Mon Oct 24 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565


พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565

พระราช บัญญัติ ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 25 6 5 เป็นปีที่ 7 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติว่ารัฐพึงกาหนดโทษอาญาเฉพาะความผิด ร้ายแรง กรณีจึงเป็นการสมควรกาหนดให้การกระทาความผิดในลักษณะที่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามกฎหมายในกรณีที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรงและโดยสภาพไม่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีขอ งประชาชนอย่างร้ายแรง หรือไม่มีผลกระทบต่อส่วนรวมอย่างกว้างขวางเป็นความผิดทางพินัย โดยไม่ถือเป็นความผิดอาญา และให้กำหนดค่าปรับเป็นพินัยสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม โดยไม่ถือ เป็นโทษอาญา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ” ้ หนา 22 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติแห่งมาตรา 37 แ ละมาตรา 38 วรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ “ ปรับเป็นพินัย ” หมายความว่า สั่งให้ผู้กระทาความผิดทางพินัยต้องชาระค่าปรับเป็นพินัย ไม่เกินที่กฎหมายกำหนด “ ความผิดทางพินัย ” หมายความว่า กำรกระทาหรืองดเว้นการกระทาอันเป็นการฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎหมายนั้นบัญญัติให้ต้องชำระค่าปรับเป็นพินัย “ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน นายทะเบียน คณะบุคคล และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่น บรรดาที่ กฎหมายบัญญัติให้มีอานาจปรับเป็นพินัย หรือที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัยตามมาตรา 14 มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอานาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 5 การปรับเป็นพินัยตามกฎหมายทั้งปวง ให้ดาเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ให้ถือว่าการปรับเป็นพินัยหรือคำสั่งปรับเป็นพินัยเป็นการกระทำทางปกครองหรือคำสั่ง ทางปกครอง การปรับเป็นพินัยไม่เป็นโทษอาญา มาตรา 6 ในกรณีพระราชบัญญัตินี้มิได้กำหนดไว้เป็นประการอื่น การใดที่กำหนดให้แจ้ง ยื่น หรือส่งหนังสือหรือเอกสารให้บุคคลใดเป็นการเฉพาะ ถ้าได้แจ้ง ยื่น หรือส่งหนังสือหรือเอกสาร ให้บุคคลนั้น ณ ภูมิลาเนาหรือที่อยู่ ที่ปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ให้ถือว่าได้แจ้ง ยื่น หรือส่งโดยชอบด้วยพระราชบัญญัตินี้แล้ว ้ หนา 23 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ในกรณีปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าผู้กระทาความผิดทางพินัยไม่สามารถพูดหรือได้ยิน หรือ สื่อความหมายได้ ให้แจ้งหนังสือหรือเอกสารในรูป แบบที่ผู้กระทาความผิดทางพินัยสามารถเข้าใจได้ หรือจะแจ้งให้ผู้กระทำความผิดทางพินัยทราบด้วยการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นก็ได้ ในกระบวนการพิจารณาความผิดทางพินัย หากผู้ถูกกล่าวหา หรือพยานไม่สามารถพูดหรือได้ยิน หรือสื่อความหมายได้ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงำนอัยการ หรือศาล จัดหาล่ามภาษามือให้หรือ จัดให้ถาม ตอบ หรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่นที่เห็นสมควร มาตรา 7 ผู้ใดกระทำความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยตามจำนวนเงิน ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือศาลกาหนดตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินจำนวนสูงสุด ที่กฎหมายซึ่งบัญญัติความผิดทางพินัยนั้นบัญญัติไว้ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น มาตรา 8 ให้นำบทบัญญัติในภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป ลักษณะ 1 บทบัญญัติที่ใช้ แก่ความผิดทั่วไป เฉพาะหมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา หมวด 5 การพยายามกระทาความผิด และหมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้บังคับแก่การปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัตินี้ด้วยโดยอนุโลม เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะบัญญัติไว้ เป็นอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการดาเนินการ ตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะวางระเบียบปฏิบัติในการปรับเป็นพินัย รวมทั้ง ระยะเวลาในการดาเนินการ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ ระเบียบดังกล่าวเมื่อได้ประกาศ ในราชกิจจานุ เบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา 9 ในการกำหนดค่าปรับเป็นพินัย ให้พิจารณาให้เหมาะสมกับข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้ (1) ระดับความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ชุมชนหรือสังคมจากการกระทาความผิด ทางพินัย และพฤติการณ์อื่นอันเกี่ยวกับสภาพความผิดทางพินัย (2) ความรู้ผิ ดชอบ อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อม การกระทาความผิดซ้า และสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้กระทา ความผิดทางพินัย (3) ผลประโยชน์ที่ผู้กระทาความผิดทางพินัยหรือบุคคลอื่นได้รับจากการกระทาความผิด ทางพินัย ้ หนา 24 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

