Tue Oct 18 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต [คดีหมายเลขดำที่ อม. 10/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 19/2565 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โจทก์ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ จำเลย]


คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต [คดีหมายเลขดำที่ อม. 10/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 19/2565 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โจทก์ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ จำเลย]

(อม.33 ) คําพิพากษา คดีหมายเลขดําที่ อม. 10/2564 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 19/2565 ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมือง วันที่ 2 เดือน กันยายน พุทธศักราช 2565 คณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โจทก์ นายจารุพงศ เรืองสุวรรณ จําเลย เรื่อง ความผิดต่อตําแหนงหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วย การปองกันและปราบปรามการทุจริต โจทก์ฟ้องวา จําเลยดํารงตําแหนงรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2555 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 จําเลยยังคงรักษาการในตําแหนงรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย จึงเป็นผู้ดํารงตําแหนงทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าพนักงานของรัฐ และเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มีอํานาจหน้าที่ เป็นผู้บังคับบัญชาขาราชการในกระทรวงมหาดไทย และรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย เปาหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวง ให้สอดคลองกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไวต่อรัฐสภา หรือ ที่คณะรัฐมนตรีกําหนดหรืออนุมัติ และมีอํานาจสั่งราชการและบังคับบัญชาเพื่อให้เป็นไปตามอํานาจหน้าที่ ของรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผนดิน พ.ศ. 2534 และที่แกไขเพิ่มเติม มาตรา 20 ระหวาง ้ หนา 27 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565

และจําเลยมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการบําบัดทุกขบํารุงสุข การรักษาความสงบเรียบรอยของประชาชน การอํานวยความเป็นธรรมของสังคม การสงเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหาร ราชการสวนภูมิภาค การปกครองทองที่ การสงเสริมการปกครองทองถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนด ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือสวนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย ตามพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา 30 เมื่อระหวางวันที่ 21 กุมภาพันธ 2557 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จําเลยกระทําความผิดต่อกฎหมาย กลาวคือ วันที่ 21 กุมภาพันธ 2557 นายธงชัย แสงประทุม เจ้าพนักงานปกครองจังหวัดชํานาญการ สังกัดปกครองจังหวัดนครราชสีมา ได้รับทราบขาววาจะมีการชุมนุมของกลุ่มแนวรวมประชาธิปไตย ต่อตานเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่อาคารลิปตพัลลภฮอลล สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 23 กุมภาพันธ 2557 จึงจัดทําบันทึกรายงานสถานการณดังกลาวโดยมี นายชยาวุธ จันทร รองผู้วาราชการจังหวัดนครราชสีมา รักษาราชการแทนผู้วาราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้ลงนามบันทึกขาววิทยุในราชการกรมการปกครองถึงรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย และเสนอ แนวทางปฏิบัติจัดเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองติดตามความเคลื่อนไหวและแจงตํารวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา จัดเจ้าพนักงานตํารวจดูแลความสงบเรียบรอย เพื่อเสนอให้จําเลยทราบโดยจัดสงไปยังจําเลยทางโทรสาร ซึ่งจําเลยทราบหรือควรจะได้ทราบแล้ววาจะมีการชุมนุม จําเลยยอมต้องใชกลไกของระบบราชการ หรือขอสั่งการอยางใดอยางหนึ่งที่กฎหมายให้อํานาจไว เพื่อกระทําการอยางใดอยางหนึ่งในการรักษาความสงบเรียบรอย ของประชาชนตามอํานาจหน้าที่ แต่จําเลยไม่ได้มีขอสั่งการอยางไร วันที่ 23 กุมภาพันธ 2557 ชวงบาย จําเลยเดินทางไปเขารวมการชุมนุมดังกลาว ซึ่งได้มีการถายทอดสดผานดาวเทียมของสถานีโทรทัศน ชองเอเชียอัพเดทไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ แกนนําการชุมนุมกลาวปราศรัยในลักษณะให้มีการแบงแยกประเทศ และสั่งให้มีการรวมตัวกันเพื่อไปปดลอมองคกรอิสระตาง ๆ จําเลยในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทยและในฐานะ รักษาการรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยได้รับรูถึงการกระทําของแกนนําและกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหมด ทั้งยอมรับขอเสนอที่ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้แจงต่อผู้ชุมนุม จําเลยกลับปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติหน้าที่ โดยกลาวปราศรัยสนับสนุนการชุมนุมและยอมรับขอเสนอที่ตรงขามซึ่งเป็นการขัดหรือแยงกับหน้าที่ และอํานาจของตน มีขอความวา “…วันนี้กลุ่มผู้นําทั้งหลายได้ออกมาเสนอขอเสนอแนะตาง ๆ ที่ คุณณัฐวุฒิ ้ หนา 28 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565

