Mon Oct 24 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

กฎ ก.ก. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2565


กฎ ก.ก. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2565

กฎ ก . ก . ว่าด้วยการดําเนินการทางวินัย พ . ศ . 2565 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 (3) และมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ กรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 255 4 ประกอบมาตรา 94 มาตรา 95 มาตรา 96 มาตรา 97 มาตรา 101 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ . ศ . 2551 และมาตรา 97 มาตรา 98 มาตรา 100 มาตรา 103 และมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ . ศ . 2547 ก . ก . จึงออก กฎ ก . ก . ไว้ ดังต่อไปนี้ หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 1 กฎ ก . ก . นี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกกฎ ก . ก . ว่าด้วยอํานาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2550 ข้อ 3 ในกฎ ก . ก . นี้ “ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร “ ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุ ” หมายความว่า ผู้บังคับบัญชาผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 5 2 หรือมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2554 แล้วแต่กรณี “ กระทําผิดวินัยร่วมกัน ” หมายความว่า พฤติการณ์การกระทําความผิดวินัยที่มีมูลกระทําผิด มาจากกรณีเดียวกัน ้ หนา 82 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

หมวด 2 การดําเนินการเมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ามีการกระทําผิดวินัย ข้อ 4 เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดกระทําผิดวินัย สําหรับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรายงาน ตามลําดับชั้นให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุทราบโดยเร็ว โดยทําเป็นหนังสือ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ชื่อผู้กล่าวหา ( ถ้ามี ) ( 2 ) ชื่อและตําแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา ( 3 ) ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แห่งการกระทําที่กล่าวหาหรือเป็นที่สงสัยว่ากระทําผิดวินัย ( 4 ) พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเท่าที่มี เมื่อความปรากฏต่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุว่า มีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการ กรุงเทพมหานครสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัย ให้ดําเนินการต่อไปตามหมวด 3 สําหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร เมื่อปรากฏกรณีที่ควร กล่าวหาว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครผู้ใดกระทําผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชา ดําเนินการต่อไปตามหมวด 4 ข้อ 5 การกล่าวหาที่จะดําเนินการตามกฎ ก . ก . นี้ ถ้าเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือให้มี รายละเอียด ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ระบุชื่อของผู้กล่าวหา และลงลายมือชื่อผู้กล่าวหา ( 2 ) ระบุชื่อหรือตําแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา หรือข้อเท็จจริงที่เพียงพอให้ทราบว่าเป็นการกล่าวหา ข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใด ( 3 ) ระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งการกระทําที่มีการกล่าวหาเพียงพอที่จะเข้าใจได้ หรือ แสดงพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสืบสวนสอบสวนต่อไปได้ หากเป็นบัตรสนเท่ห์ให้พิจารณาเฉพาะรายที่ระบุหลักฐาน กรณีแวดล้อมปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอนเท่านั้น ในกรณีที่เป็นการกล่าวหาด้วยวาจา ให้ผู้บังคับบัญชาผู้ได้รับฟังการกล่าวหาจัดให้มีการทํา บันทึกคํากล่าวหาที่มีรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง และให้ผู้กล่าวหาลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ข้อ 6 กรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดกระทําผิดวินัยที่จะดําเนินการ ตามกฎ ก . ก . นี้ อาจมีลักษณะ ดังนี้ ้ หนา 83 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

( 1 ) มีการกล่าวหาที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้กล่าวหา ไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้กล่าวหา แต่ระบุชื่อหรือ ตําแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา หรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นเพียงพอที่จะทราบว่ากล่าวหาข้าราชการ กรุงเทพมหานครผู้ใด และข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์นั้นเพียงพอที่จะสืบสวนสอบสวนต่อไปได้ หรือ ( 2 ) มีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาอันเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ใดกระทําผิดวินัย โดยมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสืบสวนสอบสวนต่อไปได้ หมวด 3 การดําเนินการกรณีข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ส่วนที่ 1 การสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้น ข้อ 7 เมื่อได้รับรายงานตามข้อ 4 วรรคสอง หรือความปรากฏต่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุว่า มีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัย ให้ดําเนินการ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้โดยเร็ว ( 1 ) พิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทําผิดวินัยหรือไม่ ( 2 ) ดําเนินการสืบสวนหรือสั่งให้ดําเนินการสืบสวน และพิจารณาว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่า ผู้นั้นกระทําผิดวินัยหรือไม่ ในการนี้ ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุอาจสืบสวนเองหรือให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ดําเนินการสืบสวนแล้วรายงานมาเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้ โดยต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน สี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่ความปรากฏต่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุหรือได้รับรายงาน ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัย หรือเป็นกรณีที่มีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้วและเห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการ กรุงเทพมหานครสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัย ให้ดําเนินการตามข้อ 8 ต่อไป ข้อ 8 ในกรณีที่ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุพิจารณาเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการ กรุงเทพมหานครสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ดําเนินการต่อไปตามส่วนที่ 2 ถ้าพิจารณาเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัย อย่างร้ายแรง ให้ดําเนินการต่อไปตามหมวด 5 แต่ถ้าพิจารณาเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัย ให้ยุติเรื่อง ซึ่งอาจเป็นกรณี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แวดล้อมและพยานหลักฐานไม่เพียงพอให้ทราบว่าข้าราชการ กรุงเทพมหานครผู้ใดเป็นผู้กระทําผิดวินัย ( 2 ) ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แวดล้อมและพยานหลักฐานไม่เพียงพอที่จะทําให้เข้าใจได้ว่า มีการกระทําผิดวินัย หรือไม่เพียงพอที่จะดําเนินการสืบสวนสอบสวนต่อไปได้ ( 3 ) พฤติการณ์แห่งการกระทํานั้นไม่เป็นความผิดทางวินัย ้ หนา 84 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ส่วนที่ 2 การดําเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ กระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ข้อ 9 ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามข้อ 7 และข้อ 8 ปรากฏว่ากรณีมีมูลที่ควร กล่าวหาว่าข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุ ดําเนินการต่อไปตามหมวดนี้ โดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ แต่ถ้าได้แต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนแล้ว ต้องดําเนินการตามข้อ 1 3 ข้อ 1 4 และข้อ 1 5 จนแล้วเสร็จ ข้อ 10 ในกรณีที่ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุดําเนินการทางวินัยโดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ต้องดําเนินการตามหมวดนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่พิจารณาเห็นว่า กรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน เวลาดังกล่าว ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุขยายเวลาได้ตามความจําเป็น โดยแสดงเหตุผลความจําเป็นไว้ด้วย ข้อ 1 1 ในการดําเนินการตามข้อ 10 ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุน ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ภายในระยะเวลาที่กําหนด ในกรณีที่ผ้ ู ถูกกล่าวหาไม่ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในเวลาที่กําหนด ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหา ไม่ประสงค์จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ข้อ 1 2 เมื่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุได้ดําเนินการตามข้อ 1 1 แล้วให้พิจารณาสั่งหรือดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทําผิดวินัยตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง โดยทํา เป็นคําสั่งตามข้อ 72 ( 2 ) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 73 โดยทําเป็นคําสั่งตามข้อ 76 ( 3 ) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้ โดยให้ทําทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ โดยทําเป็นคําสั่งงดโทษตามข้อ 78 ( 4 ) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดําเนินการตามหมวด 5 ต่อไป ทั้งนี้ การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกินสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานและสํานวน การสอบสวน ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้ขยายเวลาได้ ตามความจําเป็น โดยแสดงเหตุผลความจําเป็นไว้ด้วย ้ หนา 85 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ข้อ 1 3 ในกรณีที่ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุดําเนินการทางวินัยโดยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และการคัดค้านกรรมการสอบสวน ให้นําข้อ 26 วรรคหนึ่ง วรรคสาม วรรคสี่ ข้อ 27 วรรคหนึ่ง ข้อ 2 8 ข้อ 2 9 ข้อ 30 ข้อ 31 ข้อ 32 และข้อ 33 มาใช้บังคับโดยอนุโลม กรณีข้ำราชการกรุงเทพมหานครสามัญในหน่วยงานเดียวกัน หรือต่ำงหน่วยงานกัน ถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยร่วมกัน การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ กําหนดในข้อ 1 6 ข้อ 1 4 คณะกรรมการสอบสวนตามข้อ 1 3 ต้องดําเนินการสอบสวน รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ รับฟั งคําชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา แล้วเก็บรวบรวมไว้ในสํานวนการสอบสวน และทํารายงาน การสอบสวนพร้อมความเห็นเสนอผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ทั้งนี้ ต้องให้แล้วเสร็จภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่ประธานกรรมการทราบคําสั่ง ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมีเหตุผลและความจําเป็นไม่อาจดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน กําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานกรรมการรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อขอ ขยายเวลาตามความจําเป็น ในการนี้ ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะขยายเวลาให้ตามที่ เห็นสมควรโดยต้องแสดงเหตุผลไว้ด้วย หรือจะสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนยุติการดําเนินการ แล้วพิจารณาสั่งหรือดําเนินการตามข้อ 1 2 ต่อไปก็ได้ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาให้ถ้อยคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาหรือไม่ยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ภายในเวลาที่คณะกรรมการสอบสวนกําหนด ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนจะเห็นควรดําเนินการเป็นอย่างอื่นเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม ข้อ 1 5 เมื่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้รับรายงานการสอบสวนและสํานวน การสอบสวนตามข้อ 1 4 แล้ว ให้พิจารณาสั่งหรือดําเนินการตามข้อ 1 2 หรือสั่งหรือดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ในกรณีที่เห็นว่าควรรวบรวมข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพิ่มเติม ให้กําหนดประเด็น หรือสาระสําคัญที่ต้องการให้คณะกรรมการสอบสวนทําการสอบสวนเพิ่มเติม ( 2 ) ในกรณีที่เห็นว่าการดําเนินการใดไม่ถูกต้อง ให้สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดําเนินการ ให้ถูกต้องโดยเร็ว ทั้งนี้ การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกินสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานและสํานวน การสอบสวน ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้ขยายเวลาได้ตามความจําเป็น โดยแสดงเหตุผลความจําเป็นไว้ด้วย ข้อ 16 การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสําหรับกรณีข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ในหน่วยงานเดียวกัน หรือต่างหน่วยงานกันถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงร่วมกัน ให้ดําเนินการ ดังนี้ ้ หนา 86 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

(1) กรณีข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญในหน่วยงานเดียวกันถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัย ร่วมกัน ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุผู้ถูกกล่าวหาที่ดํารงตําแหน่งในระดับสูงสุดเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวน (2) กรณีข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญต่างหน่วยงานกันซึ่งอยู่ในอํานาจสั่งบรรจุของ หัวหน้าหน่วยงานถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยร่วมกัน ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวน (3) กรณีข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญต่างหน่วยงานกันกระทําผิดวินัยร่วมกัน นอกเหนือจาก (2) ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุผู้ถูกกล่าวหาที่ดํารงตําแหน่งในระดับสูงสุดเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวน (4) กรณีปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ตรวจราชการสูง ถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยร่วมกับข้าราชการ กรุงเทพมหานครสามัญ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในกรณีข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงร่วมกับ ข้าราชการกรุงเทพมหานครต่างประเภทกัน หรือถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงร่วมกับ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้นําข้อ 25 วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า หรือ วรรคหก แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด 4 การดําเนินการกรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ส่วนที่ 1 การสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้น ข้อ 17 เมื่อมีการกล่าวหาโดยปรากฏตัวผู้กล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครผู้ใดกระทําผิดวินัยโดยยังไม่มีพยานหลักฐาน ให้ผู้บังคับบัญชารีบดําเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทําผิด วินัยหรือไม่ โดยต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่มีการกล่าวหาหรือกรณี เป็นที่สงสัย ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัย จึงจะยุติเรื่องได้ ถ้าเห็นว่ากรณี มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัย ก็ให้ดําเนินการทางวินัยตามส่วนที่ 2 โดยทันที ข้อ 18 กรณีที่ถือว่าไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ผู้ใดกระทําผิดวินัยและผู้บังคับบัญชาสั่งให้ยุติเรื่องได้ อาจเป็นกรณี ดังต่อไปนี้ ้ หนา 87 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

