Tue Oct 11 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565


พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565

พระราช บัญญัติ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 25 6 5 เป็นปีที่ 7 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษำเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา 12 มาตรา 15 วรรคสอง มาตรา 19 และมาตรา 22 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 เมื่อพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแล้ว การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ดาเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ ต้องปฏิบัติตามหมวด 4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ้ หนา 1 ่ เลม 139 ตอนที่ 63 ก ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2565

แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะมีมติ กำหนดเป็นอย่างอื่น มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย ที่มิใช่หน่วยงาน ของรัฐในฝ่ายนิ ติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ และหน่วยงานอื่น ของรัฐที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อจะใช้พระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือบางส่วนแก่หน่วยงานของรัฐในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอัยการ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะกาหนดให้ใช้แก่องค์กรดังกล่าวทั้งองค์กรหรือบางหน่วยงาน หรือ งานบางประเภทก็ได้ มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้ “ หน่วยงานของรัฐ ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการ ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐทุกหน่วย แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด “ ขออนุญาต ” หมายความรวมถึง ขอรับใบอนุญาต ขออนุมัติ ขอจดทะเบียน ขอขึ้นทะเบียน ขอแจ้ง ขอจดแจ้ง ขออาชญาบัตร ขอการรับรอง ขอความเห็นชอบ ขอความเ ห็น ขอให้พิจารณา ขออุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องเรียน ขอให้ดาเนินการ ขอรับเงิน ขอรับสวัสดิการ และขอรับบริการอื่นใด จากหน่วยงานของรัฐ “ อนุญาต ” หมายความรวมถึง ออกใบอนุญาต อนุมัติ จดทะเบียน ขึ้นทะเบียน รับแจ้ง รับจดแจ้ง ออกอาชญาบัตร รับรอง เห็ นชอบ ให้ความเห็น แจ้งผลการพิจารณา แจ้งผลการดาเนินการ จ่ายเงิน ให้ได้รับสวัสดิการ และให้บริการอื่นใดแก่ประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐ มาตรา 6 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีประสิทธิภาพ ให้คณะรัฐมนตรีกาหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่ง รวมถึงมาตรฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ที่หน่วยงานของรัฐจะต้องใช้และปฏิบัติให้สอดคล้องกัน เชื่อมโยงถึงกันได้ มีความมั่นคงปลอดภัย และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก ้ หนา 2 ่ เลม 139 ตอนที่ 63 ก ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2565

มาตรา 7 บรรดาการใด ๆ ที่กฎหมายกาหนดให้ต้องขออนุญาตต่อผู้อนุญาต ผู้ขออนุญาต จะเลือกยื่นคาขออนุญาตดังกล่าวรวมถึงนาส่งเอกสารหลักฐานหรือสาเนาเอกสารหลักฐานประกอบ คาขออนุญาตต่อผู้อนุญาตโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และให้ถือว่าการยื่นคาขออนุญาตนั้น เป็นการชอบด้วยกฎหมายนั้น ๆ แล้ว และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องจะปฏิเสธไม่รับการขออนุญาตนั้น เพียงเพราะเหตุที่ผู้ขออนุญาตได้ยื่นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มิได้ สำเนาเอกสารหลักฐานที่ส่งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง ผู้ส่งไม่ต้องลงนามรับรอง ในกรณีที่กฎหมายตามวรรคหนึ่งหรือกฎที่ ออกตามกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้การยื่น คาขออนุญาตต้องทาตามแบบ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กาหนด การที่ผู้ขออนุญาตได้ยื่นคาขออนุญาต โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์โดยมีข้อความตรงตามแบบนั้น ๆ แล้ว ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตได้ยื่น คาขออนุญาตตามแบบ วิธีการ หรือเงื่อนไขตำมที่กาหนดนั้นแล้ว และในกรณีที่กฎหมายหรือกฎดังกล่าว กำหนดให้ผู้ยื่นคำขอต้องยื่นหรือส่งเอกสารมากกว่าหนึ่งชุด การส่งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอได้ยื่นหรือส่งครบจำนวนแล้ว ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่การจัดส่งหนังสือ รายงาน เ อกสาร หรือข้อมูล และ การจ่ายเงินค่าคาขออนุญาต ค่าธรรมเนียม ภาษีอากร ค่าปรับ หรือเงินอื่นใดให้แก่ทางราชการหรือ หน่วยงานของรัฐด้วยโดยอนุโลม ความในมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การจดทะเบียนที่ผู้ขอจดทะเบียนต้องดาเนินการเองเฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นการสมรส การหย่า การรับบุตรบุญธรรม การขอมีบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หรือการอื่นใดที่กาหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เว้นแต่กฎหมายในเรื่องนั้นจะกาหนด ให้ดาเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ก็ให้ดาเนินการไปตามกฎหมายนั้น มาตรา 8 ในการดาเนินการตามมาตรา 7 ผู้อนุญาตจะกำหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ขออนุญาตปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยก็ได้ แต่ต้องเป็นไปเพื่ออำนวยความสะดวกหรือป้องกันความเสี่ยง แก่ผู้ขออนุญาต หรือเพื่อการยืนยันตัวตน โดยประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ได้โดยสะดวกและทั่วไป และไม่เป็นการเพิ่มภาระ หรือเพิ่มค่าใช้จ่ายแก่ผู้ขออนุญาตเกินจำเป็น การยืนยันตัวตนตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดให้ดำเนินการด้วยวิธีอื่นนอกจากการแสดง บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางก็ได้ ถ้าวิธีอื่นดังกล่าวนั้นจะเป็นการสะดวกแก่ประชาชนยิ่งขึ้น ้ หนา 3 ่ เลม 139 ตอนที่ 63 ก ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2565

