Mon Oct 31 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 15/2565 เรื่อง ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 [ระหว่าง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ร้อง วุฒิสภา ผู้ถูกร้อง]


คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 15/2565 เรื่อง ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 [ระหว่าง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ร้อง วุฒิสภา ผู้ถูกร้อง]

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย ศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยที่ 15/2565 เรื่องพิจารณาที่ ต. 20/2564 วันที่ 12 เดือน ตุลาคม พุทธศักราช 2565 ผู้ตรวจการแผนดิน ผู้รอง วุฒิสภา ผู้ถูกรอง เรื่อง ผู้ตรวจการแผนดิน (ผู้รอง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ผู้ตรวจการแผนดิน (ผู้รอง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ขอเท็จจริงตามคํารองและเอกสารประกอบคํารอง สรุปได้ดังนี้ ผู้รองรับเรื่องรองเรียนจาก นายรัชนันท ธนานันท (ผู้รองเรียน) ขอให้เสนอเรื่องพรอมด้วย ความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ กลาวอางวาผู้รองเรียนสมัครเขารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหนงตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดสองครั้ง คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) มีมติให้ผู้รองเรียนเป็นผู้ผานการคัดเลือก เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหนงตุลาการศาลปกครองสูงสุดทั้งสองครั้งตามประกาศ ก.ศป. เรื่อง รายชื่อ ผู้ผานการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหนงตุลาการศาลปกครองสูงสุด ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2562 และตามประกาศ ก.ศป. เรื่อง รายชื่อผู้ผานการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหนงตุลาการศาลปกครองสูงสุด ลงวันที่ 16 กันยายน 2563 ก.ศป. เสนอชื่อผู้รองเรียนต่อนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี ระหวาง ้ หนา 13 ่ เลม 139 ตอนที่ 68 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤศจิกายน 2565

นํารายชื่อเสนอวุฒิสภา (ผู้ถูกรอง) พิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสาม ผู้ถูกรองมีมติตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อ ให้ดํารงตําแหนงตุลาการศาลปกครองสูงสุด ในคราวประชุมวุฒิสภาสองครั้ง คือ ครั้งที่ 20 (สมัยสามัญประจําปครั้งที่สอง) วันที่ 17 กุมภาพันธ 2563 และครั้งที่ 15 (สมัยสามัญประจําป ครั้งที่สอง) วันที่ 19 มกราคม 2564 ผู้ถูกรองมีมติไม่ให้ความเห็นชอบให้ผู้รองเรียนดํารงตําแหนง ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ผู้รองเรียนได้รับความเดือดรอนเสียหายและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใชอํานาจ ของผู้ถูกรองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม และการกระทําหรือมติของผู้ถูกรองตามกฎหมายดังกลาว ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 198 ผู้รองมีหนังสือถึงผู้ถูกรองและศาลปกครองเพื่อขอทราบขอเท็จจริงหรือความเห็นประกอบการพิจารณา ผู้ถูกรองให้ความเห็นต่อผู้รองวา การให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหนง ตุลาการศาลปกครองสูงสุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (2) เป็นการดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจตามมาตรา 15 วรรคสาม และขอบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ศาลปกครองโดยประธานศาลปกครองสูงสุดในขณะนั้น ให้ความเห็นต่อผู้รองวา พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่ยืนยันหรืออนุวัติตามหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เพื่อให้ศาลปกครอง อยู่ในฐานะทัดเทียมกับคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นองคกรฝ่ายบริหารและเป็นผู้บังคับบัญชาหรือกํากับดูแล หนวยงานทางปกครองอันจะทําให้คําพิพากษาได้รับการยอมรับจากคู่กรณี จึงกําหนดให้ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุดซึ่งเป็นศาลชั้นสุดทายในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองต้องยึดโยงกับฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มีฐานะเป็นผู้แทนปวงชน บทบัญญัติดังกลาวไม่ทําให้ผู้ถูกรองเขามากาวลวง ความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครอง หน้าที่และอํานาจของผู้ถูกรอง สิ้นสุดเมื่อได้ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบบุคคลให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุด ทั้งนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการศาลปกครองได้ รับการรับรองความเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 188 ้ หนา 14 ่ เลม 139 ตอนที่ 68 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤศจิกายน 2565