( 1 ) ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แวดล้อมและพยานหลักฐานไม่เพียงพอให้ทราบว่าข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครผู้ใดเป็นผู้กระทําผิดวินัย ( 2 ) ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แวดล้อมและพยานหลักฐานไม่เพียงพอที่จะทําให้เข้าใจได้ว่า มีการกระทําผิดวินัย หรือไม่เพียงพอที่จะดําเนินการสืบสวนสอบสวนต่อไปได้ ( 3 ) พฤติการณ์แห่งการกระทํานั้นไม่เป็นความผิดทางวินัย ส่วนที่ 2 การดําเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร กระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ข้อ 19 ในกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ผู้ ใดกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือได้มีการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นตามข้อ 17 ให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และการคัดค้าน กรรมการสอบสวน ให้นําข้อ 26 วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ ข้อ 27 วรรคสอง ข้อ 2 8 ข้อ 2 9 ข้อ 30 ข้อ 31 ข้อ 3 2 และข้อ 33 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 20 การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสําหรับกรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรุงเทพมหานครในหน่วยงานเดียวกัน หรือต่างหน่วยงานถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ร่วมกัน ให้ดําเนินการ ดังนี้ (1) กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครในหน่วยงานเดียวกัน ถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยร่วมกัน ให้ผู้บังคับบัญชาผู้ถูกกล่าวหาที่ดํารงตําแหน่งในระดับสูงสุดเป็น ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (2) กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครต่างหน่วยงานกันซึ่งอยู่ใน อํานาจสั่งบรรจุของหัวหน้าหน่วยงานถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยร่วมกัน ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (3) กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครต่างหน่วยงานกันกระทําผิด วินัยร่วมกันนอกเหนือจาก (2) ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2554 ซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุผู้ถูกกล่าวหา ที่ดํารงตําแหน่งในระดับสูงสุดเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในกรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัย อย่างไม่ร้ายแรงร่วมกับข้าราชการกรุงเทพมหานครต่างประเภทกัน หรือถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัย อย่างไม่ร้ายแรงร่วมกับข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ พนักงานส่วนท้องถิ่น การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้นําข้อ 25 วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า หรือวรรคหก แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม ้ หนา 88 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ข้อ 21 คณะกรรมการสอบสวนต้องดําเนินการสอบสวน รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ รับฟัง คําชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา แล้วเก็บรวบรวมไว้ในสํานวนการสอบสวน และทํารายงานการสอบสวน พร้อมความเห็นเสนอผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ทั้งนี้ ต้องให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่ วันที่ประธานกรรมการทราบคําสั่ง ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมีเหตุผลและความจําเป็นไม่อาจดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน กําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานกรรมการรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อขอ ขยายเวลาตามความจําเป็น ในการนี้ ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะขยายเวลาให้ตามที่ เห็นสมควร โดยต้องแสดงเหตุผลไว้ด้วย หรือจะสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนยุติการดําเนินการ แล้วพิจารณาสั่งหรือดําเนินการตามข้อ 23 ต่อไปก็ได้ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาให้ถ้อยคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาหรือไม่ยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ภายในเวลาที่คณะกรรมการสอบสวนกําหนด ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนจะเห็นควรดําเนินการเป็นอย่างอื่นเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม ข้อ 22 เมื่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้รับรายงานการสอบสวนและสํานวน การสอบสวนตามข้อ 21 แล้ว ให้พิจารณาสั่งหรือดําเนินการตามข้อ 23 หรือสั่งหรือดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ในกรณีที่เห็นว่าควรรวบรวมข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพิ่มเติม ให้กําหนดประเด็น หรือสาระสําคัญที่ต้องการให้คณะกรรมการสอบสวนทําการสอบสวนเพิ่มเติม ( 2 ) ในกรณีที่เห็นว่าการดําเนินการใดไม่ถูกต้องให้สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดําเนินการ ให้ถูกต้องโดยเร็ว ทั้งนี้ การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกินสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานและสํานวน การสอบสวน ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้ขยายเวลาได้ ตามความจําเป็น โดยแสดงเหตุผลความจําเป็นไว้ด้วย ข้อ 23 เมื่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้รับรายงานการสอบสวนแล้วให้พิจารณาสั่ง หรือดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทําผิดวินัยตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง โดยทําเป็น คําสั่งตามข้อ 72 ( 2 ) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 74 โดยทําเป็นคําสั่งตามข้อ 76 ( 3 ) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้ โดยให้ทําทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ โดยทําเป็นคําสั่งงดโทษตามข้อ 78 ้ หนา 89 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

( 4 ) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดําเนินการตามหมวด 5 ต่อไป ทั้งนี้ การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกินสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานและสํานวน การสอบสวน ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้ขยายเวลาได้ตามความจําเป็น โดยแสดงเหตุผลความจําเป็นไว้ด้วย หมวด 5 การดําเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานคร กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้อ 24 ในกรณีที่ปรากฏว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใด กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุหรือผู้มีอํานาจตามข้อ 25 แล้วแต่กรณี แต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวนเพื่อดําเนินการสอบสวนต่อไป ในกรณีที่เป็นการดําเนินการต่อเนื่องจากการดําเนินการตามข้อ 1 2 ( 4 ) หรือข้อ 23 (4) ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุหรือผู้มีอํานาจตามข้อ 25 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นใหม่เพื่อดําเนินการต่อไป ตามหมวดนี้ ส่วนข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสํานวนการสอบสวนตามข้อ 1 4 หรือข้อ 21 จะนํามาใช้ในการสอบสวนนี้หรือไม่เพียงใด ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการสอบสวน ข้อ 25 กรณีผู้มีอํานาจสั่งบรรจุได้ดําเนินการทางวินัยหรือได้รับรายงานเห็นว่า กรณีเป็น การกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในกรณีที่ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตําแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าหน่วยงานระดับสํานัก รองหัวหน้าหน่วยงานระดับสํานัก หัวหน้าหน่วยงานต่ํากว่า ระดับสํานัก ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษหรือตําแหน่งอื่นที่ ก . ก . กําหนดในระดับเทียบเท่า ถูกกล่าวหาว่า กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันไม่ว่าผู้นั้นจะเป็น ข้าราชการกรุงเทพมหานครประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกัน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ส่วนตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกอง ตําแหน่งประเภท วิชาการระดับชํานาญการพิเศษ ตําแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโสหรือตําแหน่งอื่นที่ ก . ก . กําหนด ในระดับเทียบเท่า ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในกรณีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครตําแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะ เชี่ยวชาญพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกับผู้อยู่ใต้บังคับ บัญชาหรือผู้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครประเภทเดียวกันหรือ ต่างประเภทกัน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ส่วนตําแหน่ง ซึ่งมีวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ้ หนา 90 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ในกรณีที่ข้าราชการกรุงเทพมหานครตําแหน่งอื่นนอกจากตําแหน่งตามวรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งสังกัดสํานักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสํานัก สํานักงาน ก . ก . สํานักงาน เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร สํานักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสํานักงานเขต ถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันไม่ว่าผู้นั้น จะเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกัน ให้ผู้อํานวยการสํานักหรือหัวหน้า ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสํานัก หัวหน้าสํานักงาน ก . ก . เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร หัวหน้าสํานักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้อํานวยการเขต แล้วแต่กรณี เป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวน ในกรณีที่ข้าราชการกรุงเทพมหานครต่างหน่วยงานถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ร่วมกันไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกัน ให้ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน สําหรับผู้ถูกกล่าวหาผู้หนึ่งผู้ใดที่ดํารงตําแหน่ง ตามวรรคสอง หรือวรรคสาม ที่อยู่ในอํานาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ส่วนตําแหน่งอื่น ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในกรณีข้าราชการกรุงเทพมหานครถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกับข้าราชการ พลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้ผู้บังคับบัญชา ผู้มีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามกฎหมายแต่ละฉบับ ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ข้อ 26 การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ให้แต่งตั้งจาก ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญอย่างน้อยสามคน ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และ กรรมการอื่นอีกอย่างน้อยสองคน โดยให้กรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ทั้งนี้ ประธานกรรมการ ต้องดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าหรือเทียบได้ไม่ต่ํากว่าผู้ถูกกล่าวหา การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ให้แต่งตั้งจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครหรือข้าราชการกรุงเทพมหานคร สามัญอย่างน้อยสามคน ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อยสองคน โดยให้กรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ทั้งนี้ ประธานกรรมการต้องมีวิทยฐานะไม่ต่ํากว่าหรือเทียบได้ ไม่ต่ํากว่าผู้ถูกกล่าวหา กรรมการสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่งนิติกร หรือผู้ได้รับปริญญาทางกฎหมาย หรือผู้ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรการดําเนินการทางวินัยหรือหลักสูตรการสอบสวนทางวินัย หรือ ผู้มีประสบการณ์ด้านการดําเนินการทางวินัย เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการที่แต่งตั้งจากข้าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วยก็ได้ และให้นําข้อ 2 8 ข้อ 30 ข้อ 31 ข้อ 32 ข้อ 33 และข้อ 41 มาใช้บังคับกับผู้ช่วย เลขานุการ โดยอนุโลม ้ หนา 91 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ข้อ 27 คําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ระบุชื่อและ ตําแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา เรื่องที่กล่าวหา ชื่อของประธานกรรมการ และกรรมการ ในกรณีที่มีการแต่งตั้ง ผู้ช่วยเลขานุการ ให้ระบุชื่อผู้ช่วยเลขานุการไว้ในคําสั่งนั้นด้วย ทั้งนี้ ตามแบบที่สํานักงาน ก . ก . กําหนด คําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ต้องระบุชื่อ ตําแหน่ง หรือตําแหน่งและวิทยฐานะของผู้ถูกกล่าวหา เรื่องที่กล่าวหา ชื่อของประธาน กรรมการ และกรรมการ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการ ให้ระบุชื่อผู้ช่วยเลขานุการไว้ในคําสั่ง นั้นด้วย ทั้งนี้ ตามแบบที่สํานักงาน ก . ก . กําหนด ข้อ 2 8 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวน ให้ดําเนินการโดยทําเป็นคําสั่ง ตามแบบที่สํานักงาน ก . ก . กําหนด และให้แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบต่อไป การเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบกระเทือนถึงการสอบสวนที่ได้ ดําเนินการไปแล้ว ข้อ 2 9 เมื่อได้มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบคําสั่งโดยเร็ว และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันที่รับทราบ ไว้เป็นหลักฐาน ในการนี้ ให้แจ้งตําแหน่งของประธานกรรมการ กรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ ( ถ้ามี ) รวมทั้งสิทธิที่จะคัดค้านกรรมการสอบสวนไปพร้อมกัน และให้มอบสําเนาคําสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาไว้หนึ่งฉบับด้วย ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคําสั่ง ถ้าได้ทําบันทึกลงวันที่และสถานที่ที่แจ้งและ ลงลายมือชื่อผู้แจ้ง พร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันรับทราบ การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยตรงก่อน แต่ถ้าไม่อาจแจ้งให้ทราบ โดยตรงได้หรือมีเหตุจําเป็นอื่น ให้แจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับแจ้งเมื่อครบ กําหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งสําหรับกรณีส่งในประเทศ หรือเมื่อครบสิบห้าวันนับแต่วันส่งสําหรับกรณีส่งไปยัง ต่างประเทศ ( 2 ) ส่งสําเนาคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องที่กล่าวหาให้ประธานกรรมการโดยเร็ว แล้วให้ประธานกรรมการลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่ได้รับ แล้วเก็บรวมไว้ในสํานวนการสอบสวน และส่งสําเนาคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้กรรมการ ทราบเป็นรายบุคคล ( 3 ) ส่งหลักฐานการรับทราบหรือถือว่าทราบคําสั่งของผู้ถูกกล่าวหาไปให้ประธานกรรมการ เพื่อเก็บรวมไว้ในสํานวนการสอบสวน ข้อ 30 เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ กรรมการสอบสวนอาจถูกคัดค้านได้ ( 1 ) เป็นผู้กล่าวหาตามข้อ 5 ( 2 ) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของผู้กล่าวหาตามข้อ 5 ้ หนา 92 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

