Wed Nov 09 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 16/2565 เรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคไทรักธรรม [ระหว่าง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ร้อง พรรคไทรักธรรม ผู้ถูกร้อง]


คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 16/2565 เรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคไทรักธรรม [ระหว่าง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ร้อง พรรคไทรักธรรม ผู้ถูกร้อง]

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยที่ 16 / 2565 เรื่องพิจารณาที่ 1 / 2565 วันที่ 19 เดือน ตุลาคม พุทธศักราช 2565 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ร้อง พรรคไทรักธรรม ผู้ถูกร้อง เรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคําสั่งยุบพรรคไทรักธรรม คณะกรรมการการเลือกตั้ง ( ผู้ร้อง ) ยื่นคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งยุบพรรคไทรักธรรม ( ผู้ถูกร้อง ) ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง ( 3 ) ประกอบมาตรา 30 เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของบุคคลผู้เป็นคณะกรรมการ บริหารพรรคผู้ถูกร้องตามมาตรา 92 วรรคสอง และห้ามมิให้ผู้ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งกรรมการบริหาร ของพรรคผู้ถูกร้องและถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีก ภายในกําหนดสิบปี นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 94 วรรคสอง ข้อเท็จจริงตามคําร้อง พยานหลักฐานของนายทะเบียนพรรคการเมือง และเอกสารประกอบคําร้อง สรุปได้ว่า ผู้ถูกร้องเป็นพรรคการเมืองตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2556 ระหว่าง ้ หนา 22 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565

เดิมชื่อ “ พรรคไทยรักธรรม ” ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “ พรรคไทรักธรรม ” ตามประกาศนายทะเบียน พรรคการเมือง ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 คณะกรรมการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน ของนายทะเบียนพรรคการเมืองตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้สํานวนไต่สวนที่ผู้ร้องมีมติที่ประชุม ครั้งที่ 90 / 2563 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 พยานในสํานวนการไต่สวนของผู้ร้องตามสําเนารายงานการรวบรวมข้อเท็จจริง และพยานหลักฐาน ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2564 ได้แก่ นางทองคํา วงสุวรรณ์ และพยานทั้งสิบ ให้การว่า ระหว่างเดือนกันยายน 2561 ถึงเดือนมกราคม 2562 พรรคผู้ถูกร้องเชิญชวนประชาชน ในตําบลป่ามะคาบ อําเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร รวมกลุ่มทําดอกไม้จันทน์ โดยมีเงื่อนไข ต้องสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องก่อนจึงจะมีสิทธิเข้าร่วมกลุ่ม หากมีผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้อง ครบจํานวน 500 คนขึ้นไป สามารถเปิดสาขาพรรคได้ พรรคผู้ถูกร้องจะซื้อวัสดุอุปกรณ์การทําดอกไม้จันทน์ และรับซื้อคืนในราคาดอกละ 1 บาท โดย นายมนัส มีชาวนา นายเจตร์ วัชรหิรัญปภา นางโยษิตา วัชรหิรัญปภา และ นางรุ่งนภา ควรสมทบ ร่วมกันสอนการทําดอกไม้จันทน์ และพูดเชิญชวนในระหว่างการสอน ให้สมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องโดยไม่ต้องเสียค่าบํารุงพรรคการเมือง เนื่องจากพรรคผู้ถูกร้อง จะเป็นผู้ออกค่าบํารุงพรรค พยานทั้งสิบเอ็ดยืนยันว่า หากไม่จูงใจด้วยวิธีการดังกล่าวจะไม่สมัคร เป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้อง ต่อมาวันที่ 5 มกราคม 2562 พรรคผู้ถูกร้องเปิดสาขาพรรคที่จังหวัดพิจิตรได้ นายมนัส มีชาวนา ให้การว่า พยานรับคําสั่งจากหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องผ่าน นางสุชาดา ขวัญสกุล ให้หาสมาชิกพรรคในจังหวัดพิจิตรเพื่อเปิดสาขาพรรคผู้ถูกร้อง โดยการเสนอนโยบายการส่งเสริมอาชีพ ทําดอกไม้จันทน์ และจูงใจว่าหากสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องจะได้เข้าร่วมกลุ่มทําดอกไม้จันทน์ โดยตนเป็นผู้สํารองค่าสมัครสมาชิกพรรคทั้งรายปีและตลอดชีพให้ก่อน เมื่อเปิดสาขาพรรคผู้ถูกร้องแล้ว พรรคจะโอนเงินคืน ซึ่งตนเข้าใจว่าเป็นการดําเนินการตามนโยบายของพรรคผู้ถูกร้องเพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน ให้มีรายได้ นายเจตร์ วัชรหิรัญปภา นางโยษิตา วัชรหิรัญปภา และ นางรุ่งนภา ควรสมทบ ให้การว่า