Thu Oct 27 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 14/2565 เรื่อง ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ หรือไม่ [ระหว่าง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้อง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกร้อง]


คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 14/2565 เรื่อง ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ หรือไม่ [ระหว่าง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้อง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกร้อง]

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยที่ 14 / 2565 เรื่องพิจารณาที่ 17 / 2565 วันที่ 30 เดือน กันยายน พุทธศักราช 2565 ประธานสภาผู้แทนราษฎร พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่อง ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ หรือไม่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ( ผู้ร้อง ) ส่งคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ข้อเท็จจริงตามคําร้องและเอกสารประกอบคําร้อง สรุปได้ดังนี้ นายชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคณะ รวม 172 คน เข้าชื่อเสนอคําร้อง ต่อผู้ร้องว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ( ผู้ถูกร้อง ) สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 ระหว่าง ผู้ถูกร้อง ผู้ร้อง ้ หนา 4 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

วรรคสี่ เนื่องจากเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งผู้ถูกร้องเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2557 มาตรา 19 ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พุทธศักราช 2557 และเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยบทเฉพาะกาล มาตรา 264 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่ ซึ่งผู้ถูกร้องดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งผู้ถูกร้อง เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2562 ผู้ถูกร้องดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกัน จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2565 รวมระยะเวลาดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีเกินกําหนดเวลาแปดปี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2565 เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3 – 5 / 2550 และคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 24 / 2564 กรณีการใช้กฎหมายย้อนหลังเพื่อเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคการเมือง และการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติเคยวินิจฉัยว่า การที่ผู้ถูกร้องได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2562 มิใช่การเข้ารับตําแหน่งนายกรัฐมนตรีใหม่ ผู้ร้องตรวจสอบลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอคําร้องแล้วเห็นว่า มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร่วมกัน เข้าชื่อเสนอคําร้องจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคหนึ่ง จึงส่งคําร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ดังนี้ ้ หนา 5 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

( 1 ) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ ( 2 ) มีคําสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจรับคําร้องนี้ไว้วินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 หรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคําร้อง และเอกสารประกอบคําร้องเป็นกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จํานวน 172 คน เป็นจํานวนไม่น้อยกว่า หนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อร้องต่อผู้ร้องขอให้ส่งคําร้อง ไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ และผู้ร้องยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 และพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ . ศ . 2561 มาตรา 7 ( 9 ) ศาลรัฐธรรมนูญ จึงมีคําสั่งรับคําร้องไว้วินิจฉัย และให้ผู้ถูกร้องยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา สําหรับการสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง หรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคําร้องและเอกสารประกอบคําร้อง ปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่ามีกรณีตามที่ถูกร้อง จึงสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีนับแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2565 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัย ผู้ถูกร้องยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและเอกสารประกอบ สรุปได้ว่า ผู้ร้องไม่อาจนําระยะเวลา การดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องตามที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งผู้ถูกร้องเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2557 มาตรา 19 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 มานับรวมระยะเวลาการดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้อง ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 โดยผลของกฎหมายตามบทเฉพาะกาล ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง และไม่อาจนํามานับรวม ระยะเวลาการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องตามที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งผู้ถูกร้องเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่สองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2562 ต่อเนื่องกันได้ เนื่องจากความเป็นนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้อง ้ หนา 6 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 สิ้นสุดลงพร้อมการสิ้นผลใช้บังคับของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2557 นับตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 และขาดตอนจากความเป็นนายกรัฐมนตรีตามบทเฉพาะกาล มาตรา 264 วรรคหนึ่ง และความเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2562 แล้ว ดังนั้น ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2565 จนถึงปัจจุบัน ผู้ถูกร้องดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไม่เกินแปดปี ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ เป็นบทบัญญัติที่จํากัดสิทธิ ของผู้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องตีความโดยเคร่งครัด นอกจากนี้ การดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต้องห้ามดํารงตําแหน่งเกินแปดปีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ต้องหมายถึงนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงความเป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญฉบับอื่นที่สิ้นสุดลงแล้ว หากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีเจตนารมณ์ให้นับระยะเวลาการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีย้อนหลังรวมไปถึงความเป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญฉบับอื่นที่สิ้นสุดลง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต้องบัญญัติไว้ โดยชัดแจ้ง เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง ไม่อาจตีความบทบัญญัติมาตรา 158 วรรคสี่ เพื่อจํากัดสิทธิของบุคคลได้ นอกจากนี้ คําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5 / 2561 และคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 7 / 2562 ผู้ถูกร้องเห็นว่าคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้อง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2557 ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 สิ้นสุดลงและขาดตอนจากความเป็นนายกรัฐมนตรีที่เริ่มต้นใหม่ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 264 วรรคหนึ่งแล้ว อีกทั้งการนับระยะเวลา การดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ เป็นคนละประเด็นกับการใช้กฎหมายย้อนหลังตามคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3 - 5 / 2550 และคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 24 / 2564 ที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง การที่ผู้ร้องเริ่มนับระยะเวลาการดํารงตําแหน่ง ้ หนา 7 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

นายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้อง ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 เป็นการเข้าใจในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ที่ไม่ถูกต้อง คําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ผู้ร้องกล่าวอ้างไม่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ผู้ร้องกล่าวหาผู้ถูกร้อง อีกทั้งการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องไม่ขัดต่อหลักมาตรฐานสากลและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ถูกร้อง เชื่อโดยสุจริตบนพื้นฐานของหลักกฎหมายหลักนิติธรรม และตามมาตรฐานสากลว่าการดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องยังไม่เกินแปดปีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ เนื่องจากไม่อาจนําระยะเวลาการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้อง เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 นับรวมกับการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง และการดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคหนึ่ง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2562 ได้ สําหรับบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 500 วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 ที่ปรากฏความเห็นของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และ นายสุพจน์ ไข่มุกด์ รองประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ คนที่หนึ่ง ว่า แม้จะเป็นการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี อยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ใช้บังคับ สามารถนับระยะเวลารวมกับ ระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้ได้ การประชุมดังกล่าวเป็นเพียงการประชุม เตรียมการจัดทําหนังสือ “ ความมุ่งหมายและคําอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ” แต่ไม่ปรากฏความเห็นเช่นว่านี้ในหนังสือดังกล่าว จึงไม่อาจถือเป็นเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง นอกจากนี้ การที่ผู้ร้องอ้างถึงการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ไม่เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ถูกร้องและคู่สมรสในคราวได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2562 เนื่องจากกรณีดังกล่าวไม่ใช่การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินครั้งแรก ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2561 มาตรา 105 วรรคสาม ( 1 ) แต่เป็นการยื่นเพื่อเป็นหลักฐานตามมาตรา 105 วรรคสี่ โดยกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกร้องดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ้ หนา 8 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

มาตรา 158 นับแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 ซึ่งเป็นวันที่ผู้ถูกร้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินครั้งแรก ผู้ร้องไม่อาจนํามาพิจารณารวมเป็นเรื่องเดียวกันได้ เนื่องจากการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินกับการนับ ระยะเวลาการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีมีหลักเกณฑ์และเจตนารมณ์ รวมถึงลําดับศักดิ์ของกฎหมายต่างกัน และอยู่ในอํานาจหน้าที่ขององค์กรที่แตกต่างกัน ผู้ร้องจะนําการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมาเป็นแนวทางการตีความรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ที่เป็นบทบัญญัติจํากัดสิทธิของบุคคลมิได้ เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา อาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ . ศ . 2561 มาตรา 27 วรรคสาม ศาลรัฐธรรมนูญ มีหนังสือเรียกเอกสาร หลักฐาน หรือบุคคล ให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ในฐานะอดีตประธานกรรมการ ร่างรัฐธรรมนูญและเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดทําความเห็น จัดส่งข้อมูลและเอกสารหรือหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ในฐานะอดีตประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ทําความเห็นเป็นหนังสือ ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2565 สรุปได้ว่า คณะรัฐมนตรีรวมทั้งนายกรัฐมนตรีที่ดํารงตําแหน่งอยู่ใน วันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญนี้ตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ สําหรับรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 500 วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 ในส่วนที่เกี่ยวกับคํากล่าวของผู้ทําความเห็น เป็นการจดรายงาน ที่ไม่ครบถ้วนและเป็นการสรุปตามความเข้าใจของผู้จด คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญยังมิได้ตรวจรับรอง รายงานการประชุมนั้น เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีหนังสือสํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ สผ 0003 / 10148 ลงวันที่ 2 กันยายน 2565 จัดส่งสําเนาความมุ่งหมายและคําอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 และมาตรา 264 และสําเนาบันทึกการประชุม และสําเนารายงานการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในการพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 และมาตรา 264 ผู้ร้องยื่นคําร้องจัดส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ประกอบด้วย ความเห็นเกี่ยวกับการนับระยะเวลา การดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องซึ่งเป็นความเห็นในทํานองเดียวกันว่าผู้ถูกร้องดํารงตําแหน่ง ้ หนา 9 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