มาตรา 9 ในกรณีที่ผู้อนุญาตประสงค์จะตรวจ สอบความถูกต้องแท้จริงของบัตรประจำตัว ประชาชนที่ผู้ขออนุญาตยื่นหรือแสดงต่อผู้อนุญาต ให้เป็นหน้าที่ของผู้อนุญาตที่จะติดต่อกับ สานักทะเบียนกลางตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเพื่อดาเนินการตรวจสอบ และให้เป็นหน้าที่ ของนายทะเบียนประจาสานักทะเบียนกลางที่จะตรวจสอ บและแจ้งผล ทั้งนี้ ให้กระทำโดยพลัน โดยผ่านทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การดาเนินการดังกล่าวมิให้ถือว่าเป็นการเปิดเผยข้อความหรือ ตัวเลขตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บรรดาคาขออนุญาตหรือการติดต่อใด ๆ ที่ประชาชนส่งหรือมีถึงหน่วยงาน ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่หน่วยงานของรัฐประกาศกาหนด ให้ถือว่าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นได้รับตามวันและเวลาที่คำขออนุญาตหรือการติดต่อนั้น ได้เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของหน่ วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น เว้นแต่วันและเวลานั้นเป็นวัน หรือเวลานอกทำการของหน่วยงานของรัฐ ให้ถือว่าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับในวันและ เวลาทำการถัดไป ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับเรื่องตามวรรคหนึ่งไม่มีหน้าที่หรืออานาจที่จะดา เนินการได้ ให้ส่งเรื่องต่อไปยังเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่โดยตรง แต่ถ้าเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่โดยตรง อยู่ต่างหน่วยงานกัน จะแจ้งให้ผู้ขออนุญาตหรือผู้ติดต่อให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่โดยตรง ก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตห รือผู้ติดต่อทราบว่าหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องนั้น มาตรา 11 ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตได้ยื่นคำขออนุญาตหรือติดต่อกับผู้อนุญาตหรือหน่วยงาน ของรัฐโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว การติดต่อหรือออกเอกสารหลักฐานใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับผู้นั้น ให้ทาโดยวิ ธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ผู้นั้นจะได้ระบุไว้เป็นประการอื่นในการยื่นคำขออนุญาต หรือในการติดต่อ มาตรา 12 ภายใต้บังคับมาตรา 7 ในการดาเนินการพิจารณาอนุญาต หากมีความจำเป็น ที่ผู้อนุญาตหรือหน่วยงานของรัฐต้องมีสาเนาเอกสารหลักฐานที่หน่วยงานของรัฐใด ๆ เป็นผู้ออก ให้ แก่ผู้ขออนุญาต เมื่อผู้ขออนุญาตได้นำเอกสารหลักฐานต้นฉบับมาแสดงแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐนั้น มีหน้าที่จัดทำสำเนาและรับรองความถูกต้องของสำเนานั้นเองโดยไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือ ค่าใช้จ่ายใด ๆ และจะอาศัยเหตุที่ต้องจัดทำสำเนามาเป็นข้ออ้างในควา มล่าช้ามิได้ ้ หนา 4 ่ เลม 139 ตอนที่ 63 ก ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2565

