องคาพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทาความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่ การก่อการร้ายหรือการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทาลายล้างสูงตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการสนับสนุนทาง การเงินแก่การก่ อการร้ายแ ละ การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (5) เป็นกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงิน ต่างประเทศที่เคยถูกเพิกถอนการอนุญาตหรือการขึ้นทะเบียน และดารงตาแหน่งดังกล่าวอยู่ในขณะที่ เกิดเหตุแห่งการเพิกถอนนั้น (6) เคยเป็นผู้ต้องพ้นจากตาแหน่งกรรมการหรือผู้บริหารบริษัทมหาชนจากัดเพราะเหตุ มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการที่มีมหาชน เป็นผู้ถือหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (7) เคยได้รับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุกอันเนื่องมาจากการกระทาความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ข้อ 6/2 ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศยอมให้บุคคลซึ่งมี ลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (1) เคยต้อง คาพิพากษาหรือคาสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือเคยต้อง คำ พิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือเคยเป็นบุคคลซึ่งถูกกาหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทาอันเป็นการก่อการร้ายหรือการแพร่ขยายอาวุธ ที่มี อานุภาพทาลายล้างสูงหรือต้องคาพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทาความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่ การก่อการร้ายหรือการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทาลายล้างสูงตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้ำงสูง (2) เคยได้รับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุกอันเนื่องมาจากการกระทาความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ” ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตาม ความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธ ศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 7 ห้ามมิให้บุคคลใดทาการซื้อ ขาย ให้กู้ยืม แลกเปลี่ยน หรือโอนปัจจัยชาระเงิน ต่างประเทศ เว้นแต่เจ้าพนักงานจะมีคาสั่งยกเว้นเป็นอย่างอื่น ้ หนา 5 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศและ บุคคลซึ่งทาการซื้อ ขาย ให้กู้ยืม แลกเปลี่ยน หรือโอนปัจจัยชาระเงินต่างประเทศกับผู้ประกอ บธุรกิจ เกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ ” ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตาม ความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 16 บุคคลใดส่งของออกนอกประเทศต้องจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศเป็นค่าของ ภายในสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันส่งของออกนอกประเทศ เมื่อได้รับเงินตราต่างประเทศตามว รรคหนึ่งแล้วต้องนำเข้ามาในประเทศทันที และ ให้ดาเนินการดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา (1) ขาย ฝาก หรือใช้ทำธุรกรรมกับนิติบุคคลรับอนุญาตซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในประเทศ หรือ (2) ขาย หรือใช้ทาธุรกรรมกับผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกั บปัจจัยชาระเงินต่างประเทศซึ่งมี ที่ตั้งอยู่ในประเทศ การดาเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง รัฐมนตรีอาจมีคาสั่งยกเว้นเป็นการทั่วไป หรือ เมื่อมีเหตุจาเป็นที่ผู้ส่งของออกไม่สามารถดาเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้ เจ้าพนักงานอาจมี คาสั่งยกเว้นการดาเนินการเป็นรายกรณีก็ได้ โดยรัฐมนตรีหรือเจ้าพนักงาน แล้วแต่กรณี จะกาหนด เงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ในการฝากเงินตราต่างประเทศตาม (1) หรือการถอนเงินตราต่างประเทศดังกล่าว ผู้ส่งออก และนิติบุคคลรับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิ ธีการ และเงื่อนไขตามที่เจ้าพนักงานกำหนด ” ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตาม ความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพร ะราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 20 บุคคลใดได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศนอกจากที่กาหนดไว้ในข้อ 16 ต้องนำเข้ามา ในประเทศทันที และให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา (1) ขาย ฝาก หรือใช้ทำธุรกรรมกับนิติบุคคลรับอนุญาตซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในประเทศ หรือ (2) ขาย หรือใช้ทาธุรกรรมกับผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศซึ่งมีที่ตั้ง อยู่ในประเทศ ้ หนา 6 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ในกรณีที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งได้มาจากการทาธุร กรรม บุคคลที่ทาธุรกรรมดังกล่าว ต้องจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศนั้นภายในสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่ทาธุรกรรม และเมื่อได้รับ เงินตราต่างประเทศนั้นแล้วต้องถือปฏิบัติตามที่กาหนดไว้ในวรรคหนึ่ง การดาเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เจ้าพนักงานอาจมีคาสั่งยกเว้นเป็นอย่างอื่นและ จะกำหนดเงื่อนไขในการยกเว้นไว้ด้วยก็ได้ ในการฝากเงินตราต่างประเทศตาม (1) หรือการถอนเงินตราต่างประเทศดังกล่าว ผู้ได้มา ซึ่งเงินตราต่างประเทศและนิติบุคคลรับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตา มที่ เจ้าพนักงานกำหนด ” ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตาม ความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 25 เพื่อประโยชน์ในการควบคุม กากับดูแล และติดตามการดาเนินการที่มีเงินตรา ต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง รัฐมนตรีอาจออกคำสั่ง ดังต่อไปนี้ (1) ให้ผู้นำของเข้าหรื อผู้ส่งของออกแจ้งรายการตามแบบที่เจ้าพนักงานกาหนดเกี่ยวกับ ของ ที่นาเข้าหรือส่งออก ราคาของ วิธีชาระเงินค่าของ เงินตราต่างประเทศหรือเงินตราที่ใช้หรือจะใช้ชาระ ค่าของนั้น หรือข้อความอื่นใดต่อเจ้าพนักงานโดยผ่านทางพนักงานศุลกากรในขณะยื่นใบขนสินค้า ต่อพนักงานศุลกากร (2) ให้บุคคลซึ่งซื้อหรือขายปัจจัยชาระเงินต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศแจ้งรายการตามแบบที่เจ้าพนักงาน กาหนดเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศ รายละเอียดเกี่ยวกับกำรใช้หรือการได้มาซึ่งปัจจัยชาระเงิน ต่างประเทศ วัตถุประสงค์ในการซื้อปัจจัยชาระเงินต่างประเทศ หรือข้อความอื่นใดต่อเจ้าพนักงาน โดยผ่านทางธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงิน ต่างประเทศ ในขณะซื้อหรือขายปัจจัยชำร ะเงินต่างประเทศ (3) ให้บุคคลซึ่งฝากเงินตราต่างประเทศไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศตามข้อ 16 หรือข้อ 20 แจ้งรายการตามแบบ ที่เจ้าพนักงานกำหนดเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศที่ฝากหรือถอนจา กบัญชีเงินฝาก รายละเอียดเกี่ยวกับ การได้มาหรือถอนเงินตราต่างประเทศ วัตถุประสงค์ในการฝากหรือถอน หรือข้อความอื่นใดต่อ เจ้าพนักงานโดยผ่านทางธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัย ชำระเงินต่างประเทศ ในขณะฝากหรือถอนเงินตราต่างประเทศ ” ข้อ 12 ให้ยกเลิกข้อ 27 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความใน พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ้ หนา 7 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ข้อ 13 ให้ถือว่าคำขออนุญาตประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศที่ค้าง พิจารณาอ ยู่ในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ เป็นคาขออนุญาตประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงิน ต่างประเทศที่ยื่นไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงนี้ ข้อ 14 ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ได้รับใบอนุญาต สำหรับแต่ละสาขาอยู่ใน วันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ให้แจ้งจานวนและรายชื่อของใบอนุญาตทั้งหมดที่ได้รับ รวมถึงใบอนุญาตที่ประสงค์จะใช้ กับสานักงานใหญ่ต่อเจ้าพนักงานตามแบบที่เจ้าพนักงานประกาศกำหนด ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่ วันที่กฎกระทรวงนี้ใ ช้บังคับ (2) เมื่อได้รับการแจ้งรายละเอียดตาม (1) แล้ว ให้เจ้าพนักงานตรวจสอบและมีหนังสือ แจ้งผลการพิจารณาใบอนุญาตที่จะให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงิน ต่างประเทศตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบั ญญัติควบคุม การแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงนี้ และให้ใช้ใบอนุญาตนั้น กับทุกสาขาและช่องทางให้บริการจนกว่าใบอนุญาตดังกล่าวจะสิ้นอายุ และให้ใบอนุญาตที่ออกให้แต่ละ สาขาสิ้นผลทันทีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงาน ทั้งนี้ เจ้าพนักงานอาจกาหนดหลักเกณฑ์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศถือปฏิบัติเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรก็ได้ (3) ให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศส่งคืนใบอนุญาตซึ่งสิ้นผลแล้ว แก่เจ้าพนักงานภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ไ ด้รับหนังสือแจ้งผลดังกล่าว ในกรณีที่มีเหตุจาเป็นไม่สามารถ คืน ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่กาหนดหรือไม่อาจคืนใบอนุญาตได้ ให้เจ้าพนักงานมีอานาจดาเนินการตามที่ เห็นสมควร ข้อ 15 ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาตที่ออกให้แก่บุคคลธรรมดาและยังมี ผลใช้บังคับอยู่ ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ใช้บังคับได้ต่อไปอีกสามปีนับแต่วันที่ กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ รัฐมนตรีอาจขยายระยะเวลาดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร บรรดาประกาศ หนังสือเวียน คาสั่ง หรือข้อกาหนดที่ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจเป็นบุคคล รับอนุญาตซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะครบกาหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีเหตุจาเป็น เจ้าพนักงานจะกาหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจ เป็นบุคคลรับอนุญาตซึ่ง เป็นบุคคลธรรมดาต้องถือปฏิบัติในช่วงเวลาดังกล่าวด้วยก็ได้ เมื่อใบอนุญาตสิ้นผลตามระยะเวลาที่กาหนดในวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นบุคคล รับอนุญาตส่งคืนใบอนุญาตดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นผล ในกรณี ที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถคืน ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่กำหนดหรือไม่อาจคืนใบอนุญาตได้ ้ หนา 8 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

ให้เจ้าพนักงานมีอานาจดำเนินการตามที่เห็นสมควร และให้เจ้าพนักงานมีอำนาจสั่งให้บุคคลรับอนุญาต ต้องปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของลูกค้าด้วยก็ได้ ข้อ 16 ให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจ จัยชาระเงินต่างประเทศซึ่งมีกรรมการผู้ซึ่งมีอานาจ ในการจัดการหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามที่กาหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงนี้ ดาเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และให้แจ้งการแก้ไขดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ได้ดาเนินการ ทั้งนี้ เจ้าพนักงานอาจขยายระยะเวลาดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่ไม่สามารถดาเนินการแก้ ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาที่กาหนดตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีโดยคาแนะนาของเจ้าพนักงานมีคาสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัย ชาระเงินต่างประเทศ ในการนี้ ให้เจ้าพนักงานมีอานาจกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขใด ๆ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติ รวมถึงการปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของลูกค้า ด้วยก็ได้ ข้อ 17 บรรดาประกาศ หนังสือเวียน คาสั่ง หรือข้อกาหนดที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศและการจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างปร ะเทศ รวมถึง การดาเนินการกับเงินตราต่างประเทศที่ออกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตาม ความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขั ดหรือแย้งกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงนี้ จนกว่าจะมีประกาศ หนังสือเวียน คำสั่ง หรือข้อกาหนดที่ออกตาม กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ไว้ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ . 256 5 อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ้ หนา 9 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ การกากับดูแลการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชาระเงินต่างประเทศให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว รวมทั้ง รองรับการประกอบธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมใหม่ให้มีการขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจเ พื่อทดสอบการประกอบ ธุรกิจก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และเพิ่มลักษณะ ต้องห้ามของผู้ประกอบธุรกิจ กรรมการ ผู้ซึ่งมีอานาจในการจัดการ รวมถึงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบ ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ เพื่ อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคธุรกิจของประเทศไทย อันจะ เป็นประโยชน์ในการทาธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศและการจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎ กระทรวงนี้ ้ หนา 10 ่ เลม 139 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 พฤศจิกายน 2565