นายกรัฐมนตรี นับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 ระยะเวลาการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้อง ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว และครบกําหนดระยะเวลาแปดปีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ แล้ว และจัดส่งความเห็นและเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม กรณีที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ในฐานะประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญให้ความเห็นเป็นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า โดยผลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 264 คณะรัฐมนตรี รวมทั้งนายกรัฐมนตรีที่ดํารงตําแหน่งอยู่เฉพาะในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 อันเป็นวันที่ รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ และกําหนดระยะเวลาการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 158 วรรคสี่ เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 เป็นต้นไป นั้น ผู้ร้องเห็นว่า นายกรัฐมนตรีที่ดํารงตําแหน่ง อยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกาศใช้เป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2557 มาตรา 19 มิใช่นายกรัฐมนตรีที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงไม่มีเหตุผลที่จะนับระยะเวลา ดํารงตําแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 อันเป็นวันที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกาศใช้ หากแต่ต้องนับจากวันที่มีประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งผู้ถูกร้อง เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 และการที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ให้ความเห็นว่า รายงานการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 500 วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 ในส่วนที่เกี่ยวกับคํากล่าวของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นการจดรายงานที่ไม่ครบถ้วน เป็นการสรุปตามความเข้าใจ ของผู้จด คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญยังมิได้ตรวจรับรองรายงานการประชุม เนื่องจากเป็นการประชุม ครั้งสุดท้ายและคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ประกาศสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 12 กันยายน 2561 ความไม่ครบถ้วนดังกล่าวอาจทําให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ นั้น ผู้ร้องเห็นว่า บันทึกการประชุม คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 500 มีข้อความที่ระบุถึงเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 264 อันเกี่ยวเนื่องไปถึงมาตรา 158 วรรคสี่ และการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญครั้งดังกล่าวมิใช่การประชุมครั้งสุดท้ายตามที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ กล่าวอ้าง เนื่องจากมีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 501 วันอังคารที่ 11 กันยายน 2561 ้ หนา 10 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