พยานทั้งสามร่วมกับ นายมนัส มีชาวนา หาสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ตําบลป่ามะคาบ อําเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร จริง โดยมีหน้าที่สอนทําดอกไม้จันทน์ ระหว่างนั้น นายมนัส มีชาวนา พูดเชิญชวน ให้สมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องโดยไม่ต้องเสียค่าบํารุงพรรคการเมือง นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค ( หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้อง ) ให้การว่า การทําดอกไม้จันทน์เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับพรรคผู้ถูกร้อง ซึ่งดําเนินการต่อเนื่องมาตลอด 5 ปี มีวัตถุประสงค์สร้างอาชีพ โดยจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน และรับเงินอุดหนุนจากพัฒนาชุมชนมาดําเนินการเป็นทุนให้แก่สมาชิก แต่หลังจากมีพระราชกฤษฎีกา ้ หนา 23 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565

ให้มีการเลือกตั้ง พยานปรึกษาการดําเนินการลักษณะดังกล่าวกับสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับแจ้งว่า การสมัครเป็นสมาชิกพรรคและการส่งเสริมอาชีพลักษณะนี้ไม่สามารถดําเนินการได้ พรรคผู้ถูกร้องจึงยุติการดําเนินการดังกล่าว ผู้ร้องเห็นว่าการกระทําของพรรคผู้ถูกร้องไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ( 9 ) ( 15 ) และวรรคสอง มาตรา 24 และมาตรา 27 เป็นการกระทําฝ่าฝืนมาตรา 30 อันเป็นเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง ( 3 ) ประกอบมาตรา 30 จึงมีมติในการประชุม ครั้งที่ 97 / 2564 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 ให้ยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง ( 3 ) ประกอบมาตรา 30 และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ดังนี้ ( 1 ) มีคําสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง ( 2 ) มีคําสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของบุคคลผู้เป็นคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้อง คือ นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค ( ชื่อ - สกุลเดิม นายนราวิชญ์ ชะยะ ) นายสุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม นายวิวัฒน์ พูลเกตุ นายณรงค์ฤทธิ์ เรียบทวี นางปราณี อังศิริจินดา นายพักรูดิน วายาโยะ นายธงชัย แสงสุมาตร นายสมพร พิบูลย์ นางสายชล ไม้เจริญ นายนพดล พรหมนุช นายสุนธรเทพ ทองสา นางนิตยา ยอดเจริญ และ นางพัตร์พิมล ฉิมนาคพันธ์ ( ชื่อ - สกุลเดิม นางเรณู ฉิมนาคพันธ์ ) ( 3 ) มีคําสั่งห้ามมิให้ผู้ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งกรรมการบริหารของพรรคผู้ถูกร้อง และถูกเพิกถอน สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ภายในกําหนดสิบปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคําสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจรับคําร้องไว้ พิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง หรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคําร้องและเอกสารประกอบคําร้องเป็นกรณีที่ผู้ร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคําสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง เมื่อผู้ร้องมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ถูกร้องกระทําการอันเป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคผู้ถูกร้องตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง ( 3 ) ้ หนา 24 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565

ประกอบมาตรา 30 และผู้ร้องยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง ศาลรัฐธรรมนูญ จึงมีคําสั่งรับคําร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา ของศาลรัฐธรรมนูญ พ . ศ . 2561 มาตรา 7 ( 13 ) ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง และให้ผู้ถูกร้องยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ผู้ถูกร้องยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและเอกสารประกอบ สรุปได้ว่า 1 . พรรคผู้ถูกร้องมีนโยบายส่งเสริมความรู้และสนับสนุนการประกอบอาชีพเสริมให้แก่ประชาชน โดยรวมกลุ่มจัดอบรมผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐ เมื่อผ่านการฝึกฝนการทํา ดอกไม้จันทน์แล้ว พรรคผู้ถูกร้องจะแนะนําให้สมาชิกรวมตัวกันจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อดําเนินการผลิต และจัดจําหน่าย ใช้ชื่อว่า “ วิสาหกิจชุมชนไทรักธรรม ” โดยไม่ได้รับซื้อดอกไม้จันทน์ไว้เองแต่จะหา ผู้รับซื้อดอกไม้จันทน์ให้ เว้นแต่พรรคผู้ถูกร้องจะรับซื้อไว้ในกรณีที่นําดอกไม้จันทน์ไปใช้ในกิจกรรมทางการเมือง การดําเนินการดังกล่าวทําให้ประชาชนรวมตัวกันจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน จํานวน 6 แห่ง และการสมัคร เป็นสมาชิกพรรคการเมืองมีขั้นตอนและวิธีการกําหนดไว้ตามข้อบังคับพรรคผู้ถูกร้อง ผู้สมัครต้องชําระค่าบํารุง พรรคการเมืองโดยสามารถเลือกว่าจะชําระแบบรายปีหรือแบบตลอดชีพ พรรคผู้ถูกร้องไม่เคยตกลงว่า ผู้ใดสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มทําดอกไม้จันทน์แล้ว ผู้นั้นมีสิทธิสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้อง โดยไม่ต้องเสียค่าบํารุงพรรคการเมือง และไม่บังคับหรือจูงใจให้ประชาชนที่ประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิก กลุ่มทําดอกไม้จันทน์ต้องสมัครเป็นสมาชิกของพรรคผู้ถูกร้องก่อน การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มทําดอกไม้จันทน์ เป็นการดําเนินการที่แยกจากการสมัครเป็นสมาชิกพรรค หัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรค ผู้ถูกร้องไม่เคยสั่งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด สนับสนุน สํารองจ่าย หรือจ่ายเงินค่าบํารุงพรรคการเมือง แทนผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรค 2 . พยานในสํานวนการไต่สวนของผู้ร้อง ได้แก่ นางทองคํา วงสุวรรณ์ นางลํายวง น่วมด้วง และ นางสาวสุทิน พุกยอด เคยเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคผู้ถูกร้อง แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดพิจิตร เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2 และเขตเลือกตั้งที่ 3 ตามลําดับ ระหว่างการหาเสียงบุคคลทั้งสามเรียกร้องให้พรรคผู้ถูกร้องจัดหาเงินสนับสนุน ซึ่งพรรคผู้ถูกร้อง ขอให้บุคคลทั้งสามเดินรณรงค์หาเสียงโดยใช้นโยบายของพรรคโดยสุจริต เที่ยงธรรม และมิได้จัดหาเงินให้ สร้างความไม่พอใจให้กับบุคคลทั้งสาม ส่วน นายมนัส มีชาวนา เคยเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคผู้ถูกร้อง ลําดับที่ 28 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ้ หนา 25 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565

จึงขอตําแหน่งทางการเมือง แต่ นายมนัส มีชาวนา ไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งใด ๆ พยานของผู้ร้องดังกล่าวมีสาเหตุโกรธเคืองกับพรรคผู้ถูกร้องมาก่อน คําให้การของพยานดังกล่าวฟังไม่ขึ้น สําหรับพยานของผู้ร้องอื่นอีก 8 คน ล้วนเป็นบุคคลที่ยื่นใบสมัครแสดงความประสงค์เข้าร่วมกลุ่ม ทําดอกไม้จันทน์กับ นางทองคํา วงสุวรรณ์ ด้วยความสมัครใจ และพยานทั้งแปดยื่นสมัครเป็นสมาชิก พรรคผู้ถูกร้องโดยกรอกประวัติลงในใบสมัครเป็นสมาชิกพรรคด้วยตนเองพร้อมชําระค่าบํารุงพรรคการเมือง ตามระเบียบและขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกทุกประการ เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา อาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ . ศ . 2561 มาตรา 27 วรรคสาม ศาลรัฐธรรมนูญ มีหนังสือเรียกเอกสาร หลักฐาน หรือบุคคล ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งเอกสารประกอบการพิจารณา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 30 ให้ผู้ร้องจัดส่งข้อมูล และเอกสารเกี่ยวกับพรรคผู้ถูกร้อง และให้พยานของพรรคผู้ถูกร้อง 5 ปาก จัดทําบันทึกถ้อยคํายืนยัน ข้อเท็จจริงหรือความเห็นเป็นหนังสือ ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาจัดส่งสําเนารายงานการประชุม ( ชวเลข ) บันทึกการประชุม และเอกสารประกอบการพิจารณาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 30 สรุปได้ว่า บทบัญญัตินี้มีความมุ่งหมายเพื่อให้บุคคล ที่เข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเป็นผู้ศรัทธาในพรรคการเมืองนั้นอย่างแท้จริง มิใช่เข้าเป็นสมาชิกพรรค เพราะอามิสสินจ้าง เพราะสมาชิกพรรคที่มุ่งหวังในอามิสสินจ้างย่อมไม่ใส่ใจการมีส่วนร่วมในการดําเนินการ ของพรรคการเมือง และต้องการให้ประชาชนเป็นเจ้าของพรรคการเมืองโดยการชําระค่าธรรมเนียม การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง พรรคการเมืองต้องมีกระบวนการให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วม มีบทบาท และมีความรับผิดชอบอย่างแท้จริงในการดําเนินกิจกรรมทางการเมือง เพื่อให้พรรคการเมืองมีฐานะ เป็นสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็งในระบอบประชาธิปไตย สร้างความศรัทธาและความเชื่อถือให้แก่ประชาชน สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับพรรคผู้ถูกร้อง ได้แก่ งบการเงิน ของพรรคการเมือง และเงินอุดหนุนพรรคการเมืองที่ได้รับการจัดสรร ตั้งแต่ปี พ . ศ . 2561 ถึงปัจจุบัน สรุปได้ว่า 1 . ข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงินของพรรคผู้ถูกร้อง มีรายจ่ายสุทธิสูงกว่ารายได้ ปี 2560 จํานวน - 616 , 000 บาท ปี 2561 จํานวน - 4 , 342 , 100 บาท ปี 2562 จํานวน - 2 , 493 , 163 . 65 บาท ้ หนา 26 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565

และมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายสุทธิ ปี 2563 จํานวน 8 , 735 , 033 . 32 บาท ( สะสมนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรค จนถึงสิ้นปีปฏิทิน ) และมีสินทรัพย์ ปี 2560 จํานวน 6 , 100 บาท ปี 2561 จํานวน 252 , 000 บาท ปี 2562 จํานวน 402 , 936 . 35 บาท และปี 2563 จํานวน 8 , 933 , 133 . 32 บาท ( ณ สิ้นปีปฏิทิน ) 2 . ข้อมูลเกี่ยวกับเงินอุดหนุนพรรคการเมืองของพรรคผู้ถูกร้อง ได้รับจัดสรรจากกองทุนเพื่อการพัฒนา พรรคการเมือง ปี 2562 จํานวน 11 , 095 , 853 . 30 บาท ปี 2563 จํานวน 6 , 707 , 694 . 64 บาท ปี 2564 และปี 2565 ไม่ได้รับการจัดสรรเงินดังกล่าว นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค นางสายชล ไม้เจริญ นางนิตยา ยอดเจริญ นางพัตร์พิมล ฉิมนาคพันธ์ และ นายบุญถาวร ปัญญาสิทธิ์ จัดทําบันทึกถ้อยคํายืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นสรุปได้ว่า นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้อง นางสายชล ไม้เจริญ นางนิตยา ยอดเจริญ และ นางพัตร์พิมล ฉิมนาคพันธ์ คณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง วันที่ 16 สิงหาคม 2556 และ นายบุญถาวร ปัญญาสิทธิ์ ประธานที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายของพรรค พยานทั้งห้าให้การเพิ่มเติมจากคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของพรรคผู้ถูกร้องว่า ผู้สมัครสมาชิกพรรคผู้ถูกร้อง ต้องชําระค่าบํารุงพรรคการเมืองโดยเลือกได้ 2 แบบ คือ แบบรายปี จํานวน 100 บาท หรือแบบตลอดชีพ จํานวน 2 , 000 บาท พยานทั้งห้ายืนยันว่า ไม่เคยสํารองเงินและไม่เคยสั่งการให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด จ่ายเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าบํารุงพรรคการเมืองให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้อง พยานทั้งห้าไม่ได้จูงใจ หรือสั่งการให้บุคคลใดจูงใจประชาชนในตําบลป่ามะคาบ อําเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ให้สมัครเป็นสมาชิก ของพรรคผู้ถูกร้องโดยชักชวนให้เข้าร่วมกลุ่มทําดอกไม้จันทน์หรือเสนอว่าจะออกค่าธรรมเนียม หรือค่าบํารุงพรรคการเมืองแทนผู้สมัคร ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคําร้อง คําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ข้อมูลและเอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บันทึกถ้อยคํายืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของพยานบุคคล และเอกสารประกอบแล้ว เห็นว่า คดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ . ศ . 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กําหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัย รวม 3 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง มีเหตุสมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง ( 3 ) ประกอบมาตรา 30 หรือไม่ ้ หนา 27 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565

ประเด็นที่สอง คณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องจะถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 92 วรรคสอง หรือไม่เพียงใด ประเด็นที่สาม ผู้ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งกรรมการบริหารของพรรคผู้ถูกร้องที่ถูกยุบและถูกเพิกถอน สิทธิสมัครรับเลือกตั้งจะไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีกไม่ได้ภายในกําหนดสิบปีนับแต่วันที่พรรคผู้ถูกร้องถูกยุบ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 94 วรรคสอง หรือไม่ ประเด็นที่หนึ่ง มีเหตุสมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง ( 3 ) ประกอบมาตรา 30 หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 45 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ บุคคลย่อมมีเสรีภาพ ในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่กฎหมายบัญญัติ ” และวรรคสอง บัญญัติว่า “ กฎหมายตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติ เกี่ยวกับการบริหารพรรคการเมือง ซึ่งต้องกําหนดให้เป็นไปโดยเปิดเผยและตรวจสอบได้ เปิดโอกาส ให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการกําหนดนโยบายและการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และกําหนดมาตรการ ให้สามารถดําเนินการโดยอิสระไม่ถูกครอบงําหรือชี้นําโดยบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองนั้น รวมทั้งมาตรการกํากับดูแลมิให้สมาชิกของพรรคการเมืองกระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ” บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 มีความมุ่งหมายเพื่อรับรองเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง โดยกําหนดกรอบของกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งและการบริหารพรรคการเมือง เพื่อให้พรรคการเมือง เป็นของประชาชนอย่างกว้างขวาง การบริหารกิจการภายในของพรรคการเมืองที่เป็นไปตามหลัก ความเป็นประชาธิปไตยภายในพรรคการเมือง ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง สามารถปฏิบัติหน้าที่หรือดําเนินกิจกรรมได้โดยอิสระ ปราศจากการครอบงําหรือชี้นําโดยบุคคล หรือคณะบุคคลใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองตั้งแต่เริ่มแรก กําหนดให้การบริหาร การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการดําเนินกิจกรรมอื่น ๆ ของพรรคการเมือง สมาชิกพรรคต้องมีส่วนร่วม อันเป็นการป้องกันมิให้พรรคการเมืองเป็นธุรกิจการเมือง หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งอาศัยความได้เปรียบทางการเงินมาเป็นผู้บงการพรรคแต่เพียงผู้เดียวหรือกลุ่มเดียวได้ ้ หนา 28 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ ข้อบังคับอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ … ( 15 ) รายได้ของพรรคการเมือง และอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบํารุงพรรคการเมืองซึ่งต้องเรียกเก็บจากสมาชิกไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งร้อยบาท ” มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ สมาชิกภาพของสมาชิกเริ่มตั้งแต่ได้ชําระค่าบํารุงพรรคการเมือง ตามจํานวนที่กําหนดในข้อบังคับแล้ว โดยจะสิ้นสุดลงตามที่กําหนดในข้อบังคับ …” และมาตรา 30 บัญญัติว่า “ ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือผู้ใดให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมเพื่อจูงใจให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดสมัครเข้าเป็นสมาชิก ทั้งนี้ เว้นแต่สิทธิหรือประโยชน์ซึ่งบุคคลจะพึงได้รับในฐานะที่เป็นสมาชิก ” พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 30 มีความมุ่งหมายเพื่อต้องการให้บุคคลที่เข้ามาเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเป็นผู้ที่ศรัทธาในพรรคการเมืองนั้น อย่างแท้จริง มิใช่เข้ามาเป็นสมาชิกพรรคเพียงเพราะอามิสสินจ้าง เนื่องจากสมาชิกพรรคที่มุ่งหวัง ในอามิสสินจ้างย่อมไม่ใส่ใจการมีส่วนร่วมในการดําเนินการของพรรคการเมือง ส่วนมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ( 15 ) และมาตรา 27 วรรคหนึ่ง มีความมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้สมาชิกพรรครู้สึกว่า ตนเองเป็นเจ้าของพรรค ส่งผลให้สมาชิกพรรคมีความใส่ใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินการ ของพรรคการเมือง เพื่อให้ผลการดําเนินการของพรรคการเมืองคุ้มค่ากับที่ตนเองได้ชําระค่าบํารุงพรรคการเมือง ดังนั้น มาตรา 30 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ( 15 ) ประกอบมาตรา 27 วรรคหนึ่ง จึงมีหลักการสําคัญ ที่สอดคล้องกันว่า สมาชิกพรรคต้องมีส่วนร่วมในการดําเนินการของพรรค มิเช่นนั้น ย่อมเป็นช่องทางให้กลุ่มทุน หรือผู้มีอิทธิพลทางการเมืองเข้ามาใช้อํานาจครอบงําพรรคการเมืองโดยไม่มีสมาชิกพรรคโต้แย้งคัดค้าน ทําให้พรรคการเมืองสูญเสียความเป็นประชาธิปไตยภายในพรรคการเมืองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 ไม่ส่งผ่านเจตจํานงของประชาชนไปสู่การบริหารประเทศแต่กลับส่งผ่านเจตจํานง ของกลุ่มทุนหรือผู้มีอิทธิพลทางการเมืองไปสู่การบริหารประเทศแทน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสําคัญต่อระบอบประชาธิปไตย การตั้งพรรคการเมือง เกิดจากการรวมตัวของบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองในแนวทางเดียวกันเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 9 พรรคการเมืองจัดตั้งขึ้น ้ หนา 29 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565