ได้สรุปให้ฟงนั้น ผมในนามของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลก็จะขอนอมรับเอาขอเสนอทุกขอของทาน ไปดําเนินการต่อรวมกับพี่นองประชาชนคนเสื้อแดงหมดทุก ๆ คน ของ นปช. ครับ เราต่อสูก็เพื่อรักษาไว ซึ่งอํานาจอธิปไตย…ทุกคนในที่นี้ลวนแล้วแต่เป็นแกนนํา ถาทานใชการแตกเซลลจากหนึ่งคนหาให้ได้สิบคน สิบคนหาให้ได้รอยคน รอยคนหาให้ได้พันคน พันคนหาได้หมื่นคน หมื่นคนหาได้แสนคน แสนคนหาได้ลานคน ทําได้ไหมครับพี่นองครับ ผมเชื่อมั่นวาทานทําได้นะครับในฐานะผมเป็นนายทะเบียนอาวุธปนนะครับ … คนไทยเนี่ยมีอาวุธปนอยู่ในประเทศสิบลานกระบอกนะครับพี่นองครับ เป็นอาวุธปนที่ใชสําหรับปองกันตัวเอง เพราะฉะนั้น ใครที่จะดูถูกอํานาจพลังของประชาชนก็ให้มันรูไป ผมเชื่อมั่นวาพวกเราทุกคนก็ต้องเตรียม ความพรอมทุกอยาง เพื่อเขาสูสถานการณแตกหัก และก็ยืนยันกับทานได้นะครับวารัฐบาลก็จะยืนเคียงบาเคียงไหล… ผมในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย รัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยในคณะรัฐบาล เรารัฐบาลนี้มุงมั่นทํางาน เพื่อพี่นองประชาชน และจะทํางานต่อไปโดยไม่หวั่นไหว และจะไม่ยอมแพเด็ดขาด… ” ขณะที่จําเลยปราศรัย มีเจ้าพนักงานปกครองหรือหนวยงานในบังคับบัญชาของจําเลยได้รวมสังเกตการณหรืออยู่ในสถานการณ การชุมนุมด้วย จําเลยยังปราศรัยในลักษณะยุยงสงเสริมเพื่อให้เกิดความวุนวายขึ้นในบ้านเมือง โดยมี มูลเหตุจูงใจให้กลุ่มผู้ชุมนุม นปช. หรือผู้ที่ได้รับชมการถายทอดสดผานดาวเทียมของสถานีโทรทัศน ชองเอเชียอัพเดทไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ หลงเชื่อคลอยตามออกมารวมกันกระทําการตามขอเรียกรอง ของกลุ่ม นปช. อันเป็นการลวงละเมิดกฎหมายแผนดิน เพื่อให้เกิดความปนปวนวุนวายขึ้นในบ้านเมือง เกิดความกระดางกระเดื่องต่อระบบการปกครอง และเกิดความไม่สงบในประเทศ ทั้งที่จําเลยทราบดีอยู่แล้ววา บ้านเมืองเกิดปญหาความขัดแยงและความแตกแยกของชนในชาติจนรัฐบาลต้องประกาศยุบสภาและประกาศ สถานการณฉุกเฉินที่มีความรายแรงในเขตทองที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อําเภอลาดหลุมแกว จังหวัดปทุมธานี และอําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จําเลยมีหน้าที่สั่งการอยางใดอยางหนึ่ง เพื่อระงับยับยั้งมิให้เกิดความวุนวายขึ้นในบ้านเมือง แต่จําเลยกลับกระทําการเป็นปฏิปกษกับอํานาจหน้าที่ของจําเลย เพื่อสนับสนุนให้พรรคเพื่อไทยยังคงเป็นรัฐบาลต่อไปและเป็นไปเพื่อประโยชนทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย ที่จําเลยเป็นหัวหน้าพรรค จําเลยรับทราบขอเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุมมีเนื้อหาสรุปวาขอให้นายกรัฐมนตรี ไม่ต้องลาออก ให้เรงแกไขปญหาโครงการรับจํานําขาว ให้เรงจับกุม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และแกนนํา นายกรัฐมนตรีไม่ต้องไปรับทราบขอกลาวหาของคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ให้เปดเผยรายชื่อบริษัทหรือผู้สนับสนุน คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทย ้ หนา 29 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565

ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณอันมีพระมหากษัตริยทรงเป็นประมุข (กปปส.) เพื่อจะได้ดําเนินการต่อตานสินคา หากมีสถานการณรุนแรงให้ประกาศชัตดาวนองคกรอิสระทุกองคกร ให้จัดตั้งองคกรเงา เชน กสม.เงา และอธิการบดีเงา ให้มวลชนเตรียมพรอมตลอดเวลา แต่ยังไม่ได้นัดหมายการเคลื่อนไหว แต่จําเลยกลับปฏิบัติ หรือละเวนการปฏิบัติหน้าที่ เพิกเฉยไม่สั่งการเพื่อระงับยับยั้งมิให้เกิดความวุนวายปนปวนขึ้นในบ้านเมือง จนเป็นเหตุให้มีกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางเขามาชุมนุมเรียกรองยังพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปดลอม สํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อไม่ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ขาราชการและลูกจางปฏิบัติงานได้ตามขอเรียกรองของกลุ่ม นปช. และได้มีการนําปายผาไวนิลที่ปรากฏ ขอความวา “ ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม กูขอแยกเป็นประเทศลานนา ” ไปติดไวบริเวณสะพานลอย ขามถนนสายพิษณุโลก - นครสวรรค บริเวณหน้าวัดจูงนาง หมู่ที่ 4 ตําบลทาทอง อําเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ทั้งขาเขาและขาออก บริเวณสะพานลอย หางสรรพสินคาเซ็นทรัลพลาซา สาขาเชียงราย ตําบลเวียง อําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ฝงขาเขาจังหวัดเชียงราย บริเวณสะพานลอยหน้าตลาดสด ปากอดํา หมู่ที่ 10 ตําบลปากอดํา อําเภอแมลาว จังหวัดเชียงราย ตลอดจนมีการติดปายไวนิลวา “ อยู่ด้วยกันด้วยความสามัคคีไม่ได้ … ก็แบงแยกกันอยู่ มึงกับกูแยกแผนดินกันไปเลย ” บนสะพานลอย ยานอนุสรณสถาน ถนนวิภาวดีรังสิต ใกลสนามบินดอนเมือง กรุงเทพมหานคร การกระทําของจําเลย เป็นการใชอํานาจหน้าที่ในตําแหนงโดยมิชอบ และจําเลยยังไปกลาวปราศรัยเพื่อยุยงสงเสริมการชุมนุม ของกลุ่ม นปช. อยางต่อเนื่อง จนเป็นเหตุให้เกิดสถานการณความรุนแรงขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล และพื้นที่ตาง ๆ ของประเทศในหลายพื้นที่ เป็นผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอยางต่อเนื่อง จนกระทั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ต้องเขาควบคุมอํานาจในการปกครองประเทศ การกระทําของจําเลยเป็นผลโดยตรงให้เกิดผลกระทบ ต่อความไม่สงบเรียบรอยของบ้านเมือง โดยเฉพาะการขึ้นปราศรัยของจําเลยเป็นการกลาวยุยงเพื่อให้เกิดความไม่สงบ จึงเป็นการกระทําให้ปรากฏด้วยวาจา หรือวิธีการอื่นใดอันมิใชเป็นการกระทําภายในความมุงหมายแห่งรัฐธรรมนูญ และมิใชเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปนปวนหรือกระดางกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะกอความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และเพื่อให้ประชาชนลวงละเมิดกฎหมายแผนดิน ทั้งเป็นการสนับสนุนให้การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ลุกลามขยายตัวอยางกวางขวางจนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่อาจควบคุมสถานการณให้เกิดความสงบขึ้นในบ้านเมืองได้ ดังจะเห็นได้จากการที่จําเลยกลาวปราศรัย ้ หนา 30 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565