ผู้รองเห็นวา ตุลาการศาลปกครองและผู้พิพากษาศาลยุติธรรมเป็นขาราชการตุลาการที่มีหน้าที่ พิจารณาพิพากษาอรรถคดีเหมือนกัน แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม กําหนดให้การแต่งตั้งตุลาการศาลปกครองสูงสุดต้องขอความเห็นชอบ ต่อผู้ถูกรองกอน แตกตางจากการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลยุติธรรมที่ไม่กําหนดวิธีการดังกลาวไว เป็นการปฏิบัติ ที่แตกตางกันในสิ่งที่มีสาระสําคัญเหมือนกัน ขัดต่อหลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 นอกจากนี้ การแต่งตั้งตุลาการศาลปกครองเป็นขั้นตอนในการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครอง ที่ต้องมีความเป็นอิสระและดําเนินการโดย ก.ศป. การให้อํานาจดังกลาวแกผู้ถูกรองเป็นการแทรกแซง และขัดต่อความเป็นอิสระของการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 198 และเป็นการกระทําที่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้รองเรียนตามที่รัฐธรรมนูญให้การรับรอง และคุมครองไว ผู้รองขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 วาพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม ขัดหรือแยง ต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 และมาตรา 198 มติหรือการกระทําของผู้ถูกรองที่ไม่ให้ความเห็นชอบ ผู้รองเรียนให้ดํารงตําแหนงตุลาการศาลปกครองสูงสุดอันเนื่องมาจากการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม ขัดหรือแยง ต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 และมาตรา 198 และขอให้สั่งเพิกถอนมติหรื อการกระทําดังกลาว ของผู้ถูกรอง ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องตนมีวา ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจรับคํารอง ของผู้รองไวพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 หรือไม่ เห็นวา ผู้รองมีความเห็นวามติ หรือการกระทําของผู้ถูกรองที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม เป็นการกระทําที่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้รองเรียน ตามที่รัฐธรรมนูญคุมครองไวอันเป็นผลจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 และมาตรา 198 กรณีเป็นไปตามหลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 46 และมาตรา 48 จึงมีคําสั่งรับไวพิจารณาวินิจฉัยและให้ผู้ถูกรองยื่นคําชี้แจงแกขอกลาวหา ้ หนา 15 ่ เลม 139 ตอนที่ 68 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤศจิกายน 2565

ผู้ถูกรองยื่นคําชี้แจงแกขอกลาวหาและเอกสารประกอบสรุปได้วา ผู้ถูกรองเคยพิจารณา กรณีที่ผู้รองเรียนได้รับการคัดเลือกจาก ก.ศป. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหนงตุลาการศาลปกครองสูงสุด ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสาม จํานวน 2 ครั้ง ผลการลงมติที่ประชุมผู้ถูกรองทั้งสองครั้งไม่ให้ความเห็นชอบ ให้ผู้รองเรียนดํารงตําแหนงตุลาการศาลปกครองสูงสุด เป็นการดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม หลักเกณฑและวิธีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้บุคคลดํารงตําแหนงตาง ๆ ตามขอบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 โดยตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นทําหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้รองเรียน และรายงานผลการตรวจสอบให้ผู้ถูกรองทราบ การพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดํารงตําแหนงตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่ผานมา จํานวน 6 ครั้ง มีบุคคลที่ไม่ได้รับความเห็นชอบ จํานวน 2 ราย การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไม่มีบทบัญญัติให้การแต่งตั้งตุลาการศาลปกครองสูงสุดและประธานศาลปกครองสูงสุด ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถูกรองกอนเหมือนเชนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติไว มิได้หมายความวา รัฐธรรมนูญ มีเจตนารมณที่จะยกเลิกหลักการดังกลาว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 198 บัญญัติให้การบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครองต้องมีความเป็นอิสระ และดําเนินการโดย ก.ศป. ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จึงกําหนดหลักเกณฑเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและการแต่งตั้ง ตุลาการศาลปกครองได้ นอกจากนี้ ไม่ปรากฏวามีการเสนอแกไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เพื่อให้ยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 15 วรรคสาม การพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบของผู้ถูกรองมิได้เป็นการกาวลวงความเป็นอิสระ ในการบริหารงานบุคคลของ ก.ศป. เพราะ ก.ศป. ยังสามารถสรรหาบุคคลได้อยางอิสระโดยปราศจาก การบังคับบัญชาหรือกํากับดูแลจากผู้ถูกรอง ในกรณีที่ผู้ถูกรองไม่ให้ความเห็นชอบ ผู้ถูกรอง ไม่อาจนํารายชื่อบุคคลอื่นที่เห็นวามีความเหมาะสมยิ่งกวาเขามาแทนได้ และไม่มีอํานาจพิจารณาเห็นชอบ ให้ตุลาการศาลปกครองพนจากตําแหนง ลงโทษทางวินัย โยกยาย เลื่อนตําแหนง การให้ได้รับเงินเดือน ้ หนา 16 ่ เลม 139 ตอนที่ 68 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤศจิกายน 2565