เพื่อส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง และต้องไม่ดําเนินกิจการอันมีลักษณะเป็นการแสวงหากําไรมาแบ่งปันกัน ตามมาตรา 20 การจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นไปเพื่ออุดมการณ์ในทางการเมืองที่จะดําเนินการ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสําคัญ เป็นการเมืองที่บริสุทธิ์ปราศจากการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ปราศจากการรวมตัวกันเพื่อสร้างอิทธิพลหรืออํานาจใด ๆ ในทางมิชอบ ทั้งนี้ กฎหมายให้การสนับสนุน พรรคการเมืองด้วยการให้เงินอุดหนุนพรรคการเมืองโดยกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง เพื่อไม่ให้พรรคการเมืองแสวงหาประโยชน์หรือรับประโยชน์จากบุคคลใดในทางมิชอบ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ร้องรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานของนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่ทําการไต่สวนแล้ว ผู้ร้องมีมติที่ประชุม ครั้งที่ 90 / 2563 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ว่า ระหว่างเดือนกันยายน 2561 ถึงเดือนมกราคม 2562 พรรคผู้ถูกร้องรับสมัครสมาชิกพรรค โดยเชิญชวนประชาชนในตําบลป่ามะคาบ อําเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร รวมกลุ่มทําดอกไม้ประดิษฐ์ ( ดอกไม้จันทน์ ) กําหนดเงื่อนไขต้องสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องก่อน หากมีผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้อง ครบ 500 คนขึ้นไป สามารถเปิดสาขาพรรคการเมืองได้ พรรคผู้ถูกร้องจะซื้อวัสดุอุปกรณ์ การทําดอกไม้จันทน์ให้แก่สมาชิกพรรคและส่งมายังสาขาพรรคที่จังหวัดพิจิตร เมื่อทําดอกไม้จันทน์เสร็จ พรรคผู้ถูกร้องจะรับซื้อคืนในราคาดอกละ 1 บาท การสมัครสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องผู้สมัครไม่ต้องเสีย ค่าสมัครสมาชิกหรือเสียค่าบํารุงพรรคการเมือง พยานในสํานวนการไต่สวนของผู้ร้องให้การสอดคล้องกัน ทั้งสิบห้าปากว่า ผู้ประสงค์เข้าร่วมกลุ่มทําดอกไม้จันทน์ต้องสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องก่อน โดยไม่ต้องเสียค่าสมัครหรือค่าบํารุงพรรคเนื่องจากพรรคผู้ถูกร้องออกเงินค่าบํารุงพรรค หากไม่จูงใจ เรื่อง การทําดอกไม้จันทน์จะไม่สมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้อง โดย นายมนัส มีชาวนา ให้การว่า ได้รับคําสั่งจากหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องผ่านทาง นางสุชาดา ขวัญสกุล ให้ดําเนินการหาสมาชิกพรรค เพื่อเปิดสาขาพรรคการเมืองในจังหวัดพิจิตรโดยใช้วิธีการดังกล่าว ข้อที่พรรคผู้ถูกร้องและพยานของพรรคผู้ถูกร้องทั้งห้าโต้แย้งว่า การดําเนินการดังกล่าว ของพรรคผู้ถูกร้องเป็นไปตามนโยบายของพรรคในการส่งเสริมอาชีพประชาชนเพื่อจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน พรรคผู้ถูกร้องไม่ได้จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และไม่ได้รับซื้อดอกไม้จันทน์ไว้เอง ไม่เคยจูงใจหรือสั่งให้บุคคลใด ไปจูงใจผู้ที่ประสงค์จะสมัครสมาชิกกลุ่มทําดอกไม้จันทน์ต้องสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องก่อน การสมัครเป็นสมาชิกพรรคต้องชําระค่าบํารุงพรรคการเมืองตามข้อบังคับพรรคและเงื่อนไขในใบสมัคร ของพรรคผู้ถูกร้อง และไม่เคยสั่งการให้บุคคลใดสํารองค่าบํารุงพรรคการเมืองไปก่อนนั้น เห็นว่า ้ หนา 30 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565

แม้พรรคผู้ถูกร้องและพยานของพรรคผู้ถูกร้องทั้งห้าโต้แย้งปฏิเสธข้อเท็จจริงตามคําร้องของผู้ร้อง แต่หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องให้ถ้อยคําในสํานวนไต่สวนของผู้ร้องยอมรับว่า สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เคยให้คําปรึกษาแก่พรรคผู้ถูกร้องกรณีการสมัครเป็นสมาชิกพรรคและการส่งเสริมอาชีพลักษณะดังกล่าว ว่าไม่สามารถกระทําได้ พรรคผู้ถูกร้องจึงยุติการดําเนินการดังกล่าวก่อนมีการเลือกตั้ง และพรรคผู้ถูกร้อง ยอมรับว่าเคยซื้อดอกไม้จันทน์จากกลุ่มสมาชิกเพื่อนําไปใช้ในกิจกรรมทางการเมืองด้วย ส่วนข้อโต้แย้งที่ว่า พยานบุคคลในสํานวนไต่สวนของผู้ร้องเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับพรรคผู้ถูกร้อง มาก่อนนั้น เห็นว่า ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าพยานของผู้ร้องจะได้รับประโยชน์อันใดหากพรรคผู้ถูกร้อง ถูกยุบพรรคการเมือง ยิ่งไปกว่านั้น การให้ถ้อยคําของพยานผู้ร้องลักษณะดังกล่าวอาจทําให้บุคคล ผู้กระทําต้องรับโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 109 แต่พยานของพรรคผู้ถูกร้อง ได้แก่ นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค นางสายชล ไม้เจริญ นางนิตยา ยอดเจริญ และ นางพัตร์พิมล ฉิมนาคพันธ์ เป็นหรือเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้อง ในขณะพรรคผู้ถูกร้องกระทําความผิด อาจถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหากพรรคผู้ถูกร้อง ถูกยุบพรรคการเมือง และ นายบุญถาวร ปัญญาสิทธิ์ เป็นบุคคลซึ่งมีตําแหน่งในพรรคผู้ถูกร้อง อันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและมีส่วนได้เสียโดยตรง ชอบที่จะให้การเป็นประโยชน์แก่พรรคผู้ถูกร้อง ข้อโต้แย้งของพรรคผู้ถูกร้องและพยานของพรรคผู้ถูกร้องทั้งห้าไม่มีน้ําหนักเพียงพอรับฟังหักล้างข้อเท็จจริง ตามคําร้องของผู้ร้องได้ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องให้ นายมนัส มีชาวนา จูงใจประชาชน ในตําบลป่ามะคาบ อําเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ให้สมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องด้วยการเชิญชวน ให้เข้าร่วมกลุ่มทําดอกไม้จันทน์โดยไม่ต้องเสียค่าบํารุงพรรคการเมือง และเสนอว่าจะซื้อวัสดุอุปกรณ์ และรับซื้อคืนในราคาดอกละ 1 บาท กระทั่งพรรคผู้ถูกร้องมีสมาชิกพรรคครบจํานวน 500 คน สามารถเปิดสาขาพรรคได้ที่จังหวัดพิจิตร พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้อง มอบหมายให้ นายมนัส มีชาวนา ดําเนินกิจการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายจึงมีผลผูกพันพรรคผู้ถูกร้อง แม้การยุบพรรคการเมืองอาจกระทบต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์ให้มีการเสริมสร้างพรรคการเมือง ให้มีความเข้มแข็งและอาจกระทบต่อสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องจํานวนมากที่มีอุดมการณ์ทางการเมือง คล้ายคลึงกันและรวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง แต่การรับสมัครสมาชิกพรรคด้วยวิธีการดังกล่าว ไม่อาจส่งผลให้พรรคผู้ถูกร้องเป็นสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็งหรือเป็นองค์กรในระบอบประชาธิปไตย ้ หนา 31 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565

ที่สามารถผลักดันแนวความคิดของประชาชนไปสู่การปฏิบัติได้ เพราะการสมัครเป็นสมาชิกพรรค เกิดจากการหลงเชื่อด้วยวิธีการจูงใจของพรรคผู้ถูกร้อง บุคคลที่เข้ามาเป็นสมาชิกพรรคไม่ได้ศรัทธา ในพรรคการเมือง ไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของพรรค และไม่ใส่ใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินกิจการ ของพรรคผู้ถูกร้องอย่างแท้จริง แต่สมัครเป็นสมาชิกพรรคเพราะมุ่งหวังที่จะได้เงินจากการทําดอกไม้จันทน์ หรือประโยชน์อื่นใดที่พรรคผู้ถูกร้องให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เท่านั้น ไม่ได้เป็นไปตามความมุ่งหมาย เจตนารมณ์ของเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ กรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคผู้ถูกร้องกระทําการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 30 อันเป็นเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง ( 3 ) ประเด็นที่สอง คณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องจะถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 92 วรรคสอง หรือไม่ เพียงใด พิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 92 วรรคสอง บัญญัติในลักษณะเป็นบทบังคับว่า “ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญดําเนินการไต่สวนแล้ว มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองกระทําการตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น ” เมื่อพรรคผู้ถูกร้อง กระทําการอันเป็นเหตุให้สั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง ศาลรัฐธรรมนูญต้องสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง ( 3 ) และวรรคสอง และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องแล้ว ชอบที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําสั่งให้เพิกถอน สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ดํารงตําแหน่งดังกล่าวอยู่ระหว่าง เดือนกันยายน 2561 ถึงเดือนมกราคม 2562 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการกระทําอันเป็นเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้อง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 92 วรรคสอง มีข้อพิจารณาต่อไปว่า เมื่อวินิจฉัยให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหาร พรรคผู้ถูกร้องแล้ว จะต้องเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นระยะเวลาเท่าใด เห็นว่า การกําหนด ระยะเวลาของการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง พฤติการณ์ในคดีสมควรกําหนดให้สอดคล้องกับ ้ หนา 32 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565

ระยะเวลาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 94 วรรคสอง ซึ่งห้ามผู้ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบและถูกเพิกถอน สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีกไม่ได้ภายในกําหนดสิบปีนับแต่วันที่พรรคการเมืองนั้นถูกยุบ ดังนั้น ให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ดํารงตําแหน่ง อยู่ในระหว่างเดือนกันยายน 2561 ถึงเดือนมกราคม 2562 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการกระทํา อันเป็นเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องมีกําหนดเวลาสิบปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง ตามมาตรา 92 วรรคสอง ประเด็นที่สาม ผู้ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งกรรมการบริหารของพรรคผู้ถูกร้องที่ถูกยุบและถูกเพิกถอน สิทธิสมัครรับเลือกตั้งจะไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีกไม่ได้ภายในกําหนดสิบปีนับแต่วันที่พรรคผู้ถูกร้อง ถูกยุบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 94 วรรคสอง หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 94 วรรคสอง บัญญัติว่า “ ห้ามมิให้ผู้ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งกรรมการบริหารของพรรคการเมือง ที่ถูกยุบและถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพราะเหตุดังกล่าว ไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีก ทั้งนี้ ภายในกําหนดสิบปีนับแต่วันที่พรรคการเมืองนั้นถูกยุบ ” บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเป็นบทบัญญัติ ว่าด้วยผลของการฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมิได้ให้อํานาจแก่ศาลรัฐธรรมนูญที่จะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องและเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหาร พรรคผู้ถูกร้องแล้ว ต้องให้ผู้ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ดํารงตําแหน่งดังกล่าว อยู่ในระหว่างเดือนกันยายน 2561 ถึงเดือนมกราคม 2562 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการกระทํา อันเป็นเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องและถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีกไม่ได้ ภายในกําหนดสิบปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 94 วรรคสอง ้ หนา 33 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเสียงข้างมากสั่งให้ยุบพรรคไทรักธรรม ( ผู้ถูกร้อง ) ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ . ศ . 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง ( 3 ) และวรรคสอง ประกอบมาตรา 30 เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหาร พรรคผู้ถูกร้องที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในระหว่างเดือนกันยายน 2561 ถึงเดือนมกราคม 2562 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการกระทําอันเป็นเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามมาตรา 92 วรรคสอง มีกําหนดเวลาสิบปี นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง และห้ามมิให้ผู้ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งกรรมการบริหาร ของพรรคผู้ถูกร้องช่วงเวลาดังกล่าวไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีกภายในกําหนดสิบปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคําสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องตามมาตรา 94 วรรคสอง นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายวิรุฬห์ แสงเทียน นายจิรนิติ หะวานนท์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายนภดล เทพพิทักษ์ นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ้ หนา 34 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565