ที่จังหวัดอุดรธานี ในชื่องาน “ นปช. ลั่นกลองรบ ครั้งที่ 2 ” จําเลยปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบในการปองกันมิให้เกิดความวุนวายหรือความไม่สงบขึ้นในบ้านเมืองอันเป็นหน้าที่โดยตรงของจําเลย ในฐานะรักษาการรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย จําเลยรับทราบแนวทางขอเสนอของกลุ่ม นปช. แล้วละเวนไม่ดําเนินการสั่งการ ตรวจสอบ หรือดําเนินการใด ๆ เพื่อระงับยับยั้งหรือปองกันเหตุการณความวุนวาย ที่จะเกิดขึ้นจึงมีมูลความผิด เหตุเกิดที่ตําบลปรุใหญ อําเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ต่อเนื่องเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 116 (2) (3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ประกอบมาตรา 30 และ 192 ศาลสงหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องให้จําเลยทราบโดยชอบแล้ว จําเลยไม่มาศาล และได้ออก หมายจับแล้ว แต่ไม่สามารถจับตัวได้ภายในกําหนด จึงพิจารณาคดีโดยไม่ต้องกระทําต่อหน้าจําเลย และจําเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาครั้งแรก ถือวาจําเลยให้การปฏิเสธตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 28 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และมาตรา 33 วรรคสาม แต่จําเลยตั้งทนายความมาดําเนินการแทน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 28 วรรคสอง พิเคราะหพยานหลักฐานตามทางไตสวนของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมือง ประกอบกับสํานวนการไตสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. รวมทั้งคําแถลงปดคดีของโจทก์และจําเลยแล้ว ขอเท็จจริงเบื้องตนรับฟงได้วา กอนเกิดเหตุได้มีคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณอันมีพระมหากษัตริยทรงเป็นประมุข (กปปส.) ซึ่งมี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นหนึ่งในแกนนําจัดการชุมนุมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อต่อตานรัฐบาลในขณะนั้นที่มีจําเลย เป็นรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย โดยการเคลื่อนไหวและชุมนุมมีการปดการจราจรในถนนสําคัญ บุกรุกและยึดสถานที่ราชการหลายแห่ง ไลขาราชการ พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกจากสถานที่ราชการ เอาโซคลองประตูเพื่อไม่ให้ขาราชการ พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทํางาน โดยกระทรวงมหาดไทย ถูกปดยึดพื้นที่ทําให้ไม่สามารถเขาไปปฏิบัติงานได้ตั้งแต่ชวงวันที่ 1 ธันวาคม 2556 เป็นระยะเวลานาน ้ หนา 31 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565

ประมาณ 6 เดือน ต้องไปใชสถานที่ชั่วคราวภายนอกหลายแห่ง เมื่ อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 มีผลทําให้รัฐมนตรีทั้งคณะต้องพนจากตําแหนง แต่ต้องอยู่ในตําแหนงเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกวาคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหมจะเขารับหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 181 ขณะเกิดเหตุจําเลยรักษาการในตําแหนง รัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยจนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 จําเลยจึงเป็นผู้ดํารงตําแหนง ทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 4 ทั้งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา วันที่ 21 มกราคม 2557 ได้มีประกาศสถานการณฉุกเฉินที่มีความรายแรงในเขตทองที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อํา เภอลาดหลุมแกว จังหวัดปทุมธานี และอําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ตามพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. 2548มีผลบังคับใชระหวางวันที่ 22 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2557 ตามเอกสารหมาย จ. 16 แผนที่ 469 และแผนที่ 470 จําเลยซึ่งรักษาการในตําแหนง รัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยจึงเป็นรองประธานในคณะกรรมการบริหารสถานการณฉุกเฉิน ตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 6 ตามเอกสารหมาย จ.9 แผนที่ 371 ถึงแผนที่ 379 นายกรัฐมนตรีได้มีคําสั่งนา ยกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ 1/2557 เรื่อง การจัดตั้งศูนยรักษาความสงบ (ศรส.) ตามเอกสารหมาย จ.16 แผนที่ 473 ถึงแผนที่ 475 วันที่ 21 กุมภาพันธ 2557 นายธงชัย จัดทําบันทึกขาววิทยุในราชการกรมการปกครอง เรื่อง รายงาน ความเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวรวมประชาธิปไตยต่อตานเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ระบุวา 1. สถานการณ ด้วยในวันที่ 23 กุมภาพันธ 2557 เวลา 09.00 - 17.00 น. กลุ่ม นปช. จะจัดประชุมแกนนํา นปช. และสมาชิกทั่วประเทศในชื่องาน “ นปช. ลั่นกลองรบ ” ณ อาคารลิปตพัลลภฮอลล สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อําเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา คาดวาจะมีสมาชิกมารวมประชุมประมาณ4 , 000 คน 2. การปฏิบัติ จัดเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองติดตามความเคลื่อนไหว และแจงตํารวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา จัดเจ้าพนักงานตํารวจดูแลความสงบเรียบรอย จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ โดย นายชยาวุธ เป็นผู้ลงนาม ตามเอกสารหมาย จ.11 และสงทางโทรสารไปตามลําดับสายงานและการบังคับบัญชาเพื่อเสนอต่อจําเลย ปลัดกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมการปกครอง ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ 2557 ้ หนา 32 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565