และเงินประจําตําแหนงแกตุลาการศาลปกครอง หน้าที่ของผู้ถูกรองสิ้นสุดลงเมื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ หรือไม่ให้ความเห็นชอบเทานั้น แมการแต่งตั้งตุลาการศาลปกครองสูงสุดมีความแตกตางกับการแต่งตั้งผู้พิพากษา ในศาลยุติธรรมที่ไม่ต้องขอความเห็นชอบต่อผู้ถูกรอง แต่มิได้เป็นการปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสําคัญเหมือนกัน ให้แตกตางกัน ผู้ถูกรองดําเนินการต่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อดํารงตําแหนงตุลาการศาลปกครองสูงสุดทุกราย เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม และขอบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 การกระทําของผู้ถูกรอง ไม่เป็นการกระทําที่ขัดต่อหลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 หรือละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพของผู้รองเรียนที่รัฐธรรมนูญคุมครองไว เพื่อประโยชนแห่งการพิจารณาอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณา ของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 27 วรรคสาม ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือเรียกเอกสาร หลักฐาน หรือบุคคล ให้ประธานศาลปกครองสูงสุดชี้แจงเป็นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุดชี้แจงสรุปได้วา ผู้รองเรียนยื่นฟ้องผู้ถูกรองต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ 2564 คดีหมายเลขดําที่ บ. 40/2564 และศาลปกครองกลางมีคําสั่ง ในคดีหมายเลขแดงที่ บ. 47/2564 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2564 ไม่รับคําฟ้องไวพิจารณา และศาลปกครองสูงสุดโดยมติที่ประชุมใหญมีคําสั่งที่ คบ. 26/2565 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ 2565 ยืนตามคําสั่งของศาลปกครองกลาง นอกจากนี้ ศาลปกครองโดย ก.ศป. ให้ความเห็นเพิ่มเติมวา การกําหนดให้ผู้ถูกรองซึ่งเป็นองคกรในทางนิติบัญญัติมีอํานาจให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้ง เป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุดขัดแยงกับหลักการเกี่ยวกับความเป็นอิสระของตุลาการศาลปกครองโดยตรง เพราะผู้ถูกรองเป็นองคกรภายนอกอาจใชอํานาจขัดแยงกับ ก.ศป. ซึ่งเป็นองคกรที่รัฐธรรมนูญ กําหนดให้เป็นองคกรบริหารงานบุคคลสูงสุดของศาลปกครอง การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติให้การแต่งตั้งบุคคล ให้ดํารงตําแหนงตุลาการศาลปกครองสูงสุดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถูกรองเป็นเสมือนบท ยกเวนของหลักการที่ประกันความเป็นอิสระของตุลาการศาลปกครอง แต่เมื่อมีการประกาศใชรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บทบัญญัติที่เป็นหลักประกันความเป็นอิสระ ในการบริหารงานบุคคลของตุลาการศาลปกครองบัญญัติแตกตางไปจากรัฐธรรมนูญฉบับกอนโดยไม่มีบทบัญญัติ ้ หนา 17 ่ เลม 139 ตอนที่ 68 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤศจิกายน 2565

ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถูกรอง อันเป็นการยกเลิกบทยกเวนของหลักประกันความเป็นอิสระ ของตุลาการศาลปกครองดังที่เคยบัญญัติไว เห็นวาพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 198 ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคํารอง คําชี้แจงแกขอกลาวหา หนังสือชี้แจง และเอกสารประกอบแล้วเห็นวา คดีเป็นปญหาขอกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไตสวน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง สวนที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยวา มติหรือการกระทําของผู้ถูกรองที่ปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม เป็นการกระทําที่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญคุมครองไว ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 และมาตรา 198 และขอให้เพิกถอนมติหรือการกระทําดังกลาว นั้น เห็นวา มติหรือการกระทํา ของผู้ถูกรองตามที่กลาวอางเป็นการใชอํานาจตามกฎหมาย มิใชการใชอํานาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หากมีผลกระทบต่อสถานภาพหรือสิทธิของบุคคล ผู้รองเรียนสามารถใชสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ต่อศาลอื่นได้ เป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้กําหนดกระบวนการรอง หรือผู้มีสิทธิขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยไวเป็นการเฉพาะแล้วตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ วาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 47 (2) กรณีต้องด้วยมาตรา 46 วรรคสาม ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัยคําขอในสวนนี้ และกําหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยวา พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และมาตรา 198 หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นวา รัฐธรรมนูญ มาตรา 27 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทย มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ บุคคลยอมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพ และได้รับความคุมครองตามกฎหมายเทาเทียมกัน ” วรรคสาม บัญญัติวา “ การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ต่อบุคคล ไม่วาด้วยเหตุความแตกตางในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระทํามิได้ ” และมาตรา 198 เป็นบทบัญญัติในหมวด 10 ศาล สวนที่ 3 ศาลปกครอง บัญญัติวา ้ หนา 18 ่ เลม 139 ตอนที่ 68 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤศจิกายน 2565

“ การบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครองต้องมีความเป็นอิสระและดําเนินการโดยคณะกรรมการ ตุลาการศาลปกครองซึ่งประกอบด้วยประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นตุลาการในศาลปกครอง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นตุลาการในศาลปกครองไม่เกินสองคน บรรดาที่ได้รับเลือกจากขาราชการตุลาการศาลปกครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ” พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีเหตุผล ในการประกาศใชวา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้จัดตั้งศาลปกครองขึ้น เพื่อให้มีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีที่มีขอพิพาททางกฎหมายปกครองระหวางเอกชนกับหนวยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือระหวางหนวยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน เกี่ยวกับการกระทําหรือการละเวนการกระทํา ที่หนวยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทําหรือการละเวน การกระทําที่หนวยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งตามอํานาจหน้าที่ของศาลปกครองดังกลาวเป็นเรื่องที่เกี่ยวของกับการออกกฎหรือคําสั่งทางปกครอง การกระทําละเมิดในทางปกครอง หรือการทําสัญญาทางปกครอง อันเป็นเรื่องของกฎหมายมหาชน และโดยที่ระบบการพิจารณาและพิพากษาคดีจําเป็นต้องมีกระบวนการเป็นพิเศษตางจากคดีปกติทั่ว ๆ ไป เพราะผลแห่งคําพิพากษาอาจกระทบถึงการบริหารราชการแผนดิน หรือต้องจายเงินภาษีอากร ของสวนรวมเป็นคาชดเชยหรือคาเสียหายแกเอกชน ในขณะเดียวกันเอกชนจะอยู่ในฐานะเสียเปรียบ ที่ไม่อาจทราบขอมูลจากหนวยงานของรัฐได้ ในการพิจารณาจึงจําเป็นต้องใชระบบไตสวน เพื่อหาขอเท็จจริงที่แทจริง และต้องมีตุลาการที่มีความเชี่ยวชาญเป็นการเฉพาะซึ่งสามารถตรวจสอบได้ จากฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และประชาชนทั่วไปซึ่งจะถูกกระทบในทางใดทางหนึ่งจากคําพิพากษา ของศาลปกครอง โดยมาตรา 15 วรรคสาม บัญญัติวา “ ให้ ก.ศป. เสนอรายชื่อผู้ได้รับการเลื่อน ตามวรรคหนึ่ง (1) หรือได้รับการคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง (2) ต่อนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรี นํารายชื่อดังกลาวเสนอขอความเห็นชอบต่อวุฒิสภาภายในสิบหาวันนับแต่วันที่ได้รับรายชื่อ เมื่อได้รับ ความเห็นชอบแล้วให้นายกรัฐมนตรีนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ แต่งตั้ง ” ขอโตแยงของผู้รองที่วา พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่บัญญัติให้การแต่งตั้งตุลาการศาลปกครองแตกตางจากการแต่งตั้ง ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมที่ไม่ต้องให้ผู้ถูกรองให้ความเห็นชอบ เป็นการปฏิบัติที่แตกตางกันต่อสิ่งที่มี ้ หนา 19 ่ เลม 139 ตอนที่ 68 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤศจิกายน 2565