( 3 ) เป็นญาติของผู้กล่าวหาตามข้อ 5 คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือ เป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางการสมรสนับได้เพียงสองชั้น ( 4 ) เป็นผู้มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกกล่าวหาหรือกับคู่หมั้นหรือคู่สมรสของผู้ถูกกล่าวหา ( 5 ) เป็นผู้มีประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่สอบสวน ( 6 ) เป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะกระทําผิดตามเรื่องที่กล่าวหา ( 7 ) เป็นผู้ที่มีเหตุอื่นซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทําให้การสอบสวนไม่เป็นกลางหรือเสียความเป็นธรรม ข้อ 31 การคัดค้านกรรมการสอบสวนต้องทําเป็นหนังสือยื่นต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนภายในเจ็ดวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือนับแต่วันที่ ทราบว่ามีกรณีตามข้อ 30 โดยหนังสือคัดค้านต้องแสดงข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้าน ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 30 ในกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการคัดค้านเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนด ตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งสําเนาหนังสือคัดค้านไปให้ประธานกรรมการเพื่อทราบและเก็บรวบรวมไว้ในสํานวน การสอบสวน รวมทั้งแจ้งให้ผู้ถูกคัดค้านทราบ และต้องให้โอกาสผู้ถูกคัดค้านได้ชี้แจงเป็นหนังสือต่อผู้สั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ถูกคัดค้านได้ลงลายมือชื่อและวันที่ที่ได้รับแจ้งไว้ เป็นหลักฐาน ในการนี้ ผู้ถูกคัดค้านต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่กรรมการสอบสวนตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งนั้น แต่ถ้าเห็นว่าการคัดค้านไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนด ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสั่งไม่รับ คําคัดค้านนั้นและแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบ ข้อ 32 เมื่อได้ดําเนินการตามข้อ 31 แล้ว ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณา สั่งการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ในกรณีที่เห็นว่าคําคัดค้านรับฟังได้ ให้สั่งให้ผู้ถูกคัดค้านพ้นจากหน้าที่ในการเป็นกรรมการ สอบสวนในกรณีที่เห็นสมควรจะแต่งตั้งผู้อื่นให้เป็นกรรมการสอบสวนแทนผู้ถูกคัดค้านก็ได้ แต่ถ้า กรรมการสอบสวนที่เหลืออยู่มีจํานวนน้อยกว่าสามคน ให้แต่งตั้งผู้อื่นให้เป็นกรรมการสอบสวนแทนผู้ถูกคัดค้าน และให้นําข้อ 2 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ( 2 ) ในกรณีที่เห็นว่าคําคัดค้านไม่อาจรับฟังได้ ให้สั่งยกคําคัดค้าน และมีหนังสือแจ้งให้ผู้คัดค้าน ผู้ถูกคัดค้าน และประธานกรรมการทราบโดยเร็ว คําสั่งยกคําคัดค้านให้เป็นที่สุด ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนต้องพิจารณาและสั่งการตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคําคัดค้าน ถ้าไม่ได้สั่งภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ผู้ถูกคัดค้านนั้นพ้นจาก การเป็นกรรมการสอบสวนนับแต่วันพ้นกําหนดเวลาดังกล่าว และให้ดําเนินการตาม ( 1 ) ต่อไป ข้อ 33 ในกรณีที่กรรมการสอบสวนผู้ใดเห็นว่าตนมีกรณีตามข้อ 30 ให้ผู้นั้นแจ้งให้ผู้สั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทราบ และให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาสั่งการตามข้อ 32 โดยอนุโลมต่อไป ้ หนา 93 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ข้อ 34 คณะกรรมการสอบสวนมีหน้าที่สอบสวนและพิจารณาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ ระยะเวลาที่กําหนดในกฎ ก . ก . นี้ เพื่อแสวงหาความจริงในเรื่องที่กล่าวหาและดูแลให้บังเกิดความยุติธรรม ตลอดกระบวนการสอบสวน ในการนี้ ให้คณะกรรมการสอบสวนรวบรวมประวัติและความประพฤติ ของผู้ถูกกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาเท่าที่จําเป็นเพื่อประกอบการพิจารณา และจัดทําบันทึก ประจําวันที่มีการสอบสวนไว้ทุกครั้งด้วย ในการสอบสวนและพิจารณาห้ามมิให้มีบุคคลอื่นอยู่หรือร่วมด้วย เว้นแต่เป็นการสอบปากคํา ตามข้อ 40 หรือเป็นกรณีที่กฎ ก . ก . นี้ กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ 35 ให้ประธานกรรมการจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสอบสวนครั้งแรกภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการรับเรื่องตามข้อ 29 ( 2 ) และ ( 3 ) ในกรณีที่ไม่อาจจัดประชุมได้ภายใน กําหนด ให้รายงานเหตุผลและความจําเป็นให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทราบ ในการประชุมคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการสอบสวนกําหนด ประเด็นและวางแนวทางการสอบสวนและการรวบรวมพยานหลักฐาน ข้อ 36 เมื่อได้วางแนวทางการสอบสวนและการรวบรวมพยานหลักฐานตามข้อ 35 แล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ( 2 ) แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ ( 3 ) ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงแสดงพยานหลักฐานเพื่อแก้ข้อกล่าวหา ( 4 ) พิจารณาทําความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน ( 5 ) ทํารายงานการสอบสวนพร้อมความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ข้อ 37 ให้คณะกรรมการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทั้งปวงที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ การสอบสวน โดยไม่รับฟังแต่เพียงข้ออ้างหรือพยานหลักฐานของผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหาเท่านั้น ในกรณีที่ปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงใดที่กล่าวอ้างหรือพาดพิงถึงบุคคล เอกสาร หรือวัตถุใด ที่จะเป็นประโยชน์แก่การสอบสวน ให้คณะกรรมการสอบสวนทําการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน นั้นไว้ให้ครบถ้วน ถ้าไม่อาจเข้าถึงหรือได้มาซึ่งพยานหลักฐานดังกล่าว ให้บันทึกเหตุนั้นไว้ด้วย ข้อ 3 8 ในการสอบปากคําผู้ถูกกล่าวหาหรือพยานให้สอบปากคําคราวละหนึ่งคน และใน การสอบปากคําพยาน ต้องแจ้งให้พยานทราบว่ากรรมการสอบสวนมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวล กฎหมายอาญา การให้ถ้อยคําอันเป็นเท็จอาจเป็นความผิดตามกฎหมาย การสอบปากคําตามวรรคหนึ่ง ต้องมีกรรมการสอบสวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวน กรรมการสอบสวนทั้งหมด จึงจะทําการสอบปากคําได้ แต่ในกรณีที่กึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการสอบสวน ทั้งหมดมีมากกว่าสามคน จะให้กรรมการสอบสวนไม่น้อยกว่าสามคนทําการสอบปากคําก็ได้ ในการสอบปากคําผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้สอบสวนในสถานที่ ที่เหมาะสมสําหรับเด็ก และให้มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครที่เป็นกลาง ้ หนา 94 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