ได้มีการชุมนุมดังกลาวโดยมีการถายทอดสดผานดาวเทียมของสถานีโทรทัศนชองเอเชียอัพเดทไปทั่วประเทศ ในเวลา 17.06 นาฬิกา นายณัฐวุฒิ ได้กลาวปราศรัยเกี่ยวกับขอเสนอของกลุ่ม นปช. ต่อจากนั้น จําเลยได้กลาวปราศรัยมีขอความตามฟ้องปรากฏตามคําถอดแถบบันทึกเสียงเอกสารหมาย จ.12 แผนที่ 390 ถึงแผนที่ 391 หลังจากนั้น นายธงชัย จัดทําบันทึกขาววิทยุในราชการกรมการปกครองฉบับลงวันที่ 23 กุมภาพันธ 2565 ตามเอกสารหมาย จ. 13 เสนอต่อจําเลย ปลัดกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมการปกครอง แต่จําเลยไม่ได้มีขอสั่งการอยางใด ต่อมามีกลุ่มคนนําปายผาไวนิลปรากฏขอความวา “ ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม กูขอแยกเป็นประเทศลานนา ” ไปติดไวบริเวณสะพานลอยขามถนน สายพิษณุโลก - นครสวรรค บริเวณหน้าวัดจูงนาง หมู่ที่ 4 ตําบลทาทอง อําเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ทั้งขาเขาและขาออก บริเวณสะพานลอย หางสรรพสินคาเซ็นทรัลพลาซา สาขาเชียงราย ตําบลเวียง อําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ฝงขาเขาจังหวัดเชียงราย บริเวณสะพานลอย หน้าตลาดสด ปากอดํา หมู่ที่ 10 ตําบลปากอดํา อําเภอแมลาว จังหวัดเชียงราย ตามเอกสารหมาย จ. 15 แผนที่ 425 ถึงแผนที่ 429 และขอความวา “ อยู่ด้วยกันด้วยความสามัคคีไม่ได้ …ก็แบงแยกกันอยู่ มึงกับกูแยกแผนดินกันไปเลย ” ไปติดบนสะพานลอยยานอนุสรณสถาน ถนนวิภาวดีรังสิต ใกลสนามบินดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ตามเอกสารหมาย จ.16 แผนที่ 483 วันที่ 18 มีนาคม 2557 ได้มีประกาศเรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณอันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มีผลบังคับใชระหวางวันที่ 19 มีนาคม 2557 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2557 ตามเอกสารหมาย จ. 16 แผนที่ 498 และแผนที่ 499 และได้มีคําสั่งกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรที่ 110/2557 เรื่อง การจัดตั้งศูนยอํานวยการรักษาความสงบเรียบรอย (ศอ.รส.) ตามเอกสารหมาย จ.16 แผนที่ 500 และแผนที่ 501 วันที่ 19 มีนาคม 2557 มีกลุ่มผู้ชุมนุมกลาวทางโทรทัศนชองเอเชียอัพเดท ที่หางสรรพสินคาอิมพิเรียลเวิลดลาดพราว ชักชวนกลุ่มมวลชนมาชุมนุมและปดลอมสํานักงานคณะกรรมการปองกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อําเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เพื่อไม่ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ขาราชการ และลูกจางปฏิบัติงานได้ ต่อมาวันที่ 24 มีนาคม 2557 ได้มีผู้ชุมนุมปดลอมสํานักงาน คณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เขาควบคุมอํานาจในการปกครองประเทศ เป็นเหตุให้จําเลยพนจากการรักษาการในตําแหนงรัฐมนตรีวาการ กระทรวงมหาดไทย โจทก์สงรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดําเนินการฟ้องจําเลย ้ หนา 33 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565

อัยการสูงสุดเห็นวารายงาน เอกสาร และความเห็นที่โจทก์สงให้ยังไม่สมบูรณพอที่จะดําเนินคดีได้ จึงมีการตั้งคณะกรรมการรวมระหวางผู้แทนฝ่ายอัยการสูงสุดและผู้แทนฝ่ายโจทก์เพื่อดําเนินการรวบรวม พยานหลักฐาน แต่คณะกรรมการรวมดังกลาวไม่อาจหาขอยุติเกี่ยวกับการดําเนิ นการฟ้องคดีได้ ตามเอกสารหมาย จ.8 แผนที่ 364 ถึงแผนที่ 367 โจทก์จึงฟ้องคดีเองตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 77 วรรคสาม ตามเอกสารหมาย จ.8 เป็นคดีนี้ ปญหาต้องวินิจฉัยประการแรกมีวา จําเลยกระทําความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเวน การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแกผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยทุจริต และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติในตําแหนงหรือหน้าที่ หรือใชอํานาจในตําแหนงหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแกผู้หนึ่ง ผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือไม่ เห็นสมควรวินิจฉัยขออางของจําเลยตามคํารองขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องตนในปญหาขอกฎหมายฉบับลงวันที่ 6 มกราคม 2565 เสียกอน ซึ่งจําเลยยกขอต่อสูวา จําเลยไม่มีอํานาจหน้าที่ตามที่โจทก์ฟ้อง เนื่องจากขอเท็จจริงตามฟ้องเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของจําเลย หรือจําเลยมิได้ใชอํานาจหน้าที่ ในตําแหนงรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย นั้น เห็นวา ขณะเกิดเหตุจําเลยยังคงรักษาการในตําแหนง รัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย มีอํานาจหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาขาราชการในกระทรวงมหาดไทย และรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย เปาหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวง ให้สอดคลองกับนโยบาย ที่คณะรัฐมนตรีแถลงไวต่อรัฐสภา หรือที่คณะรัฐมนตรีกําหนดหรืออนุมัติ และมีอํานาจสั่งราชการ และบังคับบัญชาเพื่อให้เป็นไปตามอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผนดิน พ.ศ. 2534 และที่แกไขเพิ่มเติม มาตรา 20 และจําเลยมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการบําบัดทุกขบํารุงสุข การรักษาความสงบเรียบรอยของประชาชน การอํานวยความเป็นธรรมของสังคม การสงเสริมและพัฒนา การเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการสวนภูมิภาค การปกครองทองที่ การสงเสริมการปกครองทองถิ่น และพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมืองและราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือสวนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา 30 อันเป็นหน้าที่ทั่วไป ของรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยในการกํากับดูแลการปฏิบัติราชการหรือสั่งการฝ่ายตาง ๆ เพื่อให้เป็นไป ้ หนา 34 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565