สาระสําคัญเหมือนกันขัดต่อหลักความเสมอภาค ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม นั้น เห็นวา หลักความเสมอภาคมีสาระสําคัญเพื่อคุมครองการปฏิบัติต่อบุคคลโดยจะต้อง ปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสําคัญเหมือนกันอยางเทาเทียมกันและจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสําคัญแตกตางกัน ให้แตกตางกันไปตามลักษณะของเรื่องนั้น ๆ รัฐธรรมนูญ มาตรา 194 บัญญัติให้ศาลยุติธรรม มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เวนแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอํานาจของศาลอื่น และรัฐธรรมนูญ มาตรา 197 บัญญัติให้ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจาก การใชอํานาจทางปกครองหรือเนื่องมาจากการดําเนินกิจการทางปกครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ศาลยุติธรรมและศาลปกครองจึงมีหน้าที่และอํานาจ การจัดตั้ง และวิธีพิจารณาคดีที่แตกตางกัน แมผู้พิพากษาศาลยุติธรรมและตุลาการศาลปกครองเป็นตําแหนงที่มีอํานาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติ แต่หน้าที่และอํานาจของศาลทั้งสองมีความแตกตางกัน ผู้พิพากษาหรือตุลาการในแต่ละศาลจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู ความเขาใจกฎหมาย และความเชี่ยวชาญ ตามคดีแต่ละประเภทตามความเหมาะสมของแต่ละศาล ทําให้การกําหนดที่มา ลักษณะการแต่งตั้ง และการคัดเลือกบุคคลให้ดํารงตําแหนงยอมแตกตางกันด้วย นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญบัญญัติ ให้การบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับผู้พิพากษาหรือตุลาการ เชน การสรรหาและการแต่งตั้ง การเลื่อนตําแหนง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษทางวินัย ดําเนินกำรโดยคณะกรรมการตุลาการของแต่ละศาล โดยรูปแบบคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่เหมาะสม แต่ละศาลจึงกําหนดรูปแบบ ในการคัดเลือกบุคคลเพื่อดํารงตําแหนงผู้พิพากษาหรือตุลาการที่แตกตางกัน โดยเฉพาะผู้พิพากษาศาลฎีกา ต้องเป็นบุคคลที่มีความรูและประสบการณในการพิจารณาคดีตั้งแต่ผู้ชวยผู้พิพากษา การปฏิบัติหน้าที่ อยู่ภายใตกรอบของประมวลจริยธรรมขาราชการตุลาการและควบคุมกํากับการปฏิบัติงานโดยคณะกรรมการ ตุลาการศาลยุติธรรมมาตั้งแต่ตน สําหรับตุลาการศาลปกครองสูงสุด กําหนดให้การแต่งตั้งตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดอาจดําเนินการได้โดยวิธีการพิจารณาเลื่อนตุลาการในศาลปกครองชั้นตนซึ่งดํารงตําแหนง ไม่ต่ํากวาตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นตน โดยคํานึงถึงหลักอาวุโส ความรู ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความเหมาะสม ประวัติและผลงานการปฏิบัติราชการ และโดยวิธีการพิจารณา คัดเลือกบุคคลซึ่งมิได้ดํารงตําแหนงตุลาการศาลปกครองในขณะนั้น โดยมีคุณสมบัติตามมาตรา 13 และมีความเหมาะสมที่จะแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุด ซึ่งอาจมิใชบุคคลที่เคยดํารงตําแหนงตุลาการ ้ หนา 20 ่ เลม 139 ตอนที่ 68 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤศจิกายน 2565