และเชื่อถือได้ และบุคคลที่เด็กร้องขอหรือไว้วางใจเข้าร่วมในการสอบปากคํานั้นด้วย หากผู้เสียหายหรือ พยานซึ่งเป็นเด็กตั้งรังเกียจข้าราชการดังกล่าวข้างต้นให้เปลี่ยนตัวบุคคลนั้น ในกรณีผู้เสียหายหรือพยานเป็นคนหูหนวกหรือเป็นใบ้ หรือทั้งหูหนวกและเป็นใบ้ หรือมี ความพิการทางกาย หรือไม่เข้าใจภาษาไทยและจําเป็นต้องใช้ล่าม ให้คณะกรรมการสอบสวนจัดหาล่าม ที่เป็นกลางและเชื่อถือได้ให้แก่บุคคลดังกล่าว ข้อ 3 9 การสอบปากคําตามข้อ 3 8 ต้องมีการบันทึกถ้อยคําของผู้ให้ถ้อยคําตามแบบที่ สํานักงาน ก . ก . กําหนด แล้วอ่านให้ผู้ให้ถ้อยคําฟังหรือให้ผู้ให้ถ้อยคําอ่านเองก็ได้ แล้วให้ผู้ให้ถ้อยคํา ผู้บันทึกถ้อยคํา ผู้เข้าร่วมฟังตามข้อ 40 และกรรมการสอบสวนซึ่งอยู่ร่วมในการสอบปากคําลงลายมือชื่อ ในบันทึกถ้อยคํานั้นไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีที่บันทึกถ้อยคําใดมีหลายหน้า ให้ผู้ให้ถ้อยคําและกรรมการสอบสวน ซึ่งอยู่ร่วมในการสอบปากคําหนึ่งคนลงลายมือชื่อกํากับไว้ในบันทึกถ้อยคําทุกหน้า ในการบันทึกถ้อยคํา ห้ามมิให้ขูด ลบ หรือบันทึกข้อความทับข้อความที่ได้บันทึกไว้ในบันทึก ถ้อยคําแล้ว ถ้าจะต้องแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความที่บันทึกไว้ ให้ใช้วิธีขีดฆ่าข้อความเดิมและเพิ่มเติม ข้อความใหม่ด้วยวิธีตกเติม แล้วให้ผู้้ให้ถ้อยคําและกรรมการสอบสวนซึ่งอยู่ร่วมในการสอบปากคําหนึ่งคน ลงลายมือชื่อกํากับไว้ตรงที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นทุกแห่ง ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคําไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้บันทึกเหตุที่ไม่ลงลายมือชื่อนั้นไว้ในบันทึกถ้อยคําด้วย ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคําไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ดําเนินการตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ ข้อ 40 ในการสอบปากคํา ห้ามมิให้บุคคลอื่นอยู่ในที่สอบปากคํา เว้นแต่เป็นบุคคล ซึ่งกรรมการสอบสวนที่ทําการสอบปากคําอนุญาตให้อยู่ในที่สอบสวนเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน หรือ เป็นทนายความ หรือที่ปรึกษาของผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลตามข้อ 38 วรรคสามหรือวรรคสี่ ตามจํานวนที่กรรมการสอบสวนที่ทําการสอบปากคําเห็นสมควรให้เข้ามาในการสอบปากคําผู้ถูกกล่าวหา ข้อ 41 ห้ามมิให้กรรมการสอบสวนทําหรือจัดให้ทําการใด ๆ ซึ่งเป็นการให้คํามั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง บังคับ หรือกระทําโดยมิชอบไม่ว่าด้วยประการใด เพื่อจูงใจให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือพยาน ให้ถ้อยคําอย่างใด ข้อ 42 การนําเอกสารหรือวัตถุมาใช้ เป็ นพยานหลักฐานในสํานวนการสอบสวน ให้คณะกรรมการสอบสวนจัดให้มีการบันทึกไว้ด้วยว่าได้มาอย่างไร จากผู้ใด และเมื่อใด เอกสารที่ใช้เป็นพยานหลักฐานในสํานวนการสอบสวนให้ใช้ต้นฉบับ แต่ถ้าไม่อาจนําต้นฉบับมาได้ จะใช้สําเนาที่กรรมการสอบสวนหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบรับรองว่าเป็นสําเนาถูกต้องก็ได้ ในกรณีที่ไม่สามารถหาต้นฉบับเอกสารได้เพราะสูญหายหรือถูกทําลายหรือโดยเหตุประการอื่น คณะกรรมการสอบสวนจะสืบจากสําเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนก็ได้ ข้อ 43 ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเรียกบุคคลใดมาเป็นพยานเพื่อชี้แจงหรือให้ถ้อยคํา ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กําหนดแล้ว แต่บุคคลนั้นไม่มาหรือมาแต่ไม่ชี้แจงหรือไม่ให้ถ้อยคํา หรือ ้ หนา 95 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนไม่อาจเรียกบุคคลใดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคําได้ภายในเวลาอันควร คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนบุคคลนั้นก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกประจําวันที่มี การสอบสวน และในรายงานการสอบสวนด้วย ข้อ 44 ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า การสอบสวนพยานบุคคลใดหรือการรวบรวม พยานเอกสารหรือวัตถุใดจะทําให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จําเป็น หรือพยานหลักฐานนั้นมิใช่ สาระสําคัญ จะงดสอบสวนหรือไม่รวบรวมพยานหลักฐานนั้นก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึก ประจําวันที่มีการสอบสวน และในรายงานการสอบสวนด้วย ข้อ 45 เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐาน ที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 36 ( 1 ) แล้ว ให้มีการประชุมคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาทําความเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยในเรื่องที่สอบสวนหรือไม่ ถ้าคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหา ไม่ได้กระทําผิดวินัยในเรื่องที่สอบสวน ให้รายงานผลการสอบสวนพร้อมความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวน แต่ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าจากข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย รวมทั้ง พยานหลักฐานที่รวบรวมได้เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยในเรื่องที่สอบสวนให้แจ้ง ข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ การประชุมตามวรรคหนึ่ง ต้องมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่น้อยกว่าสามคนและไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการสอบสวนทั้งหมด ข้อ 46 ในกรณีที่มีคําพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทําผิดหรือต้องรับผิดในคดี เกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคําพิพากษาถึงที่สุดนั้น ได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดตามข้อกล่าวหา คณะกรรมการสอบสวนจะนําเอา คําพิพากษาถึงที่สุดนั้นมาใช้เป็ นพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้ อกล่ำวหาโดยไม่ ต้ องรวบรวม พยานหลักฐานอื่นก็ได้ แต่ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคําพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้น เพื่อใช้เป็นสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบด้วย ข้อ 4 7 การแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา ให้ทําเป็นบันทึก ระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทําการใด เมื่อใด อย่างไร เป็นความผิดวินัย ในกรณีใด ตามมาตราใด และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา โดยต้องไม่เปิดเผยชื่อ ตําแหน่ง ที่อยู่ของผู้กล่าวหาหรือพยาน หรือข้อมูลอื่นใดอันเป็นเหตุให้ทราบถึงตัวผู้กล่าวหาหรือพยาน เว้นแต่ มีเหตุจําเป็นเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้าใจข้อกล่าวหาได้ดี รวมทั้งแจ้งให้ทราบสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาที่จะ ให้ถ้อยคําหรือยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือ สิทธิที่จะแสดงพยานหลักฐานหรือจะอ้าง พยานหลักฐานเพื่อขอให้เรียกพยานหลักฐานนั้นมาได้ แล้วแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ บันทึกตามวรรคหนึ่ง ให้ทําตามแบบที่สํานักงาน ก . ก . กําหนด โดยให้ทําเป็นสองฉบับ มีข้อความตรงกัน ให้ประธานกรรมการและกรรมการอีกอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อในบันทึกนั้นด้วย ้ หนา 96 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ข้อ 4 8 เมื่อได้จัดทําบันทึกตามข้อ 4 7 แล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนมีหนังสือเรียกผู้ถูก กล่าวหามาพบตามวัน เวลา และสถานที่ที่คณะกรรมการสอบสวนกําหนด เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาและ สรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้มาพบคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา พร้อมทั้งอธิบายข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และ ให้ผู้ถูกกล่าวหารับทราบข้อกล่าวหาโดยลงลายมือชื่อพร้อมทั้งวันเดือนปีในบันทึกนั้น แล้วมอบบันทึกนั้น ให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ และอีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ในสํานวนการสอบสวน ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมลงลายมือชื่อในบันทึกเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา ให้คณะกรรมการ สอบสวนบันทึกข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ดังกล่าวไว้ในบันทึกนั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหา ได้รับทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานตั้งแต่วันที่มาพบคณะกรรมการสอบสวนแล้ว และ ให้มอบบันทึกนั้นให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ และอีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ในสํานวนการสอบสวน แต่ถ้าผู้ถูกกล่าวหา ไม่ยอมรับบันทึกดังกล่าว ให้ส่งบันทึกนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ ที่อยู่ ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ ข้อ 4 9 เมื่อได้ แจ้ งข้ อกล่ำวหาและผู้ ถูกกล่ำวหาได้ รับทราบตามข้ อ 4 8 แล้ ว ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งกําหนดวัน เวลา สถานที่ และวิธีการที่จะให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ในวันที่มาพบคณะกรรมการสอบสวน หรือแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูก กล่าวหา ณ ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการก็ได้ ในกรณีแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบ ตั้งแต่วันที่ครบกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ส่งหนังสือดังกล่าวทางไปรษณีย์ ข้อ 50 ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาพบตามที่กําหนดในข้อ 4 8 ให้ส่งบันทึกตามข้อ 4 7 จํานวนหนึ่งฉบับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของ ทางราชการ ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาตั้งแต่วันที่ครบกําหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ส่งบันทึกดังกล่าวทางไปรษณีย์ คณะกรรมการสอบสวนจะส่งหนังสือกําหนดวัน เวลา สถานที่ และวิธีการที่จะให้ผู้ถูกกล่าวหา ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและชี้แจงว่าได้กระทําผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด ไปพร้อมกับ บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาตามวรรคหนึ่งก็ได้ ข้อ 51 ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่อาจชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ตามวัน เวลา สถานที่และวิธีการ ที่กําหนดตามข้อ 4 9 หรือข้อ 50 โดยได้อ้างเหตุผลหรือความจําเป็น หรือในกรณีที่คณะกรรมการ สอบสวนเห็นว่ามีเหตุจําเป็น จะกําหนดวัน เวลา สถานที่ หรือวิธีการเสียใหม่เพื่อประโยชน์แห่ง ความเป็นธรรมก็ได้ ข้อ 52 ในการสอบสวนให้คณะกรรมการสอบสวนถามผู้ถูกกล่าวหาด้วยว่าได้กระทําผิด ตามข้อกล่าวหาหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด ้ หนา 97 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