ตามเปาหมายในการบริหารงานที่รับผิดชอบซึ่งในคดีนี้คือการรักษาความสงบเรียบรอย โดยในทางปฏิบัติ ที่ผานมารัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยก็ใชอํานาจเขาไปสั่งการในเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบรอย ดังปรากฏจากคําเบิกความของ นายวิบูลย สงวนพงศ พยานโจทก์ซึ่งดํารงตําแหนงปลัดกระทรวงมหาดไทย (ในขณะเกิดเหตุ) วา รัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย (จําเลย) เคยมีขอสั่งการในที่ประชุม กระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 5/2556 ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2556 สั่งการเรื่อง การแกไขปญหากลุ่มผู้ชุมนุม ตามเอกสารหมาย จ.61 ดังนี้ ขอเท็จจริงจากการไตสวนแสดงให้เห็นชัดเจนวา รัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย มีอํานาจหน้าที่โดยตรงในการกํากับดูแลและสั่งการให้พนักงานฝ่ายปกครองดําเนินการให้มีผลสอดคลอง กับนโยบายหรือแนวทางที่จําเลยกําหนดในเรื่อง การรักษาความสงบเรียบรอย เมื่อขณะเกิดเหตุจําเลย รักษาการในตําแหนงรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย จําเลยต้องปฏิบัติหน้าที่เทาที่จําเป็นตามที่บัญญัติ ไวในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งใชบังคับในขณะเกิดเหตุ มาตรา 181 อันรวมถึงการรักษาความสงบเรียบรอยในสวนที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ตนด้วย ดังนั้น จําเลยจึงมีอํานาจหน้าที่ ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่การที่จะถือวาจําเลยปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นความผิดฐานนี้ต้องเป็นกรณี ที่มีหน้าที่จักต้องกระทําเพื่อปองกันผลนั้นโดยตรงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคทาย มิใชวาจําเลยจะต้องมีขอสั่งการหรือต้องดําเนินการในทุกครั้งทุกเรื่องเสมอไปจึงจะถือวาได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ซึ่งการที่จะพิจารณาวาจําเลยต้องดําเนินการใดให้เป็นไปตามอํานาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบรอยนั้น ยอมขึ้นอยู่กับสภาพปญหาและขอเท็จจริงในแต่ละกรณีไป กรณีจึงมีขอต้องวินิจฉัยต่อไปวา จําเลยปฏิบัติ หรือละเวนการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแกผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยทุจริตตามฟ้องหรือไม่ องคคณะผู้พิพากษาเสียงขางมากเห็นวา พยานหลักฐานจากการไตสวนได้ความวา วันที่ 21 กุมภาพันธ 2557 นายธงชัย ได้จัดทําบันทึกรายงานสถานการณขาวการชุมนุมของกลุ่มแนวรวมประชาธิปไตยต่อตานเผด็จการแห่งชาติ ที่อาคารลิปตพัลลภฮอลล สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นายชยาวุธ เป็นผู้ลงนามในบันทึกขาววิทยุในราชการกรมการปกครอง ดวนที่สุด ที่ นม 00182/192 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ 2557 ถึงรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย และอธิบดี กรมการปกครอง โดยเสนอการปฏิบัติวาให้จัดเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองติดตามความเคลื่อนไหว และแจง ตํารวจภูธรจังหวัดนครราชสีมาจัดเจ้าพนักงานตํารวจดูแลความสงบเรียบรอย จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ตามเอกสารหมาย จ.11 จากขอความในบันทึกขาววิทยุฉบับดังกลาวแสดงให้เห็นวา ขณะนั้นยังไม่ปรากฏ ้ หนา 35 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565

