Mon Nov 07 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. 2565


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. 2565

พระราช บัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 25 6 5 เป็นปีที่ 7 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมคาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระรำชบัญญัติขึ้นไว้โดยคาแนะนาและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. 2565 ” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ้ หนา 14 ่ เลม 139 ตอนที่ 69 ก ราชกิจจานุเบกษา 8 พฤศจิกายน 2565

มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 8 แห่งคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระ ทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “( 1) อานาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ” มาตรา 4 ใ ห้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของ (5) ของข้อ 8 แห่งคาสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 “ ในการเสนอความเห็นตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงอานาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ” มาตรา 5 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 11 แห่งคาสั่งหัวหน้าคณ ะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “( 6) ดาเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้ำที่ของ กศจ. และ อกศจ. ” มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 12 แห่งคำสั่งหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 12 ให้มีศึกษาธิการจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของศึกษาธิการภาค มีอำนาจหน้าที่ รับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และให้มีรองศึกษาธิการจังหวัด เพื่อช่วยเห ลืองานศึกษาธิการจังหวัด จำนวนไม่เกินสามคน ” มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งคาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ้ หนา 15 ่ เลม 139 ตอนที่ 69 ก ราชกิจจานุเบกษา 8 พฤศจิกายน 2565

“ ข้อ 13 การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่ การศึกษาตามมาตรา 53 (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อำนวยการ สถานศึกษา แล้วแต่กรณี โดยความเห็นชอบของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ และแต่งตั้ง ซึ่งการดาเนินการดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ ดี โดยยึดถือ ระบบคุณธรรม ความโปร่งใส และความเสมอภาคระหว่างบุคคล และเพื่อประโยชน์ในการพัฒนา การศึกษาเป็นสำคัญ ในการดำเนินการบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง หากผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง หรืออนุมัติ อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของ ตน ไม่ว่าจะโดยทางตรง หรือทางอ้อม เพื่อหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น หรือมีการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ” มาตรา 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ 14 แห่งคาสั่งหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 “ บทบัญญัติในข้อนี้ไม่ใช้บังคับถึงการบริหารงานบุคคล ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษากาหนดไว้ให้เป็นอานาจของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ” มาตรา 9 ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจาเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา เรียกโดยย่อว่า “ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ” และ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เรียกโดยย่อว่า “ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ” สำหรับแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ จำนวน องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มา คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดารงตาแหน่ง การพ้นจากตาแหน่ง และการประชุม ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ ก.ค.ศ. กาหนด ซึ่งองค์ประกอบของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. ้ หนา 16 ่ เลม 139 ตอนที่ 69 ก ราชกิจจานุเบกษา 8 พฤศจิกายน 2565

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในแต่ละเขตพื้นที่การศึก ษา ต้องกาหนดให้มีผู้แทน กศจ. อย่างน้อย หนึ่งคน และนายอาเภอหรือผู้แทน อย่างน้อยหนึ่งคน สาหรับกรุงเทพมหานคร ให้มีผู้อานวยการเขต หรือผู้แทน อย่างน้อยหนึ่งคน ร่วมเป็นองค์ประกอบด้วย บรรดาอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก. ค.ศ. เขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดไว้ ให้ ก.ค.ศ. ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ตามพระราชบัญญัตินี้ให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่ วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา 10 บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใด อ้างถึง กศจ. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้ำราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษากาหนดไว้ให้เป็นอานาจของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคาสั่งนั้นอ้างถึง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ .ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี มาตรา 11 การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งของ กศจ. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารงานบุคคลซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากาหนดไว้ให้ เป็นอานาจของ อ.ก.ค.ศ. เข ตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาที่ค้างการดาเนินการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ดาเนินการต่อไปตามคาสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของ กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 จนกว่าจะมี อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 12 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตำมพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 17 ่ เลม 139 ตอนที่ 69 ก ราชกิจจานุเบกษา 8 พฤศจิกายน 2565

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราช บัญญัติ ฉบับนี้ คือ โดยที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกคาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 กาหนดมาตรการและกลไกเพื่อแก้ไข ปัญหาการจัดการ การ ศึกษาของประเทศในส่วนภูมิภาคที่มีความซับซ้อนและสั่งสมมาเป็นเวลานาน ซึ่งมาตรการ และกลไกดังกล่าวมีลักษณะรวมศูนย์อานาจไว้ที่ กศจ . ทั้ งอานาจตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชำติ อานาจตามกฎ หมายว่าด้วยระเบียบบริ หารราชการกระทรวงศึกษาธิการและกฎ หมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบ ต่ออานาจในการจัดการบุคลา กรตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กาหนดไว้ให้เป็นอานาจของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา ผู้บังคับบัญชาโดยตรงในระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ไม่มีอานาจในการบังคับบัญชาเพื่อให้คุณ และ โทษต่อบุคลากร คุณภาพการปฏิบัติงานและการจัดการศึกษา ให้แก่เด็กและเยาวชนของชาติถูกลดทอนลง ขาดการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เกิดการสิ้นเปลืองงบประมาณ และเกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ทั้งยังขัดต่อ หลักการกระจายอานาจ การบริหารงานบุคคลสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดอย่างรุนแรง และขาดกำรยอมรับซึ่งกันและกันในองค์กร สมควรแก้ไขคาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าว เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายทางการศึกษาและการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกฝ่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตามเป้าหมาย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ้ หนา 18 ่ เลม 139 ตอนที่ 69 ก ราชกิจจานุเบกษา 8 พฤศจิกายน 2565