คณะกรรมการสอบสวนจะดําเนินการตามวรรคหนึ่งไปในคราวเดียวกันกับที่ได้ดําเนินการ ตามข้อ 4 8 ก็ได้ ข้อ 53 ในกรณีที่ผู้ ถูกกล่ำวหารับสารภาพว่ำได้ กระทําผิดตามข้ อกล่ำวหาใด ให้คณะกรรมการสอบสวนบันทึกการรับสารภาพตามข้อกล่าวหานั้นไว้เป็นหนังสือ ในกรณีเช่นนี้ คณะกรรมการสอบสวนจะไม่ทําการสอบสวนในข้อกล่าวหานั้นก็ได้ แล้วดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ 54 ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาให้ถ้อยคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาหรือไม่ยื่นคําชี้แจง แก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือภายในเวลาที่กําหนดตามข้อ 4 9 และข้อ 50 ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์ จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนจะเห็นควรดําเนินการเป็นอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ แห่งความเป็นธรรม ข้อ 55 ในกรณีที่ปรากฏพยานหลักฐานเพิ่มเติมหลังจากที่คณะกรรมการสอบสวนได้แจ้ง ข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาในเรื่องที่สอบสวนแล้ว ถ้าคณะกรรมการ สอบสวนเห็นว่า พยานหลักฐานที่เพิ่มเติมนั้นมีน้ําหนักสนับสนุนข้อกล่าวหา ให้แจ้งสรุปพยานหลักฐาน เพิ่มเติมนั้นให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ แต่ถ้าเห็นว่าพยานหลักฐานเพิ่มเติมนั้นมีผลทําให้ข้อกล่าวหาในเรื่อง ที่สอบสวนนั้นเปลี่ยนแปลงไปหรือต้องเพิ่มข้อกล่าวหา ให้กําหนดข้อกล่าวหาใหม่หรือกําหนดข้อกล่าวหา เพิ่มเติมแล้วแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหานั้นให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 4 7 ข้อ 4 8 ข้อ 4 9 ข้อ 50 ข้อ 51 และข้อ 54 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 56 ในการสอบสวน ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีพยานหลักฐานที่ควรกล่าวหาว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยในเรื่องอื่นด้วย ให้ประธานกรรมการรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนโดยเร็ว เมื่อได้รับรายงานตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาดําเนินการ ดังต่อไปนี้ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน ( 1 ) ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยในเรื่องอื่นด้วย ให้ยุติไม่ต้อง ดําเนินการทางวินัยสําหรับเรื่องอื่นนั้น ( 2 ) ถ้าเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยในเรื่องอื่นด้วย ให้ดําเนินการทางวินัย ในเรื่องอื่นนั้นด้วยตามกฎ ก . ก . นี้ ในกรณีที่การกระทําผิดวินัยในเรื่องอื่นนั้นเป็นการกระทําผิดวินัย อย่างร้ายแรงจะแต่งตั้งให้คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมหรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน คณะใหม่ดําเนินการสอบสวนและพิจารณาในเรื่องอื่นนั้นก็ได้ ข้อ 5 7 ในกรณี ที่ การสอบสวนพาดพิงไปถึงข้ำราชการกรุงเทพมหานครผู้ อื่น ถ้าคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทําการในเรื่องที่สอบสวนนั้นด้วย ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยเร็วเพื่อพิจารณาดําเนินการ ตามกฎ ก . ก . นี้ ต่อไป ้ หนา 98 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ในกรณีที่การสอบสวนพาดพิงไปถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นหรือบุคคลอื่น ถ้าคณะกรรมการ สอบสวนพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทําการในเรื่องที่สอบสวนนั้นด้วย ให้คณะกรรมการสอบสวน รายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยเร็วเพื่อพิจารณาตามที่เห็นสมควรต่อไป ข้อ 5 8 ในกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้อื่นร่วมกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องที่สอบสวนตามข้อ 5 7 วรรคหนึ่ง ให้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทําการสอบสวนผู้นั้น โดยจะแต่งตั้งให้คณะกรรมการสอบสวน คณะเดิมหรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะใหม่ดําเนินการสอบสวนและพิจารณาก็ได้ แต่ถ้าเป็น กรณีที่มีผลทําให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุเปลี่ยนไป ให้ส่งเรื่องไปยังผู้มีอํานาจสั่งบรรจุหรือ ผู้มีอํานาจตามข้อ 25 แล้วแต่กรณี ของข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้นั้นเพื่อดําเนินการต่อไป พยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนในเรื่องที่สอบสวนเดิม คณะกรรมการสอบสวนจะใช้ ประกอบการพิจารณาดําเนินการทางวินัยแก่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบและ ให้โอกาสผู้นั้นได้ใช้สิทธิตามกฎ ก . ก . นี้แล้ว ข้อ 5 9 เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุน ข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ ได้ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และได้รวบรวม พยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาได้แล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนประชุมเพื่อพิจารณาทําความเห็น เกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน ในการพิจารณาทําความเห็นตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการสอบสวนต้องพิจารณาทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพิจารณามีมติในเรื่องที่สอบสวนให้ครบทุกข้อกล่าวหาและทุกประเด็นว่าผู้ถูกกล่าวหา กระทําผิดวินัยในเรื่องที่สอบสวนหรือไม่ ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทําผิดวินัย ต้องพิจารณาให้ได้ ความด้วยว่า เป็นความผิดวินัยกรณีใด ตามมาตราใด ควรได้รับโทษสถานใด และมีเหตุอันควรลดหย่อน หรือไม่ เพียงใด ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผลการสอบสวนยังไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะลงโทษ เพราะกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือมีมลทิน หรือมัวหมอง ในกรณีที่ถูกสอบสวน ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ตามมาตรา 110 ( 6 ) หรือ ( 7 ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ . ศ . 2551 หรือ มาตรา 111 และมาตรา 112 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ . ศ . 2547 แล้วแต่กรณี ก็ให้ทําความเห็นเสนอไว้ในรายงานการสอบสวนด้วย การประชุมเพื่อพิจารณาทําความเห็นตามข้อนี้ ต้องมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่น้อยกว่า สามคนและไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการสอบสวนทั้งหมด ้ หนา 99 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ข้อ 60 เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ดําเนินการตามข้อ 5 9 แล้ว ให้จัดทํารายงาน การสอบสวนเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามแบบที่สํานักงาน ก . ก . กําหนด โดยให้เสนอไป พร้อมสํานวนการสอบสวน รายงานการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องประกอบด้วยเรื่องที่สอบสวนข้อเท็จจริงและ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อกล่าวหา พยานหลักฐานที่สนับสนุนหรือหักล้างข้อกล่าวหา ประเด็นที่ต้อง พิจารณาความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ 5 9 วรรคสอง และวรรคสาม และลายมือชื่อ กรรมการสอบสวนทุกคน รวมทั้งให้ประธานกรรมการลงลายมือชื่อกํากับไว้ในรายงานการสอบสวน หน้าอื่นด้วยทุกหน้า ในกรณีที่กรรมการสอบสวนคนใดมีเหตุจําเป็นไม่อาจลงลายมือชื่อได้ ให้ประธาน กรรมการสอบสวนบันทึกเหตุจําเป็นดังกล่าวไว้ด้วย และในกรณีที่กรรมการสอบสวนผู้ใดมีความเห็นแย้ง ให้แสดงชื่อและสรุปความเห็นแย้งของผู้นั้นไว้ในรายงานการสอบสวนด้วย ในการนี้ ผู้มีความเห็นแย้งนั้น จะทําบันทึกรายละเอียดความเห็นแย้งและลงลายมือชื่อของตนแนบไว้กับรายงานการสอบสวนด้วยก็ได้ ข้อ 61 ให้คณะกรรมการสอบสวนดําเนินการสอบสวนและจัดทํารายงานการสอบสวน พร้อมทั้งสํานวนการสอบสวนเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่มีการประชุมคณะกรรมการสอบสวนครั้งแรกตามข้อ 35 ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมีเหตุผลและความจําเป็นไม่อาจดําเนินการให้แล้วเสร็จได้ ภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานกรรมการรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อขอขยายเวลาสอบสวนตามความจําเป็น และให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาขยาย เวลาได้ครั้งละไม่เกินหกสิบวัน ในกรณีที่ได้มีการขยายเวลาจนทําให้การสอบสวนดําเนินการเกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่มีการประชุมคณะกรรมการสอบสวนครั้งแรกตามข้อ 35 ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน รายงาน ก . ก . เพื่อติดตามเร่งรัด ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป ข้อ 62 เมื่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้รับรายงานการสอบสวนและสํานวน การสอบสวนแล้วให้พิจารณาตรวจสอบความถูกต้องของการสอบสวน ถ้าเห็นว่าการสอบสวนถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดําเนินการตามข้อ 63 แต่ถ้าเห็นว่าการสอบสวน ยังไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ก็ให้สั่งหรือดําเนินการดังต่อไปนี้ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสํานวน การสอบสวน ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้ขยายเวลาได้ ตามความจําเป็น โดยแสดงเหตุผลความจําเป็นไว้ด้วย ( 1 ) ในกรณีที่เห็นว่ายังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาหรือการแจ้งข้อกล่าวหายังไม่ครบถ้วน ให้สั่งให้ คณะกรรมการสอบสวนดําเนินการแจ้งข้อกล่าวหาหรือแจ้งข้อกล่าวหาให้ครบถ้วนโดยเร็ว ( 2 ) ในกรณีที่เห็นว่าควรรวบรวมข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพิ่มเติม ให้กําหนดประเด็น หรือข้อสําคัญที่ต้องการให้คณะกรรมการสอบสวนทําการสอบสวนเพิ่มเติมโดยไม่ต้องทําความเห็น ( 3 ) ในกรณีที่เห็นว่าการดําเนินการใดไม่ถูกต้อง ให้สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดําเนินการ ให้ถูกต้องโดยเร็ว ้ หนา 100 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ข้อ 63 เมื่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้พิจารณามีความเห็นเพื่อสั่งหรือดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทําผิดวินัย หรือกระทําผิดวินัย อย่างไม่ร้ายแรง ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง หรือไม่ได้กระทําผิดวินัย ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป แต่ถ้าเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ดําเนินการตาม ( 2 ) ให้ผู้สั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาและสั่งการภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสํานวนการสอบสวน ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้ขยายเวลาได้ตามความจําเป็น โดยแสดงเหตุผลความจําเป็นไว้ด้วย ( 2 ) ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้สั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ และไม่ว่าผู้สั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะเห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนหรือไม่ก็ตาม ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุส่งเรื่องให้ ก . ก . เพื่อพิจารณาต่อไปภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสํานวน การสอบสวน ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้ขยายเวลาได้ตามความจําเป็น โดยแสดงเหตุผลความจําเป็นไว้ด้วย ( 3 ) ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผลการสอบสวนยังไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะลงโทษ เพราะกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือมีมลทิน หรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ถ้าผู้สั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนให้พิจารณาดําเนินการ ตามมาตรา 110 ( 6 ) หรือ ( 7 ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ . ศ . 2551 หรือ มาตรา 111 และมาตรา 112 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ . ศ . 2547 ต่อไป แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทําผิดวินัย หรือกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้พิจารณาดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป และถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็ให้ดําเนินการตาม ( 2 ) ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสํานวนการสอบสวน ในกรณีที่ไม่สามารถ ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้ขยายเวลาได้ตามความจําเป็น โดยแสดงเหตุผล ความจําเป็นไว้ด้วย ข้อ 64 ในกรณีที่มีการย้าย การโอน หรือการเลื่อนผู้ถูกกล่าวหา อันมีผลทําให้ผู้มีอํานาจสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเปลี่ยนไป ให้คณะกรรมการสอบสวนที่ได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น ดําเนินการ ต่อไปจนเสร็จ และทํารายงานการสอบสวนเสนอไปพร้อมกับสํานวนการสอบสวนต่อผู้บังคับบัญชาเดิม ที่เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตรวจสอบความถูกต้องของการดําเนินการเพื่อส่งไปยัง ผู้บังคับบัญชาใหม่ซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุ หรือผู้มีอํานาจตามข้อ 25 พิจารณาสั่งหรือดําเนินการ ้ หนา 101 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ตามข้อ 62 ต่อไป และถ้าในระหว่างการสอบสวนมีกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนต้องสั่งการ อย่างใดเพื่อให้การสอบสวนนั้นดําเนินการต่อไปได้ ให้ผู้บังคับบัญชาเดิมส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาใหม่ ซึ่งเป็นผู้มีอํานาจพิจารณาต่อไป ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาใหม่ซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 5 2 หรือมาตรา 53 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2554 หรือ ผู้มีอํานาจตามข้อ 25 เห็นสมควรให้ดําเนินการตามข้อ 62 จะสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิม ดําเนินการหรือในกรณีที่เห็นเป็นการสมควร จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นใหม่เพื่อดําเนินการก็ได้ โดยให้นําข้อ 26 และข้อ 27 มาใช้บังคับ ข้อ 65 เมื่อได้รับเรื่องแล้ว ก . ก . อาจพิจารณามีมติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้มีมติว่าเป็นความผิดวินัย อย่างร้ายแรงกรณีใด ตามมาตราใด และให้ลงโทษสถานใด เพราะเหตุใด โดยจะต้องมีข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสําคัญด้วยว่ามีการกระทําอย่างใด ( 2 ) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้มีมติว่าเป็นความผิดวินัย อย่างไม่ร้ายแรงกรณีใด ตามมาตราใด และให้ลงโทษสถานโทษใดและอัตราโทษใด เพราะเหตุใด หรือถ้าเห็นว่า เป็นความผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะมีมติงดโทษ โดยให้ทําทัณฑ์บน เป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ ทั้งนี้ จะต้องมีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญด้วยว่ามีการกระทํา อย่างใด ( 3 ) ในกรณีที่เห็นว่ายังไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะลงโทษกรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้ามี ข้อเท็จจริงอันเป็นกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการตามมาตรา 110 ( 6 ) หรือ ( 7 ) แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ . ศ . 2551 หรือมาตรา 111 และมาตรา 112 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ . ศ . 2547 ให้มีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการ โดยจะต้องมีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญด้วยว่ามีการกระทําอย่างใด มีกรณีที่สมควรให้ออกจาก ราชการเพราะเหตุใด ตามมาตราใด และถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการอย่างใด ( 4 ) ในกรณีที่เห็นว่าการกระทําของผู้ถูกกล่าวหาไม่เป็นความผิดวินัย ให้มีมติให้สั่งยุติเรื่อง หรือถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําผิดวินัยแต่เป็นกรณีที่ไม่อาจลงโทษได้ ให้มีมติให้งดโทษ ( 5 ) ในกรณีที่เห็นว่าข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอหรือการดําเนินการใดยังไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้มีมติ ให้สอบสวนเพิ่มเติม แก้ไข หรือดําเนินการให้ถูกต้องตามควรแก่กรณี ข้อ 6 6 ในกรณีที่ปรากฏว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไม่ถูกต้องตามข้อ 26 ให้การสอบสวนทั้งหมดเสียไป และให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุ หรือผู้มีอํานาจตามข้อ 25 แล้วแต่กรณี แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดําเนินการสอบสวนใหม่ให้ถูกต้อง ้ หนา 102 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ข้อ 6 7 ในกรณีที่ปรากฏว่ำการดําเนินการใดไม่ ถูกต้ องตามกฎ ก . ก . นี้ ให้ เฉพาะ การดําเนินการนั้นเสียไป และถ้าการดําเนินการนั้นเป็นสาระสําคัญที่ต้องดําเนินการหรือหากไม่ดําเนินการ จะทําให้เสียความเป็นธรรม ให้แก้ไขหรือดําเนินการนั้นเสียใหม่ให้ถูกต้องโดยเร็ว ข้อ 6 8 ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาผู้ใดตายในระหว่างการสอบสวน ให้การดําเนินการทางวินัย แก่ผู้นั้นเป็นอันยุติ แต่ให้คณะกรรมการสอบสวนและผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดําเนินการ รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อไปเท่าที่สามารถจะกระทําได้ แล้วทําความเห็นเสนอ ต่อหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อพิจารณาดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการหรือ กฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี ข้อ 6 9 ให้นําบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอํานาจดําเนินการพิจารณาทางปกครอง ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการสอบสวน โดยอนุโลม เว้นแต่องค์ประชุมกรรมการสอบสวนตามข้อ 45 และข้อ 5 9 หมวด 6 กรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ข้อ 70 ข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง และได้รับสารภาพ เป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา หรือได้ให้ถ้อยคํารับสารภาพและได้มีการบันทึกถ้อยคํารับสารภาพ เป็นหนังสือหรือมีหนังสือรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือคณะกรรมการสอบสวน ตามกฎ ก . ก . นี้ ถือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอํานาจสั่งบรรจุจะพิจารณา ดําเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนหรืองดการสอบสวนก็ได้ ข้อ 71 ข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีดังต่อไปนี้ ถือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุหรือผู้มีอํานาจตามข้อ 25 แล้วแต่กรณี จะดําเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนหรืองดการสอบสวนก็ได้ ( 1 ) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่กลับมาปฏิบัติ หน้าที่ราชการอีกเลย และผู้บังคับบัญชาผู้มีอํานาจสั่งบรรจุได้ดําเนินการหรือสั่งให้ดําเนินการสืบสวนแล้ว เห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทาง ราชการ ( 2 ) กระทําความผิดอาญาจนได้รับโทษจําคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจําคุกโดยคําพิพากษา ถึงที่สุดให้จําคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ( 3 ) กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงและได้รับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา หรือได้ให้ถ้อยคํา รับสารภาพและได้มีการบันทึกถ้อยคํารับสารภาพเป็นหนังสือหรือมีหนังสือรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่ สืบสวนสอบสวนหรือคณะกรรมการสอบสวนตามกฎ ก . ก . นี้ ้ หนา 103 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