ขอเท็จจริงใดบงชี้วาการนัดชุมนุมนั้นจะมิใชเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ทั้งปรากฏวา เป็นการนัดชุมนุมภายในอาคารลิปตพัลลภฮอลลเพียงชั่วคราว นายธงชัย และ นายชยาวุธ ก็ได้เสนอแนวทางปฏิบัติ เพียงวาให้ติดตามความเคลื่อนไหวและดูแลความสงบเรียบรอยเทานั้น กรณีจึงไม่มีเหตุที่จําเลยจะต้องสั่งการ เพื่อคุมครองความสะดวกของประชาชนที่จะใชที่สาธารณะหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบรอย และยังไม่มีเหตุ ที่จําเลยจะต้องสั่งการเพื่อให้ใชมาตรการจํากัดเสรีภาพในการชุมนุมเพื่อประโยชนแห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบรอย หรือการคุมครองสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น แมต่อมาจําเลย จะเดินทางไปรวมการชุมนุมและกลาวปราศรัยในที่เกิดเหตุ อันเป็นขอบงชี้วาจําเลยทราบถึงการชุมนุม ดังกลาวก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงระยะเวลาตั้งแต่มีการรายงานขาววิทยุจนถึงวันชุมนุมเป็นเวลาเพียง 2 วัน ทั้งก็ไม่ปรากฏวาจําเลยได้รับทราบบันทึกรายงานขาววิทยุฉบับดังกลาวด้วยตนเองหรือไม่ เมื่อใด ประกอบกับขอเท็จจริงยังได้ความจาก นายวิบูลย เบิกความวา กระทรวงมหาดไทยถูกปดลอมตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2556 เป็นเวลาประมาณ 6 เดือน ดังนี้ กรณีจึงไม่แนวาในชวงเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จําเลยจะมีขอมูลครบถวนและมีเวลาเพียงพอที่จะใชดุลพินิจในการพิจารณาสั่งการผู้ใตบังคับบัญชาได้ อยางรอบคอบเพียงใด นอกจากนี้ ยังได้ความจาก นายวิบูลย อีกวา รัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงมหาดไทย เคยมีขอสั่งการในที่ประชุมกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 6/2553 ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2553 สั่งการขอให้ทุกจังหวัดดูแลรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่ราชการ จัดประชุมผู้บริหารองคกรปกครองสวนทองถิ่น หรือผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อสรางความเขาใจและเป็นการกระตุนเตือนให้ระวัง การดําเนินคดีต้องประชาสัมพันธ ให้ประชาชนได้รับรูและเขาใจวาการกระทําความผิดต้องได้รับการลงโทษตามกฎหมาย ตามเอกสารหมาย จ.60 และรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย มีขอสั่งการในที่ประชุมกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 5/2556 ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2556 สั่งการเรื่อง การแกไขปญหากลุ่มผู้ชุมนุม โดยให้ผู้วาราชการจังหวัด ดําเนินการ 1) จัดทําแผนเผชิญเหตุกรณีเหตุการณชุมนุม โดยกําหนดขั้นตอน/ผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน และใชเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งในเรื่องการขาว การประชาสัมพันธ การทําความเขาใจกับผู้ชุมนุม และประชาชนในพื้นที่ การดูแลความปลอดภัย การดูแลเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสาร ฯลฯ ให้ครอบคลุมทุกประเด็นที่เกี่ยวของ 2) จัดแผนเผชิญเหตุเป็นการเฉพาะ เชน แผนเผชิญเหตุกลุ่มผู้ชุมนุม ยางพารา/ปาลมน้ํามัน แผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่ เป็นตน 3) ติดตามความเคลื่อนไหวกลุ่มผู้ชุมนุม ที่มีการเคลื่อนยายอยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบ พรอมทั้งดูแลและทําความเขาใจกับกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อเป็น ้ หนา 36 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565

การระงับยับยั้งการเคลื่อนยายสูสวนกลาง/พื้นที่อื่น ๆ ตามเอกสารหมาย จ.61 ซึ่งแสดงวาจําเลยเอง เคยมีขอสั่งการไวบางแล้ว การที่ นายธงชัย และ นายชยาวุธ เสนอบันทึกขาววิทยุฉบับดังกลาวจึงเห็นได้วา เป็นการรายงานเพื่อให้ทราบวาจะดําเนินการไปตามขอสั่งการที่มีอยู่เดิมเทานั้น มิได้มีขอเสนอใดเพื่อให้จําเลย มีขอสั่งการ และขอเท็จจริงก็ปรากฏวาจังหวัดนครราชสีมาได้จัดทําแผนเผชิญเหตุเพื่อปองกันและแกไขปญหา การชุมนุมประทวงเพื่อใชเป็นแนวทางปฏิบัติ และได้จัดตั้งศูนยอํานวยการแกไขปญหาการชุมนุมประทวงขึ้น ตามเอกสารหมาย จ.25 และ จ.26 อีกทั้งสถานีตํารวจภูธรโพธิ์กลางได้มีการจัดเจ้าพนักงานตํารวจ ไปดูแลความสงบเรียบรอย ตามเอกสารหมาย จ.27 ดังนั้น พนักงานฝ่ายปกครองและเจ้าพนักงานตํารวจ จึงได้ดูแลสถานการณการชุมนุมตามหน้าที่อยู่แล้ว กรณีไม่จําต้องรอให้จําเลยมีขอสั่งการเสียกอน แต่อยางใด นอกจากนั้น นายวิบูลย เบิกความต่อไปวา พยานได้เนนย้ําให้ทางจังหวัดปฏิบัติหน้าที่คือรักษาความสงบเรียบรอย ไม่ให้เกิดเหตุการณรุนแรง สวนการดําเนินการตามแผนเผชิญเหตุหรือเรื่องที่ผิดกฎหมายจังหวัดต้องดําเนินการ อันเป็นการสั่งการตามหน้าที่ของปลัดกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองที่กฎหมายให้มีอํานาจ และหน้าที่รักษาความสงบเรียบรอยของประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (16) และ (17) (ก) เชนนี้ จําเลยจึงหาจําต้องมีขอสั่งการในเรื่องเดียวกันซ้ําอีกไม่ ยิ่งกวานั้น ผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช. ได้แสดงออกซึ่งการไม่ยอมรับการกระทําของฝ่ายที่ต่อตานรัฐบาลแล้ว ก็ได้ยุติการชุมนุมเองเมื่อเวลา 18.40 นาฬิกา โดยไม่ได้กอให้เกิดความไม่สงบเรียบรอยหรือ เกิดความเสียหายในบริเวณที่ชุมนุม ซึ่งตามบันทึกรายงานขาววิทยุฉบับลงวันที่ 23 กุมภาพันธ 2557 เอกสารหมาย จ.13 ก็มิได้รายงานแนวโนมวาจะเกิดความรุนแรง แต่อยางใด สวนการที่จะต้องมีขอสั่งการ เป็นพิเศษตามคําเบิกความของ นายวิบูลย นั้น ก็เป็นเรื่องที่จะต้องมีเหตุการณพิเศษเกิดขึ้น ซึ่งยอมไม่อยู่ในวิสัย ที่จําเลยจะคาดหมายและสั่งการลวงหน้าทั้งหมดได้ ดังจะเห็นได้จากทางไตสวนไม่มีพยานโจทก์ปากใด เบิกความยืนยันชัดเจนวา จําเลยควรจะต้องมีขอสั่งการอยางใดจึงจะถือได้วาเป็นการบริหารจัดการที่มีขอบเขต และกําหนดระยะเวลาเหมาะสมไม่เกินกวากรณีแห่งความจําเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบรอย การกระทํา ของจําเลยสวนนี้ จึงยังถือไม่ได้วาเป็นการปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต สวนขอที่จําเลยกลาวปราศรัยยอมรับขอเสนอของกลุ่ม นปช. โดยจําเลยมิได้สั่งการ ตรวจสอบ หรือดําเนินการใด เพื่อระงับยับยั้งมิให้มีการดําเนินการตามขอเสนอของกลุ่ม นปช. นั้น เห็นวา จําเลยเดินทางมารวมชุมนุม ในชวงทายของการชุมนุมเวลาประมาณ 17 ถึง 18 นาฬิกา โดยไม่ปรากฏวาจําเลยได้รับทราบเนื้อหา ้ หนา 37 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565