มาตรา 13 ในกรณีที่กฎหมายกาหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ให้เป็นสิทธิของผู้รับอนุญาตและหน้าที่ของผู้อนุญาตที่จะดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ผู้รับอนุญาตจะแสดงใบอนุญาตนั้นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่ผู้อนุญาต ประกาศ กาหนดก็ได้ และให้ถือว่าการแสดงเช่นว่านั้นเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ประกาศดังกล่าว เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเผยแพร่โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้วให้ใช้บังคับได้ (2) ผู้อนุญาตต้องเปิดเผยการอนุญาตที่ได้ดาเนินการไปแล้วให้ประชาชนสามารถตรวจสอบ ผ่านช่องทำงอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยสะดวกโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย การเปิดเผยดังกล่าวอย่างน้อยต้องมี รายการที่ปรากฏอยู่ในใบอนุญาต และต้องดาเนินการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา เพื่อประโยชน์ในการลดภาระของผู้รับอนุญาต วิธีการที่ผู้อนุญาตประกาศกาหนดตาม (1) จะออก กฎกระทรวงกาหนดให้ต้องทำเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ได้ มาตรา 14 ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ตรวจสอบใบอนุญาตหรือเอกสารหลักฐานอื่นใดที่หน่วยงานของรัฐออกให้ ผู้มีหน้าที่ต้องแสดงจะแสดง ใบอนุญาตหรือเอกสารหลักฐานนั้นเป็นภาพทางอิ เล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นก็ได้ โดยให้ถือว่าการแสดงเช่นว่านั้นเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นบัตร ใบอนุญาตหรือ เอกสารสำคัญที่กาหนดในกฎกระทรวง มาตรา 15 ในการติดต่อหรือส่งเรื่องถึงกันในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ระหว่า ง เจ้าหน้าที่ของรัฐกับหน่วยงานของรัฐ หรือระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออานาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ถ้าได้กระทาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ให้ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและใช้เป็นหลักฐานได้ตามกฎหมาย หากหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานใดไม่สามารถรองรับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ จะตราพระราชกฤษฎีกายกเว้นให้เป็นกรณี ๆ ไปก็ได้ โดยต้องระบุเหตุผล ความจำเป็น และระยะเวลาที่จะยกเว้นให้ ให้เป็นหน้าที่ของกรมบัญชีกลาง และหน่วยงานของรัฐอื่นที่มีอำนาจหน้าที่อนุมัติ หรือ ตรวจสอบความถูกต้องของการเบิกจ่ายเงิน การใช้จ่ายเงิน หรือความถูกต้องในการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่จะต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติใด ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการดาเนินการตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ้ หนา 5 ่ เลม 139 ตอนที่ 63 ก ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2565

ในระหว่างที่ยัง มิได้แก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติตามวรรคสอง ผู้ใด จะปฏิเสธความมีอยู่หรือความถูกต้องของเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่งเพียงเพราะเหตุที่เอกสาร หลักฐานนั้นทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มิได้ มาตรา 16 ในกรณีที่มีกฎหมาย กฎ มติ หรือคำสั่งกำหนดให้การป ฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องทาเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหนังสือ หรือเป็นเอกสาร ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จัดทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามระบบที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐกาหนดแล้ว ให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ ของรัฐได้ดาเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย กฎ มติ หรือ คำสั่งนั้นแล้ว ระบบที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐกำหนดตามวรรคหนึ่งต้องสอดคล้องกับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่คณะรัฐมนตรีกาหนดตามมาตรา 6 มาตรา 17 บรรดาข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดเก็บตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูล ข่าวสารของราชการ หรือเอกสารอื่นใดที่อยู่ในความค รอบครองของหน่วยงานของรัฐและต้องจัดเก็บ ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติของคณะรัฐมนตรี ถ้าข้อมูลข่าวสารหรือเอกสารนั้น มิได้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้หน่วยงานของรัฐจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แทนการจัดเก็บเป็นเอกสาร และส่ งมอบเอกสารต้นฉบับให้กรมศิลปากรเพื่อดำเนินการต่อไป ตามกฎหมายว่าด้วยจดหมายเหตุแห่งชาติก็ได้ วิธีการจัดเก็บและรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ที่คณะรัฐมนตรีกาหนดตามมาตรา 6 มาตรา 18 การจัดทาและเผยแพร่ราชกิจจานุเบกษาให้กระทาโดยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ แทนการจัดพิมพ์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก รวดเร็ว และสามารถจัดทาสาเนาได้ โดยตนเอง และในกรณีที่ประชาชนประสงค์จะได้สาเนาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของสานัก เลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่จะต้องจัดให้โดยเร็ว โดยจะคิดค่าใช้จ่ายตามที่สานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ประกาศกาหนดก็ได้ มาตรา 19 ให้สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สานักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา สานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การ มหาชน) ร่วมกันจัดทาวิธีการทางอิเล็กทร อนิกส์ตามมาตรา 6 เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกาหนดให้ ้ หนา 6 ่ เลม 139 ตอนที่ 63 ก ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2565