ซึ่ง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เข้าร่วมประชุม โดยในระเบียบวาระที่ 2 บันทึกว่า “ คณะกรรมการมีมติรับรอง บันทึกการประชุมครั้งที่ 497 วันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2561 ถึงครั้งที่ 500 วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 ที่คณะอนุกรรมการพิจารณาตรวจบันทึกการประชุมและรายงานการประชุมตรวจทานแล้ว โดยไม่มีการแก้ไข ” บันทึกการประชุมดังกล่าวเป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานได้จัดทําขึ้น คณะอนุกรรมการ พิจารณาตรวจบันทึกการประชุมและรายงานการประชุมตรวจทานและรับรองบันทึกการประชุม โดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจึงเป็นเอกสารที่ถูกต้องและใช้อ้างอิงได้ คํากล่าวอ้างของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่อ้างว่าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมิได้ตรวจรับรองรายงานการประชุมเนื่องจากเป็นการประชุมครั้งสุดท้าย เป็นการกล่าวถ้อยคําอันเป็นเท็จซึ่งเป็นประเด็นสําคัญแห่งการวินิจฉัย ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือเรียกเอกสาร หลักฐาน หรือบุคคล ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดส่งสําเนาบันทึกการประชุมและรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 501 ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคําร้อง คําร้องเพิ่มเติม คําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ความเห็นข้อมูล ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบแล้ว เห็นว่า คดีมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัย จึงยุติการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ . ศ . 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กําหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงแล้วตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 170 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ ( 1 ) ตาย ( 2 ) ลาออก ( 3 ) สภาผู้แทนราษฎร มีมติไม่ไว้วางใจ ( 4 ) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 ( 5 ) กระทําการอันเป็น การต้องห้ามตามมาตรา 186 หรือมาตรา 187 ( 6 ) มีพระบรมราชโองการให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ตามมาตรา 171 ” และวรรคสอง บัญญัติว่า “ นอกจากเหตุที่ทําให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามวรรคหนึ่งแล้ว ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อครบกําหนดเวลาตามมาตรา 158 วรรคสี่ ด้วย ” โดยมาตรา 158 วรรคสี่ บัญญัติว่า “ นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดํารงตําแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป หลังพ้นจากตําแหน่ง ” ้ หนา 11 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินสามสิบห้าคนประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน ” วรรคสอง บัญญัติว่า “ นายกรัฐมนตรี ต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159 ” วรรคสาม บัญญัติว่า “ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ” มาตรา 159 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรีจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 และเป็นผู้มีชื่อ อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 เฉพาะจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของสภาผู้แทนราษฎร ” วรรคสอง บัญญัติว่า “ การเสนอชื่อตามวรรคหนึ่งต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า หนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ” วรรคสาม บัญญัติว่า “ มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องกระทําโดยการลงคะแนน โดยเปิดเผย และมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ” และมาตรา 272 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ดําเนินการตามมาตรา 159 เว้นแต่การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ให้กระทําในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และมติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 วรรคสาม ต้องมีคะแนนเสียง มากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ” วรรคสอง บัญญัติว่า “ ในระหว่างเวลา ตามวรรคหนึ่ง หากมีกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ ตามมาตรา 88 ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภาขอให้รัฐสภามีมติ ยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลันและในกรณีที่รัฐสภา มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 หรือไม่ก็ได้ ” ้ หนา 12 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กําหนดวิธีการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี เป็น 2 กรณี ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่น คือ การได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 และการได้มาซึ่งบุคคลที่ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามบทเฉพาะกาล มาตรา 272 การได้มา ซึ่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 มีหลักการสําคัญว่าให้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควร ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจากบุคคลที่พรรคการเมืองแจ้งรายชื่อต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนการเลือกตั้ง โดยต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญกําหนดด้วย จึงเป็นหลักการสําคัญ ประการหนึ่งของการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เมื่อผู้ถูกร้องได้รับความเห็นชอบ ตามมาตรา 159 ประกอบมาตรา 272 และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2562 ผู้ถูกร้องจึงเป็นผู้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยบริบูรณ์ และเป็นไปตามหลักทั่วไป ของการมีผลใช้บังคับของกฎหมายและหลักความแน่นอนชัดเจนของกฎหมาย กล่าวคือ การดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรีตามมาตรา 158 วรรคสี่ ต้องพิจารณากระบวนการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 158 ประกอบมาตรา 159 โดยเฉพาะเงื่อนไขในมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “ ให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ ตามมาตรา 88 เฉพาะจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ” ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มีความหมาย เฉพาะเจาะจงตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คือ บุคคลที่จะได้รับ การเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 เฉพาะจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าร้อยละห้า ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น การที่ผู้ถูกร้องได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2557 มาตรา 19 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ถวายคําแนะนํา ผู้ถูกร้องไม่ใช่นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งต้องมีที่มาตามมาตรา 158 วรรคสอง กล่าวคือได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ้ หนา 13 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีบทเฉพาะกาล มาตรา 264 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่ และให้นําความในมาตรา 263 วรรคสาม มาใช้บังคับแก่การดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม ” วรรคสอง บัญญัติว่า “ รัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2557 แล้ว ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้สําหรับรัฐมนตรีตามมาตรา 160 ยกเว้น ( 6 ) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรา 98 ( 12 ) ( 13 ) ( 14 ) และ ( 15 ) และต้องพ้นจากตําแหน่ง ตามมาตรา 170 ยกเว้น ( 3 ) และ ( 4 ) แต่ในกรณีตาม ( 4 ) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรา 98 ( 12 ) ( 13 ) ( 14 ) และ ( 15 ) และยกเว้นมาตรา 170 ( 5 ) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการดําเนินการ ตามมาตรา 184 ( 1 )” วรรคสาม บัญญัติว่า “ การดําเนินการแต่งตั้งรัฐมนตรีในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 1 ) พุทธศักราช 2558 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พุทธศักราช 2559 แต่ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคสองด้วย ” วรรคสี่ บัญญัติว่า “ ให้นําความในมาตรา 263 วรรคเจ็ด มาใช้บังคับแก่การสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งและวรรคสามด้วยโดยอนุโลม ” กรณีมีปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปว่า จะถือว่าคณะรัฐมนตรีซึ่งมีผู้ถูกร้องเป็นนายกรัฐมนตรี ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นั้น เป็นคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติที่มีความมุ่งหมาย 2 ประการ ความมุ่งหมายประการแรกเพื่อเป็นบทบัญญัติ ที่ยืนยันถึงหลักความต่อเนื่องของคณะรัฐมนตรี กล่าวคือ แม้คณะรัฐมนตรีซึ่งมีผู้ถูกร้องเป็นนายกรัฐมนตรี ้ หนา 14 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