(4) สถานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทำความผิดทางพินัย ในการชาระค่าปรับเป็นพินัย ถ้าผู้กระทาความผิดทางพินัยร้องขอ และเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือ ศาลเห็นว่าผู้กระทาความผิดไม่อาจชาระค่าปรับในคราวเดียวได้ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือศาลจะให้ผ่อนชาระ ก็ได้ และในกรณีเช่นนั้นหากผู้กระทาความผิดทางพินัยผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้การผ่อนชำระเป็นอันยกเลิกและผู้กระทำความผิดต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยที่ยังค้างชำระอยู่ ให้ครบถ้วนภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือศาลกำหนด หากไม่ชำระค่าปรับเป็นพิ นัยภายใน กำหนดเวลาดังกล่าว ให้ดาเนินการต่อไปตามมาตรา 23 หรือมาตรา 30 แล้วแต่กรณี รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายซึ่งบัญญัติความผิดทางพินัยจะวางระเบียบเพื่อกาหนด หลักเกณฑ์การกาหนดค่าปรับเป็นพินัยตามวรรคหนึ่งและการผ่อนชาระตามวรรคสองเท่าที่ไม่ขัดหรือ แย้งต่อ พระราชบัญญัตินี้และระเบียบของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 8 วรรคสอง ก็ได้ มาตรา 10 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดทางพินัยผู้ใดเป็นบุคคลธรรมดา และกระทำ ความผิดทางพินัยเพราะเหตุแห่งความยากจนเหลือทนทานหรือเพราะความจาเป็นอย่างแสนสาหัส ในการดารงชีวิต ผู้นั้นอาจยื่นคาร้อ งเพื่อให้กาหนดค่าปรับเป็นพินัยต่ากว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือ ขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับเป็นพินัยได้ ในกรณีที่ผู้กระทาความผิดทางพินัยผู้ใดเป็นบุคคลธรรมดา และไม่มีเงินชาระค่าปรับเป็นพินัย ผู้นั้นอาจยื่นคาร้องโดยแสดงเหตุผลอันสมควร เพื่อขอทางานบริการสังคมหรือทางานสาธารณประโยชน์ แทนค่าปรับเป็นพินัยได้ การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้สั่งปรับเป็นพินัย และผู้นั้น ไม่โต้แย้งคาสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดาเนิ นการ ยื่นคาร้องต่อศาลที่มีเขตอานาจเพื่อพิจารณามีคาสั่งต่อไป ถ้าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล การยื่น คาร้องให้ยื่นต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้น ในกรณีที่ศาลเห็นว่าผู้นั้นกระทาความผิดทางพินัยเพราะเหตุ แห่งความยากจนเหลือทนทานหรือเพราะความจาเป็นอย่างแสนสาหัส ในการดารงชีวิต ศาลจะกาหนด ค่าปรับเป็นพินัยต่ากว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือจะว่ากล่าวตักเตือนโดยไม่ปรับเป็นพินัย หรือหากผู้นั้น ยินยอม จะมีคาสั่งให้ผู้นั้นทางานบริการสังคมหรือทางานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับเป็นพินัยก็ได้ หรือในกรณีที่ศาลเห็นว่าผู้นั้นไม่มี เงินชาระค่าปรับ จะมีคาสั่งให้ผู้นั้นทางานบริการสังคมหรือทางาน สาธารณประโยชน์แทนค่าปรับเป็นพินัยก็ได้ หากผู้นั้นยินยอม ้ หนา 25 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ในกรณีที่ความปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐว่ามีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง และผู้กระทำ ความผิดทางพินัยยินยอม ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งตามวรรคสาม ในกรณีที่ความปรากฏต่อศาลในขณะที่พิพากษาว่ามีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ศาลมีอานาจสั่งตามวรรคสามได้แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้ยื่นคำร้องก็ตาม ให้นาความในมาตรา 30/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้บังคับแก่การสั่งของศาล ตามมาตรานี้ด้วยโดยอนุโลม หากผู้กระทาความผิดทางพินัยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคาสั่งหรือเงื่อนไขที่ศาลกาหนดใน การทางานบริการสังคมหรือทางานสาธารณประโยชน์ ศาลจะเพิกถอนคำสั่ง และออกหมายบังคับคดีเพื่อยึด ทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้ องในทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อชาระค่าปรับเป็นพินัยก็ได้ โดยให้หักจานวน วันที่ทำงานมาแล้วออกจากค่าปรับเป็นพินัย คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด มาตรา 11 ในคดีความผิดทางพินัย ถ้ามิได้มีคาสั่งปรับเป็นพินัยหรือฟ้องภายในกาหนด สองปีนับแต่วันกระทาความผิด เป็ นอันขาดอายุความ เว้นแต่กฎหมายซึ่งบัญญัติความผิดทางพินัย จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มาตรา 12 เมื่อได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาอันเป็นที่สุดให้ผู้ใดชำระค่าปรับเป็นพินัย ถ้าผู้นั้น มิได้ชำระหรือชำระค่าปรับเป็นพินัยแล้วแต่ยังไม่ครบถ้วน และเกินห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่ งหรือ คำพิพากษาดังกล่าว จะบังคับตามคาสั่งหรือคาพิพากษาต่อผู้นั้นมิได้ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การขายทอดตลาดหรือจาหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินหรือ สิทธิเรียกร้องที่ถูกยึดหรืออายัดไว้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง มาตรา 13 ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้สั่งปรับเป็นพินัยรายงานการสั่งปรับเป็นพินัยให้หัวหน้า หน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัดทราบ และให้หน่วยงานของรัฐจัดทำสรุปผลการปรับเป็นพินัยของหน่วยงาน นั้นแล้วเปิดเผยผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ประชาชนทราบเป็นประจำทุกปี หมวด 2 กระบวนกำรพิจารณาคดีความผิดทางพินัย ้ หนา 26 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

