กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565
กฎ กระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 8 ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2562 และให้ใช้ควา มต่อไปนี้แทน “ ข้อ 3 ให้แบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร ดังต่อไปนี้ ( 1 ) สำนักงานเลขานุการกรม ( 2 ) กองกฎหมาย ( 3 ) กองตรวจสอบอากร ( 4 ) กองบริหารจัดการและพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนาเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ ( 5 ) กองบริหารทรัพยากรบุคคล ( 6 ) กองพิกัดอัตราศุลกากร ( 7 ) กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร ( 8 ) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ( 9 ) กองสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ( 10 ) กองสืบสวนและปราบปราม ( 11 ) ด่านศุลกากร ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ( 12 ) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( 13 ) สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ( 14 ) สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ้ หนา 1 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565
( 15 ) สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ( 16 ) สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ( 17 ) สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ( 18 ) สำนักงานศุ ลกากรท่าเรือกรุงเทพ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ( 19 ) สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมือง ( 20 ) สำนักงานศุลกากรมาบตาพุด (21) - (25) สำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 - 5 ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3/1) ของข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 21 ข้อ 22 ข้อ 24 และข้อ 25 แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2562 “(3/1) ตรวจสอบบันทึก บัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนาของเข้า หรือส่งของออก ณ ที่ทำการข องผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปราบปรามการฉ้อฉลทางการค้าภายใน ขอบเขตหน้าที่และอำนาจ ” ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อ 26 ข้อ 27 ข้อ 28 และข้อ 29 แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2562 ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 26 ข้อ 27 ข้อ 28 ข้อ 29 ข้อ 30 และข้อ 31 แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2562 “ ข้อ 26 สำนักงานศุลกากรมาบตาพุด มีหน้าที่และอำนาจในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (1) ดาเนินการเกี่ยว กับการปฏิบัติพิธีการศุลกากร การจัดเก็บภาษีอากรและรายได้อื่นสำหรับ สินค้านาเข้าและส่งออก สินค้าถ่ายลา สินค้าผ่านแดน และของติดตัวผู้โดยสารที่นาเข้ามาในหรือ นำออกไปนอกราชอาณาจักร การคืนอากรที่มิใช่กรณีตามมาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 รวมทั้งการควบคุมและตรวจสอบสินค้านาเข้าและส่งออก สินค้าถ่ายลา สินค้าผ่านแดน และของติดตัวผู้โดยสารที่นาเข้ามาในหรือนาออกไปนอกราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (2) ดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ด้านคลังสินค้าทั ณฑ์บนและเขตปลอดอากร ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (3) สืบสวนและปราบปรามการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง และดาเนิ นการเกี่ยวกับการทบทวนเอกสารต่าง ๆ หลังผ่านพิธีการทางศุลกากร (4) ตรวจสอบบันทึก บัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนาของเข้า หรือส่งของออก ณ ที่ทำการของผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปราบปรามการฉ้อฉลทางการค้าภายใน ขอบเขตหน้าที่และ อำนาจ ้ หนา 2 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565
(5) ดาเนินการเกี่ยวกับคดีทางศุลกากร ของกลาง และของตกค้างที่อยู่ในความรับผิดชอบ (6) วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงในการกระทาความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการนาเข้าและส่งออกซึ่งสินค้า และของติดตัวผู้โดยสารที่นาเข้ามาในหรือ นำออกไปนอกราชอาณาจักร รวมทั้งจัดทำการประเมินผล พัฒนา และปรับปรุงฐานข้อมูลด้านศุลกากร เพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยง (7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับ มอบหมาย ข้อ 27 - 31 สานักงานศุลกากรภาคที่ 1 - 5 มีหน้าที่และอานาจในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (1) กาหนดกลยุทธ์ในการจัดเก็บภาษีอากรสาหรับสินค้าและของที่นำเข้าและส่งออก ควบคุม และกากับดูแลการนำเข้าและส่งออก สินค้าถ่ายลา สินค้าผ่านแดน และของที่นาเข้าและส่งออก รวมทั้งควบคุมและกำกับดูแลเกี่ ยวกับสิทธิประโยชน์ด้านคลังสินค้าทัณฑ์บนและเขตปลอดอากร ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (2) กากับดูแลการปฏิบัติงานของด่านศุลกากรให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงานและเป้าหมาย ที่กรมกำหนดไว้ (3) ให้คำปรึกษาแนะนำ และสนับสนุนทางวิชาการแก่ด่านศุลกากร เพื่อสนองตอบ ยุทธศาสตร์ของกรม (4) ให้การสนับสนุนแก่ด่านศุลกากรในการดาเนินงานด้านการจัดเก็บภาษีอากร สิทธิประโยชน์ ทางภาษีอากร การตรวจสอบ และป้องกันปราบปราม การกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (5) สืบสวนและปราบปรามการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง และดาเนินการเกี่ยวกับการทบทวนเอกสารต่าง ๆ หลังผ่านพิธีการศุลกากร รวมทั้ง ดาเนินการเกี่ยวกับคดีทางศุ ลกากร ของกลาง และของตกค้างที่อยู่ในความรับผิดชอบ (6) ตรวจสอบบันทึก บัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนาของเข้า หรือส่งของออก ณ ที่ทำการของผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปราบปรามการฉ้อฉลทางการค้าภายใน ขอบเขตหน้าที่และอำนาจ (7) วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงในการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกซึ่งสินค้าและของติดตัวผู้โดยสารที่นำเข้ามาใน หรือ นำออกไปนอกราชอาณาจักร รวมทั้งจัดทำการประเมินผล พัฒนา และปรับปรุงฐานข้อมูลด้านศุลกา กร เพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยง ้ หนา 3 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565
(8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับ มอบหมาย ” ให้ไว้ ณ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ . 256 5 อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ้ หนา 4 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565
หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งสานักงานศุลกากร มาบตาพุด เพื่ออานวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และจัดตั้งสานักงาน ศุลกากรภาคที่ 5 เพื่อรองรับการอานวยความสะดวกในการนาของเข้า การส่งของออก และกำรขยายตัว ของระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ รวมทั้งเพิ่มหน้าที่และอานาจของสานักงานศุลกากรในการตรวจสอบบันทึก บัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนาของเข้า หรือส่งของออก ณ ที่ทาการของผู้นาของเข้า ผู้ส่งของออก หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปราบปรามการฉ้อฉลทางการค้า ภายในขอบเขตหน้าที่และอานาจ สมควรปรับปรุง การแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอานาจของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ให้สอดคล้องกับภารกิจ และเหมาะสมกับสภาพงานที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่และอำนาจ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงจำเ ป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ้ หนา 5 ่ เลม 139 ตอนที่ 70 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565