พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2565
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2565
พระราช บัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 25 6 5 เป็นปีที่ 7 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทาได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตาม พระราชบัญญัตินี้ เพื่อเป็น การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายและผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งการดาเนินการบังคับคดีกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ การกระทำความผิดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไข ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรม นูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ ้ หนา 38 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2565 ” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้ บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกวรรคหกของมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 49/1 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 “ มาตรา 49/1 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน ให้เลขาธิการ รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เสียหายและความเสียหายส่งให้พนักงานอัยการ ยื่นคาร้องก่อนที่ศาล จะมีคาสั่งตามมาตรา 51 เพื่อขอให้ศาลมีคาสั่งให้นาทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทาความผิดไปคืน หรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายไม่เกินจานวนความเสียหายที่ยังไม่ได้รับคืนหรือชดใช้คืน และเมื่อศาล มีคาสั่งให้คืนหรือชดใช้ทรัพย์สินให้แก่ผู้เสียหาย แล้ว ให้สานักงานดาเนินการให้เป็นไปตามคาสั่งศาล โดยเร็ว โดยให้นาความในมาตรา 49 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมข้อเท็จจริง ให้สานักงานประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อแจ้งให้ ผู้เสียหายยื่นคำร้องพร้อมหลั กฐานแสดงรายละเอียดแห่งความเสียหายภายในเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา หากผู้เสียหายในความผิดมูลฐานได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ อนามัย หรือชื่อเสียง ให้นาความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่การชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายด้ว ย ผู้เสียหายในความผิดมูลฐานตามมาตรานี้ต้องเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง จากการกระทำความผิดมูลฐานและไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น ค่าเสียหายจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และ ความร้ายแรงแห่งกรณี ทั้งนี้ คาสั่งศา ลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้อง เรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้กระทำความผิด ้ หนา 39 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565
การรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เสียหายและความเสียหาย คำร้องและการยื่นคำร้อง และการเก็บรักษาและการจัดการทรัพย์สิน เพื่อนำไปคืนหรือชดใช้คืนหรือชดใช้ค่าเสียหาย ให้แก่ ผู้เสียหายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามระยะเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดในกฎกระทรวง ” มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตามมาตรา 49 อาจยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิของตนก่อนศาลมีคาสั่ง โดยแสดงให้ศาลเห็นว่า ตน เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือได้มาซึ่งส่วนได้เสียโดยสุจริตและ ตามสมควร ในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางกุศลสาธารณะ ” มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 52 ในกรณีที่ศาลเห็นว่าทรัพย์สินตามคาร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทา ความผิ ด ถ้าศาลไต่สวนคาร้องของผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 50 วรรคสอง แล้ว เห็นว่าฟังขึ้น ให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียดังกล่าวก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้นำ ทรัพย์สินไปคืนหรือชดใช้คืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 49 / 1 หรือสั่งให้ทรัพย์สิน ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 51 โดยจะกำหนดเงื่อนไขด้วยก็ได้ เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ หากผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 50 วรรคสอง เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือ ความผิด ฐาน ฟอกเงินมาก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าส่วนได้เสียดังกล่าวเป็นส่วนได้เสียที่มีอยู่หรือได้มาโดยไม่สุจริต ” มาตรา 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 52/1 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 “ มาตรา 52/1 ถ้าความปรากฏแก่ศาลเองหรือ ปรากฏตามคาร้องของพนักงานอัยการว่า ทรัพย์สินที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 49 หรือสั่งให้นำทรัพย์สินไปคืนหรือ ชดใช้คืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 49/1 เป็นทรัพย์สินที่รวมเข้ากับทรัพย์สินอื่น ้ หนา 40 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565
ที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยว กับการกระทาความผิดจนไม่สามารถแบ่งแยกได้ หรือการแบ่งแยกจะทาให้ ทรัพย์สินเกิดความเสียหายหรือเสื่อมค่า เมื่อศาลมีคาสั่งให้นาทรัพย์สินไปคืนหรือชดใช้คืนหรือชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 49/1 หรือสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 51 ให้ศาลมี อานาจสั่งให้สานักงานนาทรัพย์สินที่รวมเข้ากันนั้นออกขายทอดตลาดและให้นาเงินที่ได้จาก การขายทอดตลาดดังกล่าวไปคืนให้แก่เจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สิน และนำไปชดใช้ ให้แก่ผู้เสียหายหรือตกเป็นของแผ่นดินตามสัดส่วนมูลค่าแห่งทรัพย์สินที่รวมเข้ากันนั้น ทั้ งนี้ ให้นา ระเบียบคณะกรรมการตามมาตรา 57 วรรคสาม มาใช้บังคับแก่การขายทอดตลาดด้วยโดยอนุโลม ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งได้ยื่นคาร้องต่อศาลก่อนการขาย ทอดตลาดและได้นำเงินตามจำนวนที่ศาลกำหนดโดยคำนึงถึงราคาท้องตลาดในวันที่เจ้าของ หรือ ผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคาร้องและสัดส่วนมูลค่าแห่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทาความผิดที่รวมเข้ากับ ทรัพย์สินนั้นให้สานักงานไว้แทนภายในระยะเวลาที่ศาลกาหนด ก็ให้ศาลสั่งงดการขายทอดตลาดและสั่งให้ นำเงินดังกล่าวไปชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายหรือตกเป็นของแผ่นดินแทนทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทา ความผิดและนาทรัพย์สินนั้นไปคืนให้แก่เจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสียต่อไป ” มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ. ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 53 ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 51 หากปรากฏในภายหลังโดยคาร้องของเจ้าของ ผู้รับโอน หรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินนั้น ถ้าศาลไต่สวน แล้วเห็นว่ากรณีต้องด้วยบทบัญญัติของมาตรา 50 ให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินนั้นหรือกาหนดเงื่อนไข ในการคุ้มครองสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย หากไม่สามารถคืนทรัพย์สินหรือคุ้มครองสิทธิได้ ให้ใช้ราคา หรือค่าเสียหายแทน แล้วแต่กรณี ” ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประ ยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 41 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565
หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราช บัญญัติ ฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงินไม่มีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในความผิดมูลฐานซึ่งได้รับความเสียหาย แก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ อนามัย หรือชื่อเสียง ไว้อย่างชัดเจน และบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิ ของผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน ยังไม่ครอบคลุม ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด ในทรัพย์สินดังกล่าว อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติที่ให้ดาเนินการบังคับคดีกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทาความผิด ในกรณีที่ทรั พย์สินนั้นถูกรวมเข้ากับทรัพย์สินอื่น ดังนั้น เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน และผู้มีส่ว นได้เสียในทรัพย์สินเป็นไปอย่างคร อบคลุมและทั่วถึง รวมทั้งการบังคับคดี กับ ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ การกระทาความผิดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ้ หนา 42 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565