คําปราศรัยในลักษณะให้มีการแบงแยกประเทศของแกนนําคนอื่นกอนหน้านั้น คงปรากฏเพียงวากอนที่จําเลย กลาวปราศรัยนั้น นายณัฐวุฒิ ได้กลาวปราศรัยแจงแนวทางและขอเสนอของกลุ่ม นปช. ต่อผู้ชุมนุม รวมทั้งจําเลย แล้วจําเลยได้กลาวปราศรัยรับขอเสนอที่ นายณัฐวุฒิ สรุปให้ฟง ซึ่งเมื่อพิจารณาขอเสนอ ดังกลาวแล้วมีเนื้อหาสรุปวา ขอให้นายกรัฐมนตรีไม่ต้องไปรับทราบขอกลาวหาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หากมีการวินิจฉัยกรณีใด ๆ จากองคกรอิสระขัดกับหลักยุติธรรมขาดความชอบธรรม ให้รัฐบาล ให้นายกรัฐมนตรี แสดงอารยะขัดขืนไม่ยอมรับการใชอํานาจอันอยุติธรรมขององคกรอิสระ ให้รัฐบาล พิจารณาสถานที่และเตรียมความพรอมหากจําเป็นต้องตั้งที่ทําการรัฐบาลในภาคเหนือหรือภาคอีสาน ให้รัฐบาลดําเนินการตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ถามีการนัดหมายชุมนุมใหญหรือเคลื่อนขบวนเขากรุงเทพมหานคร ให้ นปช. เคลื่อนไหวอยางเสรีได้เต็มที่แบบที่ กปปส. ทํา อยากลอมบ้านใครก็ลอม อยากปดหนวยงานไหนก็ปด อยากประกาศตั้งกองกําลังไลลาใครก็ตั้ง อยากจะปดถนนกี่สายก็ปดได้ อยากจะทําอะไรแบบที่ นายสุเทพ กับพวกทําขอให้ทําตามสบายเพราะคําพิพากษาได้คุมครองไว ถาถึงเวลาเขากรุงเทพ เหตุการณคับขัน สถานการณได้เสีย ประกาศชัตดาวนองคกรอิสระทุกหนวยงานทุกองคกร ไม่นามีปญหา เพราะ กปปส. ทําได้ เราก็ทําได้ หลังจากวันนี้ ดูทีวีติดตามการแถลงขาวแล้วให้ทานเตรียมความพรอมอาจจะมี การวอรมอัพกันที่ตางจังหวัดกอน ซึ่งเห็นได้วาขอเสนอเหลานี้มิได้มีการกําหนดวันเวลาและสถานที่ ที่จะเคลื่อนไหวให้เป็นที่แนนอน โดยให้ผู้ชุมนุมรอการแถลงขาวกอน ขอเสนอดังกลาวจึงมีลักษณะเป็นการเสนอ วิธีการสําหรับเหตุการณในอนาคตซึ่งขณะนั้นยังไม่ทราบได้วาจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ กรณีจึงเป็นเรื่องที่ยังอยู่ ในขั้นตอนหารือตระเตรียมการของผู้ชุมนุมซึ่งยอมจะมีความคิดเห็นได้ แต่หาใชเป็นเหตุอันกําลังจะเกิดขึ้นจริง ที่จําเลยจะต้องเรงสั่งการเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย นอกจากนั้น การที่จําเลยกลาวปราศรัยวาจําเลยในนาม ของรัฐบาลก็จะขอนอมรับขอเสนอทุกขอของกลุ่มชุมนุมนั้น ก็มิได้เป็นการใชตําแหนงหรือใชอํานาจในหน้าที่ สั่งการแกเจ้าพนักงานปกครองหรือหนวยงานในบังคับบัญชาของจําเลยที่อยู่ในที่ชุมนุม โดยพยานโจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานก็มิได้มีผู้ใดถือเอาคําปราศรัยของจําเลยในขณะเกิดเหตุมาเป็นขอสั่งการในการปฏิบัติราชการ แต่อยางใด ประกอบกับขอเสนอดังกลาวแต่ละขอก็หาใชเรื่องที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีวาการ กระทรวงมหาดไทยที่จําเลยจะสามารถรับมาดําเนินการตามหน้าที่จนบรรลุผลสําเร็จได้ดังคํารับขอเสนอของจําเลย อีกทั้งการที่จะให้จําเลยสั่งการเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเรงชี้แจงสรางความเขาใจที่ถูกต้องแกประชาชนนั้น ก็เป็นเรื่องที่มีขอสั่งการในที่ประชุมกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 6/2553 และครั้งที่ 5/2556 ้ หนา 38 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565