ในศาลปกครองชั้นตน เมื่อบุคคลผู้ดํารงตําแหนงผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมและตุลาการศาลปกครองสูงสุด มีสาระสําคัญที่แตกตางกันยอมมีกระบวนการในการคัดเลือกที่แตกตางกันได้ ไม่อาจนํามาเปรียบเทียบกัน การดําเนินการแต่ละกระบวนการในการคัดเลือกตุลาการศาลปกครองสูงสุดยอมเป็นไปตามบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยใชบังคับแกผู้สมัครเขารับการคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหนง ตุลาการศาลปกครองสูงสุดทุกคนอยางเทาเทียมกัน ดังนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม ที่บัญญัติให้การแต่งตั้งตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดได้รับความเห็นชอบจากผู้ถูกรองแล้วให้นายกรัฐมนตรีนําความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ แต่งตั้ง จึงไม่ขัดต่อหลักความเสมอภาค ไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสาม สวนที่ผู้รองโตแยงวา พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติแทรกแซงการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครอง ขัดต่อความเป็นอิสระของการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 198 นั้น เห็นวา หลักความเป็นอิสระของตุลาการเป็นหลักการสําคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่มีการแบงแยกอํานาจโดยให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอํานาจของศาลซึ่งต้องดําเนินการ ให้เป็นไปตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย เพื่อเป็นหลักประกันให้การพิจารณา พิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เป็นธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง รัฐธรรมนูญบัญญัติ หลักการคุมครองความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการไวหลายกรณี เชน ความเป็นอิสระในการทําหน้าที่ ของผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ยอมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ความเป็นอิสระในทางองคกร โดยมีหนวยงานธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดําเนินการอื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงคเพื่อให้องคกรศาลมีความเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงจากองคกรอื่นของรัฐ อันมีผลให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อยางอิสระและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งความเป็นอิสระของตัวบุคคล ที่กําหนดให้มีองคกรบริหารงานบุคคลของตุลาการโดยเฉพาะในรูปแบบคณะกรรมการตุลาการ ที่ต้องมีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล เชน การสรรหาและการแต่งตั้ง การเลื่อนตําแหนง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษทางวินัย ้ หนา 21 ่ เลม 139 ตอนที่ 68 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤศจิกายน 2565

เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวของกับการแต่งตั้งบุคคล ที่มีความเหมาะสมและสมควรได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหนงในองคกรอื่นโดยผู้ถูกรอง เชน การให้ความเห็นชอบ ให้บุคคลดํารงตําแหนงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผนดิน คณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผนดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดตั้งองคกร เชน ประธานศาลปกครองสูงสุดและตุลาการศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการฟอกเงิน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และเลขาธิการคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ผู้ถูกรองจึงเป็นองคกรนิติบัญญัติที่ให้ความเห็นชอบบุคคลเพื่อดํารงตําแหนงตาง ๆ ตามที่บัญญัติไว ในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ทั้งนี้ ผู้ถูกรองอาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 128 ตราขอบังคับ การประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 เพื่อดําเนินกิจการและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญ และกฎหมายบัญญัติไว โดยหลักการให้ความเห็นชอบบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหนงตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดบัญญัติไวครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 277 วรรคสอง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 224 วรรคสอง บัญญัติวา “ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตรและผู้ทรงคุณวุฒิในการบริหารราชการแผนดินอาจได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นตุลาการในศาลปกครองสูงสุดได้ การแต่งตั้งให้บุคคลดังกลาวเป็นตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ให้แต่งตั้งไม่นอยกวาหนึ่งในสามของจํานวนตุลาการในศาลปกครองสูงสุดทั้งหมดและต้องได้รับความเห็นชอบ ของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติและได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภากอน แล้วจึงนําความกราบบังคมทูล ” การให้ความเห็นชอบของผู้ถูกรองมีวัตถุประสงคเพื่อให้ผู้ถูกรอง ซึ่งเป็นองคกรฝ่ายนิติบัญญัติมีบทบาทกลั่นกรองผู้มีความเหมาะสมและสมควรได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหนง ตุลาการศาลปกครองสูงสุด เพื่ อให้ศาลปกครองเป็นองคกรตรวจสอบหนวยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับการยอมรับนับถือจากคู่กรณี ซึ่งเป็นหนวยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่เป็นผู้ถูกฟ้องคดี แมรัฐธรรมนูญฉบับปจจุบันไม่ได้บัญญัติให้การแต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถูกรองเหมือนดังเชนที่เคยบัญญัติไวในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผานมา แต่ยังคงหลักการเดิมในการคัดเลือกและแต่งตั้งตุลาการศาลปกครองสูงสุดในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ้ หนา 22 ่ เลม 139 ตอนที่ 68 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤศจิกายน 2565

จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นกฎหมาย ในระดับพระราชบัญญัติที่บัญญัติรับรองไวแล้ว โดยยึดถือปฏิบัติตามเจตนารมณในการจัดตั้งศาลปกครองครั้งแรก ไม่จําต้องบัญญัติไวในรัฐธรรมนูญอีก เมื่อ ก.ศป. พิจารณาคัดเลือกบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดแล้ว ให้เสนอรายชื่อดังกลาวต่อนายกรัฐมนตรีและให้นายกรัฐมนตรีนํารายชื่อ เสนอขอความเห็นชอบต่อผู้ถูกรอง จากนั้น ผู้ถูกรองจะดําเนินการตามขอบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 โดยตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดํารงตําแหนงตุลาการศาลปกครองสูงสุด รวบรวมขอเท็จจริงและพยานหลักฐานอันจําเป็น การให้ความเห็นชอบของผู้ถูกรองเป็นเพียงขั้นตอน ที่เกิดขึ้นภายหลังจาก ก.ศป. พิจารณาคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหนงตุลาการศาลปกครองสูงสุด โดยทําหน้าที่ในการตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อ กอนที่นายกรัฐมนตรีนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ แต่งตั้ง เป็นกระบวนการกลั่นกรอง ที่เกี่ยวกับความประพฤติและพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่จะแต่งตั้งให้ดํารงตําแหนงตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดโดยเริ่มตนขึ้นภายหลังได้รับรายชื่อจากนายกรัฐมนตรีและสิ้นสุดลงเมื่อมีการพิจารณาลงมติ ซึ่งเป็นไปตามขอบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ขั้นตอนดังกลาวมิได้เกี่ยวของกับ การดําเนินการคัดเลือกตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่กระทําโดย ก.ศป. เนื่องจาก ก.ศป. มีความเป็นอิสระ ในการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุดตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 13 และหลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.ศป. กําหนด นอกจากนี้ องคประกอบของ ก.ศป. ไม่ปรากฏวาผู้ถูกรองเขาไปมีสวนเกี่ยวขอ งกับ การให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบของผู้ถูกรอง จึงไม่ได้เป็นการใชอํานาจขัดหรือแยงกับ ก.ศป. และไม่กระทบต่อหลักความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครอง แต่เป็นบทบัญญัติที่สอดคลองกับหลักการในการจัดตั้งศาลปกครองและการทําหน้าที่ของตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุดที่เป็นศาลชั้นสุดทายในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง การให้ผู้ ถูกรอง ให้ความเห็นชอบบุคคลให้ดํารงตําแหนงตุลาการศาลปกครองสูงสุด ไม่ขัดต่อความเป็นอิสระ ในการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครองสูงสุด ดังนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 198 ด้วย ้ หนา 23 ่ เลม 139 ตอนที่ 68 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤศจิกายน 2565

อาศัยเหตุผลดังกลาวขางตน ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเสียงขางมากจึงวินิจฉัยวา พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม ไม่ขัดหรือแยง ต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และมาตรา 198 นายวรวิทย กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ นายนครินทร เมฆไตรรัตน์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายปญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายวิรุฬห แสงเทียน นายจิรนิติ หะวานนท ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายนภดล เทพพิทักษ์ นายบรรจงศักดิ์ วงศปราชญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ้ หนา 24 ่ เลม 139 ตอนที่ 68 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤศจิกายน 2565