หมวด 7 การสั่งยุติเรื่อง ลงโทษ หรืองดโทษ ข้อ 72 การสั่งยุติเรื่องให้ทําเป็นคําสั่ง ระบุชื่อและตําแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา เรื่องที่ถูกกล่าวหา และผลการพิจารณา ทั้งนี้ ตามแบบที่สํานักงาน ก . ก . กําหนด และให้ลงลายมือชื่อและตําแหน่งของ ผู้สั่ง และวันเดือนปีที่ออกคําสั่งไว้ด้วย ข้อ 73 โทษสําหรับกรณีที่ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ที่ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 5 2 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและ บุคลากรกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2554 มีอํานาจสั่งลงโทษได้มี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ภาคทัณฑ์ ( 2 ) ตัดเงินเดือนได้ครั้งหนึ่งในอัตราร้อยละสองหรือร้อยละสี่ของเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับในวันที่มี คําสั่งลงโทษเป็นเวลาหนึ่งเดือน สองเดือน หรือสามเดือน (3) ลดขั้นเงินเดือนได้ครั้งหนึ่งหนึ่งขั้น ของเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับในวันที่มีคําสั่งลงโทษ การสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน ถ้าจํานวนเงินที่จะต้องตัดหรือลดมีเศษไม่ถึง สิบบาทให้ปัดเศษทิ้ง ข้อ 74 โทษสําหรับกรณีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครกระทํา ผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้มีอํานาจดังต่อไปนี้สั่งลงโทษได้ ( 1 ) ผู้อํานวยการสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร หรือตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะ เทียบเท่า ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครผู้กระทําผิด วินัยไม่ร้ายแรง มีอํานาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งในอัตราร้อยละสองหรือร้อยละสี่ ของเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับในวันที่มีคําสั่งลงโทษเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งเดือน ( 2 ) ผู้อํานวยการเขต ผู้อํานวยการกอง หรือตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครผู้กระทําผิดวินัย ไม่ร้ายแรง มีอํานาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์หรือตัดเงินเดือนได้ครั้งหนึ่งในอัตราร้อยละสองหรือร้อยละสี่ ของเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับในวันที่มีคําสั่งลงโทษเป็นเวลาไม่เกินสองเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งหนึ่งขั้น ( 3 ) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อํานวยการสํานัก หรือหัวหน้าส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสํานัก ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรุงเทพมหานครผู้กระทําผิดวินัยไม่ร้ายแรง มีอํานาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์หรือตัดเงินเดือนได้ครั้งหนึ่งในอัตรา ร้อยละสองหรือร้อยละสี่ของเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับในวันที่มีคําสั่งลงโทษเป็นเวลาไม่เกินสามเดือนหรือ ลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งหนึ่งขั้น การสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน ถ้าจํานวนเงินที่จะต้องตัดหรือลดมีเศษไม่ถึง สิบบาทให้ปัดเศษทิ้ง ้ หนา 104 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ข้อ 75 โทษสําหรับกรณีที่ข้าราชการกรุงเทพมหานครกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ที่ผู้มี อํานาจสั่งบรรจุ มีอํานาจสั่งลงโทษได้มี ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ปลดออก ( 2 ) ไล่ออก ข้อ 76 การสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก หรือไล่ออก ให้ทํา เป็นคําสั่งระบุชื่อและตําแหน่งของผู้ถูกลงโทษ แสดงข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญว่าผู้ถูกลงโทษกระทํา ผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงในกรณีใด ตามมาตราใด พร้อมทั้งสิทธิในการอุทธรณ์และ ระยะเวลาในการอุทธรณ์ตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและ บุคลากรกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2554 ไว้ในคําสั่งนั้นด้วย ทั้งนี้ ตามแบบที่สํานักงาน ก . ก . กําหนด และให้ลงลายมือชื่อและตําแหน่งของผู้สั่ง และวันเดือนปีที่ออกคําสั่งไว้ด้วย ข้อ 7 7 การสั่งลงโทษ ให้สั่งให้มีผลตั้งแต่วันหรือระยะเวลา ดังต่อไปนี้ ( 1 ) การสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ให้สั่งให้มีผลตั้งแต่วันที่มีคําสั่ง ( 2 ) การสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน ให้สั่งให้มีผลตั้งแต่เดือนที่มีคําสั่ง ( 3 ) การสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ให้สั่งให้มีผลตามระเบียบที่ ก . ก . กําหนด ข้อ 7 8 การสั่งงดโทษให้ทําเป็นคําสั่ง และให้ระบุไว้ในคําสั่งด้วยว่าให้ทําทัณฑ์บนเป็นหนังสือ หรือว่ากล่าวตักเตือน ทั้งนี้ ตามแบบที่สํานักงาน ก . ก . กําหนด ข้อ 7 9 การสั่งงดโทษสําหรับกรณีที่ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งออกจากราชการไปแล้ว แต่มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงอยู่ก่อนตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน ( ฉบับที่ 3) พ . ศ . 2562 หรือมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ( ฉบับที่ 4) พ . ศ . 2562 แล้วแต่กรณี และผลการสอบสวน พิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุสั่งงดโทษ ทั้งนี้ ตามแบบ ที่สํานักงาน ก . ก . กําหนด ข้อ 80 เมื่อได้มีคําสั่งยุติเรื่อง ลงโทษ หรืองดโทษแล้ว ให้ดําเนินการแจ้งคําสั่งให้ผู้ถูกลงโทษ หรือผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยเร็ว และให้ผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันที่รับทราบไว้ เป็นหลักฐานและให้มอบสําเนาคําสั่งให้ผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาไว้หนึ่งฉบับด้วย ถ้าผู้ถูกลงโทษหรือ ผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคําสั่ง เมื่อได้ทําบันทึกลงวันที่และสถานที่ที่แจ้งและ ลงลายมือชื่อผู้แจ้ง พร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันรับทราบ ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งให้ทราบตามวรรคหนึ่งได้หรือมีเหตุจําเป็นอื่น ให้ส่งสําเนาคําสั่งทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหา ณ ที่อยู่ของผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาได้รับแจ้ง เมื่อครบกําหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งสําหรับกรณีส่งในประเทศ หรือเมื่อครบสิบห้าวันนับแต่วันส่งสําหรับ กรณีส่งไปยังต่างประเทศ ้ หนา 105 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

หมวด 8 การมีคําสั่งใหม่กรณีมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ข้อ 81 ในกรณีที่มีการเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ให้ผู้ออกคําสั่งมีคําสั่งใหม่ โดยให้สั่งยกเลิกคําสั่งลงโทษเดิม แล้วสั่งใหม่ให้เป็นไปตามนั้น คําสั่งใหม่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่สํานักงาน ก . ก . กําหนด โดยอย่างน้อยให้มี สาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) อ้างถึงคําสั่งลงโทษเดิมก่อนมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ( 2 ) อ้างถึงมติของ ก . ก . หรือคําวินิจฉัยของ ก . พ . ค . กรุงเทพมหานคร หรือขององค์กร ตามกฎหมายอื่นที่ให้เพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ แล้วแต่กรณี โดยแสดงสาระสําคัญ โดยสรุปไว้ด้วย ( 3 ) สั่งให้ยกเลิกคําสั่งลงโทษเดิมตาม ( 1 ) และมีคําสั่งใหม่ให้เป็นไปตาม ( 2 ) ( 4 ) ระบุวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้ว ข้อ 82 ในกรณีที่คําสั่งเดิมเป็นคําสั่งลงโทษไล่ออกหรือปลดออก ถ้ามีการลดโทษเป็นปลดออก หรือเพิ่มโทษเป็นไล่ออก จะสั่งให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันใด ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก . ก . กําหนด ข้อ 83 ในกรณีที่คําสั่งเดิมเป็นคําสั่งลงโทษไล่ออกหรือปลดออก ถ้ามีการลดโทษเพื่อจะสั่ง ลงโทษใหม่ในความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง งดโทษ หรือยกโทษ ในคําสั่งใหม่ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ และสั่งลงโทษใหม่ในความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง งดโทษ หรือยกโทษ แล้วแต่กรณี การสั่งให้กลับเข้ารับราชการ ให้สั่งให้ผู้นั้นดํารงตําแหน่งตามเดิม หรือตําแหน่งอื่นในประเภท เดียวกันและระดับเดียวกันหรือในตําแหน่งประเภทและระดับที่ ก . ก . กําหนด ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องมี คุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนั้น ในกรณีที่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการได้ เพราะเหตุที่ก่อนที่จะมีคําสั่งใหม่นั้น ผู้นั้น พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ตาย หรือออกจากราชการเนื่องจากเหตุอื่น ให้สั่งงดโทษ หรือสั่งยุติเรื่อง แล้วแต่กรณี แล้วให้แสดงเหตุที่ไม่อาจสั่งให้กลับเข้ารับราชการไว้ใน คําสั่งนั้นด้วย ในคําสั่งใหม่ให้ระบุด้วยว่าเงินเดือนระหว่างที่ถูกไล่ออกหรือปลดออกให้เบิกจ่ายให้ผู้นั้น ตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น ข้อ 84 ในกรณีที่คําสั่งลงโทษเดิมเป็นคําสั่งลงโทษในความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ถ้ามี การเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ในคําสั่งใหม่ให้ระบุการดําเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้ว ดังต่อไปนี้ ้ หนา 106 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

( 1 ) ถ้าเป็นกรณียกโทษ ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยได้รับโทษทางวินัยมาก่อน และให้ผู้นั้นกลับคืน สู่สถานะเดิมก่อนมีการลงโทษ ในกรณีที่ได้มีการตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนผู้นั้นไปเท่าใด ให้คืนเงิน ที่ได้ตัด หรือลดไว้ดังกล่าวให้ผู้นั้น ( 2 ) ถ้าเป็นกรณีงดโทษ ในกรณีที่ได้มีการตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนผู้นั้นไปเท่าใด ให้คืนเงินที่ได้ตัดหรือลดไว้ดังกล่าวให้ผู้นั้น ( 3 ) ถ้าเป็นกรณีที่มีผลให้ยังคงต้องลงโทษผู้นั้นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มโทษหรือลดโทษก็ตาม ให้ดําเนินการ ดังนี้ ( ก ) ถ้าเป็นการเพิ่มโทษให้เป็นโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน ให้คิดคํานวณจํานวน เงินเดือนที่จะตัดหรือลดขั้นตามอัตราโทษใหม่จากเงินเดือนเดิมในขณะที่มีคําสั่งลงโทษเดิม และให้คืนเงิน ที่ได้ตัดหรือลดขั้นไปแล้วนั้นให้ผู้นั้น ( ข ) ถ้าเป็นการเพิ่มโทษจากโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนเป็นปลดออกหรือไล่ออก ให้คืนเงินที่ได้ตัดหรือลดขั้นไปแล้วนั้นให้ผู้นั้น ( ค ) ถ้าเป็นการลดโทษให้เป็นโทษภาคทัณฑ์ ให้ลงโทษให้เป็นไปตามนั้น ในกรณีที่ได้มี การตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนผู้นั้นไปเท่าใด ให้คืนเงินที่ได้ตัดหรือลดขั้นไว้ดังกล่าวให้ผู้นั้น ( ง ) ถ้าเป็นการลดโทษให้เป็นโทษตัดเงินเดือน ให้คิดคํานวณจํานวนเงินที่จะตัดตามอัตรา โทษใหม่จากเงินเดือนเดิมในขณะที่มีคําสั่งลงโทษเดิม และให้คืนเงินที่ได้ลดไปแล้วนั้นให้ผู้นั้น ( จ ) ถ้าเป็นการเพิ่มหรือลดอัตราโทษของโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน ให้คิด คํานวณจํานวนเงินที่จะตัดหรือลดขั้นตามอัตราโทษใหม่จากเงินเดือนเดิมในขณะที่มีคําสั่งลงโทษเดิม ในกรณีที่จํานวนเงินที่จะต้องตัดหรือลดตามคําสั่งลงโทษใหม่ ต่ํากว่าจํานวนเงินที่ได้ถูกตัดหรือลดขั้น ตามคําสั่งลงโทษเดิมให้คืนเงินส่วนที่ได้ตัดหรือลดขั้นไว้เกินนั้นให้ผู้นั้น หมวด 9 การสั่งพักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน ข้อ 85 เมื่อข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทําความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิด ที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุจะสั่งให้ผู้นั้นพักราชการเพื่อรอฟัง ผลการสอบสวน หรือพิจารณา หรือผลแห่งคดีได้ต่อเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวน และผู้มีอํานาจสั่งบรรจุพิจารณาเห็นว่าถ้าผู้นั้นคงอยู่ใน หน้าที่ราชการต่อไปอาจเกิดการเสียหายแก่ราชการ ( 2 ) ผู้นั้นถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทําความผิดอาญาในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต หรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจ ้ หนา 107 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