กําหนดไวกอนแล้ว สวนการที่จะกําหนดแนวทางเพิ่มเติมเพื่อมอบให้เจ้าหน้าที่ถือปฏิบัตินั้นก็มิใชเรื่องงาย เนื่องจากขอเท็จจริงปรากฏตามฟ้องวา สถานการณบ้านเมืองในขณะนั้นเกิดปญหาความขัดแยงและความแตกแยก ของชนในชาติจนถึงขั้นที่ต้องมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 และต่อมาได้มีประกาศ สถานการณฉุกเฉินที่มีความรายแรงในเขตทองที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อําเภอลาดหลุมแกว จังหวัดปทุมธานี และอําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ 21 มกราคม 2557 นอกจากนั้น ยังได้ความจาก นายวิบูลย อีกวา ในสวนการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมอีกฝ่ายหนึ่งที่ปดลอมสถานที่ตาง ๆ รวมทั้งกระทรวงมหาดไทยนั้นจําเลยก็มิได้มีขอสั่งการใดเชนกัน จากพฤติการณทั้งหมดที่วินิจฉัยมาแล้วขางตน แมขอเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุมอาจเป็นประโยชนทางการเมืองแกพรรคเพื่อไทยที่จําเลยเป็นหัวหน้าพรรค แต่เมื่อขอเสนอดังกลาวมิได้มีการดําเนินการใดอยางจริงจัง การที่จําเลยมิได้สั่งการตรวจสอบหรือดําเนินการใด เพื่อระงับยับยั้งมิให้มีการดําเนินการตามขอเสนอดังกลาวนั้น กรณียังถือไม่ได้วาจําเลยปฏิบัติหรือละเวน การปฏิบัติหน้าที่อันพึงคาดหมายได้จากจําเลยในฐานะรักษาการรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยในภาวะเชนนั้น พยานหลักฐานตามการไตสวนไม่มีน้ําหนักที่จะรับฟงได้วา จําเลยกระทําความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเวนการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแกผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยทุจริต และฐาน เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติในตําแหนงหรือหน้าที่ หรือใชอํานาจในตําแหนงหรือหน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแกผู้หนึ่ง ผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามที่โจทก์ฟ้อง ปญหาที่ต้องวินิจฉัยประการต่อไปวา จําเลยกระทําความผิดฐานกระทําให้ปรากฏแกประชาชน ด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใชเป็นการกระทําภายในความมุงหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปนปวนหรือกระดางกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะกอความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนลวงละเมิดกฎหมายแผนดิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 (2) (3) ตามฟ้อง หรือไม่ สําหรับความผิดขอหานี้ เห็นควรวินิจฉัยกอนวา โจทก์มีอํานาจฟ้องสําหรับความผิดขอหานี้หรือไม่ องคคณะผู้พิพากษามีมติ เสียงขางมากเห็นวา เดิมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งใชบังคับในขณะเกิดเหตุมิได้บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการไตสวน ้ หนา 39 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565

ขอเท็จจริงขอหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 แมจะเป็นความผิดที่เกี่ยวของ กับความผิดต่อตําแหนงหน้าที่ราชการก็ตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งมีผลใชบังคับเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561 โดยมาตรา 28 ประกอบมาตรา 30 เพิ่งบัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจไตสวนขอเท็จจริงขอหาความผิด ที่เกี่ยวของกับความผิดต่อตําแหนงหน้าที่ราชการของผู้ถูกกลาวหาหรือจําเลยได้ด้วย ซึ่งสําหรับคดีนี้ก็คือ ขอหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 (2) (3) นั่นเอง แต่พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ก็กําหนดเงื่อนไขไว ในมาตรา 55 (2) วา หามมิให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับหรือยกเรื่องที่มีการดําเนินการต่อผู้ถูกรอง หรือผู้ถูกกลาวหาตามกฎหมายอื่นเสร็จสิ้นและเป็นไปโดยชอบแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยวาการดําเนินการนั้น ไม่เที่ยงธรรม เวนแต่มีหลักฐานปรากฏชัดแจงและคณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นวาเป็นกรณีที่เป็นการกระทํา ที่กอให้เกิดความเสียหายอยางรายแรง เมื่อได้ความวามีผู้กลาวโทษจําเลยจากการกระทําตามฟ้องโจทก์ วาเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 , 114 , 116 และ 119 ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตํารวจภูธรเมืองพิษณุโลกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2557 และพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2559 ต่อมาเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 พนักงานอัยการมีความเห็น สั่งไม่ฟ้องจําเลย ตามเอกสารหมาย จ.33 แผนที่ 971 ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 147 บัญญัติวา “ เมื่อมีคําสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีแล้ว หามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้น ในเรื่องเดียวกันนั้นอีก… ” ดังนั้น คําสั่งของพนักงานอัยการจึงเป็นคําสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี มีผลเทากับวา ได้มีการดําเนินการต่อจําเลยในการกระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 (2) (3) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันเป็นกฎหมายอื่นเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อสํานวนการไตสวนของโจทก์ ไม่ปรากฏวาการดําเนินการของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเป็นไปโดยไม่ชอบ หรือมีกรณีต้องด้วย ขอยกเวนของมาตรา 55 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยอมไม่มีอํานาจรับหรือยกเรื่องเกี่ยวกับการกระทําของจําเลย ในขอหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 (2) (3) ขึ้นไตสวนอีก จึงเป็นเหตุให้โจทก์ ไม่มีอํานาจฟ้อง ปญหาเรื่องอํานาจฟ้องเป็นขอกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบรอย ศาลยอมมีอํานาจ ้ หนา 40 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565

ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหนงทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 วรรคสาม กรณีไม่ต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานอีกต่อไป พิพากษายกฟ้อง. นางนุจรินทร จันทร์พรายศรี นายวรงคพร จิระภาค นายลาชิต ไชยอนงค นายอธิคม อินทุภูติ นายกึกกอง สมเกียรติเจริญ นายยงยุทธ แสงรุงเรือง นายชัยเจริญ ดุษฎีพร นายสวัสดิ์ สุรวัฒนานันท นายพันธุเลิศ บุญเลี้ยง ้ หนา 41 ่ เลม 139 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565