มาตรา 14 เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดจะมีอานาจปรับเป็นพินัยตามกฎหมายใด ให้เป็นไป ตามที่กฎหมายซึ่งบัญญัติความผิดทางพินัยนั้นบัญญัติไว้ ในกรณีที่กฎหมายซึ่งบัญญัติความผิดทางพินัย มิได้บัญญัติไว้ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายนั้นประกาศกำหนด ในการกาหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีอานาจปรับเป็นพินัยตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีจะกาหนดให้ เจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นใดที่มิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นผู้มีอานาจ ปรับเป็นพินัยมิ ได้ เว้นแต่เป็นกรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 วรรคสาม และถ้าค่าปรับเป็นพินัย ที่กฎหมายบัญญัติไว้มีอัตราอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท จะกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐคนเดียว เป็นผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัยก็ได้ แต่ถ้าค่าปรับเป็นพินัยที่กฎหมายบัญญัติไว้มีอัตราอย่ำงสูงเกินหนึ่งหมื่นบาท ต้องกาหนดให้การปรับเป็นพินัยกระทำเป็นองค์คณะประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่น้อยกว่าสามคน มาตรา 15 การกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดทางพินัยหลายบท ให้ใช้กฎหมาย บทที่กำหนดค่าปรับเป็นพินัยสูงสุดในการปรับผู้กระทำความผิดทางพินัย ก่อ นที่ผู้กระทาความผิดทางพินัยจะชาระค่าปรับเป็นพินัย หากความปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ ของรัฐว่าการกระทานั้นเป็นความผิดทางพินัยตามกฎหมายอื่นที่กาหนดค่าปรับเป็นพินัยสูงกว่าด้วย ให้ระงับการรับชาระค่าปรับเป็นพินัยและส่งสานวนให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอานาจปรับเป็นพินั ยสาหรับ ความผิดที่กฎหมายกำหนดค่าปรับเป็นพินัยสูงกว่า เพื่อดาเนินการให้เป็นไปตามวรรคหนึ่งต่อไป ในกรณีที่ได้มีคำสั่งปรับเป็นพินัยและชำระค่าปรับไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนในความผิดทางพินัย บทใดบทหนึ่งแล้วไม่ว่าจะเป็นบทที่กาหนดค่าปรับเป็นพินัยสูงสุดหรือไม่ ให้ค วามผิดทางพินัยสาหรับ การกระทำความผิดในบทอื่นเป็นอันยุติ มาตรา 16 การกระทาใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นทั้งความผิดทางพินัยและความผิดอาญา ให้ดาเนินการดังต่อไปนี้ (1) ถ้าความผิดอาญานั้นไม่อาจเปรียบเทียบได้ ให้ระงับการดำเนินการปรับเป็นพินัย และแจ้งพนักงานสอบสวนเพื่ อดาเนินคดีอาญาต่อไป (2) ในกรณีตาม (1) ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ปรับเป็นพินัยไปก่อนแล้ว การปรับเป็นพินัย ดังกล่าวไม่เป็นการตัดอานาจของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการที่จะดาเนินคดีอาญา และ ในกรณีที่ศาลในคดีอาญามีคาพิพากษาถึงที่สุดลงโทษอาญาแก่ผู้กระทาความผิ ด ให้ความผิดทางพินัย เป็นอันยุติและให้ศาลในคดีอาญาสั่งคืนค่าปรับเป็นพินัยที่ได้ชาระแล้วให้แก่ผู้กระทาความผิด ในกรณีที่ ้ หนา 27 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ศาลในคดีอาญาพิพากษาลงโทษปรับไม่ว่าจะลงโทษจาคุกด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้ศาลในคดีอาญาสั่งให้นา ค่าปรับเป็นพินัยที่ชาระแล้วมาหักกลบกับโทษปรับ หำกยังมีจานวนเงินค่าปรับเป็นพินัยที่ชาระแล้ว เหลืออยู่ ให้ศาลในคดีอาญาสั่งให้คืนเงินที่เหลือนั้นให้แก่ผู้กระทำความผิดด้วย (3) ถ้าความผิดอาญานั้นเปรียบเทียบได้ และผู้กระทาความผิดได้ชาระค่าปรับเป็นพินัย หรือทางานบริการสังคมหรือทางานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับเป็ นพินัยตามคาสั่งของศาลแล้ว ให้คดีอาญานั้นเป็นอันเลิกกัน แต่ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะเรียกค่าเสียหายจากการกระทาของผู้กระทา ความผิดนั้น (4) ถ้าความผิดอาญานั้นเปรียบเทียบได้ และได้มีการชาระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้ความผิดทางพินัยนั้นเป็นอันยุติ มำตรา 17 ผู้ใดกระทาความผิดทางพินัยอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ปรับเป็น พินัยผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ภายใต้บังคับวรรคสาม ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการปรับเป็นพินัย และความผิด ทางพินัยตามวรรคหนึ่งอยู่ในอานาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างหน่วยงานกัน ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปรับเป็น พินัยในความผิดที่อยู่ในอานาจของตน และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอานาจ พิจารณาในความผิด ทางพินัยอื่นทราบเพื่อดาเนินการต่อไปด้วย เพื่อประโยชน์ในการดาเนินการปรับเป็นพินัยตามวรรคหนึ่ง นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบ ของคณะรัฐมนตรีจะวางระเบียบกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมกันหรือทำแทนกัน ในการดาเนินการปรับเป็นพินัยก็ได้ ระเบียบดังกล่าวเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา 18 เมื่อปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าผู้ใดกระทาความผิดอันเป็นความผิดหลายกรรม ต่างกัน และบางกรรมเป็นความผิดทางพินัย บางกรรมเป็นความผิดอาญา ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ปรับเป็นพินัยในกรรมที่เ ป็นความผิดทางพินัย และแจ้งให้พนักงานสอบสวนที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณา ดาเนินคดีอาญาสำหรับกรรมที่เป็นความผิดอาญาต่อไป ในการสืบสวนและสอบสวนการกระทำความผิดอาญา หากพบว่ามีการกระทำความผิด ทางพินัยรวมอยู่ด้วย ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้ องพิจารณาดาเนินการ ปรับเป็นพินัย ้ หนา 28 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

มาตรา 19 เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยหรือมีการกล่าวหาหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐพบเห็นว่า มีการกระทาความผิดทางพินัยไม่ว่าความผิดนั้นจะเกิดขึ้นในท้องที่ใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดาเนินการแสวงหา ข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน และต้องให้โ อกาสผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหานั้น ตามสมควร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 20 เมื่อดาเนินการตามมาตรา 19 แล้ว และเจ้าหน้าที่ของรัฐมีพยานหลักฐาน เพียงพอว่าผู้ใดกระทาความผิดทางพินัย ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคาสั่งปรับ เป็นพินัยและส่งคาสั่งให้ผู้นั้น ทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังที่อยู่ที่ปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วย การทะเบียนราษฎรของผู้ถูกกล่าวหาหรือตามที่ได้แจ้งไว้ต่อหน่วยงานของรัฐ และให้ถือว่าผู้นั้นได้รับแจ้ง ตั้งแต่วันครบสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏใ นทะเบียนตอบรับ มาตรา 21 คำสั่งปรับเป็นพินัยตามมาตรา 20 ให้ทำเป็นหนังสือโดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (1) ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นความผิดทางพินัย (2) อัตราค่าปรับเป็นพินัยที่กฎหมายบัญญัติ และจานวนค่าปรับเป็นพินัยที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ กำหนดให้ต้องชำระ (3) ระยะเวลาที่ต้องชำระซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน แต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง (4) กระบวนการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องดำเนินการต่อไป ถ้าผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธ ข้อกล่าวหาหรือไม่ชำระค่ำปรับเป็นพินัยภายในระยะเวลาที่กำหนด (5) สิทธิในการขอผ่อนชำระตามมาตรา 9 วรรคสอง หรือการยื่นคำร้องขอต่อศาล ตามมาตรา 10 (6) รายละเอียดอื่นใดที่เห็นสมควรอันจะทาให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้าใจสภาพแห่งการกระทำ ความผิดหรือที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถูกกล่าวหา มาตรา 22 ความใ นมาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 21 ไม่ใช้บังคับแก่การดาเนินการ เกี่ยวกับความผิดทางพินัยที่กฎหมายซึ่งบัญญัติความผิดทางพินัยได้บัญญัติวิธีดาเนินการไว้เป็นการเฉพาะ หรือแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าว มาตรา 23 ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา 20 ปฏิเสธ ข้อกล่าวหา หรือไม่ชาระค่าปรับ เป็นพินัยภายในระยะเวลาที่กาหนด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสรุปข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย พยานหลักฐาน ้ หนา 29 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

และส่งสำนวนให้พนักงานอัยการเพื่อดาเนินการฟ้องคดีต่อศาลต่อไป เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายซึ่งบัญญัติ ความผิดทางพินัยได้บัญญัติให้เจ้าหน้า ที่ของรัฐมีอำนาจดาเนินการฟ้องคดีต่อศาลได้เอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ อาจดาเนินการฟ้องคดีโดยไม่ต้องส่งให้พนักงานอัยการ มาตรา 24 ในกรณีที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาพบการกระทาความผิดทางพินัย ให้มีหน้าที่แจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่รั บผิดชอบกฎหมายนั้น ๆ เพื่อพิจารณาดาเนินการปรับเป็นพินัยต่อไป เว้นแต่เป็นความผิดทางพินัยที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตารวจดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีเช่นนั้นให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตารวจดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ มาตรา 25 เมื่อพนักงานอัยการได้รับสานวนคดีความผิดทางพินัยจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ หากพนักงานอัยการเห็นควรสั่งฟ้อง ให้ดาเนินการเพื่อฟ้องคดีต่อศาล โดยจะมีหรือไม่มีตัวผู้ถูกกล่าวหา ไปศาลก็ได้ ในกรณีพนั กงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง ให้แจ้งหัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบพร้อมทั้งเหตุผล หากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐไม่เห็นด้วยกับคาสั่งของพนักงานอัยการ ให้ทาความเห็นแย้งเสนอไปยัง ผู้ดารงตาแหน่งเหนือพนักงานอัยการที่มีคาสั่งเพื่อชี้ขาด เมื่อมีคาสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีแล้วให้พ นักงาน อัยการแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบเป็นหนังสือด้วย ในการพิจารณาสำนวน พนักงานอัยการมีอำนาจแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม รวมทั้งมีหนังสือ เรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำได้ตามที่เห็นสมควร หรือจะสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดาเนินการก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบั ติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ และการกาหนด ผู้มีอำนาจชี้ขาดความเห็นแย้ง ให้อัยการสูงสุดออกระเบียบให้พนักงานอัยการปฏิบัติได้ และ เพื่อประโยชน์ในการประสานและร่วมมือกันในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้และไม่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนแก่ประชำชนรวมทั้งสอดคล้องกับเขตอานาจของพนักงานอัยการ อัยการสูงสุดจะมี หนังสือแจ้งให้หน่วยงานของรัฐทราบถึงแนวปฏิบัติในการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการในแต่ละท้องที่ก็ได้ มาตรา 26 ในการพิจารณาสำนวนคดีความผิดทางพินัย หากพนักงานอัยการเห็นว่า เป็นความผิดทางอาญาหรือมีการก ระทาความผิดทางอาญารวมอยู่ด้วย ให้พนักงานอัยการแจ้งให้ พนักงานสอบสวนเพื่อพิจารณาดาเนินคดีอาญาต่อไป ้ หนา 30 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ในการพิจารณาสำนวนคดีความผิดทางอาญา หากพนักงานอัยการเห็นว่าเป็นความผิดทางพินัย หรือมีการกระทาความผิดทางพินัยรวมอยู่ด้วย ให้พนักงานอัยการแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของรั ฐที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดาเนินการปรับเป็นพินัยต่อไป มาตรา 27 ถ้าผู้กระทาความผิดทางพินัยชำระค่าปรับเป็นพินัยครบถ้วนตามจานวนที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐกาหนดก่อนฟ้องคดีต่อศาล ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี ยุติการดาเนินการฟ้องคดี หรือถ้าได้มีกา รฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ก่อนศาลมีคำพิพากษา ให้ศาลสั่งจำหน่ายคดี มาตรา 28 ให้ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลอาญาที่มีเขตอานาจ หรือศาลชานัญพิเศษ ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดทางพินัย วิธีพิจารณาคดีความผิดทางพินัยให้เป็นไ ปตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบ ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ข้อบังคับตามวรรคสองต้องคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม และไม่เป็นภาระ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องจนเกินสมควร และจะกาหนดให้ศาลพิจารณาลับหลังจาเลยก็ได้ แต่ไม่ว่ากรณีจะเป็น ประการใด จาเลยมีสิทธิแต่งตั้งทนายความหรือบุคคลอื่นซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กาหนดในข้อบังคับให้มา ต่อสู้คดีแทนได้ โดยมิให้ถือว่าเป็นการพิจารณาลับหลังจำเลย และในการส่งเอกสารให้กำหนด ให้สามารถส่งทางอิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นที่เหมาะสมได้ด้วย ในกรณีสมคว ร จะกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีไว้ด้วยก็ได้ ข้อบังคับดังกล่าวเมื่อได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา 29 เมื่อความผิดทางพินัยเกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าเกิดขึ้นในเขตอานาจของศาลใด ให้ฟ้องที่ศาลนั้น แต่ถ้าความผิดทางพินัยเกิดขึ้นในหลายท้องที่ ให้ฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจในท้องที่ใด ท้องที่หนึ่งได้ ในกรณีที่ไม่ปรากฏชัดว่าความผิดทางพินัยเกิดขึ้นในท้องที่ใด ให้ฟ้อ งต่อศาลที่ผู้กระทำความผิด มีที่อยู่ แต่ถ้าไม่ทราบที่อยู่ของผู้กระทำความผิด ให้ถือที่อยู่ที่ปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หากมีผู้กระทาความผิดหลายคน ให้ฟ้องต่อศาลที่ผู้กระทา ความผิดคนใดคนหนึ่งมีที่อยู่ ้ หนา 31 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

มาตรา 30 ผู้ใดต้องคาพิพาก ษาให้ชำระค่าปรับเป็นพินัย ไม่ชำระค่าปรับภายในเวลาที่ศาล กำหนด ให้ศาลมีอำนาจออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้นั้น เพื่อชำระค่าปรับเป็นพินัย มาตรา 31 ให้นาความในมาตรา 29/1 วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลกฎหมาย อาญา มาใ ช้บังคับแก่การบังคับคดีตามคาสั่งศาลตามมาตรา 10 และมาตรา 30 ด้วยโดยอนุโลม มาตรา 32 ห้ามมิให้อุทธรณ์คาพิพากษาของศาลในปัญหาข้อเท็จจริงและจานวนค่าปรับ เป็นพินัย ผู้กระทาความผิดทางพินัยมีสิทธิอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายตามเงื่อนไขที่กาหนดในข้อบังคับ ที่ออกตามมาตรา 28 เงื่อนไขดังกล่าวต้องคานึงถึงความเป็นธรรมต่อผู้อุทธรณ์และสังคมโดยรวม ในการรับภาระค่าใช้จ่ายประกอบกัน คำพิพากษาของศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด มาตรา 33 