โดยพนักงานอัยการมิได้รับเป็นทนายแก้ต่างให้ และผู้มีอํานาจสั่งบรรจุพิจารณาเห็นว่าถ้าผู้นั้นคงอยู่ใน หน้าที่ราชการอาจเกิดการเสียหายแก่ราชการ ( 3 ) ผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่แสดงว่า ถ้าคงอยู่ในหน้าที่ราชการจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน พิจารณาหรือจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น ( 4 ) ผู้ นั้นอยู่ ในระหว่ำงถูกควบคุมหรือขังโดยเป็ นผู้ ถูกจับในคดีอาญาหรือต้ องจําคุก โดยคําพิพากษาและได้ถูกควบคุม ขัง หรือต้องจําคุก เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสิบห้าวันแล้ว ( 5 ) ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนและต่อมามีคําพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทําความผิดอาญา ในเรื่องที่สอบสวนนั้น หรือผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนภายหลังที่มีคําพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทํา ความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น และผู้มีอํานาจสั่งบรรจุพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ตามคําพิพากษาถึงที่สุดนั้น ได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าการกระทําความผิดอาญาของผู้นั้นเป็นความผิดวินัย อย่างร้ายแรง ข้อ 86 การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนหรือพิจารณา เว้นแต่ผู้ถูกสั่ง พักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและ บุคลากรกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2554 และผู้มีอํานาจพิจารณาคําร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้น กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น เนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่ง พักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือพิจารณา และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป หรือเนื่องจากการดําเนินการทางวินัยได้ล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการแล้วยังไม่แล้วเสร็จและผู้ถูกสั่ง พักราชการไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว ให้ผู้มีอํานาจสั่งพักราชการสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ ก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น ข้อ 87 เมื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครผู้ใดมีกรณีถูกพักใช้ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ถ้าภายในสามสิบวันนับแต่วันที่หน่วยงานของผู้ถูกพักใช้ใบอนุญาตปฏิบัติงานอยู่ ได้รับหนังสือแจ้งการพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และผู้บังคับบัญชาหน่วยงานนั้นพิจารณาเห็นว่า ผู้นั้นไม่เหมาะสมที่จะเปลี่ยนตําแหน่งหรือย้ายไปดํารงตําแหน่งอื่นที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือผู้นั้นมีความเหมาะสม แต่ไม่อาจเปลี่ยนตําแหน่งหรือย้ายไปดํารงตําแหน่งอื่นได้ หรือ ก . ก . ไม่อนุมัติ ก็ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุสั่งให้ผู้นั้นพักราชการ การสั่งพักราชการตามวรรคหนึ่ง ให้สั่งพักตลอดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เว้นแต่กรณีที่ผู้ถูกสั่งพักราชการเนื่องจากเหตุถูก พักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ร้องทุกข์คําสั่ง พักราชการและผู้มีอํานาจพิจารณาเห็นว่าคําร้องทุกข์ฟังขึ้นและสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ ราชการก่อนกําหนดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เนื่องจากมีตําแหน่งอื่นที่ไม่ต้องมี ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และผู้มีอํานาจสั่งบรรจุพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นมีความเหมาะสมที่จะบรรจุและ ้ หนา 108 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว ผู้มีอํานาจสั่งพักราชการอาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ ก่อนกําหนดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ ข้อ 8 8 ในกรณีที่ข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหลายสํานวน หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทําความผิดในคดีอาญา หลายคดี ถ้าจะสั่งพักราชการในสํานวนหรือคดีใดที่เข้าลักษณะตามข้อ 85 ให้สั่งพักราชการในสํานวน หรือคดีอื่นทุกสํานวนหรือทุกคดีที่เข้าลักษณะตามข้อ 85 ด้วย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครผู้ใดมีเหตุพักราชการตามข้อ 85 และพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามข้อ 87 ถ้าจะสั่งพักราชการให้สั่งพักทุกสํานวนและทุกคดี ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการในสํานวนใดหรือคดีใดไว้แล้ว ถ้าภายหลังปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักนั้น มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนในสํานวนอื่น หรือถูกฟ้อง คดีอาญาหรือต้องหาในคดีอาญาในคดีอื่นเพิ่มขึ้น เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิด ลหุโทษ หรือผู้ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้ หรือมีกรณีถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ก็ให้สั่งพักราชการในสํานวนหรือคดีอื่น ที่เพิ่มขึ้นและเข้าลักษณะตามข้อ 85 นั้นด้วย ข้อ 8 9 การสั่งพักราชการ ให้สั่งพักตั้งแต่วันออกคําสั่ง เว้นแต่ ( 1 ) ผู้ซึ่งจะถูกสั่งพักราชการอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญาหรือ ต้องจําคุกโดยคําพิพากษา การสั่งพักราชการในเรื่องนั้นให้สั่งพักย้อนหลังไปถึงวันที่ถูกควบคุม ขัง หรือต้องจําคุก ( 2 ) ในกรณีที่ได้มีการสั่งพักราชการไว้แล้ว ถ้าจะต้องสั่งใหม่เพราะคําสั่งเดิมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง ให้สั่งพักตั้งแต่วันให้พักราชการตามคําสั่งเดิม หรือตามวันที่ควรต้องพักราชการในขณะที่ออกคําสั่งเดิม ข้อ 90 คําสั่งพักราชการต้องระบุชื่อและตําแหน่งของผู้ถูกสั่งพักราชการ ตลอดจนกรณีและ เหตุที่สั่งพักราชการ และวันที่คําสั่งมีผลใช้บังคับ เมื่อได้มีคําสั่งให้ผู้ใดพักราชการ ให้แจ้งคําสั่งให้ผู้นั้นทราบ และให้นําข้อ 80 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม ข้อ 91 ในกรณีที่ข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการตามข้อ 85 และผู้มีอํานาจสั่งบรรจุพิจารณาเห็นว่าการสอบสวนหรือพิจารณา หรือการดําเนินคดีนั้นจะไม่แล้วเสร็จ โดยเร็ว ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุดังกล่าวจะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนก็ได้ ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการไว้แล้ว จะพิจารณาตามวรรคหนึ่งและสั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการนั้น ออกจากราชการไว้ก่อนแทนการสั่งพักราชการก็ได้ เมื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการ ตามข้อ 87 วรรคหนึ่ง เป็นเวลาเกิน 1 ปี ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุอาจสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนก็ได้ ้ หนา 109 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ข้อ 92 การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้สั่งให้มีผลตั้งแต่วันออกคําสั่ง แต่ถ้าเป็นกรณี ที่ได้สั่งให้พักราชการไว้ก่อนแล้ว ให้สั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตั้งแต่วันสั่งพักราชการเป็นต้นไป หรือ ในกรณีที่มีเหตุตามข้อ 8 9 ให้สั่งให้มีผลตั้งแต่วันที่กําหนดไว้ในข้อ 8 9 นั้น ให้นําข้อ 86 ข้อ 8 8 และข้อ 90 มาใช้บังคับแก่การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน โดยอนุโลม ข้อ 93 การสั่งให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครผู้ดํารงตําแหน่ง ซึ่งมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ออกจากราชการไว้ก่อน ให้นําความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการ ให้พ้นจากตําแหน่งนับแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน ข้อ 94 เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดพักราชการในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทํา ผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน และปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาแล้ว ให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง สําหรับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ให้ดําเนินการตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ . ศ . 2551 สําหรับ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ให้ดําเนินการตามมาตรา 100 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ . ศ . 2547 แล้วแต่กรณี ประกอบมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2554 ( 2 ) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามข้อ 9 9 แล้วดําเนินการตามมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ . ศ . 2551 สําหรับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ดําเนินการตามมาตรา 100 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ . ศ . 2547 แล้วแต่กรณี สําหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร แต่หากมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สําหรับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้สั่งงดโทษตามมาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ . ศ . 2551 สําหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งงดโทษตามมาตรา 10 2 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ( ฉบับที่ 4 ) พ . ศ . 25 62 โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ และ แสดงกรณีกระทําผิดวินัยนั้นไว้ในคําสั่งด้วย ( ก ) ผู้นั้นได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการแล้ว ( ข ) ผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ ( ค ) ผู้นั้นได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย ้ หนา 110 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

( 3 ) ในกรณีที่ผู้นั้นมิได้กระทําผิดวินัย ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ 9 9 และสั่งยุติเรื่อง แต่หากมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สั่งยุติเรื่องโดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติ หน้าที่ราชการ และแสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการไว้ในคําสั่งนั้นด้วย ( ก ) ผู้นั้นได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการแล้ว ( ข ) ผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ ( ค ) ผู้นั้นได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย ( 4 ) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือมิได้กระทําผิดวินัย แต่มีกรณีอื่นที่ผู้นั้น ถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วย ถ้าจะดําเนินการตามมาตรา 9 6 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ . ศ . 2551 หรือมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ . ศ . 2547 แล้วแต่กรณี ให้รอฟังผลการสอบสวน หรือพิจารณาหรือผลแห่งคดีกรณีอื่นนั้น โดยยังไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ แต่ถ้าเป็น การสั่งยุติเรื่อง ให้สั่งยุติเรื่องโดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการและแสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้น กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการไว้ในคําสั่งนั้นด้วย ข้อ 95 เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดออกจากราชการไว้ก่อนในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่า กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน และปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณา แล้วให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง สําหรับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ให้ดําเนินการตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ . ศ . 2551 สําหรับ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครให้ดําเนินการตามมาตรา 100 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ . ศ . 2547 แล้วแต่กรณี ( 2 ) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง และไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจาก ราชการด้วยเหตุอื่น ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามข้อ 9 9 สําหรับข้าราชการกรุงเทพมหานคร สามัญให้ดําเนินการตามมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ . ศ . 2551 สําหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครให้ดําเนินการตามมาตรา 100 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ . ศ . 2547 แล้วแต่กรณี แต่หากมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สําหรับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้สั่งงดโทษ ตามมาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ . ศ . 2551 สําหรับ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งงดโทษตามมาตรา 10 2 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ( ฉบับที่ 4 ) พ . ศ . 25 62 โดยไม่ต้อง สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการและแสดงกรณีกระทําผิดวินัยนั้นไว้ในคําสั่งด้วย ( ก ) ผู้นั้นต้องพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ( ข ) ผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ ้ หนา 111 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

( ค ) ผู้นั้นได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย ( 3 ) ในกรณีที่ผู้นั้นมิได้กระทําผิดวินัย ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามข้อ 9 9 และสั่งยุติเรื่อง แต่หากมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สั่งยุติเรื่องโดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ และ แสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการไว้ในคําสั่งนั้นด้วย ( ก ) ผู้นั้นต้องพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ( ข ) ผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ ( ค ) ผู้นั้นได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย ( 4 ) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือมิได้กระทําผิดวินัย แต่มีกรณีอื่นที่ผู้นั้น ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วย ถ้าจะดําเนินการตามมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ . ศ . 2551 หรือมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา พ . ศ . 2547 แล้วแต่กรณี ให้รอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณาหรือผลแห่งคดี กรณีอื่นนั้น โดยยังไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ แต่ถ้าเป็นการสั่งยุติเรื่อง ให้สั่งยุติเรื่องโดยไม่ต้อง สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ และแสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการไว้ในคําสั่งนั้นด้วย ( 5 ) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง แต่มีกรณีที่ผู้นั้นถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่นด้วย ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการโดยให้แสดงไว้ในคําสั่งด้วยว่า ผู้นั้นยังไม่อาจกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ เนื่องจากอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่น ส่วนการดําเนินการตามมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ . ศ . 2551 หรือมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ . ศ . 2547 ให้รอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณาหรือผลแห่งคดีกรณีอื่นนั้น ( 6 ) ในกรณีที่ผู้นั้นมิได้กระทําผิดวินัย แต่มีกรณีที่ผู้นั้นถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่นด้วย ให้สั่งยุติ เรื่องและสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการโดยให้แสดงไว้ในคําสั่งด้วยว่า ผู้นั้นยังไม่อาจกลับเข้าปฏิบัติ หน้าที่ราชการได้ เนื่องจากอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่นนั้น ข้อ 96 เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดพักราชการในกรณีที่ถูกฟ้องคดีอาญาหรือ ต้องหาว่ากระทําความผิดอาญา และปรากฏผลแห่งคดีถึงที่สุดแล้ว ให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ในกรณีที่ผู้ นั้นกระทําผิดอาญาจนได้ รับโทษจําคุกหรือโทษที่หนักกว่ำโทษจําคุก โดยคําพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ให้ดําเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรง โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ ( 2 ) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทําผิดอาญาจนได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดในความผิดที่ได้ กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือต้องรับโทษจําคุกโดยคําสั่งของศาล ให้ดําเนินการทางวินัย อย่างร้ายแรงหรือดําเนินการให้ออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วย บําเหน็จบํานาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ ้ หนา 112 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