หน่วยงานของรัฐใช้และปฏิบัติ โดยจะจัดแบ่งวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเริ่มต้นและระยะต่อ ๆ ไป ก็ได้ แต่ระยะแรกสำหรับการเริ่มต้นดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ จะต้องจัดทำให้แล้วเสร็จ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจา รณาได้ภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ข้อเสนอตามวรรคหนึ่ง ต้องคานึงถึงการเชื่อมโยงถึงกันโดยสามารถใช้อุปกรณ์และข้อมูลที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก ในระหว่างที่คณะรัฐมนตรียังมิได้มีมติกำ หนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามมาตรฐานอื่นใดที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายไปพลางก่อนได้ มาตรา 20 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐประกาศกาหนดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สาหรับ ประชาชนติดต่อราชการตามมาตรา 10 รวมทั้งกาหนดระบบสาหรับการ ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ของรัฐโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 16 ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดตามมาตรา 6 ในระหว่างที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐยังมิได้ประกาศกำหนดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงาน ของรัฐตามมาตรา 10 หรื อกาหนดระบบสาหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 16 ให้ถือว่าการส่งคำขออนุญาตหรือติดต่อหรือการปฏิบัติหน้าที่ โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ที่หน่วยงานของรัฐใช้อยู่นั้น เป็นการส่ง หรือติ ดต่อที่ชอบตามมาตรา 10 หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ชอบ ตามมาตรา 16 แล้วแต่กรณีแล้ว มาตรา 21 ให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการอนุญาตผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และออกประกาศกำหนดวิธีการแสดงใบอนุญาตโดยวิธีการทางอิเล็กทรอ นิกส์ตามมาตรา 13 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ในระหว่างที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ดาเนินการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการอนุญาตผ่านช่องทาง อิเล็กทรอนิกส์ ให้มีหน้าที่จัดส่งข้อมูลการอนุญาตให้แก่ประชาชนที่ขอข้อมูลภายในสามวันนับแต่วันที่ ได้รับคำขอโดยไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนี ยมหรือค่าใช้จ่าย ในระหว่างที่ยังไม่มีการออกประกาศตามวรรคหนึ่ง ผู้รับอนุญาตจะแสดงใบอนุญาตโดยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างใดก็ได้ และให้ถือว่าการแสดงเช่นว่านั้นเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ้ หนา 7 ่ เลม 139 ตอนที่ 63 ก ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2565

มาตรา 22 ให้คณะรัฐมนตรีกำหนดหน่วยงานของรัฐหน่วยงานหนึ่งให้ทำหน้าที่ ใน การติดตาม เร่งรัด ให้หน่วยงานของรัฐดาเนินการตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง และรายงาน ให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกหกสิบวันว่าหน่วยงานของรัฐใดยังมิได้ดาเนินการตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง พร้อมทั้งประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป ให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่งที่จะแจ้งให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยทราบถึง หน้าที่ที่หน่วยงานของรัฐจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ และระยะเวลาที่จะต้องดำเนินการ โดยให้แจ้งเตือนทุกสิบห้าวัน มาตรา 23 เพื่อประโยชน์ในการอานวยความสะดวกแก่ประชาชนใน การทาความเข้าใจ เนื้อหาสาระและปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง ให้เป็นหน้าที่ของสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่จะจัดให้มีและปรับปรุงฐานข้อมูลทางกฎหมายและระบบการสืบค้นกฎหมายโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการเข้าถึงของประชาชนโดย เร็ว มาตรา 24 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 8 ่ เลม 139 ตอนที่ 63 ก ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2565

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราช บัญญัติ ฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ข. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (1) บัญญัติให้มี การ นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัด ทาบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่ออานวยความสะดวกให้แก่ประชาชน แต่บทบัญญัติ ของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังไม่เอื้อต่อการนาวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการอนุญาต การให้บริการ หรือการให้สวัสดิการแก่ประชาชน ส่งผลให้ประชาชนมีภาระและต้นทุนในการติดต่อกับภาครัฐ ที่สูงเกินสมควร เป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และไม่สอดคล้องกับ เทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สมควรมีกฎหมายกลางว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมให้การทา งานและการให้บริการของภาครัฐสามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักได้ และ โดยที่การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติราชการนั้นเป็นการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับปรับปรุง) กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานแ ละ การบริการภาครัฐไปสู่ระบบดิจิทัล จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ้ หนา 9 ่ เลม 139 ตอนที่ 63 ก ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2565