จะเป็นคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับอื่นอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกาศใช้บังคับ แต่เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกาศใช้บังคับ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 ต้องถือว่าคณะรัฐมนตรีซึ่งแม้จะเข้าสู่ตําแหน่งโดยรัฐธรรมนูญฉบับอื่น ย่อมเป็นคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 อันเป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นต้นไป ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 264 ส่วนความมุ่งหมายประการที่สอง เพื่อนํากฎเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้บังคับใหม่ ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาใช้บังคับแก่คณะรัฐมนตรีที่มีอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ด้วย ซึ่งเป็นไป ตามหลักทั่วไปที่คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ประกาศขึ้นมาใหม่ทุกประการทันที เว้นแต่บทเฉพาะกาลนั้น จะมีข้อยกเว้น มิให้นําเรื่องใดมาใช้บังคับแก่คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ดังปรากฏในมาตรา 264 วรรคสอง ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการบัญญัติข้อยกเว้นในบางเรื่องเท่านั้น หากมิได้มีการบัญญัติยกเว้นบทบัญญัติในเรื่องใดไว้ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในเรื่องนั้นทั้งสิ้น ความมุ่งหมายของบทเฉพาะกาล มาตรา 264 เป็นไปตามหลักทั่วไปของการบังคับใช้กฎหมาย คือ กฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับนับแต่วันประกาศใช้เมื่อรัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 ย่อมมีความหมายว่า ทุกบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญย่อมมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปในวันดังกล่าว เว้นแต่บทเฉพาะกาลจะบัญญัติให้เรื่องใดยังไม่มีผลใช้บังคับ ดังนั้น กรณีของมาตรา 158 วรรคสี่ ในเรื่องระยะเวลาแปดปีจึงต้องเริ่มนับทันทีนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ จากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 158 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญนี้ สําหรับข้อกล่าวอ้างที่ว่าคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3 - 5 / 2550 และคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 24 / 2564 เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังเพื่อเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคการเมือง และการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่โทษทางอาญาสามารถกระทําได้เช่นเดียวกับ กรณีตามคําร้องในคดีนี้นั้น เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคําวินิจฉัยดังกล่าวเป็นกรณีเกี่ยวกับพรรคการเมือง ้ หนา 15 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

กระทําการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง อันเป็นเหตุให้ถูกยุบพรรคและเป็นผลให้กรรมการบริหาร พรรคการเมืองถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง และเป็นกรณีลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง ทั้งสองกรณีดังกล่าวมีบทบัญญัติของกฎหมาย ที่บัญญัติไว้โดยชัดเจนว่าให้มีผลย้อนหลังได้เพราะเป็นการกระทําฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือขาดคุณสมบัติ มาตั้งแต่แรก แต่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ใช้บังคับ ไม่ได้บัญญัติกรณีการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญกําหนดให้มีผลย้อนหลังได้ คําวินิจฉัยทั้งสองดังกล่าวเป็นคนละกรณีกับข้อเท็จจริงในคดีนี้ที่เป็นกรณีเกี่ยวกับการดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรีตามระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญกําหนด อันเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงซึ่งมีหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ต่างกัน ไม่อาจนํามาเทียบเคียงได้ นอกจากนี้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ . ศ . 2561 แตกต่างกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ส่วนข้อกล่าวอ้างที่ว่าบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 500 วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 ระบุเจตนารมณ์การจํากัดระยะเวลาการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสี่ ไว้อย่างชัดเจน ประกอบกับประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และรองประธานกรรมการ ร่างรัฐธรรมนูญ คนที่หนึ่ง ให้ความเห็นเกี่ยวกับการนับระยะเวลาการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่ดํารงตําแหน่งอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ใช้บังคับ ว่าบุคคลใดก็ตาม ที่ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยวิธีการใดก็ตามก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้บังคับสามารถนับรวม ระยะเวลาดังกล่าวกับระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ ซึ่งเมื่อนับรวมระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมีระยะเวลาไม่เกินแปดปี นั้น เห็นว่า การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาความมุ่งหมายและคําอธิบายประกอบรายมาตรา ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นเพียงการอธิบายแนวความคิดของคณะกรรมการ ร่างรัฐธรรมนูญในการจัดทําบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในมาตราต่าง ๆ ว่ามีความมุ่งหมายอย่างไร ้ หนา 16 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

และเป็นการพิจารณาภายหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกาศใช้บังคับ เป็นเวลาถึง 1 ปี 5 เดือน ประกอบกับความเห็นของประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และรองประธาน กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ คนที่หนึ่ง ที่ผู้ร้องกล่าวอ้างดังกล่าว มิได้นําไประบุไว้เป็นความมุ่งหมายและคําอธิบาย ประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 นอกจากนี้ บันทึกการประชุมและรายงานการประชุม คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่พิจารณาเกี่ยวกับการกําหนดระยะเวลาการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 158 วรรคสี่ ไม่ปรากฏประเด็นในการพิจารณาหรืออภิปรายเกี่ยวกับการนับระยะเวลา การดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีว่าสามารถนับรวมระยะเวลาการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ดํารงตําแหน่งอยู่ ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้บังคับด้วย การกําหนดระยะเวลาในการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสี่ จึงหมายความเฉพาะการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เท่านั้น ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกาศใช้บังคับในวันที่ 6 เมษายน 2560 และผู้ถูกร้องดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน อยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 264 การดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ของผู้ถูกร้องดังกล่าว จึงเป็นการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 158 วรรคสี่ ทั้งนี้ การให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้ รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จะต้องถือเอาวันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ เป็นวันเริ่มต้นเข้ารับตําแหน่ง ผู้ถูกร้องจึงดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามความในมาตรา 264 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นับแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 เมื่อนับถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ผู้ถูกร้องดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรียังไม่ครบกําหนดเวลาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องจึงไม่สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ ้ หนา 17 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเสียงข้างมากจึงวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรี ของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายวิรุฬห์ แสงเทียน นายจิรนิติ หะวานนท์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายนภดล เทพพิทักษ์ นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ้ หนา 18 ่ เลม 139 ตอนที่ 67 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565