( 3 ) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทําผิดอาญาจนได้รับโทษตาม ( 1 ) หรือ ( 2 ) แต่ศาลรอการกําหนดโทษ หรือให้รอการลงโทษ หรือได้รับโทษอย่างอื่นนอกจาก ( 1 ) หรือ ( 2 ) ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติ หน้าที่ราชการตามข้อ 9 9 และดําเนินการทางวินัยตามกฎ ก . ก . นี้ต่อไป ( 4 ) ในกรณีที่ในคําพิพากษาถึงที่สุดมิได้วินิจฉัยว่าผู้นั้นกระทําผิดอาญา หรือมิได้มีการฟ้อง คดีอาญาในกรณีที่ต้องหาว่ากระทําผิดอาญา ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ 9 9 และถ้าการกระทําดังกล่าวมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัย ก็ให้ดําเนินการตามกฎ ก . ก . นี้ต่อไป ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งพักราชการตาม ( 3 ) หรือ ( 4 ) ได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วย บําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น หรือได้ออกจาก ราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว หรือมีกรณีอื่นที่ผู้นั้นถูกสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน ไม่ต้อง สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ แต่ให้แสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการไว้ด้วย ข้อ 97 เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดออกจากราชการไว้ก่อนในกรณีที่ถูกฟ้อง คดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทําความผิดอาญา และปรากฏผลแห่งคดีถึงที่สุดแล้ว ให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทําผิดอาญาจนได้รับโทษจําคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจําคุกโดยคําพิพากษา ถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ให้ดําเนินการทางวินัย อย่างร้ายแรง โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ ( 2 ) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทําผิดอาญาจนได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดในความผิดที่ได้ กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือต้องรับโทษจําคุกโดยคําสั่งของศาล ให้ดําเนินการทางวินัย อย่างร้ายแรงหรือดําเนินการให้ออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วย บําเหน็จบํานาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ ( 3 ) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทําผิดอาญาจนได้รับโทษตาม ( 1 ) หรือ ( 2 ) แต่ศาลรอการกําหนดโทษ หรือให้รอการลงโทษ หรือได้รับโทษอย่างอื่นนอกจาก ( 1 ) หรือ ( 2 ) ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ ตามข้อ 9 9 และดําเนินการทางวินัยตามกฎ ก . ก . นี้ต่อไป ( 4 ) ในกรณีที่ในคําพิพากษาถึงที่สุดมิได้วินิจฉัยว่าผู้นั้นกระทําผิดอาญา หรือมิได้มีการฟ้อง คดีอาญาในกรณีที่ต้องหาว่ากระทําผิดอาญา ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามข้อ 9 9 และ ถ้าการกระทําดังกล่าวมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัย ก็ให้ดําเนินการตามกฎ ก . ก . นี้ต่อไป ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตาม ( 3 ) หรือ ( 4 ) มีกรณีอื่นที่ถูกสั่งพักราชการด้วย ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการโดยให้แสดงไว้ในคําสั่งด้วยว่า ผู้นั้นยังไม่อาจกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ เนื่องจากอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่น แต่ถ้าผู้นั้นได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วย บําเหน็จบํานาญข้าราชการ หรือมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น หรือได้ออกจาก ราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว หรือมีกรณีอื่นที่ผู้นั้นถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้น กลับเข้ารับราชการ แต่ให้แสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการไว้ด้วย ้ หนา 113 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ข้อ 9 8 ในกรณีที่ข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดมีกรณีที่ถูกดําเนินการทางวินัย หรือถูกฟ้อง คดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทําความผิดอาญาที่ไม่เข้าลักษณะตามข้อ 85 และมีกรณีอื่นที่ผู้นั้นถูกสั่ง พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน เมื่อปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาหรือผลแห่งคดี ถึงที่สุดในเรื่องที่มิได้มีคําสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้ดําเนินการ ดังนี้ ( 1 ) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือผู้นั้นกระทําผิดอาญาจนได้รับโทษจําคุก หรือโทษที่หนักกว่าโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษจําคุกสําหรับความผิดที่ได้กระทํา โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ให้ดําเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรง ( 2 ) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้รอการดําเนินการทางวินัยไว้ก่อน จนกว่า จะปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาหรือผลแห่งคดีถึงที่สุดในกรณีอื่นนั้น จึงดําเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป ( 3 ) ในกรณีที่สมควรให้ผู้นั้นออกจากราชการตามมาตรา 110 ( 6 ) ( 7 ) หรือ ( 8 ) แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ . ศ . 2551 หรือตามมาตรา 111 มาตรา 112 และ มาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ . ศ . 2547 ให้ดําเนินการให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ( 4 ) ในกรณีที่ผู้นั้นมิได้กระทําผิดวินัยในเรื่องนั้น ให้สั่งยุติเรื่อง ข้อ 9 9 ในกรณีที่จะต้องสั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือต้องสั่ง ให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนผู้ใดกลับเข้ารับราชการ ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 5 2 หรือ มาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2554 สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการในตําแหน่งตามเดิม หรือ ตําแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน หรือในตําแหน่งประเภทและระดับที่ ก . ก . กําหนด ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนั้น ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการในตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูงหรือประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิหรือประเภทวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ดําเนินการ นําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครผู้ใดพักราชการหรือ ให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อ 87 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 91 วรรคสาม ถ้าภายหลังปรากฏ ผลการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นประการใด หรือ พ้นกําหนดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้วให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นไม่เป็นผู้ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และไม่มีกรณี ที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ แล้วแต่กรณี ในตําแหน่งและวิทยฐานะเดิมหรือตําแหน่งเดียวกับที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะ สําหรับตําแหน่งและวิทยฐานะ ้ หนา 114 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

( 2 ) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นยังคงเป็นผู้ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต่อไป และไม่มีกรณี ที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้เป็นไปตามข้อ 87 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 91 วรรคสาม แล้วแต่กรณี ( 3 ) ในกรณีที่ปรากฏว่าพ้นกําหนดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้ว และไม่มี กรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับ ราชการ ( 4 ) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นไม่เป็นผู้ถูกพักใช้หรือพ้นกําหนดเวลาถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพแล้ว และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น แต่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติ หน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการได้ เนื่องจากผู้ถูกสั่งพักราชการมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และ ได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการแล้ว หรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ไว้ก่อนมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ซึ่งจะต้องพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น แล้วแต่กรณี ก็ให้ ผู้บังคับบัญชาสั่งให้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ สําหรับกรณีผู้ที่ถูก สั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้มีคําสั่งยกเลิกคําสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อให้ผู้นั้นเป็นผู้พ้นจาก ราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ( 5 ) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นไม่เป็นผู้ถูกพักใช้ หรือพ้นกําหนดเวลาถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพแล้ว แต่มีกรณีต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ตามเหตุนั้น โดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ ข้อ 100 คําสั่งพักราชการ คําสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน คําสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือคําสั่งให้กลับเข้ารับราชการ ให้มีการระบุสิทธิและระยะเวลาในการอุทธรณ์และร้องทุกข์ โดยมี สาระสําคัญตามแบบที่สํานักงาน ก . ก . กําหนด หมวด 10 การนับระยะเวลา ข้อ 101 การนับระยะเวลาตามกฎ ก . ก . นี้ ถ้ากําหนดเวลาเป็นวัน สัปดาห์ หรือเดือน มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วย เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้ซึ่งต้องใช้อํานาจ ตามกฎ ก . ก . นี้ จะได้เริ่มการในวันนั้น ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้ซึ่งต้องใช้อํานาจตามกฎ ก . ก . นี้ ต้องกระทําการอย่างหนึ่ง อย่างใดภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้นับวันสิ้นสุดของระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วย แม้ว่าวันสุดท้าย เป็นวันหยุดราชการ ในกรณีที่บุคคลอื่นนอกจากที่กําหนดไว้ในวรรคสอง ต้องทําการอย่างหนึ่งอย่างใดภายใน ระยะเวลาที่กําหนด ถ้าวันสุดท้ายเป็นวันหยุดราชการ ให้ถือว่าระยะเวลานั้นสิ้นสุดในวันทํางานที่ถัดจาก วันหยุดนั้น ้ หนา 115 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

หมวด 1 1 บทเบ็ดเตล็ด ข้อ 102 ในกรณีที่มีเหตุผลความจําเป็นเป็นพิเศษที่ไม่อาจนําหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลา ที่กําหนดในกฎ ก . ก . นี้มาใช้บังคับได้ การดําเนินการในเรื่องนั้นจะสมควรดําเนินการประการใด ให้เป็นไป ตามที่ ก . ก . กําหนด บทเฉพาะกาล ข้อ 103 ในกรณีที่ได้มีการสั่งให้สอบสวนข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดโดยถูกต้อง ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ก่อนวันที่กฎ ก . ก . นี้ใช้บังคับ และการสอบสวนนั้น ยังไม่แล้วเสร็จ ให้ดําเนินการสอบสวนผู้นั้นตามกฎหมาย กฎ ระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ ส่วนการพิจารณาและดําเนินการต่อไป ให้ดําเนินการตามกฎ ก . ก . นี้ ข้อ 104 ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดโดยถูกต้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วในวันก่อนวันที่กฎ ก . ก . นี้ใช้บังคับ แต่ยัง มิได้มีการพิจารณาและดําเนินการต่อไปหรือการพิจารณาดําเนินการยังไม่แล้วเสร็จ ให้การสอบสวนนั้น เป็นอันใช้ได้ ส่วนการพิจารณาและดําเนินการต่อไป ให้ดําเนินการตามกฎ ก . ก . นี้ ข้อ 105 ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนและพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่กฎ ก . ก . นี้ใช้บังคับ แต่ยังมิได้ดําเนินการ ให้เป็นไปตามผลการพิจารณาดังกล่าว ให้การสอบสวนและพิจารณานั้นเป็นอันใช้ได้ ส่วนการดําเนินการ ต่อไป ให้ดําเนินการตามกฎ ก . ก . นี้ ในกรณีที่จะต้องสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้กระทํา ผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก่อนวันที่กฎ ก . ก . นี้ใช้บังคับ แต่ยังไม่ได้สั่งลงโทษ สําหรับข้าราชการ กรุงเทพมหานครสามัญให้สั่งลงโทษตามข้อ 73 ( 2 ) หรือ ( 3 ) สําหรับข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษากรุงเทพมหานครให้สั่งลงโทษตามข้อ 74 (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี ข้อ 106 ในกรณีที่ได้มีการสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนโดยถูกต้อง ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ก่อนวันที่กฎ ก . ก . นี้ใช้บังคับ และการสอบสวน หรือการพิจารณานั้นยังไม่เสร็จ ให้การสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนนั้นมีผลต่อไป ตามกฎ ก . ก . นี้ จนกว่าจะมีการสั่งการเป็นอย่างอื่นตามกฎ ก . ก . นี้ ให้ไว้ ณ วันที่ 27 กันยายน พ . ศ . 256 5 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธาน ก . ก . ้ หนา 116 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก . ก . ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎ ก . ก . ว่าด้วย การดําเนินการทางวินัย เพื่อให้การดําเนินการทางวินัยของกรุงเทพมหานคร มีความเหมาะสม ประกอบกับ มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ . ศ . 2554 บัญญัติให้นํามาตรา 94 มาตรา 95 มาตรา 96 มาตรา 97 มาตรา 101 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ . ศ . 2551 และมาตรา 97 มาตรา 98 มาตรา 100 มาตรา 103 และมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ . ศ . 2547 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้อํานาจหน้าที่ของ ก . พ . และ ก . ค . ศ . เป็นอํานาจ หน้าที่ของ ก . ก . และสมควรกําหนดระยะเวลาการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาผู้มีอํานาจสั่งบรรจุไว้ จึงจําเป็นต้องออกกฎ ก . ก . นี้ ้ หนา 117 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565