คดีความผิดทางพินัยเป็นอันยุติ ด้วยเหตุดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีการชาระค่าปรับเป็นพินัยหรือทางานบริกา รสังคมหรือทางานสาธารณประโยชน์ แทนค่าปรับเป็นพินัยครบถ้วนแล้ว (2) โดยความตายของผู้กระทำความผิดทางพินัย (3) เมื่อมีการเปรียบเทียบความผิดอาญาตามมาตรา 16 (4) (4) เมื่อคดีขาดอายุความตามมาตรา 11 หรือพ้นกาหนดเวลาตามมาตรา 12 แล้วแต่กรณี มาตรา 34 ห้ามมิให้หน่ว ยงานของรัฐบันทึกการกระทาความผิดทางพินัยของบุคคลใด รวมไว้ในบันทึกประวัติอาชญากรรม หรือในฐานะเป็นประวัติอาชญากรรม มาตรา 35 เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการชำระค่าปรับเป็นพินัย จะกำหนดให้ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระท รวงก็ได้ มาตรา 36 ค่าปรับเป็นพินัยให้นาส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน เว้นแต่กฎหมายซึ่งบัญญัติ ความผิดทางพินัยหรือกฎหมายอื่นจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น บทเฉพาะกาล ้ หนา 32 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

มาตรา 37 เมื่อพระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ผู้มีหน้าที่และ อำนาจในการออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศตามมาตรา 8 วรรคสอง มาตรา 9 วรรคสาม มาตรา 14 วรรคหนึ่ง มาตรา 17 วรรคสาม มาตรา 19 มาตรา 25 วรรคสี่ มาตรา 28 วรรคสอง และมาตรา 35 ดาเนินการออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อ บังคับ หรือ ประกาศ แล้วแต่กรณี ให้แล้วเสร็จ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนวันพ้นกาหนดสองร้อยสี่สิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ และ ประกาศดังกล่าวต้องไม่ใช้บังคับก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้ บังคับ มาตรา 38 ในวาระเริ่มแรกให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งมีจานวน ตามที่เห็นสมควร เพื่อให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งการเสนอแนะการออกกฎกระทรวง และระเบียบ ตามมาต รา 8 วรรคสอง และมาตรา 17 วรรคสาม โดยให้สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทาหน้าที่หน่วยธุรการของคณะกรรมการดังกล่าว และให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่งตั้งข้าราชการ ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ เมื่อครบห้าปีหลังจากที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาประเมิน ความจำเป็นในการให้มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา อนุมัติ โดยในกรณีมีความจำเป็นต้องมีคณะกรรมการต่อไปให้เสนอแนะหน่วยงานที่จะทำหน้ำที่ หน่วยธุรการของคณะกรรมการต่อไปด้วย ในกรณีที่เห็นว่าไม่มีความจาเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมการดังกล่าว ต่อไป และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบด้วย ให้คณะกรรมการดังกล่าวสิ้นสุดลงนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรี มีมติหรือวันที่คณะรัฐมนตรีกาหนด แล้วแต่กรณี ในกรณีที่เห็นควรมี คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งต่อไป คณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้มี คณะกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเป็นคราว ๆ หรือตลอดไปก็ได้ ในกรณีเช่นนั้น การแต่งตั้งและ วาระการดารงตาแหน่งให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกาหนด มาตรา 39 เมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา ให้เปลี่ยนความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียวตามกฎหมายในบัญชี 1 ท้ายพระราชบัญญัตินี้ เป็นความผิดทางพินัยตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ถือว่าอัตราโทษปรับอาญา ที่บัญญัติไว้ในกฎ หมายดังกล่าว เป็นอัตราค่าปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัตินี้ ้ หนา 33 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

มาตรา 40 บรรดาความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียวตามกฎหมายในบัญชี 2 ท้ายพระราชบัญญัตินี้ จะเปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัยก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ก่อนตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรี เสนอร่างพระราชกฤษฎีกานั้น ให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภามิได้มีมติไม่เห็นชอบ ให้นาความกราบบังคมทูลเพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวต่อไป การตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งจะเปลี่ยนความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว เป็นความผิดทางพินัยตามกฎหมายที่ระบุไว้ในบัญชีบางมาตราหรือทุกมาตรา โดยจะกาหนดเงื่อนไข ในการเปลี่ยนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ มาตรา 41 ความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียวตามกฎหมายในบัญชี 1 และ บัญชี 2 ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ไม่รวมถึง (1) ความผิดที่มีโทษจาคุกหรือโทษที่สูงกว่าสาหรับกรณีที่บุคคลธรรมดาเป็นผู้กระทำความผิด แต่มีโทษปรับสถานเดียวสำหรับกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดเดียวกันนั้น (2) ความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวแต่มีเงื่อนไขไว้เป็น การเฉพาะให้รับโทษสูงกว่าโทษปรับ เมื่อกระทำความผิดอีกหรือเมื่อมีเหตุอื่นตามที่กฎหมายกำหนดด้วย มาตรา 42 ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ ท้องถิ่นกาหนดโทษจาคุกหรือโทษปรับอาญาสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้ไม่เกิน ที่กฎหมายนั้นกำหนด เมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา ให้เปลี่ยนอานาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฉพาะในการกาหนดโทษปรับอาญา เป็นการปรับเป็นพินัยไม่เกินอัตราที่กาหนดสำหรับการกาหนดโทษปรับอาญา บรรดาข้ อบัญญัติท้องถิ่นที่ยังใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันพ้นกาหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ถ้าได้ กาหนดความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้เปลี่ยนความผิดอาญานั้นเป็นความผิดทางพินัย และ ให้ถือว่าอัตราโทษปรับอาญาที่บัญญัติไว้ในข้อบัญญัติท้องถิ่นดังกล่าว เป็นอัตราค่าปรับเป็ นพินัย ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 43 เมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา ให้เปลี่ยนความผิดที่มีโทษปรับทางปกครองตามกฎหมายในบัญชี 3 ้ หนา 34 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

ท้ายพระราชบัญญัตินี้ เป็นความผิดทางพินัยตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ถือว่าอั ตราโทษปรับ ทางปกครองที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าว เป็นอัตราค่าปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่กฎหมายตามวรรคหนึ่งได้กำหนดเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจปรับทางปกครองไว้แล้ว ให้ถือว่ากฎหมายนั้นได้บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเป็นผู้มีอานาจปรับเป็นพินัยตา มพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวมิได้กาหนดเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจปรับทางปกครองไว้ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 14 เป็นผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย มาตรา 44 บรรดาความผิดทางพินัยที่เปลี่ยนจากความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว ตามมาตรา 39 มาตรา 40 หรือมาตรา 42 หรือความผิดที่มีโทษปรับทางปกครองตามมาตรา 43 ที่ได้กระทาก่อนวันที่เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัย ให้มีอายุความตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัยดังกล่าว ในกรณีที่กฎหมายที่มีโทษปรับทาง ปกครองใดไม่ได้กำหนด อายุความไว้ในกฎหมายนั้น ให้มีอายุความตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 45 บรรดาความผิดอาญาที่เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัยตามมาตรา 39 มาตรา 40 หรื อมาตรา 42 (1) ถ้าอยู่ในระหว่างการดาเนินการของผู้มีอานาจเปรียบเทียบปรับ ให้ถือว่ำผู้มีอานาจ เปรียบเทียบปรับนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ และดำเนินการปรับเป็นพินัยไป ตามพระราชบัญญัตินี้ (2) ถ้าอยู่ในระหว่างการดาเนินการของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ให้พนักงาน สอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี ส่งเรื่องไปให้เจ้าหน้ำที่ของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัยเพื่อดำเนินการต่อไป (3) ถ้าอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ให้ศาลพิจารณาปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 46 ผู้ใดต้องคาพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทาความผิดอาญาที่เปลี่ยนเป็นความผิด ทางพินัยตามมาตรา 39 มาตรา 40 หรือมาตรา 42 ให้ผู้นั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และ ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคาพิพากษาว่าได้กระทาความผิดนั้น ถ้าผู้นั้นยังถูกกักขังแทนค่าปรับอยู่ ก็ให้ การกักขังนั้นสิ้นสุดลง และค่าปรับที่ยังไม่ได้ชำระให้เป็นอันพับไป ้ หนา 35 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

มาตรา 47 บรรดาความผิดอาญาที่เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หากมีการบันทึกประวัติอาชญากรรมของบุคคลผู้กระทาความผิดหรือมีการบันทึกไว้ในฐานะเป็นประวัติ อาชญากรรม ให้ประวัติ นั้นเป็นอันสิ้นผล และจะนาไปใช้ยันบุคคลนั้นในทางที่เป็นโทษมิได้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 34 ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่และอานาจจัดทาหรือจัดเก็บ ประวัติอาชญากรรมตามวรรคหนึ่งลบข้อมูลความผิดทางอาญาที่เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัยของบุคคล ที่ถูกบันทึกในประวัติอำชญากรรมสาหรับความผิดนั้น ให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่ วันที่ความผิดอาญานั้นเปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัย มาตรา 48 บรรดาความผิดที่มีโทษปรับทางปกครองที่เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัย ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจได้มีคาสั่งให้ปรับทางปกครองแล้วก่อนพ้นกา หนดระยะเวลาตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง การพิจารณาและการโต้แย้งคำสั่ง รวมทั้งการบังคับชำระค่าปรับให้ดาเนินการตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะกระทำความผิดต่อไปจนแล้วเสร็จ ภายใต้บังคับมาตรา 11 ผู้ใดกระทาความผิดที่มีโทษปรับทางปกครองก่อนวันพ้ นกาหนด ระยะเวลาตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจมิได้มีคำสั่งให้ปรับทางปกครองก่อนวันพ้น กำหนดระยะเวลาดังกล่าว การดาเนินการต่อไปให้ดาเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประ ยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 36 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราช บัญญัติ ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้รัฐพึงกำหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง ประกอบกับ แผนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายได้กาหนดให้มีการปรับปรุงกฎหมายในการกาหนดโทษอาญาให้เหมาะสมกับ สภาพความผิดหรือกาหนดมาตรการลงโทษให้เหมาะสมกับการกระทาความผิด และฐานะของผู้กระทำ ความผิดเพื่อมิให้บุคคลต้องรับโทษหนักเกินสมควร หรือต้องรับภาระในการรับโทษที่แตกต่างกันอันเนื่องมาจาก ฐานะทำงเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน เนื่องจากกรณีที่กฎหมายกำหนดโทษปรับ ผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดี ย่อมสามารถชำระค่าปรับได้ แต่ผู้มีฐานะยากจนและไม่อยู่ในฐา นะที่จะชำระค่าปรับได้จะถูกกักขังแทน ค่าปรับอันกระทบต่อศั กดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อ ย่างรุนแรง ประกอบกับเมื่อคำนึงถึงข้อห้ามหรือ ข้อบังคับ ที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนต้องปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติแล้ว จะพบว่ามีข้อห้ามหรือข้อบังคับ จำนวนมากอาจรุกล้ำเข้าไปในสิทธิพื้นฐานหรือสร้างภาระอันเกินสมควรแก่ประชาชน และนับวัน จะมีกฎหมาย ตราออกมากาหนดการกระทาให้เป็นความผิดมากขึ้น หลายกรณีทาให้ประชาชนกลายเป็น ผู้กระทาความผิดเพรา ะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ บางกรณีกระทาไปเพราะความยากจนเหลือทนทาน และเมื่อได้กระทา ความผิดแล้ว ก็ต้องถูกนาตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา เช่น ถูกจับกุม คุมขัง พิมพ์ลายนิ้วมือ และลงบันทึกประวัติ อาชญากรเป็นประวัติ ติดตัวตลอดไป และในที่สุดไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้กระทาความผิดหรือไม่ กระบวนการที่กล่าวมาย่อมสร้างรอยด่าง ให้เกิดแก่ศัก ดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้ามีทางใดที่จะ ป้องกันมิให้ประชาชนจะต้องตกเข้าสู่กระบวนการนั้นได้ จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนและขจัดความเหลื่อมล้า ในสังคมลงได้ตามสมควร แม้ว่าการกาหนดมาตรการอันเป็นโทษที่ผู้กระทาการอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตา มกฎหมายเป็นสิ่งจาเป็น ที่ จะต้องมีเพื่อให้กฎหมายมีสภาพบังคับ แต่โทษนั้นก็ไม่จาเป็นต้องใช้โทษอาญา เสมอไป ซึ่งนานำ ประเทศได้เริ่มปรับเปลี่ยนบทลงโทษจากความผิดอาญาเป็นมาตรการอื่นที่มิใช่โทษอาญามากขึ้น รวมทั้ง การใช้ มาตรการอื่นแทนการลงโทษทางอาญา เช่น การคุมประพฤติ กรณีจึงสมควรที่ประเทศไทย จะพัฒนากฎหมายไทยให้ สอดคล้องกับนานำ ประเทศ และเกิดปร ะโยชน์แก่ประชาชนยิ่งขึ้น โดยปรับ เปลี่ยน โทษ อาญาบางประการที่มุ่งต่อการปรับเป็นเงินตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ เปลี่ยนเป็นมาตรการปรับ เป็น พินัย ที่สร้างขึ้นใหม่ไม่ให้มีสภาพเป็นโทษ อาญา โดยกาหนดหลักเกณฑ์ให้ใช้ดุลพินิจกาหนดค่าปรับที่ต้องชำระ ให้เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรง แห่งการกระทาและฐานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทาความผิดให้สอดคล้องกัน และในกรณีที่ผู้กระทำความผิดไม่มีเงิน ชำระค่าปรับ อาจขอทำงานบริการสั งคมหรือทำงานสาธารณ ประโยชน์แทนการชาระค่าปรับได้ โดยไม่มีการกักขังแทนค่าปรับดังเช่นที่เป็นอยู่ในคดีอาญา การเปลี่ยนสภาพบังคับ ไม่ให้เป็นโทษอาญาโดยกำหนดวิธีการดาเนินการขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะนี้ ย่อมจะช่วยทำให้ประชาชน ที่ถูกกล่าวหาว่าก ระทาความผิดไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการทางอาญา และไม่มีประวัติอาชญากรรมติ ดตัวอีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงเช่น นี้จะเป็นกลไกทางกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมและขจัดความเหลื่อมล้าทางสังคม และ ส่ง เสริมการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามเจตนารมณ์ ของมาตรา 77 และมาตรา 258 ค. ด้านกฎหมาย (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและแผนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย นอกจากนั้น สำหรับกฎหมายบางฉบับที่กำหนดให้มีโทษทางปกครอง แต่บัญญัติให้ฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตอำนาจใน การพิจารณาคดีอาญาเพื่อบังคับชาระค่าปรับทางปกครองไว้แล้ว สมควรเปลี่ยนโทษดังกล่าวเป็นมาตรการปรับเป็น พินัยเช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ้ หนา 37 ่ เลม 139 ตอนที่ 66 ก ราชกิจจานุเบกษา 25 ตุลาคม 2565